คุณว่านกทำไมมีหู? แกว่าหนูทำไมมีปีก? อย่าเถียงกัน มันชื่อค้างคาว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 5 เมษายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา - น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
    น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ - ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.


    ถ้าบุรุษ พึงทำบาป (ความชั่ว) ไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ
    ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำความทุกข์มาให้.

    ปุญญฺญฺเจ ปุริโส กยิรา - กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
    ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ - สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.


    ถ้าบุรุษ พึงทำบุญ (ความดี) ไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ
    พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้.
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปัสสนา ความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

    .............

    คำว่าสังขารนั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆ กันไม่น้อย กว่า ๔ นัย แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้ มี ๒ นัย คือ สังขารที่เป็นข้อหนึ่งในขันธ์ ๕ กับ สังขารที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ เพราะสังขาร ๒ นัยนี้มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และความหมายคล้ายจะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษาสับสนได้ง่าย อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมสำคัญ เบื้องแรกขอยกคำมาดูให้เห็นชัด

    ๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ๒. สังขาร ในไตรลักษณ์ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

    นำความหมายทั้ง ๒ นั้น มาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้

    ๑. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่ายๆว่าเครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียก ว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้ง ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ


    ๒. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

    จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า สังขารในไตรลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ และโดยองค์ธรรม

    ก. โดยความหมายของศัพท์: "สังขาร" ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ตัวปรุงแต่งจิตใจ และการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงแต่งจิต หรือแปลกันง่ายๆ ว่า สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง

    นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้น ยังแคบกว่ากันด้วย กล่าวคือ สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือความคิดปรุงแต่ง (สังขารในขันธ์ ๕ ) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง ทยอยกันไปเป็นทอดๆ จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (สังขารในไตรลักษณ์) คือ ความเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่งนั่นเอง "สังขาร" ในขันธ์ ๕ จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ส่วน "สังขาร" ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด

    ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็น ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จะเห็นว่า "สังขาร" ในขันธ์ ๕ เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของนามธรรมเท่านั้น แต่ "สังขาร" ในไตรลักษณ์ ครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม อนึ่ง รูปธรรมและนามธรรมที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

    จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ (เป็นลำดับที่สี่) แต่สังขารในไตรลักษณ์ ครอบคลุมขันธ์ ๕ ทั้งหมด กล่าวคือ สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งสี่ขันธ์

    นอกจากนั้น ธรรมหรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือสังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์คืออีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง จะเห็นชัดเจนว่า สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวม อยู่ด้วยกันทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง

    เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า "สังขารขันธ์" สำหรับคำว่าสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม และใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือ "สังขตสังขาร" หรือ "สังขาร" เดี่ยวๆสำหรับสังขารในไตรลักษณ์ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด

    การที่ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า "สังขาร" ก็เพราะมีความหมายเหมือนกันว่า "ปรุงแต่ง" แต่มาต่างกันตรงที่ว่า อย่างแรกเป็น "ความคิดปรุงแต่ง" อย่างหลังเป็น "สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อตัมมยตา "ภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งนั้น" "ความไม่เกาะเกี่ยวกับมัน" ความเป็นอิสระ ไม่ติดไม่ข้องไม่ค้างใจกับสิ่งใดๆ ไม่มีอะไรยึดถือผูกพันที่จะได้จะมีจะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ ความปลอดพ้นจากตัณหา (รวมทั้งมานะและทิฏฐิที่เนื่องกันอยู่) ภาวะไร้ตัณหา, อตัมมยตา (รวมทั้ง อตัมมโย หรือ อตัมมัยที่เป็นคุณศัพท์) พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ในพระสูตร ๔ สูตร และมาในคำอธิบายของพระสารีบุตรในคัมภีร์มหานิทเทสอีก ๑ แห่ง

    พระพุทธพจน์ และคำอธิบายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ศึกษา เข้าใจความประณีตแห่งธรรมที่ปัญญาอันรู้จำแนกแยกแยะจะมองเห็นความยิ่งความหย่อน และความเหมาะควรพอดี ถูกผิดขั้นตอนหรือไม่ เป็นต้น ในการปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อการปฏิบัติของตน เช่น ท่านกล่าวว่า (ขุ.ม.29/338/228) สำหรับอกุศลธรรม เราควรสลัดละ แต่สำหรับกุศลธรรมทั้งสามภูมิ เราควรมีอตัมมยตา (ความไม่ยึดติด)

