ตำนานพิสดารพระโพธิสัตว์จุติเป็นพระกษัตริย์ไทย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มหาอำมตะนิยาย “รามเกียรติ์” ฉบับพุทธศาสนา

    พระโพธิสัตว์จะทรงจุติมาเพื่อบำเพ็ญบุญบารมีด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งนี้ บางชาติอาจมิได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนา ได้เป็นเพียงแค่พราหมณ์พรตบ้างก็มี เพราะด้วยต้องฝึกการ “ตรัสรู้” เอง คือ ค้นหาและทดลองด้วยตนเอง หากไม่เกิดนอกพระพุทธศาสนาบ้างแล้ว จะไม่รู้ถึงวิธีการได้มาซึ่งความรู้ที่ไม่มีใครเคยมี พระโพธิสัตว์แท้จึงมีพุทธวิสัยเป็นบิดาแห่งศาสตร์วิชาต่างๆ นอกจากนี้หลายๆ ชาติ มักจะมีคู่บารมีหรือพี่เลี้ยงจุติมาช่วยเสมอ พี่เลี้ยงก็คือเหล่าพระมหาโพธิสัตว์ ส่วนคู่บารมีมักเป็นพระโพธิสัตว์หรือคู่บุญที่มีบารมีเท่าๆ กัน การบำเพ็ญบารมีในแต่ละชาตินี้ สำหรับพระพุทธเจ้าแล้ว จะไม่ทรงบำเพ็ญกลยุทธ์ปราบมารมากนัก เพราะด้วยเป็นหน้าที่แห่งองค์พระมหาโพธิสัตว์ ผู้จะมาปราบมารจรรโลงพระพุทธศาสนา ยกเว้น พระศรีอาริยเมตไตรย์ที่จะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ท่านได้บำเพ็ญเพียรเป็นพระมหาโพธิสัตว์ด้วย จึงมีหลายชาติด้วยกันที่มีวิธีการบำเพ็ญบุญบารมี อันแตกต่างจากการบำเพ็ญบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งก็คือการเรียนรู้วิธีการ “ปราบมาร” ที่ถูกต้องนั่นเอง

    การบำเพ็ญบารมีเป็นพระมหาโพธิสัตว์นี้ มีพระมหาโพธิสัตว์สองพระองค์ที่ได้รับคำทำนายจะพระพุทธเจ้าสมณโคดม แต่ยังบารมีไม่เต็ม คือ พระมหาโพธิสัตว์กษิติครรภ์ และพระมหาโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย์ ทั้งสองพระองค์จึงทรงจุติลงมาจรรโลงพระพุทธศาสนาแห่งพระสมณโคดม ภายหลังพุทธกาลไว้หลายครั้งหลายครา เพื่อสะสมบุญบารมีให้เต็มนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีพระโพธิสัตว์อีกทั้งสิ้นทั้งหมดประมาณห้าร้อยสิบพระองค์ที่นับได้ว่ากำลังสะสมบารมีในเห็นกันในยุคนี้

    ส่วนพระโพธิสัตว์ที่รอคิวจะมาสะสมบารมีมีอีกมากมายนับไม่ถ้วน ดุจดั่งเม็ดทรายในมหานทีนั่นเทียว ซึ่งจำนวนที่มากมายนั้น ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะลาพุทธภูมิคือเข้านิพพานไปก่อน หรือตกนรก หรือไปเกิดสวรรค์ชั้นล่างลงไป หรืออย่างไร ทั้งนี้ พระนิตยโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์ที่ได้รับคำทำนายว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้วทั้งสิ้นสิบพระองค์ ที่จะทรงลงมาจุติเป็นพระมหากษัตริย์ ผู้ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา ในช่วงเวลาก่อนพระพุทธศาสนา แห่งพระศรีอาริยเมตไตรย์ ก็ได้จุติมาเป็นพระมหากษัตริไทยผู้ปกครองประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกมากมาย โดยจะสังเกตุได้ว่าบุคคลชั้นนำของโลกเหล่านี้จะเป็นคนดี ไม่โลภ และทำคุณงามความดีให้แก่โลกโดยไม่หวังผลตอบแทนทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละครั้งที่จุติมาสะสมบุญบารมีนั้น บริวารบนสวรรค์ก็ได้วาระการจุติมาช่วยในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย เรียกว่า “บุญสัมพันธ์” หรือเป็นการสะสมบุญบารมีร่วมกัน คราใดจุติมาก่อกำเนิดพระพุทธศาสนาอีกครา ผลบุญนั้นก็ปรากฏแก่โลกในครานั้น โดยทั่วหน้ากันนั่นเอง

    บุคคลผู้มีบุญบารมีเป็นพระมหากษัตริย์นั้นทรงมีสองประเภท คือ ประเภทมาร ผู้ไม่ยอมไปนิพพานได้เสียที ด้วยความที่มีมิจฉาฑิฐิ จึงดื้อรันไม่ได้นิพพาน แต่สะสมบุญบารมีมานานหลายชาติภพ ก็ได้ผลบุญนั้นเพียงพอ อีกทั้งยังครอบงำความคิดคนให้หลงผิดตามตนไปโดยมาก เช่นนี้ ยุคไหนที่มารจุติมาเป็นพระมหากษัตริย์ ขุนนางที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ก็จะเป็นสมุนมารมาเกิดเช่นกัน พวกเขาทั้งหมดล้วนเป็นมิจฉาฑิฐิทั้งสิ้น นอกจากนี้ บางประเทศไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ก็ถือได้ว่า “ประธานาธิบดี” ก็อยู่ในข่ายที่ผู้มีบุญมากนี้ จะจุติมาเกิดได้เอีกเช่นกัน ผู้มีบุญบารมีประเภทที่สองคือ พระโพธิสัตว์และพระมหาโพธิสัตว์ อันว่าพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์นั้น เมื่อเกิดมาบนโลกแล้วมีจิตคิดอยากช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ และบำเพ็ญเพียรสะสมบุญจนถึงจุดหนึ่ง ก็จะจุติบนสวรรค์ชั้นดุสิต แต่ก่อนหน้านี้อาจเป็นเพียงเทวดาธรรมดาในสวรรค์ชั้นต่างๆ เท่านั้น การบำเพ็ญบุญเพื่อเป็ฯทุนในการมีลาภและทรัพย์สมบูรณ์เลี้ยงเหล่าบริวาร การสะสมบารมีก็เพื่อมีบริวาร อันเมื่อถึงกาลแห่งการตรัสรู้ก็จะได้เป็นพระอรหันตสาวกผู้ช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาสืบต่อไปนั่นเอง

    เช่นนี้จึงไม่แปลกที่ทำไมทั่วโลก จึงมีทั้งผู้ปกครองที่ดีและเลวปะปนกัน และเหตุใดผู้ปกครองที่ดีมักได้ขุนนางที่ดี และผู้ปกครองที่เลวจึงได้ขุนนางที่เลวเฉกเช่นกัน สงครามแย่งชิงอำนาจจึงเกิดขึ้นบ่อยๆ ด้วยผู้ปกครองสองประเภทนี้เอง ทั้งนี้ พึงสังเกตุอีกประการหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์จะไม่นิยมฆ่าหรือทำสงคราม จึงมักเป็นกษัตริย์ที่ดูอ่อนแอ ทำแต่บุญ และส่งผลให้เสียเมืองบ่อยๆ ด้วยเพราะพระโพธิสัตว์เหล่านี้บำเพ็ญบุญมาน้อยกว่าพวกมารบางตน ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่ามารบางตนทำบุญสะสมมาตั้งแต่ยุคพระพุทธเจ้าไม่รู้กี่พระองค์แล้วไม่ได้นิพพานเสียที ในขณะพระโพธิสัตว์พึงมาสะสมบุญบารมีภายหลัง ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ปราบมารจึงเป็นของพระมหาโพธิสัตว์ผู้ไม่กลัวตกนรกนั่นเอง

    เรื่องราวการปราบมารนี้ ได้ถูกถ่ายทอดครั้งแรกในสมัยพุทธกาลนี้ โดยเหล่าทวยเทพที่ได้จุติมาสร้างศาสนาฮินดูเอาไว้ โดยการเล่าเป็นนิทานเทพต่างๆ ทั้งในอินเดียและในกรีก โดยนิยมเล่าในรูปการทำสงครามกับยักษ์ ซึ่งก็คือมารในพระพุทธศาสนานั่นเอง (ในศริสตรศาสนาเรียกว่าซาตาน ในอิสลามเรียกว่ากาเฟร) ที่โดดเด่นที่สุดคือเรื่อง “รามเกียรติ์” นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวการปราบมารของพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์โดยเฉพาะในชาติที่จุติมาเป็นพระถังซำจั๋ง คือ “ไซอิ๋ว” หรือแม้นแต่เรื่องราวการปราบมารของพระอวโลกิเตศวรกวนอิม ในชาติที่จุติมาเป็นเจ้าแม่กวนอิม คือ “กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม”

    เรื่องราวของฝ่ายพระมหาโพธิสัตว์นี้ เป็นเรื่อง “อจิณไตย” และความลี้ลับทางพุทธศาสนา ของดินแดนสุขาวดีพุทธเกษตรหรืออาณาจักรพระเจ้าในพระศริสตศาสนานั่นเอง (พระเยซูคริสตร์ตรัสว่าพระเจ้าทรงหว่านเมล็ดลงผืนนาเปรียบดั่งสร้างมนุษย์แต่ละคน หากมีคนใดเติบโตงอกงามก็ถือว่าคุ้ม นี่แสดงให้เห็นความสอดคล้องกันของพุทธเกษตรและอาณาจักรพระเจ้า) ซึ่งผู้ที่จุติไปยังดินแดนแห่งนี้ มีทั้งพระมหาโพธิสัตว์และไม่ถึงขั้นพระมหาโพธิสัตว์ ทางจีนมหายานเรามักเรียกว่าเทพต่างๆ นั่นเอง ทั้งนี้เทพเป็นคำง่ายๆ กล่าวรวมๆ มิได้แบ่งภพสวรรค์ให้ชัดเจน เพราะบางตนมิได้เป็นเทพแต่เป็นพระโพธิสัตว์ก็มี ซึ่งอันที่จริงแล้วแตกต่างกันมาก เช่น ผู้ไปเกิดชั้นอาภัสสราพรหมณ์ ก็ไม่ใช่เทพแต่เป็นพรหมณ์ เป็นต้น เรื่องราวฝ่ายพระมหาโพธิสัตว์ที่จะรจนาต่อไปนี้ เป็นการศึกษาและสัมผัสสื่อพลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อสืบหาเรื่องราวที่คาบเกี่ยวระหว่างพระศาสนาแห่งพระสมณโคดมมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังไม่มีผู้ใดบันทึกการจุติมาของพระมหาโพธิสัตว์ได้ครบ ดังจะได้เริ่มกล่าวให้มากขึ้นในคราวต่อไป

    ข้อสังเกตุหลายประการในการสืบสาวประวัติศาสตร์โลกเพื่อสืบหาการจุติมาของเหล่าพระมหาโพธิสัตว์นี้ ได้อาศัยคำนิยามต่างๆ ของหลายเชื้อชาติศาสนามาพิจารณาร่วมกัน เหมือนการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั่วไป ซึ่งเป็นไปได้ว่าการบันทึกต่างๆ ย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้ทั้งสิ้น แต่บุคคลผู้มีบุญบารมีมาก ไม่น่าคลาดเคลื่อนมากไปมากนัก อีกประการหนึ่ง คือ การศึกษาจากพุทธวิสัย อาทิเช่น พระอวโลกิเตศวรกวนอิม ท่านจะไม่ทรงสร้างพระพุทธศาสนาหรือศาสนาใดใหม่ แต่จะคอยจรรโลงพระพุทธศาสนาเท่านั้น จึงมักจุติเฉพาะในแดนดินที่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น และมักไม่เกิดเป็นชายในชาติที่มีพระโพธิสัตว์ท่านอื่นจุติ เพื่อให้พระโพธิสัตว์พระองค์นั้นได้บำเพ็ญบารมีเต็มที่นั่นเอง ส่วนพระศรีอาริยเมตไตรย์ จะมีลักษณะเป็นผู้บุกเบิกไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างศาสนาใหม่เสียส่วนมาก เพราะเป็นผู้มีบารมีเต็มพอที่จะสร้างพระศาสนาได้นั่นเอง ดังนี้ จึงมักจุติเป็นพระศาสดาในศาสนาต่างๆ ของโลก หรือเป็นพระมหากษัตริย์ต้นราชวงค์องค์แรกของไทยหลายสมัย เช่น พ่อขุนรามคำแหง, พระนเรศวรมหาราช, พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ส่วนพระกษิติครรภ์ จะมีลักษณะยื้อดึงเจรจาผ่อนปรนเพื่อช่วยสรรพสัตว์ก่อนตกนรก ตามปณิธานที่จะรื้อขนสรรพสัตว์ให้หมดนรก เมื่อจุติมาจึงมักมาเกิดในแดนดินที่มีแต่มารนรกมากมาย เช่น ในชาติที่เป็นพระถังซำจั๋งก็มีมารรุมมาจับตัวมากมาย ท่านจึงมีรอยกงกรรมกงเกวียน เกิดมาภายใต้การครอบงำและจับกุมของพวกมารอยู่หลายต่อหลายชาติ หากเกิดในแดนดินไทยก็ทรงได้รับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เช่น พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ซึ่งพระองค์จะเป็นที่รักของปวงชนอย่างล้นหลาม ทั้งยังทรงปลดทาสให้เป็นอิสระ ด้วยพระมหาปณิธานอันยิ่งใหญ่นั่นเอง ส่วนหลวงปู่เทพโลกอุดร ก็บำเพ็ญเพียรในฐานะราชครูเอกของพระมหากษัตริย์โลกในหลายยุคหลายสมัยจะไม่สอนเวไนยสัตว์ทั่วไป ด้วยอาจเพราะบารมีและความสามารถในการสอนยังไม่จัดอยู่ในระดับพระมหาโพธิสัตว์ และจะไม่จุติเป็นพระมหากษัตริย์ด้วยเพราะปณิธานที่แตกต่างกันนี่เอง

    พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงจุติมาจากพระโพธิสัตว์ และพระมหาโพธิสัตว์มากมาย ทั้งนี้เพราะประเทศไทย และดินแดนสุวรรณภูมินี้ เป็นที่รวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเปลือกแผ่นดินที่รองรับพระพุทธศาสนามาทั้งภัทรกัลป์แห่งองค์พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ ทว่าหลายต่อหลายครั้งที่มารที่มีบุญและฤทธิ์มากลงมาแย่งชิงพระราชบัลลังก์ และพาประเทศไปสู่ความหายนะ โดยสังเกตุได้ว่ามารเหล่านี้จะไม่สนใจที่จะจรรโลงพระพุทธศาสนา ตรงกันข้ามจะบิดเบือนและทำลายพระพุทธศาสนาทุกคราวไป แล้วแทนที่ด้วยมิจฉาฑิฐิ ทำให้พระไตรปิฏกในปัจจุบันถูกบิดเบือนหลายครั้งหลายคราด้ยเหตุนี้เอง

    ตามประวัติศาสตร์ไทยที่เห็นได้ชัดเจนคือ สมัยศึกยุทธหัตถีขององค์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่ทรงจุติลงมาปราบมารตนหนึ่งที่กำเนิดในตระกูลพราหมณ์ แล้วชิงราชบัลลังก์ด้วยความสกปรก จากนั้นก็ทำลายพระพุทธศาสนา เพื่อเปลี่ยนให้คนทั้งหลายหันมานับถือลัทธิพราหมณ์ฮินดูที่ผิดเพี้ยนของตน

