ถามเรื่อง วิปัสนา ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย คุณตุ๊ก, 9 ตุลาคม 2012.

  1. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    อยากทราพว่า เมื่อผมเข้าสมาธิไปถึงจุดนึงแล้ว
    ผมก็กลับมามองดูจิต แล้วนั้งดูว่าจิต คืออะไร เกิดมาได้ยังไง แล้วมาอยู่ในร่างกาย ได้อย่างไร แล้ว ร่างการเกิด ได้อย่างไร มันไม่ใช่ของเรา เกิดขึ้น ดับลง โดยคำตอบและคำถาม ผมเป็นคนถาม และ ตอบเองทั้งหมด "ยกตัวอย่าง เช่น กายนี้ไม่ใช่ของเรา มันคือดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกัน มีเพียงจิตเรามาอาศัย"
    จึงอยากทราพว่า ผมทำถูกหรือไม่อย่างไร อนุโมทนาครับ
     
  2. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ความจริงก็ถือว่าได้เหมือนกัน เป็นการคิดนำให้จิตเจริญปัญญา
    แต่ต้องไม่ลืมที่จะระลึกรู้กายอยู่เนืองๆ

    คือปัญหาอย่างหนึ่งของผู้ที่ฝึกจนสติตัวจริงๆ เกิดแล้ว
    มักจะรู้กายรู้ใจอยู่เฉยๆ ไม่ยอมเจริญปัญญา

    ต้องให้อาศัยคิดนำก่อนในช่วงแรกๆ
    ต่อไปพอเขาเคยชินที่จะเจริญปัญญาเองได้แล้วก็ค่อยปล่อย

    ตรงนี้ละเอียดหน่อย พอนานไปจะติดบังคับให้คิดพิจจารณาอีกนะครับ
    คือถ้าเป็นตัววิปัสนาปัญญาจริงๆ ต้องไม่เกิดจากการจงใจ

    ใช้การคิดนำไปในช่วงที่ติดเฉยเท่านั้น ถ้าเขาพลิกเป็นปัญญาเองได้ก็ให้เริ่มปล่อย

    ต้องมั่นสังเกตุเอานะครับ
     
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ลองอ่านดูครับ คำแนะนำ หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    การภาวนา หรือการทำจิตทำใจนั้น เราคือ อ่า..
    เราจะสรุปขั้นตอนได้เป็น สามขั้นตอน

    ๑.ขั้นบริกรรมภาวนา
    ๒.ขั้นฝึกหัดจิตให้รู้จักพิจารณา
    ๓.ขั้นตามรู้

    ขั้น บริกรรมภาวนาก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว มีการบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ เป็นต้น
    จนกว่าจิตบริกรรมภาวนาเองโดยอัตโนมัติ แล้วยังจิตให้สงบเป็นสมาธิ ตามขั้นตอน


    ขั้นแห่งการพิจารณา เป็นการฝึกหัดให้จิตก้าวเดิน ฝึกหัดให้จิตเกิดสติปัญญา
    ฝึกหัดให้จิตมีสติปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์


    ขั้นตามกำหนดรู้ หมายถึง ตั้งใจกำหนดรู้ความรู้สึกนึกคิดของเรา
    ความรู้สึกนึกคิดของเรานั้น เป็นเสิ่งรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    เป็นสภาวะธรรม เมื่อจิตมีสภาวะธรรมเป็นเครื่องรู้
    สติมีสภาวะธรรมเป็นเครื่องระลึก
    ย่อมสามารถที่จะสร้างสติตัวนี้ให้กลายเป็นมหาสติไปได้ด้วยประการะฉะนี้<!-- google_ad_section_end -->


