คุณว่านกทำไมมีหู? แกว่าหนูทำไมมีปีก? อย่าเถียงกัน มันชื่อค้างคาว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 5 เมษายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เถียงกัน

    แกว่า เป็นนกใช่ไหม นกทำไมมีหูล่ะ ?

    คุณว่าเป็นหนูใช่ไหม หนูทำไมมีปีกล่ะงั้น ไหนว่ามาสิ

    ..........

    กระทู้แรกสำหรับบอร์ดใหม่ไม่รู้ตรงห้องไหม ถ้าไม่ตรงผู้ดูแลย้ายไปห้องอภิญญา-สมาธิด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทำไมมีปีกล่ะหนู ทำไมมีหูล่ะนก อ๋อ ไม่ต้องถกเถียงกัน มันชื่อว่าค้างคาว

    ตามปกติ คนเราคิดเห็นไปได้ในขอบเขตของความรู้ ทีนี้ ถ้ารู้จักคิด ก็จะช่วยให้ก้าวไปในการหาความรู้ จึงให้คิดควบคู่ไปกับการหาความรู้ ให้การคิดเป็นเครื่องมือของการหาความรู้ แล้วหาความรู้เพื่ออะไร ก็เพื่อให้ถึงความจริง

    มองในทางกลับกัน ในการหาความรู้นั้น เมื่อยังไม่ถึงความจริง ก็จึงยังคิดเห็นกันไป แต่พอถึงความจริง เมื่อเห็นความจริงแล้ว ก็ไม่ต้องคิดเห็น คือไม่ต้องคิดเห็นเพื่อหาความรู้ให้เห็นความจริงในเรื่องนั้น พูดสั้นๆว่า พอรู้แน่ชัดแล้ว เมื่อเห็นความจริงแล้ว ก็ไม่ต้องมัวคิดเห็น ถ้าจะคิด ก็คิดในการที่จะเอาความรู้ไปใช้ต่อไป

    ทีนี้ ในตอนที่ยังไม่เห็นความจริง ก็หาความรู้กันอยู่นั่น คนก็คิดเห็นกันไปในขอบเขตของความรู้ที่ตัวมี ตอนนี้ ก็จะคิดเห็นปรุงแต่งไปต่างๆ ก็คือเอาความรู้ที่มีอยู่นั่นแหละมาปรุงแต่ง ก็ปรุงแต่งออกมาในรูปต่างๆ รวมทั้งที่เรียกว่า การวิจารณ์

    ถ้าปรุงแต่งดี ก็เป็นการสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นการก้าวไปในการหาความรู้ ที่จะไปถึงความจริง แต่ถ้าปรุงแต่งไม่เป็น หรือแต่งร้าย ก็จะกลายเป็นเสียหาย เหลวไหล จนเตลิดเปิดเปิง เริ่มตั้งแต่เป็นการปั้นแต่ง แล้วเรื่องไม่เป็นเรื่อง หรือเรื่องไม่เข้าเรื่อง ก็จะเกิดขึ้น แทนที่จะเพิ่มความรู้ ก็กลายเป็นความหลอก แทนที่จะใกล้ความจริงเข้าไป ก็กลายเป็นยิ่งห่างไกลความจริง

    ที่ว่านี้ ในแง่หนึ่งก็คือบอกว่า ในการคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งการวิจารณ์ จะต้องมีความจริงเป็นฐาน คือบนฐานของความรู้ในความจริงที่มีอยู่ เราจะได้ก้าวต่อสู่ความรู้ในความจริงยิ่งขึ้นไป ตลอดถึงว่า เมื่อยืนอยู่บนฐานของความรู้ที่เป็นจริง เราก็จะสามารถคิดการในทางที่ดีงามสร้างสรรค์แก้ปัญหาได้อย่างดีที่สุดด้วย