    มหาอำมตะนิยายต่อไปนี้จึงเป็นเรื่องราวการปราบมาร ของพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ ผู้ทรงเป็นองค์อวตารจุติมาจากพระโพธิสัตว์และพระมหาโพธิสัตว์พระองค์ต่างๆ โดยรจนาแสดงเป็นเกร็ดประวัติเท่าที่จะสามารถ “สื่อจิต” ออกมาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน อันจะแตกต่างจากบันทึกประวัติศาสตร์ไทย ที่ได้รับการบันทึกไว้ด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่แตกต่างกันดังที่กล่าวมานี้นี่เอง
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระสุริโยทัยฉบับเจ้าแม่กวนอิม

    ยามเมื่อพระอวโลกิเตศวรเห็นแดนดินถิ่นพุทธในการข้างหน้าจักเดือดเป็นไฟ ผู้คนฆ่ากันตายอนาจ ทั้งโรคระบาดซ้ำมากมาย เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ของมารร้ายตนหนึ่งจะจุติมาในวรรณพราหมณ์เพื่อมาบิดเบือนพระพุทธศาสนา และเหล่ามารที่จะกระทำซ้ำย่ำยีผืนแด่นดินอันศักดิสิทธิ์จากประเทศพม่าเมืองมาร จะมาทำลายดินแดนศักดิสิทธิ์อันเป็นสถานที่ปรินิพพานแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม จึงเห็นควรแก่การจุติมายังโลกอีกครา เมื่อได้เข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวที่ได้เพ่งเห็นภยันตรายครั้งนี้แด่องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ (พระอมิตาพุทธ) พระองค์จึงได้ทรงอนุญาติจัดทัพธรรมลงมาตามควรแก่การนั้น โดยให้พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งลงมาสะสมบุญเป็นพระมหากษัตริย์ไทยในครานี้ด้วย

    พระอวโลกิเตศวรได้ทรงเสวยชาติเป็น “สมเด็จพระสุริโยทัย” ในวัยเยาว์ ทรงมีความกล้าหาญไม่แพ้ชายชาตรี ทั้งยังทรงฝึกวิชาทางการทหารต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับแก่บรรดาทหารหาญทั้งมวล ทรงมีความเชี่ยวชาญในการขี่ช้างอย่างยิ่งถึงขนาดสามารถกระทำยุทธหัตถีได้ดั่งชายชาตรี พระองค์ทรงมีพละกำลังมหาศาล ชายใดก็มิอาจเทียบทานได้ ทั้งยังทรงสามารถควบคุมทัพนำศึกได้ไม่แพ้ชายใด แต่ด้วยความเป็นหญิงทำให้พระองค์ไม่สามารถช่วยชาติได้อย่างชายชาตรี ความอัดอั้นตันใจนี้ สั่งสมจนเป็น “ปณิธานหาญกล้า” ที่จะ “สละชีพเพื่อชาติ” ในวันหนึ่ง ความในใจนี้มิได้ทรงให้ผู้ใดล่วงรู้ จนล่วงสู่วัยครองเรือน ท่านจึงได้ทรงออกเรือนแต่งงานตามโบราณราชประเพณีกับพระโพธิสัตว์องค์ที่ได้จุติมาครานั้น ด้วยเพราะบุญญาธิการอันควรคู่กัน เฉกเช่นเดียวกับในชาติที่ทรงลงมาบำเพ็ญบารมีร่วมกับพระเวสสันดร แต่ด้วยความที่พระองค์ไม่ทรงทิ้งปณิธานที่เก็บไว้ในใจแต่อย่างใด ตราบจนเมื่ออโยธยาเข้าสู่ช่วงวิกฤติหนัก กษัตริย์ฆ่าชิงราชบัลลังก์โดยไร้ซึ่งความละอายชั่วกลัวบาป ท่านเห็นเช่นนั้น ก็ทรงท้อพระทัย สลดในกรรมที่ประเทศเผชิญอยู่ครานั้น และด้วยได้ทรงประสูติในราชวงค์สุโขทัย ที่เต็มไปด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านจึงชวนพระสวามีออกผนวชละทิ้งเรื่องราวทางโลกในที่สุด จวบจนกระทั่งได้มีดวงตาเห็นธรรม จึงได้ทรงกลับมาเพื่อคิดหาทางกู้วิกฤติแก่อโยธยาอีกคราหนึ่ง

    ยามนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่งได้ครองราชโดยมิชอบ ด้วยการวางแผนร้ายของพระสนมเอกโดยใช้ยาพิษฆ่าพระมหากษัตริย์ พระสนมผู้นี้และพราหมณ์ลักลอบเป็นชู้กันมานานแล้ว จึงเกรงกลัวความแตก จากนั้นก็วางแผนชิงลงมือก่อน แล้วทั้งสองก็ครองแผ่นดินด้วยความสกปรกโสมม พราหมณ์ผู้นี้เป็นมาร ได้ทำลายพระพุทธศาสนาไปมากมาย ทั้งยังเป็นเหตุแห่งการบิดเบือนพระไตรปิฏก ด้วยการนำความเชื่อผิดๆ ที่ไม่ใช่พราหมณ์ฮินดูแท้เข้ามาปนในพระพุทธศาสนาอีกด้วย แล้วยังเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบระบอบพุทธะเป็นระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราช” อีกคราโดยพราหมณ์ชั่วทรราชแผ่นดินผู้นี้นี่เอง จนกระทั่งขุนนางผู้ภักดี คือ เหล่าท้าวจตุโลกบาลผู้จุติมาสะสมบุญในครานั้น อดรนทนมิได้ จึงได้ทูลอัญเชิญเชื้อสายพระมหากษัตริย์ผู้ทรงประกอบด้วยความดีงาม มาช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาอีกครา ในครานั้นเห็นจะเหลืออยู่ก็เพียงพระองค์เดียวคือพระโพธิสัตว์ผู้ทรงออกผบวชอยู่นั่นแล

    อันศาสนาพราหมณ์ฮินดูนี้ แรกเริ่มเดิมทีรากเหง้ามาดีไม่มีเพี้ยน เราจักไปกล่าวว่าศาสนานี้ก็มิได้ ด้วยเพราะเป็นศาสนาที่เหล่าเทพจุติลงมาช่วยกันสร้างไว้ แต่ถูกมารทำให้เพี้ยนไป เช่น เรื่องพระพรมหณ์จุติมามีอิทธิฤทธิ์มากมาย แต่รบพ่ายพระอิศวร เป็นการลำดับเทพต่างๆ ซึ่งพระอิศวร ก็คือพระอมิตาพุทธนั่นเอง โดยทรงอวตารมาเป็นพระอวโลกิเตศวร เพื่อปราบมารแก่พระพุทธศาสนา หรือนารายอวตารอีกภาคหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนเตรียมทำความดี และรอการจุติมาของพระพุทธเจ้าในอนาคต ทว่า ก่อนพระพุทธศาสนาจะเกิด พรามหณ์ฮินดูก็ถูกมารบิดเบือนไปก่อนแล้ว ว่าพระพรหมณ์คือพรหมลิขิต กำหนดชีวิตคนได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระพรหมณ์จุติ จึงลิขิตชีวิตใครก็ได้ ทรงเป็นเจ้าชีวิต เช่นนี้เอง “สมบูรณาญาสิทธิราช” อันเป็นของมารก็บังเกิด พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นจึงปกครองแผ่นดินอย่างโหดเหี้ยมทารุณประชาชน ก่อเกิดภัยต่างๆ ก่อนการจุติมาของพระพุทธเจ้าสมณโคดมมากมาย

    ตราบเมื่อพระพุทธเจ้าสมณโคดมได้โปรดเทศนาธรรม จนพระมหากษัตริย์แคว้นต่างๆ ทรงละฑิฐิเลิกเชื่อเรื่องพรหมลิขิต ทรงได้ลำดับเทพและพรหมณ์ทั้งการจุติของเทพและพรหมณ์ การบำเพ็ญเพียรเป็นพรหมณ์ และหน้าที่ในการมอบโหรศาสตร์ให้แก่มนุษย์ของพรหมณ์ ซึ่งจะบ่งบอกการจุติมาของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์จึงทรงหันมาเชื่อ “กฏแห่งกรรม” และ “พรหมวิหารสี่” บ้างบำเพ็ญได้ถึงทศบารมีก็มี โลกยามนั้นจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครา ทว่าลัทธิความเชื่อ “พรหมลิขิต” นี้ยังไม่หมดสิ้นไปเสียได้ และได้กลับย้อนมาอีกครั้งในแผ่นดินสยามครานั้นนี่เอง ด้วยฝีมือมารผู้จุติมาเป็นพราหมณ์

    ในที่สุด สมเด็จพระสุริโยทัยอดรนทนไม่ได้ จึงต้องทรงลาพระนิพพาน ทรงลาสิกขาจากผ้าขาว เพื่อมาช่วยประชาชน ทรงวางแผนต่างๆ ในการรวบรวมไพล่พลกับขุนนางผู้ภักดีทั้งหลาย จากนั้นจึงได้กระทำการยึดพระราชบัลลังก์กลับคืน ในคืนที่พราหมณ์ผู้นั้นเดินทางน้ำ ก็ได้ซ่องสุมกำลังดักฆ่า ทั้งนี้สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ได้ทรงเสด็จมาเพื่อช่วยชีวิตพระสนมเอกและบุตรของนางด้วยพระองค์เอง ด้วยเพราะจิตเมตตา ที่ทรงไม่ต้องการให้เสียเลือดเนื้อมากมาย ทว่า กรรมของนางหนักเหลือประมาณ จึงมิอาจช่วยได้ นางจึงได้ถูกสังหารด้วยขุนนางผู้ภักดี ผู้เป็นหนึ่งในสี่ท้าวจตุโลกบาลนั่นเอง

    เมื่อการณ์ครั้งนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เหล่าขุนนางผู้ภักดีจึงได้ทูลอัญเชิญพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระสวามีลาสิกขาเพื่อจักได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ ทำให้ประชาชนเลื่อมใสพระมหากษัตริย์พระองค์นี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะท่านทรงผนวชอยู่ ทั้งยังมีสมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงวางแผนเบื้องหลังในครั้งนี้ จึงไม่มีผู้ใดกล่าวตำหนิติเตียนได้ว่า ทรงใช้กำลังแย่งชิงพระราชบัลลังก์ ทั้งยังทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการขึ้นครองราชสืบไป ทว่าไม่นานนักกษัตริย์พม่าผู้บ้าสงครามก็ยกทัพจับศึกเข้ามาตีเมืองทันที

    กษัตริย์พม่าผู้นี้เป็นมารมาจุติอีกหนึ่งตน สมเด็จพระสุริโยทัยทรงล่วงรู้ถึงความร้ายกาจของมัน จึงทรงวางแผนปลอมแปลงตนเป็นพระมหากษัตริย์ไทย โดยมิให้พระสวามีล่วงรู้ การครั้งนั้นเรียกได้ว่าเป็นความลับและความกล้าหาญเสียสละเพื่อแผ่นดินไทยอย่างใหญ่หลวง ท่านทรงไสช้างเข้ามาตัดหน้าก่อนช้างของพระสวามีด้วยเพราะทรงชำนาญกว่าพระสวามีที่ยังขาดกลัวอยู่มาก อนึ่งพระโพธิสัตว์ท่านนี้ จะทรงจุติมาเพื่อบำเพ็ญบารมีด้านความเมตตากล้าหาญเสียสละอันมีพระอวโลกิเตศวรคือสมเด็จพระสุริโยทัยเป็นแบบอย่าง ดั่งเช่น พระเวสสันดรนั่นแล แต่ด้วยความที่บารมียังอ่อน จึงไม่อาจเทียบเท่าสมเด็จพระสุริโยทัยได้ สมเด็จพระสุริโยทัย ทรงชำนาญศึกเหนือกว่าชายใด ท่านทรงชนะศึกในครานั้น โดยมิมีผู้ใดทันสังเกตุ ช่วงระหว่างฟาดฟันพระแสงของ้าวอยู่นั้นเอง ด้วยจิตที่เมตตาท่านจึงได้ทรง “ยั้งมือ” ไว้ชีวิตแม้นกระทั่งแก่อริราชศัตรู ทว่า มารผู้นี้กลับไร้ซึ่งความกตัญญูมันได้อาศัยจังหวะนั้นเอง สวนฟันเข้าที่ร่างสมเด็จพระสุริโยทัย จนขาดสะพายแล่ง เมื่อร่างแห่งสมเด็จพระสุริโยทัยร่วงหล่นลงคืนสู่ปฐพีอันศักดิสิทธิ์ เลือดของพระองค์หลั่งไหลไม่หยุดดุจกระแสน้ำแห่งพระเมตตาที่ไม่มีวันหมด หยาดลงรดพื้นดินตรงนั้น เหล่าทหารหาญกล้าจึงได้ล่วงรู้ว่าแท้แล้วพระองค์นั้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปลอม คือ สมเด็จพระสุริโยทัย ด้วยเพราะพระเกศาที่สยายยาวลงปรกปฐพีแผ่นดินถิ่นเกิด อริราชศัตรูถึงกับตลึงลานด้วยความขลาดเขลาหวาดกลัวสุดขีด พลันนึกขึ้นได้ว่า

    “ฉิบหายละกู นี่มิใช่พระมหากษัตริย์ไทยดอกหรือ เป็นเพียงผู้หญิงนางหนึ่ง ทำเอากูเกือบตาย หากมิยั้งมือไว้ไมตรี ผู้ที่ถูกฟันขาดสะพายแล่งไปในครานี้ คงเป็นกูเสียแน่แท้แล้ว อย่าได้ช้าอยู่ไย รีบไสช้างหนีไปเสียดีกว่า เดี๋ยวพระมหากษัตริย์องค์จริงมันมา มันมิยิ่งเก่งกาจกว่านี้หลายล้านเท่าดอกฤา”

    เช่นนี้แล คือสาเหตุที่แท้จริง ที่อริราชศัตรูหนีไปทันทีที่เห็นว่าร่างที่ตนฟันขาดสะพายแล่งไปนั้น แท้แล้วคือ “ผู้หญิง” มิใช่พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยความเข้าใจผิดนี่เอง มีอย่างที่ไหน รบชนะแล้วจักถอยทัพ ย่อมไม่มีในตำราพิชัยคนบ้าที่ไหนเป็นแน่แท้ แต่ด้วยที่ประวัติศาสตร์ได้เขียนไว้ขาดหายไปนี่เอง จึงไม่มีผู้ใดล่วงรู้ว่า สมเด็จพระสุริโยทัยแท้แล้วทรงรบชนะแต่ด้วยทรงเมตตา แม้นกระทั่งศัตรูที่กำลังจะฆ่าตนถึงได้ยั้งมือไว้ อันเป็นเหตุให้อริราชศรัตรูถึงได้กลัวลนลานจนถอยทัพหนีไปเช่นนั้นแล แล้วมิกล้ากลับมารบอีกเลยตั้งแต่บัดนั้นมา โดยที่พระสวามีก็หาได้รู้ถึงความสามารถแห่งสมเด็จพระสุริโยทัยไม่ ด้วยเพราะวิสัยแห่งองค์พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกวนอิม ที่ทรงวางตนต่ำกว่าพระโพธิสัตว์ ทรงช่วยอยู่เบื้องหลัง ทั้งที่มีความสามารถเหนือกว่ามาตลอดนี่เอง จึงมิมีผู้ใดล่วงรู้ถึงวิธีปราบมาร และการจรรโลงพระศาสนาแห่งองค์พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกวนอิมนักนั่นเอง

    จากนั้นมาอโยธยาจึงว่างเว้นจากภัยศึกสงคราม พระมหากษัตริย์ทรงจรรโลงพระพุทธศาสนาขึ้นมา เพื่อรวมใจคนในชาติอีกคราหนึ่ง ทว่าพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกวนอิม มิทันได้ล่วงรู้การบิดเบือนพระไตรปิฏกของพราหมณ์ผู้นั้นก่อนการสิ้นพระชนม์ ด้วยเพราะการสอนแบบผิดๆ และการสร้างค่านิยมและแบบอย่างที่ผิดๆ อันส่งผลให้พระไตรปิฏกได้รับอิทธิพลความเชื่อแบบผิดๆ มาเป็นรากฐานในสังคมครานั้นนี่เอง จึงส่งผลต่อการสังคายนาพระไตรปิฏกที่บิดเบือนไปในคราต่อมานั่นเอง

