ฌาน, สมถะ, สมาธิ,อภิญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 7 กรกฎาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ที่พูดว่าสมถะอาจให้ได้อภิญญา ซึ่งได้แก่ญาณต่างๆพวกหนึ่งนั้น ความจริงก็ต้องให้ได้ฌานก่อนแล้วจึงน้อมจิตที่เป็นสมาธิพร้อมดีด้วยกำลังฌานนั้นไปเพื่อได้ญาณจำพวกอภิญญาอีกต่อหนึ่ง ถ้าพูดให้เคร่งครัดจึงต้องว่าสมถะ (ล้วนๆ) จบหรือสิ้นสุดลงเพียงแค่ฌาน (คือไม่เกินเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ดู วิสุทธิ. ฎีกา 3/647-8)
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความหมายคำว่า "ฌาน"

    ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง แต่สมาธินั้น มีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆกัน แยกได้เป็นหลายระดับ

    ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ
    องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่ วิตก (การจรดจิตลงในอารมณ์) วิจาร (การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) และเอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)

    ฌาน ที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาและเอกัคคตาเหมือนจตุตถฌาน แต่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ตามอารมณ์ที่กำหนด

    ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง, พินิจ, ครุ่นคิด, เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และอาจใช้ในแง่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัย (นิวรณ์ ๕ ) ไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ.14/117/98) หรือกิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่าฌาน (ใช้ในรูปกิริยาศัพท์ เช่น ม.มู.12/560/604)

    บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือคิดพิจารณา
    ในอรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก คือ การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ ฌานสมาบัติ นั่นเอง)
    การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน (ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่า เผากิเลส บ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพาน บ้าง) ดู องฺ.อ.1/536 ปฏิสํ.อ.221 สงฺคณี อ.273 (ดู ขุ.ปฏิ.31/483/368 ด้วย)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความหมายคำว่า “สมถะ”

    สมถะ แปลง่ายๆว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไป หมายถึง วิธีทำใจให้สงบ
    ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งหมายของสมถะคือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน

    หลักการของสมถะคือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียกกันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความแน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิต นี้เรียกว่าสมาธิ

    เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่าฌาน ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่างๆ ระดับที่กำหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่ารูปฌาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ฌาน มี ๔ ขั้น ระดับที่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า อรูปฌาน มี ๔ ขั้น ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ เรียกรวมกันว่าสมาบัติ (๘)

    ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์ ท่านอนุโลมเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นจากกิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌานนั้น (ท่านเรียกว่า เป็นวิกขัมภนนิโรธหรือวิกขัมภนวิมุตติ)

    อย่างไรก็ดี เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือพูดอย่างกว้างๆ สมถะ ก็คือ การทำใจให้สงบ หรือการทำจิตให้เป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง

    ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่าคือตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรม และฝ่ายพระสูตร * เพราะ ไม่ว่าจะเจริญสมถะ จนได้ฌานสมาบัติหรืออภิญญา เป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือตัวสมถะ หรือแก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง
    ….
    ตรงอ้างอิง *

    * ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96; 223/90; 206/85 เป็นต้น ทางฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/275/77 อธิบายใน องฺ.อ.2/33 และในองฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช้คำ ว่า สมถะแทนสมาธิ และวิปัสสนาแทนปัญญา โดยตรงทีเดียว (เป็นสัทธา สติ วิริยะ สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างในความร้อยแก้วตามปกติ)

     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์ คือ สิ่งอันหนึ่งอันเดียว, มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา

    เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จะใช้คำพูดว่าสมถะ ว่าฌาน = สมาธิ เมื่อฝึกจนจิตประณีตถึงขั้นจตุตถฌานแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออภิญญา ตามหลักที่ว่า


    การบรรลุอภิญญา ๖ ไม่ว่าข้อใดๆ ย่อมอาศัยจิตที่ฝึกอบรมดีแล้วด้วยสมาธิที่ประณีตถึงขั้น เมื่ออบรมจิตมีสมาธิดีพอแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออภิญญาข้อนั้นๆ ตามประสงค์ คือ นำจิตไปใช้เป็นบาทฐานสำหรับสร้างอภิญญาข้อที่ตนต้องการ ไม่จำเป็นว่าต้องผ่านอภิญญาข้อนี้ก่อนแล้วจึงจะก้าวไปสู่อภิญญาข้อนั้นได้ ดังมีหลักอยู่ว่า

