ความจริงเกี่ยวกับความรัก ความโกรธ และความเมตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    พระพุทธโอวาท

    </TD></TR><TR class=style2><TD width="50%">
    จากหนังสือ พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

    </TD><TD width="50%">
    เรียบเรียงโดย อ.วศิน อินทสระ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดี ย่อมก่อทุกข์ให้มากหลาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง"


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    "ภิกษุทั้งหลาย! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา
    ทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด
    เครื่องผูกที่หย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือบุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น
    เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษได้มากเท่ารูปสตรี"


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีไม่ได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิด เวียนตาย
    อยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์อยู่บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจควบคุมอยู่โดยทั่วไป ไม่ว่าในวัยใด และเพศใด"


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
    ที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่ง และเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
    "


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    "ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ
    ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วก็เป็นพิษแก่จิตใจ
    ทำให้ทุรนทุราย ดิ้นรนไม่รู้จักจบจักสิ้น
    ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ท่านทั้งหลายอย่าได้พอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดถือไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า
    แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>เมตตาระงับความโกรธ

    </TD></TR><TR><TD width="50%">จากหนังสือ วิธีฝึกใจไม่ให้โกรธ

    </TD><TD width="50%">พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    วิธีที่จะแก้ไขจิตใจให้มีความโกรธน้อย ให้มีความโกรธยากจนถึงไม่ให้มีความโกรธเลย จำเป็นต้องสร้างความเมตตาให้เกิดขึ้นในจิตใจให้มากพอจะยอมเข้าใจในเหตุผลของบุคคลอื่นที่ทำผิดพลาด หรือบกพร่อง
    ขณะเดียวกัน จำเป็นต้องฝึกใจให้มีเหตุผล ให้เห็นเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งควรเคารพ เมื่อเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญในจิตใจของผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจักเป็นผู้ไม่ใช้อารมณ์
    ถึงแม้จะโกรธแล้ว แต่เมื่อเหตุผลเกิดขึ้น ก็จะสามารถทำให้ความโกรธดับลงได้

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    จะไม่แสดงอารมณ์โกรธอย่างผู้ไม่มีเหตุผล และถ้าหมั่นอบรมเหตุผลหรือปัญญา ประกอบด้วยเมตตาให้เกิดขึ้นเสมอในจิตใจ แม้มีเรื่องที่ผิดหูผิดตาผิดใจเกิดขึ้น เหตุผลอันประกอบด้วยเมตตาก็จะเกิดขึ้นก่อน อารมณ์จะเกิดไม่ทัน หรือเกิดทันบ้างตามวิสัยของผู้เป็นปุถุชนไม่สิ้นกิเลส ก็จะเบามากและน้อยครั้งมาก
    ทั้งผู้โกรธยาก โกรธน้อย และผู้โกรธง่าย โกรธมาก ควรอย่างยิ่งที่จะได้สนใจสังเกต ให้รู้ว่าจิตใจของตนมีความสุข ทุกข์ เย็น ร้อนอย่างไร ทั้งในเวลาที่โกรธและในเวลาที่ไม่โกรธ ปกตินั้น เมื่อโกรธก็มักจะเพ่งโทษไปที่ผู้อื่นว่าเป็นเหตุให้ความโกรธเกิดขึ้น คือมักจะไปคิดว่าผู้อื่นนั้นพูดเช่นนั้น ทำเช่นนั้นที่กระทบกระเทือนถึงผู้โกรธ

    การเพ่งโทษผู้อื่นเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการทำให้จิตใจตนเองสบาย ตรงกันข้าม กลับเป็นการเพิ่มความไม่สบายให้ยิ่งขึ้นเพียงนั้น แต่ถ้าหยุดเพ่งโทษผู้อื่นเสีย เขาจะพูดจะทำอะไรก็ตาม อย่าไปเพ่งดู ให้ย้อนเข้ามาเพ่งดูใจตนเอง ว่ากำลังมีความสุขทุกข์อย่างไร มีอารมณ์อย่างไร ใจจะสบายขึ้นได้ด้วยการเพ่งนั้น​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    กล่าวสั้นๆ คือ การเพ่งดูผู้อื่นทำให้ตนเองไม่เป็นสุข แต่การเพ่งดูใจตนเองทำให้เป็นสุขได้ แม้กำลังโกรธมาก หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก ความโกรธก็จะลดลง
    เมื่อความโกรธน้อย
    หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธน้อยความโกรธก็จะหมดไป จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะกำลังมีอารมณ์ใดก็ตาม โลภ หรือโกรธ หรือหลงก็ตาม หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป ได้ความสุขมาแทนที่ทำให้มีใจสบาย

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ทุกคนอยากสบาย แต่ไม่ทำเหตุที่จะให้เกิดเป็นความสบาย ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ดังนั้น จึงยังหาผู้สบายได้น้อยเต็มที ยิ่งกว่านั้น ทั้งๆ ที่ทุกคนอยากสบาย แต่กลับไปทำเหตุที่จะให้ผลเป็นความไม่สบายกันเป็นส่วนมาก ดังนั้น จึงได้รับผลเป็นความไม่สบายตามเหตุที่ทำ เพราะดังได้กล่าวแล้ว ทำเหตุใดต้องได้รับผลของเหตุนั้นเสมอไป เหตุดีให้ผลดี เหตุชั่วให้
    ผลชั่ว เหตุแห่งความสุขให้ผลเป็นความสุข เหตุแห่งความทุกข์ให้ผลเป็นความทุกข์ ต้องทำเหตุให้ตรงกับผล จึงจะได้ผลที่ปรารถนาต้องการ ควรมีสติระลึกถึงความจริงนี้ไว้ให้สม่ำเสมอ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ใจที่ไม่มีค่าคือ ใจที่ร้อนรนกระวนกระวาย ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ใจที่มีค่าคือใจที่สงบเยือกเย็น นำความจริงนี้เข้าจับ ทุกคนจะรู้ว่าใจของตนเป็นใจที่มีค่าหรือไม่มีค่า ความโกรธทำให้ร้อน ทุกคนทราบดี จึงน่าจะทราบต่อไปด้วยว่า ความโกรธเป็นสิ่งที่ทำให้ใจไม่มีค่าหรือทำให้ค่าของใจลดน้อยลง
    ของมีค่ากับของที่ไม่มีค่า อย่างไหนเป็นของดี อย่างไหนเป็นของไม่ดี อย่างไหนควรปรารถนา อย่างไหนไม่ควรปรารถนา ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่อย่างชัดแจ้ง แต่เพราะขาดสติเท่านั้น จึงทำให้ไม่ค่อยได้รู้ตัว ไม่สงวนรักษาใจของตนให้เป็นสิ่งมีค่าพอสมควร ต้องพยายามทำสติให้มีอยู่เสมอจึงจะรู้ตัว สามารถสงวนรักษาใจให้เป็นสิ่งที่มีค่าได้ คือสามารถยับยั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง มิให้เกิดขึ้นจนเกินไปได้

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    สามัญชนยังต้องมีความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่สามัญชนที่มีสติ มีปัญญา
    มีเหตุผล ย่อมจะไม่ให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีอำนาจชั่วร้ายเหนือจิตใจ ย่อมจะใช้สติ ใช้ปัญญา ใช้เหตุผล ทำใจให้เป็นใจที่มีค
    ่า ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>ความรักในทางพุทธศาสนา

    </TD></TR><TR><TD width="50%">
    ธรรมกถาในวันมาฆบูชา พ.ศ.2544 เรื่อง ความรัก จากวาเลนไทน์สู่ความเป็นไทย

    </TD><TD width="50%">
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ถาม: จึงใคร่ขอกราบเรียนถามท่านเจ้าคุณว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของความรัก และในทางพุทธศาสนาให้คติหรือแนวความคิดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ตอบ: พระพุทธศาสนายอมรับธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนเป็นอันดับที่หนึ่งก่อน แต่ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น คือ มีการพิจารณาต่อไปว่าในกรณีที่ธรรมชาติของปุถุชนนั้นมีข้อบกพร่องหรือมีโทษ ก็จะสอนถึงการปรับปรุงแก้ไข หรือทำให้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า การศึกษา หรือ การพัฒนาชีวิต

    อันนี้ก็ไปสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์อีกประการหนึ่งที่ว่า มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ หรือพัฒนาได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าต้องพัฒนา และศักยภาพสูงสุดที่จะพัฒนาได้จนเป็นผู้ที่ประเสริฐอย่างยิ่ง

    ทีนี้ เราก็เอาหลักการสองอย่างนี้มาใช้ โดยวางวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้เกิดผลดี ในกรณีที่มีความรักแบบที่ว่าตามธรรมชาติของปุถุชนที่จะมีครอบครัวอะไรนี่ ก็กำหนดว่าทำอย่างไรจะให้เป็นไปในลักษณะที่ไม่เกิดโทษแก่ผู้อื่น แก่สังคม แต่ให้ดำเนินไปในทางที่ดีงาม ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตและแก่สังคมนั้น อย่างน้อยก็แก่ทั้งสองคนนั้นแหละให้เขาอยู่กันด้วยดีมีสุข อันนี้เป็นขั้นที่หนึ่ง

    สำหรับขั้นนี้เราก็มีคำแนะนำให้ว่าเขาควรจะพัฒนาจิตใจของเขาอย่างไร พร้อมทั้งหลักการในการดำเนินชีวิตและในการปฏิบัติต่อกัน เพื่อให้มีผลดีทั้งต่อระหว่างสองคน และในแง่ของแต่ละคน โดยคำนึงถึงจิตใจของแต่ละคน โดยเฉพาะความสุขของแต่ละฝ่าย ตลอดจนประโยชน์ที่จะขยายออกไปสู่สังคมวงกว้างด้วย รวมทั้งถ้าเขามีบุตรก็ให้เป็นประโยชน์แก่บุตรหลานของเขาต่อไปด้วย