    หมายเหตุที่เชื่อว่าทรงรบชนะแล้วยั้งมือ
    1. เพราะผิดหลักสงครามที่คนชนะในยุทธหัตถีจะถอยทัพกลับโดยไม่มีเหตุแห่งการพ่ายแพ้ ทว่าการเล่าเรื่องราวขณะทรงกระทำยุทธหัตถีแล้วยั้งมือนี้ ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้นอกจากอริราชศัตรูผู้นั้น ซึ่งแน่นอนว่าใครกันรบแพ้ผู้หญิงแล้วจะกล้าป่าวประกาศความลับนี้ออกไป
    2. ทรงไสช้างได้เร็วเสียยิ่งกว่าพระสวามี ถึงขนาดเข้าชิงตัดหน้า ประชิดข้าสึกก่อนตั้งนาน รบกันจนเห็นผล แสดงถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระสุริโยทัย ที่เหนือกว่าผู้ใดอย่างยิ่ง จึงไม่น่าพ่ายแพ้ในการกระทำยุทธหัตถีครั้งนั้น ทั้งยังเกร็ดพระราชประวัติยามพระเยาว์อีกด้วย
    3. การที่หญิงจะปลอมเป็นชายในสนามรบได้นั้น ย่อมต้องมีฝีมือเก่งกล้าเป็นอย่างยิ่ง และการที่อริราชศัตรูไม่รู้จนกระทั่งฟันพระองค์ขาดสะพายแล่งไปแล้วนั้น เพราะฝีมือในการรบนี่เอง หากไม่ทรงเก่งกาจในการรบเทียบเท่าชาย ศัตรูผู้ชาญศึกย่อมต้องรู้ตั้งแต่ประมือในคราแรกแล้ว

    หมายเหตุที่คิดว่าพระศรีสุริโยทัยคือพระอวโลกิเตศวรกวนอิมอวตาร
    1. อิทธิฤทธิ์ในการปราบมาร ห้าวหาญดุจชาย เก่งกล้าขนาดนี้มีเพียงท่านพระองค์เดียว
    2. ความเมตตาเสียสละชีวิตแม้นให้แก่ศัตรูก็ยังสามารถไว้ชีวิตให้ได้ เพื่อเจรจา (แต่ไม่ทัน)
    3. ทรงมีจิตที่จะจรรโลงพระศาสนา ด้วยการเปลี่ยนการปกครองจากพราหมณ์มาเป็นพุทธ
    4. มิทรงประสงค์จะแสดงตนว่ามีความสามารถเหนือพระสวามีเลย ทรงอยู่เบื้องหลังตลอด
    5. เมื่อยามแดนพุทธมีภัยมาร ยามที่พระมหาโพธิสัตว์ท่านอื่นไม่จุติ ท่านมักจุติมาช่วยเสมอ
    6. ท่านจะจุติลงมาเพื่อเป็นแบบอย่างให้พระโพธิสัตว์สะสมบุญทุกพระองค์เสมอ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาฉบับเจ้าแม่กวนอิม

    ยามเมื่อ พระอวโลกิเตศวรกวนอิมมหาโพธิสัตว์ผู้เพ่งมองมายังอนาคตกาลข้างหน้า ได้ทรงพบว่าจักมีมารมาบังเกิดแล้วเข้าครอบงำทำลายแดนศักดิสิทธิ์จนกร่อนกินพระพุทธศาสนาสิ้นลงได้ จึงได้กราบบังคมทูลปรึกษาต่อองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ (พระอมิตาพุทธ) ครานั้น พระอมิตาพุทธได้ทรงนิ่งเพื่อทดสอบใจของพระศรีอาริยเมตไตรย์มหาโพธิสัตว์ ด้วยความที่พระศรีอาริยเมตไตรย์มหาโพธิสัตว์ทรงล่วงรู้ความนัยนั้น จึงได้ก้าวเดินออกมาอย่างอาจหาญ เพื่อรับภาระปราบมารในครั้งนี้ด้วยความทนงองอาจเพียงผู้เดียว ทว่าองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ ทรงล่วงรู้ถึงวิสัยแห่งพระศรีอาริยเมตไตรย์โพธิสัตว์ดีว่ายังมีกรรมที่ทรงอาฆาตไว้กับมารตนนี้หลงเหลืออยู่ จึงได้ทรงตรัสรับสั่งให้พระอวโลกิเตศวรกวนอิมมหาโพธิสัตว์ ให้จุติมาช่วยสั่งสอนมิให้พระศรีอาริยเมตไตรย์พลั้งสร้างกรรมต่อมารตนนี้มากเกินไป

    ณ ประเทศพม่า ภายหลังได้ครอบงำกรุงอโยธยาแล้ว ด้วยความเกรงกลัวหัวเมืองอโยธยาจะแข็งข้อขัดขืน จึงได้นำตัว “สมเด็จพระนเรศวร” มาเป็นเชลย ในยามนั้น สมเด็จองค์น้อย ขาดพ่อแม่เปลี่ยวเหงามีเพียงไก่ชนคู่ใจเป็นเพื่อนมาแต่ครั้งพระเยาว์ ด้วยเพราะลูกหลานกษัตริย์พม่านั้นเล่า เอาแต่เยาะเย้ยถากถางนินทา ให้สะใจเสียหน้าอยู่ทุกคราไป สมเด็จองค์น้อย มีหัวใจทรนงกล้าแกร่งอยู่ได้ ด้วย “ตาแก่” ผู้หนึ่ง ผู้เปรียบเสมือนบิดาผู้มีเมตตาอารี ด้วยความสงสารในสมเด็จองค์น้อยนี้ ทั้งเห็นลักษณะแห่งสมเด็จพระนเรศวรว่ามีจิตใจกล้าหาญยิ่ง ตาแก่ผู้นี้ จึงได้ให้ความเมตตาสั่งสอนเสียโดยลับเป็นครั้งคราว เพียงเท่านี้ สมเด็จองค์น้อย ก็ซาบซึ้งใจยิ่ง จึงอดทนอยู่ในฐานะเชลยอย่างทรนง มิได้ย่อท้อต่อชะตากรรมเลยแม้นแต่น้อย หลายครั้งหลายครา สมเด็จองค์น้อย ถูกรุ่นพี่รุมรังแก แม้นเพียงแต่ตอบโต้ไป ด้วยตนมิได้ผิด รุ่นพี่เหล่านั้น สู้มิได้ ก็ร้องห่มร้องไห้ไปฟ้องพระบิดาและพระมารดา รุมใส่ร้ายสมเด็จองค์น้อยว่าเป็นคนลงมือก่อนทุกคราวไป จนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก ทั้งที่ยังพระองค์ยังทรงเป็นเด็ก เหล่ารุ่นพี่พงษ์กษัตริย์พม่าเหล่านั้น ก็หัวเราะร่าสาแก่ใจ เยาะเย้ยสมเด็จองค์น้อยจำกล้ำกลืนน้ำตา

    ความเป็นเชลยศึกนี้เอง จำต้องทนเก็บกด มิอาจตอบโต้ได้ในที่สุด หลายครั้งหลายครา เห็นจะมีเพียง “ตาแก่” ผู้นี้เท่านั้น ที่พอเข้าใจและเป็นกลางอย่างที่สุด ท่านทรงอำนาจสูงส่งเป็นที่เคารพสักการะแม้จะกล่าวเตือนแต่น้อย ก็พลอยช่วยให้สมเด็จองค์น้อยรอดพ้นจากการลงโทษที่ทารุณนั้นได้ แต่ที่เจ็บใจอย่างหาที่สุดมิได้ก็คือ คำเยาะเย้ยถากถาง ขับไล่ไสส่งให้กลับไป ทั้งที่ก็รู้ว่าพระองค์เป็นเชลยศึก

    “ไอ้ลูกเชลย มึงแน่จริง กลับไปบ้านเมืองมึงสิวะ ไม่มีบ้านเมืองอยู่ มาอาศัยแต่กูอยู่เล่า”
    ความอาฆาตบาดหมางระหว่างหน่อเนื้อกษัตริย์ไทยและพม่านั้นครานั้น จึงพอกพูนสูงขึ้นอย่างประมาณหาที่เปรียบมิได้ สั่งสมมาทีละเล็กละน้อยอยู่เรื่อยร่ำไป แม้นกระทั่งเพื่อนแท้เพียงตัวเดียวมันก็ไม่เว้น วันหนึ่ง ความที่เหล่าหน่อเนื้อกษัตริย์พม่าเหล่านั้น เห็นว่าสมเด็จองค์น้อยทรงไม่มีเพื่อนเล่น หันไปหาผู้ใดเขาก็ได้แต่เยาะเย้ยถากถาง มีเพียง “ไก่ชน” ตัวเดียว ซึ่งมิได้มีนิสัยชอบไปเล่นเสี่ยงพนันกับผู้ใดตามประวัติในบางที่ก็หาไม่ ท่านทรงเลี้ยงด้วยรักแล้วสอนไก่ชนให้รู้จักการต่อสู้อย่างไม่เกรงกลัวผู้ใดต่างหากอันเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจที่ไม่อาจระบายบอกผู้ใดได้นี่เอง มิได้สอนให้ไปตีรันฟันแทงผู้ใด เพราะเมื่อหากท่านไปตีไก่กับผู้ใดแล้ว ย่อมมีแต่คนเยาะเย้ยถากถางอีกเป็นแน่แท้ พระมหาอุปราชและเหล่าหน่อเนื้อกษัตริย์พม่าจึงแสร้งทำอุบายเพื่อหาทาง “ฆ่าไก่ชน” ตัวนั้นเสีย ว่าแล้วก็หลอกให้เอาไก่ชนมาตีกัน ให้รู้แพ้รู้ชนะ สมเด็จองค์น้อย ทรงมีนิสัยตอบโต้ผู้ท้าทายอย่างทรนง จึงทรงรับคำท้าโดยมิรู้ว่าภัยใดจะเกิดแก่เพื่อนของตน เมื่อทรงตีไก่ชนชนะทุกคราไป จนไม่เหลือไก่ชนตัวใดที่ฝ่ายพม่าจะชนะได้อีก ฝ่ายพม่าจึงใช้เล่ห์เหลี่ยม วางยาพิษไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรในขณะที่ทรงไม่ทันรู้ตัว ไม่นานนักไก่ชนเพื่อนของพระองค์ก็ตายเสียด้วยฝีมือเหล่าหน่อเนื้อกษัตริย์พม่าพวกนี้นี่เอง

    ความอาฆาตบาดหมางไม่จบลงเพียงแค่นั้น เมื่อทรงได้เติบใหญ่ถึงวัยมีความรักกับหญิงนางหนึ่ง “พระสุพรรณกัลยา” ซึ่งก็คือ พระอวโลกิเตศวรกวนอิมมหาโพธิสัตว์ ผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรสมบัติแห่งกุลสตรีที่ดีงามในทุกประการ อันหาที่เปรียบประมาณมิได้อวตารลงมานั่นเอง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเสมือนหนึ่งแสงสว่างในความมืด แก่ผู้ที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อน เมื่อทั้งสองได้พบกันครั้งแรก ความที่สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นเชลย จึงไม่อาจเอื้อมเอ่ยเด็ดดอกฟ้า แต่ด้วยบุญกรรมบันดาลมาให้ได้พบเจอกันสองต่อสอง ด้วยความที่พระสุพรรณกัลยาเป็นหญิงผู้มีจิตใจงดงามและเปี่ยมเมตตา จึงได้ให้ความช่วยเหลือแก่พระนเรศวรอยู่ลับๆ จวบจนพัฒนาเป็นความรักที่บริสุทธิ์ขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงมีจิตใจหนึ่งเดียวและทุ่มเททุกอย่าง อย่างที่บุรุษใดมิอาจเทียบทานได้ บูชาความรักนั้นเหนือสิ่งใด จวบจนได้เอ่ยปากเล่าเรื่องราวที่ตนเป็นหน่อเนื้อกษัตริย์กรุงอโยธยา และปณิธานอันแรงกล้าที่จะกอบกู้เอกราชให้สมเด็จพระสุพรรณกัลยาได้ฟัง เมื่อนั้นเอง สมเด็จพระสุพรรณกัลยาก็ได้ทรงเห็นว่า

    “ปณิธานนี้ช่างหาญกล้าน่าสรรเสริญยิ่งหนอ ใยเราจักมัวแต่รักตัวกลัวตาย เห็นความรักสำคัญกว่าประเทศชาติอยู่ใยเล่า สมควรให้ข้าผู้นี้ได้สละตนช่วยท่านให้สมความมุ่งมาตรปรารถนาเถิด”

    สมเด็จพระนเรศวรมิทรงทราบความนัยนั้น ก็ได้เพียงแต่ปฏิเสธการช่วยเหลือของพระสุพรรณกัลยาในครานั้นไป โดยไม่รู้ว่าพระนางทรงมีจิตที่ตั้งมั่นอย่างแน่แท้ ในการช่วยเหลือในครั้งนร้ด้วยการเสียสละอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อถึงคราขุนนางอโยธยามาติดต่อกับกษัตริย์พม่าในคราหนึ่ง พระนางจึงได้วางแผนเสนอตัวเองเป็น “เชลยศึก” แทนสมเด็จพระนเรศวร เพื่อให้ท่านกลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอน และมีจิตใจมุ่งมั่นที่จะกลับมาเอาชัยชนะกอบกู้เอกราชคืนกลับไป พระนางทรงพิจารณาว่า

    “ความรักนี้หนอช่างมากล้นเหลือประมาณนัก เพียงเท่านี้ก็พอแก่เราทั้งชีวิตแล้ว ถึงคราวจำเราจักให้คืนแก่สมเด็จพระนเรศวรบ้าง เพื่อให้พระองค์เป็นอิสระจากการเป็นเชลยศึกเสียที ให้ได้สมพระทัยในความมุ่งมาตรปรารถนา แม้นชีพชีวาเราดับสูญสิ้นไป กาลข้างหน้าถูกกระทำย่ำยีเพียงใด เรานี้จะทนทุกข์อันทนได้ยากนั้นอยู่อย่างทรนงองอาจหาญ ดุจดั่งเช่น สมเด็จพระนเรศวรผู้นี้ให้จงได้”

    เหล่าขุนนางเหล่าผู้ภักดีต่ออโยธยานั้น จึงได้ร่วมกันทำตามแผนของสมเด็จพระสุพรรณกัลยา กล่าวคือ แสร้งแต่งตั้งท่านเป็นสมเด็จพระสุพรรณกัลยา (พระนามเดิมและพระยศเดิมไม่ใช่แบบนี้) โดยหลอกกษัตริย์พม่าว่าทรงเป็นพระพี่นางของพระนเรศวรมหาราช ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วทรงเป็นคู่รักกันต่างหาก และด้วยเพราะความงดงามเพียบพร้อมและฉลาดอาจหาญของพระสุพรรณกัลยานี่เอง จึงเอาชนะใจกษัตริย์พม่าได้อย่างราบคาบ ทรงเจรจาจนในที่สุด กษัตริย์พม่าชะล่าใจ เชื่อว่าพระนางเป็นพระพี่นางจริงๆ ทั้งยังหลงคิดว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงเลิกปณิธานแล้ว และไม่อาจแข็งข้อต่อกรได้อีก

