คุณว่านกทำไมมีหู? แกว่าหนูทำไมมีปีก? อย่าเถียงกัน มันชื่อค้างคาว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 5 เมษายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปธาน ความเพียร, ความเพียรชอบ, ที่เป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ

    ๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

    ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

    ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

    ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป และให้เพิ่มไพบูลย์

    สัมมัปปธาน ก็เรียก
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สันตติ การสืบต่อ คือการเกิด-ดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไป ขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติคือ เกิด-ดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คำว่า สูญ ทางธรรมมีความหมายหลายนัย

    สูญ
    "ว่างเปล่า" หายสิ้นไป, ในทางธรรม "สูญ" มีความหมายหลายแง่หลายระดับ พึงศึกษาในคำว่า สุญญตา และพึงแยกจากคำว่า "ขาดสูญ" ซึ่งหมายถึง อุจเฉทะ ซึ่งพึงศึกษาในคำว่า อุจเฉททิฏฐิ


    สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ” ความว่าง 1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว มิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือ ความเที่ยง สาระ คือ ความสวยงาม สาระ คือ ความสุข เป็นต้น,

    โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่า ปราจาศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ

    2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน

    3. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลส มีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์

    4. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
    สุญตา ก็เขียน
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุญญาคาร “เรือนว่าง” โดยนัย หมายถึง สถานที่สงัด ปลอดคน ปราศจากเสียงรบกวน, มักมาในข้อความว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่สุญญาคารก็ดี...” ซึ่งท่านมักอธิบายว่า สุญญาคาร ได้แก่ เสนาสนะ (อันสงัด) ทั้ง ๗ ที่นอกจากป่าและโคนไม้ กล่าวคือ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ชงอีกแก้วหนึ่ง

    “ภิกษุทั้งหลาย เจตนาเรากล่าวว่าคือกรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ" (องฺ.ฉกฺก.22/334/463)

    “สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้ทรามและประณีต” (ม.อุ.14/579/376)

    “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำดี ย่อมได้ดี ผู้ทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว” (สํ.ส.15/903/333)

    “บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลมีหน้าชุ่ม ด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมเสพผลของกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ ดี บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นแล ทำไว้เป็นดี” (ขุ.ข.25/15/23)

    "คนพาลมีปัญญาทราม ทำกับตนเองเหมือนเป็นศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วอันให้ผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดีเลย"

    “บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือด ร้อนในภายหลัง เสวยผลแห่งกรรมใด ด้วยใจแช่มชื่นเบิกบาน กรรมนั้นทำไว้เป็น ดี บุคคลรู้กรรมใดว่า เป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้นทีเดียว” (ขุ.อุ.25/46/81)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่าง คือ

    ๑. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาโดยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)

    ๒. โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)

    ๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

    ๔. อนวัชชสุข สุขเกิดจากประกอบการอันไม่มีโทษ (มีสุจริต ทั้งกาย วาจา และใจ) เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พึงศึกษาพุทธธรรมให้ครบถ้วนรอบด้าน

    ผู้ที่เห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่ยั่งยืน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป จะทำอะไรไปทำไม แล้วปล่อยชีวิตให้เลื่อนลอย ปล่อยอะไร ไปตามเรื่อง แสดงถึงความเข้าใจผิด และ ปฏิบัติผิดต่อหลักอนิจจตา ขัดกับพุทธโอวาทที่เป็นปัจฉิมวาจาว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำกิจให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”
    (ที.ม. 10/143/180)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว ฯลฯ ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจอยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์"

    "เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท "

    "บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆว่า วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่"

    "รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ"

    "ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่นมีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิด ให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแหงปัญญา"

    "คนที่สุตะคือเรียนรู้น้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่"

    "เมื่อยังหนุ่มสาว พรหมจรรย์ก็ไม่บำเพ็ญ ทรัพย์ก็ไม่หาเอาไว้ ครั้นแก่เฒ่าลง ก็ต้องนั่งซบเซา เหมือนนกกระเรียนแก่ จับหงอยอยู่กับเปือกตมที่ไร้ปลา"

