ไม่มีผู้ทำกรรม ไม่มีผู้รับผลของกรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 15 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (ตัดเอาแค่นี้มาว่าก่อน แล้วค่อยย้อนกลับไปเล่าข้างต้น)


    เรื่องที่เล่ามานี้ ถ้าจะพูดให้สั้นก็ว่า นาย ก. ทำกรรมชั่ว และได้รับผลของกรรมชั่วนั้น

    การพูดอย่างนี้ เป็นไปตามภาษาสามัญ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย เรียกว่า พูดตามสมมติ เป็นวิธีการสื่อสารในระหว่างมนุษย์ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการที่จะทำความเข้าใจต่อกัน แต่เป็นการพูดถึงเพียงภาพที่ปรากฏออกมาภายนอกหรือผลรวมหยาบๆของเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องซับซ้อนอยู่ภายใน ไม่เข้าถึงเนื้อหาภายใน ที่สัมพันธ์สืบทอดกันตามสภาวะของธรรมชาติ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    แต่ถ้าพูดโดยปรมัตถ์ หรือตามสภาวะของธรรมชาติเองแท้ๆ ก็จะพูดได้ถึงเนื้อในของความเป็นไปทั้งหมด ที่เรียกว่า กระบวนธรรม เช่น บอกว่า ในกระบวนธรรมแห่งขันธ์ ๕ ชุดนี้ จิตประกอบด้วยความโกรธเกิดขึ้น มีการปรุงแต่งตามความโกรธนั้น จนแสดงออกเป็นการกระทำ มีกรรมเกิดขึ้น จิตที่มีการปรุงแต่งอย่างนั้นเริ่มแปรคุณภาพไป มีคุณสมบัติร้ายๆ เช่น ความระแวง หวาดกลัว และความคิดร้าย เกิดมาขึ้น จิตปรุงแต่งอย่างนั้นบ่อยๆ เกิดการสั่งสมคุณสมบัติร้ายๆ จนเป็นลักษณะประจำ และคุณสมบัติร้ายๆนั้นๆ ก็เป็นปัจจัยให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ยิ่งกว่านั้น การกระทบทางกายจากภายนอกเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้นๆ

    การพูดตามสภาวะอย่าง นี้ มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่ต้องเอ่ยอ้างถึง นาย ก. หรือตัวตนใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวกระบวนการจึงมีแต่เพียงองค์ธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น และสัมพันธ์เป็นปัจจัยสืบทอดกันมา มีการกระทำและมีผลของการกระทำ โดยไม่ต้องมีผู้ทำและผู้รับผลของการกระทำ

    ไม่ว่าจะพูดตามสภาวะอย่างนี้ หรือพูดตามสมมติอย่างข้างต้น เนื้อหาของสภาพที่เป็นจริงก็มีเท่ากัน ไม่ขาดไม่เกินกว่ากัน เพียงแต่ว่า การพูดตามสภาวะ เป็นการพูดถึงแต่ตัวความจริงล้วนๆ โดยไม่พอกเพิ่มถ้อยคำหรือภาพสมมติซ้อนขึ้นมาบนตัวความจริงนั้น
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อย่างไรก็ตาม แม้จะอธิบายถึงเพียงนี้แล้ว บางคนก็ยังไม่อาจเข้าใจ จึงคงจะต้องเล่าเป็นนิทานว่า

    ทิดผ่องไปคุยธรรมะกับกับท่านพระครูที่วัด ตอนหนึ่งทิดผ่องถามว่า

    "เอ หลวงพ่อครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่เป็นของใครๆ ไม่มีตัวผู้ทำกรรม ไม่มีตัวผู้รับผลของกรรม

    ถ้าอย่างนั้น ผมจะไปฆ่าใคร ตีหัวใคร หรือทำอะไรๆใครก็ได้สิครับ เพราะไม่มีใครทำกรรม แล้วผมก็ไม่ต้องได้รับผลกรรม"