    ทีนี้ต่อไปก็คือ เหนือกว่านั้น ทำอย่างไรจะพัฒนาเขาขึ้นไปให้เขาสามารถมีความสุขที่สูงขึ้นไปอีก ให้มีความรู้สึกที่ประณีตดีงามชนิดที่เป็นคุณธรรมซึ่งคล้าย ๆ ว่าเข้ามาเสริมคุณค่าของความรักแบบแรกนี้ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น ความรักแบบที่สอง และเมื่อความรักแบบที่สองนี้เจริญงอกงามมากขึ้น ก็จะช่วยให้ความรักประเภทที่หนึ่งประณีตงดงาม จนกระทั่งแม้เมื่อเขาไม่สามารถอาศัยความรักประเภทที่หนึ่งต่อไปได้ เขาก็ยังมีความรักประเภทที่สองหล่อเลี้ยงชีวิตร่วมกันอยู่ตลอดไป

    เป็นอันว่า สำหรับความรักประเภทที่หนึ่งนี้ ท่านก็ยอมรับแต่จะต้องให้อยู่ในกรอบ หรือในขอบเขตที่ดีงาม แล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่ก็ว่ายังมีส่วนที่เป็นโทษ จึงต้องปรับปรุงพัฒนาต่อไป

    ในทางพุทธศาสนา ท่านพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในแง่ข้อดีหรือคุณ และข้อเสียหรือโทษ คือข้อบกพร่อง แล้วก็บอกทางออก หรือทางแก้ไขให้ด้วย อันนี้เป็นหลักในการพิจารณาทุกอย่าง เพื่อให้เราปฏิบัติต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยสติและปัญญาอย่างรอบคอบ ที่จะแก้ปัญหาได้และเข้าถึงประโยชน์สุขที่แท้จริง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    ถาม: อยากจะขอให้ท่านแยกให้เห็นชัดว่า ความรักแบบที่หนึ่งเป็นอย่างไร และความรักแบบที่สองเป็นอย่างไร

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ตอบ: ก็มาดูเรื่องของความรักประเภทที่หนึ่งก่อน ความรักประเภทที่หนึ่งที่คนทั่วไปรู้เข้าใจกันว่าเป็น ความรักระหว่างเพศ หรือ ความรักทางเพศ มีจุดเด่นอยู่ที่ความชื่นชมติดใจ หรือความปรารถนาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสกายของผู้ที่ตนรัก อันนี้เป็นความรักสามัญของปุถุชน ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือความต้องการหาความสุขให้แก่ตนเอง หมายความว่า ที่รักเขานั้นก็เพื่อเอาเขามาเป็นเครื่องบำเรอความสุขแก่ตน ต้องการเอาความสุขเพื่อตนเอง

    ความรักแบบที่หนึ่งนี้ ที่แท้แล้วก็คือการคิดจะเอาจากผู้อื่น ในเมื่อมันมีลักษณะอย่างนี้ มันจึงมีข้อเสียที่สำคัญติดมาด้วย คือถ้าหากว่าเขาผู้นั้นไม่อยู่ในภาวะที่จะสนองความปรารถนาให้เรามีความสุขได้ เราก็จะเบื่อหน่าย แล้วก็อาจจะรังเกียจ จึงเห็นได้ว่าไม่ยั่งยืน อันนี้เป็นข้อบกพร่องที่สำคัญประการแรก

    นอกจากนั้น เนื่องจากความรักแบบที่หนึ่งนี้มุ่งจะเอาความสุขให้แก่ตัว หรือจะเอาผู้อื่นมาบำเรอความสุขหรือให้ความสุขแก่ตัว ความรักแบบนี้จึงมีลักษณะจำเพาะเจาะจง โดยมีบุคคลที่ชอบใจถูกใจเป็นเป้า เป็นความยึดติดผูกพันเฉพาะตัว

    เมื่อลักษณะสองอย่างนี้มาผนวกกันเข้า ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือความหึงหวง
    ความรักแบบนี้จึงมาคู่กับความหึง มีการยึดถือเป็นของตัว ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ไม่ต้องการให้ใครอื่นมายุ่งเกี่ยวหรือแม้แต่ได้รับความเอาใจใส่
    ความหวงแหนผูกพันเฉพาะตัว และต้องการให้เขาหรือเธอให้ความสุขแก่ตัวผู้เดียวนี้ แสดงออกได้ทั้งทางกายและทางใจ

    ทางกายก็ต้องการให้เป็นของตนผู้เดียว ไม่ให้ใครอื่นมายุ่งเกี่ยว อย่างที่เรียกว่า หวงผัสสะ
    ส่วนทางด้านจิตใจ ก็ต้องการความเอาใจใส่ ความมีใจภักดีให้ฉันคนเดียวเป็นผู้ครองหัวใจเธอ หรือให้ใจเธออยู่กับฉัน อย่าปันใจให้คนอื่น

    เนื่องจากความรักแบบที่หนึ่งนี้ มักจะมาด้วยกันกับความหวงแหน เห็นแก่ตัว หรือความ
    หึงหวง จึงอาจจะทำให้เกิดการแย่งชิง ทะเลาะเบาะแว้ง แม้จะไม่ได้แย่งชิงทะเลาะเบาะแว้งกับใครก็มักจะเกิดความมัวเมาหมกมุ่น จนกระทั่งบางทีก็ถึงกับละทิ้งกิจหน้าที่หรือความดีงามที่ควรจะทำ หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ทำให้ยิ่งโลภแล้วพยายามแสวงหาอะไรต่าง ๆ มุ่งแต่จะกอบโกยเอามาเพื่อตัวเองและเพื่อคนที่ตนรักเท่านั้น โดยไม่เห็นแก่ผู้อื่นเลย จึงอาจทำให้เกิดการเบียดเบียนกันได้มาก

    ที่ว่ามานี้คือโทษประการต่าง ๆ ของความรักแบบที่หนึ่ง ซึ่งในที่สุดแล้วจุดจบของมันก็คือความไม่ยั่งยืน เพราะว่าแท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องของการหาความสุขให้แก่ตัวเอง แม้จะเป็นคู่ครองอยู่ร่วมกันก็เห็นเขาเป็นสิ่งสนองความสุข เป็นที่สนองความต้องการของตนเองเท่านั้น


    ถ้าหากว่าเขาหรือเธอไม่สามารถสนองความต้องการของเรา ลองถามตัวเองซิว่าเราจะยังรักเขาไหม
    ต้องถามตรง ๆ อย่างนี้ ถ้าเขาไม่สามารถสนองความต้องการของเรา ไม่สามารถให้ความสุขแก่เรา ถ้าเรามีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลองตอบดู เราจะรักเขาไหม หรือว่าเราจะกลายเป็นเบื่อหน่ายรังเกียจ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นโทษหรือข้อเสียของความรักแบบที่หนึ่ง​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    ถาม: สำหรับความรักแบบที่หนึ่ง คิดว่าชัดเจนแล้ว อยากจะทราบถึงความรักแบบที่สองว่าเป็นอย่างไร

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ตอบ: ความรักแบบที่สอง คือ ความรักที่อยากให้เขามีความสุข หรืออยากเห็นเขามีความสุข อย่างที่เรียกว่าเป็นความปรารถนาดี เรารักใคร เราก็อยากให้คนนั้นมีความสุข อยากทำให้เขามีความสุข และอยากทำอะไร ๆ เพื่อให้เขามีความสุข

    ลองถามตัวเองก่อน เวลารักใครลองถามตัวเองว่า เราต้องการความสุขเพื่อตัวเรา หรือเราอยากให้เขามีความสุข ถ้าเป็นความรักที่แท้ก็ต้องอยากให้เขามีความสุข
    เมื่ออยากให้เขามีความสุข ก็ต้องการทำให้เขามีความสุข หรือทำอะไร ๆ เพื่อให้เขามีความสุข

    การที่จะทำให้คนอื่นมีความสุขนั้น การกระทำที่สำคัญก็คือการให้


    การให้เป็นปฏิบัติการที่ชัดเจนและต้องใช้มากที่สุดในการทำให้ผู้อื่นมีความสุข ดังนั้น ผู้ที่มีความรักแบบที่สองจึงมีความสุขในการให้และให้ด้วยความสุข ความรักแบบที่สองจึงทำให้การให้กลายเป็นความสุข
    แต่ต้องพูดกันไว้ก่อนด้วยว่า การให้ที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นการให้แบบล่อเหยื่อหรือเอาอกเอาใจ ถ้าให้แบบนั้น พอไม่ได้เขามาก็จะเสียใจ เสียดาย และแค้นใจ เพราะเป็นการให้เพื่อจะเอา ไม่ใช่ปรารถนาดีแก่เขาจริง

    ในขณะที่ ความรักแบบที่หนึ่ง เป็นความต้องการที่จะเอาความสุขจากผู้อื่น หรือต้องการความสุขจากการเอา ความรักแบบที่สอง เป็นความต้องการที่จะให้ความสุขแก่ผู้อื่น และเป็นการทำให้เกิดความสุขจากการให้
    ในแบบที่หนึ่ง การได้จึงจะเป็นความสุข แต่ในแบบหลัง การให้ก็เป็นความสุข
    พูดสั้น ๆ ว่า ความรักที่เป็นการเอา กับความรักที่เป็นการให้

