ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นับถอยหลังถึงการล่มสลายของอิสราเอลโดยใช้หลักสูตรทางคณิตศาสตร์คำนวณ
    ธันวาคม 26, 2560
    Written by หยาดฟ้า ไทยประทาน

    • c5cad36bff4da825da5717182fdc14c9_XL.jpg

    หนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า " ปี 2022 ปีแห่งการล่มสลายของอิสราเอล" โดยการใช้วิธีการคำนวณจากพระมหาคัมภีรอัลกุรอาน หรือที่เรียกวิธีการนั้นว่า หนึ่งในความมหัศจรรย์ด้านคณิตศาสตร์ของอัลกุอาน ด้วยกับวิธีการคิดใน 37 วิธีการ ซึ่งคาดว่า การล่มสลายของอิสราเอลจะเกิดขึ้นใน 2022


    ดร.อับดุลเลาะห์ ฮุซัยนี นักเขียนหนังสือเล่มนี้ อธิบายถึงผลจากการทำนายของอัลกุรอานเกี่ยวกับการล่มสลายของระบอบการปกครองของอิสราเอลว่า จากคำกล่าวของท่านอาลี บิน อะบีฏอลิบ บ่งบอกว่าเหตุการณ์ในอนาคตและในอดีตกาล อาจจะมาจากสองคำ คือ คำว่า "อัลลอฮุศศอมัด" และเมื่อประมาณสามสิบปีที่แล้ว พ่อของฉันได้คำนวณคำว่า "อาลี" "มูฮัมหมัด" และ "อัลเลาะห์" โดยใช้หลักคณิตศาสตร์ และ ในหนังสือเล่มนี้ฉันได้คำนวณวันที่ล่มสลายของอิสราเอลโดยใช้ศาสตร์ลึกลับและหลักทางคณิตศาสตร์



    ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโจฮันเนสเบิร์ก กล่าวว่า "การตรวจสอบการทำนายของอัลกุรอานได้ค้นพบสิ่งที่น่ามหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งในศาสตร์แห่งคณิตศาสตร์ในบท อัลอิสรอและอัลกะฮ์ฟ



    ผู้อำนวยการศูนย์อิสลามแห่งแอฟริกาใต้ กล่าวอีกว่า "ผมอยู่ในเลบานอนสามวันหลังจากสงครามใน 33 วันและผมได้รับหนังสือชื่อ" การล่มสลายของอิสราเอลในปี2022 "ในหนังสือเล่มนี้มีการคำนวณ 6 รูปแบบตามตรรกะทางคณิตศาสตร์ถึงการล่มสลายของอิสราเอล


    เขากล่าวเสริมว่า"เนื่องจากอัลกุรอานได้กล่าวถึงแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆน้อย แล้วเป็นไปได้อย่างไรว่า อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงการล่มสลายของอิสราเอลที่ได้แพร่ความโหดร้ายไปทั่วโลก" นั่นเป็นเหตุผลที่ผมเริ่มรวบรวมโองการต่างๆในคำภีร์กุรอานที่ชี้ถึงการล่มสลายของอิสราเอล


    นักเขียนและนักประพันธ์ท่านนี้เปิดเผยว่า หนังสือ "ปี2022 ปีแห่งการล่มสลายของอิสราเอล" ใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบละเอียดใน 37 วิธีการจากอัลกุรอาน โดยระบุถึงวันที่ของการล่มสลายของอิสราเอล และแน่นอนถ้าวันนั้นเหตุการณ์นี้ไม่เกิดขึ้น อัลกรุอานก็ไม่ได้บกพร่องแต่อย่างใด


    http://siampublic.com/religious/4278/israel-down-in-mathematical-calculations
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สื่อซีเรียระบุ สหรัฐฯได้ช่วยเหลือขนย้ายแกนนำและสมาชิกกลุ่มไอซิสในจังหวัดดัยรุซเซาร์ มกราคม 2, 2561 Written by หยาดฟ้า ไทยประทาน

    be75ab89b7b7f53e3f145f94bfa744db_XL.jpg

    สยามพับลิค -สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า
    สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะให้การช่วยเหลือเหล่าแกนนำหลักของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส และหลีกเลี่ยงจากการล้มสลายอย่างสมบูรณ์ของกลุ่มก่อการร้ายนี้


    หลังจากการสิ้นสุดในการยึดครองของกลุ่มไอซิสในซีเรียและอิรัก ฉะนั้น การคงอยู่ของทหารสหรัฐในประเทศทั้งสองก็ถือว่า ไม่มีความหมายใดๆทั้งสิ้น แม้ว่า การส่งทหารสหรัฐเข้ามายังซีเรียในช่วงแรกก็ถือว่า เป็นการละเมิดการปกครองของซีเรียเช่นกัน ในขณะที่มิได้มีปฏิบัติการณ์เพื่อต่อสู้กับกลุ่มไอซิสเลย และด้วยกับสถานการณ์ในปัจจุบันก็มิอาจจะเป็นข้ออ้างได้ว่าทหารสหรัฐจะต้องอยู่ในซีเรียต่อไป ซึ่งการบีบบังคับให้กรุงวอชิงตันต้องทำการถอนกองกำลังทหารสหรัฐออกจากซีเรียได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลสหรัฐกำลังให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่หลงเหลืออยู่ของกลุ่มไอซิส


    ทั้งนี้ ตามรายงานจากสำนักข่าวทางการซีเรีย ซานา ระบุว่าเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ที่ผ่านมา เฮลิคอปเตอร์ของกองกำลังทหารสหรัฐได้ทำการเคลื่อนย้ายแกนนำหลายคนของกลุ่มไอซิสออกจากจังหวัดดัยรุซเซาร์ไปทางใต้ของจังหวัดฮัซกาห์ และนี่ก็มิได้เป็นครั้งแรกที่กองกำลังทหารสหรัฐได้ปฏิบัติการณ์เช่นนี้


    อย่างไรก็ตาม พยานได้ยืนยันว่า ได้พบเฮลิคอปเตอร์หลายลำจอดอยู่ในพื้นที่ก่อนที่จะมีการปฏิบัติการณ์ของกองทัพซีเรียในการปราบปรามกลุ่มไอซิสในพื้นที่เขตอัลมะยาดีน และเช่นกันก็มีรายงานอีกว่า กองกำลังทหารสหรัฐได้ขนย้ายแกนนำและสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไอซิสออกจากตอนเหนือของจังหวัดดัยรุซเซาร์


    http://siampublic.com/world/4346/syria-us-help-leader-isis
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โป๊ปชี้ ปี 2017 ปีแห่งสงครามและการโกหกหลอกลวง มกราคม 2, 2561 Written by หยาดฟ้า ไทยประทาน

    9fa117aec143a65c10cad3588c946cfd_XL.jpg

    โป๊ป ฟรานซิส ผู้นำนิกายคาทอลิกโลกเผยว่า ปีที่ผ่านมา เป็นปีแห่งการโกหก สงครามและไร้ซึ่งความยุติธรรม


    สยามพับลิค –สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจาก
    สำนักข่าวเยอรมัน รายงานว่า ผู้นำนิกายคาทอลิกโลกได้กล่าวสุนทรพจน์ส่งท้ายปี 2017 เกี่ยวกับวิกฤติที่เกิดขึ้นในเกาหลีเหนือ

    โดยมีการข่มขู่ในการทำสงครามทางนิวเคลียร์ และกล่าวว่า มนุษย์ด้วยกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในปี 2017 เช่น สงคราม และความไร้ซึ่งความยุติธรรมจะทำให้สิ่งแวดล้อมต้องถูกทำลาย และเขายังกล่าวขอบคุณต่อผู้ที่ต้องการให้โลกนี้พบแต่ความสงบนิ่ง
    อีกทั้ง ผู้นำคาทอลิกโลก ยังเรียกร้องให้ผู้ปกครองและบรรดาครูที่ให้ความรู้กับเด็กๆทั้งหลาย จำต้องทำการสอนสั่งพวกเขาให้รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่


    ทั้งนี้ ในวันนี้ ผู้นำนิกายคาทอลิกโลกจะกล่าวสุนทรพจน์ในประเด็นความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีเหนือในกรณีนิวเคลียร์อีกด้วย


    http://siampublic.com/world/4344/pope-francis-last-year-war-lie
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ประธานาธิบดีอิหร่านชี้ ประชาชนสามารถที่จะจัดการชุมนุมประท้วงได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ มกราคม 1, 2561 Written by หยาดฟ้า ไทยประทาน
    91fff34639c53496dfca07cc83ea37b9_XL.jpg
    สยามพับลิค –สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงเตหะราน อิหร่าน ว่า
    ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ของอิหร่าน กล่าวว่า ประชาชนมีสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาล รวมทั้งยังสามารถจัดการชุมนุมประท้วงได้โดยอย่างเสรี แต่จะต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงในประเทศ

    ในขณะที่การชุมนุมในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศดำเนินมาเป็นวันที่ 4 แล้ว


    ประธานาธิบดีอิหร่านกล่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า "ประชาชนมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ในการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรวมทั้งจัดการประท้วง แต่ต้องอยู่ในแนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ"

    นายโรฮานี เชื่อว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำจริง รวมทั้งยอมรับว่ารัฐบาลมีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่จะต้องแก้ไข แต่การแสดงความเห็นโดยสุจริตในเรื่องดังกล่าวนั้น แตกต่างจากการก่อความรุนแรงและเหตุทำลายสาธารณสมบัติที่กำลังเกิดขึ้นโดยสิ้นเชิง ซึ่งรัฐบาลจะไม่ทนต่อพฤติกรรมเช่นนี้

    นายโรฮานี ยังกล่าวตอบโต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ซึ่งลงข้อความทางทวิตเตอร์วิจารณ์สถานการณ์ภายในอิหร่านหลายครั้งในทำนองที่ชักจูงให้ประชาชนโค่นล้มระบอบเผด็จการว่า นายทรัมป์ซึ่งเป็นศัตรูของอิหร่านอย่างเต็มตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า ไม่มีสิทธิจะมาแสดงความเห็นใจประชาชนชาวอิหร่านที่เขาเคยประณามว่าเป็นผู้ก่อการร้ายไปเมื่อหลายเดือนก่อน

    ล่าสุดนายทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า "ในที่สุดประชาชนชาวอิหร่านก็ฉลาดรู้ทันว่า เงินทองและความมั่งคั่งของพวกเขาถูกขโมยและนำไปใช้อย่างเปล่าประโยชน์กับการก่อการร้ายได้อย่างไร"

    ส่วนสถานการณ์การชุมนุมล่าสุด ประชาชนหลายร้อยคนในเมืองใหญ่กว่าสิบแห่งรวมทั้งกรุงเตหะรานยังคงออกมาตามท้องถนนและร้องตะโกนคำขวัญต่อต้านรัฐบาลต่อไป ในขณะที่ทางการอิหร่านได้ออกข้อกำหนดชั่วคราวเพื่อจำกัดการใช้แอปพลิเคชันเทเลแกรมและอินสตาแกรมในประเทศ เนื่องจากมองว่า สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทอย่างมากในการปลุกระดมให้ผู้คนออกมาชุมนุมและก่อเหตุวุ่นวายตามท้องถนน

    เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ใหญ่และร้ายแรงที่สุดของอิหร่านนับแต่การชุมนุมประท้วงเมื่อปี 2009 เป็นต้นมา โดยเมื่อวานนี้ (31 ธ.ค.) กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามขู่ว่า บรรดาผู้ประท้วงจะต้องพบกับ "กำปั้นเหล็กของชาติ" หากยังก่อเหตุรุนแรงเช่น เผารถตำรวจและอาคารที่ทำการของรัฐบาลอยู่ต่อไป

    http://siampublic.com/world/4341/rouhani-iran-protest-criticism
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี”– เศรษฐกิจโตไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจดีอีกต่อไปL ast updated: 4 มกราคม 2561 | 12:21

    IMG_20180104_194317_746.jpg

    สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดเวทีปัญญาสาธารณะครั้งที่ 4 หัวข้อ "เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?" โดยประเด็นหนึ่งในการพูดคุยมองว่า อนาคตไทยเรามี “ระเบิดเวลา” รออยู่เต็มไปหมด ทางรอดสร้าง"คน"ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

    โดยมีวิทยากร ได้แก่ .....
    1.คุณพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)
    2.คุณเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี
    3.คุณพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค (เศรษฐกรเชี่ยวชาญ) สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
    โดยคุณธีรวุฒิ ศรีพินิจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

    สำหรับประเด็นต่างๆที่วิทยากรเห็นตรงกันนั่นคือ การพัฒนามนุษย์ เป็นทิศทางที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจและการเมืองได้ยั่งยืน และดีที่สุด

    ...ผมเป็นหนึ่งคนที่จะปฏิเสธเรื่องปัญหาขาดแคลนแรงงานของประเทศมาตลอด เพราะผมรู้สึกว่าเมืองไทยยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเราขาดแคลนแรงงานโดยอ้างสังคมผู้สูงอายุ เราเป็นประเทศที่ใช้แรงงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ underemployment แล้วใช้แบบงูๆ ปลาๆ

    ...เราต้องเข้าใจว่าทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของทุกประเทศคือ “มนุษย์” ไม่ใช่น้ำมัน ไม่ใช่แร่ธาตุ ไม่ใช่น้ำ ไม่ใช่ลม แต่มนุษย์เป็นทรัพยากรที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาทรัพยากรอื่นๆ ได้ ถ้าเราไม่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สุดท้ายเราจะติดหล่มอย่างมาก

    ...เราต้องยอมรับว่า ในระยะยาวมันไม่มีอะไรที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทั่วไปได้ดีเท่ากับ “เพิ่มค่าจ้างที่แท้จริง” ให้กับเขา หมายความว่าสุดท้ายคือทำยังไงให้แรงงานมี productivity สูงขึ้น มันเป็นเหมือนกับสิ่งที่ทุกคนฝันเอาไว้ว่าสุดท้ายแล้วในระยะสั้น เราจะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ โดยที่ไม่เพิ่ม productivity มันไม่ได้

    สำหรับการเสวนาทั้งหมด สามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้ที :

    https://thaipublica.org/2018/01/public-wisdom4-1/

    https://thaipublica.org/2018/01/public-wisdom4-2/
    ชมคลิปวิดีโอ





    http://www.thaitribune.org/contents/detail/312?content_id=30840&rand=1515013796

    First posted: 4 มกราคม 2561 | 02:00
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจดีอีกต่อไป
    3 มกราคม 2018

    เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจัดกิจกรรมเวทีปัญญาสาธารณะ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?” ณ SEAC ชั้น 2 มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน), ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย, ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และ ดร.ธีรวุฒิ ศรีพินิจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ มีเนื้อหาดังนี้

    ดร.ธีรวุฒิ: ขอต้อนรับเข้าสู่เวทีปัญญาสาธารณะครั้งที่ 4 วันนี้จะมาคุยเรื่องที่พูดกันในสังคมเรื่องหนึ่งว่า “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?” โดยในช่วงแรกจะคุยกันเรื่องข้อเท็จจริงว่ามันไม่ดีจริงมั้ย หรือมันดีแล้ว ส่วนในช่วงที่สองจะมาวิเคราะห์กันว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

    ในรอบแรกผมขอถามก่อนว่า เราจะได้ยินข่าวว่าเศรษฐกิจฟื้น แต่คนยังรู้สึกไม่ดี ผมลองไปทำการบ้าน สอบถามคนแถวบ้านว่าช่วงนี้ค้าขายดีมั้ย เขาบอกว่า “อย่าไปฟังนักวิชาการ เพราะผมยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจแย่อยู่ ดังนั้นถามวิทยากรทั้ง 3 ท่านว่า เวลาที่คนรู้สึกว่าแย่ เป็นการมโนไปเองหรือเปล่า หรือมันแย่จริง”

    ดร.พิพัฒน์: ผมว่าประเด็นที่หนึ่งคือ ที่เรารู้สึกว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นแล้วเพราะว่าหลายคนออกมาปรับประมาณการ ถ้าดูตั้งแต่ต้นปีหลายๆ ฝ่ายมองว่าเศรษฐกิจไทยโต 3 ต้นๆ วันนี้ประมาณ 3.7-3.9%

    แสดงว่าการคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจของฝั่งนักวิชาการ ฝั่งรัฐ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกระทรวงการคลัง ปรับประมาณการเศรษฐกิจที่เป็นการส่งสัญญาณอย่างหนึ่งว่าเศรษฐกิจเริ่มค่อนข้างดีแล้ว

    ประเด็นที่สอง คือ เป็นครั้งแรกๆ ในรอบ 5-6 ปี ที่ประมาณการเศรษฐกิจถูกปรับขึ้น เพราะตั้งแต่ปี 2011-2012 เราปรับประมาณการลงตลอด แต่ปีนี้เป็นปีแรกๆ ในรอบหลายปีที่เราปรับประมาณการขึ้น

    ดังนั้น ในฝั่งของคนที่ทำตัวเลข เป็นครั้งแรกๆ ที่เริ่มเห็นข่าวดี แล้ว optimistic กับมันมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่ง คนก็มองว่าปรับประมาณการขึ้นได้ยังไง เพราะความรู้สึกของคนเดินถนนมันยังไม่เห็นดีเลย มันเลยเกิด contrast ขึ้น ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ในหลายประเด็น

    ประเด็นที่หนึ่งคือเรื่องตัวเลขจีดีพี เราคงเอาตัวเลขเดียวมาตัดสินความรู้สึกของคนทุกคนไม่ได้ เพราะว่าแต่ละคนสภาพเศรษฐกิจก็ต่างกันไป แต่พออ่านข่าวเยอะๆ ว่าตัวเลขจีดีพีปรับขึ้น ก็คาดหวังว่าความรู้สึกเราก็ควรจะดีขึ้น

    แต่บังเอิญว่าตัวเลขจีดีพีเป็นตัวเลขรวม เหมือนเป็นค่าเฉลี่ย ก็ต้องมีคนที่รู้สึกดีกว่าค่าเฉลี่ย และก็อาจจะมีคนรู้สึกแย่กว่าค่าเฉลี่ย ฉะนั้นประเด็นที่หนึ่งก็คือ ขึ้นอยู่กับว่าค่าเฉลี่ยมันเอนเอียง หรือมันแทนคนกลุ่มใหญ่ของประเทศหรือเปล่า

    สิ่งที่เราได้ยินวันนี้ก็คือ คนจำนวนเยอะมากบ่นว่าไม่ได้รู้สึกดีขึ้นตามตัวเลข ก็แสดงว่า ความรู้สึกหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้ดีเท่าค่าเฉลี่ย ซึ่งก็อาจจะต้องกลับไปย้อนดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น

    ประเด็นต่อมา ถ้าเรามองแค่ตัวเลขจีดีพี ซึ่งบอกอะไรเราหลายอย่างไม่ว่าจะบอกเรื่องปริมาณมูลค่าผลผลิตที่ผลิตขึ้นในฝั่งการผลิต ขณะเดียวกันก็มีฝั่งดีมานด์หรือฝั่งคนใช้จ่าย ว่าใครเป็นคนใช้จ่าย และอีกฝั่งหนึ่งก็คือฝั่งรายได้

    ตัวเลขจีดีพีที่เราเห็นว่ามันขึ้น เป็นฝั่งผลิตขึ้นซะเยอะ ในขณะที่ถ้าไปดูฝั่งบริโภค มันไม่ได้ขึ้นตามเหมือนกับตัวเลข เช่น ตัวเลขในสองไตรมาสสุดท้ายที่เราเห็นตัวเลขจีดีพีขึ้นไป 3% กว่าๆ 4% ต้นๆ การเติบโตของการบริโภคภายในประเทศของผู้บริโภค ยังคงอยู่แถว 3%

    แสดงว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เหมือนท็อปไลน์ตัวเลขโดยรวมส่งสัญญาณว่าโต แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ คนที่ใช้สินค้า ซื้อสินค้าอยู่ทุกวัน ไม่ได้ซื้อของเพิ่ม ไม่ได้ใช้จ่ายเพิ่ม ฉะนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคนส่วนใหญ่เขายังไม่ได้รู้สึกดีตามตัวเลขท็อปไลน์ที่มันถูกปรับขึ้น

    thaipublica_DSC_2794-620x414.jpg
    เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจัดกิจกรรมเวทีปัญญาสาธารณะ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?” ณ SEAC ชั้น 2 มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง, ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย,ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธีรวุฒิ ศรีพินิจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ(ภาพจากขวามาซ้าย)
    ดร.ธีรวุฒิ: ดร.พิพัฒน์กำลังจะบอกว่า จริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้แย่ไปกว่าเดิม เพียงแต่ว่าผมได้ยินข่าวว่าดีแล้ว ก็เป็นความหวังว่าเมื่อไหร่จะมาถึงเรา เลยรู้สึกแย่

    ดร.พิพัฒน์: อันนั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ก็คงมีบางส่วนที่แย่ลงไปด้วย ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้คือ คนที่อยู่ในภาคเกษตร ด้วยราคาสินค้าเกษตรที่อาจจะผงกหัวขึ้นนิดนึง แล้วปรับลดลงไปอีกแล้ว เขาก็อาจจะรู้สึกแย่ลงจริงๆ

    ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบางส่วนที่รู้สึกแย่ลง แต่คนโดยทั่วไปที่ผมคิดว่าสำคัญก็คือ ทำไมท็อปไลน์ถูกปรับขึ้น แต่ทำไมเราไม่เห็นรู้สึกดีตามไปด้วย น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