    ในสัปปุริสสูตร (ม.อุ.14/191/141) พระพุทธเจ้าแสดงสัปปุริสธรรม และอสัปปุริสธรรม ให้เห็นความแตกต่างระหว่างอสัตบุรุษ กับ สัตบุรุษว่า อสัตบุรุษถือเอาคุณสมบัติ การปฏิบัติ หรือความก้าวหน้าความสำเร็จในการปฏิบัติของตน เช่น ความมีชาติตระกูลสูง ลาภ ยศ ความเป็นพหูสูต ความเป็นธรรมกถึก การถือธุดงควัตร มีการอยู่ป่าอยู่โคนไม้ เป็นต้น จนถึงการได้ฌานสมาบัติ มาเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่น ส่วนสัตบุรุษ จะมีดีหรือก้าวสูงไปได้สูงเท่าใด ก็ไม่ถือเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่นเช่นนั้น

    ในเรื่องนี้ มีข้อพึงสังเกตที่สำคัญคือ ในระดับแห่งคุณสมบัติ และการถือปฏิบัติทั่วไป สัตบุรุษ "กระทำปฏิปทาไว้ภายใน" (ใจอยู่กับการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นหลัก หรือเอาการปฏิบัติที่ถูกต้องมาตั้งเป็นหลักไว้ในใจ) จึงไม่เอาคุณสมบัติใดๆ มาเป็นเหตุให้ยกตน-ข่มผู้อื่น

    ส่วนในความสำเร็จในขั้นฌานสมาบัติ สัตบุรุษ "กระทำอตัมมยตาไว้ภายใน" (ใจอยู่กับอตัมมยตาที่ตระหนักรู้อยู่) จึงไม่ถือการได้ฌานสมาบัติมาเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่น (เหนือขั้นฌานสมาบัติขึ้นไป เป็นขั้นถึงความสิ้นอาสวะ ซึ่งเป็นสัตบุรุษอย่างเดียว ไม่มีอสัตบุรุษ จึงไม่มีความสำคัญมั่นหมายอะไรที่จะเป็นเหตุให้ยกตนข่มใครอีกต่อไป)

    ในอตัมมยสูตร (องฺ.ฉกฺก.22/375/493) ตรัสว่า อานิสงส์อย่างแรก (ใน ๖ อย่าง) ของการตั้งอนัตตสัญญาอย่างไม่จำเพาะในธรรมทั้งปวง คือจะเป็นผู้อตัมมัยในโลก, ในวิสุทธิมรรค กล่าวถึงอตัมมยตา ที่ตรัสในสฬายตนวิภังคสูตร ว่าเป็น วุฏฐานคามินีวิปัสสนา (ม.อุ.14/632/407 วิสุทธิ. 3/318)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมตตา ความรัก, ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า


    เมตตาจิต จิตประกอบด้วยเมตตา, ใจมีเมตตา


    แผ่เมตตา ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข, คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า “สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ" แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

    (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

    (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จึงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด, (ข้อความในวงเล็บเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นไทย)

    ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑ ประการ คือ
    ๑ หลับเป็นสุข

    ๒. ตื่นก็เป็นสุข

    ๓. ไม่ฝันร้าย

    ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

    ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

    ๖. เทวดาย่อมรักษา

    ๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ

    ๘. จิตเป็นสมาธิง่าย

    ๙. สีหน้าผ่องใส

    ๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ

    ๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

    อนึ่ง การแผ่เมตตานี้ สำหรับท่านที่ชำนาญ เมื่อฝึกใจให้เสมอกันต่อสัตว์ทั้งหลายได้แล้ว จะทำจิตให้คล่องในการแผ่ไปในแบบต่างๆ แยกได้เป็น ๓ อย่าง (ขุ.ปฏิ.31/575/482) คือ

    ๑. แผ่ไปทั่วอย่างไม่มีขอบเขต เรียกว่า "อโนธิโสผรณา" (อย่างคำแผ่เมตตาที่ยกมาแสดงข้างต้น)

