จิตตภาวนา (สมาธิอบรมปัญญา)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พรายแสง, 3 พฤษภาคม 2005.

  1. พรายแสง

    พรายแสง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +371
    ที่มา : หลักการทำสมาธิและปฏิบัติภาวนา (ปัญญาอบรมสมาธิ และ สมาธิอบรมปัญญา)
    โดย : พระอาจารย์เปลี่ยน ปญญปทีโป วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
    รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก

    ณ บัดนี้ พากันตั้งใจฟังการฝึกอบรมจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ พวกเรานั้นก็เป็นนักแสวงบุญ เพื่อสร้างสมอบรมบารมีเป็นกุศลเพื่อให้ เกิดขึ้นในตอน ในเบื้องต้น คนทำ ทาน การกุศลก็เป็นบุญชนิดหนึ่ง รักษา ศีล ก็เป็นบุญชนิดหนึ่ง เจริญภาวนาฝึกฝนอบรมจิตใจ ให้สงบก็เป็นบุญชนิดหนึ่ง ใช้สติปัญญาขัดเกลากิเลสเพื่อให้หมดจากดวงใจก็เป็นบุญกุศล
    อันยิ่งใหญ่ที่ทุกคนใฝ่หา การนั่งเจริญ เมตตาภาวนานี้ให้พวกเราทำการปลดสิ่งเป็นอนาคตก็ไม่ให้คำนึงถึงเพราะว่าสิ่งนั้นยังไม่มา
    ถึงก็ไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งนั้น เราพากัน พินิจพิจารณาดูจิตใจของตนเองในปัจจุบันธรรม

    คำว่า ปัจจุปปันนาธัมโม ธรรมทั้งหลาย พิจารณาในกาลปัจจุบัน เมื่อพวกเราได้ละจากเคหะสถานบ้านช่องมาแล้ว ไม่ต้องกังวลกับอะไรในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เรนียกว่า เนกขัมมะ ออกจากความยุ่งเหยิง จากความขัดข้อง จากความกังวล ออกมาแล้วก็ต้องออก มาแล้ว ไม่ต้องไปกังวล เมื่อทุกคนมีความคิดเห็นเช่นนั้นแล้ว ก็ควรทำตนให้เหมือนอยู่ครเดียว เรานั่งอยู่ที่
    นี่เหมือนอยู่คนเดียว อย่า ไปคิดว่าคนอื่นมานั่งกับเรา การเสียสละ ละความกังวลออกจากตัวบุคคลอื่น แม้จะเป็นเพื่อนฝูงก็ดี พ่อแม่ก็ดี ลูกหลานญาติวงศ์ ตระกูล ทั้งหลายก็ตามเราควรที่จะตัดออกไปเหมือนกัน เมื่อเราตัดออกไป ละออกไปแล้วเราก็เหมือนอยู่คน
    เดียว

    เมื่อเหมือนอยู่คนเดียวแล้ว ก็มาดูจิตใจของพวกเราให้มีสติความระลึกได้ สัมปชัญญะความรู้ตัว จิตคือความคิด ให้รู้ว่าจิตของ ตนเองคิดอยู่ที่ไหนในปัจจุบันนี้ คิดอยู่กับตนกับตัวไหม

    บัดนี้ เราจึงมาตั้งข้อธรรมกรรมฐานเอาไว้ จะเอาลมหายใจเข้าออกก็ พุทโธ อานาปานสติกรรมฐาน แปลว่า ลมหายใจเข้า ออก ถ้าหากไม่มีข้อธรรมกรรมฐานในจิตของตนเองยึดเหนี่ยวอยู่ จิตก็ย่อมลอยไปตามกระแสของกิเลสตลอด เหตุฉนั้น พระพุทธ
    องค์จึงทรงสอนเอาไว้ให้มีข้อธรรมกรรมฐานเพื่อให้จิตใจของพวกเรานั้นยึดเหนี่ยวอยู่กับข้อธรรมกรรมฐานเกาะอยู่กับข้อธรรม กรรมฐาน จิตนั้น จึงจะมีที่อยู่ ที่พัก ที่ยึดเหนี่ยวเอาไว้เป็นอารมณ์ตั้งอยู่

    จิตใจของคนเรานี้ แม้จะฝึกยากเพียงไรก็ตาม ก็สามารถที่จะฝึกได้ เราทั้งหลายไม่ต้องท้อถอย ไม่ต้องอ่อนแอ ท้อแท้การฝึก
    ฝนอบรมจิตใจต้องทำจริง เพราะทำจริงก็จะเห็นจริงทำเล่นก็ไม่เห็นของจริง ไม่เห็นความสงบ การที่เราเสียสละ ไม่ยุ่งเหยิงกับ อะไรนี้แหละ เป็นเรื่องที่สำคัญในการปฏิบัติ

    บัดนี้เราควรที่จะนำจิตของพวกเรานั้นเข้ามาไว้กับข้อธรรมกรรมฐานด้วยกันทุกคน ให้จิตของเรานิ่งอยู่กับลมหายใจ เข้าออก
    ถ้าหากเราจะเอาหายใจเข้าพุท - หายใจออกโธ อย่างนั้นก็ได้ ตามครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านสอนเอาไว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้านั้น เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติก็กำหนดลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เอาอะไรมาดู ก็คือเอาจิตที่คิดนั้นเองมาดู ดูลมหายใจเข้าออก ให้เราหายใจให้สบายๆ หายใจให้ปลอดโปร่ง หายใจให้โล่งๆ นั่งให้สบาย ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรง สติให้มั่น แล้วหลับตา พินิจพิจารณา นำจิตของตนมาไว้กับข้อธรรมกรรมฐาน คือ ลมหายใจเข้าออก อย่างให้จิตของเราไปที่ไหน

    ถ้าจิตของเราแฉลบออกไปภายนอก หรือแว้บออกไปภายนอกก็ดี เราควรที่จะนำจิตของเราคืนมาไว้กับลมหายใจเข้าออกอยู่ที่ ปลายจมูกของเรานี้ ที่ลมสัมผัสเข้า - ออก เราก็ค่อยทำไปเรื่อยๆ อย่างนั้น อย่าไปบังคับจิตของตนเองเกินไปอยากให้มันอยู่เร็ว เกินไป จิตมันจะยิ่งดิ้นรนกระเสือกกระสน ยิ่งจะฟุ้งซ่าน เหตุฉะนั้น บุคคลที่มีความฉลาดในการทำสมาธิก็ย่อมใช้สติสัมปชัญญะ ของตนเองมาดูจิตของตน ถ้าจิตออกไปก็ดึงจิตคืนมาคิดอยู่กับข้อธรรมกรรมฐาน ทำบ่อยๆ อย่างนี้ พอมันเคยชินแล้ว จิตก็จะอยู่
    ข้อธรรมกรรมฐาน กับลมหายใจเข้าออกได้ หายใจเข้ายาวให้รู้ หายใจออกยาวให้รู้ หายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ หายใจออกสั้นก็ให้รู้ ให้รู้ อยู่ที่ลม ไม่ให้รู้ที่อื่น แม้กระทั่งหากดเรายังไม่เห็นลมสัมผัสก็ตาม แต่มันก็ต้องมีอยู่ดี ลมหายใจเข้าออก เราควรเอาจิตของเรามา คิดดู จ้องดูลมอยู่แต่หายใจให้สบายๆ เมื่อเราอยากสบาย เราต้องทำตนเองให้สบาย