    ดร.ธีรวุฒิ: ดร.พิสิทธิ์กับ ดร.เบญจรงค์ เห็นเป็นยังไงครับ เรามโนกันไปเองมั้ยที่รู้สึกแย่

    ดร.พิสิทธิ์: ทางฝากกระทรวงการคลังก็พยายามติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด ถ้าดูในจีดีพีภาคเกษตร สองปีก่อนหน้านี้มันแย่มาก มันติดลบ 5% กว่า ปีที่แล้วแทบไม่ขยายตัว ผลผลิตเกษตรเพิ่งมาขยายตัวปีนี้

    ที่เราคุยกันอาจจะเป็นปัจจัยเรื่องผลกระทบของปีที่ผ่านมาที่มันไม่ดีมากๆ ปัญหาหนี้ภาคเกษตรกรต่างๆ ที่ทำให้ดึงกำลังซื้อของภาคการเกษตรในปัจจุบัน แม้ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ราคาก็ไม่ได้ดีขึ้นมาก มันก็ cancel out รายได้เกษตรกรก็อาจไม่ได้ขยายตัวมากนัก อันนี้น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่ง

    เพราะว่าถ้าดูในโครงสร้างเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่ของประเทศ แรงงาน 30% ก็อยู่ในภาคเกษตร เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่าตัวเกษตรก็เป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้ด้วย

    อีกอย่างหนึ่งผมเห็นด้วยกับ ดร.พิพัฒน์ว่า การเติบโตในช่วงที่ผ่านมามันอาจจะค่อนข้างกระจุกตัว ซึ่งเป็นเรื่องโครสร้างเศรษฐกิจที่มันเหลื่อมล้ำในหลายๆ มิติ ทั้งทางพื้นที่ สังคม และธุรกิจ ก็เป็นตัวดึงให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มันฟื้นขึ้นไม่ได้กระจายตัว

    ดร.เบญจรงค์: ในเรื่องการเกษตรผมเห็นด้วย แต่ปัญหาของเมืองไทยจริงๆ ไม่ใช่เรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาคือเรามีแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรมากเกินไป เป้าหมายในการพัฒนาเกษตรคือการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ซึ่งจริงๆ อาจจะเป็นเป้าหมายที่ผิด

    ด้วยความที่เรามีกำลังแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรเยอะ จริงๆ เป้าหมายหลักสุดท้ายคือต้องเป็นเรื่องของการเพิ่มผลผลิตต่อแรงงาน ก็คือ yield per labor ไม่ใช่ yield per rai เป้าหมายก็คือว่าเราจะทำยังไงที่จะใช้แรงงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B5-620x414.jpg
    ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย
    พอกลับมาเรื่องการฟื้นตัว ถามว่าปีไหนการบริโภคดี ดูง่ายๆ ครับ ปีไหนก็ตามที่การบริโภคขยายตัวได้เท่าหรือมากกว่าจีดีพี ปีนั้นการบริโภคดี แล้วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา การบริโภคขยายตัวได้ต่ำกว่าจีดีพีตลอด

    ก็หมายความว่าจีดีพีโต ตัวอื่นโต แต่ไม่ใช่การบริโภค แล้วปีนี้หรือปีหน้าการบริโภคน่าจะขยายตัวได้สักประมาณ 3% ในขณะที่ประมาณการจีดีพีทุกที่ก็พยายามปรับขึ้น ใกล้ 4% มากขึ้นเรื่อยๆ

    จะเห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจมันดูเหมือนขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่การบริโภคไม่ได้ไปตาม ซึ่งการบริโภคส่วนหนึ่งมันสะท้อนเรื่องของความเชื่อมั่น และมากกว่านั้นมันสะท้อนเรื่องกำลังซื้อ

    แต่คำว่าเศรษฐกิจดี ไม่ดี มันเริ่มแยกกับคำว่าเศรษฐกิจโตหรือไม่โต ถ้าเราจะสรุปง่ายๆ ก็จะเห็นว่า “เศรษฐกิจไทยโต เศรษฐกิจไทยฟื้น แต่ยังไม่ดี” เศรษฐกิจไทยโต คงไม่มีใครปฏิเสธ เพราะตัวเลขมันสะท้อนออกมา ส่งออกโตได้ดีที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

    เราจะเห็นได้ว่าตัวเลขส่งออกล่าสุดกลับมาโต 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่ได้เห็นมานานมาก ฉะนั้นยอดส่งออกค่อนข้างดี ท่องเที่ยวก็ขยายตัวได้ดี ทั้งหมดนี้ก็ทำให้จีดีพีที่มันออกมาขยายตัว ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจมันโต

    แต่คำว่าโต มันไม่ได้แปลความกลับมาเป็นเรื่องของเศรษฐกิจดีเหมือนในอดีต ที่เมื่อก่อนเวลาเราเห็นเศรษฐกิจโต เราจะรู้สึกว่าถ้าเศรษฐกิจโตมันต้องเศรษฐกิจดี แต่ตอนนี้มันไม่ไปด้วยกัน เพราะว่าอย่างหนึ่งที่เราเข้าใจผิดมาตลอด คือเราบอกว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเยอะ มันไม่ใช่อีกต่อไป

    จริงๆ ปัจจุบัน ประเทศไทยพึ่งพาในประเทศกับต่างประเทศเท่าๆ กัน สัดส่วนจีดีพีไปสู่เรื่องการส่งออกสินค้าอยู่ที่ประมาณ 60% สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ 55% มันมีความแตกต่างกันไม่มาก ในขณะที่การบริโภคลงไปสู่เอสเอ็มอีเกือบ 3 ล้านราย แต่ส่งออกไปสู่บริษัทประมาณ 2-3 หมื่นรายเท่านั้นเอง

    ดังนั้นเราจะเห็นว่าที่ ดร.พิสิทธิ์บอกเมื่อสักครู่ว่า เรื่องของการโตไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่ ถ้าดูจากข้อมูล (ดูภาพประกอบ) จะเห็นว่าส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจที่โตได้ มันโตมาจากเรื่องภาคการส่งออก จำนวนบริษัทส่งออกมีทั้งหมดประมาณ 15,000 บริษัทเท่านั้นเอง จะเห็นได้ว่าส่งออกที่โตได้เกือบ 90% มาจากบริษัทใหญ่ที่มีสัดส่วนแค่ประมาณ 1 ส่วน 4 ของผู้ส่งออก แล้วใน 1 ส่วน 4 ไม่ถึง 1% ของบริษัททั้งหมดของประเทศ ฉะนั้นถ้าจีดีพีโตเพราะส่งออก นี่ก็คือผู้ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของส่งออก

    เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า การส่งออกครั้งนี้ไม่ใช่การส่งออกที่กระจายไปทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ส่งออกซึ่งไม่ใช่กลุ่มใหญ่ มีอยู่แค่หมื่นกว่าบริษัทเท่านั้นเอง

    อีกตัวหนึ่งที่เราพูดกันเยอะคือเรื่องของท่องเที่ยว อย่างหนึ่งที่เราจะบอกมาตลอดว่า เศรษฐกิจดีเพราะท่องเที่ยวดี ตรงนี้ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าท่องเที่ยวเป็นปัจจัยรายพื้นที่ ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยว คุณจะไม่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยว

    รายได้ท่องเที่ยว 3 ล้านล้าน ปัจจุบันกระจุกตัวอยู่ใน 17 จังหวัด 2 ใน 3 ของ 3 ล้านล้าน กระจุกตัวอยู่เพียงแค่ 4 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศไปเที่ยวกัน เรากำลังพูดถึงกรุงเทพฯ ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เท่านั้น 2 ใน 3 ของรายได้ที่มาจากการท่องเที่ยว เกิดขึ้นใน 4 จังหวัดเท่านั้น แล้วท่องเที่ยวก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้จีดีพีเราโตได้ดี เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เวลาเราบอกเศรษฐกิจโต โตจริงครับ แล้วในหลายกลุ่มได้อานิสงส์จากการโตตรงนี้ แต่ว่ามันยังไม่ทั่วถึง

    สมมติท่องเที่ยวได้อานิสงส์ประมาณ 10 จังหวัด อีก 60 จังหวัดไม่ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวที่มาจากการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นมันคือภาพที่ทำให้เราเห็นว่า ทำไมจึงเกิดสถานการณ์เศรษฐกิจโต แต่ไม่ดี มีจริงมั้ย มีจริงครับ

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x347.jpg

    ดร.ธีรวุฒิ: อยากจะถามคุณพิพัฒน์ว่า เมื่อเราเห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ทำให้ทุกคนดีใจ ว่าเศรษฐกิจมันฟื้นแล้ว เราให้น้ำหนักกับตัวเลขแค่นี้ได้มากน้อยแค่ไหน

    ดร.พิพัฒน์: ปกติต้องบอกว่าเศรษฐกิจมันควรจะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน ใครที่มาเป็นเครื่องจักรในการนำเศรษฐกิจควรจะนำภาคอื่นตามไปด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าตอนนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี หรือเศรษฐกิจดีแล้ว

    ซึ่งมันก็มีสาเหตุอย่างที่เราคุยกันว่า พอตอนนี้มันเหมือนถูกนำด้วยเศรษฐกิจภายนอกล้วนๆ จะเห็นว่าเครื่องจักรสำคัญทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว ฉะนั้นผมใช้คำว่าแข็งนอก แต่ข้างในยังอ่อนอยู่ ก็คือแข็งนอกอ่อนใน

    แต่ว่าปกติในภาพของการฟื้นตัว มันก็จะมีใครที่เป็นเครื่องจักรหลักขึ้นมาก่อน แล้วในที่สุดมันก็ควรจะส่งอานิสงส์ไปยังภาคอื่น เพียงแต่ว่ารอบนี้อาจจะเป็นไปได้ว่ามันพึ่งจะเป็นในช่วงต้นมาก ดังนั้นอานิสงส์มันยังไม่ตามไป

    ยกตัวอย่างเช่น ภาคการส่งออก การส่งออกไทยติดลบมา 3 ปีติด เราพึ่งจะมาเป็นบวกปีนี้ปีแรก ถึงแม้เราจะบอกว่าบวก 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่อยาลืมว่าเราติดลบมา 3 ปีติดกัน ฉะนั้นในแง่ของฐานมันค่อนข้างต่ำ

    แล้วการส่งออกจำนวนเยอะมันมาจากภาคสินค้าเกษตร ปีที่แล้วภัยแล้งเยอะ ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรมันหายไป แล้วภาคอื่นๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เพิ่งจะกลับมาดี เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

    อันนี้เห็นชัดว่า มันพอเศรษฐกิจโลกโตไปพร้อมๆ กัน มูลค่าการค้าโลกมันมาหมดเลย ทุกประเทศ รวมถึงเมืองไทยด้วย เราก็ได้อานิสงส์ แต่ระยะแรกๆ ในแง่การฟื้นตัวของการส่งออก เราจะเห็นยอดขายไปก่อน คือสินค้าคงคลังเริ่มลด แต่การผลิตยังไม่มา อันนี้ก็เป็นสัญญาณที่น่าสนใจว่า ปริมาณการผลิตมันยังไม่ได้โตตามยอดขาย

    ถ้าผมเป็นคนขาย คือเอาสินค้าคงคลังทยอยขายไปก่อน แต่ว่าเมื่อสินค้าคงคลังหมดแล้ว ผมก็ต้องผลิตเพิ่ม พอผลิตเพิ่ม ผมก็ต้องจ้างงานเพิ่ม จ้างงานเพิ่มผมก็น่าให้ให้โอที ขึ้นค่าจ้างแรงงาน ถึงตอนนั้นคนก็จะมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น แต่ตอนนี้อาจยังไม่ถึงขนาดนั้น

    เหมือนกันกับภาคการท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าโตมาค่อนข้างจะหลายปี แต่มันก็ยังกระจุกตัวอยู่ในไม่กี่จังหวัดอย่างที่คุยกัน มันก็เลยกลายเป็นการโตที่อานิสงส์มันไม่กระจายออกไป อย่างที่หลายคนบอกว่าโตกระจุกจนกระจาย คนส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกอย่างนั้นอยู่

    ประเด็นถัดมา มันก็มีเรื่องความเหลื่อมล้ำจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำเรื่องการกระจายรายได้ การกระจายการเข้าถึง และการกระจายเรื่องสินทรัพย์

    เรื่องการกระจายรายได้ สิ่งที่เราเห็นก็คือ คนที่เป็นฐานราก เป็นคนที่ใช้เงิน รายได้ของเขาเป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นพอเงินในกระเป๋ามันไม่โต การใช้จ่ายมันชะลอหมด ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่าย เช่น ภาคการผลิตที่ผลิตของน้อยลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หรือราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง ทำให้เงินในกระเป๋าเกษตรกรลด มันสะท้อนถึงการบริโภคในต่างจังหวัดอย่างชัดเจน

    ครั้งสุดท้ายที่คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจเมืองไทยดี อาจจะต้องย้อนกลับไปถึงปี 2554 – 2555 ฉะนั้นเศรษฐกิจจะดีได้ เงินในกระเป๋ามันต้องมี ตอนนี้พอราคาสินค้าเกษตรไม่ดี เศรษฐกิจต่างจัดหวัดก็อาจจะไม่ได้รู้สึกว่าดี

    แต่ถ้ามาดูในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ อานิสงส์อัตราของอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำค่อนข้างนาน ทำให้ราคาสินทรัพย์มันขึ้น แล้วคนส่วนใหญ่ การใช้จ่ายไม่ได้ขึ้นกับ income เท่าไหร่ แต่ขึ้นกับ wealth หรือความมั่งคั่งซะเยอะ ถ้าหุ้นยังขึ้น ถ้าราคาที่ดินยังขึ้น การใช้จ่ายก็ยังดี

    ฉะนั้นวันนี้เราเห็น contrast ค่อนข้างมาก อย่างที่อาจารย์ธีรวุฒิบอกตอนต้นว่าไปถามคนในตลาด เขาจะรู้สึกว่าเขาขายของไม่ค่อยได้ แม้กระทั่งร้านขายข้าวแกง ยังรู้สึกว่าช่วงนี้ยอดขายไม่ค่อยดี แต่ถ้าไปดูมิชลิน 1 ดาว วันนี้คิวแน่นมาก มันก็เห็น contrast

    0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-620x414.jpg
    ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)
    ถ้าเราไปดูยอดขายรถในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้มันเริ่มดีขึ้นแล้ว แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เราเห็นคือยอดขายรถญี่ปุ่นร่วง แต่ยอดขายรถเยอรมันไม่ค่อยร่วงเท่าไหร่ แสดงว่ามันมีเรื่องของเซกเมนต์มาเกี่ยว

    เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีตัวเลขหนึ่งจาก FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ไปถามเรื่องการใช้จ่ายในสินค้าปกติ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เขาบอกว่าแย่ที่สุดในรอบ 8 ปี จนมีคำนึงที่พาดหัวออกมาว่า ต้องหรูถึงอยู่ได้ กลายเป็นสินค้าเบสิก สินค้าประจำวัน สินค้าปกติขายไม่ค่อยดี ก็เลยอาจจะสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำด้วยว่า นอกจากแข็งนอกอ่อนในแล้ว เรายังมีแข็งบนและอ่อนล่างด้วย

    ดร.ธีรวุฒิ: ถาม ดร.พิสิทธิ์ ดร.เบญจรงค์ เราเห็นภาพประมาณเดียวกันมั้ยครับว่า เรารู้แล้วว่าความรู้สึกแย่มันเกิดขึ้นบางส่วน แต่มันมีบางคนที่เขาก็ไปได้จริงๆ เศรษฐกิจมันดีจริงๆ หรือแม้กระทั่งเราได้ยินราคาอสังหาริมทรัพย์มันขึ้น ทั้ง 2 ท่านเห็นภาพเดียวกันมั้ยครับ

    ดร.พิสิทธิ์: ก็เห็นด้วยกับ ดร.พิพัฒน์ว่า ประเทศไทยจริงๆ เศรษฐกิจในภาพรวมมันดีขึ้น แต่มันมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่มันสั่งสมมาหลายปี ถ้าดูข้อมูลความเหลื่อมล้ำ (ดูภาพประกอบ) ในมิติต่างๆ ก็จะเห็นตัวเลขความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถือครองทรัพย์สิน บัญชีเงินฝาก ก็จะเห็นชัดเจนว่าคน 1% ถือเงินฝาก 70% ของประเทศ

    หรือการถือครองที่ดิน คน 20%บน ถือครองที่ดิน 60% ของประเทศ ส่วนคน 20%ล่างถือครองที่ดินแค่นิดเดียว ก็จะเห็นภาพว่า การถือครองที่ดินของคน 20%บน กับคน 20%ล่าง ต่างกัน 878 เท่า

    บัญชีที่มีเงินฝากเกิน 10 ล้านบาท มีแค่ 0.1% ถือเป็นบัญชีเงินฝากเกือบครึ่งหนึ่งของเงินฝากทั้งระบบ นี่คือมิติของการถือครองทรัพย์สิน รายได้

    %E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C1-620x460.jpg

    %E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C2-620x462.jpg

    หรือมิติของโอกาส การศึกษา การเข้าถึงการศึกษา การเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ก็จะเห็นความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะท้อนถึงปัญหาที่คนรู้สึกไม่ค่อยดี ภาพความเหลื่อมล้ำนี้มันก็เป็นมาต่อเนื่อง

    จากข้อมูล ถ้าพูดในเชิง absolute poverty คนไทยดีขึ้น จนน้อยลงในภาพรวม แต่ความยากจนเชิงเปรียบเทียบ แน่นอนว่าก็ยังเป็นปัญหาอยู่

    และในสังคมยุคนี้ต้องยอมรับว่าเราโซเชียลมีเดีย เราเห็นคนอื่น ข้อมูลข่าวสารทั่วถึง เห็นเพื่อนลงเฟซบุ๊ก ถ่ายรูปกับรถหรู ถ่ายรูปกับเครื่องใช้หรู คนก็เปรียบเทียบ อาจทำให้เราไปเปรียบเทียบกับคนที่มีการใช้จ่ายสูงกว่าเรา อย่างเช่นกินอาหารมิชลิน เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ก็สามารถที่จะเปรียบเทียบได้จากข้อมูลข่าวสาร ก็ทำให้กระทบกับความรู้สึกได้

    ดร.เบญจรงค์: ผมก็เห็นด้วยครับว่าตอนนี้เศรษฐกิจโต เศรษฐกิจฟื้น แต่เศรษฐกิจดีทั่วถึงหรือยัง ยัง แต่ถามว่าปีนี้ดีกว่าปีที่แล้วมั้ย เหมือนจะดีกว่า ปีหน้าก็น่าจะดีขึ้นกว่าปีนี้ เพราะฉะนั้นก็ไม่อยากให้คนรู้สึกว่าประเทศไทยมันหมดความหวังเหลือเกิน แต่มันทยอยมา เพียงแต่บางกลุ่มได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัว ช้ากว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด

    แล้วส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าเราจะเริ่มเห็น คือเรื่องการท่องเที่ยว ที่เราบอกว่ากระจุกอยู่ใน 4 จังหวัด ทำไมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมันถึงมีความสำคัญอย่างมากในแง่การกระจายการท่องเที่ยวเข้าสู่จังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ มากขึ้น ฉะนั้นมันมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่เข้ามาช่วยสนับสนุน

    ปัญหาเชิงโครงสร้างของเมืองไทยอยู่กับเรามาเป็น 10 ปีแล้ว แล้วในทุกๆ ปีรัฐบาลแก้ปัญหากันเฉพาะระยะสั้นๆ ในปัญหาเชิงโครงสร้าง ตอนนี้เราก็จะเห็นทั้งในแง่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่เราคุยกันเรื่องราคาสินค้าเกษตรเมื่อสักครู่ หรือแม้กระทั่งเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจ ก็เป็นผลกับธุรกิจในประเทศด้วยกันทั้งหมด

    ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด ว่าในขณะที่เราพูดเรื่องการบริโภคไม่ฟื้น สินค้าเกษตรส่งผลให้ไม่มีกำลังซื้อ กลุ่มแบงก์ก็จะรู้ดีว่าลูกค้าเอสเอ็มอีมีปัญหามาก มากกว่ารายใหญ่เยอะมาก ตอนนี้เราเริ่มเห็นสินเชื่อของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เริ่มขยายตัวได้ สอดคล้องกับส่งออกที่ขยายตัว

    แต่ว่าธุรกิจเอสเอ็มอียังไม่ดีขึ้น สินเชื่อเอสเอ็มอียังไม่โต เอ็นพีแอลยังสูงอยู่ มันก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า สุดท้ายแล้วมันเป็นเพราะสภาวะเศรษฐกิจที่มันไม่ดี ทำให้เอสเอ็มอียังไม่ฟื้น ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นปัจจัยหนึ่ง

    อีกปัจจัยหนึ่ง เราก็จะเริ่มเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนรวย คือเรื่อง “ดิจิทัลอีโคโนมี”ต่างๆ ที่เข้ามา และถึงแม้กำลังซื้อจะกลับมา ผมคิดว่าวิธีการใช้เงินจะไม่เหมือนเดิม นี่คือสิ่งที่เอสเอ็มอีต้องระวังอย่างมาก

    เรากำลังพูดถึงการซื้อผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ในอดีตเอสเอ็มอีในภูมิภาค ในท้องถิ่น ไม่เคยต้องแข่งด้วย แต่ปัจจุบันด้วยช่องทางดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งระบบการขนส่ง เมื่อก่อนคนไม่ค่อยอยากจะซื้อผ่านช่องทางดิจิทัล เพราะต้องรอนานกว่าสินค้าจะมา เดี๋ยวนี้ไม่เกิน 2-3 วัน สินค้าถึงหน้าบ้าน และในอนาคตผมเชื่อว่าอีกไม่นาน เราจะส่ง 1 วันทั่วประเทศ