    เมื่อถึงคราวขบวนขุนนางอโยธยาผู้ภักดีเหล่านั้นกลับกรุงอโยธยา จึงได้พาสมเด็จพระนเรศวรกลับไปด้วย โดยที่สมเด็จพระนเรศวรมิทรงล่วงรู้สาเหตุอันนี้เลย ด้วยเพราะสมเด็จพระสุพรรณกัลยาทรงห้ามไว้ ด้วยเกรงกลัวว่าจักเกิดเรื่องใหญ่ และทำให้สมเด็จพระนเรศวรไม่อาจตัดใจจากไปได้นั่นเอง สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงคิดว่ากษัตริย์พม่าใจดีเมตตาต่อตน จึงได้เลิกคิดล้างแค้นไป ยอมกลับบ้านเมืองตนอย่างสงบสุข ใจก็หวนคิดถึงแต่พระสุพรรณกัลยาอยู่ไม่ขาด แต่เมื่อจะไปลาพระนาง เหล่าขุนนางก็ห้ามไว้ โดยอ้างว่าจักต้องรีบเดินทางเสียโดยเร็วไว ช้าหามิได้กษัตริย์พม่าอาจเปลี่ยนใจ

    เช่นนี้ จิตใจของสมเด็จพระนเรศวรเมื่อกลับมาถึงอโยธยาแล้ว ยังคงหวนคิดถึงพระนางสุพรรณกัลยาแห่งเมืองพม่าอยู่ร่ำไป จนไม่มีอันได้สานงานอื่นดังมุ่งมาตรปราถนาไว้ เหล่าขุนนางต่างก็ปิดบัง จวบจนกระทั่งเรื่องมาแดงเมื่องครั้งศึกอังวะ ด้วยสารจากเมืองพม่าให้ยกทัพไปช่วยต้าน ระหว่างทางนั้นเอง ก็ทรงถามถึงพระนางสุพรรณกัลยา จนขุนนางเห็นท่าจะไม่ไหว ยกทัพไปตีข้าศึกแบบนี้มีหวังพ่ายแพ้เป็นแน่แท้ จำต้องบอกความจริงทั้งหมด เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรตัดใจเพื่อทำศึก ในรุ่งเช้าที่กำลังจะยกทัพไปตีข้าศึกนั่นเอง สมเด็จพระนเรศวรทรุดกายลงสิ้นแรง น้ำตาไหลอาบริน คิดถึงดวงหน้าของพระสุพรรณกัลยา และความอับยศอดสูที่ผ่านมาทั้งหมดของชีวิต ตั้งแต่ครั้งทรงเป็นเชลยโดนรังแกมามากมาย ไม่ได้รับอิสรภาพ ไก่ชนเพื่อนยากมันฆ่าได้ยังพอทำเนา แต่มันทำได้แม้นกับ “กุสุมา” หญิงอันเป็นที่รักยิ่งหนึ่งเดียวในดวงใจ เหมือนทั้งหมดในชีวิตดับสูญสิ้นในคราวนั้น ประหนึ่งดั่งถูกเหยียบขยี้ดวงใจให้ขาดดิ้นสิ้นชีพในคราวเดียว เมื่อได้สติคิดขึ้นได้ถึงปณิธานอันหาญกล้าพร้อมความคั่งแค้นเหลือคณา ท่านจึงได้ลุกขึ้นประกาศกอบกู้อิสระภาพแก่กองทัพอโยธยาครานั้นเอง

    ฟ้ารุ่งอิรวดี คืนนี้มีแต่ดาว เปล่งแสงสกาย เด่นอะคร้าวสว่างไสว ...
    เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปร ให้มันวอดวาย
    จะตายจะให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู ผู้ชนะสิบทิศ ...

    ด้วยเหตุนี้เอง ทัพอโยธยาที่ยกไปครานั้นจึงเปลี่ยนทิศโจมตี แทนที่จะไปตีอังวะกลับฮึดสู้ไม่คิดชีวิต ด้วยแนวคิดกู้ชาติ และแผนใช้พระพุทธศาสนาสร้างศรัทธาความเชื่อ ตามตำนาน “พระพูดได้” ให้ทหารกล้าทั้งหลายมีใจพร้อมรบเหนือกองทัพใดๆ อาศัยสถานการณ์ที่พม่าอ่อนแอนั้น โจมตีโดยพลัน แม้กระทั่งกษัตริย์พม่าก็ไม่ทันคาดคิด เพราะก่อนหน้านี้ สมเด็จพระนเรศวรดูเหมือนจะละเลิกปณิธาน พม่าจึงพ่ายแพ้แก่สมเด็จพระนเรศวรโดยง่ายอย่างนี้เอง ความกล้าหาญและชัยชนะครั้งนี้ นำความฮึกเหิมยิ่งขึ้นให้กับกองทัพอโยธยาอย่างไม่เคยมีมาก่อน และด้วยสติปัญญาความสามารถที่เหนือกว่าเหล่ากษัตริย์พม่ามาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ เหล่ากษัตริย์พม่าจึงได้เกรงกลัวหัวหดกันไปหมด ไม่ว่าสมเด็จพระนเรศวรออกรบคราได้ก็ต้องได้ชัยครานั้น จวบจนการทำยุทธหัตถีในคราสุดท้ายที่ทรงท้าทายยั่วยุพระมหาอุปราช โดยรื้อฟื้นเรื่องราวการท้าชนไก่เมื่อครั้งยังเด็กออกมาด้วยถ้อยคำตรงไปตรงมา พระมหาอุปราชผู้ขลาดเขลาแต่รักหน้ารักศักดิ์ศรี จึงอดรนทนไม่ได้ ต้องเข้าโรมรันในที่สุด (แต่เมื่อหลังเหตุการณ์นั้นผ่านไป นักเขียนก็ได้รจนาคำพูดใหม่เสียสวยหรู เป็นเชิงยกย่องสรรเสริญพระมหาอุปราชให้ออกมาทำยุทธหัตถีครั้งประวัติศาสตร์ไป ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในทางจิตวิทยา และสถานการณ์การสู้รบแบบนั้น) จนแม้นแต่ชาวพม่ายังถึงกับต้องยกย่องสรรเสริญให้ท่านเป็น “ผู้ชนะสิบทิศ” ตัวจริงหาใช่บุเรงนองผู้ชั่วช้าหามีรักจริงใจให้หญิงใดไม่ ด้วยเพราะศรัทธาในองค์สมเด็จพระนเรศวรนี่เอง แต่ด้วยการเมืองขณะนั้น การรจนาเรื่องผู้ชนะสิบทิศจึงต้องดัดแปลงให้เอาใจพระมหากษัตริย์พม่าไป ด้วยการเปลี่ยนชื่อให้เป็นกษัตริย์พม่า แต่ทว่าเรื่องราวข้างในนั้น เป็นเรื่องราวแทรกประวัติ อันเกิดจากความประทับใจในตัวละครเอก คือ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชต่างหาก นอกจากนี้ พระขุนแผนที่องค์สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างขึ้นในยามนั้น ก็เป็นที่นิยมของบุรุษเพศนักรักและชายชาติทหารเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับเอาไปแต่งเรื่องราวเป็นขุนช้างขุนแผน โดยจำลองตัวละครให้สมเด็จพระนเรศวรก็คือขุนแผน และกษัตริย์พม่าผู้ได้ครองพระนางสุพรรณกัลยาเป็นขุนช้าง ทว่าหาได้มีความเข้าใจไม่ว่าที่พระนางไม่กลับมากับพระนเรศวรเมื่อคราชนะศึกนั้น เพราะพระนางสุพรรณากัลยาทรงบวชชีพราหมณ์ละทางโลกหมดแล้วนั่นเอง แต่ด้วยความคั่งแค้นของชาวไทยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ จึงได้รจนานิยายพื้นบ้านปรำปราเปรียบเปรยไว้ให้สนุกสนานขบขันตามตำนาน อันเป็นที่มาของพระขุนแผนที่เต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์นานา ดังนั้นแล
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ณ สุขาวดีพุทธเกษตร
    ครานั้น เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ล้วนอยู่กันพร้อมหน้า เนื่องด้วยโลกมนุษย์อยู่ในช่วงสันติสุข จึงไม่มีผู้ใดจุติลงไปสอนธรรมให้แก่เหล่าเวไนยสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์รุ่นเก่าทั้งหลาย ล้วนมีเมตตาล้นพ้นประมาณ พากันต้อนรับพระมหาโพธิสัตว์พระองค์น้อย ทั้งสองพระองค์คือ พระกษิติครรภ์และพระศรีอาริยเมตไตรย์ ต่างร่ำเรียนธรรมด้วยความวิริยะพากเพียร บนสวรรค์สุขาวดีพุทธเกษตรจึงมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง ครานั้นเอง พระอวโลกิเตศวรกวนอิมโพธิสัตว์ ได้เพ่งมองลงมายังโลกมนุษย์เห็นกาลภัยพิบัติข้างหน้าด้วยมารนรกและมารสวรรค์จำนวนมากมายจักจุติไป ทำลายและบิดเบือนพระศาสนา ทรงตระหนกพระทัยกับภัยร้ายที่จะเกิดขึ้นจนไม่อาจประมาณได้ จึงได้นำความไปปรึกษาพระอมิตาภะ

    เมื่อเหล่าพระมหาโพธิสัตว์พร้อมใจกันตามพระอวโลกิเตศวรกวนอิมไปเข้าเฝ้าพระอมิตาภะ ยังมิทันจักได้เอื้อนเอ่ยความตระหนกพระทัย พระอมิตาภะทรงรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงได้ทรงตำหนิ เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ว่าเหตุใดหนอ จึงไม่จุติไปสอนธรรมแก่เวไนยสัตว์ จนถึงบัดนี้ ภัยในอนาคตกาลข้างหน้าไม่อาจหยุดยั้งได้แล้ว ท่านทรงอธิบายความเลวร้ายของมวลมนุษย์และทรงแสดงให้เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ ได้เห็นถึงความผิดบาปอันมากมายมหาศาล เกินกว่าที่จะทรงละเว้นหรือหย่อนโทษให้ได้ จากนั้นจึงได้แสดงถึงวาระกรรมอันเวไนยสัตว์เหล่านั้นจักได้รับ ถึงจุดนี้เอง เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ล้วนสำนึกความผิดบาปที่มัวหลงระเริงอยู่ในความสุขนั้น เนื่องเพราะดินแดนพุทธเกษตรสุขาวดีนี้ ไม่เหมือนสวรรค์ชั้นใดๆ กล่าวคือ ผู้จุติในชั้นนี้จักสามารถเลือกเกิดเองได้ ด้วยเหตุผลที่จะลงไปช่วยมนุษย์ แต่จักต้องทูลขออนุญาติต่อพระอมิตาภะก่อน เมื่อทรงประทานโองการให้ทำหน้าที่แล้วจึงได้จุติลงมา เช่นนี้ หากเหล่าชาวพุทธเกษตร ไม่ทันได้ทราบเรื่องราวบนโลกมนุษย์ ซึ่งปกติแล้ว พระอวโลกิเตศวรจะเป็นผู้เพ่งมอง และบอกข่าวแก่เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ทั้งมวล ก็จะไม่มีผู้ใดไปเข้าเฝ้าทูลขอจุติจากพระอมิตาภะ และพระองค์เองก็จักไม่กล่าวให้ผู้ใดจุติลงมา จำต้องเกิดจากความสมัครใจเองทั้งสิ้น

    เช่นนี้แล คือ สาเหตุที่มนุษย์ต้องพบเคราะห์ภัยพิบัติครั้งนี้เป็นเหตุหนึ่ง ภาพเบื้องหน้าที่องค์พระอมิตาภะทรงแสดงด้วยอิทธิฤทธิ์ ล้วนเต็มไปด้วยความตาย ของเหล่ามวลมนุษยชาติที่เข้าห้ำหั่นฆ่ากันเอง อย่างไร้ความเมตตาปราณี ไม่มีความรักความเมตตาใดๆ เหลืออยู่ในหัวใจมนุษย์อีกเลย

    เมื่อได้ฟังคำสอนแห่งองค์พระอมิตาภะอย่างชัดแจ้งไร้ซึ่งข้อกังขาใดๆ เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ต่างสำนึกความผิดมหันต์นี้ องค์พระกษิติครรภ์นั้นเล่า ก็หลั่งน้ำพระเนตรออกมาทั้งสองข้างไม่หยุดหย่อน ด้วยเพราะยังมิอาจเก็บอาการได้ด้วยเพราะยังเป็นหน่อเนื้อพระมหาโพธิสัตว์ที่ทรงพระเยาว์ เฉกเช่นเดียวกันกับพระศรีอาริยเมตไตรย์ ที่พยายามหลับตาและปิดหู ไม่อยากรู้เห็นภัยพิบัตินั้น แต่ด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งองค์พระอมิตาภะแม้นไม่อยากเห็นก็ต้องเห็น แม้นไม่อยากรู้ก็ต้องรู้ เมื่อทรงแสร้งหันหลังให้อย่างไร ภาพนั้นก็ปรากฏอยู่ไม่เลือนหายไปได้ พระอวโลกิเตศวรกวนอิมโพธิสัตว์ผู้กล้าหาญจึงทรงทรุดกายลงแทบพระบาทแห่งองค์พระอมิตาภะ ทูลขอลดหย่อนผ่อนโทษ แยกแยะมนุษย์ที่ก่อกรรมดีและชั่วไว้ต่างหาก ดังนี้ เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ท่านอื่นๆ จึงได้แต่ยืนสั่นเทากับผลที่มนุษย์จะได้รับ

    องค์พระอมิตาภะได้เห็นเหล่าพระมหาโพธิสัตว์ยังมีความรู้สึกสำนึกผิดบาปอยู่บ้าง จึงทรงตรัสให้โอกาสโดยรับสั่งว่า จะทรงพิพากษามนุษย์ผู้หลงผิดทั้งหลาย ที่เต็มไปด้วย โลภะ, โทสะ, โมหะ, ราคะ ทั้งหลายจะตายด้วยภัยหลายประการจาก ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ หากมนุษย์ผู้ใดกลับตัวกลับใจ มานับถือ “ศีลห้า” ได้เคร่งครัดก่อนวันที่จะทรงพิพากษา พระองค์จะทรงลดหย่อนโทษให้ได้บ้าง

    ครานั้น พระศรีอาริยเมตไตรย์จึงก้าวออกมาถวายตนเพื่อนำทัพปราบมารครั้งนี้ให้สิ้นซากให้จงได้ องค์พระกษิติครรภ์ ก็ทรงจะเสียสละให้ยิ่งกว่าจึงกล่าวทูลขอจุติไปจัดการเหล่ามารปูทางไว้ล่วงหน้า ก่อนพระศรีอาริยเมตไตรย์จะมานำทัพ ส่วนพระมัญชูศรีมหาโพธิสัตว์เห็นว่าทั้งสองยังไม่อาจเพียงพอด้วยความรู้ทางธรรมนั้นยังอ่อนอยู่ ท่านจึงทรงทูลขอจุติมาเพื่อช่วยอยู่เบื้องหลังเช่นกัน พระสมัตภัทรได้เห็นดังนั้นก็ทูลขอขึ้นบ้างว่าจะทรงจุติไปเพื่อรับงานหนักครั้งนี้ด้วยพระองค์เอง