    “ด้วยสมาธิที่อบรมดีแล้ว เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้ง ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม* อย่างใด ๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่ออายตนะ (เหตุ) มีอยู่ กล่าวคือ ถ้าเธอจำนง...อิทธิวิธา...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ทิพยโสต...ก็ย่อม ถึง...ถ้าเธอจำนง...เจโตปริยญาณ...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ปุพเพ นิวาสานุสติ...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ทิพยจักษุ..ก็ย่อมถึง... ถ้าเธอจำนง...อาสวักขัย...ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่” (ดู องฺ.ติก.16/282-301/147-155 ฯลฯ)
    ........
    ที่อ้างอิง *
    * อภิญญาสัจฉิกรณียธรรม – สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์ด้วยการรู้จักจำเพาะ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมาธิในจตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ เป็นสมาธิระดับสูงสุด แม้แต่สมาธิในฌานสมาบัติที่สูงขึ้นไป คือในอรูปฌานทั้งหลาย ก็จัดเป็นสมาบัติในระดับจตุตถฌานทั้งสิ้น * (อภิ.สํ.34/192/78 ฯลฯ) เพราะอรูปฌานทั้งหลายก็มีองค์ฌานเพียง ๒ อย่างเหมือนกับจตุตถฌาน คือ อุเบกขาและเอกัคคตา * (วิสุทฺธิ. 2/133/149 ฯลฯ) และถือได้ว่าจตุตถฌานเป็นฌานที่ใช้ประโยชน์ได้สากล เช่น จะใช้เป็นบาทแห่งวิปัสสนาก็ได้ เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ได้ เป็นบาทแห่งนิโรธสมาบัติก็ได้ ดังนี้ เป็นต้น * (ดู องฺ.อ.2/13)

    อย่างไรก็ดี แม้สมาธิในอรูปฌานจะเป็นสมาธิระดับจตุตถฌานก็จริง แต่ข้อพิเศษก็มีอยู่ คือสมาธิในอรูปฌานประณีตลึกซึ้ง ห่างไกลจากปัจจนีกธรรม คือสิ่งรบกวนมากกว่าสมาธิในจตุตถฌานสามัญ และแม้อรูปฌานด้วยกัน ก็ประณีตกว่ากันยิ่งขึ้นไปตามลำดับขั้น (ดู วิสุทธิ.2/149 วินย.ฎีกา.2/174)


    อาศัยเค้าความจากบาลีเช่นนี้เป็นฐาน อรรถกถาได้อธิบายวิธีการเจริญอภิญญาอย่างพิสดาร ซึ่งพอสรุปได้ความว่า เบื้องแรก เมื่อเจริญสมถะจนได้ฌาน ๔ แล้ว ให้เจริญต่อไปอีกจนได้สมาบัติ ๘ แต่จำกัดว่าต้องเป็นสมาบัติที่ได้ในกสิณ ๘ (คือ ยกเว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณ ) * (วิสุทธิ.ฎีกา.2/248 แสดงเหตุผลว่า ไม่ใช้อากาสกสิณ เพราะทำอรูปสมาบัติไม่ได้ ส่วนอาโลกกสิณนั้น ความจริงเหมาะแก่การเจริญทิพยจักษุ แต่ในที่นี้ ท่านว่ารวมเข้าในโอทาตกสิณแล้ว จึงไม่ต้องแยกต่างหาก (ตามหลักที่แสดงไว้ในชั้นอรรถกถา ผู้เจริญอรูปสมาบัติ ต้องได้จตุตถฌานในกสิณ ๙ ข้อใดข้อหนึ่ง เว้นอากาสกสิณ ดู วิสุทธิ. 2/132))
    ครั้นแล้วฝึกสมาบัติทั้ง ๘ นั้น ให้คล่องแคล่วโดยทำนองต่างๆ เป็นการเตรียมจิตให้พร้อม พอถึงเวลาใช้งานจริง คือ จะทำอภิญญาให้เกิดขึ้นก็ดี จะใช้อภิญญาแต่ละครั้งก็ดี ก็เข้าฌานเพียงแค่จตุตถฌาน แล้วน้อมเอาจิตนั้นไปใช้เพื่ออภิญญาตามความต้องการ