    ๑.ขั้นบริกรรมภาวนา


    การที่จะทำสมาธิในเบื้องต้น ถ้าหากว่าจะทำเป็นกิจจะลักษณะหรือ
    ตามแบบฉบับของการทำสมาธิ
    โบราณาจารย์ ท่านสอนให้ไหว้พระ สวดมนต์แล้วก็แผ่เมตตา
    คือเจริญพรหมวิหารเท่านั้นเอง อันนี้ท่านทั้งหลายก็คงจะเข้าใจ ​


    ทีนี้ ..ในเมื่อท่านทำวัตรสวดมนต์แผ่เมตตาเสร็จแล้ว
    นั่งขัดสมาธิตามแบบฉบับที่พระพุทธ อ่า..ตามแบบที่เหมือนๆกับพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ
    เอามือขวาวาง อ่า เอามือซ้ายวางลงบนตักเอามือขวาวางทับลงไป ​


    กำหนดในจิตใจของเราว่า ​


    พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจ


    พระธรรมก็อยู่ที่ใจ


    พระอริยะสงฆ์ก็อยู่ที่ใจ


    พระพุทธเจ้าไม่มีตัวไม่มีตน


    พระธรรมก็ไม่มีตัวไม่มีตน


    พระสงฆ์ก็ไม่มีตัวไม่มีตน


    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นคุณธรรม
    ซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ปฏิบัติ


    แม้ท่านชายสิทธัตถะที่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า
    ก็เพราะมีคุณธรรมความเป็นพุทธะ
    และมีธรรมมะอยู่ในจิตในใจ
    และมีกิริยาการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ในจิตในใจ
    ท่านจึงได้เป็นทั้งพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ รวมอยู่ในจุดเดียวกัน



    ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำความเข้าใจว่า ​


    พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจ
    พระธรรมก็อยู่ที่ใจ
    พระอริยะสงฆ์ก็อยู่ที่ใจ​


    แล้วจงกำหนดใจลงในระหว่างกลางๆ ​


    คือกลางในระหว่างความยินดี ระหว่างความยินร้าย ทำใจให้เป็นกลาง
    นึกในใจว่า
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ ​


    แล้วก็กำหนดลงที่จิต นึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้น
    นึกพุทโธเฉยๆ นึกด้วยความเบาใจ อย่าไปกดไปข่มประสาทส่วนใดส่วนหนึ่ง
    หรืออย่าไปบังคับจิตให้เกิดความสงบ ​


    หน้าที่เพียงแค่นึกพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ เฉยๆ
    อย่าไปนึกว่าเมื่อไรจิตจะสงบ เมื่อไรจะสว่าง เมื่อไรจะรู้ เมื่อไรจะเห็น
    เมื่อไรจะเกิดอะไรขึ้นมา อย่าไปคิดทั้งนั้น​


    หน้าที่เพียงแค่นึก พุทโธ พุทโธ อย่างเดียว นึกพุทโธอยู่อย่างนั้น
    จิตสงบก็ตามไม่สงบก็ตาม ไม่ต้องไปกังวล เอาแต่ว่าเราได้นึกพุทโธให้มากที่สุด ​


    นึกจนกระทั่งพุทโธกับจิตของเราเนี๊ยะติดกันเหนียวแน่น ไม่พรากจากกัน
    จนกระทั่งความตั้งใจที่จะนึกพุทโธหายขาดไป
    แล้วจิตของเรายังนึกพุทโธโดยอ่า.. เอง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
    แล้วก็นึกอยู่อย่างนั้น ในเมื่อจิตมาติดกับพุทโธ และนึกพุทโธโดยไม่ได้ตั้งใจ
    ก็แสดงว่า จิตของเราเริ่มจะมีความสงบลงไปแล้ว​


    เมื่อจิตนึก พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้นก็ปล่อยให้จิตนึก พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้น
    ครั้นนึกไปนึกมา พุทโธหายไป จิตไปนิ่งอยู่เฉยๆ ก็ให้กำหนดรู้ลงที่จิต ที่นิ่งอยู่เฉยๆ​