    เพราะฉะนั้น ทางเลือกของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าได้จากที่บ้านของตัวเอง ด้วยทางเลือกที่มากกว่าในอดีตที่เคยมี มันกำลังจะไปสู่แนวทางนั้น เพราะฉะนั้นเอสเอ็มอีที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาค ต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ว่าถึงแม้กำลังซื้อกลับมา พฤติกรรมของผู้บริโภคจะไม่เหมือนเดิม จากหน้าร้านที่เคยมีคนเดินพลุกพล่านมาซื้อของตลอดเวลา คงไม่ใช่ภาพเก่าที่จะกลับมาเห็นอีกครั้งหนึ่ง

    ดร.พิพัฒน์: ผมคิดว่าเอสเอ็มอีโดนทั้งวงจรธุรกิจที่ชะลอตัว และกำลังเจอปัญหาโครงสร้างที่กำลังเปลี่ยน แม้กระทั่งธุรกิจแบบเก่าอย่างโมเดิร์นเทรด ศูนย์การกระจายสินค้า ก็ทำให้อำนาจของเอสเอ็มอีที่เคยมีในอดีตอาจจะเปลี่ยน

    ดร.ธีรวุฒิ: แปลว่ารอบนี้ สมมติเศรษฐกิจเริ่มกระจายความดี เอสเอ็มอีทำแบบเดิมก็อยู่ยาก

    ดร.เบญจรงค์: จริงๆ ต้องบอกว่า พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว กระจายการฟื้นตัวมาสู่ผู้บริโภค เอสเอ็มอีแบบเดิมก็จะยังไม่ได้อานิสงส์ อย่างที่ ดร.พิพัฒน์บอกว่า FMCG บอกว่ายอดขายลำบากมากขึ้น เพราะว่าตอนนี้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นจริงๆ แม้กระทั่งไปซูเปอร์มาร์เก็ตก็ไม่ต้องไปเอง สามารถสั่งออนไลน์ให้คนมาส่งได้ มันเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ

    ฉะนั้น เรื่องวิถีการทำธุรกิจแบบเดิมๆ โอกาสที่จะรอด แม้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างทั่วถึง ก็จะยากอยู่ เราต้องเข้าใจว่าร้านที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดก็ยังมีสินค้าไม่เพียงพอเท่ากับทางเลือกที่มีในอินเทอร์เน็ต

    แล้วผมคิดว่าความยากของเอสเอ็มอีในปัจจุบันคือ พอยอดขายตัวเองไม่ดี เราจะตอบโจทย์ได้อย่างไร ว่าเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจไม่ดี หรือเป็นเพราะเราเจอกับคู่แข่งที่เราไม่ได้เห็นหน้าร้านเขาอีกต่อไป

    %B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C-620x414.jpg
    ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
    ดร.ธีรวุฒิ: ดร.พิสิทธิ์น่าจะรู้จักคลุกคลีกับเอสเอ็มอีอยู่บ้าง เห็นภาพในทำนองเดียวกันมั้ยครับ

    ดร.พิสิทธิ์: ก็ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีมันกำลังเปลี่ยน วันนี้เอสเอ็มอีไทยไม่ได้แข่งในประเทศไทยอย่างเดียว เพราะตลาดดิจิทัลเปิดกว้างทั่วโลก ซึ่งวันนี้เราอาจจะต้องไปแข่งกับเอสเอ็มอีที่จีน หรือที่ต่างประเทศ ที่เขาสามารถเปิดหน้าร้านบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้เหมือนกัน

    ผมมองว่าเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาส เพราะวันนี้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เปิดให้กับอีคอมเมิร์ซ คนธรรมดาก็สามารถที่จะเริ่มต้นธุรกิจได้ แต่โจทย์สำคัญวันนี้คือ ทำอย่างไรที่เราจะเตรียมพร้อมคนไทยในอนาคตสำหรับดิจิทัล อีโคโนมี อย่างไร

    ดร.พิพัฒน์: อาจจะสรุปได้ประมาณว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของอานิสงส์ของการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ยังไปไม่ถึงในหลายภาคส่วน ขณะเดียวกันก็มีปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่แม้ว่าเศรษฐกิจอาจจะฟื้นแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้สึกขนาดนั้น

    ผมขออนุญาตเพิ่มอีก 2 ประเด็น ประเด็นหนึ่งที่หลายคนพูดถึงคือเรื่อง “หนี้ครัวเรือน” ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องหนี้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2011-2012 เหมือนกับช่วงนั้นเรายืมรายได้จากอนาคต วันนี้เราก็มายืนอยู่บนอนาคตแล้ว เรากำลังถูกรายได้ที่ถูกยืมไปใช้เมื่อครั้งนั้น ตอนนี้เรากำลังจะจ่ายคืนให้การบริโภคตรงนั้น

    ก็ทำให้หลายคนถูกยืมรายได้อนาคตไปจ่ายหมดแล้ว วันนี้ก็เหลือเงินน้อยลง ถึงรายได้เพิ่มมา ส่วนหนึ่งก็ไปจ่ายคืนเจ้าหนี้ก่อน ก็ยิ่งทำให้คนอาจจะไม่รู้สึกดีเท่าที่ควร

    อีกประเด็นหนึ่งคือ พวกรายได้ ในแง่เงินในกระเป๋า ถ้ายังไม่สะท้อนกลับเข้ามา คนก็อาจจะยังไม่รู้สึก ยังไม่กล้าใช้ เป็นเรื่องของความมั่นใจด้วย

    ดร.ธีรวุฒิ: ในช่วงแรกที่เราคุยกัน สรุปเบื้องต้นได้ว่า สิ่งที่เราคุยว่าเศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี เบื้องต้นก็คือเศรษฐกิจของเราติดอยู่ในอาการชะลอตัวมาระยะหนึ่ง และในช่วงนี้เศรษฐกิจที่ดีจะมาจากภาคส่งออก แต่เป็นสัดส่วนที่ยังไม่เยอะมาก เราจะรอจนกระทั่งคล้ายๆ เป็นแสงไฟแห่งความหวัง ว่ามันจะกระจายตัวไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ

    ในประเด็นที่สอง ที่ทำให้คนอาจจะยังไม่รู้สึกดี ก็เพราะว่าเศรษฐกิจที่เป็นเศรษฐกิจรายย่อยเอสเอ็มอี บางทีเราใช้เงินในอนาคตมาส่วนหนึ่ง เมื่อเงินยังมาไม่ถึงเรา เราก็ยังไม่กล้าใช้เงิน

    และเรื่องสุดท้ายที่คุยกันมาก็คือเรื่อง รูปแบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การที่เราดำเนินธุรกิจตามปกติ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจดี เราอาจรู้สึกแย่ก็ได้
    (ติดตามตอนที่2)

    สนับสนุนเวทีปัญญาสาธารณะครั้งที่ 4 โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
    KKP-620x86.jpg
    https://thaipublica.org/2018/01/public-wisdom4-1/
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เวทีปัญญาสาธารณะครั้งที่ 4: “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี” (ตอนที่ 2)- อนาคตเรามี “ระเบิดเวลา” รออยู่เต็มไปหมด ทางรอดสร้าง”คน”ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด3 มกราคม 2018

    เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจัดกิจกรรมเวทีปัญญาสาธารณะ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?” ณ SEAC ชั้น 2 มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน), ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย, ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และ ดร.ธีรวุฒิ ศรีพินิจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ มีเนื้อหาดังนี้

    ต่อตอนจากที่ 1

    ดร.ธีรวุฒิ: เราจะมาคุยกันต่อเรื่องเหตุที่ประเทศไทยเศรษฐกิจดี แต่คนยังรู้สึกแย่ รอบที่แล้วเราได้คุยถึงข้อเท็จจริงไปแล้วว่ามันเกิดจากการที่เศรษฐกิจโตในภาคส่งออก มีหนี้ครัวเรือนเยอะอยู่ และมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไป รอบนี้เราจะมาคุยกันต่อว่า อะไรที่ทำให้เกิดภาวะแบบนี้ แล้วเราจะก้าวผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ยังไง ถาม ดร.พิพัฒน์ก่อนครับว่า ทำไมปัจจุบันเราถึงเกิดภาวะที่มีหนี้เสียเยอะ หรือภาคการส่งออก ทำไมมันเกิดบางเซกเตอร์ที่โตได้

    ดร.พิพัฒน์: จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นโครงสร้างของเราอยู่แล้ว ว่าเครื่องจักรในการส่งออกตัวสำคัญของเราคือสินค้าอุตสาหกรรมบางอย่าง ที่อาจจะต้องบอกว่าไม่ได้เกี่ยวกับคนไทยเท่าไหร่ เพราะเราเป็นประเทศรับจ้างผลิต

    นอกจากสินค้าเกษตร การส่งออกบริการ การท่องเที่ยว แล้วก็เมดิคัลทัวริซึมบางส่วน ถามว่าเราส่งออกอะไรเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถามว่าแบรนด์อะไร ก็มีเต็มไปหมดทั้งซัมซุง โซนี่ แต่แทบจะไม่ใช่อะไรของไทย

    ฉะนั้นก็แปลว่าเราถูกผูกไว้กับซัพพลายเชนโกลบอลอยู่แล้ว ดังนั้นการส่งออกหรือการฟื้นตัวของการส่งออก เราก็เลยถูกผูกไปกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ได้ฟื้นตัวเร็วขนาดนี้ แล้วการส่งออกเราไม่เร็วขนาดนี้ ตัวเลขเฮดไลน์เศรษฐกิจเราคงไม่ได้โตไปกว่านี้

    ดังนั้นต้องบอกว่าเรายังอยู่ในขาชะลอของเศรษฐกิจ domestic demand หรือตัวเศรษฐกิจจริงๆ ในประเทศมันยังอยู่ในหมวดม้วนลงอยู่ แต่บังเอิญอย่างที่เราคุยกันช่วงแรกว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นตัวฉุดขึ้นไป ทำให้ตัวเลขเฮดไลน์ดูดีมาก แต่อย่างที่บอกว่าถ้าตัวเลขส่งออกไม่ได้ดีขนาดนี้ ก็ต้องยอมรับสภาพว่าเศรษฐกิจมันไม่ได้ดีมาก

    ทีนี้ถามว่าหนี้ทำไมมันถึงเยอะ หรือการบริโภคทำไมถึงยังไม่ค่อยดีขึ้น ทั้งที่ตัวเลขการส่งออกดีแล้ว ก็อย่างที่คุยกันก็คือ ตัวเลขภาระหนี้ที่เรายืมไปในอดีต ถ้ามองดูในภาพรวมจนกระทั่งถึงปี 2555,2556 การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย เพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว

    คือระดับอาจจะไม่ได้น่ากลัวเท่าไหร่ แต่สปีดที่มันขึ้น ขึ้นค่อนข้างเร็ว อาจจะต้องบอกว่าตอนนี้เรา payback period คือเรามีการกระตุ้นค่อนข้างเร็ว จากน้ำท่วมปี 2554 พอปี 2555 เรามีทั้ง 300 บาท มีทั้งจำนำข้าว 15,000 มีรถคันแรก มีบ้านหลังแรก ซึ่งหลายๆ อย่าง อาจจะเป็นการยืมรายได้ในอนาคต ก็คือรายได้ของตอนนี้ไปใช้

    อันที่สอง เป็นการเพิ่มสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้คำว่า permanent income คือนึกว่ารายได้เราจะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในอนาคต เช่น ราคาข้าววันนี้อาจจะอยู่สัก 7 พันบาท หรือ 8 พันบาทต่อตัน แต่ตอนนั้นถูกอินเฟลตไปที่ 15,000 บาทต่อตัน

    เกษตรกรหรือคนที่อยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ก็คิดว่า 15,000 บาทต่อตัน จะอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต ฉะนั้นเราก็ไปยืมเงินมาใช้บริโภคในช่วงนั้น โดย based on ว่ารายได้เราจะอยู่ based on ราคาข้าวที่ 15,000 บาทต่อตัน

    ดร.ธีรวุฒิ: แปลว่าตอนนั้นปี 2554, 2555 ที่ผมรู้สึกว่ารายได้ผมเยอะ ผมมีทางใช้เงินได้ ผมไม่ควรจะรู้สึกดีกับมัน

    0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-620x414.jpg
    ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)
    ดร.พิพัฒน์: ผมว่าทุกคนรู้สึกดีนะ และเอ็นจอยในตอนนั้น แต่อย่าลืมมาจ่ายคืนด้วย ถ้าเราจำได้ปี 2554, 2555, 2556 ธีมสำคัญสำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่มาสนใจเมืองไทย ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของ “urbanization” ทุกคนจะไปดูต่างจังหวัด นักลงทุนต่างประเทศมา จะขอไปดู อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย แต่วันนี้ไม่มีใครมาขอดูเลย

    แต่ช่วง 4-5 ปีที่แล้ว คนเซอร์ไพรส์ว่าเรามีห้างขนาดใหญ่อยู่ที่หัวเมือง ซึ่งมันก็กระจายรายได้ กระจายการบริโภคไปให้กับต่างจังหวัดจริงๆ กระจายความเจริญไปจริงๆ แต่พอราคาสินค้าเกษตรมันชะลอตัวลง ความคึกคัก ความรู้สึกว่าเศรษฐกิจดี มันก็ดูแผ่วๆ ไป เพราะฉะนั้นก็อาจเป็นสาเหตุว่าเรากำลังจ่ายคืนสิ่งที่เราเอาไปใช้เมื่อปี 2554, 2555, 2556

    ดร.ธีรวุฒิ: ปี 2011, 2012 ผมรู้สึกดี และปีนี้ผมก็อยากจะรู้สึกดีต่อไปด้วย มันจะเป็นไปได้มั้ย

    ดร.เบญจรงค์: จริงๆ ก่อนหน้าน้ำท่วม ตัวเลขจีดีพีมันดูดีมาก จนกระทั่งน้ำท่วมปลายปี 2554 พอปี 2555 ก็จะมีนโยบายออกมา เรื่องรถคันแรก, ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท, เงินเดือนขั้นต่ำข้าราชการ 15,000 บาท, เรื่องบ้านหลังแรก ออกมาพร้อมกันหมดในปีเดียว เป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างมโหฬาร

    แต่คีย์เวิร์ดคือการกระตุ้นการใช้จ่าย มันได้ผลในเชิงจีดีพี แต่ข้อเสียคือว่ามันไม่ใช่เรื่องของการสร้างรายได้ สองอันมันไม่เหมือนกัน ทีนี้เรากระตุ้นการใช้จ่าย ถ้าเกิดเราไม่มีรายได้ แต่อยากจ่ายเพิ่ม มันก็ต้องกู้ มันมีแค่ทางเลือกเท่านี้เอง ฉะนั้น สุดท้ายก็อย่างที่ ดร.พิพัฒน์บอก ว่าการกู้ก็คือการเอารายได้ในอนาคตมาใช้จ่ายในปัจจุบัน

    ดร.ธีรวุฒิ: ไม่มีทางเลือก ต้องใช้คืนในที่สุด

    ดร.เบญจรงค์: ใช่ครับ ไม่อย่างนั้นก็ติดเอ็นพีแอล ซึ่งเราก็เห็นในระบบธนาคารว่าหลังจากปี 2555 เข้ามาสู่ปี แล้ว 2556 เอ็นพีแอลของรายย่อย ลูกค้าบุคคล เริ่มไต่ขึ้น

    ปี 2556 เข้าสู่ 2557 เป็นช่วงที่เอ็นพีแอลของลูกค้ารายย่อยเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั่งมันเริ่มเป็นปัญหาของเอสเอ็มอี ก็คือผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ เอ็นพีแอลของเอสเอ็มอีก็เริ่มไต่ขึ้นตั้งแต่ปี 2558 มาจนถึงทุกวันนี้

    จะเห็นได้ว่าทุกอย่างมันเป็นความเชื่อมโยงกันพอสมควร แต่ต้องเรียนตามตรงว่าไม่ใช่จากนโยบายภาครัฐอย่างเดียว จังหวะพอเหมาะพอเจาะกับปี 2556 เป็นปีที่ราคาสินค้าเกษตรไหลลงทั่วโลกด้วย

    ตอนนั้นราคายางพาราอยู่ที่ 140 บาทต่อกิโลกรัม ไหลลงมาเหลือ 70 บาทต่อกิโลกรัม และไหลลงมาเรื่อยๆ จนถึงต้นปี 2558 เราพูดถึงราคายาง 3 กิโลละ 100 บาทจะเห็นได้ว่ามันเป็นจังหวะที่หลายๆ อย่างมันส่งผล

    แต่ทีนี้ ผลกรรมที่เราทำไว้ตอนนั้น ก็ส่งผลในตอนนี้เช่นกัน อย่างเรื่องของหนี้ครัวเรือนของเมืองไทย อาจจะไม่ได้สูงที่สุดในโลก แต่แปลกที่สุด ตรงที่ว่าประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วอาจจะมีหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่สูงกว่าเรา แต่ว่าหนี้ของเขาส่วนใหญ่เป็นหนี้กู้เพื้อซื้อบ้าน หมายความว่าเป็นการซื้อสะสมสินทรัพย์ พอจ่ายหมดเขาก็จะมีสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น แต่เมืองไทยหนี้ครัวเรือนที่เราบอกว่าอยู่ที่ 80% ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการบริโภค

    ดร.ธีรวุฒิ: หมายความว่าถ้าเราดูแค่เฉพาะตัวเลข ไม่น่ากลัว แต่ดูไส้มันแล้วน่ากลัว

    ดร.เบญจรงค์: ดูไส้แล้วผมว่าดูน่ากลัวกว่าเดิม ตัวเลขก็มีความน่ากลัวของมัน ในอาเซียนเราหนี้ครัวเรือนสูงเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย แต่สุดท้ายแล้วมันสะท้อนให้เห็นว่า หัวใจของมันคือไส้ใน ว่าจริงๆ แล้วหนี้ของเราเป็นหนี้จากการบริโภค ก็คือเราจะไม่ได้รับประโยชน์จากการก่อหนี้พวกนี้แล้ว จะเหลือแค่การจ่ายนี้คืนเท่านั้นเอง ต่างจากหนี้ซื้อบ้าน ซึ่งเป็นหนี้ที่ในอนาคตจะมีสินทรัพย์เพิ่ม สามารถเอาไปเป็นสินทรัพย์เพื่อค้ำประกันทำธุรกิจหรือทำอะไรได้ต่อ

    ดร.ธีรวุฒิ: ดร.พิสิทธิ์เห็นภาพเดียวกันในพวกเอสเอ็มอีมั้ยครับว่า หนี้ที่เพิ่มขึ้นมันจะส่งผลกระทบกับปัจจุบันยังไง

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x414.jpg
    พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย,เบญจรงค์ สุวรรณคีรี และพิสิทธิ์ พัวพันธุ์(ภาพซ้ายไปขวา)
    ดร.พิสิทธิ์: ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาหนี้ครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น แต่พอมองไปในอนาคต ก็หวังว่าถ้าเราสามารถที่จะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง รายได้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง ที่จริงถ้าเรารอไปเรื่อยๆ ถ้าเศรษฐกิจมันฟื้นต่อเนื่อง ผมก็เชื่อว่าถ้าเราคุยกันอีก 2 ปีข้างหน้า คนในตลาด คนในชุมชน น่าจะบอกว่าเศรษฐกิจดีขึ้น มันต้องใช้เวลาในการ trickle-down ผลประโยชน์เศรษฐกิจให้มันดีขึ้น

    แต่นโยบายการคลังก็เป็นตัวที่สามารถช่วยให้กลไกลการ trickle-down effect ของเศรษฐกิจน่าจะเกิดได้เร็วขึ้น ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว อย่างที่ ดร.พิพัฒน์พูดเรื่องของภาคเกษตร ทำอย่างไรที่เราจะปรับปรุงภาคเกษตร นโยบายการคลังจะเข้าไปดูแลอย่างไร ยกระดับ productivity ยกระดับประสิทธิภาพเกษตรกร

    หรืออย่างที่ ดร.เบญจรงค์ พูดถึงเรื่องท่องเที่ยว ซึ่งน่าสนใจมากว่า ประเทศไทย 77 จังหวัด มีแค่ 17 จังหวัดที่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวเต็มๆ นโยบายการคลังจะทำอย่างไรที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นเรื่องนโยบายการคลังต้องเข้ามาช่วยในส่วนนี้

    สรุปก็คือเรื่องของการกระจายรายได้ ผลประโยชน์มันกระจุก กลไกภาครัฐจะทำอย่างไรที่จะดึงผลประโยชน์ที่มันกระจุก กระจายให้มากขึ้น ก็เป็นเรื่องของกลไกนโยบาย

    ดร.ธีรวุฒิ: ฟังโดยภาพรวมก็คือ เกิดจากการที่เราทำกรรมไว้ คือใช้เงินไว้ล่วงหน้า ความสุขของเราได้ใช้ไปแล้ว ช่วงนี้ก็รับไปก่อน ส่วน ดร.พิสิทธิ์พูดประมาณว่า รอสักพักนึงที่มันจะกระจาย ซึ่งมันจะเกิดขึ้นได้ในที่สุด

