โยนิโสมนสิการ ฐานะความคิดในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 11 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อิอิ ไหนลองบอกสัททาในพระพุทธองค์ของนายนิวรณ์ 5 ให้ฟังสิ ศรัทธาแง่ไหนอย่างไรน่างับ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เห็นท่าจะต้องลงศรัทธาสักกระทู้แล้ว คิกๆๆ

    อันที่จริง ก็บอกอยู่แล้ว ปรโตโฆสะ นี่แหละหลักศรัทธา แต่นายนิวรณ์ 5 ธรรมจิตสู่จิต (พูดไม่ได้) ไม่เข้าใจ

    หมกตัวอยู่นี่ก็นานแล้ว แต่ไม่ได้รู้เรื่องพุทธธรรมอะไรเลย
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การยกย่อง เจ้าของคำสอน ด้วยการ ประจบ สอพลอ แล้ว ลอกคำสอนมากล่าว
    โดยไม่ให้เครคิต

    บอกไปหนาดานดานๆว่า โยนิโสมนสิการ ต้อง พ้น สัททา เหนือสัททา กระทืบ
    คนสอนคนแรกจมดิน แล้วปล้นมาเป็น ความคิดความอ่านตน ได้เต็มปาก


    อิอิ นี่ตาบอดโดยแท้ บอกทุกกระทู้ว่านำมาจากไหน แต่หน้าเท่าไหร่

    ไอ้นี่ตอแหลได้โลห์

    จับความได้ว่า ไอ้คนพวกนี้ เคยมั่วหลักธรรมสนุกสนานมานาน เจอะไม้นี้เข้าไป ถึงกับครั่นเนื้อครั้นตัว คิกๆๆ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อจาก # 11

    ง. ความคิดที่ไม่เป็นการศึกษา และความคิดที่เป็นการศึกษา

    การคิดพ่วงต่อจากกระบวนการรับรู้ กระบวนการรับรู้นั้น เริ่มต้นด้วยการที่อายตนะประสบกับอารมณ์ * และเกิดวิญญาณ คือ ความรู้ต่ออารมณ์นั้น เช่น เห็น ได้ยิน ตลอดถึงรู้ต่อเรื่องในใจ เมื่อเกิดความเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่า มีการรับรู้ หรือภาษาบาลี เรียกว่า ผัสสะ

    เมื่อมีการรับรู้ ก็จะมีความรู้สึกต่ออารมณ์ นั้น เช่น สุข สบาย ทุกข์ ไม่สบาย หรือเฉยๆ เรียก ว่า เวทนา พร้อมกันนั้น ก็จะมีการหมายรู้อารมณ์ว่าเป็นนั่น เป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้ เรียกว่า สัญญา จากนั้น จึงเกิดความคิด ความดำริตริตรึกต่างๆ เรียกว่า วิตักกะ

    กระบวนการรับรู้เป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการประสบอารมณ์ โดยได้ รับประสบการณ์ภายนอก หรือการนึกถึง ยกเอาเรื่องราวต่างๆขึ้นมาพิจารณาในใจ

    เขียนให้ดูง่ายๆโดยยกความรู้ทางตาเป็นตัวอย่าง

    ตา + + + + + รูป + + + เห็น = = การรับรู้ =>รู้สึกสุขทุกข์=>จำได้หมายรู้=>คิด
    (อายตนะ) (อารมณ์) (จักขุวิญญาณ) (ผัสสะ) - - - (เวทนา) - - - (สัญญา) - - (วิตักกะ)


    ขั้นตอนของการคิด (วิตักกะ) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดบุคลิกภาพ และวิถีชีวิตของบุคคล ตลอดจนถึงสังคม จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษา แต่ความคิดนั้นจะเป็นอย่างไร ย่อม ต้องอาศัยปัจจัยที่กำหนดหรือปรุงแต่งความคิดนั้นอีกต่อหนึ่ง

    ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ ( เวทนา)

    ตามปกติสำหรับคนทั่วไป เมื่อมีการรับรู้ และเกิดเวทนาแล้ว ถ้าไม่มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาแปรหรือตัดตอน เวทนาก็จะเป็นตัวกำหนดวิถีของความคิด
    คือ
    - ถ้ารู้สึกสบาย ก็ชอบใจ อยากได้ อยากเสพ อยากเอา (ตัณหาฝ่ายบวก)