    ในช่วงนี้อะไรจะเกิดขึ้นก็ตามให้กำหนดรู้ลงอยู่ที่จิต รู้อยู่ที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น
    อย่าไปเอะใจหรืออย่าไปตื่นตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ ​


    ในช่วงนี้ บางครั้ง ผู้ภาวนาอาจจะเกิดมี อาการสั่นนิดหน่อย หรือมีอาการขนลุกขนพอง
    มีอาการคล้ายๆกับว่าตัวเบาจะลอยขึ้นบนอากาศ
    มีอาการคล้ายๆกับว่าตัวใหญ่โตสูงขึ้น
    มีอะไรเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว นี่คือหลักการภาวนาในเบื้องต้น​


    ทีนี้ ในเมื่อผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว
    สิ่งที่จะพึงเกิดขึ้นที่ทำให้เรารู้สึกแปลกใจที่สุดก็คือ ความมีปีติ
    ในตอนนี้ปีติบังเกิดขึ้น ในเมื่อปีติบังเกิดขึ้นความรู้สึกภายในจิตจะรู้สึกสว่างไสว
    แล้วความสุขอันเป็นผลพลอยได้ก็ย่อมยังเกิดขึ้น ​


    เมื่อจิตสงบละเอียดยิ่งลงไป คำบริกรรมภาวนาหายไป
    แล้วจิตก็สงบลงไปเรื่อยๆ
    เกิดปีติ เกิดความสุข ในตอนนี้ จิตของผู้ภาวนารู้สึกว่ามีความสุข อย่างยิ่ง
    ในเมื่อมีความสุขแล้ว นิวรณ์ ๕ คือ
    กามฉันทะ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
    ความลังเล สงสัย ในการภาวนาก็หายสิ้นไป
    มีแต่ความอ่า สะบายปลอดโปร่งภายในจิต ​


    ผู้ภาวนาก็ควรจะกำหนดรู้จิตไปเรื่อยๆ
    จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป
    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอย่างจริงจังแล้ว
    ความรู้สึกว่ามีกายก็จะหาย ความรู้สึกว่ามีลมหายใจก็จะหายไป
    จิตของผู้ภาวนาจะไปสงบนิ่ง นิ่งสว่างอยู่
    มีสภาวะรู้อยู่ทีจิตอย่างเดียวเท่านั้น กายหายไปหมดแล้ว
    ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เห็น ไม่มีปรากฎ
    มีแต่จิตดวงเดียว สว่างไสวอยู่เท่านั้น ​


    อันนี้คือการภาวนาซึ่งสำเร็จด้วยการบริกรรมภาวนา
    เป็นการภาวนาในขั้นต้น
    อันนี้เรียกว่าขั้นแห่งภาวนา อะอืม ขั้นแห่งบริกรรมภาวนา​


    ทีนี้ถ้าหากว่า ผู้ภาวนานั้น ทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิแบบดังที่กล่าวนี้บ่อยๆ


    ถ้าจิตมันไปติดอยู่ที่สมาธิขั้นนี้ ความรู้ความฉลาดไม่เกิดขึ้น


    ให้ผู้ภาวนาฝึกหัดพิจารณา
    ฝึกหัดพิจารณา
    ควรจะน้อมเอาเรื่อง ของกายคตาสติ
    อันเป็นแผนการปฏิบัติตามหลักของมหาสติปัฏฐาน
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ๒.ขั้นฝึกหัดจิตให้รู้จักพิจารณา<!-- google_ad_section_end -->

    การฝึกหัดพิจารณา ควรจะน้อมเอา เรื่องของ กายคตาสติ อันเป็นแผนการปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน
    คือ กายานุปัสนา สติปัฏฐาน