    ดร.พิสิทธิ์: แต่ถ้าจะเร็วขึ้น ถ้ารัฐมีระบบนโยบายที่สามารถจะให้การกระจายมันทำได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มันก็จะเร็วกว่าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด

    ดร.ธีรวุฒิ: ผมถามดร.พิพัฒน์ กับ ดร.เบญจรงค์ครับว่า อยากให้รัฐทำยังไงเพื่อสร้างความเร็วให้มันเร็วขึ้นได้บ้าง หรือมองในอนาคตจะได้ไม่ต้องเกิดการใช้กรรมซ้ำซ้อนแบบนี้อีก

    ดร.พิพัฒน์: เราต้องยอมรับว่า ในระยะยาวมันไม่มีอะไรที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทั่วไปได้ดีเท่ากับ “เพิ่มค่าจ้างที่แท้จริง”ให้กับเขา หมายความว่าสุดท้ายคือทำยังไงให้แรงงานมี productivity สูงขึ้น มันเป็นเหมือนกับสิ่งที่ทุกคนฝันเอาไว้ว่าสุดท้ายแล้วในระยะสั้น เราจะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ โดยที่ไม่เพิ่ม productivity มันไม่ได้

    สุดท้ายแล้วนโยบายของรัฐ ต้องไปดูว่าจะทำยังไงให้ค่าจ้างโดยเฉลี่ยของประชากรโดยทั่วไปเพิ่มขึ้น โดยเพิ่ม productivity ของแรงงาน ไม่ใช่ไปบังคับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ใช่ไปกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น

    ฉะนั้นเรากำลังพูดถึงว่า สุดท้ายแล้วรัฐอาจจะต้องกลับไปมองเป้าหมายในระยะยาวว่าจะทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เป็น hard infrastructure เช่น การขนส่ง รวมถึงเรื่อง soft infrastructure คือเรื่องของการศึกษา ซึ่งก็เป็นประเด็นที่สำคัญมาก

    สุดท้ายผมว่า อันนี้คือเป็นระยะยาวจริงๆ คือเราทำยังไงที่จะ improve พวกนี้ มันน่าจะเป็นสิ่งที่ sustainable ที่สุด แล้วก็ไม่ต้องมานั่งเถียงกันในอนาคตว่า ทำไมเราต้องมาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทีละ 10 บาท 20 บาท ถ้าเราสามารถเพิ่ม productivity โดยรวมของประชาชนขึ้นมาได้

    ประเด็นที่สอง ผมเห็นว่าในอนาคตเรามี “ระเบิดเวลา” รออยู่เต็มไปหมด ฉะนั้นความจำเป็นเรื่องการใช้จ่ายเงินภาครัฐจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

    ระเบิดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างประชากร ซึ่งภาระการคลังเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของระบบประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรืออะไรต่างๆ มันมาแน่นอน

    แล้ว growth ในอนาคตยังไงก็ต้องชะลอลง เพราะจำนวนแรงงานวัยทำงานลดลง เพราะฉะนั้นมีคนทำงานน้อยลง แต่เราต้องการที่จะทำให้ขนาดของพายที่เรากำลังแบ่งใหญ่ขึ้นตลอดเวลา วิธีเดียวที่ทำก็คืออย่างที่บอก คือต้องเพิ่ม productivity และใช้เงินให้คุ้มที่สุด

    แล้วข้อดีคือเราไปเอาประสบการณ์ของประเทศอื่นที่เคยเจอมาได้ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ที่เคยเจอสถานการณ์ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเห็นว่าทุกคนไม่มีทางเลือก ต้องเพิ่ม productivity ของตัวเอง ฉะนั้น ในระยะยาวผมคิดว่าข้อนี้น่าจะเป็นคำตอบที่สำคัญที่สุด

    0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B5-620x414.jpg
    เบญจรงค์ สุวรรณคีรี
    ดร.เบญจรงค์: สนับสนุนครับ เห็นด้วย สุดท้ายเราต้องเข้าใจว่าทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของทุกประเทศคือ“มนุษย์” ไม่ใช่น้ำมัน ไม่ใช่แร่ธาตุ ไม่ใช่น้ำ ไม่ใช่ลม แต่มนุษย์เป็นทรัพยากรที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาทรัพยากรอื่นๆ ได้ ถ้าเราไม่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สุดท้ายเราจะติดหล่มอย่างมาก

    ผมคิดว่าเป็นโจทย์ที่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ เราให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรอื่นตลอดเวลา โดยที่ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์น้อยเกินไป

    เรายกตัวอย่างภาคเกษตรกันบ่อยๆ (ดูภาพประกอบ) โครงสร้างแรงงานอยู่ในภาคการเกษตร 32% ที่เหลืออยู่เอสเอ็มอี อยู่บริษัทใหญ่ เราก็ตั้งคำถามกันมาหลายครั้งว่าสุดท้ายแล้ว 32% สร้างรายได้ไม่ถึง 10% ของจีดีพี จะทำอย่างไรให้คนพวกนี้สร้างรายได้มากกว่านั้น หรือใช้คนที่น้อยกว่านี้

    ซึ่งเมืองไทยในภาคการเกษตรเรายังตั้งโจทย์ผิดเสมอ ทรัพยากรที่ขาดแคลนที่สุดของประเทศตอนนี้คือ “แรงงานที่มีฝีมือ” แต่ในขณะเดียวกันเราตั้งเคพีไอของประเทศในการพัฒนา yield per rai ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่ตอบโจทย์ทรัพยากร

    การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ เป็นโจทย์ที่สุดท้ายเราจะหนีไม่พ้น และโจทย์ที่หนีไม่พ้นเลย ณ ตอนนี้คือ เราจะใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าเราก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x348.jpg

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x348.jpg

    ผมเป็นหนึ่งคนที่จะปฏิเสธเรื่องปัญหาขาดแคลนแรงงานของประเทศมาตลอด เพราะผมรู้สึกว่าเมืองไทยยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเราขาดแคลนแรงงานโดยอ้างสังคมผู้สูงอายุ เราเป็นประเทศที่ใช้แรงงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ underemployment แล้วใช้แบบงูๆ ปลาๆ นั่งอยู่ในภาคการเกษตร แต่ไม่รู้ทำอะไร

    ขณะที่ในภาคราชการ ก็เป็นภาคที่จำนวนการจ้างงานโตทุกปี ในขณะที่เราบอกว่าประเทศกำลังขาดแคลนแรงงาน แล้วแผนของ ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) เองก็จะเห็นว่า จำนวนข้าราชการก็จะโตจากนี้ไปอีก 10 ปี ทุกปี มันจะเป็นไปได้ยังไง ภายใต้ภาวะที่เรารู้สึกว่าขีดความสามารถหรือ productivity ของแรงงานมันต้องเพิ่มขึ้นกว่านี้

    จริงๆ การขาดแคลนแรงงาน ถ้าเราบอกว่าเราขาดแคลนแรงงานเพราะ aging population เราทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าบอกว่าขาดแคลนแรงงานเพราะเราใช้แรงงานอย่างขาดประสิทธิภาพ มันมีเรื่องให้เราทำเยอะมากเลย ที่เราจะต้องแก้ตรงนี้

    ในส่วนที่สอง ที่ผมรู้สึกว่าเป็นโจทย์หลัก คือ ประเทศไทย นอกจากเรา concentrate ในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว เรา concentrate รายพื้นที่มาก

    ผมนั่งคุยกับเด็กบางคนที่ผมเจอ เขาบอกว่าตอนเด็กๆ เขาเรียนได้อันดับหนึ่งของอำเภอ ของจังหวัดเขา แต่พอเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เหมือนกับกรุงเทพฯ สุดท้ายสอบไม่ผ่าน มันแสดงให้เห็นว่า โอกาสหรือสิ่งที่เราพยายามสร้างให้คนในแต่ละพื้นที่มันไม่เท่ากันเลย

    ผมก็เลยเริ่มสงสัยว่า ที่เราบอกว่าเศรษฐกิจเราโตได้ สุดท้ายมันเป็นภาพที่บางจังหวัดโตอย่างมโหฬารหรือเปล่า ในขณะที่จังหวัดที่เหลือไม่ได้รับอานิสงส์ คล้ายๆ กับเรื่องท่องเที่ยวที่เราคุยกัน

    กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสัดส่วนต่อจีดีพีอยู่ที่ประมาณ 44% ถ้าผมจำไม่ผิด เป็นสัดส่วนที่ใหญ่มาก มากกว่าโตเกียวมีต่อประเทศญี่ปุ่น และมากกว่าที่ลอนดอนมีต่อประเทศอังกฤษ มากกว่าที่ปารีสมีต่อประเทศฝรั่งเศส

    มันเป็นโจทย์ที่กลับมาว่า หรือสุดท้ายแล้ว ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เราพูดถึง ก็คือการที่เราไม่สามารถกระจายการบริการหรือโอกาสเข้าไปสู่พื้นที่ต่างๆ

    ผมพยายามแยกของแต่ละจังหวัดออกมากางดู (ดูข้อมูลประกอบ) ก็จะเห็นว่าจังหวัดที่สามารถโตได้ดีมีอยู่ 4-5 จังหวัด ซึ่งก็จะเป็นจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับอีสเทิร์นซีบอร์ดหรือภาคการส่งออก ส่วนที่เหลือก็จะอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหมดเลย

    ผมลองดูคร่าวๆ ว่า แทนที่จะมองเป็นครัวเรือนมาคำนวณ ที่เขาเรียกว่า gini coefficient ซึ่งผมไม่ได้ใช้จำนวนครัวเรือน ผมใช้จำนวนจังหวัด เอาจังหวัดมาเรียง แล้วก็ตัดตามจำนวนประชากรในจังหวัด

    สิ่งที่เห็นก็คือ มันทำให้แอบแปลกใจว่า gini coefficient ที่เราวัดกัน เอาครัวเรือนมาเรียงกัน มันอยู่ที่ประมาณ 45% ซึ่งไม่ได้แย่มาก เมื่อเทียบกับมาตรฐานโลก แต่พอมาเรียงตามจังหวัด มันอยู่ที่ประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันแย่ มันแปลว่ามีความกระจุกอยู่ในระดับจังหวัดค่อนข้างมาก

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x374.jpg

    ผมยกตัวอย่างอีกหนึ่งอย่างคือ ภาคใต้ ไม่รู้ รู้กันหรือเปล่าว่า เป็นภาคที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศมากที่สุดในประเทศไทย 97% ของรายได้จากภาคใต้มาจากต่างประเทศ หรือคนต่างชาติทั้งนั้น ท่องเที่ยว ยางพารา เรื่องอาหารทะเล ปาล์มน้ำมันซึ่งราคาก็เชื่อมกับตลาดโลก ฉะนั้นภาคใต้มีความสำคัญอย่างมาก ที่ต้องเชื่อมกับโลกข้างนอกให้ได้

    ภาคใต้ไม่มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นภาคเดียวที่แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมกลับมาที่กรุงเทพฯ แต่เราก็ไม่สร้าง ไม่มีการคิดในกรอบตรงนี้

    แม้กระทั่งดูเรื่องการค้าชายแดน เราบอกว่าการค้าชายแดนผ่านทางภาคใต้ที่สะเดา เป็นการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุด แล้วก็บอกว่ามันสะท้อนให้เห็นว่าการค้าชายแดนเราดี

    จริงๆ ตรงการค้าชายแดนที่สะเดา มันเกิดขึ้นเพราะผู้ประกอบการไม่มีที่ขนส่งสินค้าออกนอกประเทศ คุยกับผู้ประกอบการร้อยทั้งร้อยที่อยู่ภาคใต้ เขาไม่อยากส่งผ่านมาเลเซีย ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งผ่านมาเลเซีย

    แต่เนื่องจากเราไม่มีแผนการทำเรื่องระบบการขนส่งที่ตอบสนองต่อพื้นที่เศรษฐกิจนั้นๆ จึงทำให้ศักยภาพที่ภาคใต้ควรจะได้จากการเชื่อมกับเศรษฐกิจโลกหายไป

    เพราะฉะนั้น ตัวนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง แล้วผมเชื่อว่าแต่ละภาคมีความต้องการสุดท้ายไม่เหมือนกันในโครงสร้างเศรษฐกิจ แต่บางครั้งเนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมการวางแผนและการคิดทุกอย่าง เราก็จะมองจากมุมมองของคนกรุงเทพฯ พอสมควร

    ตรงนี้เป็นโจทย์ที่เราจะต้องทำให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป หรือการแก้ไขเศรษฐกิจในระยะกลางต่อไป เพราะว่าสุดท้ายแล้ว ถ้าเกิดยังพยายามวางแผนว่าจะเชื่อมการขนส่งภาคใต้กลับเข้ากรุงเทพฯ ยังไง ภาคใต้ก็จะไม่มีวันที่จะสามารถขยายตัวไปได้มากกว่านี้

    แล้วตราบใดที่เรายังใช้พื้นที่การขยายตัวเดิมอยู่ ประมาณ 10 จังหวัด มันก็จะถึงลิมิตของมันในการขยายตัว

    %B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%884-620x414.jpg
    เวทีปัญญาสาธารณะ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?” ณ SEAC ชั้น 2
    โจทย์ในการขยายตัวรอบถัดไปของประเทศไทย ก็คล้ายๆ ที่ ดร.พิพัฒน์บอกเรื่องของ urbanization ในจังหวัดต่างๆ มันต้องเริ่มออกแบบการขยายตัวในจังหวัดอื่นๆ แล้ว ว่าการโตของเขา หรือว่าคนในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพที่เด่นที่สุดของเขาคืออะไร

    เพราะตราบใดที่ทุกอย่างยังเป็นโมเดลของกรุงเทพฯ แล้วพยายามไปวางในแต่ละพื้นที่อยู่ ผมว่าโอกาสที่เมืองไทยจะก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้สูงมันเกิดขึ้นค่อนข้างยาก ฉะนั้นนี่เป็นโจทย์คร่าวๆ ที่ทำให้เห็นว่า เรื่องของปัญหาโครงสร้าง มันมีมาสักพักแล้ว

    แล้วเรื่องการพัฒนาการส่งออกภาคตะวันออก จริงๆ อีอีซีเป็นเรื่องที่ดี ควรจะทำต่อ ก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เราทำต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในการเปิดอีสเทิร์นซีบอร์ด ปัจจุบันเราก็ยังเน้นการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดอยู่

    แต่น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องคุยกัน ว่านอกจากเรื่องของอีสเทิร์นซีบอร์ด ภาคอื่นในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ เราควรจะมุ่งเน้นไปที่ไหน

    ดร.ธีรวุฒิ: ผมสรุปประเด็นคร่าวๆ เพื่อถาม ดร.พิสิทธิ์ต่อว่า ตอนนี้เราคุยกันว่าเศรษฐกิจดี แต่ทำไมคนยังไม่รู้สึกดีด้วย สิ่งที่เราคุยกันมาก็จะเกิดจากภาคเศรษฐกิจโตจากการส่งออก แต่ฝั่งครัวเรือน ฝั่งเอสเอ็มอี ฝั่งการบริโภค เติบโตขึ้นได้ยาก เกิดจากโครงสร้างหนี้ที่เกิดขึ้น

    และจากการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจของเรา ที่ไม่ได้พัฒนาด้านประสิทธิภาพแรงงาน ซึ่งหลายๆ อย่างนี้อาจจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตที่มันจะเกิดซ้ำ ดร.เบญจรงค์ก็พูดต่อไปอีกอันหนึ่งว่า เหตุที่มันกระจายไปไม่ถึงแต่ละคน ก็เพราะเราดันไปพัฒนากระจุก ดร.พิสิทธิ์อยู่ในภาครัฐ มองเห็นนโยบายต่างๆ ที่เรากำลังจะไปสู่ข้างหน้า ใน 2-3 ประเด็นนี้อย่างไรบ้างครับ

    ดร.พิสิทธิ์: ที่จริงนโยบายการคลังน่าจะมีบทบาทได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้น ปัญหาที่เราคุยกันในรอบแรกเป็นปัญหาที่เราเจออยู่ในวันนี้ ถามว่าเราจะแก้ยังไง ที่ ดร.พิพัฒน์พูดเรื่องการใช้เงินงบประมาณ ใช้เงินรายจ่ายภาครัฐให้มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญ

    ถ้าเรายอมรับปัญหาว่าเรามีความเหลื่อมล้ำ มีคนจน คนรวย มีคนจนมาก เราจะช่วยเขาอย่างไร กลไกรัฐ กลไกนโยบายการคลัง ก็เป็นประโยชน์ แต่ถามว่าการที่เราจะส่งเงินไปให้เขา ทำอย่างไร

    ในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าทุกรัฐบาลอยากจะช่วยคนจน แต่เราไม่รู้จักคนจน ว่าคนจนเป็นใคร อยู่ที่ไหน อันนี้เป็นปัญหาของทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย เราไม่รู้จักคนจน แต่วันนี้ด้วยเทคโนโลยี ภาครัฐสามารถใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูล ฐานข้อมูลต่างๆ ต้นทุนมันต่ำลง อย่างที่ผ่านมาเรามีการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ก็เป็นจุดเริ่มต้นอันหนึ่ง

    วันนี้เรากลับมาเริ่มต้นว่าฐานข้อมูลคนจน เราต้องสร้างให้มันดี แล้วเรารู้จักคนจนว่าคนจนอยู่ที่ไหน เรารู้ว่าคนจนส่วนใหญ่เป็นใคร เราก็จะคาดได้ คนจนส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ที่มาลงทะเบียนเยอะๆ โคราช อุบลราชธานี จังหวัดใหญ่ๆ ที่มีจำนวนลงทะเบียนเยอะ ก็จะเป็นความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่อย่างที่ ดร.เบญจรงค์พูด

    %B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-620x414.jpg
    พิสิทธิ์ พัวพันธ์
    คนอยู่ในต่างจังหวัด คนไม่มีงานทำ ก็จะเป็นเรื่องของการศึกษา เขาไม่มีโอกาสในอาชีพ ก็เป็นโจทย์ที่เรารู้แล้ว ระยะสั้นเราให้ปลา ระยะยาวเราก็ต้องให้เบ็ด ซึ่งนโยบายให้เบ็ดก็คือเทรนนิง

    ในระดับนโยบายเราก็มีการคุยว่าจะมีพี่เลี้ยงมั้ย สำหรับผู้มีรายได้น้อย พี่เลี้ยงที่จะคอยดูแลว่าเขาต้องเทรนเรื่องอะไร เหมือนเป็นที่ปรึกษา เหมือนแบงก์ที่มี account officer ที่ดูแลลูกค้า ภาครัฐก็อาจจะมี account officer ที่ดูแลคนจน ให้คำปรึกษา ทำอย่างไรให้เขายกระดับชีวิตเขาได้ ในระยะยาวก็อย่างที่คุยกันเรื่องของการลงทุน ทั้งลงทุนในคน และเรื่องการศึกษา

    ดร.ธีรวุฒิ: ผมฟังมาทั้งหมด ตอนนี้กลับรู้สึกว่า ที่เราตั้งโจทย์ว่าเศรษฐกิจไทยดี แต่ทำไมคนยังรู้สึกแย่ ผมเริ่มเป็นห่วงน้อยลงแล้ว ผมได้ภาพคล้ายๆ ว่า เราอยู่ในมุมมืดสักอันหนึ่ง แล้วมีลมกระแสที่จุดไฟเล็กๆ ในภาคส่งออก แล้วจะค่อยๆ ลามออกไป

    แต่ฟังทั้ง 3 ท่านแล้ว โดยเฉพาะ ดร.พิพัฒน์ รู้สึกว่าเรากำลังจะเจอคลื่นลูกใหม่ ที่อาจจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปอีกถ้าไม่ปรับตัว ถามในรายละเอียดว่า ดร.พิพัฒน์เห็นอะไรที่มันจะเป็นกระแสใหม่ ที่ถ้าเราไม่ปรับ จะแย่แน่ๆ

    ดร.พิพัฒน์: หลายเรื่องเลยครับ อันที่หนึ่งคือเรื่อง “เทคโนโลยี” ที่คุยกันว่าต่อไปนี้การแข่งขันมันไม่ใช่โชห่วยมุมนึงของถนน ไปแข่งกับโชห่วยอีกมุมนึงของถนนแล้ว แต่เรากำลังแข่งกับอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม ที่มาจากที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วกำลังจะกิน pricing power ของคน แล้วเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ นี่คือสิ่งที่เราเห็นใกล้ตัว

    อันที่สองคือ เทคโนโลยีเหมือนกัน คือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มันเข้ามา ทำให้เราซึ่งอาจจะเคยเป็นเหมือน cash cow ในอดีตเราเคยเป็นฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ มันจะเปลี่ยน wave ไปอย่างค่อนข้างเร็วมาก คำถามคือเราก้าวทันมันหรือเปล่า

    ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ เราเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่รายนึง เป็นศูนย์การผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค แต่รถยนต์กำลังจะเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้อะไหล่ ใช้หม้อน้ำ ใช้เครื่องหล่อลื่น ซึ่งเรามีซัพพลายเชนที่เจ๋งมาก

    แต่ต่อไปส่วนประกอบจะหายไปหมดเลย มันจะเหลือแค่ระบบคอมพิวเตอร์ มอเตอร์ แล้วก็ยางรถยนต์ ซึ่งซัพพลายเชนที่เรามีเกือบจะไม่มีความจำเป็นเลย

