ตถาคตโพธิสัทธา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 22 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความหมายทั่วไป

    ศรัทธา
    คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้

    แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง และอาศัยความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้น ก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้นหรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา

    แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ลักษณะศรัทธา (ความเชื่อ) ที่เชื่อมต่อปัญญา

    ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในปัญญา คุณธรรม และความเพียรพยายามของมนุษย์ ซึ่งสามารถทำให้เข้าถึงความจริง ความดีงามสูงสุดได้ ตามกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล ดังได้มีท่านผู้นำทางไว้ และซึ่งจะทำให้มนุษย์สร้างสังคมที่ดีงาม อันดำรงอยู่โดยธรรมได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การบรรยายความหมายของศรัทธานั้น ตามปกติท่านแยกออกเป็น ๓ อย่าง คือ ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระสงฆ์ แต่บางคราว เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อแสดงศรัทธาของอริยสาวก ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนเป็นโสดาบัน ท่านแสดงศรัทธาเจาะจงลงไปแง่เดียวว่า "เชื่อโพธิ (ปัญญาตรัสรู้) ของพระตถาคตว่า ด้วยเหตุดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ"

    ศรัทธาตามคำบรรยายนี้ ท่านเรียกสั้นๆว่า "ตถาคตโพธิสัทธา" (ความเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต หรือเชื่อปัญญารู้สัจธรรมของพระผู้ทรงค้นพบ) หมายถึง ความเชื่อ ความมั่นใจในพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นต้นแบบ หรือองค์แทน หรือผู้นำของมนุษย์ทั้งหลาย ที่ยืนยันถึงสมรรถวิสัยของของมนุษย์ทั้งหลายว่า มนุษย์สามารถหยั่งรู้สัจธรรม เข้าถึงความดีงามสูงสุดได้ ด้วยสติปัญญาและความเพียรพยายามฝึกฝนพัฒนาตนเอง

    ทั้งนี้ ดังคำอุปมาที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เองว่า ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ ที่เจาะทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาออกมาได้ (วินย.1/3/4) หรือทรงเป็นผู้ค้นพบทางเก่า และทรงชี้นำทางนั้นแก่หมูชน (สํ.นิ.16/253/129 ฯลฯ) ที่จะได้ดำเนินไปให้ถึงตาม

    การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็คือการประกาศยืนยันความสามารถนี้ของมนุษย์ทั้งหลาย และดังนั้น ตถาคตโพธิสัทธา หรือความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็คือความเชื่อ ความมั่นใจในปัญญาที่จะหยั่งรู้สัจธรรมของมนุษย์ หรือความเชื่อ ความมั่นใจในความสามารถของมนุษย์นั่นเอง
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมื่อพูดให้สั้นเข้าอีก ตถาคตโพธิสัทธา * สำแดงถึงความเชื่อความมั่นใจในตนเองของมนุษย์ทุกคนทุกๆคน ความมั่นใจตนเองในที่นี้ มิใช่ความเชื่อตนเองอย่างเห็นแก่ตัว หรืออย่างมีมานะอหังการ แต่หมายถึง ความมั่นใจตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง หรือความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ของมนุษย์นั่นเอง และมิใช่ความยึดมั่นวางใจในปัญญาของตนเพียงเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆ แต่หมายถึง ความเชื่อในปัญญาของมนุษย์อย่างเป็นกลางๆ

    พูดอย่างสมัยใหม่ว่า เชื่อในศักยภาพแห่งปัญญาของตน ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งว่า สามารถฝึกปรือจนได้ผลดีที่สุดพอแก่ความต้องการของมนุษย์ *
    ......
    ที่อ้างอิง* ตามลำดับ
    * การที่พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า “ตถาคต” ในตถาคตโพธิสัทธานี้ ก็เป็นข้อที่น่าสงเกตอย่างหนึ่ง เพราะคำแทนองค์พระพุทธเจ้ามีหลายคำ แต่ละคำก็มีความหมายเน้นคุณลักษณะหรือนัยที่ต่างกันไป ในกรณีนี้ ทรงใช้คำว่า ตถาคต ซึ่งตรงกับที่ทรงใช้ในกรณีที่ตรัสถึงกฎธรรมชาติว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดาของมันเอง ไม่ว่าตถาคตทั้งหลายจะเกิดหรือไม่ แต่ตถาคตเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ เปิดเผย (ดู องฺ.ติก.20/576/368 ...) นอกจากนั้น คำว่า “ตถาคต” ที่ใช้ในหลายแห่ง ท่านแปลว่า “สัตว์” (ม.ม.13/147/143 ฯลฯ) นึกศึกษาที่สนใจ อาจค้นคว้าเปรียบเทียบ โพธิ นี้ กับ พุทธภาวะ ของฝ่ายมหายาน

