ตาลปัตร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย PartNight, 19 กรกฎาคม 2013.

  1. PartNight

    PartNight Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2011
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +86
    เวลาที่สวดศพหรือสวดอย่างอื่นทำไมต้องนำตาลปัตรขึ้นมาบังหน้าด้วยหรอครับ

    มีกุศโลบายอะไรหรือเปล่า
     
  2. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,940
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒
    เรื่องนางวิสาขา มิคารมารดา
    เรื่องพัด


    ....... [๑๒๘] ต่อจากนั้นมา นางวิสาขามิคารมารดา ถือพัดโบกและพัดใบตาล
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูล
    ว่า ขอพระองค์จงทรงรับพัดโบก และพัดใบตาลของหม่อมฉัน เพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับพัด
    โบกและพัดใบตาลแล้ว ได้ทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมารดาเห็นแจ้ง ... ด้วย
    ธรรมีกถา นางวิสาขา ... ทำประทักษิณแล้วกลับไป ฯ.........


    ....[๑๒๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
    เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เราอนุญาตพัดโบก และพัดใบตาล ฯ
    [๑๓๐] สมัยนั้นไม้ปัดยุงเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
    พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ปัดยุง แส้จามรี
    บังเกิด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แส้จามรี รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัด ๓ ชนิด คือ พัดทำด้วยปอ ๑ พัด
    ทำด้วยแฝก ๑ พัดทำด้วยขนปีกขนหางนกยูง ๑ ฯ....


    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=967&Z=1023#128
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2013
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,940
    สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๑ ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์ / ข้อสันนิษฐานการใช้ตาลปัตร

    ข้อสันนิษฐานการใช้ตาลปัตร

    จากหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารและภาพศิลปกรรมในสมัยต่างๆ กล่าวได้ว่า ธรรมเนียมปฏิบัติในการใช้ตาลปัตรนั้น ไทยได้รับมาจากพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ตั้งแต่เมื่อแผ่เข้ามายังดินแดนของราชอาณาจักรไทย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานความเห็นไว้ว่า ความคิดในการให้พระสงฆ์ถือตาลปัตรคงมาจากลังกา เพราะพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เป็นที่เลื่อมใสทั้งใน พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา

    หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทย ที่แสดงให้เห็นว่า พระสงฆ์ถือตาลปัตรไปด้วย ในการแสดงธรรม เช่น ประติมากรรมสำริด ศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ เป็นแผ่นภาพนูนต่ำทั้ง ๒ ด้าน ด้านหนึ่งแสดงภาพพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตรโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติ อีกด้านหนึ่งแสดงภาพขณะทรงเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต ตาลปัตรที่ปรากฏมีลักษณะคล้ายพัดใบตาล รูปกลมมน ขนาดเล็ก แบบเดียวกับรูปตาลปัตร ที่ปรากฏอยู่บนแผ่นใบเสมาศิลาจำหลักภาพนูนต่ำ ศิลปะลพบุรี แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตรขณะกำลังสวดธรรม นอกจากนี้ ในศิลาจารึก วัดช้างล้อม พ.ศ. ๑๙๒๗ มีกล่าวถึงการถวายตาลปัตรแก่พระเถระ โดยเรียกว่า "พัดสวดธรรม" ด้วย

    จากหลักฐานดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาใช้พัดใบตาล หรือตาลปัตร ในการแสดงธรรม และมีการถวายตาลปัตรแด่พระสงฆ์ด้วย ส่วนการที่พระสงฆ์ใช้ตาลปัตรบังหน้า ในระหว่างแสดงธรรมนั้น มีปรากฏในหนังสือ สมันตปาสาทิกา อรรถกถา วินัยปิฎกภาค ๑ กล่าวว่า ในการทำปฐมสังคายนา ที่ประชุมสงฆ์มีการซักถามและตอบกล่าวแก้ข้อธรรมและข้อวินัย โดยพระสงฆ์ที่มีหน้าที่ตอบจะต้องขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์ท่ามกลางพระสงฆ์ที่มาประชุม และถือพัดบังหน้าตลอดเวลาที่ชี้แจงข้อธรรมข้อวินัย

    เรื่องที่พระสงฆ์ใช้ตาลปัตรบังหน้ามีผู้รู้สันนิษฐานไปอีกหลายทาง บางท่านว่า แรกเริ่มพระสงฆ์อาจจะใช้ในพิธีปลงศพ เมื่อจะชักผ้าบังสุกุลจากศพที่เน่าเปื่อย เพื่อนำไปทำจีวร จึงใช้พัดใบตาลบังจมูกเพื่อกันกลิ่นเหม็น ทำให้เกิดเป็นประเพณี ที่พระสงฆ์จะถือตาลปัตร ไปทำพิธีกรรมต่างๆ บางท่านก็ว่า เพราะพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตร เมื่อเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา แต่บางท่านว่า เนื่องจากสภาพจิตใจของผู้มาฟังธรรมมีหลายระดับ ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระกัจจายนเถระ พระสาวกองค์สำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งมีรูปงามว่า ขณะที่พระกัจจายนเถระแสดงธรรมโปรดผู้มาฟังธรรม มีสตรีบางคนเกิดหลงรักท่าน ด้วยจิตอันไม่บริสุทธิ์นี้จึงก่อให้เกิดบาป พระกัจจายนเถระจึงอธิษฐานขอให้ท่านมีรูปร่างไม่งามเสีย ดังที่เห็นภาพของพระกัจจายนเถระเป็นพระสงฆ์ที่มีรูปร่างอ้วนพุงพลุ้ย ด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์จึงต้องหาเครื่องบังหน้าในขณะสวด เพราะประสงค์ให้ผู้มาฟังธรรมได้ฟังแต่ธรรม ซึ่งข้อสันนิษฐานนี้นับว่าสอดคล้องกับที่มีกล่าวไว้ในหนังสือ วิมติ วิโนทนี ฎีกาวินัยปิฎก ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ของการใช้พัดบังหน้าบังตาในเวลาพระสงฆ์สวดแสดงธรรมว่า เพื่อป้องกัน หัตถวิการ คือ การยกมือยกไม้ ในเวลาแสดงธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกัน มุขวิการ คือ อาการอ้าปากกว้าง ซึ่งทำให้น่าเกลียดอย่างหนึ่ง และป้องกันมิให้เป็นวิสภาคารมณ์ อันจะทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ซึ่งวัตถุประสงค์ที่พระสงฆ์ต้องหาสิ่งมาบังหน้านี้ ปรากฏเป็นประเพณี ที่ยังพบเห็นได้ทางภาคเหนือ เมื่อพระสงฆ์ต้องขึ้นไปเทศน์ยังธรรมาสน์ยอด ซึ่งเป็นธรรมาสน์ ที่ยกสูงจากระดับพื้น เมื่อเวลาจะเทศน์ต้องดึงม่านมาปิดไม่ให้ผู้ฟังเห็นใบหน้าพระสงฆ์ ที่กำลังเทศน์อยู่


    http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/...p?book=32&chap=1&page=t32-1-infodetail03.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...