    ดังนี้ พระอมิตาภะจึงทรงให้โองการแก่เหล่าพระมหาโพธิสัตว์ โดยมีพระอวโลกิเตศวรเป็นเจ้าของกิจจรรโลงพระศาสนาครั้งนี้ หากมีผิดพลาดอย่างใด พระอวโลกิเตศวรจะถูกลงทัณฑ์อย่างหนัก ว่าแล้วท่านก็ให้พระศรีอาริยเมตตไรย์จุติมานำทัพธรรมเพื่อสร้างยุคใหม่ ทรงให้พระกษิติครรภ์จุติลงมาปราบมารปูทางไว้ล่วงหน้า พระศรีอาริยเมตไตรย์เห็นดังนั้น ก็ทรงเป็นห่วงพระกษิติครรภ์ ที่มักถูกมารรุมล้อมจับขังอยู่หลายชาติไป มิทันได้เอื้อนเอ่ยความนัย พระอมิตาภะก็ทรงรู้ด้วยวาระจิต จึงได้ให้เหตุผลว่าพระศรีอาริยเมตไตรย์ใจร้อนกว่าพระกษิติครรภ์ หากจุติลงไปก่อนจะก่อสงครามฆ่าคนได้ด้วยเพราะบารมียังไม่เต็มที่นัก จึงได้ให้พระกษิติครรภ์ซึ่งรู้จุดอ่อนของพระศรีอาริยเมตไตรย์ดีลงไปปูทางก่อน ทว่าเหล่าพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายจักต้องรับโทษทัณฑ์ครั้งนี้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพระมหาโพธิสัตว์ทั้งสามพระองค์ คือ พระองค์ทรงลงโทษพระอวโลกิเตศวรกวนอิมที่จะถูกลงโทษทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ ในฐานะที่ทรงอาวุโสที่สุด ทรงลงโทษให้เป็นผู้ทำได้เพียงแต่เพ่งมองดูหายนะ จะไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้แม้มีพันกรพันเนตรก็ตาม จักไปเกิดแดนไกลและไร้อำนาจทางการเมือง

    ส่วนพระกษิติครรภ์จะร้องไห้ไม่ได้ เมื่อจุติไปแล้วแม้นต้องพบภาพที่น่าอนาจเพียงใด ก็ไม่อาจอยู่ในฐานะที่จักหลั่งน้ำตาให้ใครเห็นได้ ดั่งที่เผลอกระทำอยู่ต่อหน้านี้ โดยไปเกิดเป็นพระมหากษัตริย์ในดินแดนแห่งพุทธศาสนาที่เต็มไปด้วยปัญหาบ้านเมือง กร่อนกินทำลายชาติและศาสนาย่อยยับ ส่วนพระศรีอาริยเมตไตรย์ที่ไม่ยอมจะรับรู้อะไร ก็ต้องรับโทษจะได้ล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก่อน โดยไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยเหลือ จักต้องร้องไห้อยู่เพียงผู้เดียว เป็นคนจนไร้ชื่อเสียงไม่มีใครรู้จัก ทั้งสองจักต้องรับโทษทัณฑ์นี้ เพื่อจะได้จุติไปช่วยเหลือเวไนยสัตว์ พระองค์จึงจะทรงอนุญาติ จากนั้นก็ทรงตรัสถามว่าจะยอมรับโทษทัณฑ์นี้หรือไม่ ทันใดนั้น พระกษิติครรภ์ ก็ทรงทูลขอให้ลงโทษพระองค์เพิ่มแทน เพื่อลดทอนบาปกรรมของเวไนยสัตว์ โดยให้ดวงตาทั้งสองข้างของพระองค์มืดบอดลง โทษฐานที่ไม่มองดูความทุกข์ยากของคน และขอให้ถูกรุมจับทำร้ายเพราะด้วยไม่ยอมช่วยเหลือเวไนยสัตว์ ต้องรอนแรมออกเดินทางไปเพื่อช่วยสรรพสัตว์ เมื่อทรงเสด็จไปที่ใดก็ขอให้เขาเหล่านั้นจับไปทำร้ายเสียเถิด

    ฝ่ายพระศรีอาริยเมตไตรย์ได้ฟังดังนั้น ก็ทรงเห็นว่า พระกษิติครรภ์นี้หนอ ทรงเป็นนักการฑูตแห่งจักรวาลสามารถเจรจาผ่อนปรนได้ทั้งสามภพ ทั้งยังมีความเสียสละตนยอมทนทุกข์ทรมานแทนมนุษย์ได้ถึงเพียงนี้ จำพระองค์จะทรงทูลขอเพื่อลดทอนกรรมของมวลมนุษยชาตินี้บ้าง จึงได้กล่าวว่า

    “หากแม้นเคราะห์กรรมร้ายแรงใดๆ เกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์แล้วขอให้เคราะห์กรรมนั้นๆ เกิดแก่ข้าพเจ้าด้วยเฉกเช่นกัน ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้ลืมความทุกข์ยากนั้น จงได้รับดุจเดียวกับเคราะห์กรรมที่เหล่ามวลมนุษย์จักได้รับด้วยเทอญ”

    ครานั้นพระมหาโพธิสัตว์ที่เหลือก็ทรงทูลขอเช่นนั้นบ้าง เมื่อพระอมิตาภะได้ทรงเห็นความสำนึกผิดและความสามัคคีที่พร้อมเพรียงกันเช่นนี้ พระองค์จึงได้ทรงลดหย่อนโทษทัณฑ์ให้ แล้วจัดทัพตรัสให้รับโองการจากดินแดนสุขาวดีพุทธเกษตร เพื่อช่วยเหลือโลกมนุษย์พร้อมด้วยกองทัพธรรมอีกจำนวนมากที่พร้อมใจยินดีลงไปช่วยโลกมนุษย์ครานี้ ไม่ว่าจะเป็น หลวงปู่เทพโลกอุดร (ไท่ซ่างเหล่าจิง?), เทพเห้งเจีย, เทพสุกร, เทพซัวเจ๋ง, เทพโอสถ, ท่านจี้กง ฯลฯ แล้วสมทบเข้ากับชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ ที่ได้วาระในการจุติ และได้รับการทูลเชิญจากชาวสรรค์ชั้นอื่นๆ ซึ่งปกติหากเป็นชั้นดุสิตของเหล่าพระโพธิสัตว์จะได้รับการทูลเชิญโดยท้าวสักกราช และเหล่าเทวดาประชุมร่วมกันเลือกพระโพธิสัตว์ที่มีบุญบารมีเพียงพอและเหมาะสมไปจุติหนึ่งพระองค์ หรืออาจมากกว่าตามควร หากเป็นเทพชั้นอื่นๆ จะต้องจุติตามวาระเวลา (เมื่อหมดบุญบนสวรรค์ชั้นนั้นๆ หรือก่อกรรมต้องทัณฑ์สวรรค์ให้จุติก่อนกาลหมดอายุขัย) จากนั้นจึงได้วางแผนที่จะใช้ “มหาเวทย์ย้อนเวลา” ไปจุติตามกาลอันควรต่างๆ ที่ปูทางไว้ ได้แก่
    ดินแดนแถบเปอร์เซียจะมีมารนรกมากมายมาจุติ ให้พระศรีอาริยเมตไตรย์ไปจุติเป็นพระนบีมูฮัมหมัด เพื่อสอนกฏแห่งกรรมอย่างเข้มงวด และให้สังคมควบคุมกันเอง จำกัดกรอบให้นับถือเฉพาะเชื้อสายเดียวกัน โดยโองการจากพระเจ้าพระนามว่า “พระอัลเลาะห์” หรือก็คือ องค์พระอมิตาภะนั่นเอง ทั้งยังให้ทิ้งคำทำนายเรื่อง “กาเฟร” และ “เรือโนอาร์” ใครศรัทธาและยอมจำนนต่อพระเจ้าอย่างแท้จริงจะได้รับความรอด แต่หากยอมทำตามกาเฟร (มารนรก) ไปก่อสงครามศาสนา จะต้องตกนรกหมกไหม้

    ดินแดนแถบยักษ์ขาวจะมีมารสวรรค์ไปจุติ เพื่อสร้างแนวคิดวัตถุนิยมและปัจเจกนิยม มีแต่เพศสัมพันธ์และความรุนแรง ไร้ซึ่งความรักแท้ต่อกัน มีโองการให้พระศรีอาริยเมตไตรย์ไปจุติเป็นพระเยซูคริสตร์ และพระอวโลกิเตศวรกวนอิม จุติเป็นพระแม่มารีเพื่อสอนความรักความเมตตาแก่พระเยซูตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เพื่อบอกเรื่องราวของพระเจ้าโดยไม่ให้เอ่ยพระนามเพื่อไม่ให้สองศาสนากลืนกันเป็นหนึ่งเดียวก่อนเวลาอันควร แล้วสอนคนให้รักกัน พร้อมทั้งทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นใน “วันพิพากษา” ไว้ เพื่อเตือนให้มนุษย์เร่งทำความดี และคำทำนายที่พระองค์จะทรงกลับมาอีกครั้ง

    ดินแดนแถบประเทศจีน จะมีมารสวรรค์และมารนรก จุติลงไปทำลายพระพุทธศาสนามหายาน แล้วครอบงำด้วยระบอบคอมมิวนิสตร์ ห้ามคนนับถือศาสนา มีโองการให้พระอวโลกิเตศวรกวนอิมจุติเป็นพระธิดาเหมี่ยวซ่าน หรือเจ้าแม่กวนอิม เพื่อปราบมารตนหนึ่งให้ละฑิฐิ เปลี่ยนจากทำสงครามมาเป็นการสนับสนุนพระศาสนาให้แพร่ขยายในจีนแผ่นดินใหญ่ให้มากที่สุด และห้ามคนกินเนื้อกัน

    ดินแดนแถบประเทศจีน จะมีมารสวรรค์และมารนรก จุติลงไปทำลายพระพุทธศาสนามหายาน แล้วครอบงำด้วยระบอบคอมมิวนิสตร์ ห้ามคนนับถือศาสนา มีโองการให้พระกษิติครรภ์จุติเป็นพระถังซำจั๋ง โดยมีพระอวโลกิเตศวรกวนอิมจุติเป็นคนผู้หนึ่งคอยช่วยเหลือส่งสิ่งจำเป็นต่างๆ ในระหว่างการเดินทาง (ไม่สามารถสืบค้นพระนามตามประวัติศาสตร์ได้) พร้อมด้วยบริวารทั้งสาม คือ เทพวานร, ตือโป๊ยก่าย, ซัวเจ๋ง ซึ่งจะบำเพ็ญบารมีเต็มได้จุติในพุทธเกษตรสุขาวดีในชาตินั้นๆ ภายหลังอัญเชิญพระไตรปิฏกฉบับที่ถูกต้องจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย ก่อนที่มหาวิทยาลัยนี้ จะถูกเผาทำลายหมดโดยมารร้ายตนหนึ่งในอนาคตกาล ทั้งให้ปราบมารศาสนาที่มีอยู่มากมายในประเทศจีนยามนั้น

    ดินแดนแถบทิเบตเป็นดินแดนศักดิสิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง ที่จะสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้พ้นภัยมาร ทรงมีโองการให้พระมัญชูศรีจุติลงไปเป็นองค์ปฐมทะไลลามะ เพื่อรวบรวมเรียบเรียงพระธรรมที่ครบถ้วนไว้ และสอนแนวทางที่ถูกต้องแห่งพระพุทธศาสนา รอการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
    ดินแดนแถบสุวรรณภูมิอันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าสมณโคดม จะไร้ซึ่งผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ด้วยเพราะพระเทวทัตผู้สืบทอดราชบัลลังได้อาฆาตพระพุทธเจ้าสมณฌโคดม จึงได้สละราชบัลลังก์ตามไปบวช อีกทั้งพระราหุลราชกุมารก็ทรงผนวชหมด อาณาจักรจักอ่อนแอจนถึงกาลล่มสลาย ไม่มีผู้ใดสืบทอดระบอบการปกครองแบบพุทธะ เพื่อรองรับให้เหล่าพระโพธิสัตว์มาสะสมบุญบารมีตามหลักทศพิธราชธรรม จึงทรงมีโองการให้พระศรีอาริยเมตไตรย์ จุติเป็นพ่อขุมรามคำแหงมหาราช เพื่อวางรากฐานการปกครองและสนับสนุนจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เป็นรากฐานในถิ่นนี้ โดยรวบรวมชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนจีนร่นลงมาสร้างอาณาจักรใหม่คือ “สุโขทัย”

    ดินแดนแถบสุวรรณภูมิเป็นดินแดนศักดิสิทธิ์จะมีมารตนหนึ่ง จุติเป็นพราหมณ์มายึดครองเอกราชแล้วสถาปนาตนเองขึ้นครองราช เพื่อทำลายล้างพระพุทธศาสนา สอนคนให้เชื่อในลัทธิพราหมณ์เชื่อเรื่องพรหมณ์ลิขิต และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช จนลืมระบอบพุทธะอันมีหลักการปกครองคือ ทศพิธราชธรรม จึงทรงมีโองการให้พระอวโลกิเตศวรกวนอิมจุติมาเป็นสมเด็จพระสุริโยทัย สละชีพบนหลังช้างรักษาเอกราช และวางแผนให้พระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระสวามี ซึ่งได้จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งได้สะสมบุญบารมีในชาตินั้นๆ ได้เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีทศบารมี

    ดินแดนแถบสุวรรณภูมิเป็นดินแดนศักดิสิทธิ์จะมีมารตนหนึ่ง จุติเป็นพระมหาอุปราช จะมายึดครองแผ่นดิน เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบบอบพุทธะ อันมีทศพิธราชธรรมซึ่งรองรับการจุติมาสะสมบุญของเหล่าพระโพธิสัตว์ ให้กลายเป็นระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช อันมีพระมหากษัตริย์เป็นดั่งพระพรหมณ์ลิขิตชีวิตคนได้ตามอำเภอใจ ดั่งประเทศพม่า ทรงมีโองการให้พระศรีอาริยเมตไตรย์มานำทัพปราบมารจุติเป็นสมเด็จพระนเรศวร พร้อมด้วยพระอวโลกิเตศวรกวนอิม จุติเป็นพระสุพรรณกัลยา เพื่อสอนความเมตตาความรักและเสียสละเพื่อปณิธานอันยิ่งใหญ่ ด้วยเพราะพระศรีอาริยเมไตรย์บารมียังไม่เต็ม (ไม่เต็มระดับพระมหาโพธิสัตว์ แต่เต็มระดับพระพุทธเจ้าแล้ว)

    ดินแดนแถบสุวรรณภูมิเป็นดินแดนศักดิสิทธิ์พวกยักษ์มารจะมายึดครองเอกราช ทรงมีโองการให้พระกษิติครรภ์จุติเป็นสมเด็จพระปิยมหาราช เพื่อเจรจารักษาเอกราชของดินแดนนั้นไว้ โดยมีหลวงปู่เทพโลกอุดรจุติเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์โต คอยช่วยสอนธรรม เนื่องจากชาตินั้นปัญญาบารมียังอ่อนนั่นเอง ทั้งยังมีมารครอบงำทั้งภายในประเทศเมื่อทรงพระเยาว์ และภายนอกประเทศเมื่อทรงเจริญวัย

    ... เมื่อเหล่าพระมหาโพธิสัตว์รับโองการแล้วจึงได้จุติมา...
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    “เราจะครองแผ่นดินโดนธรรม”
    มหาปณิธานแห่งรัฐธรรมนูญ
    (ตอนที่หนึ่ง “ความหมายนัยยะแห่งปกครอง”)
    บทความโดย “ดวงใจแผ่นดิน”

    วัตถุประสงค์ของการเผยแพร่บทความ
    1. เพื่อความสามัคคีปรองดอง, สมานฉันท์สันติสุข ไม่เกิดการแตกแยก ไม่ก่อการประท้วงเพื่อเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองใดๆ เพราะเชื่อมั่นศรัทธาในพระมหาปณิธาน
    2. เพื่อความรู้ความเข้าใจใน “รัฐธรรมนูญ” ที่แท้จริง และการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพ และคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม ก่อให้เกิดปัญญาที่แท้จริง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
    3. เพื่อไม่ให้เกิดการ “ถูกหลอกใช้” หรือการ “สนทะพาย” ไปตายแทนใคร โดยไม่รู้ว่าผู้ยุยงก่อม็อบได้ประโยชน์ ส่วนผู้ไปร่วมชุมนุมม๊อบนั้นตายฟรีด้วยความโง่เขลาและเคืองแค้น

