ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 3 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงเพื่อสนองความต้องการทางปัญญา โดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง อันนั้น ให้ถือว่าไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งในที่นี้เรียกว่าพุทธธรรม

    พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในถาคาบางทีเรียกสั้นๆว่า พุทธธรรม)


    images?q=tbn:ANd9GcQoES8TAWvaBxFstkWUDVC-F8B_r0N1rfsL-HIiAEQOU3FAVuSY6A.jpg
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ
    ๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

    ๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

    ๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

    ๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

    ๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

    ๖. ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

    ๗. สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

    ๘. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

    ๙. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

    ๑๐. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ

    บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้นหรือสามระดับ จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑. บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

    ๒. อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

    ๓. ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด


    เกณฑ์ ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น มีหลายแง่หลายด้าน ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานบารมี สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานอุปบารมี สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี

    บารมีในแต่ ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า สมดึงสบารมี (หรือ สมติงสบารมี) แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า "บารมี ๓๐ ทัศ"
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หัวข้อนี้ มองให้ทะลุถึงสมุทัยอริยสัจข้อ ๒ ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ด้วย

    ทุกข์

    สมุทัย = ตัณหา ๓

    นิโรธ

    มรรค

    4aaa8ccbab20af074c80cb26e454c36a.jpg
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เข้าเรื่อง


    ความหมายของภวตัณหา และวิภวตัณหา

    การแปลความหมายของตัณหา ๓ อย่าง โดยเฉพาะข้อที่ ๒ คือ ภวตัณหา และข้อ ๓ คือ วิภวตัณหา ดังเช่นในธัมมจักกัปปวัตนสูตร (วินย. 4/13/18; สํ.ม.19/1664/528) สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร (ที.ปา.11/228/228; 392/291) เป็นต้น แต่ก็ไม่มีที่ใดให้คำจำกัดความ หรือแสดงความหมายไว้โดยตรงเลย ผู้ศึกษาจึงต้องหันไปพึ่งคัมภีร์ฝ่ายพระอภิธรรม และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ครั้นได้หลักฐานมาเพียงบางแง่บางส่วน ไม่ครบถ้วน ก็ดี หลักฐานที่ได้พบตนไม่สามารถแปลความหมายได้ชัดเจน ก็ดี ก็ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างและขัดแย้งกันขึ้น


    ในพระสูตรนั้น แม้ว่าท่านจะไม่ได้ให้คำจำกัดความและแสดงความหมายไว้โดยตรง แต่ก็มีข้อความประกอบ และพุทธพจน์ตรัสสอนในบางกรณี ที่จะช่วยส่องให้เห็นความหมายของตัณหา ๓ อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ในที่นี้ จึงจะแสดงหลักฐานทั้งฝ่ายพระสูตร พระอภิธรรม และคำอธิบายของอรรถกถา เพื่อผู้ศึกษาจะได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง


    ตัณหาสูตร ในอิติวุตตกะ (ขุ.อิติ.25/236/268) เป็นพระบาลีแห่งหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัณหา ๓ อย่างไว้ ณ ที่นี้ แม้ว่าพรองค์จะมิได้แสดงความหมายของตัณหาแต่ละอย่างไว้โดยตรง แต่ก็ได้ตรัสข้อความเป็นคาถา ซึ่งอาจใช้ประกอบในการที่จะเข้าใจความหมายต่อไป


    พระสูตรนี้ เมื่อแปลตรงไปตรงมาตามคำศัพท์เท่าที่มี โดยยังไม่นำเอาคำอธิบายเสริมความของอรรถกถาเข้าไปปรุง จะได้ดังนี้


    “ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเหล่านี้มี ๓ ประการ ๓ ประการ เป็นไฉน ? ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการ ดังนี้แล...


