เรื่องเด่น ควร แผ่เมตตา ให้ใคร!? ระหว่างสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์กับเจ้ากรรมนายเวร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 2 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ควร แผ่เมตตา ให้ใคร!? ระหว่างสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์กับเจ้ากรรมนายเวร

    [​IMG]

    ถาม ควรแผ่เมตตาให้ใครมากกว่ากันระหว่างสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ กับเจ้ากรรมนายเวร และเราสามารถทำอะไรให้เจ้ากรรมนายเวรได้บ้าง นอกจากการแผ่เมตตาและกรวดน้ำ

    พระมหาเฉลิม ปิยทสฺสี พระอาจารย์ผู้ไขปัญหาประจำฉบับอธิบายว่า

    ตอบ
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ นี่ครอบคลุมทั้งหมดทั้งสิ้นแล้วนะ ไม่ว่าใครก็ตามที่ยังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่จัดว่าเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ทั้งสิ้นนั่นแหละ ไม่ว่าสัตว์ที่มีคุณ สัตว์ที่เป็นกลาง ๆ หรือมีโทษร้ายรวมถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายด้วยแผ่ไปเถิดส่วนบุญส่วนกุศล หรือแผ่เมตตาจิต จนเป็นอัปมัญญาไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ เมื่อให้ บุญก็เพิ่มพูนขึ้น

    เรื่องของการ แผ่เมตตา นี้ ท่าน ว.วชิรเมธีได้เล่าภึงอานิสงค์ของการเจริญสติ และพูดถึงเรื่องของ การแผ่เมตตา ไว้ว่า

