ต้องวางทั้งสมมุติและวิมุติจึงจะถึงความร่มเย็น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 17 ตุลาคม 2017.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ต้องวางทั้งสมมุติและวิมุติจึงจะถึงความร่มเย็น
    ขอความชัดเจนจากความเข้าใจของผู้วางได้
    แล้วครับผม
     
  2. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    วาง คือ อุเบกขากับความสมมุติ แต่วางวิมุติผมว่าคุณงง อะไรหรือเปล่าครับ
    ใครก็อยากเข้าสู่วิมุติทั้งนั้น
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ลุงแมว คำพูดข้างบนนี้ เป็นคำพูดแบบ "น้ำดี ผสม น้ำเน่า" แล้วบอกว่า "เป็นน้ำเหมือนกัน" ฉันใดฉันนั้น

    +++ ไม่ว่า ลุงแมว จะเอามาจากใครก็ตาม ควรเข้าใจดังนี้

    +++ สมมุติ คือ "คิดเอาเอง" ส่วนบัญญัติ คือ "เออเอาเอง" ให้เข้าใจคร่าว ๆ แค่นี้ก่อน

    +++ ส่วน "วิมุติ" ในทางพุทธคือ "หลุดออก พ้นออก จากขันธ์ 5"
    +++ แต่ไม่ใช่ว่า ขันธ์ 5 ไม่มี "มันมีอยู่ตามปกติ แต่ไม่มีความเป็น ตน ในขันธ์ 5"
    +++ ขันธ์ 5 มีอยู่ "ตามความเป็นจริง" แต่ถ้าบอกว่า "ไม่มี" ตรงนี้เป็นเรื่อง "โกหก"

    +++ หากจะบอกว่า "ต้องวาง วิมุติ ไปด้วย จึงจะถึงความร่มเย็น" นั้น ตรงนี้เป็น "น้ำเน่า 100%"
    +++ อาการของ "วิมุติ" คืออาการ "อยู่กับรู้ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)" ท่ามกลาง "สรรพสิ่ง ที่ ถูกรู้"

    +++ ผู้ที่พูดว่า "ต้องวาง วิมุติ ไปด้วย จึงจะถึงความร่มเย็น" นั้น คือ "ผู้ที่ ไร้สติ มืดบอดสนิท"
    +++ อาการตรงนี้ เป็นอาการของ พวกที่ "ติดสมาธิใน อสัญญีสัตตาภูมิ" เท่านั้นจึง "พูดออกมาในลักษณะนี้"
    +++ ตรงนี้เป็นอาการของ "อยู่กับ ไม่รู้ (อวิชชา)" สิ่งใดที่มีอยู่ตามความเป็นจริง "จะถูกปฏิเสธ" ทั้งหมด
    +++ เป็นคำพูดที่ "น่าอนาถอย่างยิ่ง" และเป็นคำพูดของ "ผู้ที่ปฏิเสธ สติสัมปชัญญะ" และจมอยู่กับ "อวิชชา จนถึงขั้น ฌาน 4"

    +++ ขอให้ ลุงแมว เลือกพิจารณา ธรรม "ที่มีอยู่ ตามความเป็นจริง" ไว้ดีกว่า นะครับ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    กั๊กๆๆๆ มันถึงได้ ค้างเติ่ง มะเลิก

    ไปเอามาซักใหม่ อีกหนึ่งตระกร้า บัดเดี๋ยวนี้ !!!


    ปล. ถามผู้ชำนาญการ ซักโหน่ย รุ่น เส้นสาย เนี่ยะ ซักยังไง
     
  5. คือคนไทย

    คือคนไทย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    13
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +78

    ไม่เป็นไรคับท่านNEOWORLD พูดผิดเข้าใจผิด เราก็พูดใหม่ทำความเข้าใจใหม่ เรื่องผิด กิเลสพาให้ผิด เป็นเรื่องปกติของกิเลสจอมต้มตุ๋นหลอกลวงสัตว์โลก สำคัญอย่าดื้อต่ออรรถธรรม ขอท่านNEOWORLDผู้สนใจฝักใฝ่ในธรรมเจริญในธรรมเถิด
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไม่ได้มาตอบ อาจารย์แมวนะขอรับ แต่มาขออนุญาตพูด (ร่วมหนุก) ให้ฉุกคิดถึงสาระที่ซ่อนอยู่ในคำถามนั่น