    พอทิดผ่องพูดขาดคำ ไม้เท้าในมือของท่านพระครู ซึ่งท่านฉวยขึ้นมาจากข้างที่นั่งเมื่อไรทิดผ่องไม่ทันสังเกตเห็น ก็ฟาดลงมาอย่างรวดเร็ว จนเขายกแขนขึ้นรับแทบไม่ทัน ปลายไม้เท้าถูกกลางต้นแขนพอหนุ่ยๆ แดงๆ ทิดผ่องคลำแขนป้อย

    "หลวงพ่อ ทำไมทำกับผมอย่างนี้ล่ะ" ทิดผ่องพูดเสียงกร้าว แสดงอาการว่ากำลังข่มความโกรธ

    "อ้าว เป็นไงล่ะ" ท่านพระครูถามลอยๆ

    "ก็หลวงพ่อตีผม ผมเจ็บนี่" ทิดผ่องตอบเสียงเครียด หน้านิ่ว

    "กรรมมีอยู่ ผู้ทำกรรมไม่มี ผลกรรมมีอยู่ ผู้รับผลของกรรมไม่มี เวทนามีอยู่ ผู้เสวยเวทนาไม่มี ความเจ็บมีอยู่ ผู้เจ็บไม่มี"

    ท่านพระครูพูดเปรยๆ ปรับเสียงช้าๆ อย่างทำนองเทศน์ และว่าต่อไปอีก "ผู้ใดแสวงหาประโยชน์ ในทางเห็นแก่ตัวจากอนัตตา ผู้นั้น ไม่พ้นจากอัตตา ผู้ใด ยึดมั่นอนัตตา ผู้นั้นแลคือผู้ยึดมั่นอัตตา เขาหารู้จักอนัตตาไม่; ผู้ใด ยึดถือว่าผู้ทำกรรมไม่มี ผู้นั้น ย่อมไม่พ้นจากความยึดมั่นว่าผู้เจ็บมี เขาหารู้แจ้งไม่ว่า ผู้ทำกรรมก็ไม่มี และผู้เจ็บก็ไม่มี"

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้ารักจะพูดว่าไม่มีผู้ทำกรรม ก็ต้องเลิกพูดด้วยว่าผมเจ็บ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    พระตีหัวโยม ก้ ผิดอีกนั่นแหละ

    เพราะโวหาร ทำนอง

    อัตตาก้ไม่ใช่ อนัตตาก้ไม่ใช่ ไม่อะไรๆ

    นั่นก้ สักกายทิฏฐิ อยู่ดี

    มจด งง เต๊ก


    ถ้า มจด จะถาม แล้วจะให้ยังไง

    มจด ฮับ อย่าเคลื่อนไปอดีต อย่าวาดอนาคต จิฮับ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ย้อนกลับไปตอนต้น (พุทธธรรมหน้า 311)

    กรรม กับ อนัตตา ขัดกันหรือไม่

    ปัญหาหนึ่ง ซึ่งแม้จะมีผู้ถามขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว แต่เป็นความสงสัย ที่ค้างอยู่ในใจผู้เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาจำนวนไม่น้อย คือ เรื่องที่ว่า หลักกรรม กับ อนัตตา ขัดกันหรือไม่ ?
    ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา คนเราทั้งร่างกาย และจิตใจเป็นอนัตตา กรรมจะมีได้อย่างไร ? ใครจะเป็นผู้ทำกรรม ? ใครจะรับผลกรรม ?
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความสงสัยในเรื่องนี้ มิใช่มีแต่ในบัดนี้ แม้ในครั้งพุทธกาลก็ได้มีแล้ว ดังเรื่องว่า

    ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความคิดสงสัยขึ้นว่า

    “ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา แล้วดังนี้ กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร ?”

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงหยั่งทราบความคิดสงสัยของภิกษุนั้น จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่คนเขลาบางคนในธรรมวินัยนี้ มีใจตกอยู่ในอวิชชา ถูกตัณหาครอบงำ อาจสำคัญว่า คำสอนของพระศาสดา เป็นสิ่งที่พึงคิดไกลล้ำเลยไปได้ว่า “ทราบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา แล้วดังนี้ กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร ?”