    สติกำหนดตามรู้กาย

    สติกำหนดตามรู้กายนี่มีอยู่ สองอย่าง

    อย่างหนึ่ง กำหนดตามรู้กายภายนอก
    อีกอย่างหนึ่งกำหนดตามรู้กายภายใน

    กำหนดรู้ตามกายภายนอกคือ หมายถึง ว่าทำสติรู้ ในเวลาที่เราเปลี่ยนอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
    ทำสติอย่างเดียว

    เดินรู้ว่าเราเดิน

    ยืนรู้ว่าเรายืน

    นั่งรู้ว่าเรานั่ง

    นอนรู้ว่าเรานอน

    กิน ดื่ม ทำ พูด คิด รู้ว่าเราคิด ทำสติรู้อย่างเดียว

    อันนี้เป็นการกำหนด กายคตาสติในภายนอก

    ส่วนการกำหนดกายคตาสติภายในนั้น
    หมายถึงการกำหนด อาการ ๓๒ คือพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น
    ให้น้อมจิต น้อมใจ ไปในแง่ แห่งความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก

    คือ พิจารณาว่า

    ผมก็ไม่งาม
    ขนก็ไม่งาม
    เล็บก็ไม่งาม
    ฟันก็ไม่งาม
    หนังก็ไม่งาม เพราะเป็นสิ่ง ปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก

    หลักฐานที่เราจะพึงหยิบยกมาพิจารณา
    ถ้าหากว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ของเรา เป็นสิ่งที่สวยงามแล้ว
    เราจะอาบน้ำทำไม จะฟอกสบู่ทำไม จะตกแต่งทำไม

    ที่เราทำเช่นนั้นก็เพราะเหตุว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นสิ่งที่ไม่สวยไม่งามนั่นเอง

    ในขณะที่ยังมีชีวิตไปได้ เดินได้ กิน ดื่ม ทำ พูดได้ ก็ยังเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกถึงขนาดนี้

    ถ้าหากสมมุติว่ากายนี้ตายลงไปแล้ว ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เกิดเน่าเปลื่อยผุพังไป
    ความปฏิกูล น่าเกลียดโสโครกจะปรากฎมากน้อยเพียงใด
    อันนี้เราหมั่นพิจารณากันกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น
    พิจารณาจนกระทั่งจิตของเรามันชำนิ..อ่า ชำนาญในการพิจารณา คล่องต่อการพิจารณา

    ในตอนต้นๆ เราก็ตั้งใจนึกคิดเอาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น
    เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกไม่สวยไม่งาม นึกกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น
    ในที่สุด เมื่อจิตของเราเริ่มจะมีความสงบลงไป พอสงบลงไปได้นิดหน่อย เพราะอาศัยการฝึก การอบรม การปรับปรุงปฏิปทา
    การตกแต่งในการพิจารณานั้นๆ แล้วจิตของเราก็จะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาได้เองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ทีนี้ถ้าเผื่อว่า เราทำได้ถึงขนาดที่ว่า
    จิตของเราปฏิวัติไปสู่การพิจารณาเองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือเรียกว่า พิจารณาเองโดยอัตโนมัติ
    หนักๆเข้า จิตก็จะสงบลงไป เริ่มแต่อุปจาระสมาธิถึง อัปปนาสมาธิ ถ้าจิตสงบลงไปถึงขั้น อัปปนาสมาธิ

    ถ้าจิตนั้นจะมีสติปัญญา

    ย่อมจะปรากฎ นิมิตรขึ้นมาให้มองเห็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น เป็นสิ่งที่ปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
    โดยภาพนิมิตรที่ปรากฎขึ้นในจิตในใจ แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าจะเป็นได้อย่างนั้นทุก.. อ่า. . ทุกท่านทุกคน
    บางท่านก็สักแต่ว่า มีความรู้ซึ้ง ถึงจิตถึงใจว่า สิ่งดังกล่าวเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
    แล้วก็จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นของปฏิกูล

