"จิตกับใจ" ตัวเดียวกันหรือเปล่า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วันทนี, 20 ตุลาคม 2016.

  1. วันทนี

    วันทนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2015
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +128
    "จิตกับใจ" ตัวเดียวกันหรือเปล่า
    [​IMG]

    ท่านผู้รู้หรือผู้ปฏิบัติบางคนอาจสงสัยว่า "จิตกับใจ" เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่า เรื่องที่จะเขียนนี้เป็นเพียงสิ่งที่ตนเข้าใจบนทางปฏิบัติของตน วิธีการปฏิบัติของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามจริต ตามนิสัยหรือสันดานเดิมของแต่ละคน ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบด้วยอัตตาว่าต้องเป็นเช่นนี้ แบบนี้ แบบนั้น ตามนั้น เพราะธรรมที่เกิดนั้นเป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน หากหนทางนั้นเป็นไปเพื่อพระนิพพานมิได้เบียดเบียนผู้ใดให้เดือดร้อน ขอทั้งท่านหลายเคารพในความรู้ความเข้าใจและธรรมของผู้อืนเช่นเราเป็นเพื่อนร่วมทางเดียวกัน คือ หนทางแห่งพุทธะ
    ข้าพเจ้าขอพูดเรื่องคำว่า "จิตกับใจ" ตามความเข้าใจของตนเพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทานอาจเกิดประโยชน์ต่อบางท่านบางคนบ้าง จิตนั้นหากจะเปรียบได้ก็เหมือนกับน้ำในขวดที่ปิดฝา ใจคือขวดใส่น้ำนั่นเอง จิตหรือน้ำในขวดใสอย่างไรก็ใสอย่างนั้น หากฝาขวดน้ำไม่เป็นรูให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้น้ำขุ่นมัว หลายภพหลายชาติเวียนเกิดเวียนตายไปกับแต่ละสังขารจุติจิตตามบุญทำกรรมแต่งฝาขวดน้ำคือประตูจิต มีอยู่ในกายสังขารที่จุดอุณาโลม หากตายไปจิตมีสติออกจากสังขารทางประตูจิตก็ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี หากออกทางอื่นก็ไปตามกรรมสะส่วนใหญ่คือ เดรัจฉาน หากจะเปรียบใจก็เปรียบได้กับขวดใส่น้ำนั่นเอง
    ประตูสังขาร คือ อายตนะทั้ง 6 นั้นเองคือ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ทางเข้าของเครื่องปรุงสารพัด กิเลสตัณหาอุปทาน มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน ใหญ่กว่าจิต สำคัญกว่าจิต เพราะมันคือตัวสร้างภพชาติ สร้างความเห็นผิด จะสร้างกุศล อกุศลก็เริ่มที่ใจนั่นเอง ถ้าคิดไม่ออกว่าใจประตูมันอยู่ไหนหละ ก็ความความคิดของเราท่านนั้นเอง พอมันรับเครื่องปรุงผ่านตา หู จมก ลิ้น กาย มันก็ส่งไปที่สมองคือความคิดทำหน้าที่แปลงสารเรียบร้อยปรุงสะเกิดภพเกิดชาติสนุกสนานตั้งแต่ยังไม่ตายละสังสาร คือ บ่อเกิดแห่งสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ พอใจ ไม่พอใจ สารพัดจะปรุงกัน นานวันเข้าใจมันเป็นใหญ่ มันก็ไปสอนจิตซึ่งเป็นดั่งน้ำสะอาดว่า มันต้องแบบนี้สิถึงจะถูก แบบนี้ถึงจะดีเราเคยเสพเคยได้แล้วนะ รสชาติมันดีเหลือเกิน มันก็ไปสอนจิตบ่อยๆเข้าจากน้ำใสเริ่มขุ่น เริ่มดำ หากตกต่ำบางครั้งก็ดั่งน้ำคร่ำสกปรกข้างถนนปนไปด้วยขยะน้ำเน่า กลายเป็นจิตใจที่ไร้สำนึกนั่นเอง
    จิตนั้นสำคัญนัก จิตนั้นมีอยู่ในทุกทั่วตัวตน มือกุดแขนขาดมีจิตเดียวกันที่สามารถชำระให้สะอาดหมดจรด ข้ามพ้นสังสารวัฏไปได้ เหนื่อยหนักแค่ไหนหรือเทียบกับพระศาสดาที่ปูทางให้เราแล้ว เราเพียงแต่ก้าวเดินตามที่ท่านสอน ไม่ต้องแปลว่าหมายความเช่นนั้นเช่นนี้ ธรรมะของพระศาสดาไม่ต้องแปลคะ เช่นรัยเช่นนั้น จิตไม่มีวันตาย ไม่มีวันสลายไป การเกิดตายก็เป็นเพียงการย้ายบ้านของจิตนั่นเอง ภพชาติแล้วภพชาติเล่า ก็ถูกใจมันสั่งสอน มันหลอกใช้ให้เสพกิเลส ตัณหา ก็กลายเป็นสิ่งเดียวกับใจไปไหนก็หอบโลภ โกรธ หลง อยากได้อยากมีไปด้วยโดยที่หลงลืมไปว่า ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ชีวิตมีวันของเขาวันของเรา พระอาทิตย์ พระอาทิตย์ตก การเป็นอยู่แต่พอเพียงพอดีกับสังขารมนุดที่นับวันมีแต่ถอยหลังเป็นสิ่งควรเอามาสอนใจตน มิต้องให้เหตุผลแก้ตัวว่าทำเพื่อใคร เพราะเมื่อเราตายแล้วเราไม่รู้หรอกว่ามันจะเป็นอย่างที่เราคิดหรือไม่ ทุกคนเกิดมามีบุญทำกรรมแต่งมาทุกคน เราไม่สามารถแบกรับช่วยเหลือทุกคนในครอบครัวคิดแต่ว่าเป็นหน้าที่ตนต้องมี ต้องทำ ต้องหา หากจบไม่ลง ปลงไม่ได้ ไม่นำธรรมะของพระศาสดามาสอนใจและใช้ดำเนินชีวิต หนทางในสังสารวัฏที่จะต้องเวียนเกิดเวียนตายซ้ำๆเช่นนี้ เป็นเช่นนี้ก็ยิ่งยาวนานนับอสงไขยปี ท่านไม่เหนื่อยหรือกับการเกิด...
    ขอเพียงท่านเรียนรู้ดูใจตัวเองให้ทัน ดูให้รู้ว่าตนนั้นมีอารมณ์ใดเกิดขึ้น ดูแล้วรู้จักยับยั้งชั่งใจ ไตร่ตรองสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก สิ่งใดทำแล้วไม่สบายใจ ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อนไม่ใช่ทางกุศลควรละ พระศาสดาจึงได้สร้างทางไว้ให้เราเดินคือ ศีล 5 และ มรรค 8 นั่นเอง เป็นหนทางที่จะทำให้ใจเราไม่แตกแถว คิดดีทำดีจนใจกับจิตมีสภาพแนบชิตใกล้เคียงกันเข้าไปทุกวัน จนกลายเป็น เอกัคคตาจิต คือ จิตมีอารมณ์เดียวนั่นเอง จิตไม่หิว ไม่บ่น ไม่สุข ไม่ทุกข์ สุขสว่างสดใสดั่งแสงจันทร์คืนวันเพ็ญ วันใดที่เราดัดนิสัยสันดานที่ใจนั้นเสพแต่สิ่งสมมุติในทางโลกได้มากเท่าไหร่ ลด ละ เลิก สวนกระแสกิเลสตัณหาได้มากเท่าไหร่โดยใช้หลักไตรลักษณ์อันแสดงถึงความไม่เที่ยงของทุกสรรพสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง จนใจมันยอมรับได้ว่า ทุกสรรพสิ่งบนโลกมนุดที่เห็นด้วยสังขารนี้ ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืนทุกสิ่งย่อมดับสลายไม่ช้าก็เร็วตามหลักอิทัปปัจจยต
    คือ กฎสูงสุดของธรรมชาติ
    จิตตัวจะค่อย ๆ เผยตัวให้เห็นเองท่านไม่ต้องไปขวนขวายที่วัดใดหรือสถานที่ใด เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่ที่ตน ปฏิบัติไปจะรู้เอง ด้วยว่าสภาวะธรรมของแต่ละคนในทางธรรมนั้นแตกต่างกันไปตามวิสัยสันดานที่สั่งสมมา
    ธรรมะของพระศาสดานั้นท่านสอนไว้ไม่เหลือวิสัยมนุษย์จะเรียนรู้และทำได้ ด้วยท่านก็ตรัสรู้จากสังขารมนุษย์อันมีเหมือนกันกับเราเช่นกัน หากจะอ้างว่าไม่มีเวลาก็ถือว่าสอบตก เตรียมตัวกระโดดขึ้นรถไฟวัฏสงสารต่อไป เพราะการปฏิบัตินั้นเพียงกำหนดรู้ลมหายใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มีสติรู้ตนยืนเดินนั่งนอนตนอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์จะทำไม่ได้ในชีวิตที่เกิดมาต้องดิ้นรนหาอยู่หากิน
    สิ่งที่วิเศษสุดไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริ์ การรู้จิตผู้อื่น รู้กรรมผู้อืน ล่องหนหายตัวไปเที่ยวสวรรค์ทัวร์นรก แต่อยู่ที่ รู้จิตตน เห็นจิตตน ชนะใจตน พาตนให้พ้นห้วงน้ำสังสารวัฏนี้ต่างหาก นิพพานนั้นแปลว่าความว่าง ว่างจากกิเลสตัณหาเครื่องร้อยรัดพันธนาการ แล้วท่านจะนำอะไรติดตัวไปนิพพาน...
    ธรรมะทานโดย...ว.บุญแสงทอง
    อ่านบทความเก่าได้ที่ ว.บุญแสงทอง : http://wantanees.lnwshop.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2016
  2. atomiclaxe

    atomiclaxe สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ในความคิดเห็น ใจ ยัง หยาบ จิต จะละเอียด
     
  3. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    จิต เป็นตัวรู้ รู้ทุกอย่าง ยกเว้นรู้ตัวมันเอง
    ใจ(มโนวิญญาณ) เป็นทวารทางเดินของจิต

    เป็นที่มาคำว่า รู้สึกนึกคิด หรือจิตใจ
     
  4. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ในตัวเดียวกัน ต่างรับหน้าที่
    *จิต เป็นตัวไป
    *ใจ เป็นตัวรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...