    แล้วทำยังไงให้เรายังเป็นเดสติเนชั่นในการลงทุน ที่ต่างประเทศอยากจะมาลงทุนกับเรา เราสร้างอินฟาสตรักเจอร์ หรือสร้างซอฟอินฟาสตักเจอร์ อย่างที่ผมบอก ก็คือเรื่องคุณภาพของคนพร้อมหรือยัง เราเตรียมพร้อมเรื่องการกำกับดูแล เรื่องของนโยบาย เรื่องของสถาบันต่างๆ เช่น เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรม เราทำให้เตรียมพร้อมที่จะดึงดูด wave ต่อไปของการลงทุนหรือยัง ซึ่งภาพมันจะเปลี่ยนไปมหาศาล

    เรื่องที่สามคือเรื่องของ demographic เทรนด์มันจะเปลี่ยนไปเยอะมาก เราใช้แรงงานโมเดลแรงงานแบบเดิมๆ ไม่ได้ รัฐเตรียมพร้อมหรือยังในแง่ของการใช้ทรัพยากรการลดรัฐทั้งหลาย การลดคอร์รัปชัน ซึ่งมันเป็น fat ชิ้นใหญ่ การลดบทบาทภาครัฐ ผมคิดว่ารัฐมีหน้าที่ แต่รัฐต้องรู้ว่าตัวเองควรจะต้องไปทำอะไร

    เช่น บอกว่าปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องคนจน ควรจะทุ่ม resource เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าต้องไปเอา resource จากที่อื่นออก ไม่ใช่เพิ่มทั้งหมด ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นปัญหาว่าเราจะไป crowd-out resource ซึ่งมันมีจำกัดอยู่แล้ว

    ฉะนั้น ลดบทบาทในสิ่งที่รัฐไม่ควรจะทำ รัฐวิสาหกิจเป็นอันนึงซึ่งเราเห็นเลยว่า fat มันค่อนข้างเยอะ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งไม่สามารถแข่งกับบริษัทเอกชนได้

    ทำยังไงรัฐถึงจะมีนโยบายแข่งขันที่ตรงไปตรงมา ไม่เอื้อกับรัฐวิสาหกิจ แล้วสุดท้ายไปทำให้การลงทุนมันสิ้นเปลือง รัฐจะทำยังไงที่จะถอยตัวเองออกมา แล้วทำให้เอกชนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x341.jpg

    อย่างนโยบายการช่วยคนจน ก็เป็นทางที่สำคัญอันหนึ่งในอดีต แต่ตอนนี้เราอาจจะถกเถียงกันว่าให้ได้ ไม่ได้ คนนี้เป็นคนจนโพสต์รูปลงอินสตาแกรม แต่ว่าตรงนั้นยังสิ้นเปลืองน้อยกว่าเราให้รถไฟฟรี แล้วคนรวยจำนวนเยอะมาขึ้น หรือรถเมล์ฟรี หรือไฟฟรี โดยที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราให้ใครไป

    อย่างน้อยวันนี้เป็นความพยายาม ถ้ามันมีปัญหาก็ค่อยๆ แก้กันไป อย่างเช่น ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ในอดีตบอกเลยว่าฟรี ทำยังไง ขสมก. ก็รายงานว่าขาดทุนตลอดเวลา

    แต่ถ้าเรารู้ลิมิตว่าเราจะให้ใคร เราก็จะชัดเจนมากขึ้นว่าค่าใช้จ่ายมันถูกลิมิตเอาไว้ ขสมก. ต่อไปก็ไม่สามารถเคลมว่าขาดทุนเพราะช่วยเหลือคนจน อย่างน้อยมันก็เช็คได้ง่ายขึ้น

    ฉะนั้นรัฐก็ต้องมีบทบาทที่สำคัญในการ reform วันนี้ผมคิดว่าปฏิรูปที่สำคัญที่สุดคือปฏิรูปภาครัฐ ทำยังไงให้เห็นภาพชัดเจนเลยว่า เราจะใช้รัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ต้นทุนคืออะไร ใส่ให้เขาไปเลยมั้ย ให้เขาไปแข่งกับเอกชนให้ได้

    เราจะใช้แบงก์รัฐ บอกไปเลยว่าแบงก์รัฐ ต่อไปนี้การกำกับดูแลตรงกับภาคการเงินทั่วไป ถ้าจะช่วยเหลือก็มีการจัดสรรงบประมาณอย่างชัดเจน เพื่อไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่า เพราะเราต้องมีอันนี้ เพราะเราต้องไปช่วยคนนี้

    ตอนนี้เราชัดเจนแล้วว่า ถ้าจะมาอ้างว่านโยบายนี้เพื่อช่วยคนจน ก็ต้องบอกได้ว่า เราไปช่วยคนจน เป็นใคร แล้วช่วยอย่างไร มีเงินจำกัดอยู่ตรงไหน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญ

    ดร.ธีรวุฒิ: ฟังดูคลื่นอันแรกจะน่ากลัว

    ดร.พิพัฒน์: น่ากลัว ถ้าเราไปดูสปีดของการเปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเรื่องของเทคโนโลยี แล้วเราจะทำยังไงให้ตามทัน เรื่องของการจ้าง capacity เรื่องของความมี agility คือความสามารถที่จะเข้าใจสถานการณ์แล้วปรับเปลี่ยนสถานการณ์ต่อไป

    ไม่ใช่ไปยึดกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ถ้าเกิดมันเข้มงวดเกินไป มันก็อาจจะกลายเป็นบ่วงของตัวเอง ทำให้เราขยับได้ลำบากเหมือนกัน ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

    ดร.ธีรวุฒิ: ถ้าหากตามกระแสไปได้ เราจะไปได้ไกล

    ดร.พิพัฒน์: ใช่ครับ เพราะเรามีบุญเก่าที่ค่อนข้างเยอะ แต่ทำยังไงที่เราจะเอาบุญเก่านั้นมาเป็นสปริงบอร์ดให้เราสามารถรักษาบุญไว้ในอนาคต ไม่ใช่ตกขบวนกับทุกอย่างที่กำลังจะเปลี่ยนไป

    ดร.ธีรวุฒิ: ขอให้ ดร.พิสิทธิ์ ตอบประเด็นนี้ครับว่า ภาครัฐปรับตัวในเรื่องนี้อย่างไรบ้างหรือยัง

    ดร.พิสิทธิ์: กระบวนการก็คงจะต้องปรับตัวอย่างที่ ดร.พิพัฒน์ว่า ไม่อย่างนั้นเราก็จะเผชิญปัญหาในอนาคต ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังก็พยายามปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ สร้างความโปร่งใส กลไกการกำกับดูแล ทุกคนก็คิดเหมือนกันว่า รัฐวิสาหกิจในอนาคตต้องดำเนินงานเชิงพาณิชย์มากขึ้น แยกบัญชีอย่างที่ ดร.พิพัฒน์พูด

    แยกบัญชีธุรกิจกรรมเชิงนโยบาย แยกออกจากธุรกิจกรรมเชิงพาณิชย์ แล้วก็ลดบทบาทลง โดยส่วนตัวผมก็คิดเหมือนกันว่าภาครัฐควรจะทำนโยบายและกำกับดูแล ส่วนโอเปอเรชัน ถ้าเป็นสิ่งที่เอกชนทำได้ ก็ควรจะเป็นสิ่งที่เอกชนทำ

    ที่ผมคิดก็ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ ถ้าเราไปดูประเทศพัฒนาแล้ว เกือบทุกประเทศก็จะเป็นอย่างนี้ ลักษณะภาครัฐเป็น policy maker เป็นผู้กำกับดูแล ส่วนโอเปอเรเตอร์เอกชนเป็นตัวหลัก

    ที่ผ่านมาเรามีรัฐวิสาหกิจทำไม เพราะว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเอกชนทำไม่ได้ รัฐก็ต้องมีรัฐวิสาหกิจมาทำ แต่โลกมันเปลี่ยนเร็ว วันนี้เอกชนมาทำหลายๆ อย่างที่รัฐเคยทำมาในอดีต มันก็เป็นเรื่องในอนาคตต่อไปที่เราต้องกลับมาทบทวนบทบาท

    %B8%92%E0%B8%B4-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88-620x414.jpg
    ธีรวุฒิ ศรีพินิจ
    ดร.ธีรวุฒิ: ถาม ดร.เบญจรงค์ครับว่า ในภาพคลื่นลูกใหม่ที่กำลังมา ตอนนี้เรากำลังคุยเรื่องเศรษฐกิจดี แล้วเราจะจน ภาคเอกชนมองอย่างไร เราจะต้องมาตั้งคำถามแบบนี้อีกมั้ยว่าเราจะจนกันหมดหรือเปล่า

    ดร.เบญจรงค์: จริงๆ ครั้งหนึ่งเราเคยตั้งตัวเองเป็นเสือตัวที่ 5 ตอนนั้นเราพยายามจะแข่งกับสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ แต่พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เราก็ล้มลุกคลุกคลาน ฟื้นได้ช้ากว่าคนอื่น เขาก็ไปแล้ว

    เราเริ่มฟื้นตัวได้เมื่อปี 2544 จีนก็เข้าสู่ WTO คำถามตอนนั้นที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องตอบนักข่าวก็คือ เราจะแข่งกับจีนได้ยังไง แต่ข้อสรุปก็คือ เราแข่งไม่ได้ เราเวิร์กกับเขาในส่วนของการเป็นซัพพลายเชน ไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำหรือปลายน้ำ

    พอออกมาจากวิกฤติซับไพรม์ คนก็เริ่มถามว่า เมืองไทยจะแข่งกับเวียดนามได้มั้ย ผมก็นั่งคิดๆ ดูว่าทำไมคู่แข่งของเรามันลดลงมาเรื่อยๆ หรือของเขาปรับเพิ่มขึ้น แล้วเราอยู่กับที่ ก่อนเข้าเออีซี คนถามผมว่าเราจะแข่งกับพม่ายังไง

    ฉะนั้นมันทำให้เห็นว่า คู่แข่งในโลกเขาปรับตัวเร็วมาก แล้วทำให้ผมนึกถึงหนึ่งคำที่คนจะพูดผิดบ่อยๆ คนจะบอกว่า ชาร์ลส์ ดาร์วิน บอกว่าผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่อยู่รอดได้ ไม่จริงครับ ไดโนเสาร์แข็งแรงกว่ามนุษย์เยอะมาก สุดท้ายก็ไม่สามารถอยู่รอดได้

    ผู้ที่จะสามารถอยู่รอดได้ คือคนที่สามารถปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาวะที่ตัวเองไปได้ ผมว่านี่เป็นเรื่องที่จริงสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน

    สิ่งที่เราโฟกัสต่อไป ไม่ใช่การวางแผนระยะยาว ว่าสุดท้ายเราจะไปสู่แผนนั้นได้ยังไง แต่คือการทำให้เศรษฐกิจสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้เร็วที่สุด

    อันนี้เป็นโจทย์ที่บริษัทเอกชนทุกบริษัทใช้เวลาอย่างมากในการพยายามทำตอนนี้ ให้องค์กรตัวเอง ทำยังไงให้ไปสู่การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะว่าสิ่งที่เราวางแผนไว้ปีหน้า จะไม่เหมือนสิ่งที่เราเห็นในวันนี้ แม้กระทั่งวันนี้เราคิดว่าปีหน้าน่าจะเป็นอย่างนี้ ปีหน้าไม่เหมือนที่เราบอกหรอกครับ สุดท้ายมันจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง

    ฉะนั้นความรวดเร็วของการตอบสนองจะเป็นโจทย์ที่สำคัญมาก ตัวนี้เป็นโจทย์ใหญ่ของภาครัฐ เพราะต้องบอกว่าเมื่อวิกฤติปี 2540 ทำให้ภาคเอกชนต้องปรับตัวเองอย่างรุนแรงมาแล้วหนึ่งครั้ง

    เพราะฉะนั้น ภาคเอกชนจะมีความยืดหยุ่นกว่าภาครัฐ โชคดีของเมืองไทย แต่ก็เป็นโชคร้ายของภาครัฐด้วย ที่เราไม่เคยมีวิกฤติของภาครัฐ เรามีวิกฤติการเมือง แต่ยังไม่เคยเกิดวิกฤติภาครัฐอย่างกรีซ หรืออย่างประเทศพัฒนาแล้ว เพราะฉะนั้นภาครัฐยังไม่เคยถูกบังคับให้มีการปรับตัวอย่างรุนแรง

    แต่ผมคิดว่ามันหนีไม่พ้นแล้วครับ เพราะต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจที่เรามา ณ ปัจจุบัน บทบาทของภาครัฐมันเล็กลงเรื่อยๆ แล้วไม่ควรจะพยายามใหญ่ไปมากกว่านี้ ในอดีตสัดส่วนจีดีพีของภาครัฐใหญ่กว่านี้ ปัจจุบันสัดส่วนเหลืออยู่ที่ประมาณ 20% ของจีดีพี

    เพราะฉะนั้น การที่บอกว่าภาครัฐจะต้องทำให้เศรษฐกิจฟื้น มันเป็นไปไม่ได้ ในขณะที่เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือภาคเอกชน

    ผมคิดว่าภาครัฐจะต้องกลับมาปรับเรื่องของกระบวนการของตัวเองที่เคยเป็นขั้นตอน หรือการไม่กล้าตัดสินใจ ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2-3 อัน เพื่อมาตัดสินใจ อย่างนั้นมันต้องค่อยๆ หายไป

    B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-620x390.jpg

    ในขณะเดียวกัน ให้แฟร์กับภาครัฐ มีหลายอย่างที่ภาครัฐทำได้ดี จริงๆ ผมเห็นด้วยเรื่องโครงการขึ้นทะเบียนคนจน ผมคิดว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ครั้งหนึ่งทุกคนคุ้นคำว่าเช็คช่วยชาติ ตอนวิกฤติซับไพรม์ปี 2552 เราออกโครงการเช็คช่วยชาติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้คนที่มีเงินเดือนประมาณ 15,000 ตอนนั้นก็ด่ากันระงมกันทั้งเมืองว่าทำไมให้คนเงินเดือน 15,000 พวกนี้เป็นคนรวย คำตอบที่รัฐไม่ได้บอกตอนนั้นคือ เขาไม่รู้ว่าคนจนอยู่ไหน เขาบอกไม่ได้จริงๆ แล้วรัฐบาลอยู่อย่างนั้นมาตลอด 20 ปี ไม่สามารถบอกได้ว่าคนจนอยู่ที่ไหน

    ถึงแม้โครงการนี้จะได้คนไม่จนปนมาบ้าง แต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ โลกยุคใหม่จะถูก drive ด้วยข้อมูล หลายคนบอกว่า data is the new oil data หรือข้อมูลจะเป็นเหมือนน้ำมัน ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเมื่อร้อยปีที่แล้ว

    เพราะฉะนั้นตัวข้อมูลจะเป็นตัวที่สำคัญที่สุด พอทำเรื่องของทะเบียนคนจนเสร็จ ต่อไปคงหนีไม่พ้นภาครัฐคงต้องทำข้อมูลเรื่องเอสเอมอีให้มากขึ้นด้วย ตรงนี้ภาครัฐก็ยังไม่เห็นว่าสุดท้ายแล้วเอสเอ็มอีหน้าตารูปร่างเป็นยังไง แล้วเขามีปัญหาอะไร

    ดร.ธีรวุฒิ: สุดท้ายผมอยากจะถามวิทยากรทั้ง 3 ท่าน เราเห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นมา แต่ก็มีบางภาคที่ยังไม่ได้รับอานิสงส์ เราเห็นคลื่นใหม่ที่อาจจะน่ากลัวกว่าเดิม เราเห็นภาพนี้แล้ว อยากให้ทุกท่านฝากเป็นคอมเมนต์ทิ้งท้ายว่า ภาพนี้เราควรจะมองมันยังไง

    ดร.พิพัฒน์: ผมคิดว่าแต่ละคนก็ควรบริโภคข่าวสารด้วยสติ ไม่ใช่เห็นตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นแล้วเราก็เริ่มใช้เงิน ทั้งที่เงินยังไม่เข้ากระเป๋า และต้องเข้าใจโครงสร้างเศรษฐกิจ เข้าใจว่าเราไม่สามารถสรุปตัวเลขได้ หรือไม่สามารถสรุปภาพใหญ่ๆ ออกมาได้ด้วยตัวเลขตัวเดียว เพราะสุดท้ายมันมีการกระจายเต็มไปหมด

    เราบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว ถ้าบังเอิญเราอยู่ในจุดที่มันแย่กว่าค่าเฉลี่ย ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะดีไปด้วย ในระยะสั้น อาจจะมีอานิสงส์ค่อยๆ ตามมา แต่ต้องเข้าใจวันนี้ว่า ตัวที่ผลักดันสำคัญจริงๆ คือภายนอก คนที่ใช้เงินคือผู้ซื้อภายนอก ไม่ใช่ข้างใน

    เพราะฉะนั้นเราก็อย่าไปใช้เงินตามเขา แต่ละคนก็อาจจะต้องบริโภคข่าวสารมีสติ ต้องพิจารณาสำรวจตัวเอง แล้วเราต้องมองไกลด้วย ในแง่ว่า wave อะไรที่มันกำลังจะเข้ามา นอกเหนือจากภาวะเศรษฐกิจระยะสั้น

    ถ้าใครอยู่ในอุตสาหกรรมที่มันมีการ disrupt กันเยอะๆ มีการเปลี่ยนแปลงเยอะๆ ความถี่และความเร็วของการเปลี่ยนแปลง มันจะเข้ามาเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราปรับตัวอย่างไร ในเรื่องของทั้งโครงสร้าง เรื่องของโมเดลธุรกิจ ไม่ใช่ว่าปู่ย่าตายายทำมาอย่างนี้ เราก็รักษาไปเรื่อยๆ สุดท้ายมันอาจจะคามือก็ได้

    แล้วเราจะปรับ skill ของเราอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลงเยอะเต็มไปหมด จะทำยังไงให้เราเข้าใจสถานการณ์และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวเอง

    %B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%884-620x414.jpg
    เวทีปัญญาสาธารณะ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้น แต่ทำไมคนไม่รู้สึกดี?” ณ SEAC ชั้น 2
    ดร.เบญจรงค์: การปรับตัวสำคัญที่สุดครับ แต่ก็ไม่รู้จะบอกยังไงดี ให้ท่านผู้ฟังทุกท่านไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ไกลเกินตัว อย่างแรกก็คือตื่นตัว แต่อย่าตื่นตระหนก ตามข่าวให้เห็นว่าตัวเนื้อข่าวมันต้องดูหลายๆ อันประกอบ มันไม่มีข่าวไหนที่ให้ข้อมูลหรือให้มุมมองได้ 100% ต้องหาข้อมูลอื่นประกอบด้วย

    ยิ่งในยุคโซเชียล ข่าวปลอม ข่าวเท็จก็เยอะ ข่าวเต้า ข่าวโกหก ข่าวแต่งตัวเลข เพราะฉะนั้นอย่าเชื่อทุกอย่างที่เป็นข่าว แต่พอดูข่าวแล้วสำรวจตัวเอง ว่าสุดท้ายแล้วศักยภาพ จุดแข็งของตัวเองเป็นยังไง ความสนใจของตัวเองคืออะไร

    อย่างเรื่องดิจิทัล ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องเป็นดิจิทัลถึงจะชนะ แต่ทุกคนต้องอยู่กับดิจิทัลได้ ยกตัวอย่าง แนะนำให้ดูรายการอายุน้อยร้อยล้าน ที่เขาสะท้อนให้เห็นว่าการทำธุรกิจยุคใหม่มันทำยังไง

    การทำธุรกิจยุคใหม่ ไม่ใช่ทุกคนต้องขึ้นดิจิทัล ขึ้นเฟซบุ๊ก ขึ้นโซเชียลหมด แต่เขาใช้กลไกของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ใช้กลไกของดิจิทัล มาช่วยทำให้จุดแข็งของเขามันเด่นไปสู่คนในวงที่กว้างขึ้น

    ยกตัวอย่างเจ๊ไฝ ก็ไม่ได้ดิจิทัลเลย และก็ไม่ใช่ธุรกิจเดียว ผมคิดว่ายังมีอีกหลายๆ ธุรกิจไม่ว่าจะร้านอาหาร หรือร้านที่เป็นดิจิทัลหน่อย แต่สามารถเข้าไปอยู่กับโลกดิจิทัลที่กำลังไปได้

    ถ้าทุกคนกระโดดเข้าอีคอมเมิร์ซหมด ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่น่ารอด เพราะอีคอมเมิร์ซไม่ใช่พื้นที่สำหรับทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ แต่เราสามารถอยู่กับดิจิทัล แล้วเอาจุดแข็งของตัวเองกับจุดแข็งของดิจิทัลมารวมกัน เพื่อให้เข้าไปสู่ลูกค้าที่กว้างขึ้นได้ ตรงนี้อยากฝากให้ลองนึกดู แล้วลองดูตัวอย่างหลายๆ อัน ผมคิดว่ามันมีตัวอย่างค่อนข้างเยอะที่สามารถทำได้

    ดร.พิสิทธิ์: ก็มองเหมือนกับทั้ง 2 ท่าน ว่าเรื่องของการปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ แล้วยิ่งมีกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

    ภาครัฐเองก็ต้องพยายามปรับตัวทั้งระยะสั้น ระยะยาว นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการ คลังคงจะต้องเตรียม ระยะสั้นอย่างที่เราคุยกันคือ target group เป้าหมาย ใช้เงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้รวดเร็วมากขึ้น