    เนื้อหาบทความ
    วันนี้เรามาลองคิดนอกกรอบกันแบบสบายๆ ดูนะครับ สมมุติว่าเราลองปล่อยวางเรื่องต่างๆ ลงดู อย่าไปสนใจระบอบการปกครองว่าจะเป็นอะไร อย่าไปวนใจว่าใครคือเจ้าของประเทศ และใครจะได้ตำแหน่งอะไร ลองค่อยๆ ดูอะไรที่ง่ายๆ จากใจที่ใสซื่อตรงไปตรงมา ไม่ไปเอาเนื้อหาสาระข่าวที่เขามักชอบยัดใส่ในความคิดของเราจนหนักอึ้งเต็มไปหมด เอาแบบที่เราเข้าใจจริงๆ กัน แล้วสักแต่ว่าฟังเฉยๆ ผ่านๆ ไปก่อน อย่าพึ่งไปยึดติดหรือจับผิดคำศัพท์ทีละตัว เอาให้เห็น “องค์รวม” ก่อน “รายละเอียด” พอเห็นภาพคร่าวๆ ของทั้งบทความ แล้วค่อยลงไปคิดอย่างลึกซึ้งทีละประเด็นดูนะครับ ดังต่อไปนี้

    “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” พระมหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ สั้นๆ แต่ได้ใจความ อย่างจริงใจใสซื่อ และเห็นผลจริงมาตลอดเวลา นับตั้งแต่ทรงให้ปณิธานในการ “ปกครอง” ประเทศ ในวันนั้น

    ก่อนที่เราจะเข้าไปถึงประโยคแห่งมหาปณิธานที่ผมได้ยกมานั้น อย่างแรกเรามาปูพื้นคำว่าการ “ปกครอง” และการ “บริหาร” กันก่อนนะครับ สองคำนี้มันคนละคำกัน และแน่นอนว่ามีความหมายต่างกัน เรามักแปลความหมายแต่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ผมจะขออธิบายอันอาจจะดูไม่ได้อ้างอิงตามพจนานุกรมสักเท่าไร เนื่องจากเป็นความหมายในเชิง “ปฏิบัติ” นะครับ

    “การปกครอง” ขอแยกรากศัพท์ภาษาไทยแสดงให้ดูความหมายแท้ๆ ของแก่นจากคำมูลของไทยก่อน กล่าวคือ คำว่า “ปก” และคำว่า “ครอง” หากใช้คำว่าครองอย่างเดียว ก็จะเรียกเป็นเจ้าของประเทศ เช่นนี้ “ปกครอง” จึงน่าจะเป็นเรื่องของผู้เป็นเจ้าของประเทศ ถามว่าผู้ใดครับ ก็ทุกคนนั่นแหละ เพราะทุกคนก็มีที่ดินและแต่ละผืนที่ประกอบขึ้นมาเป็นประเทศนี้ ในดูแลกันอย่างไรละครับ เพียงแต่เราต้องไม่ยึดว่าเราคือเจ้าของคนเดียว มิฉะนั้นจะเป็นการ “ยึดครอง” มิใช่ “ปกครอง” ดังนี้การปกครองจึงเป็นเรื่องของทุกคนในประเทศ หาใช่ว่าจะโยนให้ผู้ใดผู้หนึ่งที่มาครองตำแหน่งการปกครองประเทศไม่ ส่วนการปกครองโดยตำแหน่ง ก็จะมีบทบาทโดยตำแหน่ง และหน้าที่/ๅโดยตำแหน่ง อันจะอรรถาธิบายต่อไป ทั้งนี้ขอเริ่มต้นง่ายๆ จากคำว่าปกครองนี้ “ปก” มีความนัยอย่างไรบ้างก็แล้วกัน

    1. ปกป้อง
    มีความหมายคล้ายกับคำว่า “ป้องกัน” โดยป้องกันจะเป็นกริยา เป็นลักษณะของการคิดและการวางแผนเพื่อกันสิ่งไม่ดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ปกป้องมักจะเห็นการกระทำในทันทีทันใดมากกว่าอนาคต ดังนี้ “ปก” ในในที่นี้มีความหมายนัยยะแฝงถึงเรื่อง “ปัจจุบัน” คือ ประชาชนผู้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศต้องกระทำการในปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแก่ประเทศ มิได้อยู่ในฐานะที่จะวางแผนป้องกันในอนาคต ซึ่งการวางแผนป้องกันนี้เป็นบทบาทตามหน้าที่ของผู้ปกครองโดยตำแหน่งต่างหาก นี่คือ การปกป้องประเทศ

    2. ปกปักษ์
    มักพูดร่วมกันว่า “ปกปักษ์รักษา” โดยปักษ์นี้มาจากคำว่า “ปักษี” หมายถึงนกก็ได้ หรือปักษ์ จากคำว่ารายปักษ์ อันมีความหมายถึงรอบระยะเวลาที่หมุนเวียนมาระยะหนึ่ง หากมองถึงอารมณ์ของผู้คิดคำนี้ อุปมาเสมือนนกที่ป้องปีกคลุมรังไม่ให้ไข่และลูกอ่อนของตนได้รับอันตรายนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ปกปักษ์” คือ อาการกริยา ที่ยอมให้ปีกของตนถูกทำร้ายแทนโดยไม่ยอมให้สิ่งใดๆ รอบทิศมาทำลายสิ่งที่ตนรักและหวงแหนได้ ดังนี้ คำว่า “ปกปักษ์” ในการปกครองประเทศร่วมกันของประชาชน คือ การเสียสละส่วนตน ด้วยเพราะรักประเทศเสมือนหวงไข่อันบอบบางของตน มองประเทศนั้นเป็นสิ่งบอบบาง จะได้รับความกระทบกระเทือนมิได้ ประหนึ่งไข่ในรัง มิใช่สิ่งที่จะนำไปโยนขวางหรือเอามาลงทุน เอามาอยู่ภายใต้ความเสี่ยง หรือไปยื่นต่อรองกับผู้ใด พึงกระทำต่อประเทศชาติประหนึ่งแม่ไก่ปกปักษ์รักษาไข่อันบอบบางด้วยปีกอันอ่อนนุ่มและอบอุ่นของตนฉะนั้น

    3. ปกคลุม
    คำว่า “ปก” ในความหมายนี้ ไปเสริมคำว่า “คลุม” อันมีความหมายเกี่ยวข้องกับ “ครอบคลุม” อันแสดงถึงคุณศัพท์ที่อธิบายบางสิ่งที่มีกริยาอาการอันส่งผลไปทั่ว แต่ปกจะให้ความหมายที่ดี หรือมองอีกนัยยะหนึ่งคือ การปกไปทั่วและครอบคลุม ก็จะเห็นความนัยที่ซ่อนอยู่ในศัพท์โดยย่อนี้ง่ายขึ้น อธิบายง่ายๆ คือ การปกครองโดยประชาชนนี้ เป็นการดูแลไปทั่วและครอบคลุมทุกจุด ทุกมุมมอง มิใช่ดูแต่เรื่องการเงิน ดูแต่หุ้นตลอดสี่ปีที่มีอำนาจก็หาไม่ แต่ต้องดูทั้งเรื่อง มนุษยชน, สังคม, วัฒนธรรม, การศึกษา ฯลฯ การให้กองทุนหมู่บ้าน โดยไม่วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เงินของประชาชนก่อน เพื่อสนอง “ประชานิยม” อันมีรากฐานความเชื่อจาก “บริโภคนิยม” ทำให้ประชาชนขาดความรู้ นำเงินไปสร้างหนี้ได้ นี่เรียกว่าไม่รู้ความนัยยะของคำว่า “ปก” ในความหมายของ “ปกคลุม” คือ ดูแลไม่ทั่ว มองไม่ครบทุกมุม เรียกว่าเป็ฯคนไทยแต่ไม่รู้แม้นกระทั่งภาษาไทยนั่นเอง

    4. ปกหนังสือ
    ปกปรากฏพร้อมกับคำว่าปกหนังสือ ย่อมต้องมี “นัยยะ” อันใดแฝงในความหมายอันเป็น “วิมุติธรรม” ของศัพท์ตัวนี้ ที่จะช่วยให้เรานำไปใช้ในการ “ปกครองประเทศ” ได้บ้าง ปกหนังสือมีทั้ง “ปกหน้า” มี “ปกหลัง” และ “ปกใน” แต่ละปกยึดไว้ด้วย “แกน” และแต่ละหน้าร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างกลมกลืนมีหมวดหมู่มีระบบระเบียบ จึงเรียกสิ่งที่ประกอบกันแต่ละแผ่นเป็นหนังสือว่า “ปก” ดังนี้ ความหมายแฝงของการปกครองประเทศหากจะมองประเทศดั่งหนึ่งหนังสือหนึ่งเล่ม ประชาชนคือองค์ประกอบแต่ละแผ่นที่รวมกันเข้าด้วย “แกน” คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเดียวกัน คือ “ศาสนา” เป็นต้น ประเทศที่ไม่มีแกนยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชนแต่ละแผ่นก็กระจัดกระจาย เป็นของใครของมัน หากแกนเป็นไปในทางไม่ดี เช่น ผลประโยชน์ร่วมกัน แกนนั้นก็จะรวมเฉพาะผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วม ผู้ไม่มีผลประโยชน์ ไม่มีทุนร่วมก็ถูกทอดทิ้ง เป็นคนจรจัดที่อาศัยในซอกหลืบช่องว่างระหว่างตึกใหญ่ระฟ้า ดังประเทศที่โฆษณาตนว่า “ซิวิไลซ์” แต่ไม่จริงไป

    5. ปกติ
    มาจากคำว่า “ปก” และ “กติ” จากคำว่า “กติกา” อันหมายรวมขยายความนัยยะได้เป็นกติกา ที่ใช้ปกครองประเทศนั่นแล ดังนี้ “ปกติ” จึงเป็นลักษณะธรรมดาธรรมชาติที่เข้าใจร่วมกัน เป็นกฏร่วมกันของทุกคน หรือ “กฏแห่งกรรม” อันเป็นลักษณะธรรมดา ที่ทุกคนในประเทศ จะต้องอยู่ภายใต้ “กติกา” นี้ ด้วยกติกานี้ “ปก” อยู่ จึงเรียกได้ว่า “ปกติ” หรือ ใช้ “กฏแห่งกรรมเป็นกติกาปกครองประเทศ” นี่คือ ความหมายในเชิงการปกครองของคำว่า “ปกติ” ดังนี้ ประชาชนผู้เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองประเทศ จึงพึงต้องระลึกถึงกติกาในการใช้ชีวิตร่วมกันว่า ทุกคนย่อมอยู่ภายใต้ “กฏแห่งกรรม” ประเทศจึงดำเนินไปด้วยดี

    ดังนี้ จะเห็นได้ว่า “ปก” มีความหมายลึกซึ้งพิสดารและพลิกแพลงมากมาย มิต้องไปอ่านจำท่องตำราของฝรั่งมังค่าชาติไหนมาปกครองประเทศ เราสามารถใช้ “สูตรลับ” ที่แฝงมาแต่โบราณในอักษรของไทยเรานี้ปกครองประเทศได้ไม่ยากเย็น จักกล่าวว่าภาษาไทยแท้เป็นคำตาย คำมูลก็หาได้ไม่ เพราะสามารถเชื่อมสมาธิสนธิ โยงกันได้ด้วยเหตุนี้ ไม่ต่างจากภาษาบาลีสันสกฤติ หรือภาษาอังกฤษที่เชื่อมโยงกันได้เลย หากแต่ว่าเราลืมรากภาษาแท้ของเรา คือ “มคธ” อันเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าสมณโคดมที่แท้ ก่อนจะทรงหนีจากประเทศไปต่างประเทศ แล้วทรงร่ำเรียนวิชากับพราหมณ์ซึ่งใช้ภาษาบาลีสันสกฤติ อันส่งผลต่อเนื่องไปถึงคำศัพท์เทศนาต่างๆ ที่คนคิดเอาว่าเป็นของอินเดียไปในที่สุด

    คราวนี้มาดูคำว่า “ครอง” บ้าง (มาถึงตอนนี้บางท่านอาจเหนื่อยก่อนว่าทำไม ภาษาไทยที่ว่าง่ายๆ เรียบๆ พื้นๆ แค่คำเดียว มันพิสดารล้ำลึกขนาดนี้ หรือว่าผู้เขียนมั่วไปเอง อย่าเพิ่งเหนื่อยครับ ถ้าคิดตามต่อย่อมได้ความคิดที่ลึกซึ้งในที่สุด) ความหมายของคำว่าครองนั้นไม่มีในตัวเองโดดๆ เหมือนคำมูลทุกคำของไทย มันหานัยยะที่อธิบายมิได้ ด้วยเพราะเป็นความหมายเชิง “วิมุติธรรม” ทั้งสิ้น ต้องร่วมกับบริบท จึงจะให้ความเข้าใจตามบริบทต่างๆ จึงจะเห็นวิมุติธรรม ในศัพท์คำนั้นๆ ว่ามีความหมายโดยแก่นแท้อย่างไร เมื่อรู้แล้วก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งการสื่อสารและการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

    1. คุ้มครอง
    มีความหมายที่ต้อง “เข้าไปกระทำ” มิใช่ดูอยู่เฉยๆ ดังนี้ ประชาชนมีส่วนร่วมปกครองประเทศโดยการยื่นมือเข้าไปกระทำ เสมือนผู้ให้การคุ้มครองประเทศนั่นเอง จะเมินเฉยไม่เหลียวแล ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้นำประเทศแต่ผู้เดียวก็หาได้ไม่ ด้วยเพราะปกปักษ์เฉยๆ แค่ยื่นปีกสองข้างมา “กัน” ไว้ แต่ “คุ้มครอง” นี่ต้องออกลีลาท่าทาง เข้าไปยุ่งวุ่นวายด้วยมากกว่า ดังนี้ เมื่อคราวมีภยันตรายต่อประเทศ เช่น ข้าศึกบุกมา ประชาชนคนไทย จึงไม่เพียงแต่ยื่นปีกป้อง แต่ต้องโดดลงไปร่วมทัพจับศึกป้องป้องประเทศอีกด้วย ทว่าการแก้ปัญหาด้วยสงครามนั้นมิใช่ทางออกที่ดีเลย การคุ้มครองจึงต้องมาที่หลัง “ปกปักษ์” คำว่า “ปกครอง” จึงให้ “ปก” ขึ้นมาก่อน “ครอง” พูดง่ายๆ “ปกปักษ์ปกป้องก่อนคุ้มครอง”

    2. คู่ครอง
    คู่ครอง คือ คนรักที่เราตัดสินใจจะครองคู่อยู่กินร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยตลอดชีวิตจะหาไม่ ประเทศชาติก็เฉกเช่นเดียวกันกับคู่ครอง เพราะหากเราไม่ซื่อสัตย์ต่อประเทศ ปันใจไปรับใช้ประเทศอื่นเสีย ก็เท่ากับมีชู้ ไม่ได้รักคู่ครองของเราอย่างแท้จริง ประชาชนจึงต้องปกครองประเทศด้วย “ความรัก” ความซื่อสัตย์ เสมือนแต่งงานอยู่กินกับประเทศนี้แล้วทั้งชีวิตจะหาไม่ ยอมตายแทนคู่ครองคู่รักได้ อย่างนี้นี่เอง บุคคลใดทรยศต่อชาติ ไม่รักชาติ แบ่งปันใจเป็นอื่น จึงไม่อาจเรียกได้ว่า “ปกครอง” ประเทศอย่างสมบูรณ์แบบ