    ๒. แผ่ไปโดยจำกัดขอบเขต เรียกว่า "โอธิโสผรณา" เช่นว่า ขอให้คนพวกนั้นพวกนี้ ขอให้สัตว์เหล่านั้นเหล่านี้ จงเป็นสุข

    ๓. แผ่ไปเฉพาะทิศเฉพาะแถบ เรียกว่า "ทิสาผรณา" เช่นว่า ขอให้มนุษย์ทางทิศนั้นทิศนี้ ขอให้ประดาสัตว์ในแถบนั้นแถบนี้ หรือย่อยลงไปอีกว่า ขอให้คนจนคนยากไร้ในภาคนั้นภาคนี้ จงมีความสุข ฯลฯ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494


    เจตภูต
    (เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไปลัทธินี้ข้างพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสสตทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือ วิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ

    ชาวพุทธเมืองไทยพึงระวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2017
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จิต, จิตต์ , จิต, (จิด, จิตตะ) น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ ความคิด และนึก (โบราณเขียนว่า จิตร) ลักษณนามว่า ดวง (ป,จิตต); ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด,


    เจตสิก (เจตะ-) น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ, ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต (ป. ส. ไจตสิก); ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น

    เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจแช่มชื่นใจ

    จิตสำนึก น. ภาวะที่จิตตื่น และรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย (อ. conscious)

    จิตกึ่งสำนึก น. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่ (อ. Semiconscious)

    จิตใจ น. ใจ, อารมณ์ทางใจ

    จิตใต้สำนึก น. ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ (อ. Subconscious)


    จิตนิยม (จิตตะ-) น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดนึก (อ. Idealism)


    จิตบำบัด (จิตตะ) น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข (อ. psychotherapy)

    จิตแพทย์ (จิตตะ) น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ (อ. psychiatrist)


    จิตภาพ (จิตตะ) น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้หมายถึง วิสัยสามารถของจิต (อ. mentality)


    จิตไร้สำนึก น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก (อ. unconscious)


    จิตวิทยา (จิตตะ-) น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรมและกระบวนการของจิต


    จิตวิสัย (จิตตะ-) ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า (อ. subjective)
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้, 1. ในที่ทั่วไป หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั่น และนิพพาน (รวมทั้งโลกุตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย, เทียบ รูป

    รูป
    สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย

    นามขันธ์ ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    นามธรรม
    สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ

    นามรูป นามธรรมและรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ ทั้งหมด
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

    สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ

    สมถภาวนา การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ

    สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกัมมัฏฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

    วิปัสสนา ความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

    วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานคือวิปัสสนา, งานเจริญปัญญา

    วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง

    วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยานคือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

    ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา 1. การฝึกอบรม หรือการเจริญพัฒนา มี ๒ อย่าง
    คือ
    ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ
    ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกัน
    คือ
    ๑. จิตตภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติและสมาธิ
    ๒. ปัญญาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลส และความทุกข์,
    2. การเจริญสมถกัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น
    คือ
    ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน
    ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ
    ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน


    วิปัสสนาภูมิ ภูมิแห่งวิปัสสนา, ฐานที่ตั้งอันเป็นพื้นที่ ซึ่งวิปัสสนาเป็นไป, พื้นฐานที่ดำเนินไปของวิปัสสนา
    1. การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไปคือการมองดูรู้เข้าใจ (สัมมสนะ,มักแปลกันว่าพิจารณา) หรือรู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตา อันดำเนินไปโดยลำดับ จนเกิดตรุณวิปัสสนา ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป
    2.
    ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ตรงกับคำว่า "ปัญญาภูมิ" ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย, เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเน้นปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นที่รวมในการทำความเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้น, ว่าโดยสาระ ก็คือธรรมชาติทั้งปวงที่มีในภูมิ ๓
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา

    มนะ
    ใจ

    มนัส ใจ

    มนุษย์ "ผู้มีใจสูง" ได้แก่ คนผู้มีมนุษยธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น, สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน

    มนุษยชาติ เหล่าคน, มวลมนุษย์

    มนุษยธรรม ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์ ได้แก่ ศีล ๕ และคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น

    มนุษยโลก, มนุสสโลก โลกมนุษย์ คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้

    มนุษย์วิบัติ ผู้มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง เช่น คนถูกตอน เป็นต้น

    มโน ใจ (ข้อ ๖ ในอายตนะภายใน ๖)