    ที่นี่ถ้าร่างกายของเราเจ็บปวดตรงนั้นตรงนี้บ้างเราก็อย่าไปสนใจเรื่องความเจ็บปวด มาสนใจเอาจิตของเราไว้กับข้อธรรมกรรม ฐานดีกว่า เพราะการเจ็บปวดแข้งปวดขานั้น มันไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บอะไร เจ็บหลังเจ็บบั้นเอวก็ดี หรือร้อนหรือหนาว มันไม่เป็นโรค ภัยไข้เจ็บอะไร เราก็อย่าไปกังวลกับสิ่งที่มันเจ็บปวดนั้น เวทนานั้น วางไว้ต่างหากเฉยๆ ถ้าหากเรามีจิตใจที่กล้าหาญอย่างนี้ ก็จะ สามารถฝึกจิตใจของเราได้ง่าย เราควรที่จะพิจารณาดู ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านก็นั่งมาตั้งแต่บวชจนถึงเฒ่าถึงแก่ ไม่เห็นขาท่าน ขาดไปไหน บั้นเอวท่านขาดไปไหน ไม่เห็นท่านเป็นโรคภัยไข้เจ็บอะไรมากมาย บางท่านบางองค์ยังเดินได้ถึง 80-90 ปี ท่านก็บำ เพ็ญมาแล้ว เราก็ควรที่จะนึกถึงท่านอย่างนั้น ท่านก็ยังทำได้ แต่พวกเรานี้จะไปอ่อนแอท้อแท้ทำไม ทำให้จิตใจของเราแช่มชื่นขึ้น มา ระลึกถึงครูบาอาจสรย์เช่นนั้น ท่านทำได้ไม่เห็นท่านเป็นอะไรนักหนา เราก็พากันทำภาวนากันจริงบ้างสิ จะพากันไปกลัวอะไรมาก นักเราต้องอดทน ต่อสู้เอาชนะ จิตใจของเราจึงจะสงบเป็นสมาธิ

    นี่เราเองคิดเห็นเช่นนี้เอง เราก็ควรจะนำจิตของตนมาไว้กับข้อธรรมกรรมฐาน เมื่อเราละออกมาแล้ว เราไม่มีความกังวล กายวิ เวกแล้ว ไม่ต้องทำงานอะไร จิตตวิเวก เราจะฝึกจิตของเราให้สงบ เป็นจิตตวิเวกอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นหน้าที่ของตนเองก็ปฏิบัติ

    ถ้ากำลังฝึกหัดอยู่นี้ จิตของเรานั้นมีความกังวล กามฉันทนิวรณ์ อย่างนี้เป็นเรื่องสำคัญถ้ามันอยากเพลิดเพลิน ท่านก็ให้เพ่ง อสุภกรรมฐาน ทีนี้กามเป็นของที่หลอกลวงเฉยๆ อย่างไปยุ่งมัน ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ มันก็วางได้

    ถ้ามันมี พยาบาทนิวรณ์ เกิดขึ้น มีความอิจฉาพยาบาทคนอื่นเวลานั่งอยู่ เราก็ควรที่จะรู้ พากันตั้งใจแผ่เมตตาว่า ไป พยาบาท อาฆาตจองเวรเขาทำไม เขาก็อยากอยู่สบายเราก็อยากสบาย มันก็จะหายจากพยาบาทนิวรณ์

    ถ้า ถีนมิทธนิวรณ์ การง่วงเหงา หาวนอนเกิดขึ้น เราก็นึกถึงครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะมาง่วงเหงาหาวนอนเหมือนอย่าง ตนเองนี่หรือ เรานอนมานานแล้ว เราควรที่จะปลุกจิตใจให้แช่มชื่น ระลึกถึงครูบาอาจารย์ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อให้จิตใจของเราแช่มชื่นเบิกบาน ว่าเราจะทำความดีทำความสงบ เมื่อหากแช่มชื่นขึ้นมาแล้ว เราก็ละนิวรณธรรม ข้อนี้ได้

    อันนี้ อุทธัจจกุกกุจจะนิวรณ์ ถ้าเกิดขึ้น จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญ คุมก็ไม่อยู่ คิดแฉลบไปโน่นไปนี่ แว่บไปโน่นไปนี่อยู่ ทำอย่าง ไรก็ไม่อยู่นั้น ท่านให้พากันระลึกถึงมรณสติกรรมฐานระลึกถึงความตาย สกัดกั้นจิตฟุ้งซ่าน เอาไว้ ถ้าจิตใจของเราคิดไปโน่นไปนี่ อยู่ เราก็ควรที่จะพิจารณาว่าคิดไปไหน คิดไปไหนก็ตายเหมือนกันทั้งนี้ในโลกนี้ จะคิดวุ่นวายไปทำไม ที่เรียกว่าระลึกถึงความตาย เป็นเครื่องสกัดกั้นกันจิตฟุ้งซ่านเมื่อมันเห็นแล้ว มันไปที่ไหน มันก็ต้องตายเหมือนกัน จิตจะหดหู่ขึ้นมา ก็จะมาอยู่กับข้อกรรมฐาน อย่างเดิม นี่ผู้ฝึกง่าย

    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย วิจิกิจฉานิวรณ์ นี้ เวลานั่งเข้าไป มันจะสงบหรือ มันจะมีความสุขหรือ จะเอาข้อธรรมกรรมฐานข้อ ไหนจึงจะถูกกับจิตรของเราหรือ เราอย่าไปกังวลอย่างนั้นเราควรที่จะละ ความวิจิกิจฉาของเราออกไปเสีย ตั้งแต่ใจว่าเรา จะเอา ข้อธรรมกรรมฐานข้อเดียว เอาลมหายใจเข้าออก เราก็ดูลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ไม่ต้องเอากรรมฐานข้ออื่นตั้งจิตตั้งใจบำเพ็ญ ตามข้อธรรมกรรมฐานข้อนี้

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญอย่างนี้ พระองค์จึงตรัสว่า เป็นยอดของกฎแห่งกรรมฐานทั้งหลาย อานาปานสติ กรรมฐานนี้ ถ้าหากเราฝึกทำลมหายใจของเราให้ผ่อนคลายลง เบาลงเรื่อยๆ หายใจเบาๆ สบายๆ ใช้สติสัมปชัญญะดูจิตของเรา เอาจิตของเรามาไว้กับข้อธรรมกรรมฐาน หายใจให้สบายๆ ลงไป นิวรณ์ธรรมทั้งหลายนั้นเราระงับไปแล้ว เราปล่อยวางตามที่เรา
    หาวิธีละไปเรื่อย เราก็มาหายใจสบายๆ

    เมื่อเราต้องหายใจสบายเบาลงไปเรื่อยๆ เราก็มาดูจิตของเราอยู่ไหม อยู่กับข้อธรรมกรรมฐาน กับลมหายใจเข้าออกไหม ถ้า จิตของเรารู้อยู่ว่าลมหายใจเข้าออกมีอยู่ สัพพักหนึ่ง ก็นั่นแหละ เรียกว่า จิตเป็น ขณิกสมาธิ สงบเพียงนิดๆ หน่อย ๆ เฉียดๆ เท่านั้น แล้วจิตก็จะถอนออกจากกรรมฐานไป

