ช้างคู่พระบารมี

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 17 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ช้างคู่พระบารมี


    ในสมัยโบราณ ช้างเผือกมีความสำคัญยิ่งต่อองค์พระมหากษัตริย์และประเทศชาติ ''แผ่นดินของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่พบช้างเผือกเป็นจำนวนมาก แสดงว่าพระองค์นั้นถึงพร้อมด้วยบุญญาภินิหารบารมีมาก''

    ช้างเผือกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่ เมือง เพราะเมืองใดพบช้างเผือก เมืองนั้นจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง





    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>ช้างที่ถูกต้องตามคชลักษณ์ ๗ ประการ คือ มีตา ขนหาง ขนรอบตัว เล็บ เพดานปาก ผิว และอัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) เป็นสีขาวหรือสีหม้อดินใหม่ ตามคติความเชื่อ เรียกว่า ช้างเผือก โ ดยทางสำนักพระราชวังจะมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่าเชือกไหนเป็นช้างเผือก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูลักษณะช้างเผือกเป็นผู้ตรวจคชลักษณะ



    ภาสพล กนิษฐสุต เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น กล่าวให้ฟังว่า นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๙ ขึ้นครองราชย์ จนถึงบัดนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปี มีการพบช้างเผือกทั้งสิ้น ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๑ ช้าง คือ


    [​IMG]


    พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทราชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการปรมินทรบพิตร สารศักดิ์เลิศฟ้าชื่อเดิม พลายแก้วเป็นช้างพลายเผือกโท เป็นช้างลูกเถื่อน นายแปลก ฟุ้งเฟือง คล้องได้ในคอกที่สร้างไว้บริเวณไร่แขก บ้านหนองจูด หมู่ ๑ ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อมาพลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๑ ณ โรงช้างต้น เขาดินวนา (สวนสัตว์ดุสิต) เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “กมุท” สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ พระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ) เป็น ผู้ตรวจคชลักษณะ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ และประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ปัจจุบันอายุประมาณ ๖๐ ปี

    [​IMG]

    พระเศวตสุทธวิลาศ อัฏฐคชชาต พิษณุพงศ์ ดำรงประภาพมหิมัน ตามร พรรณไพศิษฏ์ ผริตวรุตตมมงคล ดาสศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณ์เลิศฟ้าเป็นช้างพลายเผือก (สีดอ) เป็นลูกเถื่อน ชื่อเดิม “พลายบุญรอด” คนงานของกรมป่าไม้ ได้พบลูกช้างที่ป่าบริเวณแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี ต่อมาได้นำไปเลี้ยงไว้ ณ วนอุทยานเขาเขียว จ.ชลบุรี อธิบดีกรมป่าไม้ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” จำพวก “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๐ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๓๑ ปี

    [​IMG]


    พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้าเป็นช้างพัง ลูกเถื่อน ชื่อเดิม “ขจร”นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้มาจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และได้นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน ณ ทุ่งสีกัน กรุงเทพฯ ต่อมาน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “กมุท” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้น ระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๐ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร เมื่อประมาณ ๒๕๓๘จนถึงปัจจุบัน มีอายุประมาณ ๒๙ ปี


    [​IMG]

    พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฏฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์คุณารักษ กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า เป็นลูกช้างพัง ลูกเถื่อน ชื่อเดิมเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “จิ”ต่อมาเรียกว่า“จิตรา”โดยนายมายิ มานุ อยู่บ้านเลขที่ ๙ หมู่ ๔ ต.ลมนังตายอ อ.เมือง จ.นราธิวาส ได้ลูกช้างพลัดแม่จากป่าบนเทือกเขากือซา ต.จะแนะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส นายวัชระ สิงดิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๐ เป็นช้างสำคัญอยู่ในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “อัญชัน” ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๐ ปัจจุบันอายุประมาณ ๓๑ ปี
    อนึ่งคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างและกาพย์ขับไม้ประกอบซอสามสายช้างเชือกนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก ต่อมาพระราชนิพนธ์และพระราชทานให้ช้างสำคัญอีก อาทิ พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ พระเทพวัชรกิริณีฯ และพระบรมนขทัศฯ (ปัจจุบันล้มแล้ว)

    [​IMG]