    "เธอทั้งหลาย อันเราแนะนำอย่างถี่ถ้วนด้วยการทวนถาม ในข้อธรรมทั้งหลาย ในเรื่องราวทั้งหลายแล้ว จะสำคัญเห็นเป็นไฉน? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า” “เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?“ “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

    “สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะมองเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา ?” “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

    “เพราะเหตุนั้นแล รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ฯลฯ ก็เป็นแค่รูป แค่เวทนา แค่สัญญา แค่สังขาร แค่วิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เธอทั้งหลาย พึงมองเห็นตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ มองเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ ย่อมหลุดพ้น ฯลฯ กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นอย่างนี้ ย่อมไม่มี” (ม.อุ.14/129/106 สํ.ข.17/192/126)
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ก่อนที่จะวิจารณ์ความตามบาลีที่อ้างข้างต้น หรือพูดถึงเหตุผลต่างๆต่อไป ขอให้พิจารณาข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้

    สมมุติว่า ขณะนี้ผู้อ่าน และผู้เขียน กำลังยืนมองกระแสน้ำสายหนึ่งอยู่

    กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบเป็นส่วนมาก จึงไหลเอื่อยๆไม่เชี่ยว ดินที่กระแสน้ำไหลผ่านส่วนมากเป็นสีแดง กระแสน้ำสายนี้ จึงมีสีค่อนข้างแดง

    นอกจากนั้น กระแสน้ำยังไหลผ่านถิ่นที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นหลายแห่ง
    คนได้ทิ้งขยะ และของเสียต่างๆ ลงในแม่น้ำเป็นอันมากตลอดเวลา ทำให้น้ำสกปรก
    ยิ่งในระยะหลังนี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งมากขึ้น และปล่อยน้ำเสียลงในน้ำทุกวัน ทำให้เกิดเป็นพิษ ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงมีปลา กุ้ง เป็นต้นไม่ชุม

    สรุปแล้ว กระแสน้ำที่เรากำลังมองดูอยู่นี้สีค่อนข้างแดง สกปรก เจือปนด้วยน้ำพิษมาก
    มีสัตว์น้ำไม่ชุม ไหลเอื่อยๆช้าๆ ผ่านที่นั้นที่นั้น
    ทั้งหมดนี้ รวมกันเข้าเป็นลักษณะจำเพาะของกระแสน้ำนี้ ซึ่งลักษณะบางอย่าง ก็เหมือนกระแสน้ำโน้น
    บางอย่าง เหมือนกระแสน้ำนั้น
    บางอย่าง ก็เหมือนกระแสน้ำนู้น ฯลฯ แต่รวมทั้งหมดแล้วไม่เหมือนกระแสน้ำอื่นใด

    ต่อมา มีผู้บอกเราว่า กระแสน้ำสายนี้ชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา - (ในหนังสือท่านให้ชื่อว่าแม่น้ำท่าวัง...แต่เปลี่ยนมาใช้แม่น้ำเจ้าพระยา จะนึกเห็นภาพชัดกว่า) เขาบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอย่างนั้นๆ

    บางคนบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยามีน้ำสกปกรก ปลาไม่ชุม
    บางคนบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ไหลเชี่ยว และเป็นอย่างนั้นๆ
    บางคนบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านถิ่นที่มีดินสีแดงมาก จึงมีน้ำสีค่อนข้างแดง