    ระยะยาวก็คือเรื่องของการลงทุน เรื่องการเตรียมความพร้อมสังคมผู้สูงอายุ ในอนาคต สศค. (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) ประเมินไว้ว่าปี 2597 ประกันสังคมจะหมดเงิน อีก 30 กว่าปี ไปถึงจุดนั้นเราจะเตรียมรองรับยังไง จะต้องปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมให้มันยั่งยืนมากขึ้น เตรียมระบบการออม ใช้กลไกการออมเป็นตัวกระจายรายได้ ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องทำในอนาคต ใครรายได้มากก็ออมเยอะ แต่เวลาจ่ายผลประโยชน์ก็เน้นไปทางคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ท้ายที่สุดเพื่อที่จะเตรียมพร้อมประเทศไทยเข้าสูยุคดิจิทัล ให้แข่งขันได้ในโลกอนาคตที่ข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว

    ดร.ธีรวุฒิ: วันนี้เราคุยกันว่าเศรษฐกิจดี แต่ทำไมคนยังรู้สึกแย่ ผมขอสรุปโดยภาพรวมว่า การที่เศรษฐกิจดี แต่คนรู้สึกแย่ เกิดจากสาเหตุที่หนึ่งก็คือ เศรษฐกิจมันโตทางเศรษฐกิจบางภาค ก็คือภาคการส่งออก ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจแบบนี้ วัดตัวเลขเศรษฐกิจออกมา เราจึงเห็นว่าเศรษฐกิจดี แต่ในภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เชื่อมโยงกับการส่งออก ก็ยังไม่ได้รับอานิสงส์

    ทุกท่านได้ให้ข้อเสนอว่า เศรษฐกิจจะต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป แล้วบางภาคอาจจะได้รับผลช้าหน่อย บางภาคได้รับผลเร็วหน่อย แต่วิทยากรทั้ง 3 ท่านได้ชี้ประเด็นอีกอันหนึ่งว่า เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี ยังมีปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เราเรียกว่า “ดิจิทัลอีโคโนมี”

    การเปลี่ยนแปลงนี้ ใครเตรียมตัวดีจะได้รับอานิสงส์ ใครเตรียมตัวไม่ดี อาจจะตกขบวนไป ซึ่งในเรื่องดิจิทัลอีโคโนมี ไทยพับลิก้าจะได้จัดเวทีปัญญาสาธารณะครั้งที่5 จะมาคุยเรื่องดิจิทัลอีโคโนมีโดยเฉพาะ

    สนับสนุนเวทีปัญญาสาธารณะครั้งที่ 4 โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
    KKP-620x86.jpg

    https://thaipublica.org/2018/01/public-wisdom4-2/
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช

    "ของข้าใหญ่กว่าว้อย!" ทรัมป์ท้าดวลปุ่มนิวเคลียร์กับคิมน้อย สหรัฐสั่งเกาหลีใต้ห้ามเจรจาสันติภาพระหว่างสองเกาหลี

    FB_IMG_1515072111877.jpg FB_IMG_1515072116674.jpg FB_IMG_1515072121732.jpg FB_IMG_1515072124986.jpg FB_IMG_1515072128703.jpg

    ------------

    วันที่ 3 ม.ค.61 RT พาดหัวข่าวว่า "‘Mine is bigger’: Trump dares Kim Jong-un to compare nuclear buttons"

    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐได้ยิงทวิตเตอร์ใส่ประธานาธิบดีคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ โดยอ้างว่าอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐ "ทรงพลังมากกว่า" ของคิมน้อย

    คิมน้อยได้กล่าวถ้อยแถลงผ่านโทรทัศน์ทั่วประเทศเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ว่า "ประเทศสหรัฐทั้งหมดอยู่ในรัศมีของอาวุธนิวเคลียร์ของเรา และปุ่มนิวเคลียร์ก็อยู่บนโต๊ะทำงานของข้าพเจ้าเสมอ นี่คือความจริง ไม่ใช่การข่มขู่ อาวุธเหล่านี้จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อความมั่นคงของเราถูกคุกคามเท่านั้น"

    สามวันต่อมา ทรัมป์ของขึ้น จึงโพสต์ข้อความตอบกลับต่อผู้นำเกาหลีเหนือผ่านทวิตเตอร์ของตนเองว่า "คิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เพิ่งประกาศว่า 'ปุ่มนิวเคลียร์อยู่บนโต๊ะทำงานของเขาตลอดเวลา' ใครก็ได้จากระบอบที่ขาดอาหารแคลนและอดอยากแห่งนั้น ช่วยบอกเขาทีว่า ผมก็มีปุ่มนิวเคลียร์เหมือนกัน แต่มันใหญ่กว่า และทรงพลังมากกว่าของเขาซะอีก ปุ่มของผมไม่ด้าน!"

    เมื่อวันอังคารนี้ ทรัมป์ได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์เกี่ยวกับเกาหลีเหนือว่า "การคว่ำบาตรและการกดดันด้านอื่นๆกำลังเริ่มจะมีผลกระทบขนาดใหญ่ (ต่อเกาหลีเหนือ)" ทรัมป์อ้างถึงการที่มีสายลับขายชาติในกองทัพเกาหลีหนีตายจากเกาหลีเหนือเข้าไปในเกาหลีใต้เมื่อเร็วๆนี้ และการแสดงความประสงค์ของคิมที่ส่งสัญญาณต้องการจะเจรจากับเกาหลีใต้

    [แต่สิ่งที่ทรัมป์และสื่อกระแสหลักของตะวันตกนำโดยสหรัฐพยายามที่จะไม่พูดถึงก็คือ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมหัวกันขายน้ำมันให้เกาหลีเหนือจากเรือสู่เรือกลางทะเลสากล ซึ่งเป็นการละเมิดมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สื่อกระแสหลักของสหรัฐและเกาหลีใต้บอกแต่เพียงว่า เกาหลีใต้ยึดเรือบรรทุกน้ำมันของจีน (ฮ่องกง) และเรือติดธงชาติปานามา แต่ไม่ได้บอกว่าเอาน้ำมันมาจากไหน ใครเป็นคนขาย

    สิ่งรัฐบาลสหรัฐและสื่อกระแสหลักพูดถึงเกาหลีเหนือแบบแผ่นเสียงตกร่องก็คือ เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ยากจน ประชาชนอดอยาก แต่กลับไม่กล้าบอกว่าในเกาหลีเหนือไม่มีประชาชนที่ไร้ที่อยู่อาศัยและคุ้ยหาอาหารกิน เหมือนกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐ ซึ่งมีประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยหลายแสนคน - ผู้แปล]

    ช่วงปลายปี 2017 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้พยายามเป็นอย่างยิ่งในการที่จะดึงเกาหลีเหนือให้ส่งทีมนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 (Winter Olympics / PyeongChang 2018) ที่เกาหลีใต้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าอย่างน้อยก็จะไม่มีสถานการณ์ที่ตึงเครียดในช่วงเวลาดังกล่าว ต่อมาในวันขึ้นปีใหม่ปีนี้ ผู้นำเกาหลีเหนือประกาศว่ามีความสนใจที่จะทำงานด้านการทูตกับเกาหลีใต้เกี่ยวกับ โอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ทาง IOC และเกาหลีใต้ต่างก็ยินดีกับท่าทีล่าสุดของเกาหลีเหนือ ล่าสุด Yonhap News ของเกาหลีใต้รายงานว่า เกาหลีเหนือกล่าวว่าตนเองจะฟื้นฟูช่องทางการสื่อสารระหว่างสองเกาหลีอีกครั้ง

    นางนิกกี้ เฮลี่ย์ (ปากปีจอ) เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติได้กล่าวในการแสดงความคิดเห็นกรณีที่สองเกาหลีพยายามจะฟื้นฟูความสัมพันธ์และการเจรจาสันติภาพร่วมกันว่า "เกาหลีเหนือสามารถที่จะคุยกับใครก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการ แต่สหรัฐจะไม่ยอมรับและไม่รับรู้ จนกว่าพวกเขาจะยอมตกลงที่จะยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ที่พวกเขามีซะก่อน"

    "ตามที่เราได้ฟังการรายงานข่าวที่ว่า เกาหลีเหนืออาจจะกำลังเตรียมการทดลองขีปนาวุธอีกครั้ง เดี๊ยนหวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริง เราก็จะนำมาตรการต่างๆอีกมากเทใส่รัฐบาลเกาหลีเหนืออีก" เฮลี่ย์ขู่เกาหลีเหนือ

    ในวันเดียวกันนี้ สื่อเกาหลีใต้รายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันอังคารนี้ว่า ความประสงค์ของเกาหลีเหนือที่จะเจรจากับเกาหลีใต้อาจจะเป็น "ข่าวดี" แม้ว่าทรัมป์จะยังตั้งข้อสงสัย (ว่ามันจะเป็นไปได้หรือ? เพราะว่าสหรัฐจะขวางเต็มที่)

    ส่วนโฆษกทำเนียบขาวแถลงข่าวว่า สหรัฐจะเดินหน้ากดดันเกาหลีเหนือให้ถึงที่สุดเพื่อบังคับให้เกาหลีเหนือยกเลิกโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง (ผู้นำเกาหลีเหนือได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมยกเลิกโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของตนเอง ปี 2018 นี้จะทดลองหนักและใหญ่กว่าเดิมด้วย)

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    03/01/2561
    ----------
    https://www.rt.com/usa/414864-trump-nuclear-button-north-korea/
    http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2018/01/03/30/0401000000AEN20180103001000315F.html
    http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2018/01/03/0401000000AEN20180103001200315.html
    http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2018/01/03/0401000000AEN20180103002951315.html
    https://sputniknews.com/asia/201801021060482751-usa-north-korea-talks-recognition/
    http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2018/01/02/56/0401000000AEN20180102011251315F.html
    https://www.rt.com/news/414871-north-korea-hotline-south-talks/
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    "เยรูซาเลมไม่ได้มีไว้สำหรับขาย!" โฆษกผู้นำปาเลสไตน์ตอกหน้าทรัมป์ หลังสหรัฐขู่จะตัดเงินช่วยเหลือ $300 ล้าน หากปาเลสไตน์ไม่ยอมยกเยรูซาเลมให้ยิว

    FB_IMG_1515073031299.jpg FB_IMG_1515073034687.jpg

    ------------

    วันที่ 3 ม.ค.61 RT พาดหัวข่่าวว่า "'Jerusalem is not for sale’: Palestine to Trump after US threatens to cut $300mn aid"

    โฆษกประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส (Mahmoud Abbas) กล่าวว่า "เยรูซาเลมไม่ได้มีไว้สำหรับขาย" (Jerusalem is not for sale) ในการตอบโต้ต่อคำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐที่บอกว่าจะตัดเงินช่วยเหลือทางการปาเลสไตน์ประจำปี

    ทรัมป์ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ของตนเองเมื่ออังคารนี้ว่า สหรัฐอาจจะตัดเงินช่วยเหลือรายปีจำนวน $300 ล้าน (ประมาณ 9,600,000,000 บาท) ต่อปาเลสไตน์ เนื่องจาก "ไม่ได้รับคำชมและการเคารพ" ตอบแทน

    [คำชื่นชมและการเคารพที่ทรัมป์พูดถึงก็คือ "ปาเลสไตน์จะต้องยกเยรูซาเลมให้อิสราเอล" ตามที่เจ้าพ่อประชาธิปไตยทรัมป์ชี้นิ้วสั่งการ - ผู้แปล]

    ทรัมป์โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ว่า "ไม่ใช่เฉพาะปากีสถานเท่านั้นที่เราจ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้โดยเปล่าประโยชน์ แต่ยังรวมถึงประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศด้วย เช่น เราจ่ายเงินให้ปาเลสไตน์ปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์ กลับไม่ได้รับคำชมและการเคารพ พวกเขาไม่ต้องการที่จะเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพที่ค้างคามานานกับอิสราเอล เรายึดเยรูซาเลม แต่ส่วนที่หินที่สุดของการเจรจากลับไม่อยู่บนโต๊ะเจรจา แม้ว่าอิสราเอลจะยอมจ่ายมากขึ้น แต่พวกปาเลสไตน์ก็ไม่ต้องการที่จะพูดถึงสันติภาพอีกต่อไป ทำไมเราจะต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลเหล่านี้ในอนาคตด้วย?"

    นาย Nabil Abu Rdainah โฆษกประธานาธิบดี Mahmoud Abbas กล่าวตอบโต้ต่อคำขู่ของทรัมป์ว่า "เยรูซาเลมไม่ได้มีไว้สำหรับขาย แม้ว่าจะแลกด้วยทองคำหรือเงินก็ตาม หากสหรัฐกระตือรือร้นเกี่ยวกับสันติภาพและผลประโยชน์ของตนเอง จะต้องปฏิบัติตามที่ว่ามานี้"

    [ในขณะที่สหรัฐดราม่ากล่าวหาประเทศอื่นๆว่าไม่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่เคารพมติยูเอ็น แต่เมื่อยูเอ็นคัดค้านท่าทีของสหรัฐในเรื่องเยรูซาเลม สหรัฐกลับไม่ยอมรับมติยูเอ็น และขู่ว่าจะตัดเงินช่วยเหลือยูเอ็น ตัดเงินช่วยเหลือปาเลสไตน์ อิสราเอลถอนตัวออกจาก UNESCO

    ต่อไปประเทศต่างๆที่รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐที่บริจาคผ่านองค์กร NGO เติมเงินทั้งหลาย ซึ่งเป็นเครื่องมือและลูกสมุนของสหรัฐในการแทรกแซงประเทศอื่น ก็คงจะต้องยกแผ่นดินและผลประโยชน์ของตนเองให้สหรัฐตามที่สหรัฐต้องการ เพื่อตอบแทนบุญคุณสหรัฐสินะ? ตอนนี้สหรัฐกำลังหันไปกัดอิหร่านและปากีสถาน - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    03/01/2561
    ----------
    https://www.rt.com/news/414878-jerusalem-not-for-sale/
    https://sputniknews.com/middleeast/201801031060491095-palestine-backfires-trump-aid-threat/
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    หลักการเดียวกัน ทรัมป์จะยอมรับได้ไหม?

    FB_IMG_1515073737467.jpg
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    ข่าวบันเทิง... โฆษกหญิงทำเนียบขาวยืนยัน "ของทรัมป์ใหญ่กว่าของคิมน้อย" พร้อมกับกล่าวหาว่าคิมน้อยมีปัญหาทางสุขภาพจิต หลังผู้นำสหรัฐเป็นฝ่ายท้าแข่งปุ่มนิวเคลียร์กับผู้นำเกาหลีเหนือก่อน

    FB_IMG_1515074319168.jpg FB_IMG_1515074322439.jpg

    ------------

    วันที่ 4 ม.ค.61 RT พาดหัวข่่าวว่า "เหมือนกับปุ่มนิวเคลียร์ของเขานั่นแหละ (ที่ต้องใช้แว่นขยายช่วยส่อง?) สมรรถนะทางจิตของทรัมป์เจ๋งกว่าของคิม - ทำเนียบขาวตอกย้ำสุขภาพจิตของทรัมป์" (Like his nuclear button, Trump's mental fitness is better than Kim's – White House)

    บรรดานักข่าวต่างก็พากันท้าทาย "สมรรถนะทางจิต" (mental fitness) ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยตรง หลังจากที่ทรัมป์คุยโวว่า "ปุ่มนิวเคลียร์" ของตนเองใหญ่กว่าและ "ปั๋งกว่า" ของประธานาธิบดีคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ และกล่าวว่าชาวอเมริกันควรจะกังวลใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางจิตของคิมน้อยมากกว่าของทรัมป์

    สื่อกระแสหลักของสหรัฐต่างก็พากันตีข่าวที่ฉาวโฉ่หลังจากที่ทรัมป์ปะทะฝีปากกับคิมน้อยเมื่อวันพุธนี้ สำนักข่าว NBC หนึ่งในสื่อหลักของสหรัฐได้ยิงคำถามตรงใส่นาง Sarah Huckabee Sanders โฆษกทำเนียบขาวว่า "ประชาชนชาวอเมริกันควรจะมีความกังวลใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางจิตของประธานาธิบดี (สหรัฐ) หรือไม่ โดยพิจารณาว่าทรัมป์กำลังพูดไปในลักษณะการคุกคามเกี่ยวกับปุ่มนิวเคลียร์?"

    ผู้สื่อข่าว NBC ได้อ้างถึงทวิตเตอร์ของทรัมป์เมื่อเร็วๆนี้ ในการตอบโต้ต่อการกล่าวถ้อยแถลงของประธานาธิบดีคิม จอง-อึน แห่งเกาหลีเหนือว่า "ผมก็มีปุ่มนิวเคลียร์เหมือนกัน แต่มันใหญ่กว่า และแรงกว่าของเขา และยังใช้งานได้ด้วย"

    นาง Sanders แก้ตัวแทนทรัมป์ว่า "ดิฉันคิดว่าประธานาธิบดีและประชาชนของประเทศนี้ควรจะกังวลใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางจิตของผู้นำเกาหลีเหนือ เขาได้กระทำการข่มขู่ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาได้ทดลองมิสไซล์ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นเวลาหลายปี (เหมือนกับสหรัฐ แต่น้อยกว่าสหรัฐ) และนี่ก็คือประธานาธิบดีผู้ที่จะไม่ห่อเหี่ยวหรืออ่อนปวกเปียก (cower down or be weak) และจะทำให้มั่นใจได้ว่าท่านจะทำในสิ่งที่ท่านได้สัญญาเอาไว้ว่าจะทำ และจะผงาดขึ้นและปกป้องประชาชนชาวอเมริกันค่ะ"

    เมื่อผู้สื่อข่าวอีกคนถามว่า "มันจะไม่เป็นอันตรายสำหรับประธานาธิบดีหรอกหรือที่ไปสบประมาทเขา [คิม] ผ่านทวิตเตอร์แบบนั้น?" นางแซนเดอร์ตอบกว่า "ดิฉันคิดว่ามันไม่ใช่การสบประมาทเพื่อที่จะลุกขึ้นสำหรับประชาชนของประเทศนี้ (แสดงว่าปัจจุบันนี้สหรัฐล้มแล้วหละสิถึงต้องลุกขึ้น?) ดิฉันคิดว่าสิ่งที่เป็นอันตรายก็คือการเพิกเฉยต่อภัยคุกคามที่ยังคงมีอยู่ต่อไป"

    และคำถามสุดท้ายที่ถามว่า ทรัมป์ได้ตระหนักหรือไม่ว่าเจ้าปุ่มสีแดงเชิงเปรียบเปรยนั้นมันไม่ได้มีอยู่จริงๆ? นางแซนเดอร์ตอบผู้สื่อข่าวว่า "อันที่จริงแล้ว ของทรัมป์ใหญ่กว่าของคิมนะคะ (หล่อนไปเห็นของทรัมป์กับของคิมน้อยตั้งแต่เมื่อไร? หรือว่าสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐได้ไปวัดขนาดของปุ่มนิวเคลียร์ของคิมน้อยเทียบกับของทรัมป์แล้ว?)"