    - ถ้ารู้สึกไม่สบาย ก็บีบคั้น เป็นทุกข์ ก็ขัดใจ อยากเลี่ยงพ้นหรืออยากทำลาย (ตัณหาฝ่ายลบ)

    ต่อจากนั้น ความคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะกำหนดเน้นหรือเพ่งไปที่อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่มาของเวทนานั้น เอาสิ่งนั้น เป็นที่จับของความคิด พร้อมด้วยความจำได้หมายรู้ ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ (สัญญา) แล้วความคิดปรุงแต่งก็ดำเนินไปตามวิถีทางของความชอบใจ ไม่ชอบใจนั้น

    เครื่องปรุงแต่งความคิดก็คือ ความโน้มเอียง ความเคยชิน กิเลส จิตนิสัยต่างๆ ที่จิตได้สั่งสมไว้ (สังขาร) และคิดอยู่ในกรอบ ในขอบเขต ในแนวทางของสังขารนั้น

    จากความคิด ก็อาจแสดงออกมาเป็นการทำ การพูด การแสดงบทบาทต่างๆ

    ถ้าไม่ถึงขั้นแสดงออกภายนอก อย่างน้อยก็มีผลกระทบต่างๆ อยู่ภายในจิตใจ เป็นผลในทางผูกมัดจำกัดตัว ทำให้จิตคับแคบ บ้าง เกิดความกระทบกระทั่ง วุ่นวาย เร่าร้อน ขุ่นมัว เศร้าหมอง บีบคั้นใจ บ้าง หรือถ้าเป็นการพิจารณาเรื่องราว คิดการต่างๆ ก็ทำให้เอนเอียง ไม่มองเห็นตามเป็นจริง อาจเคลือบแฝงด้วยความอยากได้ อยากเอา หรือความคิดมุ่งทำลาย

    แต่ในกรณีที่เกิดความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ถ้าไม่รู้จักคิด ปล่อยให้ความคิดอยู่ใต้อิทธิพลของเวทนานั้น ก็จะเกิดความคิดแบบเพ้อฝันเลื่อนลอย ไร้จุดหมาย หรือไม่ก็กลายเป็นอัดอั้นตันอื้อไป ซึงรวมเรียกว่า เป็นสภาพที่ไม่เกื้อกุลต่อคุณภาพชีวิต (เป็นอกุศล) สร้างปัญหาและก่อให้เกิดทุกข์

    กระบวนการความคิดนี้ เขียนให้ดูง่าย แสดงเฉพาะสภาพจิต หรือองค์ธรรมที่เป็นตัวแสดงบทบาทสำคัญๆ ดังนี้

    การรับรู้=>ความรู้สึกสุขทุกข์=>ความอยาก - ที่เป็นปฏิกิริยาบวก-ลบ=>ปัญหา

    (ผัสสะ) - - (เวทนา) - - - - - - - - - - (ตัณหา) - - - - - - - - (ทุกข์)

    ในชีวิตของคนทั่วไป กระบวนธรรมแห่งปัญหานี้ เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ ดำเนินไปเกือบตลอดเวลา ในวันหนึ่งๆ อาจเกิดขึ้นแล้วๆเล่าๆ นับครั้ง ไม่ถ้วน ชีวิตที่ไม่มีการศึกษา ย่อมถูกครอบงำ และกำหนดด้วยกระบวนการแห่งความคิดอย่างนี้ ความเป็นไปของกระบวนธรรมนี้ ดำเนินไปได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้สติปัญญา ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ หรือความ สามารถอะไรเลย จัดเป็นธรรมดาขั้นพื้นฐานที่สุด ยิ่งได้สั่งสมความเคยชินไว้มากๆ ก็ยิ่งเป็นไปเองอย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เรียกว่าลงร่อง

    เพราะการที่เป็นไปอย่างปราศจากปัญญา ไม่ต้องมีสติปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง และสติปัญญาไมได้เป็นตัวควบคุม จึงเรียกว่าเกิดอวิชชา และจึงไม่ เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหา แต่เป็นไปเพื่อก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ เรียกว่าเป็น ปัจจยาการแห่งทุกข์