    เราเกิดความรู้สึกเป็นข้อสังเกตขึ้นมาว่า ความจริงกระแสน้ำที่เรามองดูอยู่ ก็มีภาวะสมบูรณ์ในตัวตามสภาพของมันอยู่แล้ว มันมีลักษณะ ต่างๆ เช่น ไหลช้า มีสีแดง สกปรก เป็นต้น ก็เพราะมันเกิดจากองค์ประกอบและความเป็นไปต่างๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลอันทำให้มันต้องเป็นเช่นนั้น
    เช่นเมื่อกระแสน้ำ กระทบละลายดินแดง ก็เกิดผลขึ้นแก่กระแสน้ำนั้นให้มีสีแดง เป็นต้น ความเป็นไปต่างๆ ของมันมีผลต่อมันอยู่ในตัวเอง


    ยิ่งกว่านั้น ขณะที่เรามองอยู่นั้น กระแสน้ำก็ไหลผ่านไปเรื่อยๆ
    น้ำที่เราเห็นตรงหน้า เมื่อแรกมองกับเวลาต่อมา ก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน และน้ำที่เห็นตอนต่อๆมา กับตอนท้าย ที่เราจะเลิกมองก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน
    แต่กระนั้น ลักษณะจำเพาะที่เรียกได้ว่า เป็นอย่างเดิม เพราะองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมเข้าเป็นกระแสน้ำนั้นยังคงเหมือนๆเดิม

    แต่มีคนบอกเราว่า แม่น้ำนี้ชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา ยิ่งกว่านั้นยังบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยามีกระแสน้ำไม่เชี่ยว น้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสกปรก ปลาน้อย

    เรามองไม่เห็นว่า จะมีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ไหนต่างหาก หรือนอกจากกระแสน้ำที่เรามองอยู่นั้น

    เรามองไม่เห็นตัวแม่น้ำเจ้าพระยาไหนที่มาเป็นเจ้าของกระแสน้ำที่ไหลอยู่นั่น

    ยิ่งกว่านั้น เขาบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านละลายดินแดง
    ทำให้มันมีน้ำสีค่อนข้างแดง คล้ายกับว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไปทำอะไรให้กับดินแดง มันจึงได้รับผล

    ถูกเขาลงโทษให้มีน้ำสีแดง เราเห็นอยู่ชัดๆว่ากระแสน้ำที่เรามองอยู่นั้น มีความเป็นไป เป็นกระบวนการแห่งเหตุและผลพร้อมอยู่ในตัวของมัน

    น้ำที่ไหลมากระทบเข้ากับดินแดง ดินแดงละลายผสมกับน้ำเป็นเหตุเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น คือกระแสน้ำจึงมีสีค่อนข้างแดง ไม่เห็นจะมีใครมาเป็นผู้ทำหรือเป็นผู้รับผลนั้นอีก

    ยิ่งกว่านั้น เราไม่เห็นตัวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ที่ไหนได้เลย
    กระแสน้ำที่ไหลผ่านหน้าเราไปแล้ว ก็ไหลผ่านไปเลย
    น้ำเก่าที่เราเห็นไม่มีอยู่นั่นแล้ว มีแต่น้ำใหม่มาแทนที่เรื่อยไป

    เรากำหนดกระแสน้ำนั้นได้ ด้วยองค์ประกอบอาการและความเป็นไปต่างๆ ที่ประมวลกันขึ้นให้ปรากฏลักษณะอันจะถือเอาได้เช่นนั้นเท่านั้นเอง และถ้ามีตัวตนของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนตายตัวอยู่ กระแสน้ำก็คงจะเป็นไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้

    และในขั้นสุดท้าย เราเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยานั่นแหละ เป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็น
    เราพูดถึงกระแสน้ำนั้นได้เต็มตามกระบวนการของมัน โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ
    แม่น้ำเจ้าพระยาเลย ว่าให้ถูกแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาไม่มีอยู่เลยด้วยซ้ำไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2017
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ต่อมาอีกนาน เราเดินทางไปถึงตำบลอื่น เราพบชาวตำบลนั้นหลายคน

    คราวหนึ่ง เราอยากจะเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องกระแสน้ำ ที่เราได้มองดูคราวก่อนนั้น
    แล้วเราก็เกิดความติดขัดขึ้นมาทันที

    เราไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรดี เขาจึงจะเข้าใจตามที่เราต้องการจะบอกเขาได้
    เรานึกขึ้นมาถึงคำที่เคยมีคนบอกเราว่า กระแสน้ำสายนั้นชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา

    จากนั้นเรา ก็สามารถเล่าให้ชาวบ้านฟังอย่างสะดวกคล่องแคล่ว และเขาก็ฟังด้วยความเข้าใจ และสนใจเป็นอย่างดี

    เราพูดด้วยว่า แม่น้ำเจ้าพระยาสกปรก มีปลาน้อยกระแสน้ำของแม่น้ำ
    เจ้าพระยาไหลช้า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลไปกระทบดินแดง ทำให้มันมีสีค่อนข้างแดง

    ในเวลานั้น เราเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยว่า แม่น้ำเจ้าพระยาและบทบาทของมัน
    ตามที่เราเล่านั้น เป็นเพียงถ้อยคำสมมุติ เพื่อสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันในโลก


    แม่น้ำเจ้าพระยา และบทบาทของมันตามคำสมมุติเหล่านี้ จะมีขึ้นมาหรือไม่มี และเราจะใช้มันหรือไม่ก็ตามที จะไม่มีผลกระทบต่อกระแสน้ำนั้นเลย

    กระแสน้ำนั้น ก็คงเป็นกระบวนการแห่งกระแสที่ไหลเนื่องไปตามองค์ประกอบ และเหตุปัจจัยของมันอยู่นั่นเอง
    เราแยกได้ระหว่างสมมุติ กับ สภาวะที่เป็นจริง บัดนี้ เราทั้งเข้าใจและสามารถใช้ถ้อยคำพูดเหล่านั้นด้วยความสบายใจ
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ



    ที่สมมุติเรียกกันว่า คน ว่านาย ก. นาย ข. เรา เขานั้น โดยสภาวะที่แท้จริงแล้วก็คือ กระบวนธรรมที่ไหลเนื่องเป็นกระแสสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย มีองค์ประกอบต่างๆเข้ามาร่วมสัมพันธ์กันอยู่มากมาย มีความเป็นไปปรากฏให้เห็นได้นานาประการ สุดแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในกระบวนธรรมนั้นเอง และทั้งที่เนื่องด้วยภายนอก

    เมื่อมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างหนึ่งเกิดเป็นเหตุขึ้นแล้ว ก็ย่อมก่อให้เกิดผลเป็นความเปลี่ยนแปลงขึ้นในกระบวนธรรมนั้น

    สิ่งที่เรียกว่า กรรม และวิบากนั้น ก็คือความเป็นไปตามทางแห่งเหตุและผล ที่เกิดขึ้นในกระบวนธรรมที่กล่าวนี้ มีความสำเร็จพร้อมอยู่ในตัวกระบวนธรรมนั้นเอง โดยไม่ต้องอาศัยตัวสมมุติ มีนาย ก. นาย ข. เรา เขา นายสิบ นายพัน มารับสมอ้างเป็นเจ้าของ เป็นผู้ทำ หรือเป็นผู้รับผลแต่ประการใด

    อันนี้ เป็นส่วนตัวสภาวะความจริง อันเป็นไปอยู่ตามธรรมดาของมัน แต่เพื่อความสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจกันในหมู่ชาวโลก จะใช้พูดตามสมมุติก็ได้ โดยตั้งชื่อให้แก่กระบวนธรรมที่ไหลเวียนอยู่นั้นว่า นาย ก. นาย ข. เป็นต้น เมื่อรับสมมุติเข้าแล้ว ก็ต้องยอมรับสมอ้างเป็นเจ้าของเป็นผู้ทำ และผู้ถูกทำไปตามเรื่อง

    แต่ถึงจะสมมุติหรือไม่สมมุติ จะรับสมอ้างหรือไม่รับ กระบวนธรรมที่เป็นตัวสภาวะความจริงก็เป็นไปตามกฎธรรมดา ตามเหตุปัจจัยมันนั่นเอง