    มโนกรรม การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น

    มโนทวาร ทวารคือใจ, ทางใจ, ใจ โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม คือ สำหรับคิดนึกต่างๆ (ข้อ ๓ ในทวาร ๓)

    มโนวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ

    มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)


    อาหาร ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ

    ๑.กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว

    ๒.ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ

    ๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา

    ๔.วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ


    มโนสัมผัส อาการที่ใจ + ธรรมารมณ์ + และมโนวิญญาณประจวบกัน
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ผู้มีธรรมฉันทะ พึงระวังทางผิดพลาดที่สำคัญ ๒ อย่าง
    คือ
    ๑. ปล่อยให้ตัณหาเข้ามาแทรก สวมรับหรือชิงเอาบทบาทไปทำแทน หรือต่อจากฉันทะ เช่น แก้ไขอะไรไม่สำเร็จแล้ว เสียใจว่าตนไม่เก่ง (ตัวอย่างนี้อ่อนๆ ไม่เลวร้าย)
    ๒. ขาดความรู้หรือไม่แสวงปัญญา ผู้รักธรรมจะต้องรู้แน่ชัดว่าอะไรเป็นธรรม มิฉะนั้น อาจทำการผิดพลาดได้ ความรักธรรมและความรู้ธรรม ต้องมาด้วยกัน จึงจะทำความจริงความถูกต้องดีงามที่ประสงค์ให้สำเร็จได้ (ข้อนี้ ช่วยเน้นหลักการใหญ่ของพุทธธรรม ที่ถือปัญญาเป็นองค์ธรรมหลัก ในมรรคาแห่งการพัฒนาชีวิต)
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด

    มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา

    อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำนำความคิด เทียบ โยนิโสมนสิการ

    โยนิโสมนสิการ ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี, การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ธรรมวินัย ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย

    ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ,

    วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ,

    ธรรม = เครื่องควบคุมใจ, (สมาธิ,ปัญญา)

    วินัย = เครื่องควบคุมกาย และวาจา (ศีล)
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ฆราวาสธรรม หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่าง
    คือ
    ๑. สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน

    ๒. ทมะ ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเอง ปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมได้ดี

    ๓. ขันติ ความอดทน

    ๔. จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่าง
    คือ
    ๑. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาโดยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)

    ๒. โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)

    ๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

    ๔. อนวัชชสุข สุขเกิดจากประกอบการอันไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้งกาย วาจา และใจ) เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พหุสูต, พหูสูต ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน

    พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕
    คือ
    ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก

    ๒.ธตา ทรงจำไว้ได้

    ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก

    ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ

    ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทิฏฐธรรม, ทิกฐธัมม์ สิ่งที่มองเห็น, สภาวะหรือเรื่องซึ่งเห็นได้ คือ ปัจจุบัน, ชีวิตนี้, ชาตินี้, ทันเห็น, จำพวกวัตถุ, ด้านรูปกาย

    ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม (เรียกเต็มว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ธรรมอันเป็นไปเพื่อทิฏฐธัมมิกัตถะ) ๔ ประการ
    คือ
    ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น

    ๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา

    ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี

    ๔.สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้

    มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์


    สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ
    คือ
    ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

    ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล

    ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค

    ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

    ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม (ธรรมอันเป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตถะ)
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทำคืน แก้ไข

    ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงในบุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัด และการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การตอบแทนคุณบิดามารดา จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ปลูกฝังท่านไว้ในคุณธรรมเหล่านี้ ดังพุทธพจน์ว่า


    “ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบุคคลสองท่าน เราไม่กล่าวว่าจะกระทำการตอบแทนคุณได้ง่ายเลย สองท่านคือใคร คือ มารดาและบิดา

    หากบุตรจะเอามารดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง เอาบิดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง ปรนนิบัติ ถึงเขาจะมีอายุยืนร้อยปี อยู่ได้ตลอดศตวรรษ และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองด้วยการขัดสี นวดฟั้น อาบน้ำให้ และแม้ว่าท่านทั้งสองนั้น จะพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขา นั่นก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้กระทำคุณหรือตอบแทนแก่มารดาบิดา