    “ชนทั้งหลายผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือ ตัณหา มีจิตยินดีในภพและอภพ (ภวาภเว) เพราะเขาพัวพันด้วยเครื่องผูกของมาร ไม่มีความลุโล่งโปร่งใจ เป็นสัตว์ไปสู่สงสาร ถึงความเกิดและความตาย ส่วนชนเหล่าใด กำจัดตัณหาได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากตัณหาในภพและอภพ (ภวาภเว) บรรลุความสิ้นอาสวะ ชนเหล่านั้น เป็นผู้ถึงฝั่งแล้วในโลก”


    อีกสูตร ในอิติวุตตกะนั้นเอง ชื่อ ทิฏฐิสูตร (ขุ.อิติ.25/227/263) มุ่งแสดงเรื่องทิฏฐิ ๒ ซึ่งหมายถึง ภวทิฏฐิ และวิภวทิฏฐิ แต่เนื้อหาที่ตรัสเป็นการแสดงภวตัณหา และวิภวตัณหาไปในตัว ขอแปลมาให้ดูทั้งสูตร ดังนี้


    “ภิกษุทั้งหลาย เทพและมนุษย์ทั้งหลาย ถูกทิฏฐิ ๒ จำพวก เข้าครองใจแล้ว พวกหนึ่งติดล้าอยู่ พวกหนึ่งวิ่งเลยไปเสีย ส่วนพวกที่มีตาจึงมองเห็น


    “ภิกษุทั้งหลาย พวกหนึ่งติดล้าอยู่ เป็นอย่างไร ? (กล่าวคือ) เทพและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีภพเป็นที่ยินดี (ภวารามา) รื่นรมย์ในภพ (ภวรตา) บันเทิงในภพ (ภวสัมมุทิตา) เมื่อตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับแห่งภพ (ภวนิโรธ) จิตของเทพและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งแน่วลง ไม่น้อมดิ่งไป พวกหนึ่งติดล้าอยู่อย่างนี้


    “ภิกษุทั้งหลาย พวกหนึ่งวิ่งเลยไป เป็นอย่างไร ? (กล่าวคือ) คนพวกหนึ่ง อึดอัดระอา รังเกียจอยู่ด้วยภพนั่นแหละ จึงพร่ำชื่นชมวิภพ (หรือจึงยินดียิ่งซึ่งวิภพ = วิภวํ อภินนฺทนฺติ วิภวะ หรือ วิภพ = ความปราศจากภพ อรรถกถา อิติ. อ. 233 ไขความว่า = อุจเฉทะ แปลว่า ความขาดสูญ) ว่า นี่แน่ะท่านเอย นัยว่าหลังจากร่างกายแตกทำลายตายไปแล้ว อัตตานี้ก็จะขาดสูญ มลายสิ้น นี่ละคือภาวะสุดประเสริฐ นี่ละคือภาวะดีเยี่ยม นี่ละคือภาวะที่เป็นของแท้ พวกหนึ่งวิ่งเลยไปอย่างนี้


    “ภิกษุทั้งหลาย พวกที่มีตาจึงมองเห็น เป็นอย่างไร ? (กล่าวคือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมองเห็นสภาพภพ (ภูต อรรถกถาว่า = ขันธ์ ๕ ) โดยความเป็นสภาพภพ (คือเห็นตามสภาวะที่เป็นจริง) ครั้นเห็นสภาพภพ โดยความเป็นสภาพภพแล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหายติด (นิพพิทา) เพื่อหมดใคร่ (วิราคะ) เพื่อนิโรธแห่งสภาพภพนั้น ส่วนพวกที่มีตาจึงมองเห็นเป็นอย่างนี้...


    ผู้ใดเห็นสภาพภพโดยความเป็นสภาพภพ และเห็นภาวะที่ล่วงพ้นสภาพภพ ผู้นั้น ย่อมน้อมใจดิ่งไปในภาวะที่เป็นจริง เพราะหมดสิ้นภวตัณหา ถ้าเขากำหนดรู้สภาพภพ เขาจะเป็นผู้ปราศจากตัณหา ทั้งในภพและอภพ (ภวาภเว) เพราะความหมดภพและสภาพภพ ภิกษุทั้งหลายจะไม่มาสู่ภพอีก...”
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในพระสูตรนี้ มีข้อสังเกตสำคัญที่ควรกล่าว ณ ที่นี้ ๒ ประการ คือ

    ๑. พระพุทธเจ้าตรัสตรัสตัณหา และทิฏฐิ ควบคู่ไปด้วยกัน เพราะเป็นของเนื่องกัน อิงอาศัยกัน คนพวกหนึ่งยินดีในภพ ปรารถนาภพ (ภวรม, ภวอภิรม = ภวตัณหา) และมีความเห็นยึดติดถือมั่นว่า ภพนั้นเป็นที่น่ายินดี เป็นที่รองรับความยั่งยืนของอัตตา เป็นสภาพที่น่าปรารถนา (ภวทิฏฐิ)
    ส่วนคนอีกพวกหนึ่งเกลียดชังภพ ชื่นชมยินดีวิภพ ปรารถนาความขาดสูญ (วิภวอภินันท = วิภวตัณหา) และมีความเห็นเชื่อถือยึดถือว่า อัตตาจะขาดสูญ (วิภวทิฏฐิ = อุจเฉททิฏฐิ)