    3. คร + อง
    คร มาจากคำว่า “ครุ” อันหมายถึงหนัก หมายถึง “ครู” ก็ได้ มาจากคำว่า “ครหา” ก็ได้ ดังนี้จะเห็นได้ว่า “คร” นี้ น่าจะมีวิมุติธรรม หรือแก่นแท้ของความหมายอันลึกซึ้งว่า “การปลูกฝังความเชื่อ” หากไปบวกกับ “หา” อันจะนำไปสู่ “หายนะ” ก็คือ “ครหา” คือ การปลูกฝังความเชื่ออันนำไปสู่หายนะ ส่วน “คร” ในคำว่า “ครอง” หากจะมาจาก “คร กับ องค์” ซึ่ง คำว่าองค์ นี้ หากจะมาจาก อง + ค์ น่าจะหมายถึงสิ่งอันตัวตนหรือวัตถุที่จับต้องได้ เช่น องค์พระ, องคชาติ (ตัวตนอันจับต้องได้แล้วเกิดชาติภพ หรือ ตัวเหตุอันก่อชีวิตใหม่ หรืออะไรเล็กๆ ดูแปลกแต่พอเผลอไปจับแล้วกลับให้เกิดลูก - คำแปลสำหรับอธิบายเด็กผู้หญิงแรกรุ่น) องคุลี ในความหมายว่าเล็กๆ กระจิ๊ดริด เหมือนนิ้วก้อยองคุลีหนึ่ง คือ อะไรที่เล็กๆ ก้อนหรือสิ่งอันเล็กๆ เป็นองค์ เป็นเหตุ ดังนี้ ความหมายของ “ครอง” น่าจะหมายถึง จุดเริ่มอันเป็นรูปธรรมเล็กๆ ด้วยการปลูกฝังความเชื่อเป็นเหตุ หรือพูดง่ายๆ ในความหมายนัยยะนี้ ก็คือ วัฒนธรรมนั่นเอง เนื่องเพราะสามารถทำให้เป็นรูปธรรมได้ คือ เรื่องราวและการสื่อสารต่างๆ อันเป็นเหตุในการขับเคลื่อนสังคม คำว่า “ครอง” นี้จึงต้องพิจารณารากฐานที่ว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้จากการปลูกฝังค่านิยมความเชื่อและวัฒนธรรม เป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ มิใช่ “เศรษฐกิจ” ดังนี้ ผู้ปกครองที่ไม่รู้ภาษา จึงหันไปวุ่นวายกับการพะวงว่าหุ้นจะตก เปลี่ยนแปลงทุกอย่างในประเทศให้ตลาดหุ้นดูดี เพราะมีเอี่ยวในผลประโยชน์ ละเลยหลงลืม การมองจุดเริ่มต้นเล็กๆ อันเป็นรากฐานของการปกครองประเทศนี้ คือ การใช้ภาษาสื่อสารก่อวัฒนธรรมขับเคลื่อนกลไกลสังคมนี่เอง เช่นนี้ ตามืดบอด เป็นผู้ปกครองที่มองไม่เห็นองค์แห่งชาติ ไม่อาจให้กำเนิดสิ่งดีงามแก่ประเทศชาติได้ ด้วยขาดความเป็นบุรุษชาติอาชานัย สงสัยว่าองคชาติมันไม่มีนั่นเอง
    นี่คือความหมายแก่นแท้ข้างใน เมื่อใช้บริบทเทียบเคียงคำว่า “ครอง” ที่เราจะใช้ในความหมาย “ปกครอง” ส่วน “มาบุญครอง” นั้นเป็นชื่อห้าง สมาธิกันระหว่าง “ตามา” และ “ยายบุญครอง” ซึ่งก็ทำมาค้าขายขึ้นเพราะเข้าใจความหมายของ “มาบุญครอง” เรียกให้คนมา ด้วยใช้บุญปกครอง คนจึงนิยมมาด้วยเหตุนี้ ซึ่งเราสามารถใช้ความสำเร็จของ “มาบุญครอง” มาปกครองประเทศแบบนั้นก็ได้ เพราะเราไม่ได้ยึดติดคำว่าการปกครองต้องตายตัว เพราะได้บอกแล้วว่ารากฐานภาษามคธของเรานี้ มันไม่ตายตัวและพลิกแพลงไปได้เรื่อยๆ ตามธรรมชาติ และบริบทที่เปลี่ยนไป ดังนี้เราใช้ “บุญมาปกครอง” ประเทศให้เจริญรุ่งเรืองแบบ “ห้างมาบุญครอง” ก็ได้ จะเห็นได้ว่า ภาษาไทยนี้คำมูลที่แท้มาจากไหน รากฐานและแก่นแท้ของภาษาเราคืออะไร แท้แล้วคือ “วิมุติธรรม” อันลึกซึ้งแต่เรียบง่ายไม่ตายตัว พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปได้ตามบริบทใช่หรือไม่? สามารถดึงเอาภาษาบาลีสันสกฤติมารวมด้วยก็ได้ ในอนาคตจะนำภาษาอังกฤษมาผสมด้วยก็ได้ ภาษามคธอันเป็นรากฐานภาษาไทยจึงเป็น “วิมุติธรรม” ด้วยเหตุนี้ และภาษาไทยนี้จึงจะกลายเป็น “ภาษาสากล” เพราะด้วยเหตุว่าไม่ตายตัวและยืดหยุ่นเปิดรับผสมผสานทุกชาติทุกภาษาเป็้นภาษาเดียวกันได้ เป็นภาษาของพระพุทธเจ้า เป็นภาษาแท้ของพระพุทธศาสนา และเป็นภาษาที่คนไทยเข้าใจ ฝรั่งรู้เรื่อง คนลาวรู้มานานนม ใครต่อใครได้เรียนไม่นานก็เข้าใจ เพราะเป็นภาษาธรรม จากวิมุติธรรม จากธรรมชาตินี่เอง สามารถเรียนรู้จากง่ายๆ ในระยะเวลาอันสั้น ไปจนถึงล้ำลึกพิสดารเป็นสูตรลับวิชาต่างๆ ไปจนกระทั่งถึงแก่นแท้วิมุติธรรมจากศัพท์ภาษาไทยธรรมดานี้ได้เลยเทียว รู้สึกจะพูดให้ดูยากไปหน่อย ขอสรุปความหมายของคำว่าปกครองแบบอ้อมๆ ก่อนจะขอต่อด้วยคำว่า “บริหาร” ต่อก็แล้วกัน เนื่องเพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าภาษาไทยไม่มีนัยยะในเชิงตัวตนหรืออัตตาในตัวของมันเอง ต้องอาศัยการพิจารณาอ้างอิงบรบทของคำที่มันเข้าไปร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

    สรุปคำว่า “ปกครอง” ไม่ใช่การ “บริหาร” เสียทีเดียว แต่หมายรวมครอบคลุมกว้างกว่านั้น เป็นกระบวนการแรกที่นำทางการบริหารต่างหาก ทั้งนี้ปกครองยังมีความหมายตั้งแต่ระดับล่างถึงบนเนื่องเพราะเป็นคำสากลนี่เอง จึงไม่จำกัดว่าต้องเป็นใครที่จะปกครองประเทศ ทุกคนจึงสามารถปกครองประเทศได้ ด้วยการกระทำภายใต้กฏแห่งกรรมเป็นกติการ่วมกัน โดยพิจารณาให้ครอบคลุมรอบคอบถึงผลกระทบทุกด้านทุกแง่มุมก่อนจะกระทำ โดยให้พิจารณาการกระทำให้เกิดขึ้นใน “ปัจจุบัน” ตามแนวทางการวางแผนตามอนาคตของผู้ปกครองโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ประชาชนทุกคนต้องหวงแหนและรักและทนุถนอมชาติบ้านเมืองประดุจแม่นกปกปีกป้องรังป้องกันไข่ตนเอง โดยยึดเหนี่ยวสิ่งเดียวกันไว้เป็นปึกแผ่น หากมีศาสนาที่แตกต่างกันก็ต้องพึงยึดองค์พระมหากษัตริย์เป็นใจหนึ่งใจเดียวกัน ดังหนึ่งหนังสือที่มีแกนรวมกระดาษทุกปกทุกหน้าให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แตกแยกกระจัดกระจาย แล้วใช้วัฒนธรรมสื่อสารสร้างสิ่งดีงามขับเคลื่อนนำทางประเทศ ส่วนคำว่า “บริหาร” จะกล่าวในโอกาสต่อไป
    “เราจะครองแผ่นดินโดนธรรม”
    มหาปณิธานแห่งรัฐธรรมนูญ
    (ตอนที่หนึ่ง “ความหมายนัยยะแห่งบริหาร”)
    บทความโดย “ดวงใจแผ่นดิน”

    วัตถุประสงค์ของการเผยแพร่บทความ
    4. เพื่อความสามัคคีปรองดอง, สมานฉันท์สันติสุข ไม่เกิดการแตกแยก ไม่ก่อการประท้วงเพื่อเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองใดๆ เพราะเชื่อมั่นศรัทธาในพระมหาปณิธาน
    5. เพื่อความรู้ความเข้าใจใน “รัฐธรรมนูญ” ที่แท้จริง และการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพ และคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม ก่อให้เกิดปัญญาที่แท้จริง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
    6. เพื่อไม่ให้เกิดการ “ถูกหลอกใช้” หรือการ “สนทะพาย” ไปตายแทนใคร โดยไม่รู้ว่าผู้ยุยงก่อม็อบได้ประโยชน์ ส่วนผู้ไปร่วมชุมนุมม๊อบนั้นตายฟรีด้วยความโง่เขลาและเคืองแค้น

    เนื้อหาบทความ
    ข้าพเจ้าและท่านได้ออกนอกกรอบห้องเรียนไปเมื่อคราวที่แล้ว แล้วค้นหา “ขุนทรัพย์” แห่ง “พระมหากัสสปะ” อันเป็น “สูตรลับ” ในการปกครองและพัฒนาประเทศกันมาแล้วคำรบหนึ่ง หวังว่าผู้อ่านคงได้รับความสนุกสนานอย่างเป็ฯธรรมชาติ และมองอะไรรอบตัวที่พื้นๆ ได้ลึกซึ้ง และละเอียดขึ้น อันเป็ฯนิสัยแท้ของคนไทยเรา ที่เป็ฯหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรเหนือผู้ใดในโลก ทั้งทางด้านความสงบสุข และภูมิปัญญา หาใช่การแข่งขันด้วยวัตถุหรือก็หาไม่ อย่ากระนั้นเลย หลายท่านคงอยากค้นหาความพิสดารของคำว่า “บริหาร” ที่ค้างไว้จากคราวที่แล้ว ข้าพเจ้าก็เริ่มดังนี้

    คำว่า “การบริหาร” ความหมายโดยนัยคืออะไร เมื่อขยายความธรรมนี้โดยพิสดารแล้วเราจะได้อะไรบ้าง ที่ไม่เพียงแค่ “หลักการ” แต่เป็น “สัจธรรม” เราลองมาค้นหาว่ารากฐานจากภาษามคธแห่งพระพุทธเจ้าของพวกเรา ได้ซ่อนความนัยแล้วปรากฏอยู่ในคำใดที่เคยใช้ในการบริหารประเทศกันบ้าง

    1. บร และ บรม
    “บร” ในคำว่า “บรม” หมายถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เรียกได้ว่าผู้บริหาร ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจที่ยิ่งใหญ่ มีปณิธานที่ยิ่งใหญ่เพื่อมวลชน คำว่า “บรม” นี้ มักใช้กับผู้ที่พิเศษจริงๆ เช่น องค์พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้าสมณโคดม ผู้ทรงตรัสรู้ความจริงแท้แน่นอน แล้วโปรดสั่งสอนเวไนยสัตว์ จะไม่ใช้คำว่า “บรม” กับคนรวย หรือคนมีอำนาจบาตรใหญ่ ในช่วงที่ประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง แต่พบว่ามีการใช้คำว่า “บรม” นรี้ในยามที่ประเทศกำลังล่มสลายด้วย เช่น “บรมซวย”, “บรมโง่”, “บรมรวย” คำเหล่านี้ ถูกใช้ตามบริบทแห่งสังคม ซึ่งสะท้อนถึงสังคามที่ตกต่ำเสื่อมทรามลง เพราะการมองผู้บริหาร ที่บรมรวย และบรมอำนาจ แทนที่จะมอง “บรมครู” ดังในอดีตที่ประเทศเจริญรุ่งเรือง ซึ่ง บร ตามด้วย ม ซึ่ง ม เมื่อตามด้วย หา ก็จะกลายเป็น “มหา” คือ ผู้ยิ่งใหญ่อีกเช่นกัน ดังนี้จะแปลคำว่า “บรม” คือ ผู้ยิ่งใหญ่เหนือผู้ยิ่งใหญ่ทั้งมวล ก็ได้ คือ “บรมหา” ดังนี้ การบริหาร จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาแนวทางของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ผู้ยิ่งใหญ่เหนือผู้ยิ่งใหญ่เป็นแนวทางสำคัญ

    2. บร และ บริ
    คำว่า “บริ” หมายถึงรอบๆ เช่น “บริเวณ” หมายถึงขอบเขตสถานที่รอบๆ ที่จำกัดเขตเรียบร้อย หรือเป็ฯที่รู้กันว่ามีขอบเขตถึงไหนบ้าง เป็นต้น คำว่า “บริ” นี้ก็สอดคล้องกับคำว่า “Peri” ซึ่งเป็นรากศัพท์ชีวิวิทยา หมายถึง “รอบๆ” เช่นกัน เป็นอันว่าสอดคล้องกัน ดังนี้ คำว่า “บริหาร” จึงต้องเป็นอะไรสักอย่างที่จะ “หาร” รอบๆ คือ ไม่หารเฉพาะแก่ตน แก่พรรคพวกตน จะต้องหารโดยรอบ ให้ครอลคลุมทั่วถึงเท่าเทียมมกันหมด อย่างยุติธรรมไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เป็นการกระจายรายได้ ก็ต้องกระจายอย่างเท่าเทียม เป็นการกระจายข้อมูลความรู้ ก็ต้องให้คนรู้และมีปัญญาเท่าเทียม คนรู้มากจะอาศัยความรู้นั้นเอาเปรียบคนรู้น้อย อย่างนั้นไม่เรียก “บริหาร” และหากจะ “หาร” คำณวนแยกแยะวิเคราะห์ปัญหาของประเทศ ก็จำต้องวิเคราะห์แยกแยะโดยรอบ จะมองยึดติดแต่แง่มุมเดียวก็หาใช่ “บริหาร” ไม่ ดังนี้ มัวไปจมปลักแต่กลัวว่าการลงทุนจะลดลงจนลืมดูไปว่าคนเกือบทั้งประเทศเป็นชาวนา ไม่ใช่นักลงทุน แบบนี้ก็ไม่ใช่บริหาร เพราะไม่แม้นจะลงมาเดินดูผืนนาเลยสักครั้ง

    3. บร และ บุรี
    บร ในคำว่า “บุรี” อันใช้สื่อความหมายว่า “เมือง” จึงจะเห็นได้ว่า “ผู้บริหาร” หากไม่มองรอบตัวถึงความเป็นไปของเมืองแล้วย่อมไม่เรียกว่า “ผู้บริหาร” ต้องมอง “บุรี” คือ กฏหมายบ้านเมือง, ความเป็นไปของคนในเมือง, ความเจริญจากสังคมมาเป็นเมือง ฯลฯ ผู้บริหารที่เห็นแก่ตัวมองแต่วันนี้ต้องทำยอดขาย หรือทำให้ผู้ถือหุ้นเชื่อใจด้วยการดึงตัว เลขบางตัว ไม่เรียกว่าผู้บริหาร เพราะไม่ได้มองความเป็นไปของ “บุรี” เลยว่าตอนนี้คนในบุรีคิดอย่างไร เป็นไปอย่างไร สุขสบายดีหรือไม่? จึงไม่เรียกว่าผู้บริหารที่แท้จริง เช่นนี้ก็บริหารอะไรก็ไม่ได้สักอย่างแม้นกระทั่งตัวเอง ยังไม่รู้จะไปผุดไปเกิดที่ไหน ทำงานเอาเงินไปวันๆ ก้มหน้าดำคร่ำเครียด เงยหน้ามาอีกทีเห็นโลงศพ ก็ร้องห่มร้องไห้ว่าถึงเวลาที่เราจะต้องจากกองเงินเท่าภูเขาของเราแล้วหรือไร? ทั้งๆ ยังห่วงอยู่ว่าสมบัติมหาศาลใช้ไม่หมดนี้ ลูกจะพลาญหรือใช้ไปตามใจและอัตตาของเราที่เราอยากให้เขาเป็นหรือไม่ แบบนี้นี้ว่ารวยความโง่ ไม่ใช่ผู้บริหาร อาศัยกินบุญเก่า ฟลุ๊คลูกแรกแล้วลืมตัว เลยโง่ไปชั่วชีวิต

