เรื่องเด่น ตำนานตัวมอม ผู้เฝ้าประตูวัดล้านนา

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 21 กันยายน 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731
    7237991db.jpg


    ภาพตัวมอมนี้ ถ่ายจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

    มอมนั้นเป็นสัตว์ในเทพนิยาย ตำนานพื้นบ้านของล้านนา ใครไปวัดทางเหนือก็จะเห็นโดยทั่วไปว่าเฝ้าประตูวัดวาอารามอยู่ รูปร่างดูแตกต่างจากนาคหรือสิงห์ที่คุ้นตากัน มอมนั้นมีส่วนผสมระหว่างแมวกับสิงโต แต่ช่างศิลป์ ช่างสล่าท่านมักประดิษฐ์ออกแบบให้ดูกระเดียดไปทางคล้ายตุ๊กแก กิ้งก่าก็มี นัยยะว่าทำให้ท่านดูคล้ายมังกรเสียหน่อยจะได้ดูเข้มขลังขึ่น

    มอมนั้นเป็นเทพบุตรบริวารของเทพปัชชุนนะ เทพแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ผู้ดูแลเมฆและฝน โดยท่านเป็นเทพบริวารของพระวรุณอีกทีหนึ่ง (ชื่อของท่านมีปรากฏในมหาสมัยสูตร ซึ่งถือเป็นทำเนียบรายนามของเทวดาแห่งสมัยพุทธกาล) เมื่อครั้งเกิดภัยแล้งในแคว้นโกศล พระพุทธองค์และเหล่าพุทธสาวกก็ได้เจริญพุทธมนต์และเปล่งพุทธโองการให้ปัชชุนนะเทวบุตรบันดาลฝนแก่ชาวเมือง

    ตำนานทางล้านนากล่าวว่า ครั้งหนึ่ง เทวบุตรผู้เป็นบริวารแห่งพระปัชชุนนะองค์นี้ ได้รับเทวโองการลงมาบันดาลฟ้าฝนแก่เมืองมนุษย์ เมื่อเทวบุตรนี้ลงมาสู่เมืองมนุษย์ก็ย่อมต้องนิรมิตกายเป็นร่างตัวมอม เช่นเดียวกันกับการจำแลงร่างของเหล่านาค ครุฑ และช้างเอราวัณเมื่อมาสู่เมืองมนุษย์ เมื่อเห็นว่าเหล่ามนุษย์ต่างร่าเริงเบิกบานมีความสุขกับฝนที่บันดาลให้ ก็รู้สึกฮึกเหิมในเทวฤทธิ์ หลงสำคัญตนว่าเหล่ามนุษย์นั้นช่างต่ำต้อยที่ต้องอ้อนวอนขอให้ตนช่วยเหลือบันดาลฝนให้ ด้วยกิเลสอัตตาเพียงชั่วแว่บนั่นเอง ถึงกับทำให้เทวฤทธิ์ของตนเสื่อมลง คงสภาพการเป็นตัวมอมไม่อาจกลับคืนสู่ร่างเทพบุตร และไม่อาจกลับสู่สวรรค์ได้ จึงร้องขอความช่วยเหลือจากพระปัชชุนนะผู้เป็นนาย พระปัชชุนนะเทพบุตรก็ไม่อาจช่วยเหลือได้ เพราะเป็นวิบากกรรมอันเกิดแต่ตัวของเทพบริวารผู้นี้เอง

    “เจ้าจงเฝ้าอยู่หน้าพุทธสถานทั้งหลาย เพื่อฟังธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่อยไป จนกว่าจะละกิเลส ความยึดถือในอัตตาตัวตน เมื่อใดที่เจ้าละอัตตาได้ด้วยรสพระธรรม เจ้าจึงจะได้กลับคืนสู่เทวสภาพดังเดิม”

    ด้วยเหตุนี้ มอมจึงต้องเฝ้าอยู่หน้าโบสถ์วัดวาอารามสืบมา และพยายามลดละอัตตาตัวตนด้วยการเป็น จิตอาสา ในการเป็นตัวสื่อกลางขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลแก่มวลมนุษย์อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และไม่ดูถูกมนุษย์อีกต่อไปดังที่เคยพลาดมาก่อน


    การที่ตัวมอมถูกประดับไว้เป็นเทพเฝ้าบันไดวัดก็ย่อมแฝงกุศโลบายให้สาธุชนทั้งหลาย ต่างวางจิตนอบน้อมละอัตตาตัวตนก่อนเข้าสู่เขตพุทธสถานเพื่อฟังธรรม เพราะหากอัตตาตัวตนใหญ่คับจิต ย่อมไม่มีที่ว่างเหลือให้พระธรรมใดๆไหลเติมให้เต็มได้


    ก็จะเติมเต็มได้อย่างไร หากปราศจากที่ว่าง

    ชาวล้านนามีประเพณีสืบทอดแต่โบราณในการขอฝน โดยใช้ตัวมอมแกะสลักจากไม้นำขึ้นเสลี่ยงแห่ขอฝนจากเทวดา ระหว่างการแห่ก็ใช้น้ำสาดให้ตัวมอมเปียกไปตลอดทาง ดูแล้วก็คล้ายประเพณีการแห่นางแมวของทางอีสาน อีกทั้ง ตัวมอมกับตัวแมวก็มีรูปร่างคล้ายคลึงกันอีกด้วย คงมีความเชื่อมโยงทางประเพณีที่ถ่ายทอดต่อกันอยู่ คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง ว่าการแห่นางแมวหรือการแห่มอมนี้ ไม่ใช่เรื่องงมงายไร้สาระคร่ำครึ แต่เป็นกุศโลบายให้ชาวบ้านได้ออกมามีปฏิสัมพันธ์ร่วมแรงร่วมใจกัน ระหว่างนั้นพวกเขาก็จะได้พูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุกดิบแลกเปลี่ยนภูมิปัญญากัน ผู้เฒ่าผู้แก่ได้พูดคุยกับผู้น้อยผู้เยาว์ ผู้บ่าวผู้สาวได้เกี้ยวแก้กันภายใต้การสอดส่องดูแลจากผู้หลักผู้ใหญ่ นี่คือ กุศโลบายสร้างความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันของคนโบราณ ซึ่งฝนจากฟ้าที่ว่า อาจหมายถึงสิ่งอื่นที่ที่ชุ่มฉ่ำจากภายในจิตใจก็เป็นได้