    ถ้าเราพิจารณาไป ประคองจิตของตนอยู่ เดี๋ยวลมหายใจเข้าออกละเอียด เบาลง เดี๋ยวลมหายใจเข้าออกเหมือนหมดไป เหมือนไม่มีลมหายใจเข้าออก เราอย่าไปกลัวตาย เพราะจิตและลมหายใจของเราละเอียดสุขุมเฉยๆ มันหายใจอยู่ แต่มันมองไม่ เห็น เพราะลมหายใจเข้าออกเบามาก เมื่อมันมองไม่เห็นลมหายใจเข้าออก ตรงนี้แหละเราจะเห็นร่างกายของเราเบสบาย ใจก็ เบาขึ้นมาบ้าง สบายขึ้นมาบ้าง สงบ ใจก็สงบ ขึ้น เราก็จะเห็นชัดเจนว่า ในระหว่างนี้จิตใจของเราสงบ แต่ยังไม่สงบมาก เมื่อเรา ไม่มีลมหายใจเข้าออกแล้ว เราควรที่จะรู้ว่า ใจสงบ ใจสบาย ใจเบา เอามาตั้งไว้ตรงท้องน้อย ตรงหน้าอก ตรงไหนมันสบาย กว่า กัน เอาอะไรมาตั้งไว้ เอาความสบายตัวเบา - เบา - สบาย มีความสุขนิดหน่อย ตัวนั้นแหละเป็นตัวจิตเพราะว่ามันสุข มันเบา ตัวนั้น แหละเป็นตัวจิตแล้วก็มาตั้งไว้ตรงไหน บางคนชำนาญ เอาความรู้สึกนั้นมาตั้งไว้ที่หน้าท้องน้อย หรือตรงหน้าอก ให้ความรู้สึกนั้น อยู่ตรงนั้น แล้วก็ใช้สติสัมปชัญญะประคองจิตเอาไว้ เราประคองจิตของเราไว้ตรงนั้นแหละ ไม่ให้จิตมันไปที่ไหน จิตก็สงบลึกลงไป นานเราไม่ได้สนใจเรื่องลมเลย เราดูแต่จิตใจของเรา กายของเราก็จะเบาสบายลงไปเรื่อยๆ จนจะเหมือนไม่มีกายเกิดขึ้น มันเบา มากตรงนี้มันจะมีปีติเกิดขึ้น

    คำว่า ปีติ นั้น ขนลุกขนพองนั่นก็ปิติชนิดหนึ่ง ทำไมจึงมีปิติ เราก็สามารถเห็ความเบา ความสบาย ความสุขเกิดขึ้นนั่นเอง จึงมี ปีติ บางบุคคลนั้นเย็นแปล้บเข้าไปในหัวใจ บางคนน้ำตาไหล บางคนก็กายเบาลงเหมือนจะลอยไปบนฟ้าอากาศ บางคนก็ตัวใหญ่ เหมือนจะเต็มห้อง พวกทั้งหลายเหล่านี้เป็นปีติทั้งนั้น แต่มันก็จะไม่เกิดกับพวกเราหมดทุกอย่าง เกิดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างเท่า นั้น แต่ละบุคคล เมื่อมีปีตินั้นสงบระงับไป ใจก็เลยมีความสุข รู้อยู่ว่าจิตของเราสงบอยู่ เราก็ประคองไว้ที่เดิม จิตสงบอยู่ ว่าง สบาย มีความสุข เราประคองจิตของตนให้สงบอยู่นั่นแหละ

    ถ้าเกิดแสงสว่างขึ้นมาเป็นสีเหลือง สีแดงก็ดี สีเขียว สีขาวก็ดี มันเกิดสับสนกันอยู่นะ เราอย่าพึ่งไปดูแสง เรามาดูที่จิตใจของ เราอยู่ในอารมณ์อะไรระยะนั้น แสงมันจึงเกิดขึ้น ถ้าหากเรารู้จักอารมณ์นี้แหละ เรากำลังยึดอารมณ์นี้ เสวยอารมณ์นี้ อยู่ แสงสว่าง ก็เกิดขึ้น เราต้องประคองจิตของเราอยู่ในอารมณ์นั้น ให้แสงสว่างมันเกิดขึ้นมาจ้าชัดเจน สว่างที่เกิดขึ้น มันจะเห็นภาพต่างๆ หรือ เห็นนิมิตต่างๆ เกิดขึ้น ตรงนี้มันตื่นเต้น เราไม่อยากไปยุ่งเหยิงไปเกี่ยวข้องกับแสงสว่างแต่ว่าแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว มันไม่เคยเห็น มันก็ตื่นเต้น อยากดูพอเราอยากดูแสงเท่านั้นแหละ แสงนั้นก็จะดับไป เพราะจิตของเรานั้นถอนออกจากข้อธรรมกรรมฐาน ที่เรา ตั้งเอาไว้ แสงสว่างก็ต้องดับไป มันจึงเกิดๆ ดับ ๆ พอมาตั้งหลักพิจารณาดูจิตให้สงบอยู่ แสงสว่างก็เกิดขึ้น มันก็จะเป็นอย่างนี้ แล้ว จะเห็นถูกต้องชัดเจนเพียงใดก็ตาม ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในแสงนั้น เราภาวนา อย่าอยาก อย่าพากันอยากเห็นนรก - สวรรค์ - เห็นเบอร์ - เห็นหวย - เห็นโน้น - เห็นนี่ - อย่าไปคิด คิดแล้วมันก็ไม่เห็นละ เพราะถ้าเราฝึกจิตใจของเราให้สงบเป็นสมาธิ มันจะ เกิดขึ้นเอง เห็นเอง เพราะมันเกิดจากความสงบ แสงสว่าง ทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ใช่เกิดจากความนึกคิดเอาเอง เกิดจากจิตใจสงบ แสงสว่างจึงเกิดขึ้น นี่พูดถึงบุคคลที่จะมีแสงสว่าง

    บางบุคคลนั้นไม่เกี่ยวข้องกับแสงสว่าง จิตใจสงบนิ่ง - สบาย - เบาสบาย เดี๋ยวมันก็มีปีติ เดี๋ยวมันก็มีสุข เดี๋ยวมันก็มีปีติ เดี๋ยวมัน ก็สุข สลับกันอยู่ เราก็๋ไม่ต้องคิดอยากเห็นอะไรจิตใจของเราสงบอยู่ มีแต่ประคองจิตใจของตนเองให้อยู่นิ่ง สงบนานๆ ที่สงบอยู่ขั้น กลาง เรียกว่า อุปจารสมาธิ เกิดขึ้นนั่งได้แล้ว 20 -30 นาที จึงถอยออกจากสมาธิ ถ้าถอยออกเราก็พยายามที่จะประคองจิตใจ ของเราไม่ให้ถอยออก ประคองเอาไว้ให้อยู่ในอารมณ์นั่น เพราะมันอยู่นานมันก็สงบลึกลงไป สงบลึกลงไป อีกพักหนึ่ง มันจะได้ยิน เสียงอย่างละเอียดคนพูดเรื่องของเราอยู่ที่ไหน รู้ เข้าใจ ฟังเหมือนเสียงโทรศัพท์ อันนั้นเราก็ไม่อยากให้สนใจว่ามัน อยู่ในความสงบ ขั้นไหน เราไม่ต้องไปหลงอยู่นั่น เราควรที่จะพากันประคับประคองจิตใจของตนเองนั้นให้สงบ อยู่ในสถานที่ตนเองตั้งเอาเข้าไว้

    แต่นี้จิตใจสงบมากขึ้น บางคนเหมือนตกลงไปในเหว บางคนก็วูบลงไป เมื่นมันวูบลงไปเช่นนี้เอง มันสงบลงไปลึก ร่างกายมันก็ ว่างเหมือนไม่มีกาย ไม่มีหน้าตา ไม่มีแขนมีขา ระยะนี้เราอยากลืมตาดู อย่าไปลืมตาดู เราควรที่จะดูจิตของเราว่ามันสงบอยู่ใน อารมณ์อะไรจึงว่างเหมือนอย่างร่ายกายไม่มีสักชิ้นส่วน เรียกว่า กายเบา เบากาย แล้วก็เบาจิต จิตก็สงบเป็นสมาธิ นั่งอยู่ในความสุข และความเบา เบาตรงนี้สงบตรงนี้เอง มันจึงสงบนาน มันไม่มีปวดแข้งปวดขา ปวดหลัง ปวดเอว ไม่มีร้อนไม่มีหนาว ไม่มีหิวไม่มี กระหาย ไม่อยากได้อะไรในโลกนี้ อยากอยู่สุข - สุข - สบาย นี่กำลังมีความสุข ความสงบ จิตสงบถึงอัปปนาสมาธิ แนบแน่น มั่นคง ไม่ง่อน -แง่นคลอนแคลน นิ่ง รู้อยู่ว่าสงบอยู่ แม้จะมีเสียงแว่วๆ ก็ตาม แต่มัน ดังนิด ๆ แว่วๆ แต่มันก็ปล่อยวาง มารู้แต่จิตใจของตนเองสงบเป็นสมาธิอยู่