    ถ้าเรารักเขาโดยอยากให้เขามีความสุขแล้ว มันก็มีความยั่งยืนมั่นคง เมื่อเขามีความทุกข์ความเดือดร้อน แม้ว่าเขาจะไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็ยังรักเขา
    และเราจะเกิดความสงสาร ตอนแรกเรามีความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข พอเขาเกิดความทุกข์ มีความเดือดร้อนขึ้นมาความรักของเราก็จะกลายเป็นความสงสาร อยากจะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากความทุกข์ เราจะไม่เบื่อหน่ายรังเกียจ ซึ่งต่างกันชัดเจนกับความรักแบบที่หนึ่ง

    ความรักแบบที่หนึ่งเป็นความต้องการที่จะหาความสุขให้แก่ตนเอง ซึ่งก็คือความเห็นแก่ตัวแบบหนึ่งนั่นเอง พอเขามีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็เบื่อหน่ายรังเกียจ แต่ความรักแบบที่สองนี่ต้องการให้เขามีความสุข พอเขามีความทุกข์เดือดร้อน เราก็สงสารอยากจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ให้เข้าพ้นจากความลำบากเดือดร้อน

    ความรักแบบที่หนึ่งนั้นทางพระท่านเรียกว่า " ราคะ" หรือ "เสน่หา" ส่วนความรักแบบที่สองทางพระท่านเรียกว่า " เมตตา" รวมทั้ง " ไมตรี"
    ทีนี้ ถ้าหากว่าคนที่เรารักนั้น เขาเกิดเปลี่ยนเป็นมีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน เมตตานั้นก็เปลี่ยนไปเป็น "กรุณา" คือ ความสงสารคิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ จึงมี เมตตา - กรุณา เป็นคู่กัน
    นี่คือ ลักษณะของความรักสองแบบ รักแบบอยากให้เขามีความสุข กับรักแบบจะหาความสุขจากเขาหรือเอาเขามาทำให้เรามีความสุข เรียกเป็นคำศัพท์ว่า รักแบบเมตตา กับ รักแบบราคะ / เสน่หา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>รักแท้ - รักเทียม ดูอย่างไร

    </TD></TR><TR><TD width="50%">
    ธรรมกถาในวันมาฆบูชา พ.ศ.2544 เรื่อง ความรัก จากวาเลนไทน์สู่ความเป็นไทย

    </TD><TD width="50%">
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ตอนนี้ ทุกคนจะต้องมาช่วยกันฟื้นฟูหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาวันมาฆบูชานี้เป็นตัวอย่างที่เตือนจิตสำนึก ถ้าเรามองวันมาฆบูชาแล้วนึกถึงพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาประชุมกันในวันนั้นด้วยใจมุ่งจะไปทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน วันมาฆบูชาก็เป็นวันแห่งความรักที่แท้ แต่ความรักในที่นี้หมายถึงรักประชาชนและรักประโยชน์สุขของประชาชน คืออยากจะเห็นคนทั้งหลายเป็นสุข
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความรักในความหมายที่แท้คืออยากเห็นเขาเป็นสุข เหมือนอย่างพ่อแม่รักลูก ก็คืออยากเห็นลูกเป็นสุข แต่ยังมีความรักอีกแบบหนึ่ง คือความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเป็นสุข อย่างนี้ไม่ใช่รักเขาจริงหรอก เป็นความรักเทียม คือราคะนั่นเอง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความรักมี 2 ประเภท ทุกคนต้องจำไว้ให้แม่น คือ


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>๑. ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเราเป็นสุข ความรักแบบนี้ต้องได้ต้องเอา ซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ หรือต้องมีการแย่งชิงกัน คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่กับความชอบใจ ไม่ชอบใจ ยังไม่ได้ขัดเกลาจิตใจ จะมีความรักประเภทนี้ก่อน แต่เมื่อความเป็นมนุษย์พัฒนาขึ้น ก็จะมีความรักที่แท้จริงในข้อต่อไปมากขึ้น คือ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>๒. ความรักที่อยากเห็นเขามีความสุข พออยากเห็นเขาเป็นสุข ก็อยากทำให้เขาเป็นสุข พอทำให้เขาเป็นสุขได้ ฉันก็เป็นสุขด้วย เหมือนพ่อแม่อยากเห็นลูกมีความสุข พอทำให้ลูกเป็นสุขได้ ตัวเองก็เป็นสุขด้วย จึงเป็นความรักที่พร้อมจะให้และสุขด้วยกัน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความรักที่พึงประสงค์ คือความรักประเภทที่ ๒ ซึ่งเป็น ความรักแท้ ได้แก่ ความรักที่อยากให้เขาเป็นสุข เวลานี้เรามีวันแห่งความรัก แต่ไม่รู้ว่าเป็นรักประเภทไหน รักจะได้เอาเพื่อตนเอง หรือรักอยากให้เขาเป็นสุข ก็ไปพิจารณาให้ดี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>คู่ครองที่ดี

    </TD></TR><TR><TD width="50%">
    จาก หลักธรรมจากธรรมนูญชีวิต

    </TD><TD width="50%">
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติและประพฤติตามข้อปฏิบัติดังนี้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้อง กลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันไดัยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชา แนวความคิด ความเชื่อถือ หรือหลักการต่าง ๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>๒. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้องไปกันได้</TD></TR><TR><TD colSpan=2>๓. สมจาคะ มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน</TD></TR><TR><TD colSpan=2>๔. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>ละความโกรธด้วยความรักและเมตตา

    </TD></TR><TR><TD width="50%">จากหนังสือ เหตุสมควรโกรธ..ไม่มีในโลก


    </TD><TD width="50%">พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เมตตาตรงข้ามกับโทสะ และพยาบาท
    ซึ่งเป็นความโกรธ ความมุ่งร้าย
    เมตตาเป็นความรัก ความปรารถนาดีให้มีความสุข
    เป็นความรักที่บริสุทธ์ ไม่ใช่ความรักที่เป็นราคะคือความใคร่
    ดังนั้น หากเราหมั่นอบรมจิตใจให้เมตตาตั้งขึ้นในจิตใจได้
    จิตใจก็จะพ้นจากโทสะพยาบาท​


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เพื่อให้มีเมตตาเป็นพื้นฐานของจิต เราควรพิจารณาว่า​



    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ตัวเรารักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด
    คนอื่น สัตว์อื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น



    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ผู้ที่จะแผ่เมตตาได้จะต้องทำใจตัวเองให้มีเมตตาก่อน
    คือทำจิตใจตัวเองให้อ่อนโยน สงบเย็น
    แล้วจึงแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น
    เพราะการจะแผ่สิ่งใดออกมาได้
    จิตใจจะต้องมีคุณสมบัตินั้นอย่างแท้จริง​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>พุทธพจน์ ว่าด้วยรัก

    </TD></TR><TR><TD width="50%">
    จากหนังสือ เหตุสมควรโกรธ..ไม่มีในโลก

    </TD><TD width="50%">
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก
    ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก
    ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
    จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก
    ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก
    ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
    จากความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี
    ภัยย่อมเกิดแต่ความยินดี
    ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
    จากความยินดี ภัยจักมีแต่ที่ไหน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความโศกย่อมเกิดแต่กาม
    ภัยย่อมเกิดแต่กาม
    ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
    จากกาม ภัยจักมีแต่ที่ไหน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความโศกย่อมเกิดแต่ตัณหา
    ภัยย่อมเกิดแต่ตัณหา
    ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
    จากตัณหา ภัยจักมีแต่ที่ไหน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระพุทธเจ้า ตรัสแก่ภิกษุสาวก ถึงเรื่องความรักไว้ว่า
    ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ
    และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน
    ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้
    ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ
    ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วก็เป็นพิษแก่จิตใจ
    ทำให้ทุรนทุราย ดิ้นรนไม่รู้จักจบจักสิ้น
    ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    เธอทั้งหลายอย่าได้พอใจในความรักเลย
    เมื่อหัวใจยึดถือไว้ด้วยความรัก
    หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า
    แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    การไม่มีภรรยา เป็นลาภอันประเสริฐ
    การไม่มีสามี เป็นลาภอันประเสริฐ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เช่นนี้ เพื่อเตือนว่า
    ชีวิตคู่มีทุกข์สุขคละเคล้ากันไป
    แต่เกือบทุกคู่ ทุกข์จะมากกว่าสุข
    ตามวัย ตามสัญชาตญาณของสัตว์โลก
    มักแสวงหาชีวิตคู่แล้วก็เกิดความรัก ความผูกพัน ตามมา
    ความรู้สึกว่าความรักเป็นสิ่งสวยงาม
    เป็นความสุขอย่างที่สุดนั้น เป็นความรู้สึกของตัณหา
    เพื่อที่จะได้ความสุขนั้น เหมือนต้องติดหนี้สินมากมาย
    เพราะเมื่อได้ดำเนินชีวิตคู่ไปแล้ว หลายคน
    รู้สึกว่าตัวเองได้คำนวณผิดพลาดไป ดอกเบี้ยแพง
    ตั้งใจแก้ตัว พยายามอย่างไรก็ติดลบตลอด
    มีทุกข์มาก มีสุขน้อย หลายคู่ก็ผิดหวัง
    เหมือนมีหนี้สิน ชดใช้ไม่รู้จักจบจักสิ้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    เมื่ออกหัก