    ย้ำข้อสรุปว่า ในการฝึกเตรียมจิตไว้ต้องใช้สมาบัติ ๘ แต่ในเวลาทำอภิญญา ก็เข้าฌานเพียงจตุตถฌานเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อเข้าสมาธิถึงจตุตถฌานแล้ว จิตซึ่งเคยอบรมมาดีแล้วด้วยสมาบัติ ๘ พอมีสมาธิถึงระดับจตุตถฌาน ก็มีความประณีตเป็นพิเศษยิ่งกว่าจิตของผู้ได้ลำพังแต่จตุตถฌานล้วนๆ เมื่อตัดเอาตรงนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ใช้จตุตถฌานเป็นบาทของอภิญญา

    ตรงกับที่ท่านพูดไว้อีกสำนวนหนึ่งว่า จิตที่พร้อมด้วยองค์ ๘ คือ เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ฯลฯ (โดยการอบรมด้วยสมาธิระดับจตุตถฌาน ถึงขั้นอรูปสมาบัติ) อย่างนี้ เป็นของเหมาะแก่การน้อมเอาไปใช้ จึงเป็นบาทคือเป็นปทัฏฐาน แห่งการประจักษ์แจ้ง ด้วยการรู้จำเพาะ ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมทั้งหลาย * (วิสุทธิ.2/213,216,247,252,276 วิสุทธิ.ฎีกา.2/275)
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ก่อนจะไปถึงขั้นนั้นได้ โยคาวจรต้องผ่านนิวรณ์ก่อน

    ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้ว...สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน... บรรลุทุติยฌาน... บรรลุตติยฌาน... บรรลุจตุตถฌาน...บรรลุอากาสานัญจายตนะ... บรรลุวิญญาณัญจายตนะ…บรรลุอากิญจัญญายตนะ…บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ…บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป(ดู องฺ.นวก.23/244/456 ฯลฯ)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ อ้างคัมภีร์เปฏโกปเทสว่า องค์ฌาน ๕ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ได้อัปปนาสมาธิ และบรรลุฌานทีแรกนั้น เป็นปฏิปักษ์กันกับนิวรณ์ ๕ ที่ละได้แล้วด้วย โดยเป็นศัตรูกันเป็นคู่ๆ คือ

    - วิตก เป็นปฏิปักษ์ของ ถีนมิทธะ

    - วิจาร เป็นปฏิปักษ์ของ วิจิกิจฉา

    - ปีติ เป็นปฏิปักษ์ของ พยาบาท

    - สุข เป็นปฏิปักษ์ของ อุทธัจจกุกกุจจะ

    - สมาธิ/เอกัคคตา เป็นปฏิปักษ์ของ กามฉันทะ

    เมื่อธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ย่อมกำจัดนิวรณ์ให้หมดไป และเมื่อธรรมเหล่านี้อยู่ นิวรณ์ก็เข้ามาไม่ได้ แต่ในทางตรงข้าม ถ้านิวรณ์ครอบงำใจอยู่ ธรรมเหล่านี้ก็ทำหน้าที่ไม่ได้
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    - เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธิ นั่นเอง มีในฌานทุกขั้น

    ความที่จะต้องย้ำไว้อีกครั้งหนึ่ง มีว่า คำว่า องค์ฌาน หมายถึง องค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกัน ให้รู้ว่า ในกรณีนั้น เป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น มิใช่หมายความว่า ในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น

    ความจริง ในฌานองค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึงเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกเป็นอันมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น (ดู ม.อุ.๑๔/๑๕๕-๑๖๑/๑๖๖-๑๒๐)