    ถ้าหากมันว่างไปหมด เราไม่เห็นอะไรเลย จิตก็ไม่เห็น มีแต่ความว่างเปล่าอยู่ นั่งโด่อยู่เฉยๆ ไม่รับรู้อะไรเลย ไม่รู้ว่าจิตอยู่ที่ ไหน อันนั้นเป็นอัปปนาฌาน ฌานนั้นต้องปล่อยให้ว่าง เพ่งแต่ความว่างอยู่ ฌาน แปลว่า เพ่ง ถ้าอัปปนาสมาธิ มันรู้อยู่ว่าจิต ของตนเองสงบอยู่ที่ไหน ในข้อนี้แหละ ถ้าหากเราเห็นว่าร่างกายก็ไม่มี มันก็นั่งได้ทน มันไม่เจ็บปวดที่ไหนแล้ว เพราะมันวาง มัน ไม่ยึดร่างกาย มันมายึดแต่ความสงบสุข จิตก็ย่อมสงบนิ่งเป็นสมาธิอยู่ นี่มันเป็นอย่างนี้ การปฏิบัติ พวกปฏิบัติง่าย


    การทำสมาธิ เราควรรู้ว่าจิตของเราสงบนิ่งอยู่ เหมือนอยู่คนเดียว แล้วเป็นความสุข เดี๋ยวมีปีติ เดี๋ยวมีความสุข หมดปีติ มีแต่ ความสุขกับความว่าง ดูร่างกายก็ไม่มี อยู่สุข สุขสบาย อยู่อย่างนั้น นี่รู้อยู่ว่าจิตสงบอยู่กับความสุข การทำสมาธิเป็นระดับๆ มาแต่ เบื้องต้น จะเป็นเช่นนี้


    แต่บางบุคคลนั้น ไม่สามารถจะควบคุมดูแลจิตใจ ของตนให้สงบระงับเป็นสมาธิได้อย่างนี้ มีแต่จิตฟุ้งซ่าน วิ่งไป นั่นไปนี่ แฉลบไปนั้นไปนี่ ไม่อยู่กับข้อธรรมกรรมฐาน บุคคลชนิดนี้ต้องใช้ ปัญญาอบรมสมาธิ

    คำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ นั้นก็คือว่า เราต้องฝึกสติสัมปชัญญะของเรานั้น ติดตามดูจิต ไม่ให้จิตของเราคิดไปโน้นไปนี้ มันไม่สงบ ตามไป มันคิดไป ไหน ตามไป ช่วยกันจับมันคืนมาไว้กับข้อธรรมกรรมฐาน จิตมันคิดไป คิดไปเรื่อยๆ อยู่ตลอดไม่มีสิ้นสุดมันก็ตามไปอีก มันต้องมีที่เกาะของมัน มันต้อง มีที่ยึดมีที่ห่วงที่อุปทาน ยึดมั่น ถือมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ถ้ามันยึดบ้านยึดช่อง หรือยึดรถ ยึดเรือ ยึดคนหรือมันยึดเอาไว้อยู่ มันไม่สงบ ฟุ้งซ่านไป เราจะได้ไล่จิต ตามจิตของเราไม่ให้มันไปคิดอะไร มันจะได้ซักไล่ไต่ถาม จิตดูว่า อันนี้เป็นของเธอหรือสติ ปัญญาเขาถามจิต ถ้าจิตมันตอบว่าเป็นของเขา สติปัญญาก็จะถามจิตอีกว่า ถ้าเธอตายไปนี่ จิตจะ เอาไปได้ด้วยไหม ติดรถ ติดบ้านติดช่อง ติดคนก็เหมือนกัน เราจะเอาคนนั้นไปด้วยกับเราได้ไหมเมื่อเราตาย มันเอาไปไม่ได้

    ถ้าจิตของเรามันมองเฉยๆ เราก็ดึงจิตมาหาข้อธรรมกรรมฐาน ถ้ามันไม่ยอมมา มันก็จะคิดปรุงแต่งอีก ไปยึดอยู่กับคน อยู่กับ ของเหล่านั้น ซักไล่ไต่ถามมันอยู่ เมื่อเราตายเราเอาไปด้วยได้ไหมสิ่งของทั้งหลายอยู่ในโลกนี้ วัตถุเราหามาไว้ บ้าน ทุกสิ่งทุก อย่าง หรือคนก็ดี พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลูก หลาน เพื่อนฝูง เมื่อเราตาย เราเอาไปด้วยได้ไหม ลองถามจิตดู ถ้าจิตมันตอบว่าเอาไป ด้วยไม่ได้ ถ้าเอาไปด้วยไม่ได้มาคิดทำไม เราจะให้จิตสงบอยู่กับข้อธรรมกรรมฐาน ให้มีความสุข เราอยากให้สงบ มายุ่งทำไม เพราะทำสมาธิเราจะไม่ยุ่ง กับใคร เราจะอยู่คนเดียว เรียกว่าแสวงหาความสุข หาความสงบ นี่การปฏิบัติภาวนา


    เมื่อมันยังไม่สงบ เราไม่ต้องวุ่นวาย เราก็ค่อยๆ ใช้สติปัญญาประคับประคองจิตใจของตน เมื่อมันเอาอะไรไปไม่ได้ มันก็หยุด
    นิ่ง สงบ คืนมาหาความสงบได้ ละได้ นี่คนจิตฟุ้งซ่านรำคาญ มันไม่สบ เราอย่าไปวุ่นวายกับข้อธรรมกรรมฐาน เราดูแต่จิตใจของ เราว่ามันเสวยอารมณ์ สงบอยู่ นี่วิธีแก้ไข จิตใจของบุคคลที่ฝึกยาก


    * อีกวิธีหนึ่ง เราทำเหมือนอยู่คนเดียว แล้วเราก็นั่งอยู่คนเดียว เราไม่ยุ่งเหยิงกับใครแล้ว เราไม่ยุ่งเหยิงหกับงาน อะไรแล้ว เราอยู่คนเดียว เราฝึกจิตของเรา เรียกว่าทำงานภายใน ฝึกฝนอบรมจิตใจ เขาเรียกว่าทำงานภายใน เพื่อจะให้ ใจของเราสงบเป็นสมาธิ ถ้าจิตของเราสงบ นิ่ง รู้อยู่ว่ามันนิ่งจะเห็นความสุขชัดเจน สุขมีสมบัติทั้งหลายหลากมากมาย มันก็ไม่สุข เท่าความสงบ เรียกว่า นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส เพราะเขาสละทั้งคนทั้งสมบัติออกหมดแล้ว ไม่ยุ่งอะไร ใจก็เลยมารับความ สงบที่ไม่ยุ่งอะไร ใจมันเบา เรียกว่า กายเบา จิตก็เบา เบากาย เบาจิต กายก็เบา ไม่หนัก ไม่ยุ่ง จิตก็เบา ไม่ยุ่งกับอะไร ไม่มีกังวล จิตก็เลยรู้อยู่ว่าตนเองนิ่งสงบอยู่ เป็น อัปปนาสมาธิแนบแน่น มั่นคง ถ้าทุกคนปฏิบัติมาถึงตรงนี้แล้ว เราก็ควรที่จะเข้าใจว่า จิตของ เรานั้นได้รับอารมณ์อะไรอยู่ในปัจจุบันนี้ จำไว้ให้ดี จำไว้ให้แม่นยำ จงประคองจิตใจของเราอยู่อย่างนั้นแหละ ให้สงบนานๆ เป็น ชั่วโมง 2 ชั่วโมง ก็ได้ 3 ชั่วโมงก็ได้ รู้อยู่ว่าจิตสงบอยู่ เห็นแต่ความสุข เห็นแต่ความว่างกับความสุขเท่านั้น