    การพิจารณาอสุภะกรรมฐาน หรือพิจารณา ผม ขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูก ให้เห็นเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดนั้น
    เป็นอุบายที่จะ ถ่ายถอนราคะ ความกำหนัดยินดี มิให้เกิดขึ้นกุ้มรุมจิตใจ
    จะได้มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมในขณะนั้นอย่างสะดวกคล่องแคล่วโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ อันนี้คือขั้นแห่งการ ..อ่า.. การพิจารณา<!-- google_ad_section_end -->​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ๓.ขั้นตามรู้<!-- google_ad_section_end -->

    ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดไม่ทำดังที่กล่าวมา
    เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิดีพอสมควรแล้ว
    ยกตัวอย่างเช่น
    ท่านอาจจะบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    เช่น พุทโธ พุทโธ เป็นต้น
    เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ก็ไปนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ
    ทำทีไรก็นิ่ง สว่างอยู่เฉยๆไม่เกิดความรู้ขึ้นมาได้
    ผลของการบริกรรมภาวนาจะยังจิตให้สงบลงไปแล้ว
    ถึงขั้น อัปนาสมาธิแล้ว ก็จะไปนิ่งสว่างอยู่เฉยๆ
    ในขณะนั้นจิตจะไม่เกิดความรู้เพราะจิต เป็นจิตดวงเดียวล้วนๆ

    ในเมื่อจิตเป็นจิตดวงเดียวล้วนๆ

    ไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก
    ย่อมปราศจากความรู้ เพราะฉะนั้น จิตจึงไปนิ่งอยู่
    ในท่าทีที่สงบสว่างอยู่อย่างเดียว

    เมื่อเป็นเช่นนั้น
    คอยสังเกตุดูเวลาเมื่อจิตถอนออกจากความนิ่ง
    คือออกจากสมาธิในขั้นนี้

    เมื่อถอนออกมาถึงระดับอุปาจารสมาธิ
    จิตย่อมเกิดมีความคิด
    ในเมื่อจิตมีความคิด
    ให้ท่านผู้ภาวนาจงกำหนดทำสติตามรู้ความคิดนั้นไปเรื่อยๆ
    จิตคิดอะไรขึ้นมาก็รู้
    คิดอะไรขึ้นมาก็รู้

    เพียงแต่สักว่า รู้เฉยๆ

    อย่าไปช่วย วิพาก วิจารย์ หรือค้นคิดด้วยความตั้งใจ

    เป็นแต่เพียงกำหนด จดจ้องอยู่ที่จิต
    คอยจ้องดูว่า อะไรจะเกิดขึ้น
    ในเมื่ออะไรเกิดขึ้นมาแล้วกำหนดรู้
    อะไรเกิดขึ้นมาแล้วกำหนดรู้
    รู้ไปเฉยๆ
    เพราะความคิดนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    เป็นอุบายที่ทำสติสัมปชัญญะ ให้มีพลังดีขึ้น
    ในเมื่อสติมีกำลังดีเรียกว่า สติพละ
    สติพละสามารถทรง อ่า ..ตัว ..
    สติพละสามารถทำให้สติทรงตัวอยู่ได้ในท่าที ที่สงบนิ่ง
    และกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับตลอดเวลา

    แต่ยังไม่สามารถที่จะปฏิวัติจิตให้เกิดภูมิรู้ภูมิธรรมขึ้นมาได้
    ด้วยอาศัยจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก ย่อมทำให้สติมีกำลังขึ้น
    ในเมื่อ สติมีกำลังขึ้น สติตัวนี้กลายเป็น สตินทรี คือเป็นใหญ่ ในธรรมทั้งปวง
    สามารถที่จะปฏิวัติจิต ให้ก้าวไปสู่ภูมิความรู้ไปสู่ภูมิธรรมได้เองโดยอัตโนมัติ อันนี้คือผลแห่งภารภาวนาในขั้นต้น