    ๒. ความในพระสูตร แสดงความแตกต่างระหว่าง วิภวะ หรือ วิภพ (ปราศจากภพ ไม่มีภพ หมายถึง ความขาดสูญ) ซึ่งเป็นที่ยึดถือของความเห็นผิด กับ ภวนิโรธ (ความดับภพ) ซึ่งไม่ใช่ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องกลางๆ ตามสภาวะ

    ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ ก็จะเข้าใจเรื่องมัชเฌนธรรมเทศนา และมัชฌิมาปฏิปทา

    ตัณหา กับ ทิฏฐินั้น เป็นองค์ธรรมต่างอย่าง แต่ใกล้ชิด อยู่ในชุดเดียวกัน อิงอาศัยกัน เมื่อเห็นว่าอย่างใดดี ก็อยากได้อย่างนั้น เมื่ออยากได้อย่างใด ก็จะเห็นจะมองให้เป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะในเมื่อปฏิบัติต่อสิ่งที่ไม่รู้ ซึ่งเป็นเรื่องของความคิดปรุงแต่ง ดังนั้น ในความหมายของตัณหาที่จะยกมาแสดงต่อไปนี้ ท่านจึงนำเอาทิฏฐิมาช่วยอธิบายตัณหาด้วย ว่าตัณหาอย่างนั้น คือความอยากที่ประกอบด้วยทิฏฐิอย่างนั้น แต่กระนั้น ก็ต้องตระหนักว่า ตัณหา กับ ทิฏฐิ ก็ยังคงเป็นองค์ธรรมคนละอย่าง ตัณหาก็อย่างหนึ่ง ทิฏฐิก็อย่างหนึ่ง หรือความอยากก็อย่างหนึ่ง ความเห็นก็อย่างหนึ่ง
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในปุราเภทสูตร ในสุตตนิบาท (ขุ.สุ. 25/417/501) มีข้อความในคาถาหนึ่ง พร้อมทั้งคำอธิบายในมหานิทเทส และในอรรถกถา ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความหมายของภวตัณหา และวิภวตัณหาชัดเจนยิ่งขึ้น ข้อความในพระสูตรตอนนั้นว่า


    “ผู้ใดไม่มีความอิงอาศัย (คือไม่ขึ้นต่อตัณหาและทิฏฐิ) รู้ธรรมแล้ว ไม่ขึ้นต่ออะไรๆ (คือใจเป็นอิสระ) ไม่มีตัณหา ไม่ว่าเพื่อภพ หรือเพื่อวิภพ (ภวาย วิภวาย วา ตณฺหา = ความทะยานอยากเพื่อจะเป็น หรือเพื่อจะไม่เป็น) เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้สงบ”


    ความสำคัญในที่นี้ คือ ภวาย วิภวาย วา ตณฺหา ซึ่งแยกออกได้ เป็น ภวาย ตณฺหา (ตัณหาเพื่อภพ หรือความทะยานอยากเพื่อจะเป็น) กับ วิภวาย ตณฺหา (ตัณหาเพื่อวิภพ หรือความทะยานอยากเพื่อจะไม่เป็น)

    กล่าวได้ว่า คำทั้งสองนี้ ก็คือรูปขยายหรือแยกศัพท์ของภวตัณหา และวิภวตัณหา นั่นเอง อย่างไรก็ตาม คัมภีร์มหานิทเทส ซึ่งอธิบายสุตตนิบาตช่วงนี้ และเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกัน ได้ไขความพระบาลีตอนนี้ (ขุ.ม.29/420/294) โดยอธิบายตัณหาว่า ได้แก่ ตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ และไขความ ภวาย และวิภวาย หลายนัย นัยที่ ๑ ว่าภวาย หมายถึง ภวทิฏฐิ และวิภวาย หมายถึง วิภวทิฏฐิ