    * ข้อว่า ปัญญาของมนุษย์มีขอบเขตหรือไม่ ไม่เป็นปัญหาในที่นี้ เพราะปัญญามนุษย์ที่ฝึกปรือดีแล้ว ย่อมเป็นปัญญาสูงสุดเท่าที่จะมีหรือเป็นไปได้
    ถ้าปัญญานั้นมีขอบเขต ก็ไม่มีแหล่งปัญญาเหนือกว่าใดๆอีก ที่จะมาเสริมเติมแก่ปัญญามนุษย์นั้นได้ ซึ่งจะพึงหันไปมัวหวังรออยู่ (แม้แต่ปัญญาของเทพเจ้าสูงสุด ก็เป็นเพียงปัญญาที่มนุษย์ปรุงถวาย) ดู ทัศนะใน เกวัฏฏสูตร ที.สี.9/343-350/277-283 พรหมนิมันตนิกสูตร ม.มู.12/551-6/590-9)
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์คนแรก ที่ประกาศยืนยันความสามารถอันนี้ของมนุษย์ เป็นบุคคลแรกที่ไม่อ้างอานุภาพหรือแรงดลบันดาลของเทพหรืออำนาจสูงสุดใดๆ จึงทรงเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นใจในตนเองของมนุษย์ทั้งหลาย


    ในทางปฏิบัติ ตถาคตโพธิสัทธา ย่อมครอบคลุมถึงศรัทธาในพระรัตนตรัย ครบทั้งสามอย่างพร้อมอยู่ในตัวในเวลาเดียวกัน คือ เชื่อว่า มนุษย์มีปัญญาที่สามารถพัฒนาขึ้นไปจนแก้ปัญหาขั้นสุดท้ายของตน ลุถึงอิสรภาพสูงสุดและความสุขที่สมบูรณ์ได้ ดังที่องค์พุทธะทรงทำให้ประจักษ์เป็นต้นแบบนำทางไว้ เชื่อว่า หลักการและจุดหมายที่มนุษย์จะพัฒนาไปให้ถึงได้นั้น เป็นความจริงที่ดำรงอยู่ตามธรรมดาแห่งเหตุและผล และเชื่อว่า ได้มีบุคคลทั้งหลายที่พัฒนาตนดำเนินตามจนสำเร็จผลเช่นนั้น เกิดเป็นชุมชนมนุษย์ที่ประเสริฐ เป็นพยานยืนยันความจริง เป็นแหล่งเผยแพร่ธรรม แผ่ขยายบุญ พร้อมที่จะหนุนนำผู้เข้าร่วมสมทบได้ทันที


    ในเมื่อตถาคตโพธิสัทธามีความหมายอย่างนี้ ศรัทธาจึงเป็นธรรมสำคัญยิ่ง แม้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาแห่งปัญญา แต่ก็ย่อมเห็นได้ชัดว่า ศรัทธานี้ มีความหมายต่างจากที่เห็นกันทั่วไป คือ เป็นศรัทธาในปัญญา และเป็นศรัทธาเชื่อมต่อปัญญา หรือนำไปสู่ปัญญา ไม่เป็นศรัทธาที่งมงาย แต่เป็นศรัทธาที่ทำให้หายงมงาย และเป็นสิ่งจำเป็นในตอนต้นๆ ก่อนที่จะบรรลุผลแห่งความสามารถของตน หรือก่อนที่ปัญญาจะบริบูรณ์เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2017
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อนึ่ง ในที่นี้ จะเห็นความสำคัญสูงสุดของศรัทธาในพระรัตนตรัย หรือตถาคตโพธิสัทธา อย่างน้อย ๒ ประการ คือ