    อ่านต่อ ที่นี่ http://palungjit.org/threads/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B8-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%98-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2.298624/<!-- google_ad_section_end -->​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เป็นคนเล่น สมาธิ มาสักพักใหญ่แล้ว เนาะ จิตก็ค่อนข้างแล่นไหลไปไหล
    ภายในกาย ไม่เกินกายไปไหน เห็นจิตเหมือนดั่งตาเห็นรูป รู้สึกในสภาวะ
    เหมือนจับต้องได้

    แต่ ก็ไม่เอาไปทุกทัก องค์ลง พลังจักรยาน พลังไซย่า บอลพีเอสไอ อะไร
    ( หรือแล่นไปแล้วก็ไม่รู้นะ จขกท ไม่ได้โพสเล่า -- ไม่ต้องเล่าก็ได้ )

    พิจารณาตามที่ปรากฏ ก็แปลว่า จิตไม่ค่อยมีอุปทานไปทางเรื่อง นอกแนว

    นี่แปลว่า ปัญญาอินทรีย์ในการภาวนามีพอประมาณ ......

    สังเกตุ อันนี้ตัวหนึ่ง อาการหนึบที่หน้าผาก ตัวนี้ กระทู้เดิมคุณเล่าว่า มัน
    เกิดง่าย แค่ลูกนอนใกล้เอาหัวมาชน ก็อาจจะเกิดการ "รวมจิต" เข้ามา

    รวมจิตนะ ไม่ใช่ จิตรวม ไม่เหมือนกัน รวมจิตจะเกิดจาก วิตก3 มัน
    ผุดขึ้น แล้วคุณก็เพ่ง วิตก3 นั้นโดยอัตโนมัติ จิตเพ่งเอง มันเลยรวม
    แล้วพร้อมต่อต้าน พร้อมตอบโต้ ตอบสนอง อะไรก็แล้วแต่ ก็ให้ตาม
    ดูการ รวมจิต ว่าเกิดจาก วิตก3ข้ออะไร เช่น กามวิตก พยาบาทวิตก
    วิหิงสาวิตก จนกระทั่งเห็นเหตุของจิตรวมชัด ว่าเกิดจากวิตก เมื่อจิต
    ทันวิตก คราวนี้จะผลิก จากเดิม จิตมันมาแน่นที่จุดเช่นหน้าผาก แล้ว
    มันทื่อๆ ไม่เกิดการเดินปัญญา แต่พอเราพัฒนาสวนมาหาเหตุ เห็นวิตก3
    แล้วทัน มันจะเกิดการแน่น...แต่ทว่า ไม่จับมารำคาญใจ

    เมื่อไม่จับมารำคาญใจ สังเกต ความเสียวซ่าน มันจะแรงขึ้น ก็ไม่ต้อง
    พิจารณาอะไรมากไปกว่า สวนไปดูอีกว่า จิตเกิดวิตกใด ใน3ตัวนั้น
    จนทัน

    ทันแล้วเป็นอย่างไร ความเสียวซ่านจะมีอย่างเดิม...แต่ทว่าไม่เกิด
    การจับฉวยมารำคาญใจ......หลังจากนั้น กายใจจะเกิดการเห็น ความ
    เบากายเบาใจ ....ก็อย่างเดิม คอยสอดส่องวิตก3 อย่างเดิม แต่มัน
    จะละเอียดขึ้น แหลมคมขึ้น

    คำว่า แหลมคมขึ้น คือ มันหลอกเราให้ ถอยหลัง ไม่เดินหน้าในกรรมฐาน

    ก็พิจารณาไป จนกว่า จะทันมันได้ ( ไม่ได้ให้สู้ หรือ แก้ นะ ) ให้ตามพิจารณา
    เห็นจนทันมันได้ .....................หลังจากนั้น จิตที่มีความลหุตา จะเกิด
    ได้ง่าย ได้ตลอดเวลา แทนการ หน่วงที่หน้าผาก อาจจะเกิดร่วมก็ได้ แต่เรา
    จะพอเห็น จิตที่เป็นลหุตา ปราณีต แล้ว ......... เห็นแล้วได้อะไร