    นัยที่ ๒ ว่าภวาย หมายถึง สัสสตทิฏฐิ และวิภวาย หมายถึง อุจเฉททิฏฐิ (นัยที่ ๒ ว่าโดยสาระก็เหมือนกับนัยแรกนั่นเอง)

    นัยที่ ๓ ไขความเฉพาะแต่ ภวาย ว่าหมายความว่า (ตัณหาหรือความทะยานอยาก) เพื่อความเป็น (ภพ) บ่อยๆ เพื่อความไป (คติ) บ่อยๆ เพื่อความอุบัติบ่อยๆ เพื่อปฏิสนธิบ่อยๆ เพื่อความบังเกิดแห่งอัตตาบ่อยๆ ส่วนวิภวาย ท่านไม่ไขความไว้ แต่กระนั้นก็ตาม การไขความ ภวาย ตามนัยที่ ๓ นี้ ก็เท่ากับเป็นเครื่องบ่งให้แปล วิภวาย ว่า (ตัณหาหรือความทะยานอยาก) เพื่อความไม่เป็น (วิภพ หรือปราศจากภพ) หรือเพื่อความขาดสูญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2017
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในพระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ได้ให้คำจำกัดความตัณหาต่างๆไว้ บางแห่ง (อภิ.สํ.34/845/328 อภิ.วิ. 35/912/485) อธิบายเฉพาะตัณหา ซึ่งในที่นั้น มาคู่กับอวิชชา ว่า “บรรดาองค์ธรรม ๒ อย่างนั้น ภวตัณหา เป็นไฉน? ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความปรารถนาในภพ ความเสน่หาในภพ ความร่านรนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวตัณหา
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อีกแห่งหนึ่ง (อภิ.วิ. 35/933/494) อธิบายตัณหา ๓ อย่าง ดังนี้ “บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน ? ความใคร่ ความติดใคร่ ความยินดี ความคล้อยไปหา ความเพลิดเพลิน ความใฝ่รักเพลิดเพลิน ความติดใคร่แห่งจิต ที่เป็นไปพร้อมด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.

    วิภวตัณหา เป็นไฉน ? ความใคร่ ความติดใคร่ ความยินดี ความคล้อยไปหา ความเพลิดเพลิน ความใฝ่รักเพลิดเพลิน ความติดใคร่แห่งจิต ที่เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา. ตัณหาที่เหลือนอกนั้น เป็นกามตัณหา

    (อีกนัยหนึ่ง) บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน ? ความใคร่ ความติดใคร่ ฯลฯ ความติดใคร่แห่งจิต ที่ประกอบด้วยกามธาตุ นี่เรียก กามตัณหา

    ความใคร่ ความติดใคร่ ฯลฯ ความติดใคร่แห่งจิต ที่ประกอบด้วยรูปธาตุและอรูปธาตุ นี่เรียก ภวตัณหา

    ความใคร่ ความติดใคร่ ฯลฯ ความติดใคร่แห่งจิต ที่เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี่เรียก วิภวตัณหา
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ ซึ่งอธิบายพระสูตรที่ยกมาอ้างข้างต้นนั้น แห่งแรก (อิติ.อ.260) อธิบายคำ ภวาภเว ว่าหมายถึง (มีใจติดข้องอยู่) ในภพน้อยภพใหญ่ และอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า ภพ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ อภพ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ เพราะฉะนั้น มีใจติดข้องในภพและอภพ ก็คือในสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ ซึ่งก็มุ่งหมายเอาภวตัณหา และวิภวตัณหา นั่นเอง

    ส่วนแห่งหลัง (อิติ.อ.437) อธิบายคำ ภวาภโว ว่า ภว (ภพ) = สมบัติ อภว (อภพ) = วิบัติ ภว (ภพ) = ความเจริญ เพิ่มพูน อภว (อภพ) = ความเสื่อมหรือลดลง
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อรรถกถาอธิบายแห่งปฏิสัมภิทามัคค์อธิบายตัณหาไว้อย่างชัดเจนมาก พร้อมทั้งยกเอาคำจำกัดความในพระอภิธรรมปิฎกมาอ้างไว้อย่างครบครัน และอธิบายไว้ถึง ๒ แห่ง