    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็ต้องทำบ่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่เรานั่งทำสมาธิ เรานั่งอย่างไร เราบริกรรมอะไร อันนี้อารมณ์อะไรเกิดขึ้น เป็นนิวรณธรรมข้อไหน เราแก้ได้ด้วยวิธีไหน เราต้องจำให้ดี จิตใจของเราสงบไปถึงขั้นนั้นมีอารมณ์อย่างนั้น สงบลงไปถึง อุปจารสมาธิ นานเท่านั้น จิตใจอยู่ในอารมณ์อย่างนั้นเวลามีแสงสว่างก็อารมณ์อย่างนั้นจึงมีแสงสว่าง ทีนี้พอเราเห็นแสงสว่าง แล้ว จิตใจอยู่ในอารมณ์อย่างนั้น เวลามีแสงสว่างก็อารมณ์นั้นจึงมีแสงสว่าง นี้พอที่เราเห็นแสงสว่างแล้ว จิตใจสงบลงไปแล้ว ก็ได้ ยินเสียงอยู่ในความสงบอย่างนั้น เมื่อวางอารมณ์นี้ จิตสงบลงไปถึงอัปปนาสมาธิ ร่างกายของเราว่ามันว่างอย่างนี้ มันไม่มีที่เจ็บ ปวดที่ไหน กล้านั่งได้หลายชั่วโมงไม่เป็นอะไร เราควรจำไว้ให้ดีว่า เราวางแบบนี่จิตใจสงบลงไปแบบนี้ เป็นขั้นตอนอย่างนี้ มีความ สุขอย่างนี้ มีความเบาอย่างนี้ จิตสงบนิ่งรู้อยู่อย่างนี้ จำไว้ให้ดี เมื่อเราจำไว้ให้ดีอย่างนี้ เราทำทุกวันๆ ทำบ่อยๆ ให้จิตใจของเรา สงบมาถึงสภาพนี้ เรียกว่า จบสมถกรรมฐาน การฝึกฝนอบรมจิตใจเราต้องทำทุกวันๆ ให้จิตสงบทุกวัน ๆ เป็นวลีเรียกว่า ทำ บ่อยๆ ให้จิตสงบบ่อยๆ นี่พูดถึงบุคคลที่ฝึกง่าย จะเป็นอย่างไร จะทำสมาธิ จิตจะสงบเป็นสมาธิอย่างนี้ได้ง่าย


    พวกเราทั้งหลายอยากให้ตนเองมีความสุขก็ต้องใช้ความพากเพียรพยายาม ทำวันไหนก็เริ่มต้นอย่างเดิม จิตวางอย่างเดิม จิต ใจก็สงบอย่างเดิม ให้มันอยู่อย่างนี้ก่อน ให้มันสงบแนบแน่นก่อน จนเราชินในการเข้าออกสมาธิ จนชำนาญแล้ว จบสมถกรรมฐานแล้ว จิตนิ่ง สงบ รู้อยู่ว่าจิต สงบ นิ่งอยู่ตลอด ไม่ยุ่งกับอะไรแล้ว ต่อไปเราจึงจะได้เรียนวิปัสสนา กรรมฐาน เป็นด้านลำเลียงด้วยปัญญาโดยเฉพาะเพื่อหาวิธีการละกิเลสต่อไป นั่งวิธีการทำ สมาธิอบรมปัญญา


    เหตุฉะนั้น เมื่อทุกคนได้ฟังแล้ว การฝึกทำสมาธิวันนี้ก็ขอให้พากันตั้งใจ ให้ไปเริ่มต้นใช้สติปัญญาของตนประคับประคอง จิตใจ ของตนไม่ให้หนีจากข้อธรรมกรรมฐานค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป จิตใจก็จะสงบจนไปถึงขั้นต่างๆ ดังกล่าวได้ มานั่งแล้วเราจึงพากัน เข้า วิปัสสนากรรมฐาน ลำเลียงด้วยปัญญาต่อไป


    ในวันนี้ก็จะแนะนำสั่งสอนให้เพียงเริ่มต้นทำสมาธิ จนถึงจิตใจสงบระงับเป็นอัปปนาสมาธิอย่างแนบแน่นมั่นคง เพียงแค่นี้ แต่นี้ต่อ ไปก็ขอให้ใช้สติสัมปชัญญะดูจิตของตน


    เมื่อจิตเป็นสมาธิดีแล้ว ให้พิจารณาร่างกายนี้ เหมือน กายนคร พิจารณาดูให้ดีแล้ว โอปนายิโก น้อมเข้าสู่จิตของตนให้เห็น ความหลงในกาย ในสมมุติ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสอนให้เป็นผู้มีสติระลึกพิจารณาทั้งความเกิดในกาย ความตั้งอยู่ในกาย ความดับไปของกาย พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในสติปัฏฐานสี่อย่างนี้เพื่อให้พวกเราได้ศึกษารูปร่างกาย เราใช้มันแต่ เล็กมาจนใหญ่จนเฒ่าจนแก่ ไม่ได้พากันศึกษา มันจึงโกรธ มันจึงเกลียด มันจึงโลภ มันจึงหลง


    รูปร่างกายที่เกิดมาแล้วมีธาตุ สี่คำว่าธาตุสี่นั้น แยกออกมาเป็นกอง เรียกว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ผสมกันอยู่ รูปร่าง กายของเราไม่ว่าจะเกิดในประเทศไหน หรืออยู่ในประเทศนี้ก็ตาม รูปร่างกายนี้เป็นของสมมุติ แยกเป็นธาตุทั้งสี่ ถ้าหากมีเสมอ กัน ดำเนินงานไปตามปกติ ถือว่ารูปร่างนี้สบาย ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ตั้งสมาธิพิจารณาเข้าไปอีก ดูซิมันเป็นอย่างไร ธาตุทั้งสี่เปลี่ยนไป เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวเด็ก เดี๋ยวแก่ เดี๋ยวป่วย ไม่แน่นอน เป็นสิ่งไม่แน่นอน เข้าไปยึดก็เกิดทุกข์ ท่านให้ศึกษาให้เห็นเป็น
    ไตรลักษณ์ คือ ธาตุทั้งสี่ประกอบเป็นรูปร่าง เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าหากเราไม่รู้เท่าทัน ความเป็น จริงยึดมั่นเป็นของเราจะเกิดทุกข์ เราต้องน้อมพิจารณาลงไปในจิตเห็นธรรมในข้อนี้ พิจารณาใคร่ครวญไปมา สอบถามจิตให้ จิตได้ใช้สติปัญญาแยกแยะสิ่งสมมุติที่เกิดขึ้นในจิตให้เห็นการไปยึดถือว่าเป็นของของเรา ไปยึดถือว่าเป็นของแน่นอนไม่สูญหาย พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงตามธรรมชาติ สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป จิตจะค้นหาความเป็นจริงจนเกิดความรู้โดยตัวจิตเองว่า ทุกข์มาจากไหน เกิดอย่างไร ตั้งอยู่และดับไปได้อย่างไร พิจารณาใคร่ครวญอย่างนี้บ่อยๆ ทำจนชำนิชำนาญ จนจิตปล่อยวาง เพราะเห็นทุกข์จากการยึดมั่น เมื่อจิตปล่อยวางได้มาก จิตก็สุขสบายกว่าคนอื่นนั่นเอง พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนไว้ว่า อุปปาทาน วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปาทา วาตะถาตะตานัง ว่า "ตถาคตจะเกิดขึ้นมาก็ตาม แม้นตถาคตจะ ยังไม่เกิดก็ตาม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้ว มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย เรียกว่า ธรรมฐิติ สภาวะธรรมเป็น ธรรมดา เป็นธรรมชาติ รูปร่างกายเกิดขึ้นมาแล้วก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามธรรม ชาติของเรา ในเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วไม่อยู่ค้ำฟ้า ค้ำแผ่นดินไปได้ มันก็เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนี้ เมื่อเรารู้สภาวะธรรม เป็นธรรมชาติอย่างนี้ พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนไว้ในอนัตลักขณสูตร ต้องพยายามพินิจพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนอย่างนี้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราจะได้สบาย ไม่ ทุกข์ไม่เดือดร้อนวุ่นวายกับรูปร่างกายอันนี้ "