    ลักษณะทั่วไปของมัน คือ เป็นการคิดที่สนองตัณหา ผลของมัน คือ การก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ จึงไม่เป็นการศึกษา

    สรุปสั้นๆ จะเรียกว่า กระบวนการคิดแบบสนองตัณหา หรือ การคิดแบบก่อปัญหา หรือวงจรแห่งความทุกข์ก็ได้

    เมื่อมนุษย์มีการศึกษาขึ้น ก็คือ มนุษย์เริ่มใช้ปัญญา ไม่ปล่อยให้กระบวนการคิด หรือวงจรปัจจยาการข้างต้นดำเนินไปเรื่อยๆ คล่องๆ แต่ มนุษย์เริ่มใช้สติสัมปชัญญะ และนำองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาตัด ตอน หรือลดทอนกระแสของกระบวนการคิดแบบนั้น ทำให้กระบวนการคิดแบบสนอง ตัณหา ขาดตอนไปเสียบ้าง แปรไปเสียบ้าง ดำเนินไปในทิศทางหรือรูปอื่นๆ บ้าง ทำให้มนุษย์เริ่มหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาส ไม่ ถูกกระบวนความคิดแบบนั้นครอบงำกำหนดเอาเต็มที่โดยสิ้นเชิง


    ในเบื้องต้น ตัวแปรนั้นอาจเป็นเพียงเสียงเหนี่ยวรั้ง หรือรูปสำเร็จแห่งความคิดที่ได้รบการถ่ายทอดโดยปรโตโฆสะ จากบุคคลหรือสถาบันต่างๆ และซึ่งตนยึดถือเอาไว้ด้วยศรัทธา

    แต่ถ้าตัวแปรจากปรโตโฆสะอย่างนั้น มีผลเพียงแค่เป็นที่ยึดเหนี่ยวดึงตัวไว้ หรือ ขัด ขวางไว้ไม่ให้ไหลไปตามกระแสของกระบวนการคิดนั้น หรืออย่างดีก็ได้แค่ให้รูปแบบความคิดที่ตายตัวไว้ยึดถือแทน ไม่เป็นทางแห่งการคิดคืบหน้าโดยอิสระของบุคคลนั้นเอง แต่ในขั้นสูงขึ้นไป ปรโตโฆสะที่ดี อาจชักนำ ศรัทธาประเภทที่นำต่อไปสู่ความคิดเองได้
    ......
    ที่อ้างอิง *
    *อารมณ์ในที่นี้ = sense-object ไม่ใช่ emotion สมัยปัจจุบัน เรียกบางส่วนของอารมณ์ว่า สิ่งเร้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2017
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ

    ปรโตโฆสะที่ชักนำให้เกิดศรัทธาแบบรูปสำเร็จตายตัว ไม่เป็นสื่อนำการคิดพิจารณาต่อไป เช่น ให้เชื่อ ว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไร ย่อมสุดแต่เทพเจ้าบันดาล หรือ เป็นเรื่องของความบังเอิญ

    เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้ว ก็ได้แต่คอยรอความหวังจาก เทพเจ้า หรือ ปล่อยตามโชคชะตา ไม่ต้องคิดค้นอะไรต่อไป

    ส่วนปรโตโฆสะ ที่ชักนำศรัทธาแบบเป็นสื่อโยงให้เกิดความคิดพิจารณา เช่น ให้เชื่อว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไร ย่อมแล้วแต่เหตุปัจจัย เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้ว เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ก็ย่อมคิดค้นสืบสาวหาเหตุปัจจัย ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อๆไป

    ความคิดพิจารณาที่ศรัทธาต่อปรโตโฆสะช่วยสื่อนำนั้น เริ่มต้นด้วยองค์ธรรมที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปรโตโฆสะที่ดี สร้างศรัทธาชนิดที่ชักนำให้เกิดโยนิโสมนสิการ

    เมื่อโยนิโสมนสิการ เกิดขึ้นแล้ว ก็หมายถึงว่า ได้มีจุดเริ่มของการศึกษา หรือ การพัฒนาปัญญาได้เริ่มขึ้นแล้ว จากนั้น ก็จะเกิดการคิดที่ใช้ ปัญญา และทำให้ปัญญาเจริญงอกงามยิ่งขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหา เป็นทางแห่งความดับทุกข์ และนี้ก็คือ การศึกษา

