เรื่องเด่น จริงแท้ทุกประการ!! "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงแนะเจ้าอาวาสทำอย่างไรพระพุทธศาสนาจะยั่งยืน แม้สอนด้วยถ้อยคำเรียบง่ายแต่สะกดจิตให้คิดตามทุกบรรทัด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 6 มิถุนายน 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    จริงแท้ทุกประการ!! "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงแนะเจ้าอาวาสทำอย่างไรพระพุทธศาสนาจะยั่งยืน แม้สอนด้วยถ้อยคำเรียบง่ายแต่สะกดจิตให้คิดตามทุกบรรทัด

    96375671_8496.jpg


    พระพุทธศาสนาจะอยู่ยืนยง ไม่ใช่เพียงแต่คำสอนขององค์พระศาสดา หรือพระธรรม คัมภีร์พระไตรปิฎกใดๆ เพราะความเป็นจริงแล้วนั้น พระสงฆ์ในฐานะผู้เผยแพร่ศาสนาก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยในการช่วยทำนุบำรุงให้พระพุทธศาสนาเกิดความยั่งยืน รวมไปถึงพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ต้องน้อมนำคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา พระธรรมคำสั่งสอน และพระสงฆ์ผู้เผยแพร่ศาสนามาปฏิบัติใช้



    แต่ในสภาวะปัจจุบันพุทธศาสนิกชนหลายต่อหลายคน มักมองแก่นแท้ของศาสนาพุทธเปลี่ยนไป แม้แต่วัดวาอารามก็ล้วนมีสิ่งยั่วยุ สิ่งปรุงแต่งจิตใจ มีการบิดเบือนหลักคำสอนของศาสนาไปมากมาย บางวัดมุ่งเน้นแต่จะสร้างศาสนวัตถุมากกว่าจะสร้างศาสนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่รีบปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่วันนี้ อาจจะส่งผลเสียให้ลูกหลานชาวพุทธในอนาคตอีกมากมาย


    โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2560 ที่ผ่านมา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีประทานโล่ ย่าม และเกียรติบัตรแด่เจ้าอาวาสวัดที่ได้รับคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่างในปี 2559 จำนวนทั้งหมด 68 รูป ซึ่งภายหลังประกอบพิธีเสร็จสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานพระโอวาท ถือโอกาสแนะนำเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ที่มาในพิธีถึงเรื่องการพัฒนาวัด ว่าอันจะให้พัฒนาวัดให้วัฒนาสถาพรไปเสียทุกด้านนั้นเป็นไปได้ยาก วัดแต่ละแห่งมีประวัติความเป็นมาแตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน รวมทั้งมีข้อเด่น ข้อด้อยต่างกัน ดังนั้นการจะพัฒนาวัดให้เพิ่มพูนข้อดี ก็ต้องขจัดข้อด้อยให้ลดน้อยลง ต้องใช้ความพากเพียรพยายาม และเมื่อท่านทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่าเป็น "สมภาร" ก็ย่อมมีหน้าที่รับภารธุระของวัด ต้องอุตส่าห์ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ มุ่งมั่นพัฒนาสร้างสรรค์อารามของท่านให้พัฒนายิ่งขึ้นจนเป็นที่น่าอนุโมทนาสาธุ



    NjpUs24nCQKx5e1Ba2TdUlcECTGWFOO1HggrxH22dmm%20(1).jpg


    อีกทั้งท่านเจ้าอาวาสทั้งหลายต้องคำนึงเสมอว่า หน้าที่ของพระภิกษุและสามเณรนั้นคืออะไร ต้องรักษาบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงอยู่บนโลกนี้ตราบนานเท่านาน พัฒนาวัดด้วยความเรียบง่าย ไม่ต้องเน้นสร้างอะไรที่หรูหรา หากว่าการสร้างศาสนวัตถุและศาสนสถาน มุ่งเน้นไปในทางที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ก็จะถือว่านั่นคือความสำเร็จปลอม ไม่ใช่การพัฒนาอย่างยั่งยืน



    %B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%BA%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A32-1024x682-1-728x485%20(1).jpe



    การบริหารงานใดๆ ก็ตามแต่ ย่อมต้องตำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นเป้าหมายสำคัญ ผลผลิตของการพัฒนาอาจจะถูกชี้วัดได้ด้วยวัตถุปัจจัย ความเหมาะสมของเสนาสนะ ความเรียบร้อยงดงามของการจัดการ ความสะอาดรื่นรมย์สมเป็นอาราม ความสามารถในการดูแลศิลปวัตถุอันมีคุณค่าของวัด หรือการบ่งชี้ความสำเร็จด้วยสถิติ ตัวเลขชี้วัดต่างๆ ในเชิงวัตถุธรรมที่ปรากฏเห็นเป็นศาสนวัตถุ ผลงานประเภทนี้ แม้จะสร้างไม่ง่าย เพราะต้องใช้ทั้งกำลังกาย กำลังใจ รวมทั้งกำลังปัญญาของชาววัดทุกฝ่าย ความสามัคคีกันสร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งยังต้องอาศัยกำลังทรัพย์ของผู้มีศรัทธาอีกด้วย แต่ก็ไม่ควรจะเป็นเป้าหมายเดียวของงานพัฒนา ผลแห่งงานพัฒนาที่ควรมุ่งหมายไปยิ่งกว่านั้น คือ ผลลัพธ์เชิงศาสนธรรม ซึ่งเป็นเครื่องชี้นำชุมชนและประเทศชาติ เพื่อไปสู่ความรุ่งเรืองไพบูลย์อย่างยั่งยืน



    201702051639337-20061002150127-728x486.jpg



    สุดท้ายนี้ขอฝากขอฝากข้อคิดไว้ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริง และขอถวายกำลังใจให้ท่านเจ้าอาวาส ที่สามารถพัฒนาวัดของท่านให้ดีงามยิ่งๆ ขึ้นไป "โดยไม่จำเป็นเลยที่ท่านจะต้องสร้างอะไรใหม่ ไม่ต้องสร้างอะไรให้ใหญ่โตหรูหรา แต่ขอให้วัดของท่านเรียบร้อยเป็นระเบียบ เหมาะสมต่อความเป็นอาราม" ไม่ชำรุดทรุดโทรม ขอให้อนุรักษ์ศาสนวัตถุที่ทรงคุณค่าคู่วัดไว้ให้ดี และจงอย่าลืมหน้าที่สำคัญ คือการเผยแผ่ศาสนธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ซึมซาบสู่จิตใจของพระเณรในปกครอง ตลอดจนพุทธศาสนิกชนในชุมชนโดยแท้จริง นั้นแลคือการพัฒนาวัดและธำรงให้ศาสนาพุทธอยู่คู่โลกได้อย่างยั่งยืน




    ขอบคุณ ไทยรัฐออนไลน์


    เรียบเรียงโดย

    ฌาวิตรา พัฒนาอารยสกุล : สำนักข่าวทีนิวส์



    ---------------------
    http://www.tnews.co.th/index.php/contents/324449
     

แชร์หน้านี้

Loading...