    ฟ้าฝนแห้งแล้ง แต่อย่าแล้งน้ำใจกัน นี่ล่ะ "มนุสสเทโว"

    ปัจจุบัน ประเพณีการแห่มอมขอฝนแทบไม่เหลือแล้วทางภาคเหนือ เช่นเดียวกันกับประเพณีแห่นางแมวที่สูญหายไปแล้ว ตามกาลเวลาที่ชุมชนเริ่มไม่เป็นหนึ่งเดียว คนหนุ่มคนสาวทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปหางานทำในเมือง ปล่อยให้คนเฒ่าคนแก่อยู่กันตามยถากรรมอย่างเดียวดาย พร้อมๆกับความเชื่อถือในพลังของเทคโนโลยีและวัตถุ กายภาพว่าตอบสนองความสุขได้ดีกว่า ความสุขทางจิตใจของวิถีชุมชน

    ศิลปะเกี่ยวกับมอมมิได้จำกัดแค่การเป็นสัตว์เทพเฝ้าหน้าวัด แต่ปรากฏอยู่ในลายสักของชาวล้านนาโบราณอีกด้วย ชายล้านนาโบราณต่างนิยมสักกันเพื่อแสดงออกถึงความเข้มแข็งห้าวหาญ น่าเกรงขาม นั่นคือ ความอดทนอดกลั้น มิใช่สักเพื่อแสดงอวดโอ่ความเป็นนักเลงหัวไม้หมายจะข่มขวัญผู้อื่นในชุมชน มีแต่ผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นสะกดตนอยู่เหนือทุกขเวทนาทางกายใจเท่านั้น จึงเหมาะจะเป็นผู้นำ เป็นที่พึ่งพาแก่ผู้คนในชุมชนได้ เพราะนั่นคือผู้ที่กามกิเลสไม่อาจโยกคลอนจิตใจให้หวั่นไหวโดยง่าย

    ก็กี่ครั้งกี่หนเล่า ที่บ้านเมืองมักพ่ายศึกเพราะสินบนผลประโยชน์ ทำให้คนยอมทรยศหักล้างได้แม้บ้านเกิด

    ลายสักสิงห์มอม ของชาวล้านนาแฝงความหมายนัยยะว่า "จงอ่อนน้อมถ่อมตน อย่าหยิ่งผยองทะนงนัก " นั่นล่ะ ผู้กล้าจริง

    การสักสำหรับคนโบราณนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่ใช่ใครจะสักก็ได้สัก อย่างน้อยต้องมีครูบาอาจารย์ถ่ายทอดวิชาในแบบส่งตรง จากใจถึงใจ มิใช่จากตำราสู่ท่องจำ หรือ ครูพักลักจำ ถ่ายสำเนาเอากันแบบเด็กสมัยนี้ ลายสักจึงเป็นเหมือนประกาศนียบัตรจากครูผู้อารี ว่าศิษย์ผู้นี้เจนจบในศาสตร์และศิลป์ใด เป็นผู้มีวุฒิภาวะและบารมีภูมิธรรมน่าเชื่อถือหรือมีเครดิตรับรองจากครูแห่งสำนักสถาบันใด นักรบบางคนเห็นรอยสักของกันและกันก็รู้ว่าเป็นศิษย์ครูสายเดียวกัน ก็จะไหว้สายกโทษไม่เอาความกัน พิจารณาดูเถิดสังคมโบราณเขาอยู่กันสุขสงบด้วยพระธรรมเพียงใด


    ขอบคุณที่มา
    http://oknation.nationtv.tv/blog/SimplyBreathe/2016/06/20/entry-1
     
  2. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676
    ผมว่ามันเหมือนตัวซาลามานเดอร์ หรือจักกิ้มน้ำ มากกว่านะ

    ผมเคยเจอซามาเดอร์ตัวที่คล้ายพบที่ดอยอินทนนท์ ตัวประมาณนิ้วก้อยสมัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่วันผาลาด ตอนนั้นจำได้ว่าวัดนี้เงียบมาก คนไม่ค่อยมี แถมสมัยนั้นผมตกงานอยู่ ชอบวิ่งออกกำลังไปทางป่า (เส้นทางเดินเก่า) ทางหลังช่อง 7 ขึ้นไป และก็ชอบไปนอนหลับตรงลานหินน้ำตก ตอนนั้นก็มีน้ำเอื่อยๆ ช่วงหน้าหนาวนี่แหละ พอจะเดินกลับ มันเจอตัวนี้พอดี วิ่งตามขอบน้ำเร็วมาก ตอนแรกแปลกใจนึงว่าคางคก หรือจิ้งแหลน ที่หัวมันมีโหนก มีสีออกส้มๆ เหมือนมังกรเลย อ้อ มันคือซาลามานเดอร์นี่เอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • A01_0071.JPG
      A01_0071.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.2 KB
      เปิดดู:
      750

แชร์หน้านี้

Loading...