จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ไหม?

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 1 มิถุนายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="780"><tbody><tr><td class="cd16" width="620">จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ไหม?

    </td> <td class="cd16" rowspan="2" width="80">
    </td></tr> <tr> <td class="cd16" width="620">
    วันนี้ก็จะขอนำเอาพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งครั้งหนึ่งได้พบกับพระองค์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงเขียนหนังสือมาถาม ทรงพิมพ์เองไม่ได้ใช้ใครเขียนมาถามว่า จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ไหม อันนี้อาตมาก็ได้ถวายพระพรไปว่า จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าคำว่า จาคะ แปลว่า เสียสละ ถ้าจาคะตัวนี้เรามีกำลังความรู้สึกของใจว่าต้องเสียสละ ยังไปนิพพานไม่ได้ จะไปได้ก็เพียงสวรรค์กามาวจรเท่านั้น ถ้าจาคะตัดคำว่า "เสีย" ออกเหลือแต่ "สละ" อย่างนี้มีกำลังใจเข้มแข็งยังไปนิพพานไม่ได้ ไปได้แค่พรหมโลก ถ้าจาคะกำลังใจเหลือคำว่า "ละ" คำเดียวอย่างนี้ไปนิพพานได้
    ความจริงการถวายพระพรไม่มีคำอธิบาย เพราะว่าทราบอยู่ว่าพระปรีชาสามารถ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีมากจึงถวายพระพรไปด้วยคำย่อๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าพระทัยได้ดี อาตมาไม่เคยดูถูกดูหมิ่นปัญญาของท่านว่าท่านถ้าพูดเท่านี้ท่านจะยังไม่รู้ แต่ความจริงแล้วอาตมาทราบดี ว่าปัญญาความสามารถดีกว่าอาตมามาก พระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งยากที่บุคคลภายนอกจะพึงรู้ได้โดยง่ายเพราะว่าเรื่องภายในไม่มีใครเขารู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ปรากฏในน้ำพระทัยของพระองค์ในใจ ความรู้สึกอย่างนี้รู้กันไม่ได้แม้แต่คนใกล้ชิด นอกจากพระองค์จะทรงตรัสออกมาเท่านั้น
    แต่ทว่าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไต่ถามมามักจะทรงตรัสว่า ผมไม่รู้จะไปถามใคร เวลาถามใครๆ เขาก็นิ่งหมดเขาไม่โต้ตอบ พระองค์อื่นบางทีถามท่าน ถามคำท่านก็ตอบคำ บางทีถาม ๓ คำ ท่านก็ตอบ ๓ คำ ก็มีหลวงพ่อองค์เดียวที่โต้กันไปโต้กันมาไม่ยอมละ ถ้าอะไรเป็นเหตุเป็นผลก็ไม่ยอมลดจนกว่าเรื่องนั้นจะขาวกระจ่าง จึงได้ถวายพระพรว่า พระองค์อื่นท่านมีอัธยาศัยนิสัยดี มารยาทดี จึงไม่ต่อล้อต่อเถียง ต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของชาติ ของประเทศ สำหรับอาตมานี้ถ้าพูดกันแบบชาวบ้านเขาเรียกกันว่า คนทะลึ่ง เป็นอันว่าอะไรก็ตามที่ถ้ายังไม่ขาวกระจ่างก็ต้องพูดกันให้รู้เรื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งสนทนาอาตมาก็ชอบราชาศัพท์ ชอบศัพท์ภาษาลูกทุ่ง พระองค์ก็ทรงตรัสว่า ผมก็ชอบลูกทุ่งเหมือนกันขอรับ การคุยภาษาลูกทุ่งกับพระองค์จึงคุยกันได้นานพระองค์ชอบ อาตมาก็ชอบ โดยมากถ้าจะให้ใช้ราชาศัพท์ประเดี๋ยวก็เข้ารกเข้าป่าไป เพราะอะไร เพราะใช้ไม่เป็น เป็นพระป่าพระดง
    คำว่า จาคะ ตัวนี้ถ้าเป็นกรรมฐานเรียกว่า จาคานุสสติกรรมฐาน แปลว่า นึกถึงทานการบริจาค ในการที่จะสงเคราะห์บุคคลอื่นให้เป็นสุขไว้เสมอ จิตใจนึกอย่างเดียวว่าเราจะเป็นผู้ให้ จะทิ้งอารมณ์ที่นึกว่าเราจะเป็นผู้แย่งคือว่าแย่งหรือว่าโกงทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาเป็นของตน อันนี้ไม่มีในจิตใจของเรามีอารมณ์นึกอย่างเดียวว่าเราต้องการให้เท่านั้นคือให้ให้เขามีความสุข