    ตำราบอกว่า ระดับความคิดระหว่างปุถุชนอย่างเราๆท่านๆ กับ อริยบุคคลต่างระดับชั้นกัน ความคิดความเข้าใจในชีวิตจิตใจจึงต่างกัน

    อริยบุคคลวางอย่างที่ว่านั่นได้แล้ว แต่ปุถุชนยังวางไม่ได้ ติ่งต่างว่ามีผู้วางได้ (อริยบุคคล) มาบอก แล้วอาจารย์แมวจะเข้าใจหรือขอรับ คิดดู พูดให้คิด
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    Neo ไม่ได้พูดผิด หรือเข้าใจผิด
    เพียงแต่ไม่เข้าใจข้อความที่นำมาสอบถามกับ
    ผู้ที่จะตอบให้เข้าใจได้ฮะ
    ข้อความนั้นอาจจะปลอมแปลงขึ้นมา ให้ดูสมจริง
    ในบทสนทนา
    ที่ถามถึงความร่มเย็น (คงหมาบถึงพระนิพพาน)
    แล้วมีคำตอบจากพระอริยสงฆ์ว่า...
    ".ต้องวางทั้งสมมุติและวิมุติ.."
    เป็นข้อความที่อาจจะเมคขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์
    เพื่อให้ชาวพุทธเข้าใจผิดและติดหล่ม
    ส่วนผมก็สนใจและเกิดความสงสัยด้วยเข้าใจ
    ว่าอาจจะมีความลึกซึ้งที่เราเข้าไม่ถึง
    ก็เป็นได้ครับ
    แต่คำตอบของท่าน ธรรมชาติก็หนักแน่น
    พอที่จะไม่ทำให้ต้องไปตกหล่มกับข้อความ
    นี้ครับ
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ในบทสนทนาฆราวาสเป็นผู้ถาม
    พระอริยสงฆ์เป็นผู้ตอบ ( ประโยคที่นำมาถามฮะ )
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ก็ทำนองเดียวกัน ผู้ถามถามเกินกำลังใจกำลังความรู้ตนเอง ตอบไปก็ไม่เข้าใจ ถ้าเป็นเรื่องนิพพานอย่างคำพูดลุงแมวในวงเล็บ คคห. 7 ด้วย จบข่าวเลย ไม่รู้เรื่อง ทำให้ฟุ้งซ่านหนักกว่าเดิม
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มาดู ที่มาคำว่า อริยะ # 6 คร่าวๆ แล้วจะเข้าใจคำว่าปฏิรูป ซึ่งเป็นถ้อยคำที่คนบ้านเรานำมาพูดกันจนวุ่นวาย พระพุทธเจ้าดิถึงจะเป็นนักปฏิรูปของจริง ดู


    คำว่า "อริยะ" ตรงกับสันสกฤตว่า "อารยะ" เป็นชื่อเรียกเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป คือประเทศอินเดีย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว และรุกไล่ชนเจ้าถิ่นเติมให้ถอยร่นลงไปทางใต้และป่าเขา พวกอริยะ หรืออารยะนี้ (เวลาเรียกเป็นเผ่าชน นิยมใช้ว่า พวกอริยกะ หรืออารยัน) ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดชนเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นพวกมิลักขะ หรือมเลจฉะ คือพวกคนเถื่อน คนดง คนดอย เป็นพวกทาส หรือทัสยุ

    ต่อมา เมื่อพวกอริยะเข้าครอบครองถิ่นฐานมั่นคงและจัดหมู่ชนเข้าในระบบวรรณะลงตัว โดยให้พวกเจ้าถิ่นเดิมหรือพวกทาสเป็นวรรณะศูทรแล้ว คำว่าอริยะหรืออารยะหรืออารยัน ก็หมายถึงชน ๓ วรรณะต้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์และแพศย์ ส่วนพวกศูทรและคนทั้งหลายอื่น เป็นอนารยะทั้งหมด การถืออย่างนี้ เป็นเรื่องของชนชาติ เป็นไปตามกำเนิด จะเลือกหรือแก้ไขไม่ได้


    เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ได้ทรงสอนใหม่ว่า ความเป็นอริยะหรืออารยะ ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่ธรรม ซึ่งประพฤติปฏิบัติและฝึกฝนอบรมให้มีขึ้นในจิตใจของบุคคล ใครจะเกิดมาเป็นชนชาติใด วรรณะไหนไม่สำคัญ ถ้าประพฤติอริยธรรม หรืออารยธรรม ก็เป็นอริยะคืออารยชนทั้งนั้น ใครไม่ประพฤติ ก็เป็นอนริยะ หรืออนารยชนทั้งสิ้น

    สัจธรรมก็ไม่ต้องเป็นของที่พวกพราหมณ์ผูกขาดโดยจำกัดตามคำสอนในคัมภีร์พระ เวท แต่เป็นความจริงที่เป็นกลาง มีอยู่โดยธรรมดาแห่งธรรมชาติ ผู้ใดรู้แจ้งเข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่โดยธรรมดานี้ ผู้นั้นก็เป็นอริยะหรืออารยะ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษาพระเวทของพราหมณ์แต่ประการใด และเพราะการรู้สัจธรรมนี้ทำให้คนเป็นอริยะ สัจธรรมนั้นจึงเรียกว่า "อริยสัจ"

    เมื่อว่าตามหลัก บุคคลที่จะเข้าใจอริยสัจ ก็คือท่านที่เป็นโสดาบันขึ้นไป ดังนั้น คำว่า "อริยะ" ที่ใช้ในคัมภีร์โดยทั่วไป จึงมีความหมายเท่ากับทักขิไณยบุคคลและอริยสัจ ๔ บางคราวท่านก็เรียกว่า อริยธรรมหรืออารยธรรม
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    สำหรับเด็กเส้นคงไม่จบข่าวง่ายๆ ฮะ ไปต่อได้เรื่อยๆ
    คิกคิก
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    คำว่า ร่มเย็น ในความเข้าใจของลุงแมวทางด้านกิริยา
    เป็นอย่างไรครับ ขอถามหน่อย
    ที่ถามเพราะ คำถามลุง ดูเหมือนไม่มีอะไร
    แต่ทางปฏิบัติ ถือว่าทำได้ยากอยู่ครับ

    เด่วพูดให้ฟังเลยแล้วกันครับ
    วางในที่นี้ คือปล่อยวาง ความยึดมั่นถือมันนะครับ
    เหมือนมะนาว ถ้าเราปล่อยวาง มันก็ยังเปรี้ยวอยู่
    ตาเราก็ยังมองเห็นอยู่ หูก็ยังได้ยิน ลิ้นก็ยังรับรสได้ ฯลฯ
    ปล่อยวาง ความยึดมั่นถือมันพูดง่ายๆคือ ใจเราไม่ไปดึงสิ่ง
    ต่างๆเหล่านี้เข้ามาปรุงร่วมนั้นเอง
    เหมือนเราดูละคร แค่ดูไปเฉยๆ ดูเค้าแสดงไป
    แต่ไม่ได้ไปอินกับบท หรือรู้สึกตามบทที่นักแสดง
    กำลังแสดงนั่นหละครับ
    ธรรมชาติการปฏิบัติคือการไม่ไปดึงสิ่งที่ใจส่งออกไป
    กระทบทางอายตนะทั้ง 6 เข้ามาปรุงนั้นเอง
    การไปปิดอายตนะเหล่านี้ แค่ชั่วคราวไม่ใช่
    การแก้ปัญหาที่ตรงจุดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2017
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ในเมื่อเด็กมีเส้นมีสาย จะไปต่อก็พึงศึกษาถ้อยคำความหมายศัพท์แสงที่ตนนำมาพูดมาคิดหน่อย


    สมมติ/สมมุติ การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน, ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า


    สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ


    ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก.นาง ข. เป็นต้น


    บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ


    วิมุตติ/วิมุติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลสมี ๕ อย่าง
    คือ
    ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว

    ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้

    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด

    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ

    ๕. นิสสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป

    สองอย่างแรกเป็นโลกิยวิมุตติ สามอย่างหลัง เป็นโลกุตรวิมุตติ


    วิมุตติสุข สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์

    วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้เห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้าปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา จนสุดท้ายถึงนิพพานดับกิเลสดับทุกข์ได้แล้ว เย็นใจแน่ ร่มเย็นแน่ๆ ขอให้เป็นนิพพานแท้ๆของพุทธธรรมเถอะ