    "ท่านประธานาธิบดีตระหนักเป็นอย่างดีว่าขั้นตอนนี้ทำงานอย่างไร และอะไรคือศักยภาพของสหรัฐ และดิฉันก็สามารถบอกคุณได้เลยว่า มันใหญ่กว่าของเกาหลีเหนือซะอีก" (ฮ่าๆๆ... นั่นแหละครับ การแถลงข่าวประจำวันของรัฐบาลของประเทศที่อวดอ้างว่าเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลก "ของทรัมป์ใหญ่กว่าของคิมคร้าาาาา เดี๊ยนขอรับประกัน" ฮิ้วววว)

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    04/01/2561
    ----------
    https://www.rt.com/usa/414941-trump-mental-fitness-kim-nuclear/
    http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2018/01/04/43/0401000000AEN20180104001100315F.html
    http://english.yonhapnews.co.kr/national/2018/01/04/0301000000AEN20180104000400315.html
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช

    "สหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว จักรวรรดิอเมริกาก็จะล่มสลายเช่นกัน" Ron Paul อดีตสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐเตือน

    IMG_20180105_072246_672.jpg

    ------------

    วันที่ 4 ม.ค.61 RT รายงานว่า ในขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ คุยโวโอ้อวดความสำเร็จของตนเองในการทำให้สถานการณ์ทางการเงินมีเสถียรภาพ ท้ายที่สุดแล้วหนี้สินและการใช้จ่ายงบประมาณทหารที่สุรุ่ยสุร่ายของอเมริกาก็จะทำให้ระบบพัง และถูกเผาผลาญเหมือนกับช่วงวาระสุดท้ายของสหภาพโซเวียต Ron Paul กล่าว

    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังเมามันกับการท้าดวลปุ่มกดนิวเคลียร์กับผู้นำเกาหลีเหนือแบบสองแง่สามง่าม) ได้โอ้อวดถึงการนำความฉลาดเฉียบแหลมในการทำธุรกิจของตนเองเข้าไปมีบทบาทในการนำประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเขาจะไม่สามารถหยุดยั้งการพังครืนทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วก็ตาม Ron Paul อดีตสามาชิกสภาคองเกรส และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ RT ของรัสเซีย

    "หนทางที่ผมมองก็คือในแง่ของเศรษฐกิจ ความเข้าใจของผมก็คือมันไม่ใช่การสร้างกองทัพของพวกเราให้สหรัฐ ที่ทำให้ระบบของโซเวียตพัง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ โซเวียตใช้ระบบที่พวกเรา - ผู้คนที่ชอบตลาดเสรี - มองว่าใช้การไม่ได้โดยประการทั้งปวง" Ron Paul กล่าว

    เมื่อพูดถึงความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับเศรษฐกิจของออสเตรีย Ron Paul กล่าวว่า ระบอบคอมมิวนิสต์ ตามด้วยระบอบฟาสซิสม์ และแม้กระทั่งระบอบ เคนเซียนิสม์ (Keynesianism ระบบเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงระยะเวลาสั้นๆหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ต่างก็เป็นระบอบที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง และในที่สุดแล้วก็จะพัง และสิ่งเดียวกันนี้ก็จะเกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐ และลัทธิทหาร (militarism) ของตนเองด้วย

    "เรากำลังจะเผชิญกับจุดจบแบบกลียุคอย่างกระทันหัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับระบบของโซเวียต มันอาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ก็มีความเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกัน และบางประเทศที่แยกตัวออกจากระบบของโซเวียต บางทีบรรดารัฐต่างๆของพวกเราก็อาจจะไม่แตกกระจาย แต่ผมก็เชื่อมั่นว่าเราจะไม่สามารถล่อเลี้ยงจักรวรรดิของพวกเราทั่วโลกได้" อดีตสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐระดับแนวหน้ากล่าว

    Ron Paul กล่าวอีกว่า "จักรวรรดิของเรา แม้ว่าเราจะไม่ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของมัน (โดยตรง) ก็ตาม มันมีเงินเป็นจำนวนมาก มีอิธพลมาก และเราก็ข่มขู่ (ประเทศอื่น) ด้วยอาวุธ และเราก็ใช้การคว่ำบาตรต่างๆเพื่อทำให้จักรวรรดิของเรารวมตัวอยู่ได้ [แต่] ผมคิดว่ามันกำลังจะถึงจุดจบแล้ว"

    [Ron Paul ไม่ได้บอกว่า สหรัฐร่ำรวยด้วยประชาธิปไตย และเสรีภาพ และไม่ได้บอกว่าเงินจำนวนมากเหล่านั้นที่สหรัฐมี เอามาจากไหนบ้างและด้วยวิธีการแบบไหนบ้่าง - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    04/01/2561
    ----------
    https://www.rt.com/usa/414931-ron-paul-america-meltdown/
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    มุกเดิม... กต.สหรัฐขึ้นยัดข้อหา "ละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา" ให้เกาหลีเหนือ

    FB_IMG_1515112650796.jpg FB_IMG_1515112655553.jpg FB_IMG_1515112661668.jpg FB_IMG_1515112665515.jpg FB_IMG_1515112670839.jpg FB_IMG_1515112674345.jpg FB_IMG_1515112688096.jpg FB_IMG_1515112714506.jpg

    ------------

    บทที่ 5 มาตราที่ 68 แห่งรัฐธรรมนูญของเกาหลีเหนือระบุว่า "พลเมืองมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา สิทธิ์นี้ได้รับการรับรองผ่านการก่อสร้างศาสนสถานและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนาจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการเคลื่อนกองทัพต่างชาติเข้ามาในประเทศ หรือเพื่อทำร้ายรัฐหรือระเบียบสังคม"

    สื่อเกาหลีเหนือรายงานว่า พลเมืองของ DPRK ทุกคนมีความสุขกับเสรีภาพในการนับถือ (หรือไม่นับถือ) ศาสนาอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะมีโฆษณาชวนเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ DPRK ก็ตาม สมาพันธ์ชาวพุทธเกาหลี สมาพันธ์คริสเตียนเกาหลี และกลุ่มศาสนาอื่นๆต่างก็ภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในสถาบันของสาธารณชน

    รัฐธรรมนูญสังคมนิยมแห่ง DPRK ระบุไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิ์ในการนับถือศาสนาของพลเมืองในบทที่ 5: สิทธิพื้นฐานและหน้าที่ของพลเมือง (Chapter V: Basic Rights And Duties of a Citizen) มาตราที่ 68

    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเป็นรัฐฆราวาส (secular state) ซึ่งหมายความว่า "ไม่มีศาสนาที่เป็นทางการ" (ไม่มีศาสนาประชาติ) และไม่มีศาสนาใดมีอำนาจในทางการเมือง

    วันที่ 4 ม.ค 61 Yonhap News ของเกาหลีใต้รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐได้ขึ้นบัญชีดำให้เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ละเมิดเสรีภาพทางศาสนาอีกครั้งในรอบ 17 ปี

    เกาหลีเหนือเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่สหรัฐยัดข้อหาว่า "ละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา" ซึ่งประกอบด้วย พม่า, จีน เอริเทรีย, อิหร่าน, ซูดาน, ซาอุดิอาระเบีย, ทาจีกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน และ อุซเบกิสถาน

    เหมือนกับจีน เกาหลีเหนือมองว่าศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเกาหลีเหนือ และถือว่าวัดวาอารามเป็นมรดกของชาติ ดังนั้นเมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงสั่งให้มีการบูรณะวัดวาอาราม และภาพเขียนจิตรกรรมผาผนังในวัดพุทธในเกาหลีเหนือ

    ประชากรส่วนใหญ่ของเกาหลี (64.3%) ไม่นับถือศาสนา, 16% นับถือลัทธิ shamanism ของเกาหลี, 13.5% นับถือลัทธิ Chondoism, 4.5% นับถือศาสนาพุทธ และ 1.7% นับถือศาสนาคริสต์

    เมื่อเร็วๆนี้ สื่อเกาหลีใต้ได้เปิดเผยตัวเลขสถิติที่ประชาชนชาวเกาหลีใต้นับถือศาสนาต่างๆลดลง ระหว่างปี 2012 กับปี 2017 ดังนี้

    - ปี 2012 มีชาวเกาหลีใต้นับถือศาสนาต่างรวม 55.1% ปี 2017 ลดลงมาที่ 46.6%
    - ปี 2015 ประชากรชาวคริสต์นิกายโปเตสแตนอยู่ที่ 22.5% ปี 2017 เหลือ 20.3%
    - ปี 2012 ประชากรชาวพุทธมี 22.1% ปี 2017 เหลือ 19.6%
    - ปี 2012 ประชากรชาวคริสต์นิกายแคธอลิกส์มี 10.1% ปี 2017 เหลือ 6.4%

    ในสมัยสงครามเกาหลี สหรัฐส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดโจมตีสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือนประชาชน และสาธารณูปโภคของเกาหลีเหนือเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งวัดวาอารามด้วย วัด Myohyang เป็นหนึ่งสถานที่ที่ตกเป็นเหยื่อจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ แต่ก็ได้รับการบูรณะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

    คัวที่ทำทำลายศาสนสถานในเกาหลีเหนือก็คือ "สหรัฐ" นั่นแหละ รัฐธรรมนูญของเกาหลีเหนือก็ระบุอย่างชัดเจนว่าประชาชนมีสิทธิ์และเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการนับถือศาสนา จะนับถือหรือไม่นับถือก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่สหรัฐกลับใช้สื่อหลักและอิธพลของตนเองปล่อยข่าวเชิงโฆษณาชวนเชื่อกล่าวหาเกาหลีเหนือครั้งแล้วครั้งเล่าว่าละเมิดเสรีภาพทางศาสนา เนื่องจากทางการเกาหลีเหนือเคยจับได้ว่ามีสายลับของฝ่ายใต้สหรัฐแทกซึมเข้าไปในเกาหลีเหนือโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ

    ในขณะเดียวกันแม้ว่าสื่อเกาหลีใต้จะเปิดเผยตัวเลขว่าประชากรชาวเกาหลีใต้ขี้ข้าของสหรัฐที่นับถือศาสนาลดลงเรื่อยๆ สหรัฐกลับไม่ตั้งข้อสงสัยว่าเกาหลีใต้กดขี่ ริดรอนสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาในเกาหลีใต้หรือไม่ ส่วนสหรัฐเองก็ห้ามชาวมุสลิมจากหลายประเทศเดินทางเข้าประเทศสหรัฐ อ้างป้องกันผู้ก่อการร้ายแฝงตัวเข้าไป ทั้งๆถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากทั่วโลกว่าสหรัฐละเมิดเสรีภาพทางศาสนา

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    05/01/2561
    ----------
    http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2018/01/05/0401000000AEN20180105000200315.html
    https://www.travelthewholeworld.com/traveling-north-korea/myohyang/
    http://www.koreakonsult.com/Attraction_Pyongyang_religion_eng.html
    http://exploredprk.com/nature/stone-sculpture-of-three-buddhists-in-mt-kumgang/
    http://exploredprk.com/articles/worlds-first-metal-type/
    http://exploredprk.com/articles/sangwon-hermitage/
    http://exploredprk.com/history/phyohun-temple/
    http://exploredprk.com/articles/five-storeyed-pagoda-at-pulil-temple/
    http://exploredprk.com/religions-in-the-dprk/
    https://kcnawatch.co/newstream/1510...un-temple-cultural-heritage-of-korean-nation/
    http://uriminzokkiri.com/index.php?ptype=photo&no=5387
    http://english.yonhapnews.co.kr/graphic/1002000000.html?cid=GYH20171229000700315
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    ระดับความเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพอาจจะวัดด้วยยอดการส่งออกยาเสพติด: ออสเตรเลียเล็งส่งออก "เวชภัณฑ์กัญชา" อันดับหนึ่งของโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้

    FB_IMG_1515113062162.jpg FB_IMG_1515113068160.jpg FB_IMG_1515113075455.jpg FB_IMG_1515113085343.jpg

    ------------

    วันที่ 4 ม.ค. 61 RT พาดหัวข่าวว่า "ออสเตรเลียเล็งสูง ฝันอยากเป็นผู้ส่งออกกัญชาระดับท็อปของโลกหลังเปิดการค้าขายในเดือนกุมภาพันธ์นี้" (Australia aiming high, wants to become world's top pot exporter when trade opens in February)

    ออสเตรเลียหวังว่าจะกลายเป็นประเทศที่ส่งออกยากัญชา (medical marijuana / medicinal cannabis) รายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยการช่วยเหลืองผู้ปลูกกัญชาในประเทศให้ขยายธุรกิจของตนเอง และอนุญาตให้ขายสมุนไพรในต่างประเทศด้วย (ว้าววววว!)

    รายงานข่าวแจ้งว่า ออสเตรเลียได้ตกลงที่จะอนุญาตให้บรรดาผู้ส่งออก "ยากัญชา" (medicinal cannabis) ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าบรรดาผู้ปลูกกัญชาท้องถิ่นจะกลายเป็นผู้ส่งออกกัญชาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    "อันที่จริงแล้ว นี่เป็นก้าวที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยภายในประเทศของพวกเรา และการจัดหาภายในประเทศของเรา" นาย Greg Hunt รมว.สาธารณสุขของออสเตรเลียกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีนี้ สำนักข่าว ABC ของออสเตรเลียรายงาน "เมื่อรู้ว่าพวกเขามีตลาดในออสเตรเลีย และตลาดในต่างประเทศ นั่นก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับการปลูกและการผลิตในประเทศออสเตรเลียด้วย"

    Greg Hunt กล่าวอีกว่า ออสเตรเลียต้องการที่จะกลายเป็น "ผู้ส่งออกยากัญชาหมายเลขหนึ่งของโลก" (เอาฝิ่นกับเฮโรอีนด้วยไหม?) ตราบเท่าที่มันไม่ทำให้คุณภาพของกัญชาที่จะส่งไปยังผู้ป่วยท้องถิ่นเสียหาย

    เมื่อเปิดประชุมสภาออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะมีการแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่ออนุญาตให้มีการส่งออกกัญชาไปยังต่างประเทศได้ รัฐมนตรีกล่าว

    นอกจากสมุนไพรสดแล้ว กฎใหม่ๆต่างๆ ก็จะเปิดโอกาสให้บรรดาผู้ผลิตสามารถส่งออกน้ำมันกัญชา แผ่นพลาสเตอร์กัญชา สเปรย์กัญชา ยาอมกัญชา และกัญชาอัดเม็ด ได้ด้วย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2016 ออสเตรเลียได้ออกกฎหมายอนุญาตให้ "เวชภัณฑ์กัญชา" (medicinal cannabis) เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายทั่วประเทศ โดยให้แต่ละรัฐและเขตปกอครองท้องถิ่นออกกฎระเบียบควบคุมเอง

    [เขาไม่เรียกว่า "ยาเสพติด" แต่เลือกที่จะเรียกว่า "เวชภัณฑ์กัญชา" แทน เรียก "ผู้เสพ/ขี้ยา" ว่า "ผู้ป่วย" ยาประเภทนี้ ซึ่งก็คือ "กัญชา" นั่นแหละ ใช้บรรเทาหรือรักษาอาการอยากเสพกัญชา การจ่ายยาเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ คุณหมอจึงกลายเป็นเอเยนต์ขายกัญชาอีกหนึ่งอาชีพ

    ถ้าประเทศไหนอยากได้รับการยอมรับ ชื่นชม ยกย่องว่า เป็นประเทศศิวิไลซ์ มีอารยะ พัฒนาแล้ว เป็นประชาธิปไตย และมีเสรีภาพ หรือรวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ก็จะต้องปลูก ขาย เสพกัญชาให้มากๆ แบบที่ออสเตรเลีย สหรัฐ และแคนาดากำลังนำร่องอยู่ในขณะนี้ กัญชาจึงกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังมาแรง อนาคตสดใส เห็นสวรรค์รำไร อีกหน่อยพวกเขาอาจจะบอกว่า ฝิ่น เฮโรอีน ยาไอซ์ และยาบ้า เป็น "เวชภัณฑ์" ชนิดหนึ่งที่ถูกกฎหมาย

    รัฐบาลของประเทศไหนต่อต้านหรือปราบปรามยาเสพติดเหล่านี้อาจจะถูกกล่าวหาว่า "ละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อต้านประชาธิปไตยและเสรีภาพ" ก็ได้ ประชาธิปไตยมันก็ดีอย่างนี่นี่แหละ เมื่อเสียงส่วนใหญ่บอกว่า "กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย" ทำไมต่อไปจะบอกไม่ได้ว่า "ฝิ่นและเฮโรอีนก็เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายเช่นกัน" เจริญพวง! - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    05/01/2561
    ----------
    https://www.rt.com/news/414956-australia-top-world-exporter-marijuana/
    http://www.abc.net.au/news/2018-01-...domination-of-medical-cannabis-market/9302524
    https://www.theguardian.com/austral...orbitant-out-of-pocket-medical-expenses#img-1
    https://www.sbs.com.au/news/austral...p-medicinal-cannabis-supplier-health-minister
    https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_cannabis
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงโลก
    FB_IMG_1515113475327.jpg
    พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
    เราขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

    ขณะนี้โลกได้ก้าวสู่
    ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่คมเข้มกว่าปีเก่าแล้ว
    โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

    ที่ #เซนต์เฮเลน่า ประเทศเอกวาดอร์
    ได้เกิดปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
    ที่ทำให้ประชาชนที่นั่นประหลาดใจมาก
    โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าของเรือลำเล็กๆนั่น (ดังภาพ)

    นั่นคือ
    ปรากฏการณ์ #ทะเลถอยห่างออกจากฝั่ง
    ซึ่งเป็นปรากฏการณ์น้ำลงของทะเล
    ที่ผิดปกติและไม่เคยปรากฏที่นี่มาก่อน
    ซึ่งมันจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าแรกเลยทีเดียว

    พี่ๆน้องๆที่รัก
    ปรากฏการณ์น้ำทะเลลงผิดปกติ
    ในลักษณะทะเลถอยห่างจากชายฝั่งนี้
    ขณะนี้มันได้ปรากฏเกิดขึ้นหลายแห่งแล้ว
    มันเป็นตัวบ่งชี้ถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
    ให้ท่านทั้งหลายได้สังเกตไว้

    สาเหตุแท้จริงนั้น
    เกิดจากอัตราเร็วการเหวี่ยงหมุน
    รอบตัวเองของโลกไม่คงที่หรือเสียสมดุล
    จึงทำให้แกนหมุนรอบตัวเองแกว่งหรือส่าย

    เมื่อดาวโลกเกิดอาการแกว่งส่าย
    ผลลัพธ์ที่ตามมาที่สังเกตได้ก็คือ

    1.ระยะเวลาระหว่างกลางวันกับกลางคืน
    มีความสั้นยาวไม่คงที่
    บางวันมืดช้า บางวันก็มืดเร็ว
    บางวันฟ้าสางช้า บางวันฟ้าสางเร็ว

    2.ทำให้แกนหมุนของโลก
    เอียงทำมุมผิดไปจากเดิมมากขึ้น
    หมายถึงโลกเอียงมากกว่าเดิม
    อันเกิดจากการแกว่งหรือส่ายนั่นเอง

    เมื่อโลกเอียงมากขึ้น
    เวลาที่น้ำทะเลลดลง
    ขณะปลอดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์
    ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์
    ทะเลถอยห่างออกจากฝั่งอย่างชัดเจน

    โดยชายหาดบางแห่ง
    น้ำทะเลจะถอยห่างออกจากชายฝั่ง
    ไกลออกไปในทะเลเสียลิบลิ่ว
    จนทำให้เรือที่จอดเรียงรายตามชายฝั่ง
    ต้องติดค้างเกยตื้นอยู่เต็มหาด

    พี่ๆน้องๆที่รักทั้งหลาย
    ตลอดปีใหม่ 2561 ปีจอนี้
    สิ่งที่ท่านจักได้เผชิญคือ....

    1.แผ่นดินจะไหวในพิกัดเดิมๆ
    ด้วยมาตราริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้น 1-3 หน่วยวัด
    ด้วยความถี่ของการเกิด
    ที่จะเพิ่มขึ้นกว่าปีกลาย

    2.ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา
    จะเกิดแผ่นดินไหวกระจายทั่วพื้นที่มากขึ้น
    แม้จะยังสั่นไหวในระดับต่ำๆ
    ไม่เกิน 3.7 - 4.0 อยู่ก็ตาม

    3.หมู่เกาะฟิลิปปินส์
    จะมีข่าวคราวแผ่นดินไหวถี่ขึ้นกว่าปีกลาย
    เสมือนจะไหวแข่งกันกับอินโดนีเซียเลยล่ะ

    4.ประเทศในเอเซีย
    จะเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหวมากขึ้น
    ระดับความรุนแรงจะค่อยๆเพิ่มขึ้น

    5.ภูมิอากาศโลกจะวิปริต
    ไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา
    เช่น ความหนาวเย็นจัด
    ความร้อนจัดและแห้งแล้ง

    จะเกิดพายุหิมะนอกฤดูหิมะ
    จะเกิดพายุลูกเห็บตกนอกประเทศในเขตร้อน
    จะเกิดอุทกภัยในแผ่นดินทะเลทราย
    จะเกิดอุทกภัยในฤดูร้อน
    อันเกิดจากพายุฝนประจำถิ่น

    6.พายุทอร์นาโดจะเกิดขึ้นทั่วโลก
    โดยจะเกิดพายุขนาดใหญ่เข้าโจมตีผู้คน
    ในทวีปอเมริกาใต้ - กลาง - เหนือ
    ระดับที่รุนแรงมากกว่า
    จนเกิดการสูญเสียมากกว่าปีกลาย

    7.คนในชาติเดียวกัน
    จะลุกขึ้นมาทะเลาะกันเองฆ่าฟันกันเอง
    เหมือนลัทธิเอาอย่างกันมากขึ้น

    เพราะผู้นำไร้ศีลธรรมกับผู้นำไร้สามารถ
    จะได้รับโอกาสขึ้นครองเมือง

    8.ปัญหาจากความยากจน
    ยังผลให้เกิดโรคร้าย
    คนด้อยโอกาสก็จะเพิ่มมากขึ้น

    ปัญหาจากอาหาร-น้ำดื่มขาดแคลน
    ก่อปัญหาข้าวยากหมากแพง
    เศรษฐกิจตกต่ำ

    ปัญหาจากภัยพิบัติ
    ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย
    ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน

    ปัญหาจากภัยสงครามในหมู่พวกเดียวกันเอง
    ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้กันเองเพิ่มขึ้น

    ปัญหาสังคมจากจิตสามนึกผู้คนบกพร่อง
    ยังผลให้อาขญากรรมจะเพิ่มขึ้น
    คนจะเกลียดกลัวการทำชั่วลดน้อยลง
    โดยกล้าที่จะทำผิดบาปต่อกันมากขึ้น
    เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากขึ้น

    เราขอให้ท่านทั้งหลาย
    จงหมั่นทำความดีเพื่อเป็นที่รักของคนอื่นๆ
    โดยไม่ท้อแท้ต่อการทำความดีงาม

    จงรักคนอื่นให้ได้แม้เขาจะทำตัวไม่น่ารัก
    จงให้อภัยให้ได้แม้ว่าเขาไม่สมควรจะให้อภัย
    จงใช้ปัญญาเพื่อแสดงออก
    หรือกระทำสิ่งใดๆในชีวิตเสมอ
    นี่เป็นบทบาทของ #เทวดาเดินดิน
    ซึ่งท่านจักต้องเข้าถึงมันให้ได้
    หากปรารถนาจะนิพพานในชาตินี้

    เราขอให้ท่านจงโชคดีตลอดปีใหม่นี้
    อีกทั้งขอให้ท่านจงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงโลก
    จงอย่าให้โลกต้องเปลี่ยนแปลงตัวท่านเลย

    สวัสดีปีใหม่ 2561

    เอเมน สาธุ
    ป.วิสุทธิปัญญา
    5-1-2018

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    อียูจวกสหรัฐ "คร่ำครึและทำผิดกฎหมาย" ที่ปิดกั้นทางเศรษฐกิจคิวบา

    FB_IMG_1515114383169.jpg

    ------------

    วันที่ 4 ม.ค. 61 Sputnik พาดหัวข่าวว่า "นางโมเกรีนี่จวกสหรัฐว่า 'คร่ำครึและผิดกฎหมาย' ที่ปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่อคิวบา" (Mogherini Says US Economic Blockade of Cuba 'Obsolete, Illegal')

    นางเฟเดรีก้า โมเกรีนี่ (Federica Mogherini) ประธานคณะกรรมาธิการด้านนโยบายต่างประเทศแห่งสภาอียูกล่าวว่า การปิดกั้นทางเศรษฐกิจ (economic blockade) ต่อคิวบาไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหาในปัจจุบันนี้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงฮาวานาและกรุงวอชิงตัน เนื่องจากการดำเนินการแบบนั้นมีแต่จะเป็นการริดรอนมาตรฐานในการครองชีพของประชาชนชาวคิวบาเท่านั้น

    "การปิดกั้นไม่ใช่คำตอบสำหรับการแก้ไขปัญหา ชาวยุโรปได้บอกเพื่อนๆชาวอเมริกันของเราหลายครั้งแล้ว เราได้ยืนยันเรื่องนี้ในสหประชาชาติด้วย... เรารู้ดีว่าผลกระทบทั้งหมดในการปิดกั้นมีแต่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กๆเลวร้ายลงยิ่งกว่าเดิม... การปิดกั้นเป็นสิ่งที่คร่ำครึ มันผิดกฎหมาย" นาง Federica Mogherini กล่าวเมื่อวันพุธนี้ในกรุงฮาวานา เมืองหลวงของคิวบา อ้างคำพูดโดยสถานีโทรทัศน์ Telesur

    [สหรัฐอ้างประชาธิปไตยและเสรีภาพของตนเองในการกดขี่ข่มเหงประเทศที่อ่อนแอ อียูและอีกหลายประเทศทั่วโลกก็อ้างประชาธิปไตยของตนเองว่า การดำเนินการของสหรัฐ "ไม่ถูกต้อง/หัวโบราณ" สรุปว่าประชาธิปไตยของใครถูกต้อง?