    สำหรับอารมณ์ที่เราจะให้นี้ต้องแบ่งเป็น ๓ ขั้น ตามที่กล่าวมา
    ถ้าให้ด้วยการเสียสละ เป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ หรือว่าถ้าจะว่ากันยังไม่ตาย ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความรักแก่บุคคลผู้รับ เมื่อเรามีความรักมากเราก็มีความสุขมาก ไปไหนก็มีแต่รอยยิ้มแย้มแจ่มใสมีความเคารพซึ่งกันและกัน แสดงความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน นี่จาคะตัวต้นให้ผลปัจจุบันในชาตินี้มีความสุข ถ้าตายจากชาตินี้ไปแล้วก็ไปสวรรค์ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราว่ายังมีคำว่าเสียดายอยู่มาก เสียสละจิตใจมันยังดึงจัด ต้องใช้กำลังสูงจึงจะดึงออกได้
    ถ้ากำลังสูงยิ่งไปกว่านั้น คำว่าเสียหายไปใจคิดว่าเราสละเพื่อความสุขส่วนใหญ่ ของนี้เป็นของนอกกาย แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ สิ่งใดที่มันเหลือกินเหลือใช้ที่พอจะแบ่งกันได้ เราจะให้เขาด้วยความสุข จิตใจยึดอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติจนกระทั่งอารมณ์ทรงตัว เรียกว่า ได้ฌานในจาคานุสสติกรรมฐาน เวลาให้ใจก็สบาย สละไปเสีย ของประเภทนี้ไม่หวังผลในการตอบแทน
    สำหรับข้อต้นที่เสียสละนั้นยังหวังผลในการตอบแทน เราให้เขาแล้วก็คิดว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราขัดข้องเขาคงจะให้เราบ้าง อาการอย่างนี้เรียกว่า เสียสละ จิตยังดึงอยู่มากยังมีความเสียดาย กำลังใจประเภทนี้จึงชื่อว่ากำลังใจยังอ่อนอยู่ สมเด็จพระบรมครูจึงทรงตรัสว่า ยังไปนิพพานไม่ได้ ไปได้แค่สวรรค์ พรหมก็ยังไปไม่ได้
    พอขั้นที่ ๒ เข้ามาถึงจุดเรียกว่า สละ คำว่า "เสีย" หายไป คำว่า "สละ" นี่กำลังใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น เราสละทรัพย์สินส่วนนี้เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ ไม่มีกำลังใจหวังผลจะตอบแทนแต่ประการใด ให้เพื่อเป็นการเชิดชูบำรุงความสุขแก่ท่านผู้นั้นตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ เรามีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย ตามที่จะให้ได้ ไม่ใช่ให้หมดตัว การที่จะให้นี้องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า ต้องพิจารณาเสียก่อนว่าให้แล้วเราไม่เดือดร้อนจึงควรให้ ถ้าให้เขาไปแล้วเราเดือดร้อนเพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจำเป็นจะต้องกินต้องใช้ตามกาลเวลา อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าก็ทรงตำหนิ ว่าการให้อย่างนั้นเป็นความทุกข์จัดว่า เป็นการเบียดตนเกินไป สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไม่ทรงสรรเสริญ โปรดจำไว้ด้วยไม่ใช่สอนแต่ให้อย่างเดียว ถ้ากำลังใจทำได้อย่างนี้เป็นพรหม เพราะจิตเป็นฌาน