    แท้ที่จริงเราทุกคนสามารถที่จะเป็นบุคคลที่สงบนิ่งได้ แต่เพราะไม่เคยได้รับการฝึก เราจึงไม่เคยรู้ว่าเราก็เป็นคนหนึ่งที่นิ่งได้เหมือนกัน คนที่นิ่งเป็น คนที่หยุดเป็นจะเป็นคนที่โชคดีมาก เพราะจะไม่ตกเข้าสู่ความรุนแรง ข้อดีของรถคือ วิ่งได้รวดเร็ว แต่ข้อเสียก็คือ รถที่ไม่ยอมเบรกเป็นรถที่อันตราย การฝึกสมาธิเป็นวิธีเรียนรู้ที่จะทำให้เราติดเบรกให้ตนเอง คือรู้จักวิธีหยุดใจตัวเองให้หยุดในที่ที่ควรหยุด ระวังตัวในที่ที่ควรระวัง คนที่สามารถห้ามตัวเองได้ทุกครั้งที่จิตใจกำลังใฝ่ต่ำคือคนที่โชคดีที่สุดในโลก
    เราลองสังเกตตัวเองว่า เราสามารถที่จะนิ่งได้ไหม สามารถที่จะสงบได้ไหม ถ้าทำได้ ขอให้รู้ว่านั่นคือสภาพเดิมแท้แห่งจิตใจของเราทุกคน เราควรเรียนรู้ที่จะนิ่ง เราควรเรียนรู้ที่จะสงบอย่างนี้บ้างอย่างน้อยวันละ 3 - 5 นาที ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ภายในหนึ่งอาทิตย์ เราจะเปลี่ยนเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งน่าชื่นชมมาก
    เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกแย่กับชีวิต รู้สึกแย่กับเพื่อน รู้สึกแย่กับการทำงาน หรือกำลังตกอยู่ในความเครียดและอ่อนล้าจากการทำงานมากมาย ผู้เขียนอยากจะขอให้ลองหลับตาลงเบา ๆ สถานที่ไม่สำคัญ จะเป็นตรงไหนก็ได้ ในรถแท็กซี่ บนรถไฟ หน้าจอคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ขณะที่เรากำลังทะเลาะกับลูก ตอนที่เรากำลังเปิดฝักบัวฉีดน้ำใส่ตัวเพื่ออาบน้ำ หรือแม้กระทั่งตอนที่เราหลับตาลงนอนบนที่นอน ลองสละเวลากลับมาหายใจเงียบ ๆ คนเดียว เอามือแตะ
    ลงไปที่หน้าท้อง หายใจเข้าก็รู้ตัว หายใจออกก็รู้ตัว หากเราทำอย่างนี้ทุกวัน จะมากจะน้อยไม่สำคัญ รับรองได้ว่า ภายในสามวันเราจะเปลี่ยนเป็นอีกคน และเราจะเห็นว่าตัวเราเองมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้าได้ตลอดเวลา เราจะมี
    สุขภาพจิตที่ดีอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เราจะสามารถจัดการชีวิตได้ดีขึ้น และแน่นอนที่สุดเราจะกลายเป็นคนมีเสน่ห์ดึงดูดต่อคนรอบข้าง
    คนที่สามารถจัดการความโกรธได้ เปรียบเสมือนดอกกุหลาบแรกแย้มที่ใครๆก็อยากชื่นชม มีความนุ่มนวลอ่อนโยน
    เปรียบเสมือนพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ส่วนคนที่จัดการความโกรธไม่ได้เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน แม้จะมีแสงที่เป็นประโยชน์ต่อโลก แต่กลับไม่มีใครกล้าเข้าใกล้
    ใครๆ ก็มักจะชอบมองพระจันทร์ แล้วบอกว่าพระจันทร์ส่องแสงเพื่อตัวฉันทั้งนั้น แต่ไม่มีใครมองพระอาทิตย์แล้ว
    บอกว่าพระอาทิตย์ส่องแสงเพื่อฉันเลย
    เราอยากเป็นพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ ถ้าอยากเป็นพระจันทร์ ควรเรียนรู้ที่จะหายใจอย่างรู้สึกตัวทุกวัน อย่างน้อยวันละ 3 นาที แล้วเราจะเห็นว่าชีวิตนั้นเราจัดการได้ เราสามารถมีชีวิตที่ดีได้ในปัจจุบันขณะ แล้วถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ให้สังเกตว่าความโกรธของเราจะอายุสั้นลง ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งที่เราสามารถอยู่เหนือความโกรธได้ ความ
    เมตตาจะเข้ามาแทนที่ความโกรธ เหมือนกับพระประธานในวัดทุกวัด สังเกตให้ดี ไม่มีพระประธานองค์ไหนเลยที่หน้าบึ้งด้วยความโกรธ เราทุกคนมีศักยภาพที่จะเบิกบานกันทุกคน โปรดอย่าลืมศักยภาพที่จะเบิกบานศักยภาพนั้นมีอยู่ในตัวเรา ขอแค่เรามาเรียนรู้ที่จะหายใจอย่างมีสติ
    การจะพลิกความโกรธให้เป็นความเมตตานั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก แต่ขอแนะนำว่า ให้ทำตามขั้นตอนที่ผู้เขียน
    แนะนำมาก่อนหน้านี้ก่อน จากนั้นเมื่อเราสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้แล้ว จึงหันกลับมาทบทวนตัวเอง แล้วหันกลับไปทบทวนคนที่ทำให้เราโกรธ ว่าทั้งเขาทั้งเราต่างก็เป็นเพื่อนร่วมสังสารวัฏด้วยกันแท้ ๆ
    แต่ละคนล้วนมีกรรมเป็นของตัวเอง ซึ่งเรียกว่าแค่นี้ก็ทุกข์หนักหนาสาหัสมากพออยู่แล้ว แล้วทำไมจะต้องมาสร้างกรรมใหม่ต่อกันและกันอีก เราแต่ละคนแบกกรรมของตัวเองก็เรียกว่าหนักอึ้งพอแล้ว ถ้าเรายังมาโกรธกันและกัน มาสร้างกรรมสร้างเวรใหม่ก็เท่ากับว่าเรากำลังเพิ่มภาระแห่งความทุกข์ลงไปบนเป้หลังของเราให้หนักอึ้งยิ่งขึ้น เมื่อ