    ข้อสำคัญ ก็คือ จะต้องรู้เท่าทัน แยกสมมุติ กับ ตัวสภาวะออกจากกันได้ ของอันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อใดจะพูดถึงสภาวะ ก็พูดไปตามสภาวะ

    เมื่อใดจะใช้สมมุติ ก็พูดไปตามสมมุติ อย่าไขว้ เขว อย่าสับสนปะปนกัน และต้องมีความเข้าใจสภาวะเป็นความรู้เท่าทันรับรองยืนเป็นพื้นอยู่

    ทั้งตัวสภาวะ และสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (ที่นิยมเรียกว่า ปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ

    ส่วนสมมุติ เป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์

    แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะ กับ สมมุติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะจะให้เป็นไปตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

    ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา ถูกบีบคั้นจึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เชยระเบิดนระเบ้อ

    บอกแว้วให้ ทำ สัททินทรีย์ ให้ตรงก่อน
    โยนิโสอันเกิดจาก ญานทัสนะ จึงจะตรง

    ชื่อ ที่พ่อแม่ตั้งให้ ก้เกิดจาก วิบาก ในการก่อนๆ
    ให้ผล พ่อแม่ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ หน่าฮับ

    ถ้า มจด มีสัททาถูกต้อง ชื่อ ผิวพรรณ
    และตระกูล ล้วนแต่เปนสิ่งเกิดจากเหต
    หลักกรรม แก้ไม่ได้

    เอางี้ ถ้า มจด เหนว่า กระแสอย่างนึง
    สมมติอย่างนึง ปล่อยสมมติแว้ว

    ชาติหน้า มจด จะมี ปัจจัยไปเกิดเปน
    อะไร ชื่ออะไร ผิวสีใด พ่อแม่ชื่อไร ฮับ

    หรือว่า

    ไปนอนในกระทะทองเหลือง เอาหอกลำเขื่อง
    สีฟันทุกวาน ทุกวาน

    วะ ฮะ ฮะ ฮ่า
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    หรือ มจด จะ ยกตนว่า ไม่มีชาติหน้า เปน อรลาหอ....

    แล้วตกลง

    ปล่อยสมมติ พ้นตรงสมมติ

    หรือ

    พ้นกระแสปัจจัยการ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ ต่อ :p:D



    ตามเรื่องในบาลีที่ยกมาอ้างข้างต้น เห็นได้ชัดว่าภิกษุที่เกิดความสงสัยนั้น เอาความรู้เกี่ยวกับสภาวะตามที่ตนฟังมา เรียนมา ไปสับสน กับ สมมุติที่ตนยึดถืออยู่ จึงเกิดความงุนงง

    ตามข้อสงสัยของเธอ ถ้าคงศัพท์สำคัญไว้ตามเดิมจะแปลได้ว่า “กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จะถูกต้องอัตตาได้อย่างไร ?”

    ท่อนแรก เธอพูดตามความรู้เกี่ยวกับตัวสภาวะ

    ท่อนหลัง เธอพูดตามสมมุติ ที่เธอยึดถืออยู่เอง จึงขัดกันเป็นธรรมดา

    เท่าที่กล่าวมาเป็นอันสรุปได้ว่า

    -หลักอนัตตา กับ กรรมไม่ขัดกันเลย ตรงข้าม อนัตตากลับสนับสนุนกรรม เพราะสิ่งทั้งหลายเป็น อนัตตา กรรมจึงมีได้ เมื่อกระบวนธรรมดำเนินไป องค์ประกอบทุกอย่างต้องเกิด-ดับ เข้าสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันไป กระแสสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยจึงดำเนินไปได้ ไม่ใช่มีอะไรมาเป็นตัว เที่ยงคงที่ ลอยทื่อกั้นขวางอยู่กลางกระแส จะไปไหนก็ไม่ไป จะเป็นไปอย่างไร ก็ไม่เป็นไป