    </TD></TR><TR><TD width="50%">
    จาก เหตุสมควรโกรธ..ไม่มีในโลก

    </TD><TD width="50%">
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เมื่อไม่มีใครรัก แม้แต่ตัวเองก็ยังเกลียดชังตัวเอง
    บางคนถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย ควรจะทำอย่างไร​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    1. หาที่สงบสติอารมณ์ ให้เวลากับตัวเอง ทำความเข้าใจกับตัวเราเองให้ถ่องแท้​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    2. พึงเข้าใจว่าการทำร้ายตัวเอง การฆ่าตัวตายไม่ใช่การแก้ปัญหา ไม่ใช่วิธีหนีพ้นจากทุกข์ กลับเป็นการเพิ่มปัญหายิ่งขึ้นร้อยเท่าทวีคูณ เพราะการฆ่าคนเป็นบาปหนัก ต้องชดใช้กรรมอีกไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    3. ทำใจให้ได้ว่า เขาไม่ได้เป็นเนื้อคู่ของเรา ถึงจะอยู่ด้วยกันก็จะมีปัญหาในอนาคตแน่นอน อกหักตั้งแต่ตอนนี้ก็ดีแล้ว น่าดีใจที่เรารู้ความจริงเสียแต่บัดนี้​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    4. ให้ระลึกถึงพุทธภาษิตที่ว่า “ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี” หมายถึง ความรักตน เป็นความรักอันสูงสุด​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    5. เรากำลังผิดหวัง หลงอยู่ในอารมณ์อกหัก จึงคิดว่าไม่มีใครรักเรา พ่อแม่ก็ไม่รักเรา คนนี้คนนั้นไม่ดี ไม่รักเรา เรากำลังผิดหวัง จากความรู้สึกที่ว่าไม่มีใครรักเราเลย พิจารณาดูให้ดีว่าเรารักตัวเองไหม ก็คงจะไม่ ถ้าแม้แต่เรายังคิดที่จะทำลายตัวเอง ทั้งทางกาย วาจา ใจ แสดงว่า เราก็ไม่ได้รักตัวเองเลย แล้วจะให้คนอื่นมารักได้อย่างไร​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    6. พยายามตั้งสติระลึกถึงอารมณ์ปกติที่เราก็มีอยู่ ที่เราเคยมีชีวิตอยู่ตามปกติของเราตั้งแต่สมัยเป็นเด็กๆ อารมณ์ยามอกหักก็เปรียบเหมือนถูกน้ำเน่ากระเด็นใส่ตัวเปื้อนเสื้อผ้าเลอะเทอะเต็มไปหมด เรารู้สึกตัวเหม็นเน่า น่ารังเกียจ แต่นั่นไม่ใช่ชีวิตจริงของเรา เมื่อเราชำระล้าง เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นปกติตามเดิม อารมณ์เมื่อเราอกหักก็เหมือนกัน

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    มันเพียงแต่ผ่านเข้ามากระทบใจเราเท่านั้น​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    7. พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตของเรานั้นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติ
    จิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส ครอบงำจิต โอปนยิโก น้อมเข้ามาหาตน
    ค้นหาธรรมชาติของตนที่บริสุทธิ์ ผ่องใส เบิกบานใจ สบายใจ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    8. ตั้งใจ หยุดคิด ปล่อยวางความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    หายใจออกยาว ๆ
    หายใจแรง ๆ หน่อย
    หายใจเข้าลึก ๆ หน่อย
    เน้นที่หายใจออกยาว ๆ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความตั้งใจปรับลมหายใจยาว ๆ
    ช่วยให้เกิดสติ ระลึกได้
    สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว
    ความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่สบายใจ จะค่อย ๆ จางหายไป
    ความสบายอกสบายใจ จะปรากฏขึ้นแทน

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ในที่สุด เราจะค้นพบตัวเอง
    เข้าถึงธรรมชาติของจิตใจ ที่สงบ เบิกบานใจ
    ซึ่งมีอยู่ในตัวเราทุกคน นั่นเอง
    เมื่อเราสบายใจ สุขใจ เราจะรักตัวเอง
    เมื่อรักตัวเองแล้ว เราจะมีความสุข สุขภาพใจดี
    และเป็นที่รักของบุคคลรอบข้างด้วย​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเราจะเป็นที่รักของผู้อื่นได้
    ด้วยการประพฤติตนตามหลักธรรม 4 ประการ

    1. มีความโอบอ้อมอารี
    2. มีปิยวาจา
    3. ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่น
    4. วางตนเหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าเราประพฤติตนตามนี้ได้ ก็จะเป็นการสร้าง เหตุปัจจัยที่ดีให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ความสุข ทั้งปัจจุบันในชาตินี้และชาติหน้า​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>รักที่ไม่มีทุกข์

    </TD></TR><TR><TD width="50%">
    จากหนังสือ สาระแห่งชีวิต คือรักและเมตตา

    </TD><TD width="50%">
    พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ความรักที่มีแต่สุข ไม่มีทุกข์เจือปน เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ในทางพุทธศาสนา ความรักอัน
    บริสุทธิ์ ที่จะนำชีวิตไปสู่ความสุขแท้ คือความรักที่ต้องอาศัย คุณธรรมสำคัญ 4 ประการ คือ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พรหมวิหาร 4 อันประกอบด้วย
    1. เมตตา ปรารถนาให้เขามีความสุข
    2. กรุณา ปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์
    3. มุทิตา พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดี
    4. อุเบกขา ทำใจเป็นกลาง วางเฉย

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>

    Let's see => ​


    </TD><TD></TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เมตตา

    คือความรัก ความปรารถนาดีให้เขามีความสุข การเจริญพรหมวิหาร 4 เริ่มต้นด้วยเจริญเมตตาก่อน เพราะกรุณา มุทิตา และอุเบกขานั้น เป็นคุณธรรมที่สูงขึ้นไปตามลำดับ ต้องใช้กำลังสติปัญญามากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมตตาเป็นบารมีอย่างหนึ่ง
    เริ่มต้นให้ฝึกมีเมตตาแก่ตนเองก่อน พยายามฝึกหัดขัดเกลาจิตใจให้มีความรู้สึกที่ดีออกมาให้เป็นตามธรรมชาติ และให้สังเกต ศึกษาถึงความรู้สึกนึกคิด ที่เป็นข้าศึกคอยกีดขวางไม่ได้เกิดความรู้สึกที่ดีออกมา ความรู้สึกที่ไม่ดี จริตนิสัยที่จะคิดไปในทางที่
    ไม่ดี ซึ่งจะตรงข้ามกับเมตตา ทั้งทางกาย วาจา ใจ เช่น คิดอาฆาตพยาบาท คิดเบียดเบียน คิดแต่เรื่องกามารมณ์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้าศึกคือ ความเมตตา
    กามารมณ์ คือ ความรักใคร่พอใจในเรื่องของกาม กามราคะตัณหาเป็นอุปสรรคในการมีเมตตา เป็นความรู้สึกที่ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว
    อยากได้เขามาเป็นของเรา เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ มักเกิดความไม่พอใจ โกรธแค้น
    บางครั้งถึงกับฆ่าตัวตาย ทำลายชีวิตเขา
    ถ้าเราสามารถรักษาศีลให้มั่นคงได้ ก็จะไม่เกิดเรื่องเดือดร้อนไปเบียดเบียนใคร
    แต่ถ้ากามารมณ์รุนแรงมาก ก็ควรที่จะพิจารณาร่างกายของตน เป็นอสุภะ ไม่สวย
    ไม่งาม เป็นปฏิกูล พยายามสงบระงับซึ่งกามารมณ์ จนรู้สึกได้ว่าทุกคนเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้องของเรา คือ ถ้าอยู่ในวัยเดียวกับพ่อแม่ ก็ให้ทำความรู้สึกเหมือนเป็นพ่อแม่
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าวัยเดียวกับพี่ชายพี่สาว หรือน้องชายน้องสาว ก็ทำความรู้สึกเหมือนเป็นพี่ชายพี่สาว
    หรือน้องชายน้องสาวตามนั้น ทำให้อารมณ์เย็น ใจเย็น หลุดจากโทสะ จากราคะ ทำให้มีความพอใจ สุขใจ และพยายามให้ความปรารถนาดีนี้ เผื่อแผ่ไปถึงยังทุกคน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ฝึกคิดในทางบวก มองโลกในแง่ดี เรื่องส่วนตัวและเรื่องรอบ ๆ ตัวทั้งโลก เมื่อไม่ดี
    ไม่ถูกใจ ให้พักไว้ สงบเงียบอยู่ในใจ รู้อยู่ เห็นอยู่ แต่ไม่ต้องปรุงแต่งขึ้นมา มีหิริโอตตัปปะ ต่อคำว่า “ไม่ดี” รักษาใจ รักษาความรู้สึกที่ดีไว้
    เมื่อรู้สึกดี ก็สบายใจ สุขใจ คิดดี พูดดี ทำดี ส่งความรู้สึก กระแสจิตของใจดี สุขใจนี้ออกไป ความเมตตาจะทำให้เราไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย และไม่ทำร้ายใคร
    ที่สุดของความเมตตา คือจะไม่มีความพยาบาทเกิดขึ้นในใจ
    แม้ว่าจะมีผู้อื่นคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายเราก็ตาม เป็นความเมตตาที่ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ เป็นเมตตาที่มีให้ แม้แต่กับศัตรู
    ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า “แม้ถูกเขาจับมัดมือมัดเท้า” แล้วเอาเลื่อยมาเลื่อยจนร่างกายขาดออกเป็น 2 ท่อน หากยังคิดโกรธ อาฆาต พยาบาทอยู่ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเห็นธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    กรุณา
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    คือความสงสาร
    เมื่อเห็นเขามีความทุกข์ ก็คิดหาทางช่วยเหลือ ปลดเปลื้องทุกข์ของเขา
    กรุณาต่อตนเอง หมายถึงมีจิตใจอยากจะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากทุกข์ ด้วยการสำรวจตัวเอง มองดูชีวิตตัวเอง เริ่มต้นที่การกระทำด้วย กาย วาจา มีอะไรบ้างที่เราควรแก้ไข ปรับปรุงตน เริ่มต้นตรวจดูด้วยศีล ด้วยกฎหมาย ระเบียบ วินัย กติกาของสังคม หรือจากการที่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ หรือเพื่อน ๆ ได้ว่ากล่าวตักเตือนเรา มีอะไรบ้าง
    จุดอ่อน จุดบกพร่องของตนเองเลือกมา ข้อใดข้อหนึ่ง ทบทวนตามเหตุผล
    ยกขึ้นมาตั้งไว้ในหัวใจ
    ตั้งใจจะแก้ไขปรับปรุง พิจารณาอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น
    เหตุการณ์กำลังเกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว “ตั้งใจอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น”
    เมื่อเรามีจิตกรุณาที่จะปรับปรุงแก้ไขตัวเองแล้วก็ให้อาศัยอิทธิบาท 4