    คราวนี้แหละ ..............!! เห็น กิเลส อนุสัย สันดานดิบ น้อยใหญ่ ที่มี
    อยู่ในก้นบึ้งของจิต มันไหววั๊บๆๆๆ พยายามจะลากความคิดเราไปตรึก ไปทำ

    ..............ตอนนี้แหละ ให้คุณพิจารณาทุกข์ ก่อน เล็งเห็นเข้ามาก่อนว่า
    สภาพทุกขนั้นเป็นอย่างไร.......เห็นจนเกิดความดำริ จะออก จะหาทางออก
    ( อันนี้ เรียกจิตหดหู่ในทางพุทธนะ ไม่ใช่ หงอยสังกะตาย กินไม่ได้ นอนไม่หลับ)

    แต่จิตมันหดหู่เพราะ เห็นสภาพทุกข์ของสัตว์ ที่ต้องเกี่ยวข้อง แล้ว ต้องการดำริ
    ออกจากกองทุกข์

    ..........เนี่ยะ ถ้าเกิดอารมณ์แบบนี้ แล้วยังนึกไม่ออกว่า จะต้องพิจารณาจิต
    อย่างไร คุณก็เอา เรื่องสรรเพเหระ ที่คุณถามมานั่นแหละ ตรึกลงไปเลย

    ตรึกเป็นธาตุ4 ดินน้ำลมไฟก็ได้ ตรึกเป็นขันธ์5 อยานตนะ6 ก็ได้ ตรึกแบบนี้
    จะทำให้เกิดความเพียร มุ่งหน้าสู่การทำนิพพานให้แจ้ง

    *****************

    แต่ถ้า ยังพิจารณาทุกข์ไม่ได้ แล้วไปตรึกก่อน ถ้าไม่ใช่ตรึกเรื่อง
    ธาตุ4 ขันธ์5 อยานตนะ6 แล้วละก้อ ก็เตรียมโดนเฉ่งจากเพื่อนๆ

    เช่น คนบางคนไปตรึกเรื่อง การกินการอยู่ ไม่ได้ตรึกเชิงธาตุ4 นี้พลิกไป
    เดรัจฉานวิชชาแล้ว

    หรือ คนบางคนไปตรึกเรื่องกามแบบจู้ฮุกกรู ขันไม่ขัน นี่ก็ผลิกศาสนาไป
    นู้นเลย พวกชีเปลือยที่สุดสาครเองก็ยัง งง !!

    ***************

    ก็สังเกตุนะ

    จะเน้นให้กลับไป ทำสมถะ ในแบบที่ จิตเขาเดินเองได้ เอาตรงนั้นให้
    แน่นเข้ามาก่อน โดยความแน่นหนามั่นคง คือ จิตรู้รส โสภณเจตสิก
    พวกจิต ปคุณตา ลหุสัญญา(กายลหุตา ใจลหุตา -- ตรงนี้หากจำแนก
    เก่ง จะทำให้เข้าสมาธิได้เร็ว ไม่ต้องรอให้ ลูกเอาหัวมาชน เรานึก
    สภาวะปั๊ป ก็เข้าเลย --- ในทาง บาลีเรียก เอากายเป็นจิต เอาจิตเป็น
    กาย น้อมไปน้อมมา ) ....โสภณเจตสิก มีอีกหลายตัว ไปค้นหาเอา

    จะได้ต่อยอดสมาธิจิตเดิม ที่คล่องตัวอยู่แล้ว

    ส่วนวิปัสสนา ให้พยายามทำความเข้าใจ การพิจารณาทุกข์ รู้ทุกขสัจจ
    แล้วการตรึกแบบ ดุ่มๆ จะทำให้เกิด ปัญญา เพราะ ทำให้เกิด ความเพียร
    มุ่งออกจากสังสารวัฏโดยพฤติจิต ไม่ใช่ จากการทึกทักของเรา
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อ้อ บอกก่อนนะ การเดินจิต เข้าสมาธิแบบนี้ ภาษาสมัยใหม่ เขาเรียก ฌาณกระจุ่มกระจิ๋ม