    บัดนี้ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นกับพวกเรา เมื่อมันเสื่อมจากสุขมันก็มาทุกข์ บัดนี้ ได้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมาในรูปร่างกาย ของ พวกเรานี้ จะมากจะน้อย จะเจ็บที่ไหน จะเป็นโรคภัย ไข้เจ็บอะไรที่แพทย์เขาสมมุติให้ ที่เกิดอยู่ในร่างกายของพวกเราย่อมได้ สัมผัสไม่มากก็น้อย


    ดูซิตั้งแต่พวกเราเกิดขึ้นมานี้ เราเป็นโรคอะไรบ้างเจ็บป่วยเป็นไข้ เป็นหวัดเป็นไอ เป็นอะไรต่างๆ บ้างหรือไม่ ในร่างกายของ พวกเรานี้ก็ต้องพบแพทย์เฉพาะโรค เพราะเป็นโรคเฉพาะอยู่ทุกอย่าง เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว มันก็มีทุกขเวทนา ไม่สบายกาย ใจเรา ก็ไม่สบายไปด้วย เศร้าและวุ่นวายเดือดร้อนไปด้วย ตรงนี้แหละให้พวกเราพิจารณาดูซิว่ามันเป็นกันบ้างไหม ท่านอยากให้เข้าใจ ทุกขเวทนามันจะเจ็บที่ไหน ๆ มันนก็เกิดมีทุกข์หมด


    พระพุทธองค์ จึงทรงสั่งสอนอยากให้ศึกษาเริ่มต้นว่าความทุกข์จะเกิดขึ้น มันมาจากเพราะอะไรเมื่อมันเกิดขึ้น มาแล้ว มันก็ตั้งอยู่อย่างนั้น เรามาเสวยอารมณ์ ความทุกข์ทรมานของพวกเรา จิตมัน ยึดมั่นถือตรงนั้น มันก็ยึดทุกข์ อยู่ตรงนั้น เป็นอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นอยู่อย่างนั้นแล้วเมื่อมันดับไปด้วยวิธีไหน มันดับไปอย่างไร


    ท่านให้พิจารณาทั้งหมดความเกิดขึ้นและดับไปด้วย ห้เข้าใจในเรื่องทุกข์ ถ้าหากเราไม่พิจาณา เราจะรู้ได้อย่างไร ดูคนที่เป็น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มันยังหายจากทุกขเวทนา หายจากเจ็บ ป่วยไปได้ มันดับไปได้ ไม่ใช่มันจะยืนยันอยู่อย่างเดียว ไม่แปรปรวน ไปที่ไหน ไม่แยกย้ายไปที่ไหน


    ใครจะแบกจะหามอะไรมากมายแค่ไหนก็เป็นภาระ ที่จะทำให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสอนไว้ว่า "ภาราหะเว ปัญจักขันธา ใครแบกขันธ์ห้าอยู่ คือแบกอยู่ที่ใจ ใจรับ ใจยึด เป็นอุปทาน คนนั้นเป็นทุกข์ในโลก"


    บัดนี้ เราเห็นไหมว่าอะไรต่างๆ มันเกิดขึ้นแล้ว เราไปยึดมันจะเกิดทุกข์ทันที ทั้งๆ ที่ของนั้น จะให้ความสุข แต่มันให้เกิด ทุกข์ ของเหล่านี้มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด สับสนปนกันอยู่ตลอด เดี๋ยวก็ย้ายไปหาทุกข์ เดี๋ยวก็ย้ายไปหาสุข พระพุทธองค์ซึ่งทรง สั่งสอนไว้ว่า ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็เป็นอุกเบกขา ทำไมเป็นอุเบกขาน่าจะได้สบาย คือ ในระหว่างที่เรายังละไม่ได้ทั้งสองอย่างทั้งสุขและ ทุกข์ ตอนที่มันออกมาอยู่กลาง ๆ มันยังไม่ทุกข์ เขาเรียกว่าอุเบกขา มันยังเป็นไม่ทุกข์ไม่สุข เป็น อุเบกขาเวทนา


    เดี๋ยวมันก็มายึดเอาทุกข์ มาติดอยู่กับทุกข์ ก่อนที่มันเสื่อมจากทุกข์ เราพยายามที่จะไปนึกหาถึงความสุขในทางที่ดี มันก็อยู่ กลางอีก ก่อนที่จะเข้าไปหาสุขก็ต้องไปอยู่เป็นอุเบกขาก่อน ไปพิจารณาก่อนจึงจะได้สุขเกิดขึ้น ความแปรปรวนอยู่อย่างนี้ ไม่แน่ นอนอยู่อย่างนี้ และความจะเกิดขึ้นจากความไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นเวทนานี้ มันมาจากไหน ต้นเหตุมันจะมาจากอะไร เขาค้นคว้าอะไร เพราะเราปล่อยวางทุกข์อย่างไรจึงจะเป็นกลาง และเรามาหาสุข ตอนที่มันวางเป็นกลางอยู่ มันตั้งอยู่ ความเกิดขึ้นมาของมัน คือ ความละจากทุกข์จะมาหาสุขที่นี้ เมื่อมันมาอยู่เป็นอุเบกขาอยู่กลางๆท ก็เรียกว่ามันตั้งอยู่ เมื่อมันตั้งอยู่แล้วมันก็ดับไปจากความ เป็นกลางก็ไปรับสุขเกิดขึ้น เป็นของที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนอย่างนี้ ท่านจึงเรียกว่าเวทนา ทำไมเวทนาตัวนี้จึงมาเกิดอยู่ อุเบกขา เวทนาตัวนี้ จึงไม่หลุดก็คือเรายังยึดสุขอยู่ เรายังศึกษาไม่รู้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา ทั้งสองอย่างนี้เรายังไม่รู้แจ้งเห็นจริง เราวางไม่ได้เมื่อมันเกิดขึ้นมาทั้งสองอย่าง อันหนึ่งเกิดขึ้น อันหนึ่งดับไป เราก็วางไม่ได้ทั้งสองอย่าง ใจของเราวางไม่ได้ เพราะ ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง ท่านสั่งสอนให้พินิจพิจารณา เรื่องเวทนาอย่างนี้ วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ ตั้งสติปัญญา พินิจ พิจารณาดูให้รู้ วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ ความตั้งอยู่ของเวทนานี้ เราควรที่จะรู้ สะมุทะยะ ธัมมานุปัสสี วา เวทะนา วิหะระติ เราควรที่จะรู้ทั้ง ความเกิดขึ้นและความดับของเวทนานี้ อุเบกขาเวทนาก็ให้รู้เหมือน กัน เมื่อสรุปแล้วเวทนาทั้งสามอย่างนี้ก็จะสรุปเข้ามาเหมือนกันหมด เหมือนกันอย่างไร เมื่อสรุปแล้ว เวทนาทั้งสามอย่างก็สรุป เข้ามาเหมือนกันหมด เหมือนกันอย่างไรก็ให้รู้จักความเกิดขึ้นของสุขเวทนา ความตั้งอยู่ของสุขเวทนา และความเสื่อมไปของ สุข เวทนานี้ และเราก็ต้องศึกษาความเกิดขึ้นและความดับไปของเวทนาเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องภายใน ถ้ามันยังอยู่กับภายนอก เมื่อเกิดขึ้น มันก็จะเข้าหาภายใน ไปหาที่จิตใจของพวกเรามันก็เหมือนกับอุเบกขาเวทนา ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่และความดับ ของอุเบกขาเวทนา มันจะเคลื่อนไปทางทุกข์หรือสุข


    พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนให้พิจารณาเพื่อจะให้เข้าใจเรื่องนี้ให้ได้ ถ้าเราไม่เข้าใจ เราเสวยอารมณ์ทุกข์ อารมณ์สุข อยู่ทุกวัน อยู่ จิตของพวกเรา ใจของพวกเรารองรับเอาไว้ ทั้งทุกข์และสุข ทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียวเว้นจากนอนหลับ เราเคยพิจารณาบ้างไหม เดี๋ยวก็รัก เดี๋ยวก็ชัง เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็เกลียด เดี๋ยวก็ชอบ เดี๋ยวก็หงุดหงิด เดี๋ยวก็จิตใจเศร้าหมอง เดี๋ยวร้อนวุ่นวาย เดี๋ยวก็เย็นใจ เดี๋ยวก็ทุกข์ใจ เวทนาทั้งสามอย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้นกับพวกเราอยู่ตลอดเวลา

    พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนว่า ให้พิจารณาดูจิตในจิต คำว่าพิจารณาดูจิตในจิตจะดูตนเองไม่ได้ พระพุทธองค์จึงแยก ออกมาเรียกว่า สติปัญญา สติ คือ ความระลึก ดูจิตคิด ปัญหาเป็นผู้ไตร่ตรอง ดูว่าจิตนั้นคิดอยู่กับอารมณ์อะไร ปัญญา ย่อมรู้ว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์นี้ อารมณ์นี้ที่เขายึดมั่นนั้น สติปัญญาจึงจะสอนจิต ให้รู้ว่าอันนี้เธอชอบมันเป็นฝ่ายราคะมันจะมี โทษทำให้เธอมีความทุกข์เกิดขึ้นในอนาคตที่จะมาถึง ข้างหน้า สติปัญญาจึงเป็นผู้ใตร่ตรองใครครวญตรวจตราดูจิตใจของพวกเรา เหมือนตำรวจตรวจเวรตามตราดูยามโจรขโมยที่จะเข้ามารบกวนเจ้าของบ้าน คือนายประตู นายประตูรักษาประตูบ้านของบุคคลที่มี
    เงินทองหรือประตูพระราชวังของพระราชา ทหรารักษาประตูอยู่ เขาก็ย่อมรู้คนนี้จะมีดีหรือมาร้าย ต้องซักไซร้ไตร่ถามดูว่าคุณมาทำ อะไร มาเพื่อประโยชน์อะไร มีจุดประสงค์อะไร มีความตั้งใจอะไรบ้าง ถามแล้วถ้าหากคนที่มาจะเข้าไปรบกวนพระราชานั้นมาไม่ดี นายประตูก็ต้องไล่ออกไป ไล่หนีไปฉันใดก็ดี สติปัญญาของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าหากเห็นอารมณ์อะไรที่จะเข้ามารบกวน จิตใจ ทำให้ จิตใจนั้นไม่สบายเกิดขึ้น สติปัญญาย่อมรักษา คำว่ารักษาก็คือ ตักเตือนจิตห้ามจิตไม่ให้ออกไปยุ่งกับ อารมณ์นั้น ตรงนี้แหละที่เป็นสิ่งที่สำคัญ


    นักปฏิบัติทั้งหลาย การพิจารณา ดูจิตใจของตน ก็เพื่อจะให้รู้อารมณ์ที่มาสัมผัสจิตใจ เพราะจิตใจของพวกเรานั้นเป็นสิ่ง ที่รับ รองทั้งอารมณ์ที่ดีและอารมณ์ที่ไม่ไดี อารมณ์ที่เป็นราคะ อารมณ์ที่เป็นโทสะ และอารมณ์ที่มาหลอกลวงให้ลุ่มหลงเป็นโมหะ นี่ เป็นหน้าที่ของสติปัญญาที่จะรู้ และจะได้สอนจิตให้รอบรู้สิ่งที่มาสัมผัสจิตใจทั้ง 3 อย่างนั้น ตรงนี้เราควรพากันไตร่ตรองใคร่ครวญ ให้ถี่ถ้วน ให้เข้าใจ จดจ้องมองดูจิตของตนเองที่นิ่งอยู่ สงบอยู่ รู้อยู่ คิดอยู่ ตรงนี้ต้องดู


    บัดนี้เมื่อเรารู้เรื่องอย่างนั้น เราก็จะได้สอนจิตของเราให้เข้าใจ ถ้าหากอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นแล้ว มาตั้งอยู่ทำให้เราเกิดความ ทุกข์ และอารมณ์นั้นจะดับไป ทำให้จิตใจของเรา หงุดหงิด ทำให้ไม่พอใจ ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นมานั้น เราเรียกว่า อารมณ์นี้เป็น โทสะ เป็นกิเลส ตั้งแต่เหตุมันเกิดขึ้นมาแล้ว มาตั้งอยู่ก็ทำให้เกิดจิตใจซบเซาเศร้าหมองขุ่นมัว หงุดหงิด จิตใจไม่สงบ จิตใจเดือด ร้อนวุ่นวาย ไม่พอใจไม่ชอบ ก็เรียกว่าเป็นโทสะเกิดขึ้นเมื่อตั้งอยู่ก็ต้องหงุดหงิด มีความทุกข์อยู่ แต่เราพิจารณาดูแล้วถ้าหากเรารู้ จักวิธีละ ก็คือ สติปัญญาสอนจิตให้ละ ว่าอารมณ์นี้ ทำให้เธอเป็นทุกข์ เธอยึดมั่นอารมณ์ นี้เอาไว้เท่าไรก็ยิ่งจะมีความทุกข์ นี้เป็น เรื่องสติปัญญาสอนจิต เมื่อจิตรู้ว่าอารมณ์นี้แหละทำให้ตนเองมีความทุกข์ จิตก็ย่อมละปล่อยวางได้ ดับอารมณ์ได้ บุคคลที่ปฏิบัติ ตนง่าย ก็ย่อมละปล่อยวางได้ง่ายเมื่อปล่อยวางไปได้แล้ว ก็รู้ว่าอารมณ์นี้ดับไปจากจิตใจของพวกเรา เราควรที่จะศึกษาเรื่องที่ อารมณ์เหล่านี้เกิดฉันใดก็ดี จิตใจของพวกเรานั้นยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมในสภาวะธรรม ธัมมัฏทิฏฐิ ธัมมนิยาม สภาวะ ธรรม ว่าอารมณ์นี้เป็นอารมณ์ที่ตั้งอยู่กับโลกอารมณ์นี้เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นอยู่กับโลก อารมณ์นี้ธรรมดาโลกก็มีอยู่ เราทำอย่างไร จึงจะรู้ได้อย่างนี้ เป็นปัญหาที่เราจะศึกษา เราจะพิจารณาเพื่อให้รู้เรื่องอย่างนี้ในการปฏิบัติภายในจิตใจของพวกเรา เรียกว่าเราดู อารมณ์ที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นราคะ เป็นโทสะ เป็นโมหะ มีความหลง กิเลส 3 ตัว นี้เป็นเสือโคร่ง เป็นงูพิษ หรืออสรพิษ ทำให้จิตใจ ของพวกเรามีความทุกข์ ไม่มีความผาสุกเกิดขึ้นเลย ถ้าหากกิเลส 3 ข้อนี้ยังมีอยู่ในจิตของพวกเราแล้ว เหยียบย่ำจิตใจเป็นนาย ของจิตแล้ว ก็เรียกว่า กิเลสเป็นนายของจิตใจ ใจก็ย่อมถูกบีบคั้นรัดรึงตรึงตราถูกโซ่ถูกตรวน ถูกทุบตีอยู่ตลอดไม่ได้มีความสุข