    4. หาร และ อาหาร
    เรามักใช้คำว่า “อ” หมายถึง “ไม่” และหารหมายถึงแยกออกด้วยเท่าๆ กัน ดังนี้ อาหารจึงเป็นอะไรที่ไม่ได้ “ยังไม่ได้แยกออกให้เท่าๆ กัน” (อาหาร) ดังนี้ ผู้บริหาร จึงต้อง ทำให้สิ่งที่ยังไม่ได้แยกออกให้เท่าๆ กันนี้ ออกไปรอบๆ (บริ) อย่างยิ่งใหญ่ (บรม) หมายถึง การกระจายทรัพยากรให้เท่าเทียมกันทั่วทุกบริเวณ ด้วยปณิธานอันยิ่งใหญ่จะให้คนมีความเท่าเทียมกันเป็นต้น นี่คือ ความหมายของคำว่า “หาร” ใน “อาหาร” และ “บริหาร” ดังนี้ บุคคลผู้ยึดถือ ยึดยื้อ ยึดอาหารเอาไว้เป็นของตัวเอง จะเรียกว่าผู้บริหารไม่ได้ เพราะขาดการกระจายโดยรอบ (บริ) ให้เท่าเทียมกัน ด้วยปณิธานยิ่งใหญ่ (บรม)

    5. หาร และ ประหาร
    “ประ” นั้น หากใช้ในเส้น คำว่า “ประ” คือ เส้นที่ขาดจากกัน ดังนี้ ประหาร น่าจะหมายถึง การกระจายออกให้ขาดจากกัน ซึ่งผู้ที่ยึดติดในกาย และตัวตนก็เข้าใจผิดคิดว่า “ประหาร” นี้ จักต้องทำให้ร่างกายแยกขาดจากกัน จึงได้นำไปบั่นคอ ฆ่าเสีย แท้แล้วองค์บรมครูแห่งเรา มิได้สอนไว้ให้ยึดติดในกายเช่นนั้น การ “ประหาร” คือ บทลงโทษสูงสุดในการบริหารประเทศ จึงกระทำโดยแยกให้เด็ดขาดออกจากกัน เช่น การจำกัดเขตที่อยู่ให้ออกจากคนในสังคม หรือก็คือ การขังคุก แต่ทว่าการขังคุก ก็มิใช่การประหาร เนื่องเพราะจิตใจของผู้ถูกขังคุก ยังไม่ได้แยกออกจากสังคม เพราะใจยังอยากอยู่ร่วมในสังคม การประหาร คือ การสร้างกรอบขอบเขต ให้เขาอยู่ได้ด้วยเต็มใจ กายและใจ ของเขาจะถูกตัดขาดออกดังเส้น “ประ” ที่มีเว้นวรรค ช่องว่าง ไม่สามารถเข้ามาร่วมสังคมเดิมได้อีก เช่น การสร้างเมืองรอรับคนเลว เมื่อเขาทำเลวไปอยู่รวมกันเสีย เขาก็พึงใจกันเอง เพราะนิยมคนเลวด้วยกันแบบนั้น คนดีก็อยู่กับคนดี เป็นต้น สุดท้ายคนเลวตั้งกฏหมู่ทำร้ายกันเอง ข่มเหงกันเอง แต่คนดีเอาแต่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน นี่คือ โทษสูงสุดที่คนเลวได้รับ หากยังไม่สูงสุด ก็ยังไม่แยกเด็ดขาด คือ ยังไม่ถูกส่งเข้าเมืองคนเลว ยังสามารถดัดนิสัยในเรือนจำได้ ถึงวาระที่กรรมหมด ก็กลับมาเริ่มต้นใหม่กับคนดีในสังคมที่ดี ถ้าไม่สำนึกก็เข้าเมืองคนเลวถาวร ไม่สามารถกลับเข้ามาอยู่ร่วมกับคนดีได้อีก เรียกว่า “ประหาร” นั่นเอง

    6. หาร และ การคำณวน
    หาร ในความหมายนี้ คือ การวิเคราะห์แยกแยะในทุกสิ่ง เนื่องเพราะพระบรมครูผู้สร้างภาษาของเรา มิได้ยึดติดในสิ่งใด ผู้บริหาร จึงต้องแยกแยะทั้งหมดโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นการแยกแยะคนประเภทต่างๆ ให้ถูกต้อง โดยไม่ยึดว่าเป็นผู้ใด เป็นครอบครัวเราหรือไม่ ไม่ยึดอำนาจไว้เพื่อถ่ายทอดแก่ลูกเพียงเพราะยึดว่าเขาเป็นลูกของเรา ดังนี้ นักบริหารต้องเป็นนักวิเคราะห์โดยรอบ แยกแยะได้หมดทุกอย่าง ข่าวสารข้อมูล ปัญหาสังคมอยู่ที่ใดกันแน่ หรือเอาปัญหาส่วนตัวมาแก้บนโต๊ะประชุมระดับชาติ เช่น กังวลหุ้นตก ซึ่งตนมีหุ้นอยู่ มัวแต่แก้ตรงนั้น หรือจะมาวิเคราะห์โดยรอบว่า รอบๆ นี้ ชาวนามีอยู่มาก ทำอย่างไรจะแก้ปัญหาที่แท้จริงของชาวนาได้ วิเคราะห์ปัญหาความยากจนที่แท้ว่าอยู่หนใด

    7. หาร และ ทหาร
    “ท” เมื่อตามด้วย “น” คือ “ทน” เมื่อตามด้วย “ด” คือ “ทด” เมื่อตามด้วย “อ” คือ “ทอ” ขยายความได้ดังนี้ “ทหาร” คือ ผู้ที่มีความอดทนเพื่อกระจายให้คนอื่น หรือก็คือ เสียสละด้วยความอดทน มีการ “ทด” มีการเตรียมเสบียงไว้ สำรองไว้ “ทด” จะใช้เมื่อกั้นน้ำ ในความหมายของการป้องกันความรุนแรงที่โถมถาเข้ามา เรียกได้ว่าเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกล มองเห็ฯอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก่อนผู้ใด จึงได้เตรียมการณ์สำรองไว้นั่นเอง ส่วน “ทอ” คือ รวมรวมเส้นต่างๆ ที่มัวไปหมดเข้าด้วยกันเป็นผืนแผ่น เช่น ทอผ้า ดังนี้ ผู้บริหารเมื่อขยายความในรูป “ผู้บริทหาร” จึงต้องเป็นผู้ที่เสียสละอดทนเพื่อผองชน โดยการมองการไกลเตรียมการวางแผนล่วงหน้าไว้ เพื่อรวมรวมสิ่งที่แตกแยกวุ่นวายให้เป็นปึกแผ่น

    8. หาร และ บริหาร
    เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน เป็น “บริหาร” จึงมีความหมายทั้ง จิตใจที่ยิ่งใหญ่ (บรม) มุมมองที่กว้างขวาง (บริ) ความคิดที่ลึกซึ้ง (หาร) กล้าหาญเสียสละมองการณ์ไกลและวางแผนเตรียมการล่วงหน้า (ทหาร) การตัดสินใจเด็ดขาดชัดเจน (ประหาร) เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งสังคม (บุรี) บริหารจึงแตกต่างจากปกครองที่มีความ “ปกติ” และการเป็นเจ้าของโดยธรรมชาติ (เจ้าของไม่ยิ่งใหญ่ ผู้บริหารยิ่งใหญ่เพราะทำเพื่อเจ้าของประเทศ)

    ส่วนคำว่า “บร” ใน “บราเซีย” เป็นคำใหม่ที่ยักษ์มารเอามาเผยแพร่ให้เรา อันจะทำให้เราทำร้ายกันเอง เป็นบ่อเกิดแห่งกามและอาชญากรรม เราจึงไม่ควรไปสนใจ เพราะบรมครูของเรามิได้ให้คำนี้ไว้ ในความหมายของคำว่า “บริหาร” ผู้บริหารผู้เชื่อในพระบรมครูพระพุทธเจ้า จึงพึงหลีกเลี่ยงกาม คือ “บราเซีย” นอกจากนี้ ยังต้องระวัง “บราซิล” ที่แฝงมาในรูปกีฬาเทียม กล่าวคือ ไม่ช่วยให้เราสามัคคีกันและไม่ชวนเราไปออกกำลังกาย แต่กลับทำให้เราหลงแบ่งพรรคแบ่งพวกออกตีกัน แล้วนั่งหน้าจอเล่นพนันขันต่อ ประเทศจึงหายนะด้วยคำว่า “บราซิล” ซึ่งไม่ใช่คำสอนแห่งองค์พระบรมครูของเราเลย

    ดังนี้ เราสามารถแยกแยะได้หรือไม่ว่า “ผู้ปกครองประเทศ” คือ ประชาชนนี่เอง ซึ่งจะเป็นผู้กระทำตนอย่างเรียบง่ายปกติหาใช่ผู้ยิ่งใหญ่ จึงสามารถเป็นเจ้าของประเทศได้ ส่วน “ผู้บริหาร” คือ ตัวแทนของประชาชน ที่ยิ่งใหญ่เพราะทำเพื่อประชาชน อย่างหาที่สุดมิได้ เกื้อกูลกันด้วยประการฉะนี้

    แด่กาขาวเหล่าอิสระชน

    หากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน
    ติดปีกบินไปให้ไกลสุดแสนไกล
    จะขอเป็นนกพิราบขาว
    เพื่อชี้นำชาวประชาสู่เสรี (นิพพาน)

    หากฉันเกิดเป็นเมฆบนนภา
    จะนำพาความร่มเย็นเพื่อท้องนา
    หากฉันเกิดเป็นเม็ดทราย
    จะถมกายเป็นทาง (มรรค) เพื่อมวลชน

    ชีวายอมพลีให้มวลชนที่ทุกข์ทน
    ขอพลีตนไม่ว่าจะ (เกิดใหม่และ) ตายกี่ครั้ง


    กำลังใจมอบให้แด่เหล่า “กาขาว” แห่งกองทัพธรรม
    โดย “หัวใจแผ่นดิน” ที่ขาดอยู่ ด้วยเทพหนี่วา ผู้เป็นครรภ์แห่งแผ่นดินทรงหลงลืมไว้

    -------------------------------------------------------------------------

    http://www.budnet.info/webboard0/view.php?category=budnet&wb_id=98
     
  6. คนโกหก

    คนโกหก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    481
    ค่าพลัง:
    +1,413
    พระโพธิสัตว์สามระดับภูมิธรรม

    1. ปุถุชนโพธิสัตว์ บำเพ็ญเพียรโดยไม่บรรลุธรรม ลองผิดลองถูก
    ดุจปลูกบัวในกลองเพลิง ตัวอย่างเช่น พระเจ้าปเสนทิโกสน

    2. อริยโพธิสัตว์ คือ บรรลุธรรมเร็วแบบ "ฉับพลัน" ไม่ไล่ระดับจากโสดาบัน
    แล้วบำเพ็ญเพียรต่อ อรหันต์แล้วเกิดใหม่ได้ เช่น พระจี้กง, ท่านหุยโคง

    3. มหาโพธิสัตว์ คือ บรรลุธรรมอย่างยาก เพราะมี "มหาปณิธาน" มากมาย
    แล้วบำเพ็ญเพียรต่อ อรหันต์แล้วเกิดใหม่ได้ เช่น พระมหาโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย์

    ระบบการสร้างพระพุทธเจ้าแบบเก่า ทำให้เกิดความผิดพลาดมาก หลังยุค
    พระพุทธเจ้าสมณโคดมผู้ทรงพระปัญญาและวิสัยทัศน์เหนือกาลเวลา ทรง
    เทศนาเพื่อสร้างพระพุทธเจ้าใหม่ให้แก่ "พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย" ทั้งที่จุติ
    มารับคำทำนาย และอยู่บนสวรรค์ ที่เขาคิชกูฏ เรียกพระสูตรนั้นว่า

    "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" เป็นพระสูตรที่สำคัญของ "วัชรยาน"

    โดยมี "พระมัญชูศรีมหาโพธิสัตว์ทรงเป็นองค์แทนในการถามธรรม
    แก่เหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งมวลที่พร้อมประชุม ณ ที่นั่น ดังนี้ พระธรรม
    จึงล้ำลึกเกินกว่า "พระอรหันต์" ทั่วไปจะเข้าใจได้

    เป็นระบบการสร้างพระพุทธเจ้าแบบใหม่ที่เดินตามรอยพระศรีอาริยเมตไตรย์
    มหาโพธิสัตว์ โดยการบรรลุอรหันต์แล้วบำเพ็ญเพียรต่อจนบรรลุโพธิจิต แล้ว
    ตั้งอธิษฐาน ตายไปพร้อม "สัญญาขันธ์" เกิดมาจรรโลงพระพุทธศาสนาใน
    ฐานะ "พระอรหันตโพธิสัตว์" จนถึง "พระมหาโพธิสัตว์"

    ด้วยประการฉะนี้...
     
  7. ว.อริยะ

    ว.อริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +346
    ก็ว่ากันไปนะ..อืม
     
  8. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ^^
     
  9. walaphako

    walaphako ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +1,599
    ^^"
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,942
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ++'
     
  11. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +498
    องค์พระนางสุพรรณกัลยาท่านทรงเป็นพระพี่นางในองค์สมเด็จพ่อพระนเรศวรเป็นเจ้า ส่วนพระมเหสีของพระองค์ท่านคือองค์พระแม่มณีจันทร์และขัตติยนารีท่านอื่นๆอีก 2-3 พระองค์ อย่ามามั่วนิ่ม

    ท่านโอมกับท่านWallaphako ครับพระราชประวัติขององค์สมเด็จพ่อพระนเรศวรเป็นเจ้าท่านกำลังถูกบิดเบือนอยู่นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2010
  12. joolong

    joolong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +283
    ทำไมไปว่ากษัตริย์พม่าว่าเป็นมารอย่างนั้นละครับ เพราะพม่า จะว่าไปแล้ว เป็นเมืองพุทธ ที่นับถือ ศาสนาอย่างเคร่งครัดประเทศหนึ่ง จนแทบจะมากกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ การแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างเมืองต่อเมือง ในสมัยก่อนมันเป็นเรื่องปกติ ประเทศไทยเราก็เที่ยวไปย่ำยี ประเทศเล็กๆ พฤติกรรมมันก็ไม่ต่างกับพม่าที่ทำกับเราเท่าไหร่ อย่ามองอะไรจนสุดโต่งแบบนั้น

    รู้สึกว่าหลังๆ จะมีคนพยายาม สร้างตำนานประหลาดๆขึ้นมาเองนะครับ รักไครชอบไครก็อุปโลกค์ คนโน้นให้เป็นโพธิสัตว์ เกลียดไครก็ให้คนนั้นเป็นมาร จิตนาการแล้วก็แต่งเรื่องออกมาเอง เหมือนนิยายอย่างไงอย่างงั้น
     
  13. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    อืม......-*- ฟุ้งได้ใจจริงๆจ้ะ
     
  14. adevathep

    adevathep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +153
    ตำนาน ก็คือตำนาน ความจริง ที่เป็นความจริง จริงๆนั้น ไม่ใช่ตำนาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...