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>ฉันทะ มีความพอใจการแก้ไขปรับปรุงตนเอง
    วิริยะ มีความพยายาม มีความตั้งใจสม่ำเสมอ
    จิตตะ มีจิตใจจดจ่อในการแก้ไขปรับปรุง
    วิมังสา ใช้ปัญญาทบทวน พิจารณาหาเหตุผล
    </TD></TR><TR><TD class="style14 style11" colSpan=2>
    เมื่อมีข้อผิดพลาด และหาวิธีการ อุบายต่าง ๆ ที่จะไม่ให้เกิดผิดพลาดขึ้นอีก สร้างจิตสำนึกในการที่จะพัฒนาตน มีความพอใจในการต่อสู้กับจิตใจตนเอง กรุณาต่อผู้อื่น
    จิตที่กรุณาต่อผู้อื่น คือจิตใจที่คิดช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่าเรา ให้เขาพ้นจากทุกข์ แนะนำ ตักเตือนเขา เพื่อให้เขาสามารถดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    สมมติว่าเราเป็นแม่ ในการเลื้ยงลูก เรามีความปรารถนาดีต่อลูก ให้ความรักความเมตตา สิ่งใดที่ทำให้ลูกมีความสุข เราก็ทำให้แก่ลูก เรียกว่าทำให้ลูกมีความสุข เราก็ทำให้ลูก เรียกว่าทำให้ลูก “ถูกใจ” ก็ดูไม่ยากอะไร แต่ความกรุณา คือช่วยเหลือให้ลูกพ้นทุกข์ เราต้องหมั่นอบรมสั่งสอน คือช่วยเหลือให้ลูกรู้จักผิดชอบ ชั่วดี บางครั้งอาจจำเป็นต้องเคร่งครัด ว่ากล่าวตักเตือน ขัดใจลูกเพื่อความ “ถูกต้อง”
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    ข้อนี้เริ่มยากแล้ว กรุณาต้องอาศัยกำลังสติปัญญา และจิตใจที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในการเลี้ยงดูลูก เมตตาจะต้องคู่กับกรุณา ลูกจึงจะไม่เสียคน เพราะถูกตามใจมากเกินไป ดังนั้น เมตตากรุณา จึงเป็น คุณธรรมที่ควรพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    ความกรุณาที่แท้จริงต้องมีพื้นฐานของความเมตตาอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้น การที่เราจะว่ากล่าวตักเตือนใคร โดยเข้าใจว่าเป็นความกรุณาที่ต้องการให้เขาพ้นจากทุกข์
    เราต้องสำรวจความรู้สึกตนเองให้ดีด้วยว่า ไม่ได้เจือด้วยความโกรธ หากเรามีเมตตา เราย่อมปรารถนาให้เขาเป็นสุข การว่ากล่าวตักเตือน เราจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเขา
    ด้วย ต้องทำไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเขาจริง ๆ

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    ที่สุดของความกรุณา ก็เป็นเช่นเดียวกับความเมตตา
    คือไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
    มีใจกรุณาแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ไม่เว้นแม้แต่กับศัตรู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    มุทิตา
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    คือความยินดีเมื่อเขาได้ดี
    เห็นเขาอยู่ดีมีสุข เจริญก้าวหน้า ก็พลอยแช่มชื่นเบิกบานใจ ไม่คิดอิจฉาริษยา
    และพร้อมที่จะส่งเสริม สนับสนุน
    สำหรับคนทั่วไป แม้มีเมตตากรุณามากพอสมควร แล้วก็ตาม แต่จะมีมุทิตาจากใจจริงนั้น ยังหายาก ปกติเมตตากรุณา คือการเผื่อแผ่ให้คนที่ด้อยกว่าตน มุทิตา ทำจิตพลอยยินดีกับบุคคลที่มีความสุข อาจมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มากกว่าตน ปกติจิตใจที่เห็นแก่ตัว มักจะเกิดความรู้สึกอิจฉา ริษยา น้อยอก น้อยใจ ฯลฯ เป็นธรรมดา

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    เราจึงต้องพัฒนาจิตใจให้มีมุทิตาต่อตนเองก่อน หมายถึง หัดนิสัยมองดูตนเองให้มาก ๆ
    อย่าเปรียบเทียบแต่กับคนที่ดีกว่าเรา คนที่มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข น้อยกว่าเรา ก็มีมาก พลเมืองในโลกนี้มีประมาณหกพันล้านคน เป็นคนยากจนที่ไม่เคยมีข้าวกินอิ่ม หนึ่งในห้าส่วน ก็เท่ากับคนพันสองร้อยล้านคนที่กินข้าวไม่อิ่ม

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    คนที่อยู่ในสังคมที่ไม่สงบ อยู่ท่ามกลางในชีวิตมากมาย มองดูตนจะเห็นว่าเรามีโอกาสดีกว่าอีกหลาย ๆ คน อย่างน้อยก็ให้เกิดสันโดษขึ้นในจิตใจ ยินดีในสิ่งที่มีอยู่
    ขอบคุณหลาย ๆ คนที่ช่วยสนับสนุนชีวิตของเรา เมื่อเรามองดูชีวิตของตนด้วยใจเป็นธรรม ใจเป็นศีล ใจมีเมตตา กรุณาแล้ว จะเกิดความพอใจ สุขใจในฐานะของตน
    สันโดษพอใจในชีวิตตนในปัจจุบัน เมื่อใครได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    เขาพอใจ มีความสุข เราก็พลอยยินดีกับเขา ยิ่งพลอยยินดีกับความสุขของเขา
    เราก็ยิ่งเพิ่มความสุขในใจตนยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    มุทิตาธรรมที่สมบูรณ์ จึงต้องประกอบด้วยคุณธรรมของความเมตตาและกรุณา อยู่ในตัวนั่นเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    อุเบกขา

    คือความวางใจเป็นกลาง เป็นปกติ ไม่ยินดี ยินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นไปตามสมควรแก่เหตุปัจจัย ตามกฎแห่งกรรม
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    หลายคนเข้าใจผิดว่า อุเบกขา คือเฉย ๆ ไม่สนใจว่าใครจะทำอะไร ช่างมัน ฉันไม่เกี่ยว
    อุเบกขา มาจากความหมายเดิมว่า เข้าไปดู เข้าไปดูจนเข้าใจ ชัดเจน แล้วจิตปล่อยวาง
    ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยินดี ยินร้าย วางใจเฉย
    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>

    อุเบกขา ต้องอาศัย สติ ปัญญา ขันติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    ครูบาอาจารย์ เปรียบเทียบไว้ว่า เมื่อลูกของเราจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเรียนต่อ
    ก่อนเดินทาง พ่อแม่ อบรมสั่งสอนทำหน้าที่ของพ่อแม่ ให้ดีที่สุด และสมบูรณ์ด้วย
    เมตตา กรุณา มุทิตา เมื่อลูกเดินทางไปต่างประเทศแล้ว ไม่ต้องคิดถึง หรือเป็นห่วงวิตกกังวลใด ๆ อีก ทำใจวางเฉย รักษาใจ สงบใจ สุขใจ เราจะพัฒนาอุเบกขาขึ้นในจิตใจได้
    ต้องเข้าใจความจริงอย่างหนึ่งของชีวิตว่า ไม่มีใครหนีพ้นจากโลกธรรมแปด

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    โลกธรรมแปดฝ่ายน่าปรารถนา ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข
    โลกธรรมแปดฝ่ายไม่น่าปรารถนา ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    โดยเฉพาะโลกธรรมฝ่ายไม่น่าปรารถนานี้
    หากเกิดขึ้นกับบุคคลที่รัก เช่น ลูกของเราแล้ว
    ยากที่จะวางใจให้เป็นกลางได้
    เรามักคิดว่าโลกนี้ไม่ยุติธรรม ไม่สมควรเลย
    แต่หากเราพิจารณาชีวิตด้วยปัญญาชอบแล้ว
    จะเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีประสบการณ์อยู่นั้น
    มันเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ทุกสิ่งที่เราประสบล้วนเป็นมรดกแห่งกรรมของเราเอง
    ชีวิตที่เรามีประสบการณ์อยู่นี้สมบูรณ์ด้วยเหตุผล
    สมบูรณ์ด้วยเหตุ ปัจจัยของมันเอง
    การกระทำของตัวเอง มองดูจากระยะยาว
    ตั้งแต่อเนกชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น
    จึงพอเหมาะ พอดี สมบูรณ์แล้วด้วยกฎแห่งกรรม
    ใช้สติ ปัญญา เข้าใจความเป็นไปของชีวิต
    ปล่อยวางได้ ทำใจได้ ไม่ทุกข์ใจ
    เอาใจใส่ และรับผิดชอบในชีวิตปัจจุบัน
    ทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ด้วยความพอใจ สงบใจ

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    ที่สุดของอุเบกขา คือไม่มีปฎิฆะ อันหมายถึง
    ความกระทบกระทั่งใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง
    เกิดขึ้นในใจแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะมีเรื่องราวเดือดร้อน
    รุนแรงขนาดไหน เข้ามากระทบ ก็ทำใจปล่อยวาง
    และสงบใจได้

