ดูกายดูใจแบบไหนที่ถือว่า "ผิด"...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 19 ธันวาคม 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    [​IMG]

    ดูกายดูใจแบบไหนที่ถือว่า "ผิด" ไปจากความเป็นจริง เมื่อมีที่ผิดแสดงว่าการดูกายดูใจแบบที่ถูกต้องตามความเป็นจริงย่อมมีอยู่เป็นของคู่กัน (ทิวนิยม) บริบทในเรื่องการ "ดูกาย" นี้เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่หมายถึงกายที่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่เป็นกายในกายที่เป็นภายใน ที่เรียกว่า อทิสมานกาย, นามกาย หรือทิพยกาย คือ กายทิพย์ เป็นกายในกายที่ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์ทุกรูป-นามที่ยังมีชีวิตินทรีย์ เป็นกายที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิด

    การ "ดูกายดูใจ" ที่เป็นเรื่องกำลังฮอตฮิตติดตลาดในหมู่นักปฏิบัติธรรมรุ่นใหม่ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องง่าย สบายๆ และลัดสั้น ไม่ต้องเพียรเพ่งฌาน ทำเป็นรูปแบบก็พอ เพียงตื่นรู้ไหลไปตามความคิด แล้ว "สติ" จะเกิดขึ้นเองได้นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ การสะดุ้งรู้ตัวว่าเผลอ ไม่ใช่สติ แต่เป็นเพียงสัญญาอารมณ์ที่รู้ว่าเผลอ ไม่ใช่ "สัมมาสติ" ในอริยมรรค

    การดูกายดูใจแบบที่สอนกันอยู่นั้น เป็นการฝึกสั่งสมอบรมระวัง "สังวรสำรวมอินทรีย์" ให้มากขึ้น เพื่อให้กาย-ใจพร้อมเหมาะสมกับการ "ภาวนามยปัญญา" เพื่อให้รู้จัก "จิต" ที่แท้จริง เพื่อก้าวพ้นอาการของจิต หรือจิตสังขาร อันเป็นนามกายที่คอยปรุงแต่งกาย-ใจไปต่างๆ นานา

    เราเปรียบ "กาย" เหมือนบ้านที่ได้อาศัย เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยร่างกายนี้อยู่ มีช่องทางรับรู้อารมณ์ทั้งภายนอกภายในอย่างละ ๖ ช่องทาง-คู่กัน แต่ละช่องทางนั้น ล้วนรับอารมณ์มาลงที่ใจ เพราะใจเป็นช่องทางรับอารมณ์ของ "จิต"... มีพระพุทธพจน์รับรองชัดเจนว่า "มโน(ใจ)" ไม่ใช่ "จิต"

    สรุปสุดท้ายว่า เมื่อไม่มีพื้นฐานการ "ภาวนามยปัญญา" เพื่อเข้าถึงกายในกาย(จิต) การดูกายก็ติดอยู่เพียงหนังที่หุ้มอยู่ ดูใจก็ติดอยู่ที่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด นานวันเข้ารู้สึกเบากาย-เบาใจ เกิดจากความคุ้นชิน(เฉย)ต่ออารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น ฉลาดแบบโลกๆ รู้จักการเปลี่ยนอารมณ์ความนึกคิดของตนไปในทิศทางที่ชอบ ที่ดี ที่เป็นกุศลเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปล่อยวางอารมณ์

    ส่วนการดูกาย-ดูใจที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านได้สอน มักต้องปูพื้นฐานในด้าน "ภาวนามยปัญญา" หรือ "กรรมฐาน" ให้รู้จักฐานที่ตั้งของสติ(สติปัฏฐาน)เกิดขึ้นก่อน ทำให้การดูกาย-ดูใจนั้น เข้าถึง กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เมื่ออยู่เป็นสุขด้วยนามกาย (สัมมาสมาธิฌานที่ ๓) รู้จักละสุขนั้น มาที่อุเบกขา สติปาริสุทธิง (สัมมาสมาธิฌานที่ ๔) จิตบริสุทธิ์ มีสติกุมเฉยอยู่ เป็นตทังควิมุตติ (หลุดพ้นช่วยคราว)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
    ธรรมภูต
     
  2. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    ไอ้พวกที่บอกว่าอิริยาบทนั่งไม่จำเป็นนั้น
    พวกเค้ายังไม่เข้าใจในการต่อสู้ในรูปภพและอรูปภพ
    ซึ่งมันมีในสัญโยชน์เบื้องสูง
    แน่นอนคนที่สอนก็เข้าไม่ถึงเช่นกัน
    ถ้าอยากรู้จริงๆเข้าสมถะให้ได้ทุกระดับแล้วจะเข้าใจในเอกคตารมณ์ที่ท่านธรรม-ชาติเคยกล่าวถึง
    สังเกตดูสายดูจิตที่บอกไม่ต้องทำในอิริยาบทใหญ่จะไม่ค่อยกล้าโม้ถ้าไม่ใช่กลุ่มของตน
    ประมาณนี้แหละครับ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    จะพิจารณาอะไร
    ไม่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
    สภาวะที่จิตควรเข้าถึงก็คือ
    ''ปล่อยให้ว่างรับรู้อยู่ภายใน''
    ไม่งั้นจะยังเป็นการที่ตัวจิตยกตัวเอง
    ร่วมกับความคิด หรือจิตยกตัวเองร่วมกับ ๕ นามธรรม(จากภายนอก)
    ขึ้นพิจารณาตัวมันเองได้อยู่
    ผลจะยังไม่ส่งผลกับตัวจิต
    ไม่ว่าความเข้าใจทางด้านนามธรรมต่างๆ
    ตลอดการรู้และเข้าใจอะไรที่พิเศษต่างๆ
    ตลอดจนความสามารถในการเข้าถึงผลสำเร็จ
    ของกรรมฐานกองที่ฝึกกองนั้นครับ