    ตรงนี้เมื่อเราต้องการมีความสุขด้วยกันทุกคน ต้องการให้จิตใจของตนเองมีความสุขความสบาย เราก็ต้องมาพินิจพิจารณาให้ รู้เรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา เราจะไปอยู่แห่งหนตำบลใด หรือเมืองใดประเทศใด อยู่ที่ไหนในโลกนี้ กิเลสมันไม่อยู่กับที่อื่นที่ ใดเลย กิเลสมันอยู่ในหัวใจของพวกเรานี่แหละอยู่ในจิตใจของพวกเรานี้แหละ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันอยู่ในจิตใจ ของพวกเรานี้แหละ ไม่ได้ไปอยู่ที่ไหน เขาอยู่ที่นี่อยู่ในถ้ำนี้ เราไปไหนมันก็ไปด้วย เรายืน เดิน นั่ง นอน นั่งรถ นั่งเรือ นั่งเครื่องบิน ไปที่ไหน ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันก็ไปด้วยตลอด เพระว่ามันอยู่ที่จิตใจของพวกเรา เราจะหาดูหน้าตาของกิเลสที่ไหน มันไม่พบ ถ้าไม่มาค้นคว้าเข้ามาดูจิตของพวกเรา


    ตรงนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้พิจารณาในจิตของตนเองนี้ให้รู้จงได้ ตราบใดที่เราไม่รู้ ตราบนั้นเรา ก็แก้ไขกันไม่ได้เอง เราไม่รู้ต้นเหตุ เราจะไปดับที่ปลายเหตุไม่มีหวังที่จะดับกิเลสได้ เหมือนกับนายแพทย์ เวลาจะรักษาโรค หรือ ตรวจร่างกาย ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องตรวจหาสมมุติฐานของโรคที่ทำให้ร่างกายนี้เป็นไข้ไม่สบายว่า ต้นเหตุของโรคอยู่ที่จุด ไหน เหมือนกับมีดถูกแข้งถูกขา บุคคลก็เหมือนกันมันเจ็บปวด มันเป็นไข้ เราไปกินยารักษาไข้ มันก็ไม่หายเราต้องรู้จักว่าไข้ที่ เกิดขึ้นนี้ คือ มีดถูกขา ขาเป็นแผลเลือดออกมาจึงทำให้เป็นไข้ เราจับสมมุติฐานต้นเหตุได้ เราก็ต้องมารักษาแผลที่ถูกมีดฟัน พยายามล้างแผล ใส่ยาที่แผล เย็บแผล พันแผลที่ถูกมีดฟันให้เรียบร้อย เมื่อรักษาแผลดีจนหายไข้ก็จะหายไปเอง เรียกว่า นาย แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค สมมุติฐานของโรคที่เกิดขึ้นในร่างกาย ของบุคคลต่างๆก็เหมือนกัน นายแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญต้องวินิจฉัยโรคค้นคว้าหาสมมุติฐานของโรค แล้วก็ไปคุมรักษาที่สมมุติฐานของโรคนั้น ต้องรักษาที่จุดนั้นก่อน เมื่อรักษาที่จุด นั้นแล้ว อาการต่างๆ ในร่างกายก็จะผ่อนคลายหายไปโดยอัตโนมัติ


    เหตุฉะนั้น การดูหน้าตาของกิเลส เราจะไปดูที่ภายนอกมันไม่เห็น เราต้องดูเข้ามาภายใน ดูเข้ามาในจิตใจของพวกเรา เรา จะมีสติสัมปชัญญะ อภิชฌาโทมะนัสสัง กำจัดความเหี่ยวแห้ง ความหงุดหงิดทั้งหลายเหล่านี้ออกจากจิต อย่าให้มา หมักหมมสะสมทับถมจิตใจของเรา มันจะเกิดความทุกข์ขึ้น นี่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนอย่างนั้น


    แล้วพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้พิจารณาความเกิดขึ้นและความตั้งอยู่ พร้อมทั้งความดับไปของอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตนี้ พวกเราท่านทั้งหลายต้องมาดูตรงนี้แหละ ท่านสอนให้พิจารณา เพราะพระพุทธองค์ทรงศึกษษและรอบรู้เห็นแจ้งชัดเจนแล้วว่า สิ่ง เหล่านี้กำจัดได้ แก้ไขได้ ไม่ใช่ทรงสั่งสอนว่าธรรมะนี้ไม่มีบุคคลใดหรือสัตว์ตัวไหนในโลกนี้ จะรู้ได้เห็นได้ พิจารณาเท่าไรก็ไม่เห็น ไม่มีสติปัญญาที่จะรู้ได้พระพุทธองค์ไม่ได้สอนไว้อย่างนั้น ทรงสั่งสอนธรรมะสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ตรองตาม เห็นได้จริง ไม่เหลือ ความสามรถของบุคคลผู้มีความเพียรพยายามอยู่ ย่อมเห็นในสิ่งนั้นชัดเจนได้ไม่เหลือวิสัย


    เมื่อเรานั่งทำสมาธิสงบอยู่นานตามสมควรแก่เวลาแล้ว ก่อนเราจะถอนออกจากความสงบจากสมาธินั้น เราควรพา กันค่อยๆ นึกดูลมหายใจเข้าออก ค่อยๆ หายใจเบาๆ เสียก่อน เมื่อพอมองเห็นลมหายใจ เข้าออกบ้างแล้วเราก็จะได้ หายใจตามปกติ แล้วจึงค่อยๆ เอามือขวาออกมาวางบนเข่าขวา แล้วเอามือซ้ายออกมาวางบนเข่าซ้าย แล้วจึงลืมตา ทั้งสองปกติ หายใจสบายเป็นปกติตามเดิม นี้เป็นวิธีการออกสมาธิ แบบเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ตามลำดับ ให้สุขสบาย


    เมื่อออกจากความสงบแล้ว เราจะลุกออกจากที่นั่งทำสมาธิ ไปนั่งพักสบายๆ สงบอยู่ที่อื่น ๆ ทบทวนดูความสงบที่ตนเองทำได้ นั้นอีกทีก็ยิ่งดีมาก ว่าเราทำภาวนามาแต่ต้นนั้นเป็นอย่างไร จึงได้รับความสงบอย่างนี้ จิตใจของเราจะมีแต่ความสงบสุขอยู่เรื่อยๆ ตลอดไป


    ฉะนั้น จึงขอเตือนว่า การถอนจิตออกจากความสงบเป็นสมาธิดีแล้วนั้นทุกครั้งควรปฏิบัติดังที่กล่าวมา แล้วนี้เป็นการดี ส่วนมาก แล้วคณะศรัทธาท่านสาธุชนทั้งหลายที่กำลังเริ่มฝึกทำสมาธิตามขั้นตอนที่ตนเองทำได้นั้น เวลาออกจากสมาธิก็ถอนจิตออกมา อย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัวเลย เรียกว่าเป็นการออกจากสมาธิที่ขาดสติสัมปชัญญะเป็นการออกจามสมาธิที่ไม่ไดีไม่ถูกต้อง จะทำให้ เราไม่ชำนาญในการเข้าออกสมาธิหากเมื่อเคยทำสมาธิได้แล้วสมาธิก็จะเสื่อมไปได้ง่าย ไม่หนักแน่นมั่นคงต่อไป จึงควรจะพากัน ทำความเข้าใจให้ดีเรื่องนี้


    เอามาจากที่นี่ http://www.childthai.org
     

แชร์หน้านี้

Loading...