    </TD></TR><TR><TD class=style14 colSpan=2>
    อุเบกขา จึงถือเป็นคุณธรรมขั้นสูง
    อันเปี่ยมไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา
    อย่างสมบูรณ์ในขณะเดียวกัน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>ทุกข์เพราะคนรักหนีจากไป

    </TD></TR><TR><TD width=384>จากหนังสือ พลิกนิดเดียว

    </TD><TD width=382>
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ( ต้นปี 2538 )
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    สามี ภรรยาคู่หนึ่ง รักใคร่กันดี แต่พอประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ก็เริ่มมีปากเสียงและมากขึ้น ๆ จนภรรยาทนไม่ได้ ขอกลับบ้านไปอยู่กับแม่ ต่อมาสามีได้อ่านหนังสือ “ ทุกข์ เพราะคิดผิด” ก็ได้คิด
    สำนึกรู้ตัวว่าตัวเองผิดมากเพราะใช้อารมณ์และบ่นมากเกินไป จึงไปเจรจาขอให้ภรรยากลับบ้าน แต่ภรรยาไม่ยินยอม คงพูดถึงเรื่องเก่าๆ ด้วยความเจ็บใจ สามีเป็นทุกข์เพราะทั้งหวง และห่วงภรรยา จึงมีจดหมายมาปรับทุกข์กับพระอาจารย
    ์​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระอาจารย์สอนว่า
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    อาตมาได้รับจดหมายจากคุณโยมแล้ว รู้สึกเห็นใจคุณโยมอยู่เหมือนกัน แต่ว่าคุณโยมก็ควรพิจารณาให้เข้าใจ และยอมรับความจริงของชีวิต
    คุณโยมคงจะรู้สึกเป็นทุกข์ และคิดว่าตนเองเป็นคนที่โชคร้ายมากคนเดียวในโลก แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่คุณโยมกำลังประสบอยู่เป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกชีวิต
    ไม่มากก็น้อย ไม่ในปัจจุบันก็ในอนาคต ไม่วันใดก็วันหนึ่ง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความรู้สึกผิดหวัง ไม่สมปรารถนา เสื่อมลาภ นินทา ทุกข์ เป็นโลกธรรมฝ่ายให้โทษ
    แต่ทุกคนก็ล้วนต้องประสบ
    ถ้าเราศึกษาพุทธประวัติ จะพบว่าแม้แต่พระพุทธองค์เองก็ประสบเหมือนกัน
    เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จหนีออกจากวังไปบวชเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ เพื่อช่วยตนเองและผู้อื่นนั้น แม้ว่าเป็นเจตนาที่ดีก็ตาม แต่เมื่อดูความรู้สึกของพระบิดา พระมเหสี พระโอรส และพระญาติของพระองค์ก็คงมีความรู้สึกเหมือนคุณโยมในปัจจุบันนี้เช่นกัน​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    นอกจากนั้น ลูกศิษย์ของพระองค์เองคือพระเทวทัตก็ได้พยายามฆ่าพระองค์อยู่หลายครั้ง และมีช่วงหนึ่งพระราชาผู้ซึ่งเป็นโยมอุปฐากของพระพุทธองค์มีเหตุให้ต้องยกทัพไปฆ่าพระญาติของพระองค์ทั้งหมด พระพุทธองค์ได้ทรงห้ามถึง 3 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 4 พระองค์ทรงพิจารณาแล้วว่าเป็นกรรม ไม่สามารถห้ามได้ เป็นเหตุให้ราชวงศ์ศากยะถูกฆ่าหมด พระพุทธองค์หมดสิ้นพระญาติตั้งแต่บัดนั้น
    และครั้งหนึ่งพระองค์เสื่อมเอกลาภถึงขนาดที่ทั้งพระองค์และหมู่ภิกษุต้องฉันอาหารที่ใช้เลี้ยงม้าตลอดทั้งพรรษา
    ในบางพรรษา ลูกศิษย์ของพระพุทธองค์มีเรื่องขัดแย้งถึงแตกสามัคคีกัน พระองค์ทรงห้ามอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่าตามลำพัง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    อีกครั้งหนึ่งที่โลกธรรมฝ่ายที่ให้โทษเกิดแก่พระพุทธเจ้า คือ เมื่อพระองค์ถูกชาวเมืองนินทาว่าร้าย เพราะถูกนักบวชนอกศาสนาใส่ความว่า พระองค์ทำให้อุบาสิกาตั้งท้อง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ให้คุณโยมน้อมพิจารณาดู แม้แต่พระพุทธองค์ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาบุรุษของโลก ชีวิตของพระองค์ก็ไม่ราบรื่นเช่นกัน พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสสอนว่า ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ชีวิตเป็นทุกข์” ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ทุกข์สัจจะ ได้แก่
    1. ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์
    2. ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
    3. ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
    4. ความผิดหวัง ไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ ก็เป็นทุกข์
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความจริงของชีวิต
    เราจึงควรยอมรับความจริงเหล่านี้
    ไม่มีชาวโลกคนใดจะหนีพ้นได้​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ปัญหาระหว่างคุณโยมและภรรยานั้น ถ้าพูดถึงความถูกผิดแล้ว
    ต่างก็ผิดเหมือนกัน ถูกผิดเท่ากัน
    ดังนั้น จึงควรหาข้อเสียของตัวเอง
    สิ่งที่เกิดขึ้น ก็เป็นความพอดีกับการกระทำที่แต่ละคนได้ทำมา
    ถ้าผิดฝ่ายเดียว ปัญหาคงไม่เกิด เหมือนตบมือข้างเดียว เสียงย่อมไม่ดัง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ประการที่หนึ่ง ทำความรู้สึกปล่อยวาง เพื่อให้ใจสงบ
    ประการที่สอง เจริญเมตตา พยายามส่งกระแสใจที่เป็นความปรารถนาดี เป็น
    ความรักที่บริสุทธิ์ให้แก่ ภรรยา อาจใช้วิธีนึกเห็นมโนภาพเห็นหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใสของเขา ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนกับใคร ขอให้เขามีความสุข
    ให้พยายามเจริญเมตตา คิดดี พูดดี ทำดี ทั้งแก่ตัวเราเองและแก่ภรรยา
    ผลก็คือ ตัวเราก็จะเกิดความสุขด้วย
    ประการที่สาม ถ้าพูดกันในระยะยาวถึงเรื่องภพ ชาติแล้ว คุณโยมและภรรยาคงเคยผูกพันกันมาตั้งแต่อดีตชาติ จึงเป็นเหตุให้ชาตินี้ได้เป็นสามี ภรรยากัน
    และต่อไปในชาติหน้า ก็อาจจะได้ใช้ชีวิตร่วมกันอีก
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าคุณโยมไม่แก้ปัญหาให้เกิดความเข้าใจกัน
    ไม่ได้ให้อภัยและอโหสิกรรมให้แก่กันในชาตินี้
    ชาตินี้เป็นอยู่อย่างไร ชาติหน้าก็จะเป็นเหมือนกับที่เป็นอยู่ในชาตินี้เช่นกัน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ใครได้เปรียบในชาตินี้ ชาติหน้าก็จะเสียเปรียบ
    ใครเสียเปรียบในชาตินี้ ชาติหน้าก็จะได้เปรียบ
    เรื่องกรรมเป็นเช่นนี้
    ใครฆ่าเราในชาตินี้ ชาติหน้าเราก็ฆ่าเขา

    ถ้าชาตินี้เขาทอดทิ้งเรา ชาติหน้าเราก็ทอดทิ้งเขา
    ถ้าชาตินี้ใครนอกใจเรา ชาติหน้าเขาก็จะถูกนอกใจเช่นกัน​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เรื่องที่คุณโยมประสบอยู่ขณะนี้ ชาติก่อนคุณโยมอาจเป็นฝ่ายทำเขาก่อนก็เป็นได้
    ดังนั้น ถ้ามองจากทั้ง 2 ฝ่ายในระยะยาวแล้ว
    ต่างคนจึงต่างเป็นผู้ผิด
    เหมือนไก่ กับไข่ซึ่งไม่มีเงื่อนงำว่าอะไรเกิดก่อนกัน
    ในเรื่องนี้ก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครผิดก่อนกัน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว พิจารณาดูก็จะเห็นว่า
    สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว
    เพราะถ้าอยู่ในสภาพนี้ ชาติ ต่อๆ ไป ก็จะเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป
    ทำให้ต้องทุกข์ต่อไปหลายภพ หลายชาติ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ผู้ที่ไม่ประมาทจึงควรแก้ปัญหาในชาตินี้
    ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ คือคิดแก้ปัญหาที่ตัวเราก่อน แก้ที่ใจเรา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ
    1. ยอมรับความจริงดังกล่าว
    2. ปล่อยวางอดีต ให้เหมือนกับไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
    3. ให้อภัย เจริญเมตตา ไม่ถือโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาทเขา
    4. ทำใจเราให้สงบ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อทำได้เช่นนี้จริงๆ เราจะอยู่ด้วยกันในชาตินี้ก็ดี ชาติหน้าก็ดี
    ก็อยู่ด้วยกันอย่างปกติสุขได้​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    การคืนดีกันในชาตินี้ จะได้หรือไม่ ไม่ควรถือว่าสำคัญ
    ขอให้เรามีจิตใจที่จะคืนดีแก่เขาอยู่ในตัวเราก่อน
    ปฏิบัติตนเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี
    จนเขารู้จัก เข้าใจและเห็นใจเรา
    และควรปฏิบัติให้มีการอโหสิกรรมแก่เขา ซึ่งก็เหมือนช่วยตัวเองด้วย
    อย่างน้อยเราก็จะมีชีวิตที่เป็นสุขได้ ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ในเรื่องภรรยาและลูกก็ไม่ต้องห่วงอะไรมากนัก
    ขณะนี้เราอาจจะมีความรู้สึกว่า เขาหนีจากเราไป
    ถ้าลองเปลี่ยนความคิดดู พลิกนิดเดียว
    ลองคิดว่า เราจะหนีจากเขาบ้าง
    ลองมาบวชดูชั่วคราว หรือจะบวชตลอดไปก็ได้
    ถ้ามีความสุข เพราะความสุขความสบายจากการอยู่คนเดียวก็มีเหมือนกัน
    อย่างที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
    การไม่มีภรรยา เป็นลาภอันประเสริฐ
    ถึงจะอยู่คนเดียว ก็พยายามอยู่ให้มีความสุข
    เขาจะ กลับมาหรือ ไม่กลับมาก็ได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สุดท้ายนี้ขอให้คุณโยมพิจารณาดีๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพุทธธรรม
    สมเหตุ สมผล และขอให้บรรเทาทุกข์ พ้นทุกข์โดยเร็วๆ นี้
    ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ......เจริญพร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>แก้ปัญหาด้วยธรรมะ