    แห่งที่หนึ่ง (ปฏิสํ. อ. 140) อธิบายภวตัณหา ที่มาคู่กับอวิชชาว่า ภวตัณหา ได้แก่ ความปรารถนาในภพทั้งหลาย มีกามภพ เป็นต้น แล้วยกบาลีในธัมมสังคณีและวิภังค์ที่แสดงข้างต้นมาอ้าง (อภิ.สํ.34/845/328...อภิ.วิ.35/912/485 ดูข้างต้น) จากนั้น อธิบายตัณหา ๓ อย่าง โดยยกความในบาลีในคัมภีร์วิภังค์ที่แสดงแล้วข้างต้นมาอ้าง (อภิ.วิ.35/933/494 ดูข้างต้น) แล้วอธิบายต่อท้ายว่า “แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ราคะที่เนื่องด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่ากามตัณหา ราคะในรูปภพ และอรูปภพ ความติดใจในฌาน ราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภวตัณหา ราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่าวิภวตัณหา” ความหมายอย่างนี้ ในวรรณนาแห่งสังคีติสูตร (ที.อ.3/229) ก็อธิบายไว้อย่างเดียวกัน

    แห่งที่สอง (ปฏิสํ. อ. 189) อธิบายตัณหา ๓ ตามลำดับดังนี้ “กามตัณหา ได้แก่ ตัณหาในกาม (กาเม ตณฺหา) คำว่า กามตัณหา นี้ เป็นชื่อของราคะ ที่เนื่องด้วยกามคุณ ๕ ภวตัณหา ได้แก่ ตัณหาในภพ (ภเว ตณฺหา) คำว่า ภวตัณหา นี้ เป็นชื่อของราคะ ที่เป็นไปพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจความปรารถนาภพ เป็นชื่อของราคะในรูปภพและอรูปภพ และเป็นชื่อของความติดใจในฌาน วิภวตัณหา ได้แก่ ตัณหาในวิภพ (ความไม่เป็น, ความปราศจากภพ, ความขาดสูญ, วิภเว ตณฺหา) คำว่า วิภวตัณหา นี้ เป็นชื่อของราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ” คำอธิบายอย่างนี้ มาในอรรถกถาแห่งวิภังค์ในพระอภิธรรมปิฎก ก็มี (วิภงฺค.อ.143 แต่ฉบับอักษรไทยที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ถ้อยคำตกหล่นไปบ้าง ไม่ครบถ้วนอย่างใน ปฏิสํ.อ.)
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “ก็แล บรรดาตัณหา (ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ รวม ๖ อย่าง) เหล่านั้น ตัณหาแต่ละอย่าง ตรัสไว้อย่างละ ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตามอาการที่เป็นไป

    จริงอยู่ รูปตัณหานั่นเอง เมื่อยินดีอย่างชนิดยินดีกาม ในเวลาที่รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ ในเวลานั้น ชื่อว่า กามตัณหา

    รูปตัณหานั่นแหละ ในเวลาใด เป็นไปพร้อมด้วยทิฏฐิว่ารูปารมณ์นั้นแล เที่ยงแท้ ยั่งยืน ในเวลานั้น ชื่อว่า ภวตัณหา เพราะราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านเรียกว่า ภวตัณหา

    แต่ในเวลาใด รูปตัณหานั้น เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิว่า รูปารมณ์นั้นแล ขาดสูญ พินาศ ในเวลานั้น ชื่อว่า วิภวตัณหา เพราะราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านเรียกว่า วิภวตัณหา"...
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เท่าที่กล่าวมา คงจะยุติได้ว่า คำอธิบายในคัมภีร์สัทธรรมปกาสินี อรรถกถาแห่งปฏิสัมภิทามัคค์ เป็นข้อสรุปความหมายของตัณหา ๓ ที่สมบูรณ์และน่าพอใจ ทั้งในแง่ความชัดเจน และในแง่ที่ครอบคลุมความหมาย ซึ่งท่านได้แสดงไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย ทั้งระดับพระบาลี และระดับอรรถกถา ขอนำข้อสรุปนั้นมาเรียบเรียงไว้ให้ดูง่าย ดังนี้


    ๑. กามตัณหา คือ ตัณหาในกาม ได้แก่ ราคะที่เนื่องด้วยกามคุณ ๕

    ๒. ภวตัณหา คือ ตัณหาในภพ ได้แก่ ราคะ (ความติดใคร่ปรารถนา) ในรูปภพและอรูปภพ ความติดใจในฌาน และราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของความปรารถนาภพ

    ๓. วิภวตัณหา คือ ตัณหาในวิภพ ได้แก่ ราคะที่เป็นไปพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของความปราศจากภพ หรือความขาดสูญ

    ............

