คำสั่งสอนธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้แก่ท่านพระอาจารย์กินรี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 4 ธันวาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    LpMun1 (2).jpg lp-kinnaree-Junthiyo.jpg
    คำสั่งสอนธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้แก่ท่านพระอาจารย์กินรี
    ข้อวัตรปฏิบัติพระธรรมกรรมฐานนั้น มีรากฐานอยู่ที่ การกระทำศีลให้สมบูรณ์บริบูรณ์ พร้อมๆไปกับ การเจริญสมาธิภาวนา เพื่อจะทำ จิต ให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศลว่างเว้นจากอารมณ์ อันเกิดมาจากการสัมผัสทาง อายตนะ คือตาที่กระทบกับรูป หูที่กระทบกับเสียง จมูกกระทบกับกลิ่น ลิ้นกระทบกับรส กายที่กระทบกับสิ่งสัมผัสทางกาย และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายใน ที่ทำให้เกิดเวทนา ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดีรู้ชั่ว รู้สวยรู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารักทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึงการเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจ


    ความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผ่องใส

    หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณา ธาตุ ทั้ง ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ และพิจารณา ขันธ์ ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลาย แท้จริงคือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการเหล่านี้นั่นเอง

    เหตุที่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ก็เพราะ อวิชชา ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรม ของธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเหตุและเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงว่า มันมิใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยง ไม่รู้จักความเป็นทุกข์ และไม่รู้จักความเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนตามเป็นจริงแล้ว อาสวกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆนั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

    ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมจึงมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติ ศีล เป็นเบื้องต้น และทำ สมาธิในท่ามกลาง เพื่อจะให้เกิด ปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด

    และเพื่อจะให้รู้จักพิจารณาว่า ร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๔ นี้ประกอบอยู่ด้วย นามธาตุ อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ได้แก่ เวทนา คือความรู้สุข รู้ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญา คือความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้ว รู้สึกแล้ว สังขาร คือความไหลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น และ วิญญาณ คือความรู้สึกได้ รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่าขันธ์ เมื่อรวมเข้ากับธาตุทั้ง ๔ คือ รูปขันธ์ ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ ๔

    รวมย่อแล้วก็ว่า กายกับใจ นี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือร่างกาย เนื้อหนังของเรานี้ เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกนับวันแต่จะเน่าเปื่อยผุพังดับสลายไปเท่านั้น จะหาความเป็นแก่นสารไม่ได้โดยประการทั้งปวง
    การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้

    นักภาวนาเมื่อรู้เห็นซึ่งสภาพตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะเกิดธรรมสังเวช มีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของ สังขาร เมื่อเล็งเห็นโทษและความไม่เป็นแก่นสารของสังขารทั้งปวงแล้ว จิตของนักปฏิบัติก็ย่อมจะเบื่อหน่าย อยากจะหลีกหนีไปให้พ้นจากสังขารและโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับความทุกข์ทรมานอีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้

    ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้ เป็นเพราะรู้เท่าทันอวิชชาคือความไม่รู้ตามเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ความรู้ความเห็นในธรรม ที่เรียกว่าปัญญานั้นเจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง
    ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมกับท่านพระอาจารย์เป็นประจำ และเมื่อพบกันท่านจะเอ่ยถามว่า

    “กินรีได้ที่อยู่แล้วหรือยัง ? ”

    คำถามนี้ องค์ท่านไม่ได้หมายถึงที่อยู่ปัจจุบัน แต่ถามถึงส่วนลึกของใจ (ว่า) มีสติตั้งมั่นหรือยัง ถ้ายัง ท่านก็กล่าวต่อไป

    จะเน้นให้เห็นถึงสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรม

    เวทนา คือความรู้สุขรู้ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์

    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้ว รู้สึกแล้ว

    สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น

    วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้

    รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่านามขันธ์

    เมื่อรวมเข้ากับธาตุ ๔ คือรูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือร่างกายเนื้อหนังของเรานี้ เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครก โดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้อง จะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็นสภาพการเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัย และความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับความทุกข์ทรมานเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัด รักใคร่ชอบใจในสิ่งอันเป็นที่ตั้ง อันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นสาเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่าปัญญานั้นเจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ “ปัญญาอันสงบ ระงับและแจ่มแจ้ง”

    หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี.