    ๑. ประการแรก หลักธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นคำสอนเกี่ยวกับจุดหมายสูงสุด หรือข้อปฏิบัติใดๆก็ตาม ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งหลักการนี้ทั้งสิ้น คือ หลักการแห่งตถาคตโพธิสัทธา ที่ยืนยันว่า มนุษย์สามารถตรัสรู้สัจธรรม และเข้าถึงความดีสูงสุดด้วยปรีชาญาณ และความเพียรพยายามฝึกตนของมนุษย์เอง และในการนี้ ไม่มีแหล่งอำนาจสูงสุดภายนอกใดๆ ที่จะทำได้ดีกว่ายิ่งกว่า หรือเกินกว่ามนุษย์ ถ้าหลักการแห่งตถาคตโพธิสัทธานี้ไม่เป็นจริงแล้ว จุดหมายและระบบปฏิบัติทั้งปวงในพระพุทธศาสนา ก็ย่อมเป็นโมฆะทั้งสิ้น คำสอนต่างๆ ก็จะกลายเป็นสิ่งไร้คามหมายไปทั้งหมด


    ๒.ประการที่สอง สำหรับผู้ปฏิบัติ ถ้าสาวก หรือศาสนิก ไม่มีความเชื่อมั่นในหลักการแห่งตถาคตโพธิสัทธานี้ เขาก็ไม่อาจก้าวหน้าไปในมรรคาของพระพุทธศาสนาได้ พูดอีกนัยหนึ่งว่า เขาจะลงมือปฏิบัติธรรมต่างๆ ในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังได้อย่างไร ว่าที่แท้ก็คือ เขาไม่อาจเป็นสาวกหรือศาสนิกแห่งพระพุทธศาสนาได้นั่นเอง
    ตถาคตโพธิสัทธา จึงเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นของอริยสาวก และชาวพุทธทุกๆคนด้วยประการฉะนี้ *
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ข้อน่าสังเกตอย่างยิ่งอีกตอนนี้ คือในสมัยหลัง ได้เกิดมีคำสอนเรื่อง ศรัทธา ๔ ขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ

    ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม

    ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม

    ๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

    ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

    ศรัทธา ๔ ชุดนี้ ไม่มีในส่วนใดของพระไตรปิฎก หรือแม้แต่ในอรรถกถาใดๆเลย นอกจากตถาคตโพธิสัทธาอย่างเดียว ซึ่งตั้งรูปศัพท์ขึ้นมาจากข้อความในบาลีว่า “สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ” = ตถาคต+โพธิ+สทฺธา ดังได้อธิบายแล้ว

    การที่มีเป็นชุด หรือเป็นหมวดขึ้น เกิดจากการเก็บรวมเอาธรรมข้อนั้นข้อนี้ จากที่นั่นบ้าง ที่โน่นบ้าง มาผสมกัน แต่ก็ไม่มีในรูปศัพท์อย่างนั้นจริง เช่น รูปศัพท์ว่า กัมมัสสกตาสัทธา ไม่มี มีแต่ กัมมัสสกตาญาณ เช่น ขุ.ม.29/337/227....ในพระสูตรยุคต้น มีแต่ กัมมัสสกตา คือ องฺ.ปญฺจก.22/161/207 ส่วนในชั้นอรรถกถา มีเพิ่มเป็น กัมมัสสกตปัญญา (เช่น ที.อ.1/408, 3/159...) บ้าง กัมมัสสกตาทิฏฐิ (เช่น ม.อ.1/259...) บ้าง เป็นต้น แต่ล้วนเป็นเรื่องของปัญญาทั้งสิ้น

    ส่วนกัมมสัทธา และวิปากสัทธา ก็เป็นศัพท์ที่ผูกขึ้น โดยถือตามหลักคำสอนเกี่ยวกับกรรม ซึ่งโดยมากมาในเรื่องทิฏฐิ คือ มิจฉาทิฏฐิ และสัมมาทิฏฐิ เช่น ม.มู.12/485/525 แต่รูปศัทพ์อย่างนั้นโดยตรงไม่มี แม้แต่ที่แปลกันว่า “เชื่อกรรม” ในองค์คุณของอุบาสก หรืออุบาสกธรรม ๕ ประการ คำบาลีที่เอามาแปลก็เป็น “กมฺมํ ปจฺเจติ” (องฺ.ปญฺจก.22/175/230) ซึ่งมีความหมายว่า “มุ่งกรรม” (คือ มุ่งความสำเร็จผลด้วยการกระทำ) ไม่มุ่งหามงคล

    อย่างไรก็ดี การศึกษาเรื่องนี้ อาจเป็นประโยชน์ในการสืบสาววิวัฒนาการแห่งทรรศนะ และวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...