    ถึงบุตรจะพึงสถาปนามารดาบิดาไว้ในราชสมบัติ ทรงอิสราธิปัตย์ บนมหาปฐพี อันมีสัตตรัตนะมากหลายนี้ ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้กระทำคุณ หรือตอบแทนแก่มารดาบิดา ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย


    “ส่วนว่า บุตรคนใด ชักจูง ปลูกฝัง ประดิษฐาน ซึ่งมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ไว้ในศรัทธาสัมปทา .... ซึ่งมารดาบิดาผู้ทุศีล ไว้ในศีลสัมปทา...ผู้มีมัจฉริยะ ไว้ในจาคสัมปทา...ผู้ทรามปัญญา ไว้ในปัญญาสัมปทา ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ จึงชื่อว่าเป็นอันได้ทำคุณ ได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา” (องฺ.ทุก.20/278/78)
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม

    เนื้อตัวของการปฏิบัติที่เป็นหลักธรรมหัวข้อต่างๆ ได้แก่ สิกขา ซึ่งแยกออกไปเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา
    หรือ
    แยกแบบง่ายๆ ที่เน้นด้านภายนอกสำหรับคฤหัสถ์เป็น ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเรียกว่า บุญสิกขา

    หลักการศึกษา ๓ อย่าง จะเป็น ไตรสิกขา หรือบุญสิกขา ก็ตาม ควรจะทบทวนความหมายกันไว้เล็กน้อยพอได้สาระ

    ๑. ศีล ได้แก่ การมีสภาพชีวิต และการอยู่ร่วมในสังคมที่จัดระเบียบไว้เป็นอย่างดี
    ไม่สับสนวุ่นวายด้วยความหวาดระแวงเวรภัย และความไร้กำหนดกฎเกณฑ์ปราศจากกติกา

    เริ่มตั้งแต่ การไม่เบียดเบียน ไม่ละเมิดทำร้ายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของกันและกัน เป็นต้น ตามหลักศีล ๕ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคม ตลอดจนข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกหัดขัดเกลาพฤติกรรมของบุคคล เพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้สอดคล้อง และเอื้อโอกาสแก่การที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงภาวะสูงสุดที่เป็นจุดหมายของ บุคคลหรือสังคมนั้น


    ศีลมีหลายระดับ หรือจัดไว้หลายประเภท ให้เหมาะกับสภาพชีวิต และสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ในการที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดเหมาะของตน เช่น

    ศีล ๕ เริ่มด้วยการไม่เบียดเบียนชีวิตหรือการไม่ละเมิดต่อชีวิตและร่างกาย เป็นมาตรฐานอย่างต่ำสำหรับการจัดระเบียบชีวิต และสังคมของมนุษย์ ให้อยู่ในสภาพที่เอื้อโอกาสขึ้นพื้นฐานในการที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม หรือทำการพัฒนาไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ทางจิตใจ ก็ตาม ทางวัตถุ ก็ตาม


    ศีล ๘ เพิ่มการรับประทานอาหารจำกัดเวลา และการหัดลดละการหาความสุขจากสิ่งบันเทิง หรือเครื่องปรนเปรอความสุขทางประสานสัมผัส ตลอดจนงดการใช้เครื่องนั่งนอนฟูกฟูหรูหรา เป็นการฝึกฝนตนให้รู้จักที่จะมีชีวิตที่เป็นอิสระได้มากขึ้น สามารถอยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือขึ้นต่อวัตถุภายนอกมากเกินไป

    ศีล ๘ นั้น เป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสยิ่งขึ้นไป ทั้งด้านเวลา และแรงงาน ในการที่จะพัฒนาชีวิตทางด้านจิตใจ และปัญญา พูดอีกสำนวนหนึ่งว่า เป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสในการบำเพ็ญจิตตภาวนา และปัญญาภาวนา

    การมีสภาพชีวิต และการอยู่ร่วมกันที่จัดระเบียบไว้ด้วยดี เรียกว่า ศีล

    การจัดระเบียบชีวิตและการอยู่ร่วมกันให้เรียบร้อย รวมทั้งตัวระเบียบนั้นเอง เรียกว่า วินัย

    ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการจัดสภาพชีวิต และการอยู่ร่วมในสังคมให้มีระเบียบ เรียกว่า สิกขาบท

    ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนขัดเกลาพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิตให้สอดคล้องเกื้อกูลต่อ การปฏิบัติในแนวทางที่จะเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการยิ่งๆขึ้นไป เรียกว่า วัตร