    แม้แต่ในคำบรรยายฌานแต่ละขั้น ในพระสูตร ก็ยังระบุธรรมที่เน้นพิเศษไว้อีก เช่น

    ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นเดียวกัน และในจตุตตถฌาน ย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆทั้งหมด
    ทั้งนี้ เพราะอุเบกขาที่แจ่มชัดบริสุทธิ์
    เป็นเครื่องหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆ ก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน (วิสุทธิ.๑/๒๐๗/๒๑๔)

    ความที่กล่าวมานี้ เป็นเครื่องป้องกัน ไม่ให้เอาฌานไปสับสนปนเป กับภาวะที่จิตลืมตัว หมดความรู้สึก ถูกกลืนเลือนหายเข้าไปในอะไรๆ หรือเข้าไปรวมกับอะไรๆ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    - อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หรือความมีใจเป็นกลาง หรือแปลให้เต็มว่า ความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึง การดูอย่างสงบ หรือดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ในกรณีของฌาน คือไม่ติดข้างแม้แต่ในฌานที่มีความสุขอย่างยอด

    ในความหมายที่สูงขึ้นไปอีก อุเบกขา หมายถึง วางทีดูเฉยยู่ ในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี หรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเจ้ากี้เจ้าการ โดยเฉพาะในฌานที่ ๔ คือบริสุทธิ์หมดจดจากธรรมที่เป็นข้าศึกเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องขวนขวายที่จะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกนั้นอีก จัดเป็นองค์ฌานโดยเฉพาะของฌานที่ ๔ (ที่ ๕ ของปัญจกนัย)

    ความจริง อุเบกขามีในฌานทุกขั้น แต่ในขั้นต้นๆ ไม่เด่นชัด ยังถูกธรรมที่เป็นข้าศึก เช่น วิตก วิจาร และสุขเวทนา เป็นต้น ข่มไว้ เหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน ไม่กระจ่าง ไม่แจ่ม เพราะถูกแสงอาทิตย์ข่มไว้

    ครั้นถึงฌานที่ ๔ ธรรมที่เป็นข้าศึกระงับไปหมด และได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุข) หนุน * ก็บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แจ่มชัด และพาให้ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบอยู่ด้วย เช่น สติ พลอยแจ่มชัดบริสุทธิ์ไปด้วย
    ………..
    อ้างอิง *
    * พึงระวังความสับสน ระหว่าง อุเบกขา ที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา คือภาวะเป็นกลาง อันเป็นกุศลธรรมอยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับ อุเบกขา ที่เป็นเวทนา คือความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไม่ชั่ว ในฌานที่ ๔ อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอุเบกขาเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ครั้นได้ฌานแต่ละขั้นๆแล้ว ยังต้องฝึกเข้า-ออกฌานขั้นนั้นๆจนชำนาญก่อน จึงฝึกขั้นต่อไปได้

    เมื่อบรรลุปฐมฌานแล้ว
    ต่อจากนั้น ก็บำเพ็ญความชำนาญ * ให้เกิดขึ้นในปฐมฌานนั้น และทำความเพียรเพื่อบรรลุฌานขั้นต่อๆขึ้นไปตามลำดับ

    ความชำนาญนั้นเรียกว่า วสี มี ๕ อย่าง คือ

    ๑.อาวัชชนวสี (ชำนาญในการนึกตรวจองค์ฌานที่ตนออกมาแล้ว)

    ๒.สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้าฌานนั้นๆได้รวดเร็ว ในทันที ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ)

    ๓. อธิษฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน คือตั้งจิตยับยั้งอยู่ในฌานได้นานเท่าที่ต้องการ ไม่ให้ฌานจิตตกภวังค์เสีย)

    ๔. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออกจากฌาน ออกได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ และเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ)

    ๕. ปัจจเวกขณวสี (ชำนาญในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน คือการทำอย่างอาวัชชนวสีนั่นเอง ที่เป็นครั้งหลังๆต่อนั้นมา)


    ขุ.ปฏิ.31/225/147 นำมาอ้างและอธิบายใน วิสุทธิ. 1/196 ปฏิสํ.อ.374 ฯลฯ ท่านว่า ถ้ายังไม่ได้วสีในฌานลำดับต้นๆ ก็อย่าพึ่งเจริญฌานขั้นต่อไป มิฉะนั้นอาจเสื่อม ทั้งจากฌานที่ได้แล้ว และยังไม่ได้ ทั้งนี้ท่านอ้างพระบาลีใน องฺ.นวก.23/239/433