    คิดได้อย่างนี้ว่าเราต่างก็มีภาระมากพอแล้วก็จะเห็นทั้งเราเห็นทั้งเขากลายเป็นเสมือนสัตว์ผู้ลอยคออยู่ในทะเลทุกข์เสมอกัน
    แท้ที่จริงทั้งเราทั้งเขาเป็นบุคคลที่ควรแก่การสังเวช ควรแก่ความสงสาร ควรแก่ความเมตตาทั้งคู่ ฉะนั้นอย่ามาเสียเวลา
    โกรธกันอยู่อีกเลย เมตตากันไว้ดีกว่า แล้วก็แผ่เมตตาให้เขา ภาวนาให้เขามีความร่มเย็นเป็นสุข มีอายุยืนยาว มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตแข็งแรงสมบูรณ์ มีครอบครัวที่มั่นคง มีหน้าที่การงานที่สูงส่ง แล้วนึกถึงเขาแต่ในทางที่ดีงาม ถ้าทำได้อย่างนี้ ปลูกจิตที่ประกอบด้วยไมตรีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดกระแสแห่งเมตตาจิตจากเราก็จะส่งไปถึงเขา
    พอเขารับรู้ได้ เขาจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วจะสามารถหันมาปฏิสัมพันธ์ต่อเราด้วยความเมตตาอารีเหมือนที่เรามีต่อเขา
    เช่นเดียวกัน เมื่อเราตักน้ำมาแล้วไปรดต้นไม้ ถ้าต้นไม้ชุ่มเย็น เชื่อไหม น้ำที่กระเซ็นถูกตัวเราก็ทำให้ร่างกายเราชุ่มเย็นเหมือนกัน นั่นแหละ คนที่รดน้ำคือเมตตาให้คนอื่น ความชุ่มเย็นนอกจากเกิดขึ้นกับเป้าหมายแห่งความเมตตาของเราแล้วก็เกิดขึ้นกับจิตใจของเราเองด้วย ต้นไม้ที่ได้รับการรดน้ำแล้วงอกงามฉันใด คนที่คอยรดน้ำให้ต้นไม้ก็มีความงอกงามเพิ่มขึ้นในจิตในใจฉันนั้น ฉะนั้นผู้รู้หรือนักปราชญ์จำนวนมาก จึงมักจะบรรลุธรรมท่ามกลางแมกไม้ที่ร่มรื่น
    เพราะแมกไม้ที่ร่มรื่นเป็นที่มาของจิตใจที่รื่นรมย์ในชีวิตของเรา
    ความเมตตาเปรียบเสมือนสายน้ำ และเปรียบเสมือนผืนป่าอันร่มรื่น ถ้าเราปลูกฝังบ่มเพาะเมตตาจิตลงไปในใจของเรามากขึ้นๆ ตัวเราเองก็จะรื่นรมย์ เหมือนกับว่าเรานั้นมีธารน้ำหลั่งไหลอยู่ภายในตัว เหมือนกับตัวเราเองนั้นเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ตัวเราเองก็มีความชุ่มเย็นอยู่ภายใน ใครมาก็พลอยชุ่มเย็นตามไปด้วย ฉะนั้น การแผ่เมตตา ให้คนที่เรา
    โกรธนั้น อย่าไปแผ่ตอนที่เราโกรธ แต่ควรจะฝึกให้มันเป็นวิถีชีวิตของเราทุกวัน ๆ จนกระทั่งว่าเมตตากับวิถีชีวิตของเรากลายเป็นเนื้อเดียวกัน
    ในสมัยพุทธกาล เวลาที่พระอริยสาวกเจอกัน ท่านมักจะถามกันว่า “ท่านสารีบุตรท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร” พระสารีบุตรก็จะตอบว่า “ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยเมตตาพรหมวิหาร” “ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยสุญญตาพรหมวิหาร” หรือ“ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยกรุณาพรหมวิหาร”
    คำว่า “วิหาร” แปลว่า คุณธรรมประจำจิตประจำใจ เราทุกคนควรจะฝึกจิตฝึกใจของเราให้มีเมตตาเป็นเรือนใจเอาไว้เป็นพื้นฐาน ถ้าเรามีเมตตาเป็นเรือนใจเป็นพื้นฐานอยู่ตลอดเวลา ถึงเวลาโกรธขึ้นมา เราไม่ต้องภาวนามากมาย แค่กลับมาแผ่เมตตาในจิตในใจให้ตัวเอง แล้วก็ให้คนที่เขาทำให้เรา
    โกรธ แค่นั้นเอง แม่น้ำแห่งเมตตาก็จะแสดง
    ปาฏิหาริย์แห่งความชุ่มเย็นให้ปรากฏ
    การที่คนจำนวนมาก แผ่เมตตา แล้วไม่ได้ผล เพราะเขามัวแต่จะแผ่เมตตา แต่ไม่มีเมตตาที่จะนำไปแผ่ เห็นไหม ก่อนแผ่เมตตา จะต้องสร้างเมตตาจิตขึ้นในจิตในใจของตัวเอง จนกระทั่งว่าให้ผลเป็นความชุ่มเย็นในจิตในใจของตัวเองก่อน แล้วจากนั้นจึงค่อยแผ่ออกไปกระแสแห่งเมตตาก็จะค่อย ๆ เลื่อนไหลไปถึงคนที่เป็นเป้าหมายที่เรา แผ่เมตตา ให้เขา คนจำนวนมากที่ แผ่เมตตา แล้วไม่ได้ผล เพราะเขา แผ่เมตตา แต่ปาก แต่ใจของเขานั้นยังเต็มไปด้วยความโกรธอยู่เหมือนเดิม ฉะนั้นรากฐานของการ แผ่เมตตา ที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ที่ปาก
    ส่วนถ้อยคำสำหรับ แผ่เมตตานั้น ไม่สำคัญหรอกว่าจะเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทย ขอเพียงเรานึกแผ่ความปรารถนาดีออกไปจากใจเราอย่างแท้จริง พลังของจิตก็จะกระทบจิตที่เป็นเป้าหมายได้โดยตรง อย่ากังวลต่อถ้อยคำ แต่จงกังวลว่า เวลาที่เราแผ่ความปรารถนาดีไปให้ใคร เรามีความจริงใจอยู่ในนั้นหรือเปล่า ถ้าเรามีความจริงใจที่ปรารถนาจะให้เขาอยู่ดีมีความสุข แม้ไม่ต้องท่องออกมาเป็นถ้อยคำ แต่ใช้เพียงกระแสแห่งจิตที่คิดถึงเขาในทางกุศล แค่นั้นการ แผ่เมตตา ก็สำเร็จเหมือนกัน



    ---------------
    ขอบคุณที่มา
    http://www.goodlifeupdate.com/46637/healthy-mind/compassion/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...