    พระเศวตภาสุรคเชนทร์ นวเมนทราพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณธำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตพล คชมงคลเลิศฟ้าเป็นช้างพลายลูกเถื่อน ชื่อเดิม“ภาศรี”เกิดจากแม่ช้างป่าในเขต ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี นายสุรเดช มหารมย์ เจ้าของไร่ภาศรีได้มาจากชาวบ้านกะเหรี่ยง บ้านหนองปืนแตก ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จับได้ เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐคช” ชื่อ “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงพิธี จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๓๐ ปี

    [​IMG]


    พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต พิบูลกิตติ์เลิศฟ้าเป็นช้างพัง ชื่อเดิม “ขวัญตา”เป็นลูกช้างป่าเขตท้องที่ป่าเต็ง ป่ายางชุม ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พระครูโสภณพัฒนากิจปลัดบุญส่ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี ได้มาจาก นายสนิท ศิริวานิช กำนันตำบลเขาน้อย อ.ปราณบุรี นายศุภโยค พานิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างจัดอยู่ในตระกูล “วิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐคช” ชื่อ “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงพิธี จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๙ ปี



    [​IMG]


    ช้างพลาย “วันเพ็ญ”เป็นช้างของนายทรัพย์ พุกดุย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ต.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ตรวจคชลักษณ์พร้อมกับขวัญตา นายศุภโยค พานิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๒๑ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๙ ปี




    ช้างพลาย ชื่อ “ยอดเพชร” เป็นช้างที่มีถิ่นกำเนิดในเขตป่าติดต่อกับพม่า บริเวณอ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางสำนักพระราชวังได้จัดส่ง จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ ปรากฏว่า เป็นช้างที่เกิดในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “กมุท” ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๘ ปี



    [​IMG]

    ช้างพลาย “ขวัญเมือง”เป็นช้างที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของจังหวัดเพชรบุรี จมื่นศิริ วังรัตน์ ตรวจสอบคชลักษณ์ ปรากฏว่า เป็นช้างในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “อัญชัน” จัดพิธีถวาย ณ มุขตะวันออก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๒๓ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๘ ปี

    [​IMG]


    พัง “มด”เป็นช้างพังลูกเถื่อน โดยนางไฉไล ถาวร ได้มาจาก อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นผู้ทรงแนะนำให้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๒ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๗ ปี


    และสุดท้าย พลาย “ทองสุก” เกิดประมาณปี ๒๕๑๔ เป็นช้างที่เกิดในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ปัจจุบันมีอายุประมาณ ๓๔ ปี



    การพบช้างเผือกจำนวนมากในรัชกาลที่ ๙ นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของชาติไทย...



    -----------



    ข้อมูลที่มา
    http://www.thaihealth.or.th/cms/detail.php?id=1384


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <!-- Start Webbands -->
    <SCRIPT src="http://thaiblogger.org/webbands/weloveourking_left.js" type=text/javascript></SCRIPT><STYLE><!-- @import url(http://comed46.com/webbands/webband.css); --></STYLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9-.jpg
      9-.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.3 KB
      เปิดดู:
      346
    • 9-2.jpg
      9-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.1 KB
      เปิดดู:
      246
    • 9-3.jpg
      9-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.2 KB
      เปิดดู:
      312
    • 9-4.jpg
      9-4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.9 KB
      เปิดดู:
      232
    • 9-5.jpg
      9-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.2 KB
      เปิดดู:
      436
    • 9-6.jpg
      9-6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      250
    • 9-7.jpg
      9-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.6 KB
      เปิดดู:
      261
    • 9-8.jpg
      9-8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.9 KB
      เปิดดู:
      215
    • 9-9.jpg
      9-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.1 KB
      เปิดดู:
      225
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2009
  2. yeen

    yeen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +3,656
    ก้านกล้วยขอกราบโมทนาช้างพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ^__^
     
  3. A~MING

    A~MING เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,734
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า?
     
  4. surad

    surad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +1,287
    เคยเห็นเจ๊า..
     
  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    หมวดหมู่:ช้างสำคัญในรัชกาลที่ 9

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --><!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 1/1000000Post-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:141151-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090714050251 -->บทความในหมวดหมู่ "ช้างสำคัญในรัชกาลที่ 9"

    มีบทความ 9 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 9 หน้า
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD>

    </TD><TD>พ (ต่อ)

    </TD><TD>พ (ต่อ)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/vDc6gQpKXFw" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    ^^ ช้างสำคัญคู่พระบารมี
     

แชร์หน้านี้

Loading...