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ กำลังใจ 10

    </TD><TD width=383>
    พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ใจของคนอื่นบางทีก็ห้ามเขาได้ พูดกับเขาดีๆ ด้วยเหตุด้วยผล เขามีความเห็นตรงกัน
    เขายอมรับ เขาก็ทำได้ เป็นไปตามที่เราต้องการได้
    แต่ในบางกรณี เขามีความรู้สึกนึกคิดตรงกันข้ามกับเรา ไม่เป็นไปดังที่เราต้องการ
    เราก็ไปห้ามเขาไม่ได้ เมื่อห้ามเขาไม่ได้ เราก็ต้องยอมรับความจริงข้อนี้
    ถ้าไม่ยอมรับความจริงข้อนี้ เราก็ยังต้องมีความว้าวุ่น ขุ่นมัวกับคนๆ นั้นอยู่ต่อไป​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เช่น ถ้าเขาอยากจะไปเที่ยว อยากจะไปมีแฟนใหม่ เราขอร้องเขาพูดกับเขาดีๆ เขาไม่ยอม เขาก็ยังจะทำอย่างนั้น เราก็ต้องยอมรับความจริงว่าเราห้ามเขาไม่ได้ เหมือนกับไปห้ามไม่ให้ไฟไม่ร้อนไม่ได้ ไฟย่อมร้อน หรือไปห้ามไม่ให้มะนาวเปรี้ยวไม่ได้ ฉันใด คนชั่ว คนเลว คนที่จะเป็นอย่างนั้น เราก็ไปห้ามเขาไม่ได้ เมื่อเขาอยากจะนอกใจเรา ไปมีแฟนใหม่
    เราก็ห้ามเขาไม่ได้ แต่เราห้ามใจของเราไม่ให้ทุกข์ได้ ด้วยความเข้าใจสัจธรรม
    ความจริงของชีวิตว่า
    ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้อยู่ในความควบคุมของเรา เราควบคุมได้บางครั้ง
    บางคราว บางเวลา บางคน แต่จะไปควบคุมอยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อเรารู้แล้วว่าเราควบคุมไม่ได้ บังคับไม่ได้ ก็ปล่อยวางเสีย ปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขา ถือเสียว่าบุญของเรากับเขามีเพียงเท่านี้ ก็ต้องแยกทางกันไป ก็ไม่เป็นไร
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ตัวใครตัวมัน เพราะไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องแยกทางกันอยู่ดี เพราะคนเราเกิดมาแล้ว ก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ไม่เขาตายก่อนเรา เราก็ตายก่อนเขา หรือไม่เช่นนั้นก็ตายพร้อมๆ กัน​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่อย่างไรๆ ก็ต้องแยกกันอยู่ดี เมื่อคิดได้แล้ว เราก็จะสบายใจ รับความจริงได้ ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>สุขแท้ สุขปลอม

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ กำลังใจ 10

    </TD><TD width=383>
    พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ให้มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ เขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้น เราไม่ต้องไปกังวลกับเขา
    เขาจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เขาเป็นไป ถ้ามาเกี่ยวข้องกับเรา ก็ปฏิบัติกับเขาให้ดีที่สุด
    เท่าที่จะทำได้ ตามหน้าที่ของเรา ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้น
    เป็นไปตามความต้องการของเราก็ไม่ต้องไปกังวลกับเขา ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขา ไม่มีเขาเราก็อยู่ได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    นี่คือหลักความจริง แต่เหตุที่พวกเรายังต้องไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น
    ก็เพราะความหลง เพราะคิดว่าถ้ามีสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแล้วจะมีความสุข จะมีความเจริญรุ่งเรือง
    ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจที่สงบ อยู่ที่ใจที่ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างต่างหาก
    เพราะถ้าใจได้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างแล้วก็จะไม่มีอะไรมาสร้างความทุกข์ให้กับใจ
    มาสร้างความวุ่นวายให้กับใจ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าใจยังมีความวุ่นวาย ยังมีความกังวลอยู่ ก็แสดงว่าใจยังไม่ได้พัฒนาไปถึงจุดที่สูงสุด
    จุดที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายได้พัฒนาไปถึงนั้น เป็นจุดที่ไม่มีความกังวล ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความวุ่นวายใจ เรียกว่า ปรมังสุขัง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    มีแต่ความสุขล้วนๆ มีความสุขอย่างเดียวภายในใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปัญญา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    มีความเข้าใจในสภาวธรรมทั้งหลายว่าเป็นทุกข์นั่นเอง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าไปยุ่งกับเขา ไปเกี่ยวข้องกับเขาแล้ว จะต้องมีความกังวลใจตามมาไม่ช้าก็เร็ว
    ถ้าไม่ไปเกี่ยวข้องก็จะไม่มีความทุกข์ ไม่มีความกังวลใจ
    ญาติโยมลองสังเกตดู เรามีความทุกข์กับอะไร ส่วนใหญ่ก็มีความทุกข์กับของๆ เรานั่นหละ
    อะไรที่เป็นของๆ เรา ก็จะมีความทุกข์กับสิ่งนั้น ถ้าสิ่งไหนไม่ใช่เป็นของๆ เรา ก็จะไม่มีความทุกข์กับของสิ่งนั้น จึงต้องใช้ปัญญาให้เห็นว่า ไม่มีอะไรเป็นของๆ เรา
    เพื่อจะได้ปล่อยวางอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น จะได้ไม่ต้องทุกข์กับอะไรอีกต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    โทษของกามสุข