    ขอบพระคุณที่มา :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kinnaree/lp-kinnaree_hist-03.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2017
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    สตรีลึกลับ

    ครั้งหนึ่งท่านพำนักอยู่ในถ้ำบนเขาเปลี่ยวเดียวดาย มีผู้หญิง ๒ คน เดินขึ้นมาหา ท่านก็ไล่กลับ ว่าเป็นผู้หญิงขึ้นมาหาพระทำไม ถ้ามาต้องมีผู้ชายมาด้วย ผู้หญิงทั้งสองคนบอกว่าจะมาขอรับศีลและฟังธรรม

    “รับแค่ศีลก็พอแล้ว ไม่ต้องฟังธรรม"

    พอให้ศีลเสร็จก็ไล่กลับอีก ผู้หญิงทั้งสองกลับลงไปในทิศทางเดิมที่ขึ้นมา ซึ่งหลวงปู่กินรีบอกว่ามองตามหลังไปเห็นเดินหายเข้าไปในซอกหินแคบๆ ที่ไม่น่าจะมีใครลงไปได้เลย
    บุรุษเสื้อแดง


    ครั้งหนึ่งในป่าช้าแห่งหนึ่ง ภายหลังจากการเดินจงกรมก็เข้าที่ลงนั่งสมาธิภาวนา สักครู่ได้ยินเสียงฝีเท้าคนเดินมาหาทางด้านหลัง ท่านเหลือบไปดู เห็นเป็นชายคนหนึ่งใส่เสื้อสีแดง มีผ้าขาวม้าคาดพุง ทำกิริยารีๆ รอๆ แล้วหันหลังเดินกลับไป ต่อมาจึงทราบจากชาวบ้านว่า ชายใส่เสื้อแดง มีผ้าขาวม้าคาดพุง ถูกเขาฆ่าตายอยู่ในละแวกนั้น

    หลวงปู่กินรีมักบอกลูกศิษย์ว่า ให้ฝึกอยู่ป่าช้า เพราะอานิสงส์ของการอยู่ป่าช้านี้ดีนักหนา เป็นเครื่องทำจิตให้กล้า องอาจ และตื่นตัวอยู่เสมอ จิตในป่าช้ามีความง่วงไม่มีนิวรณ์ทำให้ภาวนาดีและไม่ต้องวิตกว่าจะมีอันตราย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2017
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ฤทธิ์เป็นของเล่น

    ท่านกล่าวว่าสิ่งเดียวที่ควรค่าแก่การสรรเสริญคือ การปฏิบัติธรรม สิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายเป็นเพียงของเล่นยามว่างของครูบาอาจารย์เท่านั้น
    แต่กับวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลัง ท่านก็อนุโลมให้ทำ และท่านก็ทำด้วยตนเองออกแจก เช่น ตะกรุด ซึ่งว่ากันว่าดีนักหนา เคยมีตำรวจกลุ่มหนึ่งมากราบท่าน และได้รับตะกรุดไปคนละดอก ขากลับออกจากวัด (สมัยนั้น) โดนดักยิงถล่ม แต่ไม่มีใครถูกกระสุน ต้องรีบย้อนกลับมาวัด พบท่านยืนรออยู่หน้าวัด และท่านบอกว่ากลับไปทางเดิมนั่นแหละ ไม่ต้องหนีมาทางนี้ก็ได้
    ลุงเกลี้ยง อุกาพรหม ผู้เคยติดตามใกล้ชิดหลวงพ่อชา ก็เคยบอกว่าตะกรุดของหลวงปู่กินรีนั้นห้ามปืนจนแตกได้

    มีบ้านคนถูกไฟไหม้ แต่หน้าต่างบานหนึ่งที่มียันต์ของหลวงปู่เขียนติดไว้กลับไม่ถูกไฟไหม้เลย นับว่าแปลกดี
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    หลวงปู่กินรีและความสัมพันธ์กับหลวงพ่อชา
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทาของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแผ่พระศาสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่า แต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น



    - เตือนและให้สติหลวงพ่อชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดี ถ้าท่านรักใคร คิดถึงใคร เป็นห่วงใคร ผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
    วัดกัณตะศิลาวาส
    ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kinnaree/lp-kinnaree_hist-03.htm


     

แชร์หน้านี้

Loading...