    นิพพาน ดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรม

    ลักษณะสำคัญของนิพพาน ที่สืบเนื่องมาจากความหมายว่า “ดับ” มี ๓ อย่าง คือ

    ๑. ดับอวิชชา หมายถึง การเกิดญาณทัศนะอันสูงสุด หยั่งรู้สัจธรรม

    ๒. ดับกิเลส หมายถึง การกำจัดความชั่วร้าย และของเสียต่างๆภายในจิตใจ หมดเหตุที่จะก่อปัญหาความเดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ แก่ชีวิตและสังคม

    ๓. ดับทุกข์ หมายถึง หมดความทุกข์ บรรลุความสุขอันสูงสุด
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คำสอนของนักปฏิรูปสังคมมนุษย์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ต่อจาก # 10 อีกสักหน่อย

    จัณฑาล ลูกต่างวรรณะ เช่น บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมา เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนต่ำทราม ถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์


    วรรณะ ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ, ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

    เรื่องชาติชั้นวรรณะ นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ในชมพูทวีป จึงมีพุทธพจน์ตรัสย้ำเรื่องนี้บ่อยๆ ดังตัวอย่าง เป็นคำสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้า กับ พราหมณ์ชื่อเอสุการี บางตอน
    เช่น
    พราหมณ์: ท่านพระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ อย่าง...คือ

    บัญญัติการภิกขาจาร ให้เป็นทรัพย์ประจำตัวของพราหมณ์...

    บัญญัติธนูกับแล่ง ให้เป็นทรัพย์ประจำตัวของกษัตริย์...

    บัญญัติกสิกรรมและการเลี้ยงโค ให้เป็นทรัพย์ประจำของแพศย์...

    บัญญัติเคียวและไม้คาน ให้เป็นทรัพย์ประจำตัวของศูทร...

    พราหมณ์ทั้งหลาย บัญญัติทรัพย์ไว้ ๕ อย่าง ดังนี้ ท่านพระโคดมผู้เจริญ จะตรัสว่ากระไรในเรื่องนี้ ?

    พระพุทธเจ้า: แน่ะพราหมณ์ ชาวโลกทั้งหมด พร้อมใจกันอนุญาตข้อตกลงนี้ไว้แก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า ขอพราหมณ์ทั้งหลาย จงบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการเหล่านี้เถิด ดังนี้หรือ ?

    พราหมณ์: มิใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม

    พระพุทธเจ้า: แน่ะพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษยากไร้ ไม่มีอะไรเป็นของตน เป็นผู้ขัดสน

    คนพวกหนึ่ง เอาก้อนเนื้อขึ้นแขวนให้แก่เขา ผู้ไม่มีความปรารถนาเลย โดยบอกว่า นี่แน่ะพ่อมหาจำเริญ เธอกินเนื้อนี้เสีย และจ่ายเงินค่าเนื้อมา ดังนี้ ฉันใด พวกพราหมณ์ ก็ฉันนั้น บัญญัติทรัพย์ ๔ อย่างเหล่านี้ แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ โดยไม่ได้รับความยินยอม

    "แน่ะพราหมณ์ ท่านจะเห็นเป็นประการใด (สมมติว่า) ขัตติยราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว รับสั่งให้บุรุษชาติต่างๆ กัน ๑๐๐ คน มาประชุมกันว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย ในบรรดาท่านทั้งหลายนั้น ผู้ใดเกิดจากตระกูลกษัตริย์ จากตระกูลพราหมณ์ จากตระกูลเจ้า ผู้นั้น จงเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทร์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ จงก่อไฟ ให้ความร้อนปรากฏ

    มาเถิดท่านทั้งหลาย ในบรรดาท่านทั้งหลายนั้น ผู้ใด เกิดจากตระกูลจัณฑาล จากตระกูลพราน จากตระกูลช่างสาน จากตระกูลช่างรถ จากตระกูลคนเทขยะ ผู้นั้น จงเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ จงก่อไฟ ให้ความร้อนปรากฏ

    นี่แน่ะพราหมณ์ ท่านเห็นเป็นประการใด ไฟที่เกิดจากตระกูลกษัตริย์ จากตระกูลพราหมณ์ จากตระกูลเจ้า เอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทร์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ ก่อขึ้น ให้มีความร้อนปรากฏ ไฟนั้นเท่านั้นหรือ จึงมีเปลว มีสี มีแสง และสามารถใช้ทำกิจที่พึงทำด้วยไฟได้

    ส่วนไฟที่คนผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล จากตระกูลพราน จากตระกูลช่างสาน จากตระกูลช่างรถ จากตระกูลคนเทขยะ เอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ ก่อขึ้น ให้มีความร้อนปรากฏ ไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสง ไม่สามารถใช้ทำกิจที่พึงทำด้วยไฟได้ อย่างนั้นหรือ?