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ กำลังใจ 9 ตอนทำดี ละชั่ว

    </TD><TD width=383>
    พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ต่อจากนั้นก็ยังมีความรัก ความชอบในสิ่งต่างๆ ที่ต้องปล่อยวางอีก เช่น
    กามสุข ที่เกิดจากกามตัณหาความอยากในกาม เราก็ต้องปล่อยวาง
    ต้องเห็นว่าสิ่งที่เราไปรักไปชอบนั้น ไม่ใช่สิ่งที่สวยงาม รูปร่างหน้าตาของคนเรานั้น
    พอดูได้แต่เพียงเฉพาะเปลือกนอก คือผิวหนังเท่านั้นเอง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้ามองทะลุเข้าไปใต้ผิวหนังแล้ว ก็จะเห็นอวัยวะต่างๆ น้อยใหญ่ ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในของร่างกาย รวมถึงสิ่งที่เป็นปฏิกูลต่างๆ ที่ร่างกายจะต้องขับถ่ายออกมา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าพิจารณาอย่างสม่ำเสมอด้วยปัญญา ด้วยความแยบคาย ก็จะเห็นว่าร่างกายนี้
    ไม่สวยงามเลย ไม่สะอาดหมดจด แต่เป็นร่างกายที่สกปรก มีความไม่สวยไม่งามซ่อนเร้นอยู่ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังเป็นอย่างนี้ ในขณะที่ตายไป ยิ่งสกปรก ยิ่งน่าเกลียด
    น่ากลัวขึ้นไปใหญ่
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่เป็นสิ่งที่พวกเราไม่ค่อยพิจารณากัน ไม่ค่อยคิดกัน ก็เลยเกิดความรักความยินดีในร่างกาย เห็นเพศตรงกันข้ามแล้ว เกิดความอยากจะอยู่ใกล้ด้วย อยากจะสัมผัสด้วย เพราะเห็นเพียงแต่อาการภายนอก ไม่เห็นอาการภายใน จึงทำให้มีความยึดติดกับร่างกายของเพศตรงกันข้าม
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่ถ้าได้ศึกษาได้พิจารณาอย่างต่อเนื่อง อย่างสม่ำเสมอ ต่อไปเวลาเห็นร่างกายของเพศตรงกันข้าม หรือเพศเดียวกันก็ตาม จะเห็นทะลุไปถึงอาการทั้ง ๓๒ อาการ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในร่างกายของผู้อื่น
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อคลายความกำหนัดความยินดี จิตก็หลุดพ้นจากความเป็นทาสของกามตัณหา ความอยากในกาม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง โดยไม่ต้องมีคู่ครองอีกต่อไป ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    คนที่อยู่ตามลำพังได้เป็นคนมีบุญมีกุศล เพราะไม่ต้องทุกข์กับคู่ครอง เพราะเวลามีคู่แล้วถึงแม้จะมีความสุขบ้าง แต่ถ้าเปรียบเทียบกับความทุกข์ที่ได้มาแล้ว มันเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เพราะเมื่ออยู่ด้วยกันก็ต้องมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน มีการขัดใจกัน มีความไม่พอใจกัน หรือถ้าไม่มีการทะเลาะกัน ไม่มีการขัดแย้งกัน มีแต่ความรักต่อกัน ก็ต้องมีความห่วงใยกัน กลัวว่าเขาจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไปเป็นต้น ล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งนั้น
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่เนื่องจากว่าเรายังอยู่ตามลำพังไม่ได้ ยังมีความหลงอยู่ ยังมีความยินดีในกามอยู่ จึงทำให้ ไม่สามารถที่จะอยู่ตามลำพังได้ จึงต้องยอมรับความทุกข์ ที่มาจากความสุขที่เกิดจาก
    การเสพกาม
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าเป็นคนฉลาด ก็จะเจริญธรรม ให้เห็นว่าร่างกายนี้ เป็นร่างกายที่ไม่สวยงาม เป็นปฏิกูลของสกปรก จนปล่อยวางได้ ก็จะไม่ยินดีกับการมีคู่ครองอีกต่อไป ก็จะสามารถอยู่ตามลำพังได้ เพราะจิตที่ไม่มีกามตัณหานั้น เป็นจิตที่สงบสงัดจากกาม เป็นจิตที่มีความสงบนิ่ง เป็นสมาธิ เป็นจิตที่มีความสุขโดยธรรมชาติของจิตเอง เป็นความสุขที่ประเสริฐ เป็นความสุขที่เลิศกว่าความสุขที่ได้จากการเสพกาม
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ไม่มีความสุขอันใดในโลกนี้ จะดีเท่ากับความสุขที่เกิดจากความสงบของจิต ที่เรียกว่าสันติสุข นี่แหละคือความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่อยู่กับเราไปตลอด เพราะอยู่ในจิตของเรา ไม่ต้องอาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใด มาทำให้จิตมีความสุข
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ไม่มีใครสามารถแย่งชิงความสุขนี้จากเราไปได้ ไม่เหมือนกับกามสุข ที่ต้องอาศัยบุคคลอื่น เป็นเครื่องให้ความสุขกับเรา ถ้าเผลอก็อาจจะถูกคนอื่นแย่งคนๆ นั้น จากเราไปก็ได้ ถ้าถูกแย่งไป เราก็จะต้องเศร้าโศกเสียใจ เป็นความทุกข์ขึ้นมาทันที
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    นี่แหละคือโทษของกามสุข กามสุขไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    กามสุขมีโทษซ่อนอยู่ มีความทุกข์ซ่อนอยู่ เปรียบเหมือนกับระเบิดเวลาที่จะระเบิดขึ้นมา
    เวลาไหนเราก็ไม่รู้ สามีของเรา ภรรยาของเรา จะจากเราไปแบบไหน เมื่อไร เราก็ไม่รู้ จะหย่ากัน จะไปมีสามีใหม่ ภรรยาใหม่ หรือจะตายจากเราไป อย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็ไม่รู้​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเรายังหวง ยังยึด ยังติดกับเขาอยู่ เราก็จะต้องเศร้าโศกเสียใจ ร้องห่มร้องไห้ไปเป็นธรรมดา นี่คือปัญหาของพวกเรา เพราะไม่ใช้ลิ้นของเราให้เป็นประโยชน์ กลับไปใช้ทัพพี คือใจของเรานั้น เป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง เป็นทัพพีก็ได้
    เป็นลิ้นก็ได้ ถ้าเป็นลิ้นก็ต้องสำเหนียก เตือนสติสอนใจเราอยู่เสมอ ต้องเข้าหาธรรมอยู่เสมอ ฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เสมอ ถ้าไม่มีโอกาสได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ก็หาหนังสือธรรมะมาอ่านอยู่เสมอ เพราะเมื่อได้อ่านแล้ว ก็จะได้จดจำ แล้วธรรมก็จะไม่ห่างจากใจของเรา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    เจริญเมตตา

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ กำลังใจ 9 ตอน ธัมมานุสติ

    </TD><TD width=383>
    พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญเมตตาอยู่อย่างสม่ำเสมอ
    ให้มีความรู้สึกที่ดีต่อคนทุกๆ คน มองเขาเป็นเหมือนเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง
    เป็นคนที่เรารักที่เราชอบ ถึงแม้จะไม่รู้จักเขา ก็ขอให้มองเขาแบบนั้นเพราะเมื่อมองเขาแบบนั้นแล้ว เราจะไม่มีความโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ราจะไม่คิดเบียดเบียนเขา แต่จะมีแต่ความปรารถนาดีกับเขา
    อยากให้เขามีความสุข อยากให้เขาพ้นทุกข์
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่ถ้าไม่ได้เจริญเมตตา ปล่อยให้จิตถูกความมืดบอดครอบงำ
    เวลาเห็นการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ถูกใจ ก็จะเกิดความขุ่นมัวขึ้นมา เกิดความพยาบาทขึ้นมา
    เกิดความไม่พอใจ ไม่ชอบใจขึ้นมา แล้วก็จะเริ่มคิดร้ายกับเขาขึ้นมา เพราะไม่ได้เจริญเมตตานั่นเอง ถ้าเจริญเมตตาแล้ว เราจะมีแต่ความรู้สึกที่ดีต่อเขา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    นอกจากการเจริญเมตตาแล้ว ทรงสอนให้เจริญอุเบกขาควบคู่ไปด้วย
    คือให้มองว่าสัตว์ทั้งหลายนั้น มีกรรมเป็นของๆ ตน จะดีจะชั่ว ก็เป็นเรื่องของเขา
    เขาดีเขาก็จะได้รับผลดีของเขา เขาชั่วเขาก็จะต้องได้รับผลชั่วของเขา ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องไปเป็นผู้ตัดสิน เป็นผู้ให้คุณให้โทษกับเขา ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เขาดีเดี๋ยวเขาก็ได้รับผลดีไปเอง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เขาชั่วเขาก็ได้รับผลชั่วของเขาไปเอง ยกเว้นเขาเป็นคนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเรา เป็นลูกจ้างของเรา ถ้าเขาเป็นคนดี ทำงานมีความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์สุจริต
    เราก็ควรให้รางวัลเขา ถ้าเราอยู่ในฐานะที่จะให้เขาได้ ถ้าเขาเป็นคนไม่ดี
    คนเกียจคร้าน
    คนทุจริต มีแต่จะคอยลักเล็กขโมยน้อย เราก็จะต้องทำโทษเขา ในเบื้องต้นเราอาจจะเตือนเขาไว้ก่อน ว่า ไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้แล้วก็คาดโทษไว้ว่า ถ้าทำต่อไปจะต้องมีการทำโทษ ต้องมีการตัดเงินเดือน ถ้าเป็นโทษร้ายแรง ก็จะต้องให้ออกจากงานไป อย่างนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่ไม่ได้เป็นการกระทำที่เกิดจากการขาดความเมตตา แต่เกิดจากความจำเป็นที่จะ
    ต้องทำอย่างนั้น ถ้ามีความเมตตา มีอุเบกขา เวลาเห็นคนอื่นที่เราไม่มีความเกี่ยวข้องด้วย เขาจะชั่วอย่างไร เขาจะดีอย่างไร
    ใจของเราจะเป็นปกติ คือจะไม่โกรธแค้น โกรธเคืองกับเขา
    อยากให้เขาต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไป เราถือว่าเป็นเรื่องของกรรม
    เพราะการที่เราไปโกรธแค้นโกรธเคือง ก็เป็นการสร้างความทุกข์ให้กับใจของเราเอง
    สร้างความร้อนให้กับใจของเรา เป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากความมืดบอดนั่นแหละ ขาดปัญญา ขาดธรรมะ ผู้ที่มีธรรมะแล้วย่อมไม่โกรธแค้นโกรธเคืองผู้ใดเลย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แม้ผู้นั้นจะทำสิ่งที่ไม่ดีกับเรา สร้างความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจให้กับเรา
    เราจะไม่อาฆาตพยาบาท เพราะความโกรธความอาฆาตพยาบาทเป็นเหมือนไฟที่จะเผาจิตใจของเราให้มีแต่ความรุ่มร้อน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เราถูกเขาทำร้ายทางกายแล้ว ทำไมจึงให้เขาทำร้ายทางใจอีกด้วย
    ทางใจนี้เราระงับได้ด้วยธรรมะ ด้วยน้ำของธรรมะ คือต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกนี้ เรายังจะต้องรับเคราะห์กรรม ที่เราเคยทำไว้ในอดีต
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แม้ไม่ใช่เป็นกรรมในชาตินี้ ก็มีกรรมที่เราเคยทำไว้ในอดีตชาติ
    เราอาจจะจำไม่ได้เท่านั้นเอง แต่เมื่อเกิดเคราะห์กรรมแล้ว ก็ขอให้เราทำใจให้สงบ
    ทำใจให้เป็นปกติ เป็นอุเบกขา ดังในบทธรรมที่ได้เจริญไว้ว่า​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน

    เขามีกรรมของเขา เราก็มีกรรมของเรา ในเมื่อวิบากกรรมคือผลของกรรมได้ตามมาถึงแล้ว เราจะไปปฏิเสธวิบากกรรมเหล่านั้นได้อย่างไร
    เราก็ต้องอดทน ใช้ขันติ ยอมรับกรรมอันนั้นไป แต่เราจะไม่ไปสร้างกรรมอันใหม่ขึ้นมาด้วยการไปตอบโต้ไปทำร้ายเขา อย่างนี้เป็นการสร้างเวรสร้างกรรมให้เพิ่มมากขึ้นไปอีก
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อทำเช่นนี้แล้ว เวรกรรมก็จะไม่มีหมดสิ้น​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ดังในพุทธภาษิตที่แสดงไว้ว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...