    การจะเข้าถึง สภาวะปล่อยให้ว่างรับรู้อยู่ภายใน
    จำเป็นต้องมีพื้นฐานจากการ
    ที่จิตแยกรูปธรรมและแยกนามธรรม
    ซึ่งเป็นฝ่ายอารมย์
    ออกจากกันให้ได้ก่อน อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้
    ไม่งั้นต่อแม้ให้จะรู้และฉลาดมากขนาดไหน
    มันจะยังเป็นสมมุติอยู่ครับ

    เราถึงจะรู้และเข้าใจกิริยาของจิตต่างๆได้
    จะเห็นว่า มันแยกกันออกเป็น ๓ ส่วนชัดเจน
    ประกอบด้วย ๑.จิต ๒.ความคิดที่เกิดจากจิต(ความคิดที่ปรุงแต่งตามใจเราได้)
    และ ๓.ขันธ์ส่วนนามธรรมหรือบางก็เรียกว่าวิบากกรรม
    เรามักจะเข้าใจว่า มันเป็นสัญญาความจำได้ หรือความทรงจำในอดีต
    แท้จริงๆแล้ว มันมาจากภายนอก มันจะเข้ามาอยู่ข้างๆจิตของเรา
    มันใกล้กันมากจนเราคิดว่ามันเป็นตัวเดียวกันกับจิตเราได้ครับ
    ตรงนี้ต้องอาศัยกำลังสติทางธรรม และอาจจะต้องร่วมกับสมาธิ
    ในระดับสูงถึงจะมองเห็น ขันธ์ ๕ นามธรรมตรงนี้ได้ชัดเจนครับ
    (ในสมาธิระดับสูง คือตัวที่เรามองแล้วมันจะดับทันทีนั่นหละครับ)
    เรารักษาสภาวะตรงนั้นให้ได้ จนเห็นขันธ์ ๕ นามธรรมมันเข้ามา
    โดยที่เราปล่อยให้มันเข้ามาอย่าไปดับมัน ถ้าเราไปทันตอนที่
    มันกำลังจะรวมกับจิตเมื่อไร มันจะแยกจากกันเป็นขันธ์ของใครของมันทันที)
    คล้ายกับ ความคิดที่เกิดจากจิต ถ้าสติทางธรรมเรามากพอ
    ที่จะเห็นตอนที่ความคิดที่เกิดจากจิต มันกำลังจะขึ้นมา
    (ปกติเราจะรู้ตอนมันรวมตัวกันแล้ว และมาเป็นกำลังจะรวมกับความคิด
    และกำลังก่อตัว ถ้ากำลังสติทางธรรมเพียงพอจะเห็นขั้นตอนย้อน
    กลับมาจนกระทั่งเห็นมันกำลังขึ้นมาได้ครับ)
    ตัวจิตเรา มันจะดีดความคิดที่เกิดจากจิตตัวนี้ออกทันที
    เรียกว่าแยกกันทันที นอกจะเราจะมองเห็นว่า
    มันแยกเป็น ๓ ส่วนแล้ว ในเวลาปกติเราจะเข้าใจว่า
    จิตเกิดกิริยาเป็นอย่างไร
    จิตกระเพื่อมกิริยาเป็นอย่างไร
    จิตที่ปรุงร่วมกับความคิดกิริยาเป็นอย่างไร
    จิตที่ปรุงร่วมกับขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมกิริยาเป็นอย่างไร..
    ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนแล้วแต่สามารถเข้าใจกิริยาได้
    แม้ว่าในเวลาลืมตาปกติครับ...
    บุคคลที่แยกรูปธรรมกับกายได้ หลักสังเกตุ
    เวลาที่เหนื่อยมากๆ ปกติหัวใจจะเต้นแรงและเร็ว
    แต่ถ้าแยกได้ ไอ้ที่เต้นแรงและเร็ว
    มันจะย้ายมารู้สึกที่ลิ้นปี่แทน ตรงหัวใจครับ
    ไม่ว่าเราจะเหนื่อยแค่ไหน หัวใจจะเต้นเพิ่มขึ้นไม่มากครับ...

    ถ้าเป็นอย่างที่เล่าให้ฟังมาได้ เราก็จะสามารถเริ่มต้นที่จะเดินปัญญาได้ครับ
    ย้ำว่าเริ่มต้นเดินปัญญา ได้นะครับ เพราะความเห็นชอบที่เป็น ๑ ในอริยะมรรค ๘
    จะเปิดทางให้เราเริ่มต้นเดินปัญญาได้ครับ

    ส่วนถ้าจะเกิดปัญญาทางธรรมได้มากน้อยเพียงไร
    ก็อยู่การที่ ตามรู้ ตามดู ขันธ์ ๕ นามธรรมที่มันแยกออก
    จากกันในสภาวะที่เราเห็นมันได้ก่อนที่มันจะมารวมกับจิตนั่นหละครับ
    เห็นบางท่านให้คำว่า รอบรู้ในกองขาร...
    และได้ยินมาว่า ท่านที่ทำได้ และพัฒนาสติเป็นมหาสติได้
    กำลังสติตรงนี้มันตามรู้ ตามดูทุกเรื่องจนกว่าจะเข้าใจครับ
    ปล สุดแล้วแต่จะเข้าใจ เพราะเรื่องทำนองนี้
    ส่วนตัวถือว่า อยู่ในที่ระดับหยาบๆอยู่ครับ
     
  4. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    สรุป ยังหลงติดตำราเก่ากันอยู่..กี่ปีก็เหมือนเดิม น่าหดหู่นัก สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...