    (ข้อพึงระวัง คือ จะต้องระลึกไว้เสมอว่า วิภพ คือความปราศจากภพ ความสิ้นภพ หรือความขาดสูญนั้น เป็นคนละอย่าง กับ ภวนิโรธ ที่แปลว่า ความดับภพ หรือความไม่เกิดภพ ซึ่งเป็นสภาวะที่พึงประสงค์ ถ้าไม่ชัด พึงพิจารณาทบทวนพระบาลีในทิฏฐิสูตรข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง)

    (พุทธธรรมหน้า 230)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2017
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ราคะ ความกำหนัด, ความติดใจหรือความย้อมใจติด, ความติดใคร่ในอารมณ์

    อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์, ในภาษาไทยความหมายเลือนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

    รูปารมณ์ อารมณ์ คือ รูป, สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา

    รูปตัณหา ความอยากในรูป

    รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป

    รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือ ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌานหรือในธรรมธรรมอันละเอียด

    รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความ ได้แก่ รูปขันธ์หรือร่างกาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2017
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คัมภีร์ที่อ้างอิงคร่าวๆ


    เกี่ยวกับหลักฐานที่มา มีข้อควรรู้บางอย่าง คือ

    ก. สำหรับผู้คุ้นกับคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อเห็นอักษรย่อคัมภีร์ ก็รู้ได้ทันทีว่า อันใดเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎก อันใดเป็นคัมภีร์รุ่นหลัง แต่สำหรับผู้ไม่คุ้น อาจสังเกตง่ายๆจากเลขบอกที่มา คือคัมภีร์ในพระไตรปิฎก เรียงเลข ๓ ช่อง เป็น เล่ม/ข้อ/หน้า ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังเรียงเลขเพียง ๒ ช่อง เป็น เล่ม/หน้า นอกจากนั้น คัมภีร์ที่เป็นอรรถกถา อักษรย่อจะลงท้ายด้วย อ. ที่เป็นฎีกา จะลงท้ายด้วย ฎีกา

    ข. ตามปกติ เรื่องใดอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นต้นที่สำคัญกว่าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นรองลงไป ที่สำคัญน้อยกว่า เช่น อ้างพระไตรปิฎกแล้ว ก็ไม่ต้องอ้างอรรถกถาอีก เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น

    ค. เมื่ออ้างที่มาหลายแห่ง จะเรียงตามลำดับประเภท หมวดและรุ่นของคัมภีร์ เช่น เรียงพระไตรปิฎกก่อนอรรถกถา อรรถกถาก่อนฎีกา หรือในจำพวกพระไตรปิฎกด้วยกัน ก็เรียงพระวินัยก่อนพระสูตร พระสูตรก่อนพระอภิธรรม ในพระสูตรด้วยกัน ก็เรียงตามลำดับนิกาย ในนิกายเดียวกัน ก็เรียงตามลำดับคัมภีร์ เป็น วินย. ที.สี. ที.ม. ที.ปา. ม.มู. ม.ม. ฯลฯ อภิ.สํ. อภิ.วิ. ฯลฯ วินย.อ. ที.อ. ม.อ. ฯลฯ วิภงฺค.อ. ฯลฯ วินย.ฎีกา. ฯลฯ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น เป็นคัมภีร์ลำดับหลัง แต่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้มาก เป็นหลักฐานใหญ่เฉพาะกรณีนั้น ก็เรียงไว้ข้างต้น หรือคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้คล้ายกัน ก็เรียงไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจำนวนมาก ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทำให้ผู้อ่านสับสนหรือถึงกับเข้าใจผิด จับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกถาจารย์ เป็นต้น ว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า

    บางที แม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสนหรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อที่พึงระวังในเรื่องความสับสนเกี่ยวกับหลักฐานที่มานี้

    ในการแสดงพุทธธรรม ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้ อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอนและทรงมุ่งหมาย ในการนี้ ได้ตัดความหมายอย่างที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กาม มี ๒ อย่าง คือ ๑. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ ๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕


    กามคุณ
    ส่วนที่น่าปรารถนาใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ


    กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์

    กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่ กามคุณ ๕ นั่นเอง 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม

    สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...