    พราหมณ์: มิใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดมผู้เจริญ...ไฟทั้งหมดนั่นแหละ มีเปลว มีสี มีแสง และไฟทั้งหมด ใช้ทำกิจที่พึงทำด้วยไฟได้

    พระพุทธเจ้า: ฉันนั้น เหมือนกันแลท่านพราหมณ์ บุคคลแม้หากออกบวชเป็นอนาคาริก จากตระกูลกษัตริย์ และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้...มีสัมมาทิฏฐิ ก็ย่อมเป็นผู้ยังกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้ แม้หากออกบวชเป็นอนาคาริก จากตระกูลพราหมณ์...จากตระกูลแพศย์...จากตระกูลศูทร และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้...มีสัมมาทิฏฐิ ก็ย่อมเป็นผู้ยังกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้" * (เอสุการีสูตร ม.ม.13/665-670/614-622)
     
  16. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ช่วย pm ที่มาให้หน่อย
    นิทานเพลินๆสักเรื่อง
    วิมุตติ จิตอยู่นอกกาย อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างเจิดจ้า รับรู้เรื่องราวในจักรวาล ยังอยู่ในที่ๆมีเวลาเดียว (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)

    เลยออกไป เป็นที่ๆไม่มีเวลา
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    __913.jpg

    รู้สิ่งใดแล้วติดสิ่งนั้น ก็เป็นสมมุติ
    แต่ถ้ารู้สิ่งใดแล้วไม่ติดสิ่งที่รู้ ก็จะเป็นวิมุตติ โดยอัตโนมัติ

    (หลวงปู่ทา จารุธัมโม)
     
  18. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +248
    ปัญหาคือ วิมุติยังไม่เคยรู้ เคยชิม เลยไง

    ติดอาการของจิต รูปนิมิต อรูปนิมิต มันจะวิมุติไหม
     
  19. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :):):pมันแสดงถึงภูมิธรรมของคนถามว่า..ตั้งแต่ปฏิบัติธรรมมานั้น ไม่เคยได้สัมผัสของจริงเลย จึงตั้งคำถามแบบเอาเท่ห์ .. "ไม่ได้มีภูมิรู้ถึงลำดับการเกิดของ-สภาวะธรรมจริงๆเลยว่าเขาเกิดหรือเรียงลำดับการเกิดเช่นไร"..
    :mad: คนที่เข้าวิมุติได้นั้น..เขาทิ้งหมดทั้งขันธ์5 นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเราแล้ว ปล่อยวางหมดแล้ว สมมุติเขาจะวางไปเองก่อนจิตจึงจะสัมผัสวิมุติได้ ..
    :mad: สมมุติก็คือสัญญาทางโลกเขาตั้งชื่อให้จดจำนั่นเอง ..การทำงานของมันจะต้องร่วมกับกับสังขาร จึงจะทำการปรุงแต่งได้เป็นรูป-นาม เกิดขึ้นเรียกว่าความนึก-คิด ..พจ.ท่านจึงบอกให้ทิ้งสัญญาสังขารเสีย แล้วหันมาเกาะที่ลมหายใจแทน จะได้ไม่ทุกข์ไง จะถึงวิชา-วิมุติ เอง
    :mad: คำถามนี้-ซื่อบื้อมาก-ไม่สมภูมิเลย แมวดำ อิอิ
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    อย่าตำหนิ ติเตียน ผู้เรียนรู้
    ระวังหู ระวังตา ปัญญาทึบ
    บาปกรรมนั้น มันติดตาม จนเหนียวหนึบ
    ปัญญาทึบ เพราะชอบว่า ด่าผู้คน
     

แชร์หน้านี้

Loading...