    อนึ่ง มติของพระอรรถกถาจารย์มีว่า อาวัชชนวสี และปัจจเวกขณวสี เนื่องอยู่ด้วยกันในวิถีจิตเดียวกัน คือ ในช่วงอาวัชชนะ เป็น อาวัชชนวสี และในช่วงชวนขณะ เป็นปัจจเวกขณวสี แต่จะแยกความหมายอย่างไร ก็ได้ประโยชน์เท่ากัน
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ในอริยวินัย เรียกกามคุณ ๕ ว่าเป็นโลก หรือโลกก็คือกามคุณ ๕ นั่นเอง ผู้ยังติดอยู่ในกามสุข ก็คือติดข้องอยู่ในโลก

    ผู้ใดเข้าถึงฌาน จะเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตาม ท่านเรียกผู้นั้นว่า ได้มาถึงที่สุดของโลกแล้ว และอยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก แต่ก็ยังเป็นผู้เนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตัวไม่พ้นจากโลก

    ส่วนผู้ใด ก้าวล่วงอรูปฌานขั้นสุดท้ายไปได้แล้ว เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และเป็นผู้หมดอาสวะเพราะเห็น (สัจธรรม) ด้วยปัญญา ผู้นี้ จึงจะเรียกได้ว่า ได้มาถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว อยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก และทั้งได้ข้ามพ้นโยงใยที่เหนี่ยวพันให้ติดอยู่ * (ตัณหา - ตัณหาเครื่องข้อง) ในโลกไปได้แล้ว
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมาธิและปัญญา มีลักษณะของการอาศัยและส่งเสริมกัน ดังพุทธภาษิตว่า “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส” ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไร้ปัญญา และ “นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน” ปัญญาก็ไม่มี แก่ผู้ไร้ฌาน

    พร้อมทั้งสรุปว่า “ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญญฺจ ส เว นิพฺพานสนฺติเก” ผู้ใด มีทั้งฌานและปัญญา ผู้นั้นแล อยู่ใกล้นิพพาน (ขุ.ธ.25/35/65 - ฌานในที่นี้ หมายถึงอารัมมณูปนิชฌาน – เพ่งอารมณ์ หรือลักขณูปนิชฌาน – เพ่งไตรลักษณ์ ก็ได้)
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การทำฤทธิ์ทำอภิญญาเป็นกระบวนการที่ยากและกินเวลา อย่างที่บรรยายไว้ในวิสุทธิมัคค์

    วิสุทธิ. 2/197-276 (คงอาศัยเค้าจาก ขุ.ปฏิ.31/253-257/163-169) โดยเฉพาะ วิสุทธิ. 2/200 แสดงความยากของการทำฤทธิ์ว่า “แม้แต่การบริกรรมกสิณ ก็เป็นงานหนักแก่ผู้เริ่มต้น หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้,
    สำหรับผู้ทำบริกรรมกสิณได้แล้ว การทำนิมิตให้เกิด ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้,
    ครั้นนิมิตเกิดแล้ว การขยายนิมิตนั้น จนบรรลุอัปปนา ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้,
    สำหรับผู้ได้อัปปนาแล้ว การฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้,
    สำหรับผู้ฝึกจิตอย่างนั้นแล้ว การจะทำฤทธิ์ต่างๆ ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้,
    แม้สำหรับผู้ทำฤทธิ์แล้ว การรวมจิตเข้าฌานได้ฉับพลัน ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพันเท่านั้น จะมีได้”
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หลักเจริญสมาธิ (ล้วนๆ)


    เจริญสมาธิ: หลักทั่วไป

    ในการปฏิบัติตามวิธีเจริญสมาธิ พึงทราบว่ากัมมัฏฐานแต่ละประเภท มีรายละเอียดวิธีเจริญสมาธิแตกต่างกันไป แต่กระนั้น ก็พอจะสรุปเป็นหลักการทั่วไปอย่างกว้างๆ ดังที่บางคัมภีร์แสดงไว้ โดยจัดเป็นภาวนา คือการเจริญ หรือการฝึก ๓ ขั้น ได้แก่ บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา

    แต่ก่อนจะกล่าวถึงภาวนา ๓ ขั้น มีคำที่ควรทำความเข้าใจคำหนึ่ง คือ นิมิต

    นิมิต หรือ นิมิตต์ คือ เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด หรือภาพที่เห็นในใจ ซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน แบ่งเป็น ๓ อย่าง ตามลำดับความเจริญ

    ๑. บริกรรมนิมิต แปลว่า นิมิตขั้นเตรียม หรือเริ่มต้น ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่นึกเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู ลมหายใจที่กำหนด หรือพุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่า อยู่ในใจ

    ๒. อุคคหนิมิต แปลว่า นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั่นเอง ที่เพ่งหรือนึกจนเห็นแม่นยำ กลายเป็นภาพติดตาติดใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น

    ๓. ปฏิภาคนิมิต แปลว่า นิมิตเสมือน นิมิตคู่เปรียบ หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั่นเอง แต่ติดลึกเข้าไปอีก จนเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาของผู้ที่ได้สมาธิ จึงบริสุทธิ์จนปราศจากสี เป็นต้น และไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสามารถนึกขยาย หรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา

    นิมิต ๒ อย่างแรก คือ บริกรรมนิมิต และอุคคหนิมิต ได้ทั่วไปในกัมมัฏฐานทุกอย่าง แต่ปฏิภาคนิมิต ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ อย่าง ที่มีวัตถุสำหรับเพ่ง คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ และอานาปานสติ


    ภาวนา คือ การเจริญ หมายถึง การเจริญกรรมฐาน หรือฝึกสมาธิ ที่ก้าวหน้าในขั้นต่างๆ มี ๓ ขั้น ดังนี้

    ๑. บริกรรมภาวนา การเจริญสมาธิขั้นเริ่มต้น ได้แก่ การกำหนดถือเอานิมิตในสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออกที่กระทบปลายจมูก หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ ว่าอยู่ในใจ เป็นต้น พูดง่ายๆว่า กำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง

    เมื่อกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (คือ บริกรรมนิมิต) นั้นไป จนมองเห็นภาพสิ่งนั้นติดตาติดใจแม่นยำ ก็เกิดเป็นอุคคหนิมิต จิตก็เป็นสมาธิขั้นต้น ที่เรียกว่า บริกรรมสมาธิ (คือ ขณิกสมาธิ นั่นเอง)

    ๒. อุปจารภาวนา การเจริญสมาธิขั้นอุปจาร ได้แก่ อาศัยบริกรรมสมาธิ เอาจิตกำหนดอุคคหนิมิตต่อไป จนกระทั่งแน่วแน่แนบสนิทในใจ เกิดเป็นปฏิภาคนิมิตขึ้น นิวรณ์ก็สงบระงับ (ในกรรมฐานที่ไม่มีวัตถุเพ่งเพียงแต่นึกถึงอารมณ์อยู่ในใจ ไม่มีปฏิภาคนิมิต กำหนดด้วยจิตแน่วแน่จนนิวรณ์ระงับไปอย่างเดียว) จิตก็ตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ เป็นขั้นสูงสุดของกามาวจรสมาธิ

    ๓. อัปปนาภาวนา การเจริญสมาธิขั้นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ พยายามรักษาไว้ ไม่ให้เสื่อมหายไปเสีย โดยหลีกเว้นสถานที่ บุคคล อาหาร เป็นต้น ที่เป็นอสัปปายะ เสพแต่สิ่งที่เป็นสัปปายะ และรู้จักปฏิบัติตามวิธีที่จะช่วยให้เกิดอัปปนา เช่น ประคับประคองจิตให้พอดี เป็นต้น จนในที่สุด ก็เกิดเป็นอัปปนาสมาธิ บรรลุปฐมฌาน เป็นขั้นเริ่มแรกของรูปาวจรสมาธิ
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,971

แชร์หน้านี้

Loading...