ธรรมทั้งปวงมีวิมุตติเป็นแก่น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 25 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2017
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มีพุทธพจน์แห่งหนึ่ง สรุปธรรมทั้งหมดไว้ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบชี้แจงแก่เหล่าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้มีอายุ

    ๑. ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา)

    ๒. ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นที่ก่อตัว (มนสิการสมฺภวา)

    ๓. ธรรมทั้งปวง มีผัสสะเป็นแหล่งเกิด (ผสฺสสมุทยา)

    ๔. ธรรมทั้งปวง มีเวทนาเป็นที่ชุมนุม (เวทนาสโมสรณา)

    ๕. ธรรมทั้งปวง มีสมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา)

    ๖. ธรรมทั้งปวง มีสติเป็นเจ้าใหญ่ (สตาธิปเตยฺย)

    ๗. ธรรมทั้งปวง มีปัญญาเป็นยอดยิ่ง (ปญฺญุตฺตรา)

    ๘. ธรรมทั้งปวง มีวิมุตติเป็นแก่น (วิมุตฺติสารา)

    ๙. ธรรมทั้งปวง มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา)

    ๑๐. ธรรมทั้งปวง มีนิพพานเป็นสุดท้าย (นิพฺพานปริโยสาน)

    (องฺ.ทสก.24/58/113)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อีกแห่งหนึ่งตรัสว่า (องฺ.จตุกฺก.21/245/329)

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจริยะหรือพรหมจรรย์) นี้ อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอดยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย


    “ชีวิตประเสริฐ มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร ? คือ สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร เราบัญญัติไว้แก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเจริญยิ่งขึ้นไปของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร เราบัญญัติไว้ ... ด้วยประการใดๆ สาวกนั้น ย่อมถือปฏิบัติศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ ไม่ทำให้ขาด ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย


    “อีกประการหนึ่ง สิกขาฝ่ายอาทิพรหมจรรย์ เราบัญญัติไว้แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง สิกขาฝ่ายอาทิพรหมจรรย์ เราบัญญัติไว้...ด้วยประการใดๆ สาวกนั้น ย่อมถือปฏิบัติศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ ไม่ทำให้ขาด ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย

    ชีวิตประเสริฐ มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างนี้แล


    “ชีวิตประเสริฐ มีปัญญาเป็นยอดยิ่งอย่างไร ? คือ ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่เหล่าสาวกในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้ว...โดยประการใดๆ ธรรมเหล่านั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สาวกมองเห็นจบถ้วนโดยประการนั้นๆด้วยปัญญา

    ชีวิตประเสริฐ มีปัญญาเป็นยอดยิ่งอย่างนี้แล


    “ชีวิตประเสริฐ มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ? คือ ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่เหล่าสาวกในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้ว...โดยประการใดๆ ธรรมเหล่านั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สาวกสัมผัสโดยประการนั้นๆด้วยวิมุตติ

    ชีวิตประเสริฐ มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างนี้แล


    “ภิกษุทั้งหลาย ชีวิตประเสริฐ มีสติเป็นอธิปไตยอย่างไร? คือ สาวกมีสติคอยกำกับอยู่เป็นอย่างดีในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญสิกขาฝ่ายอภิสมาจาร ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือสิกขาฝ่ายอภิสมาจาร ที่บริบูรณ์แล้ว เราก็จักหนุนเสริมด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง

    “...ว่า เราจักบำเพ็ญสิกขาฝ่ายอาทิพรหมจรรย์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือสิกขาฝ่ายอาทิพรหมจรรย์ ที่บริบูรณ์แล้ว เราก็จักหนุนเสริมด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง

    “...ว่า เราจักตรวจพิจารณาเห็นจบถ้วน ซึ่งธรรมที่ยังมิได้มองเห็นจบถ้วนด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ หรือธรรมที่มองเห็นจบถ้วนแล้ว เราก็จักหนุนเสริมด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง

    “...ว่า เราจักสัมผัสธรรมที่ยังมิได้สัมผัส ด้วยวิมุตติ หรือธรรมที่ได้สัมผัสแล้ว เราก็จักหนุนเสริมด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง

    ชีวิตประเสริฐ มีสติเป็นอธิปไตยอย่างนี้แล...”
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลสมี ๕ อย่างคือ

    ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว

    ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้

    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด

    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ

    ๕. นิสสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป

    ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ, ๓ อย่างหลัง เป็น โลกุตรวิมุตติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...