    ทั้งหมดนี้ เมื่อเรียกคลุมๆ รวมๆ ก็พูดว่า ศีล

    ๒. สมาธิ หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้สงบแน่วแน่มั่นคง เพื่อให้เป็นจิตใจที่สามารถทำงาน หรือใช้การได้ดี โดยเฉพาะ ในการคิดพิจารณาให้เกิดปัญญา หรือใช้ปัญญาอย่างได้ผล และเป็นจิตใจที่เอื้อเหมาะต่อการพัฒนาของคุณสมบัติต่างๆ เช่น คุณธรรมทั้งหลาย ที่จะเจริญเพิ่มพูนพ่วงมาด้วยในจิตนั้น รวมทั้งการที่จิตใจที่สงบมั่นคงแน่วแน่นั้น อยู่ในภาวะที่ปลอดพ้นจากการรบกวนของความเศร้าหมองขุ่นมัวความเร่าร้อนสับสน วุ่นวายต่างๆ แล้วจึงเป็นจิตที่ปลอดโปร่งเบาสบายเบิกบานสดชื่นผ่องใสเป็นสุข

    พูดสั้นๆว่า เป็นการฝึกฝนพัฒนาจิตใจ ทำให้บุคคลมีสมรรถภาพจิต คุณภาพจิต และสุขภาพจิต


    ๓. ปัญญา ได้แก่ การมีความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง และการฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเช่นนั้น เริ่มแต่การรู้เข้าใจสิ่งที่เล่าเรียนสดับตรับฟัง หรือข่าวสารข้อมูลต่างๆ และประสบการณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ปรากฏหรือสั่งสมอยู่ในใจ การรับรู้ประสบการณ์นั้นๆอย่างบริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความชอบชัง ยินดียินร้าย ไม่เอนเอียงด้วยอคติต่างๆ การพิจารณาวินิจฉัย และคิดการต่างๆได้ถูกต้องชัดเจน โดยไม่ถูกกิเลส เช่น ความเห็นแก่ได้ และความเกลียดโกรธเคียดแค้นชิงชังเป็นตัวครอบงำชักจูง การมองเห็นสิ่งทั้งหลายล่วงทะลุถึงเหตุปัจจัยต่างๆ สามารถเชื่อมโยงความรู้ในสิ่งต่างๆ มาใช้แก้ไขปัญหา และทำการสร้างสรรค์ จัดดำเนินการต่างๆ จนถึงรู้เท่าทันความเป็นจริงของโลกและชีวิต หายติดข้องหมดความถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย ซึ่งส่งผลย้อนกลับไปยังจิตใจ ทำให้เกิดความเป็นอิสระหลุดพ้นเป็นอยู่ด้วยความปลอดโปร่งโล่งเบา เบิกบานผ่องใสอย่างแท้จริง
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ศีล สมาธิ ปัญญา ผ่อนลงเป็นทาน ศีล ภาวนา

    ส่วน ทาน ศีล ภาวนา ที่เรียกว่า บุญสิกขา ก็มีสาระสำคัญอย่างเดียวกับ ไตรสิกขา นี้เอง ดังได้อธิบายแล้ว

    ทาน เป็นเครื่องเสริมการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นไปด้วยดี มีระเบียบมั่นคงยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็เป็นเครื่องฝึกหัดขัดเกลาทั้งพฤติกรรมภายนอกทางกาย วาจา และฝึกฝนอบรมจิตใจให้เจริญยิ่งขึ้นไปในคุณธรรม และความเบิกบานผ่องใส

    ศีล ก็มีสาระอย่างศีลในไตรสิกขานี้

    ส่วน ภาวนา ก็แยกเป็นภาวนาในด้านสมาธิ และในด้านปัญญา ตรงกับที่ได้บรรยายมาแล้ว

    การปฏิบัติธรรมในความหมายที่เราพูดกันมาก ตามที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ เป็นการจำกัดแคบในระดับภาวนา คือ เป็นการปฏิบัติในระดับภาวนา และเน้นที่รูปแบบ เช่น ไปนั่งสมาธิ เข้าไปในวัดที่วิเวก เข้าไปในป่า ก็เลยจะขอพูดเจาะจงเฉพาะระดับนี้เสียทีหนึ่งก่อน ว่าในแง่ที่เรานิยมปฏิบัติธรรมคือไปบำเพ็ญสมาธิ เป็นต้น นี้ เราจะต้องรู้จักตัวภาวนาเสียก่อนว่า มันเป็นอย่างไร