    เป็นอันว่า เมื่อเห็นความจริง ก็ไม่ต้องมัวอยู่กันแค่ความคิดเห็น ไม่ต้องอยู่กันแค่วิจารณ์ จึงควรก้าวไปในความรู้ที่จะเข้าถึงความจริง ไม่ควรจมอยู่กับความคิดเห็น หรือแม้แต่วิจารณ์กันไป เหมือนดังไม่มีจุดหมาย อันถือได้ว่าเป็นความประมาทอย่างหนึ่ง
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    upload_2017-4-5_8-25-6.jpeg

    เล่าเป็นนิทานว่า ครั้งหนึ่ง มีค้างคาวตัวหนึ่ง บินไปตกลงที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่ชาวหมู่บ้านไม่เคยเห็น ไม่รู้จักค้างคาวกันเลย

    ชาวบ้านคนหนึ่งมาเห็นค้างคาวนั้น ก็แปลกใจมาก มองดูก็ไม่รู้ว่าเป็นตัวอะไร มีปีกบินได้เหมือนนก แต่ทำไมมีหู แล้วรูปร่างก็เหมือนหนู แต่ทำไมมีปีก คิดไม่ออก จึงไปเรียกเพื่อนชาวบ้านมาดู

    พอหลายคนดู ต่างคนก็ต่างคิดเห็น แล้วก็วิจารณ์กันไป บ้างว่านกนั่นแหละแต่มันเกิดมาผิดพวก จึงมีหูด้วย บ้างว่าหนูนั่นแหละ แต่เป็นพันธ์พิเศษมีปีก คิดเห็นกันไป ก็วิจารณ์กันไป บางคนว่ากันแรง แล้วก็เถียงกัน แรงขึ้นๆ เสียงดังขึ้นๆ ทำท่าจะมีเรื่อง

    พอดี มีคนมาจากต่างถิ่น ได้ยินเสียงเถียงกันดัง ก็เข้ามาดู ถามรู้เรื่องแล้ว คนต่างถิ่นนั้นก็บอกให้ฟังว่า นี่ไม่ใช่ตัวประหลาดอะไรหรอก มันเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ในถิ่นของเขามีมาก มันชอบอยู่กันในถ้ำ ออกไปหากินกลางคืน เป็นอย่างนั้นๆ มันมีชื่อว่า ค้างคาว

    พอรู้ความจริง ทุกอย่างก็สงบ ชาวบ้านเลิกเถียงกัน หันมาบันเทิง

    นี่คือ คนคิดเห็นกันไปในขอบเขตของความรู้ที่มี พอความรู้ไปถึง เห็นความจริง ก็ไม่ต้องคิดเห็น จึงควรก้าวกันไปในความรู้ อย่าอยู่แค่ความคิดเห็น จงฝึกคิดให้ดี คิดให้เป็น ให้ได้ความรู้ ให้ถึงความจริง ที่จะแก้ปัญหาได้ ทำจุดหมายที่ดีงามให้สำเร็จ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
    อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.


    ตนแลเป็นที่พึงของตน บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
    เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลหาได้โดยยาก.

    อตฺตนา หิ กตํ ปาปํ อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ
    อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ วชิรํ วมฺหยํ มณึ.


    บาปอันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็นแดนเกิด
    ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ประดุจเพชรย่ำยีแก้วมณี ซึ่งเกิดแต่หิน ฉะนั้น.
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ สเม จิตฺเต สมํ ผลํ
    เจโตปสาทเหตุมฺหิ สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.


    เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นต้น ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตเสมอกัน ผลก็ย่อมเท่ากัน ในเพราะเหตุคือความเลื่อมใสแห่งใจ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุขติ.
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปูชารเห ปูชยโต -- พุทฺเธ ยทิจ สาวเก
    ปปญฺจสมติกฺกนฺเต -- ติณฺณโสกปริทฺทเว
    เต ตาทิเส ปูชยโต -- นิพฺพุเต อกุโตภเย
    น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุํ -- อิเมตฺตมปิ เกนจิ.


    ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้า หรือพระสาวกทั้งหลาย ผู้ก้าวล่วงความเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้ข้ามพ้นความเศร้าโศกและความคร่ำครวญแล้ว (หรือ) ของบุคคล ผู้บูชาอยู่ซึ่งท่านผู้ควรบูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ด้วยการนับแม้วิธีไรๆก็ตาม ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านี้.
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ - ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
    พาโล จ ปณฺฑิตมานี - ส เว พาโลติ วุจฺจติ.


    บุคคลใดเป็นคนโง่ ย่อมรู้ตัวว่าเป็นคนโง่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จะเป็นคนฉลาดได้บ้าง
    ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าเป็นคนฉลาด บุคคลนั้นแล เรียกว่า “คนโง่” ดังนี้.
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
    (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒ ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗ ข้อ ๓ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๓ ในพละ ๕ ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณะธรรม ๑๐)

    สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ
    (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง)

    สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่
    ๑. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย

    ๒. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน

    ๓.
    โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน

    ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือศึกษา)


    สิกขา การศึกษา, การสำเหนียก, การเรียน, การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจ และฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตน หรือให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงสมบูรณ์, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาบุคคล, สิกขา ๓ คือ

    ๑. อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง, อธิศีลอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง
    (ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นศีล, ปฏิโมกขสังวรศีล เป็นอธิศีล แต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ที่รักษาด้วยความเข้าใจ ให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิศีล)

    ๒. อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตอันยิ่ง, อธิจิตอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิเป็นต้นอย่างสูง
    (กุศลจิตทั้งหลายจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นจิต, ฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นอธิศีล แต่สมาบัติ ๘ นั่นแหละ ถ้าปฏิบัติด้วยความเข้าใจ มุ่งให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิจิต)

    ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, อธิปัญญาอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง
    (ความรู้เข้าใจหลักเหตุผลถูกต้องอย่างสามัญ อันเป็นกัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้จักว่าทุกคนเป็นเจ้าของแห่งกรรมของตน เป็นปัญญา, วิปัสสนาปัญญาที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์ เป็นอธิปัญญา แต่โดยนัยอย่างเพลา กัมมัสสกตาปัญญาที่โยงไปให้มองเห็นทุกข์ที่เนื่องด้วยวัฏฏะ หรือแม้กระทั่งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ก้าวไปในมรรค ก็เป็นอธิปัญญา)

    สิกขา ๓ นี้ นิยมเรียกว่า ไตรสิกขา และเรียกข้อย่อยทั้งสามง่ายๆสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    9-6/ 6 -9 เป็นหนังเก่าเอามาฉายซ้ำ เถียงตัวเอง
    ไปมา ไม่น่าตื่นเต้น คิกคิก
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สิกขาบท ข้อที่ต้องศึกษา, ข้อศีล, ข้อวินัย, ข้อบัญญัติข้อหนึ่งๆ ในพระวินัยที่ภิกษุพึงศึกษา, ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๓๑๑ แต่ละข้อๆ เรียกว่า สิกขาบท เพราะเป็นข้อที่จะต้องศึกษา หรือเป็นบทฝึกฝนอบรมตนของสาธุชน อุบาสก อุบาสิกา สามเณร สามเณรี ภิกษุ และ ภิกษุณี ตามลำดับ


    สีลัพพตปรามาส ความยึดถือว่า บุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีล และวัตร (คือถือว่าเพียงประพฤติศีล และวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิ และปัญญา ก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงาย หรืออย่างงมงายก็ตาม) ความถือศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย โดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริง, ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีล หรือพรตอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐ ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม)

    สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส, ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย, คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับ สีลัพพตปรามาส (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)


    อุปาทาน ความถือมั่น, ความยึดติดถือค้างถือคาไว้ (ปัจจุบันมักแปลกันว่า ความยึดมั่น) ไม่ปล่อยไม่วางตามควรแก่เหตุผล เนื่องจากติดใคร่ชอบใจหรือใฝ่ปรารถนาอย่างแรง ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ

    ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม

    ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ

    ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต

    ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน

    ตามสำนวนทางธรรม ไม่ใช้คำว่า "ถือมั่น" กับความมั่นแน่วในทางที่ดีงาม แต่ใช้คำว่า "ตั้งมั่น" เช่น ตั้งมั่นในศีล ตั้งมั่นในธรรม ตั้งมั่นในสัจจะ ในภาษาไทย มักใช้ "อุปาทาน" ในความหมายที่แคบลงมาว่า ยึดติดอยู่กับความนึกคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือจะต้องเป็นไปเช่นนั้นเช่นนี้
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้ายังงั้นลุงแมวหลับเต้น
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สีลานุสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ประพฤติมาด้วยดีบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย (ข้อ ๔ ในอนุสติ ๑๐)


    สีลขันธ์ กองศีล, หมวดธรรมว่าด้วยศีล เช่น กายสุจริต สัมมาอาชีวะ อินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา เป็นต้น (ข้อ ๑ ในธรรมขันธ์ ๕)


    สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล, ทำบุญด้วยการประพฤติดีงาม (ข้อ ๒ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)


    สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตน ซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ (ข้อ ๑ ในวิสุทธิ ๗)


    สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อยประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ ข้อ ๑ ในจรณะ ๑๕)


    สีลสามัญญตา ความสม่ำเสมอกันโดยศีล คือ รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อภิกษุสามเณร ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ (ข้อ ๕ ในสาราณียธรรม ๖)
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได่้ไม่อยากพบ แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์ ตรงข้ามกับอิฏฐารมณ์

    อิฏฐารมณ์ "อารมณ์ที่น่าปรารถนา" สิ่งที่คนอยากได้อยากพบ แสดงในแง่กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อิทธิ ความสำเร็จ, ความรุ่งเรืองงอกงาม, อำนาจที่จะทำอะไรได้อย่างวิเศษ

    อิทธิบาท คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จ มี ๔ คือ
    ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น

    ๒. วิริยะ ความพยายามทำสิ่งนั้น

    ๓. จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น

    ๔. วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น จำง่ายๆว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน

    อิทธิบาทภาวนา การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น
     
  17. ฟำี่ิอกาี

    ฟำี่ิอกาี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2017
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +20
    ชงเองกินเอง ดีเหมือนกัน
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เห็นๆที่เขาชงๆให้กันและกันกินกันแล้ว ผสมยาพิษ

    อยากเห็นคุณชงมั่งนะครับ
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มิจฉา ผิด

    มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ) (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

    มิจฉาวายามะ พยายามผิด ได้แก่ พยายามทำบาป พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น (ข้อ ๖ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

    มิจฉาวิมุตติ หลุดพ้นผิด เช่น การระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง (ข้อ ๑๐ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

    มิจฉาสติ ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

    มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ เลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม เช่น หลอกลวงเขา เป็นต้น (ข้อ ๕ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

    มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจแน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น (ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัมมา โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน, สมบูรณ์, จริง, แท้

    สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ , เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือมีคุณความดี ควรแก่ฐานะหนึ่ง ที่เรียกว่า มารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นต้น )

    สัมมาปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ คือ ปฏิบัติชอบธรรม, ดำเนินในมรรคมีองค์ ๘ ประการ

    สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐาน ๔

    สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือ สมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔

    สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือเว้นจากเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด เช่น โกงเขา หลอกลวง สอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน ค้ายาเสพติด เป็นต้น

    สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ อรหัตผลวิมุตติ

    สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ คือ ญาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมรรคญาณ เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น และปัจจเวกขณญาณ

    สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน ได้แก่ ๑. สังวรปธาน ๒. ปหานปธาน ๓. ภาวนาปธาน ๔. อนุรักขนาปธาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...