    "เมื่อยังหนุ่มสาว พรหมจรรย์ก็ไม่บำเพ็ญ ทรัพย์ก็ไม่หาเอาไว้ ครั้นแก่เฒ่า ก็ได้แต่นอนทอดถอนถึงความหลัง เหมือนดังลูกศรที่เขายิงตกไปแล้ว หมดพิษสง"
    (ขุ.ธ.25/21/36)

    "ผลประโยชน์ทั้งปวง ตั้งอยู่ที่หลัก ๒ ประการ คือ การได้สิ่งที่ยังไม่ได้ และการรักษาสิ่งที่ได้แล้ว"
    (ขุ.ชา.27/2442/531 (ไม่ประมาท ๒ ด้านคือ ในการสร้างสรรค์ และในการรักษา)
     
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ก้อชงไป บ่นไป ลูกค้าก็ไม่ค่อยแวะ
    ไม่ลองหาที่เปิดร้านใหม่เผื่อขายได้
     
  10. ฟำี่ิอกาี

    ฟำี่ิอกาี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2017
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +20
    ผมยังไม่อิ่มขี้เกลียดชง ทดลองสูตรเองก่อนอร่อยเเล้วค่อยขาย เอาตัวรอดก่อนมีคน เปิดร้านเยอะเเยะ สุดท้ายอนาคตก็อยู่ที่ใจเราคนเดียว ทำใจเราให้ดีก่อนดีกว่าสำหรับ สาวกอย่างผม
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ของดีมียี่ห้อคนต้องคนตาถึง ต่างจากสินค้าแบกะดิน คิกๆๆ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทำใจยังไงหรอ ถึงจะดีที่สุดท้าย
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ได้เวลาเปิดร้าน :D

    บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม

    ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป

    ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า

    "กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด"

    "สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา"

    "การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ"

    ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ,

    กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ,)

    บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ (ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี

    ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า

    "ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"

    คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอ้นมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล

    พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่ง

    พระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับบาป
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ชงอีก :p

    สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิด-ดับต่อเนื่องกันมา, ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด

    สันสกฤต ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

    บาลี 1. "ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์" ภาษาทีใช้ทรงจำ และจารึกรักษาพุทธพจน์ แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ่ ถือกันว่า ได้แก่ ภาษามคธ

    2. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

    ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า "บาลี"

    ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลี ในความหมายที่ 1. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ 2. ให้ใช้คำว่า พระบาลี
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อวชฺเช วชฺชมติโน - วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา - สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ
    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา - อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา - สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.


    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้ มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ เป็นผู้สมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ
    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมที่มีโทษ รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ เป็นผู้สมาทานสัมมาทิฏฐิ ย่อมไปสู่สุขติ.
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อลชฺชิตาเย ลชฺชนฺติ - ลชฺชิตาเย น ลชฺชเร
    มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา - สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ
    อภเย ภยทสฺสิโน - ภเย จ อภยทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา - สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.


    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละอายในเพราะสิ่งที่ไม่ควรละอาย ไม่ละอายในเพราะสิ่งที่ควรละอาย สมาทานมิจฉาทิฏฐิแล้ว ย่อมถึงทุคติ
    สัตว์ทั้งหลาย ผู้ปกติเห็นในสิ่งที่ไม่ควรกลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ควรกลัว สมาทานมิจฉาทิฏฐิแล้ว ย่อมถึงทุคติ.
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตถตา ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใครๆ) เป็นชื่อหนึ่ง ที่ใช้เรียกกฎปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา


    ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา, ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรค หรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

    ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึง ความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตันติ 1. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไป แสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส 2. เส้น, สาย เช่น สายพิณ


    ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆสาจรรย์ แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า "ตันติภาษา" ในที่นี้ หมายถึงภาษาบาลี (บาลี: ตนฺติภาสา)
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471

    มจด ของลงแมเมหมงฮับ....

    คำถาม......

    สะดึง สะดึง สะดึง

    ถามว่า.......


    ทันทีที่แปะเสะ สิ่งนั้นดับไปเปนธรรมดา ทันที
    หรือว่า มีเงื่อนระยะ"ขนมยาย"แฝงอยู่ ฮับ?
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตจปัญจกกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือ โดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝัน ตามอำนาจกิเลส

    พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กรรมฐานเบื้องต้น)
     

แชร์หน้านี้

Loading...