จี้แผนตั้งระบบเตือนสึนามิในเอเชียไม่คืบ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 25 ธันวาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>จี้แผนตั้งระบบเตือนสึนามิในเอเชียไม่คืบ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>24 ธันวาคม 2549 21:40 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หอเตือยภัยที่ป่าตอง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอเอฟพี - ผู้เชี่ยวชาญชี้ แม้เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มจะล่วงเลยไปแล้วเกือบสองปี ทว่า การติดตั้งระบบเตือนภัยภูมิภาคยังคงเป็นปัญหาคาราคาซัง เนื่องจากแต่ละประเทศต่างดึงดันดำเนินการตามแผนการรับมือคลื่นยักษ์ของตัวเอง

    ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ไทยเพิ่งปล่อยทุ่นเตือนภัยน้ำลึกซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯลงสู่มหาสมุทรอินเดีย ขณะที่ทางอินโดนีเซียมีแผนติดตั้งอุปกรณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกันอีกประมาณ 15 เครื่อง

    อย่างไรก็ตาม การที่จะเกลี้ยกล่อมประเทศต่างๆให้หันมาประสานความร่วมมือกัน ภายใต้การดูแลของคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล ในสังกัดองค์การสหประชาชาติ (ไอโอซี) ดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

    "ไอโอซีพูดถึงเรื่องนี้มาตลอด และพวกเขาจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่กลับยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนเป็นรูปธรรมเลยแม้แต่น้อย" สมิทธ ธรรมสโรช ประธานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งของไทยกล่าว

    เมื่อครั้งที่เกิดสึนามิครั้งใหญ่พัดเข้าถล่มชายฝั่ง 11 ประเทศเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 จนเป็นเหตุมีผู้เสียชีวิตมากถึง 220,000 คนนั้น ไม่มีชาติใดเลยบริเวณมหาสมุทรอินเดียที่มีระบบตรวจการเกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่ง อันเป็นสัญญาณเตือนแรกก่อนจะเกิดสึนามิตามมา

    เพื่อจะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก บรรดาประเทศผู้ได้รับผลกระทบและประเทศผู้บริจาคจึงได้ตกลงกันให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยในภูมิภาค ลักษณะเดียวกันกับระบบเตือนภัยในแปซิฟิก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่บนเกาะฮาวาย

    ทว่า หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเวลาผ่านเลยไปถึง 2 ปี ชาติต่างๆกลับยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่า จะตั้งสำนักงานใหญ่ของศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาคในมหาสมุทรอินเดียที่ประเทศใด เพราะทั้งอินเดีย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลียต่างแข่งขันกันเองเพื่อเรื่องนี้

    "พวกเขายังตกลงกันไม่ได้ว่าชาติใดมีความเหมาะสมมากที่สุด" สมิทธกล่าว พร้อมเสริมต่อว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะเงินสนับสนุนจากยูเอ็น สำหรับประเทศที่เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของศูนย์ดังกล่าวนั้นค่อนข้างเย้ายวนใจมาก

    สมิทธระบุต่อว่า ขณะนี้ไทยได้มีการติดตั้งหอเตือนภัยตามชายฝั่งแล้วกว่า 90 จุด และยังมีการตั้งศูนย์เตือนภัยแห่งชาติที่มีอุปกรณ์ครบครันเป็นที่เรียบร้อยแล้วอีก 1 แห่ง

    ส่วนอินโดนีเซียเพิ่งทดสอบระบบเตือนภัยล่วงหน้าไปเมื่อไม่นานมานี้ และยังมีโครงการที่จะติดตั้งทุ่นเตือนภัยอีก 15 จุดโดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากเยอรมนี รวมถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวกว่า 100 จุดภายในปี 2009

    ขณะที่ประเทศอื่นๆกลับมีการดำเนินการเรื่องเหล่านี้ล่าช้ามาก เช่น อินเดียยังไม่มีการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า แต่เผยว่ามีโครงการที่จะจัดตั้งระบบดังกล่าว และเปิดดำเนินการตามชายฝั่งภายในเดือนกันยายน 2007

    ด้านศรีลังกาซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากสึนามิสูงถึง 31,000 คน ยังไม่มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิในประเทศเช่นกัน ถึงแม้ว่าทางการจะมีการจัดตั้งระบบบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อติดต่อโดยตรงกับทางกรมสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ในการติดตามการเกิดแผ่นดินไหวก็ตาม

    เดิมที การจัดตั้งระบบเตือนภัยระดับภูมิภาคมีกำหนดการอยู่ในช่วงกลางปี 2006 แต่เส้นตายนั้นกลับผ่านเลยไปโดยที่ยังมีภารกิจอีกมากมายไม่บรรลุผล ซึ่งรวมไปถึงการติดตั้งทุ่นเตือนภัยน้ำลึกในมหาสมุทรอินเดียเพิ่มเติมอีก 23 จุด

    "แม้ว่าตอนนี้ประเทศเหล่านี้จะมีการเตรียมการณ์เป็นอย่างดี ในการสื่อสารไปถึงพื้นที่แถบชายฝั่งเมื่อได้รับข้อมูลสำคัญ ทว่า ยังมีอีกหลายสิ่งที่ชาติเหล่านี้จำเป็นต้องกระทำให้ลุล่วงก่อน" ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯซึ่งขอสงวนนามกล่าว

    เขาเผยต่อว่า ไอโอซีจะมอบสิทธิ์ในการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาคแก่ประเทศใดก็ตาม ที่มีการเตรียมความพร้อมศูนย์เตือนภัยในประเทศเสร็จตรงตามมาตรฐานที่วางไว้เป็นชาติแรก แต่กว่าจะถึงจุดนั้น ชาติเหล่านี้คงต้องใช้เวลาอีกหลายปี เพราะเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องทางการเมืองค่อนข้างมาก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    -----------------------------
    Ref. http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000157310
     

แชร์หน้านี้

Loading...