    พูดสั้นๆ ว่ากระบวนการคิดที่สนองปัญญา คือ การคิดที่แก้ปัญหา นำไปสู่ความดับทุกข์ และเป็นการศึกษา
    จุดสำคัญ ที่โยนิโสมนสิการเข้ามาเริ่มบทบาท ก็คือการตัดตอนไม่ให้เวทนามีอิทธิพล เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อไป คือให้มีแต่เพียงการเสวยเวทนา แต่ไม่เกิดตัณหา เมื่อไม่เกิดตัณหา ก็ไม่มีความคิดปรุงแต่งตามอำนาจของตัณหานั้น ต่อไป

    เมื่อตัดตอนกระบวนการคิดสนองตัณหาแล้ว โยนิโส มนสิการก็นำความคิดไปสู่แนวทางของการก่อปัญญา แก้ปัญหา ดับทุกข์ และทำให้เกิดการศึกษาต่อไป


    อย่างไรก็ดี สำหรับมนุษย์ปุถุชน แม้เริ่มมีการศึกษาบ้างแล้ว แต่กระบวนกาความคิด ๒ อย่างนี้ ยังเกิดสลับกันไปมา และกระบวนหนึ่ง อาจไปเกิดแทรกในระหว่างของอีกกระบวนหนึ่ง เช่น กระบวนแบบแรกจากดำเนินไปจนถึงเกิดตัณหาแล้ว จึงเกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมาตัด และหันเหไปใหม่ หรือกระบวนแบบหลังดำเนินไปถึงปัญญาแล้ว เกิดมีตัณหาขึ้นในรูปใหม่แทรกเข้ามา

    โดยนัยนี้ จึงเกิดมีกรณีที่นำเอาผลงานของปัญญา ไปรับใช้ความต้องการของตัณหาได้ เป็นต้น

    บุคคลที่มีการศึกษาสมบูรณ์แล้ว เมื่อคิด ก็คิดอย่างมีโยนิโสมนสิการ เมื่อไม่คิด ก็มีสติครองใจอยู่กับปัจจุบัน คือ กำกับจิตอยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำ และพฤติกรรมที่กำลังดำเนินไปอยู่ของตน


    อนึ่ง เมื่อว่าเมื่อคิด ก็คืออย่างมีโยนิโสมนสิการนั้น ก็หมายถึงมีสติอยู่พร้อมด้วย เพราะโยนิโสมนสิการ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงสติ และทำให้ต้องใช้ปัญญา เมื่อความคิดเดินอยู่อย่างเป็นระเบียบมีจุดหมาย จิตก็ไม่ ลอยเลื่อนเชือนแช ต้องกุมอยู่กับกิจที่กำลังกระทำนั้น เรียกว่า มีสติ

    ตามนัยที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า โยนิโสมนสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในกระบวนการของการศึกษา หรือ ในการพัฒนาตน อยู่ที่จุดแกนกลางคือการพัฒนาปัญญา เป็นองค์ธรรมที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ดีงาม ซึ่งแก้ปัญหาและพึ่งพาตนได้

    เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโสมนสิการอยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเองเป็นอิสระ

    เมื่อพิจารณาในแง่ของระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน เกี่ยวด้วยการฝึกการใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิด อย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระ ทำให้ทุก คนพึ่งตนได้ ช่วยตนเองได้ และนำไปสู่ความเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ พร้อมทั้งสันติสุขที่เป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธธรรม



    เป็นอันว่า ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบุพภาคของการศึกษา ๒ ประการ คือ ปรโตโฆสะ ที่เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอก และเป็นวิธีการแห่งศรัทธา กับ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน และเป็นวิธีการแห่งปัญญา พอมองเห็นภาพกว้างๆ ของระบบในกระบวนการของการศึกษาแล้ว

    ต่อแต่นี้ จะได้บรรยายเรื่องโยนิโสมนสิการ โดยเฉพาะอย่างเดียว เพื่อให้ทราบรายละเอียดเพิ่มเติม และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีคิดตามหลักพุทธธรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...