    มันไม่มีความชุ่มชื่นเท่าไหร่ แถม ตอนกิเลส ออกมาโลดแล่นกุมจิต จะค่อนข้างหนัก
    หน่วง ตรงนี้หากไม่ พิจารณาทุกข์ให้เป็นเอาไว้เนืองๆ ก็จะโดนกิเลสลากไปกินให้
    อับอายเพื่อนนักปฏิบัติได้

    ดังนั้น ต้องบริหารเอา

    นานๆ ทำสมาธิในรูปแบบบ้าง แม้จิตมันจะค้าน เพราะ สงบได้ไวอยู่แล้ว
    ก็ต้องฝืนทำสมถะในรูปแบบต่อ ทำจนพอให้จิต เริ่มเห็น คุณ ของการ
    ทำสมถะตามรูปแบบ แล้วหลังจากนั้น จิตมันอาจจะบริหาร พักในสมถะ
    ของมันเอง เช่น เราเคยฝึกเดินจงกรม .... พอจิตมันรู้คุณของสมถะ
    เวลา เราเดินไปห้องน้ำระยะทางสั้นๆ จิตมันจะปั๊ปเข้าอารมณ์เดินจงกรม
    ไปเลย กลับมานั่งโต๊ะ อาจจะ เบลอๆนิดๆว่า ตะกี้ตัวอะไรเดินไปทาง
    ห้องน้ำหว่า ก็อย่าไป กระดี้กระด้าอะไร ปล่อยให้เป็นเรื่องของ จิต มันพาไป

    ไม่ใช่เรื่องของคุณ อย่า ส.ก. มันหละ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    การเจริญโพฌงค์7 หากไปค้นพระสูตร จะพบว่า พระพุทธองค์แบ่งออก
    เป็นสองกลุ่ม สองช่วง สองสมัย

    เนื่องจาก จขกท ไม่ได้ปรารภการรู้ทุกข์ จึงได้ นำเสนอ การเริ่มโพฌงค์
    ชง7ในกลุ่ม สมัยจิตหดหู่ ( คำในพระไตรปิฏก อะนะ ไม่ใช่ คำไทย ที่
    แปลว่า จ๋อยรับประธาน สันนิบาติกินใจ )

    พอคุณเจริญโพฌงค์7 ได้สักพัก กิเลสหยาบๆ จะเล่นงานคุณไม่ค่อยได้
    เขาก็จะขน กิเลสอย่างกลางมาเล่นงานแทน ซึ่งก็คือ นิวรณ์5 ทั้งหลาย
    โดยจะมี กุกกุจจะ เป็นพระเอก เนื่องจาก เดินปัญญามาพอสมควร ทำให้
    คล้ายๆพวกมี มานานุสัย ฉุนเฉียวโลกง่าย ( มันมาจาก การดำริจะออก
    จากสังสารวัฏนั่นแหละ แต่ มันก้ำเกิน สมถะ ) ช่วงนี้ พระพุทธองค์ก็
    จะให้เจริญ อุเบกขาโพชฌงค์

    ไปหาอ่านเอา .....แรกจะไม่เข้าใจ จะต้องปฏิบัติไปสักพัก ก็จะกลับ
    ไปอ๋อ ปัดติโถ แต่ก็ เงียบไว้ ไม่ต้องไปยุ่งปริยัติธรรม อะไร
     
  9. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    อธิบายได้แจ่มแจ้งมากครับ
    ขอขอบพระคุณอีกรอบครับ
     
  10. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    ผมสงสัยว่าจะทำถูกแล้วนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...