    ถ้าตัดตัว "ส สะ" ออกเสียเหลือแต่ "ละ" ตัวเดียว คำว่า "ละ" ตัวนี้แม้แต่ละวัตถุในอันดับแรกมันก็ละ ถ้าเราละวัตถุได้ หมายความว่าจิตไม่ติดในวัตถุ อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสกับอาตมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ วันนั้นเป็นวันเททองหล่อรูป หลวงพ่อปาน เนื่องในงานสร้างพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า เวลานี้จิตใจของผมไม่มีห่วงใยในวัตถุแล้วขอรับ เห็นว่าวัตถุทุกอย่างทรัพย์สินทุกอย่างที่เรารับมานี้มันเป็นมรดกตกทอดจากญาติผู้ใหญ่ แต่ว่าญาติผู้ใหญ่ที่หาไว้ให้นั้นก็ปรากฏว่าทุกท่านเวลานี้ไม่มีใครอยู่เหลือเลย ตายหมด แต่ละท่านที่ตายแล้วไม่มีใครแบกภาระคือทรัพย์สมบัติไปได้เลย ปล่อยทอดทิ้งไว้ให้คนอื่นปกครองต่อไป ที่เสียหายไปก็มาก ทรงตรัสต่อไปว่า ผมไม่ติดใจในวัตถุ ไม่เยื่อใยในวัตถุ มียังไงกินอย่างนั้น มียังไงใช้อย่างนั้น มีความต้องการอย่างเดียวถ้ามีวัตถุขึ้นมาถ้าสามารถจะแจกจ่าย หรือหาทางทะนุบำรุงบรรดาประชาชนทั้งหลายโดยทั่วหน้าให้มีความสุขได้อย่างนี้ผมพอใจ
    อารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่า อารมณ์ละ ไม่ติดในวัตถุ ถ้าอารมณ์ละไม่ติดในวัตถุ มีแต่ว่าเราจำจะต้องรักษามันไว้บ้าง เพราะว่าร่างกายยังมีอยู่มันยังต้องกินต้องใช้ ถ้าเสียหายไปแล้ว เราก็ไม่ห่วงใยในมัน แต่ว่าถ้าสิ่งใดอันมีอยู่รักษาด้วยดี อย่างนี้เป็นอารมณ์ใจของบุคคลผู้ละ ถ้าเราไม่ติดในวัตถุ ต่อไปกำลังใจมันก็สูงมันก็ละคือไม่ติดในขันธ์ ๕ คือร่างกาย เพราะว่าการที่จะละได้จริงๆ ในด้านวัตถุต้องเป็นคนที่ปัญญาจริงๆ ที่เขาเรียกว่า วิปัสสนาญาณ
    วิปัสสนาญาณก็คือตัวปัญญานั่นเอง มีปัญญาพิจารณารู้แจ้งตามความจริง รู้ว่าสิ่งทั้งหลายในโลกว่ามีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ทรัพย์สินก็ดี ร่างกายก็ดี เวลาตายแล้วเราเอาไปไม่ได้สักอย่าง สิ่งที่จะได้ไปเมืองผีนั่นก็คือความชั่วกับความดี ถ้าเราดึงความชั่วไปเราก็มีความทุกข์ รับผลของความทุกข์ ถ้าเราดึงความดีไปก็รับผลคือความเป็นสุข
    เมื่อเราละวัตถุได้จิตใจคิดอย่างนี้ก็เลยละร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้ เห็นว่าร่างกายมันแก่ก็เป็นธรรมดาของร่างกาย ร่างกายมันป่วยก็เป็นธรรมดาของร่างกาย จำจะต้องรักษาก็รักษาเพื่อระงับทุกขเวทนา ระงับไหวก็ไหว ไม่ไหวก็ตามใจในเมื่อมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕ เกิดมาแล้วมันก็ต้องตาย ใจก็มีความสุข จิตไม่เกาะทั้งวัตถุ จิตไม่เกาะร่างกาย ไม่เกาะวัตถุนอกกาย ไม่เกาะทั้งกาย ไม่มีอารมณ์เกาะใดๆ ไม่เกาะอยู่ในมนุษยโลก ละมนุษยโลก จิตไม่เกาะอยู่ในเทวโลก คือมีอารมณ์ละเทวโลก จิตไม่เกาะในพรหมโลก มีอารมณ์ละพรหมโลก จิตปรารถนาอย่างเดียวคือ ความดับไม่มีเชื้อ ดับความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ต้องการดับความโลภ ด้วยทาน การบริจาค คือ จาคะ
    ดับความโกรธ ด้วยมี เมตตา กรุณา มีความรักมีความสงสารปรารถนาในการเกื้อกูล
    ดับความหลง ด้วยการไม่ติดอยู่ในวัตถุ ไม่ติดอยู่ในร่างกาย ไม่ติดอยู่ในโลกใดใดทั้งหมด
    จิตใจของบุคคลทั้งหลายทำได้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีกล่าวว่า ท่านตัดความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ ใจของบุคคลนั้นเมื่อร่างกายตายใจก็ไป นิพพาน

    <hr color="#800000" width="50%"> </td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]
    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
     
  2. olj

    olj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +2,443
    ข้อนี้ก็เพิ่งจะชนมา ยากมาก ไม่อยากจะเหลา เดี๋ยวจะแหลม
     

แชร์หน้านี้

Loading...