คำสอนหลวงปู่มั่น เรื่อง ผลของปาณาติบาต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สยาม, 1 เมษายน 2006.

  1. สยาม

    สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +153
    ca85b04b3eaeef0de71bc.jpg



    เรื่องนี้ผู้เล่า(หลวงตาทองคำ)และท่านอาจารย์วัน ได้ฟังด้วยกัน ที่วัดป่าบ้านหนองผือ แต่เหตุเกิดที่เชียงใหม่ เหตุมาจากการเข่นฆ่ากัน เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง บางท่านคงได้ยินว่าศิษย์ของท่าน( หลวงปู่มั่น)ติดตามหาท่านไม่พบ ท่านหนีเข้าป่าลึกจนศิษย์ติดตามไม่ถึง

    ท่านว่าได้ยินข่าวภายนอกน้อยมาก เพราะไม่มีคนไปถึง คงพิจารณาธรรมตามปกติ พูดถึงสงครามขณะนั้นดูจะเริ่มต้นจากเยอรมัน เข่นฆ่ากันอย่างเมามัน แล้วลุกลามไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นสงครามโลก แต่ท่านมิได้เอามาเป็นอารมณ์

    วันหนึ่งขณะทำสมาธิอยู่จวนสว่าง ปรากฏว่าท่าน(หลวงปู่มั่น)ยืนอยู่บนที่สูง จะเป็นบนดิน บนภูเขา อากาศก็ไม่ใช่ คล้ายยืนอยู่บนก้อนเมฆ มองดูรอบทิศ เห็นเตาไฟมีหม้อใบใหญ่ ไฟแดงฉานทั้งเตา ทั้งหม้อใบใหญ่บรรจุวัตถุได้มาก หากเป็นมนุษย์ก็เป็นร้อยๆ คน แต่ละลูกแดงฉาน ทั้งเตา ทั้งหม้อ แต่เปลวไฟมีบ้าง ไม่ถึงกับบังวัตถุที่อยู่ในหม้อนั้น

    ท่าน(หลวงปู่มั่น)กำหนดพิจารณา จึงรู้ขึ้นมาว่า นี้คือทหารที่ตายในสงคราม พากันมาตกนรกแออัดกันอยู่อย่างนี้ พิจารณาดูแต่ละหม้อ ไม่ได้เลือกชาติว่าชาตินั้นต้องตกหม้อนั้น ชาตินี้ต้องตกหม้อนี้ ตกรวมกันหมด แต่ละหม้อแออัดก็จริง ดูเหมือนเต็มแล้ว แต่พวกที่ทยอยกันมาก็ยังตกได้อีก ถมเท่าไรไม่รู้จักเต็ม ท่าน ฯ ว่า

    ท่านพิจรณาต่อไปว่า เขาเหล่านั้นรู้สึกตัวไหม รู้สึกทุกคน ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า "พวกเราไม่น่าเลยๆ เป็นเพราะนายแท้ๆ" แล้วนายเล่า "นายยังไม่ตาย ถ้านายตายละก็นายจะลงไปลึกกว่านี้ ชนิดพวกเราตามไม่ติด" พวกสัตว์นรกเขาพูดกันเหมือนพูดเล่น ท่านว่า ลักษณะทหารแต่ละคนไม่มีอาวุธ มีแต่เครื่องแบบ แต่ละเอียดมากขนาดกระทะนรกที่เรามองเห็นว่าเต็มแล้วลงได้อีก ชนิดถมเท่าไรไม่รู้จักเต็ม

    พอท่านเห็นเหตุดังนั้น จึงมาพิจารณาตามหลักแห่งสังสารวัฏฏ์ หรือทุกข์ในวัฏฏะ ได้ความว่า

    สัตว์หนาด้วยราคะ โลกฉิบหายด้วยไฟ
    สัตว์หนาด้วยโทสะ โลกฉิบหายด้วยลม
    สัตว์หนาด้วยโมหะ โลกฉิบหายด้วยน้ำ

    ท่านมาเฉลียวใจว่า "สัตว์หนาด้วยราคะ โทสะ และโมหะ แล้วทำไมผู้ฉิบหายจึงเป็นโลก ทำไมจึงไม่เป็นสัตว์ฉิบหายเล่า"

    ท่านอธิบายย่อๆ ว่า "ราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นผลของอวิชชา ที่กล่าวไว้ในธรรมจักร (สมุทัยสัจจะ) ว่า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นผลมาจากอวิชชานั่นเอง"

    "ตัวเหตุคืออวิชชา ครอบงำจิตสันดานของสัตว์ เป็นผลให้สัตว์เกิดราคะ โทสะ โมหะ ทั้งสัตว์ ทั้งโลก ก็ฉิบหาย คือกระทบกระเทือนไปหมด ทั้งภายนอกคือสัตว์และโลกทั้งปวงทั้งภายใน คือจิตสันดานของสัตว์แสดงออกมา มีแต่ฉิบหายกับฉิบหายอย่างเดียว"

    ท่าน(หลวงปูมั่น)อธิบาย เป็นเอนกปริยาย ปฏินิเทส อุปมาอุปไมยมาก ฟังไม่เบื่อ


    จากส่วนหนึ่งของหนังสือรำรึกวันวาน (เกร็ดประวัติ ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร) หน้า 229-230
     
  2. ใฝ่รู้

    ใฝ่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +240
    อยากให้ผู้เริ่มก่อความวู่นวายและผู้สานความวุ่นวายในบ้านเรา
     
  3. ใฝ่รู้

    ใฝ่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +240
    ได้อ่านคำสอนของหลวงปู่มั่นบ้าง
     
  4. สยาม

    สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +153
    เหมือนจะใช่

    ผมก็สังเกตเหมือนกันว่า ช่วงที่ผ่านมาไม่นาน (ช่วงที่บ้านเมืองมีความขัดแย้งกัน) จะเห็นว่ามีลมกรรโชกแรง หลายแห่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่า
     
  5. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนา สาธุ
     
  6. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ท่านพระอาจารย์มั่นผู้มีจิตเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย...
    โปรดสัตว์ผู้ทุกข์ยาก...ช่วยเหลือ...แนะนำธรรมอย่างลึกซึ้ง...
    ยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือนท่านไม่มี...สาธุ...
     
  7. อวิชานาคา

    อวิชานาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +345
    อนุโมทนา สาธุ

    รู้สึกว่าผมเกิดมา วาสนาน้อยนัก ที่ไม่มีบุญจะไ้ด้พานพบ ท่านพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต พระผู้รู้แจ้ง ชาญฉลาดในการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ไม่มีใครเทียบใน ยุคกึ่งพุทธกาลนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...