    ภาวนานั้น จะต้องแยกจากภาวนาในภาษาไทยก่อน คือ ไม่ใช่เป็นเพียงว่ามามุบมิบๆแต่ปาก แล้วบอกว่าเป็นภาวนา หรือเอาถ้อยคำในภาษาพระ เอามนต์เอาคาถามาท่องมาบ่นแล้วว่าเป็นภาวนา ไม่ใช่อย่างนั้น

    ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดให้มีขึ้น ทำให้เป็นขึ้น สิ่งที่ยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น เรียกว่า ภาวนา เพราะฉะนั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ฝึกหัด หรือลงมือทำ ภาวนา จึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม ฝึกนั้น เมื่อยังไม่เป็น ก็ทำให้มันเป็น อบรมนั้น เมื่อยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นไปด้วยจนเต็มที่

    ภาวนา จึงมีความหมายตรงกับคำว่า พัฒนา ด้วย และจึงแปลว่าง่ายๆว่าเจริญ

    ในภาษาไทยแต่โบราณมาก็นิยมแปล ภาวนา ว่าเจริญ เช่น เจริญสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา เจริญเมตตา เรียกว่า เมตตาภาวนา เจริญวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา

    ตกลงว่า ภาวนา แปลว่า การฝึกอบรม หรือการเจริญ หรือการทำให้เป็นให้มีขึ้น และพัฒนาให้งอกงามบริบูรณ์

    ภาวนา ในระดับที่เราต้องการในที่นี้แยกเป็น ๒ อย่าง
    คือ
    จิตตภาวนา
    การฝึกอบรมจิตใจ อย่างหนึ่ง
    และ
    ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญา อีกอย่างหนึ่ง

    ถ้าใช้ตามนิยมของภาษาสมัยใหม่ เจริญ แปลว่า พัฒนา เพราะฉะนั้น จิตตภาวนา ก็แปลว่า การพัฒนาจิต หรือพัฒนาจิตใจ
    ส่วน
    ปัญญาภาวนา ก็แปลว่า การพัฒนาปัญญา

    จิตตภาวนา นั้น เรียกง่ายๆว่า สมถะ บางทีก็เรียกว่า สมถภาวนา

    สมถะ
    นี้ตัวแก่นของมันแท้ๆ คือสมาธิ เพราะสมถะนั้นแปลว่า ความสงบ ตัวแก่นของ

    ความสงบ
    ก็คือสมาธิ ความมีใจแน่วแน่

    สมถะ
    นั้นมุ่งที่ตัวสมาธิ จะว่าสมาธิเป็นสาระของสมถะก็ได้ ฉะนั้นก็เลยเรียกอีกอย่างนี้ว่าสมาธิภาวนา

    คำว่า สมาธิภาวนา ก็ดี สมถภาวนา ก็ดี สมาธิภาวนา ก็ดี จึงใช้แทนกันได้ทั้งหมด


    ต่อไปอย่างที่สอง ปัญญาภาวนา นั้น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา มุ่งให้เกิดปัญญา คือปัญญาที่เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย ปัญญาในขั้นที่รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เรียกว่า วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้ง ไม่ใช่รู้แค่ทำมาหาเลี้ยงชีพได้เท่านั้น แต่รู้สภาวะ รู้สภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย จึงเรียกว่า วิปัสสนา ซึ่งก็เป็นปัญญาระดับหนึ่งนั่นแหละ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาภาวนา ถ้าจะเรียกให้กว้างก็เป็น ปัญญาภาวนา

    ตกลงก็แยกภาวนาเป็น ๒ อย่าง

    อย่างที่หนึ่ง เรียกว่า จิตตภาวนาบ้าง สมถภาวนาบ้าง สมาธิภาวนาบ้าง

    อย่างที่ ๒ เรียกว่า ปัญญาภาวนา หรือ เรียกให้แคบจำกัดลงไปว่า วิปัสสนาภาวนา

    เรื่องภาวนาก็ทำความเข้าใจกันง่ายๆอย่างนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...