    โปรอเมริกาอาจจะบอกว่า พวกอียูไม่รู้จักสำนึกในบุญคุณของสหรัฐ ที่ใช้เฟซบุค ทวิตเตอร์ และยูทูปของสหรัฐ ใครที่ไม่เห็นด้วยกับสหรัฐ ถือว่า "ต่อต้านสหรัฐ" การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากสหรัฐถือว่า "ไม่เป็นประชาธิปไตย" ขี้ข้าที่ดีจะต้องทำตามที่เจ้านายสั่งโดยไม่มีข้อแม้ ถ้าสหรัฐสั่งให้กินอุนจิ พวกโปรอเมริกาก็จะไม่ปฏิเสธ สินะ? - ผู้แปล]

    นางโมเกรีนี่ได้เดินทางไปเยือนคิวบาเพื่อเข้าร่วมประชุมกับผู้นำของประเทศคิวบา และหารือถึงความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างคิวบากับสหภาพยุโรป ตามที่ได้มีการลงนามในข้อตกลงการเจรจาทางการเมืองและความร่วมมือ (PDCA) ในปี 2016

    ในเดือนมิถุนายน 2017 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ผู้ที่กำลังภาคภูมิใจกับความใหญ่ของปุ่มนิวเคลียร์ของตนเอง ได้ประกาศยกเลิกนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับคิวบาที่รัฐบาลโอบามาได้ริเริ่มเอาไว้

    เดือนพฤศจิกายน 2017 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับร่างมติที่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษกิจ การค้า และการเงินที่ดำเนินการโดยสหรัฐต่อคิวบา มีประเทศสมาชิกยูเอ็นจำนวน 191 ประเทศโหวตสนับสนุนร่างมติฉบับนี้ ยกเว้น "สหรัฐกับอิสราเอล" ที่คัดค้าน

    [เสียงส่วนใหญ่ชนะเสียงส่วนน้อย ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย หากสหรัฐและอิสราเอลอยู่ข้างเสียงส่วนน้อย ตามหลักการประชาธิปไตยของสหรัฐ ดังนั้น สหรับจึงเดินหน้าคว่ำบาตรคิวบาต่อไป แม้ว่าคิวบาจะไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ และขีปนาวุธข้ามทวีปเหมือนเกาหลีเหนือก็ตาม

    สหรัฐได้คว่ำบาตรคิวบาตั้งแต่ปี 1959 โทษฐานที่คิวบาร่วมมือกับโซเวียต และไม่ยอมยกแผ่นดินทั้งหมดให้สหรัฐ แม้ว่าต่อมาสหภาพโซเวียตจะล่มสลายไปแล้ว สหรัฐก็ยังยึดพื้นที่บางส่วนของคิวบาและสร้างฐานทัพของตนเองที่นั่น พร้อมกับใช้เป็น "คุกลับ" สำหรับกักขังและทรมานนักโทษต่างชาติที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมในระบบศาล จากนั้นก็ชี้หน้าด่าประเทศอื่นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อกลบเกลื่อนความบัดสีของตนเอง - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    05/01/2561
    ----------
    https://sputniknews.com/latam/201801041060508845-mogherini-blockade-cuba-illegal/
    http://www.plenglish.com/index.php?...ve-to-end-blockade-on-cuba-federica-mogherini
    http://fortune.com/2018/01/03/european-union-federica-mogherini-cuba/
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    สหรัฐประกาศระงับความช่วยเหลือทางทหารและการเงินต่อปากีสถาน แค้นที่ปากีสถานหันไปใช้เงินหยวนเท่านั้นในการค้าขายกับจีน และไม่ยอมเข้าร่วมสงครามในอัฟกานิสถานด้วย พร้อมกับยัดข้อหา "สนับสนุนขบวนการก่อการร้าย"

    FB_IMG_1515115049212.jpg FB_IMG_1515115069535.jpg FB_IMG_1515115076256.jpg FB_IMG_1515115079522.jpg

    ------------

    วันที่ 5 ม.ค. 61 Sputnik พาดหัวข่าวว่า "สหรัฐระงับการสนับสนุนด้านความมั่นคงต่อปากีสถาน - กต.แถลง" (US Suspends Security Assistance to Pakistan - State Department)

    สหรัฐจะไม่ส่งมอบยุทโธปกรณ์ทางทหารแม้แต่ชิ้นเดียว และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่เกี่ยวกับความมั่นคง ต่อกองทัพปากีสถานอีกต่่อไป หลังจากที่สหรัฐได้กล่าวหากรุงอิสลามาบัดว่าให้ที่หลบภัยแก่กลุ่มก่อการร้ายที่วางแผนโจมตีกองทัพสหรัฐในอัฟกานิสถาน

    กระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลงว่า อาจจะมีความคาดหวังบางประการต่อนโยบายใหม่ ซึ่งยังไม่ได้มีการตรวจสอบว่าจะมีการตัดเงินและยุทโธปกรณ์จำนวนเท่าไรที่จะถูกตัดออกไป

    เมื่อต้นสัปดาห์นี้ นางนิกกี้ เฮลี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติได้ประกาศว่า สหรัฐจะตัดเงินช่วยเหลือต่อปากีสถานจำนวน $255 ล้าน (ประมาณ 8,160,000,000 บาท)

    "ปากีสถานเล่นเกมสองหน้ามาเป็นเวลาหลายปี (คงจะน้อยกว่าสหรัฐมั๊ง?) พวกเขาทำงานกับเราหลายครั้ง และพวกเขาก็ให้ที่หลบซ่อนแต่พวกผู้ก่อการร้ายที่โจมตีกองทัพของเราในอัฟกานิสถานด้วย (เจือกเข้าไปทำไมหละ?) เกมนี้ไม่อาจจจะยอมรับได้ต่อรัฐบาลนี้ (ก็สหรัฐไม่ใช่หรือที่สอนเกมนี้ให้เขา แม่ปูเดินอย่างไรลูกปูก็เดินตามสิครับ)" นางเฮลี่ย์กล่าวกับผู้สื่อข่าวในนครนิวยอร์กเมื่อวันอังคารนี้

    วันที่ 4 ม.ค.61 RT รายงานว่า บรรดาบริษัทของปากีสถานหลายแห่งได้รับไฟเขียวในการใช้สกุลเงินหยวนของจีนในการค้าขายกับกรุงปักกิ่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะถีบให้เงินดอลลาร์ของสหรัฐและสกุลเงินอื่นๆตกขอบไป การเคลื่อนไหวในครั้งนี้ช่างบังเอิญตรงกับช่วงที่เกิดรอยร้าวระหว่างสหรัฐกับปากีสถานรอบใหม่

    ธนาคารกลางของปากีสถาน (SBP) "ได้ดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่กว้างขวางเพื่อรับประกันว่า การนำเข้า ส่งออก และการทำธุรกรรมทางการเงินต่างจะใช้เงินหยวนของจีน (CNY) เป็นหลัก" แถลงการณ์ (จาก SBP) เปิดเผยเมื่อวันอังคารนี้ ขณะนี้ CNY มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเงิน USD, เงินยูโร และสกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ ในประเทศปากีสถาน

    บริษัทต่างๆ มีเสรีภาพในทำธุรกรรมด้วยเงินหยวน ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที "SBP ได้กำหนดระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เงินหยวนของจีนในทำธุรกรรมการต้าขายและการลงทุนแล้ว" ธนาคารกล่าว

    วันที่ 2 ม.ค.61 RT รายงานว่า ทหารอเมริกันเสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย ในอัฟกานิสถานหลังเกิดการเผชิญหน้ากันในการสู้รบที่จังหวัด Nangarhar ในวันขึ้นปีใหม่ กองทัพเปิดเผย (จังหวัด Nangarhar อยู่ติดกับชายแดนทางเหนือของปากีสถาน เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่อุดมไปด้วยฝิ่นและเฮโรอีน)

    พล.อ. John Nicholson ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในอัฟกานิสถานกล่าวว่า "เรารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียหนึ่งในคนของเรา ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ขอให้พวกเราแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อครอบครัวและเพื่อนๆของทหารที่ล้มและได้รับบาดเจ็บ"

    วันเดียวกันนี้ RT รายงานอีกว่า มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน ได้รับบาดเจ็บ 13 คน จากการโจมตีทางอากาศร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศอัฟกานิสถานและสหรัฐในพื้นที่จังหวัด Nangarhar เมื่อวันที่ 1 มกราคม พยานกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทางกองทัพอัฟกานิสถานกล่าวว่าการโจมตีในครั้งนี้เป็นการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายไอซิส (แต่พลเรือนตาย)

    วันที่ 4 ม.ค.61 Sputnik รายงานว่ามือระเบิดฆ่าตัวตายก่อเหตุที่จุดตรวจของตำรวจในพื้นที่เขต Banayee กรุง Kabul เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10-20 คน และไม่ผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 25 คน (ที่อัฟกานิสถานนี่ดุเดือดมาก ฆ่ากันตายทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นการก่อการร้ายในลักษะนี้ในที่สาธารณะ)

    [เดิมทีนั้น สหรัฐและพันธมิตรต้องการที่จะดึงปากีสถานเข้าร่วมทำสงครามปราบพวกตาลีบันและพวกไอซิสในอัฟกานิสถานด้วย แต่ปากีสถานไม่เล่นด้วย เพราะว่าจะกลายเป็นสงครามระหว่างปากีสถานกับอัฟกานิสถาน ปากีสถานเองก็มีกลุ่มจีฮาดิสต์ของตนเองเคลื่อนไหวในพื้นที่ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ

    ต่อมาปากีสถานเริ่มกระด้างกระเดื่องและแข็งข้อต่อสหรัฐ ไม่ยอมให้สหรัฐจูงจมูกอีกต่อไป เนื่องจากหาที่พึ่งใหม่ได้แล้ว ซึ่งก็คือจีน สหรัฐจึงใช้แผนแบล็คเมล์ปากีสถานว่าสนับสนุนขบวนการก่อการร้าย เหมือนกับที่สหรัฐและซาอุดิอาระเบียเพิ่งจะใช้แผนนี้เล่นงานกาตาร์เมื่อเร็วๆนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ก็ร่วมมือกันขุนพวกเดนนรกเหล่านั้นขึ้นมาเอง - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    05/01/2561
    ----------
    https://sputniknews.com/world/201801041060523540-us-suspends-security-assistance-pakistan/
    https://www.rt.com/usa/415022-us-suspends-pakistan-aid/
    https://www.rt.com/business/413608-pakistan-chinese-yuan-bilateral-trade/
    https://sputniknews.com/asia/201801031060493758-pakistan-state-bank-yuan-trade-china/
    https://www.rt.com/business/414997-pakistan-china-yuan-trade/
    https://www.rt.com/usa/414830-us-soldier-killed-afghanistan/
    https://www.rt.com/news/414850-afghanistan-us-airstrike-civilians/
    https://www.rt.com/news/414798-pakistan-emergency-ambassador-trump/
    https://www.rt.com/usa/415022-us-suspends-pakistan-aid/
    https://sputniknews.com/middleeast/201801041060519533-afghanistan-kabul-suicide-attack/
    https://sputniknews.com/middleeast/201801021060472331-taliban-afghanistan-death-airstrike/
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    รถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีที่อาจไม่ได้ไปต่อ?
    เผยแพร่: 4 ม.ค. 2561 07:52:00 ปรับปรุง: 4 ม.ค. 2561 08:02:00 โดย: MGR Online
    561000000077202.jpg

    สำหรับประเทศที่ต้องการแสดงบทบาทผู้นำในโลกของรถยนต์ไฟฟ้าอาจต้องพิจารณาข่าวนี้ เพราะนอกจากความพร้อมด้านการเงินของผู้บริโภคในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้แล้ว สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ควรเตรียมไว้รองรับรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน

    ประเทศที่เริ่มแสดงให้เห็นว่าไม่พร้อมที่จะต้อนรับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นประเทศแรก คือ อังกฤษ ที่มีหลายฝ่ายออกมาชี้ว่า จุดชาร์จไฟในอังกฤษจำนวน 14,000 จุดนั้นน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับจำนวนรถยนต์ที่มีในประเทศ 125,000 คัน แม้ว่ารถยนต์ประมาณ 2,620 คันในประเทศจะเป็นรุ่นที่ชาร์จไฟได้ด้วยความเร็วสูง คือ 30 นาทีก็ชาร์จเสร็จแล้วก็ตาม

    สัญญาณเหล่านี้ปรากฏอย่างเด่นชัดสำหรับครอบครัวที่ใช้รถยนต์ในการเดินทางท่องเที่ยวที่พบว่า หลายครอบครัวไม่สามารถทำเวลาตามแผนการเดินทางที่วางไว้ได้ เนื่องจากต้องหยุดชาร์จไฟรถยนต์ทุก 3-4 ชั่วโมงในสถานีที่กำหนด และต้องรอคิวในการชาร์จไฟอีกหลายคิว

    นอกจากนี้ หากไม่ชาร์จไฟที่สถานีที่กำหนด ก็จะไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจากสถานีต่อไปจะอยู่ห่างออกไปอีกระยะหนึ่งเลยทีเดียวกว่าจะขับไปถึง

    561000000077203.jpg


    ความท้าทายของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในขณะนี้ คือ การทำให้มันรวมตัวเข้ากับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ได้โดยเร็ว เพื่อให้ตนเองยังได้มีพื้นที่ไปต่อในอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต ที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องขับด้วยตัวเองอีกต่อไป เพราะหากปล่อยให้ผู้บริโภคใช้งานได้อย่างไม่สะดวกสบายเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ว่า รถยนต์อัตโนมัติ เช่น เวย์โม (Waymo) อาจเข้ามานั่งกลางใจของผู้ใช้งานได้ในที่สุดนั่นเอง

    https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000000799
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ใครคิดค้นสเลอปี้
    %E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%89.jpg
    ใครคิดค้นสเลอปี้ / ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    เชื่อว่าทุกคนรู้จักสเลอปี้
    เครื่องดื่มเกล็ดน้ำแข็งที่ขายใน 7-Eleven
    แต่รู้ไหมว่า ในตอนแรกนั้น คนที่ผลิตสเลอปี้นั้นไม่ได้ตั้งใจจะผลิตสเลอปี้
    และที่สำคัญก็ไม่ได้วางขายใน 7-Eleven มาก่อนด้วย
    เรื่องนี้มีความเป็นมายังไง ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    เรื่องราวของสเลอปี้เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1950 เมื่อนายโอมาร์ เนดลิค ซึ่งในช่วงนั้นเขาเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ไอศกรีมแดรี่ควีนในรัฐแคนซัส อเมริกา ซึ่งภายในร้านนอกจากจะขายไอศกรีมแล้วนั้น เขายังมีเครื่องกดน้ำอัดลม เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าด้วย

    อย่างไรก็ตาม เครื่องกดน้ำอัดลมที่ร้านของเขามักจะเสียบ่อย จนเขาต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการนำน้ำอัดลมไปแช่ในช่องแช่แข็งเพื่อหวังให้มันเย็นพอที่จะขายให้ลูกค้าได้

    อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้น้ำอัดลมของเขามีเกล็ดน้ำแข็งคล้ายวุ้นๆ และเมื่อนำมาขาย ทำให้ลูกค้าหลายคนรู้สึกชอบจนขายดีมาก ทำให้เขาจึงต้องหาวิธีในการทำน้ำอัดลมให้กลายเป็นเกล็ดได้เร็วๆ เพื่อที่จะขายได้มากขึ้น

    ในช่วงแรกที่เริ่มผลิตนั้น นายโอมาร์ได้เอาส่วนของแอร์รถยนต์มาทำเป็นตู้แช่เย็น แล้วเขาจึงลองผสมน้ำผลไม้ น้ำเปล่า และคาร์บอนไดออกไซด์เข้าด้วยกัน ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า ICEE

    ใครที่พอจะมีอายุหน่อย ทุกคนคงร้องอ๋อ เพราะจำได้ว่าเครื่องดื่มยี่ห้อ ICEE เคยเข้ามาขายในเมืองไทยด้วย

    เวลาผ่านไปเครื่องดื่มชนิดนี้เริ่มขายดีขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960-1965 สินค้า ICEE ก็ขยายแฟรนไชส์ไปไม่ต่ำกว่า 100 ร้านค้าทั่วอเมริกา

    และในปีค.ศ. 1965 นี่เอง 7-Eleven ก็เริ่มสังเกตเห็นความนิยมของสินค้าตัวดังกล่าว จนทำให้เข้ามาติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ ICEE จากนายโอมาร์ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า 7-Eleven จะเปลี่ยนชื่อสินค้าใหม่ และจะขายได้เพียงแห่งเดียวใน 7-Eleven

    สุดท้ายนายโอมาร์จึงตัดสินใจขายลิขสิทธิ์เครื่องดื่ม ICEE ไปให้แก่ 7-Eleven

    ในปีค.ศ. 1966 หรือ 1 ปีหลังจากได้ลิขสิทธิ์มา 7-Eleven ก็คิดหนักว่าจะเปลี่ยนชื่อสินค้านี้เป็นชื่ออะไร จนนายบ็อบ สแตนฟอร์ด ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาของ 7-Eleven ในตอนนั้น เกิดนึกชื่อ สเลอปี้ ขึ้นมาได้ โดยไอเดียก็มาจากเสียงดูดเกล็ดน้ำแข็งขึ้นมาจากหลอดนั่นเอง

    สเลอปี้เป็นเครื่องดื่มที่วางขายในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอย่างที่ทุกคนรู้ สเลอปี้ เริ่มขายที่แรกในอเมริกา และขยายออกมายังประเทศต่างๆ ตามแฟรนไชน์ของ 7-Eleven และเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 1989

    คนแคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่ทานสเลอปี้กันมาก ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านแก้วต่อปีหรือเดือนละ 2.5 ล้านแก้ว โดยเฉพาะเมืองวินนิเพ็ก ที่ถือเป็นเมืองที่นิยมบริโภคสเลอปี้มากที่สุดแห่งหนึ่ง จนได้รับตำแหน่ง Slurpee Capital of the World ในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งนับเป็นปีที่ 17 ติดต่อกันที่เมืองแห่งนี้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว

    แต่ถ้าถามว่าลงทุนแมนชอบรสชาติไหนของสเลอปี้ ก็คงหนีไม่พ้นรสโค้กที่เป็นรสคลาสสิคนั่นเอง แล้วเพื่อนๆ ชอบรสไหนกันบ้างลองมาแสดงความคิดเห็นกันได้..
    ———————-
    <ad> ใครชอบสเลอปี้ แต่ไม่อยากให้พอร์ตลงทุนของตัวเองเละเทะ ป่นปี้ ลองมาทำความรู้จักกับ MARTY กองทุนเปิด AI จาก Think Algo จุดเด่นของกองทุนนี้คือการวิเคราะห์สถิติจาก BIG DATA ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.think-algo.com/ทำความรู้จักกับ-marty-กองทุน/
    ———————-

    Source
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Slurpee
    -https://en.wikipedia.org/wiki/The_Icee_Company
    -http://edition.cnn.com/2010/LIVING/11/16/mf.cool.history.slurpee/index.html
    -https://cooking.kapook.com/view176848.html
    -https://www.thrillist.com/drink/nation/who-invented-slushies-history
    -https://en.wikipedia.org/wiki/World_population

    บทความโดย http://longtunman.com/3906
     

แชร์หน้านี้

Loading...