    ถ้ามีอัตตา กรรมก็ไม่มี เพราะอัตตาไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรเข้าถึงเนื้อตัวมัน อะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่มีผลให้เนื้อตัวอัตตาเปลี่ยนแปลงไป

    ในที่สุด ก็จะต้องแยกคนออกเป็นสองชั้น อย่างลัทธิสัสสตทิฏฐิบางพวก ที่ว่าคนทำกรรม รับผลกรรมกันไป อยู่แค่ชั้นนอก ส่วนแก่นแท้หรืออัตตาอยู่ภายในเที่ยง คงที่ ถึงอะไรจะเป็นไปอย่างไร อัตตาก็คงเดิม ไม่ถูกกระทบกระเทือน


    -ที่เราทำกรรม และ รับผลกรรมกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ทำและรับผลกรรมกันอยู่โดยไม่ต้องมีตัวผู้ทำกรรม และไม่มีคนรับกรรมอยู่แล้ว ในสิ่งทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่และดำเนินไป เป็นกระบวนธรรมนั้น ต้องพิจารณาในแง่ที่ว่า มีอะไรบ้างเข้าไปเป็นปัจจัย อะไรไปสัมพันธ์กับอะไร แล้วมีผลอะไรเกิด ขึ้นในกระบวนธรรมนั้น ทำให้กระบวนธรรมนั้นผันแปรเป็นไปอย่างไรๆ เมื่อมีเหตุที่เรียกว่า การกระทำเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแล้ว ก็ย่อมมีผลที่เรียกว่า วิบากเกิดขึ้นในกระบวนธรรมนั้นเอง เรียกว่า มีการกระทำ และมีผล การกระทำเกิดขึ้น โดยไม่มีเจ้าของกรรม ที่มาเป็นผู้กระทำกรรมและเป็นผู้ รับผลกรรมนั้นอีกชั้นหนึ่ง

    กรรม คือ ความเป็นไปตามเหตุและผลในกระบวนธรรมนั้น อันต่างหากจากสมมุติที่เราเอาไปสวมใส่ครอบให้มัน เมื่อตกลง จะสมมุติเรียกกระแสธรรมที่ดำเนินอยู่นั้นว่า เป็น นาย ก. นาย ข. ก็ย่อมมี นาย ก. นาย ข. ที่เป็นเจ้าของกรรม เป็นผู้ทำกรรม และรับผลกรรม

    แต่กระบวนธรรมที่เป็นตัวสภาวะ ก็ดำเนินไปตามปกติของมัน เป็นเหตุเป็นผล พร้อมอยู่ในตัวโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ต้องอาศัย นาย ก. นาย ข. จึงจะมีเหตุมีผลเกิดขึ้น

    เมื่อจะพูดในแง่กระบวนธรรมว่า ดำเนินไปอย่างไร ด้วยเหตุปัจจัยอะไร เป็นผลอย่างไรก็พูดไป หรือจะพูดในแง่ นาย ก. นาย ข. ทำกรรมนั้นแล้ว รับผลกรรมอย่างนี้ ก็พูดไป

    เมื่อพูดในแง่สมมุติ ก็ให้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สมมุติ

    เมื่อพูดในแง่สภาวะหรือปรมัตถ์ ก็ไห้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สภาวะ

    เมื่อรู้เท่าทันความเป็นจริง และความมุ่งหมายในการพูดแบบนั้นๆ ไม่เข้าไปยึดติดถือมั่น ไม่เอามาปะปนกัน ก็เป็นอันใช้ได้ * (คัมภีร์ วิสุทธิมัคค์กล่าวไว้น่าฟังว่า “ผู้ทำกรรมไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี มีแต่ธรรมล้วนๆ ย่อมเป็นไป ความเห็นอย่างนี้จึงเป็นสัมมาทัศนะ")


    -ไม่ต้องพูดถึงมนุษย์ ซึ่งเป็นประชุมแห่งเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนลึกซึ้งมาก เพราะมีองค์ประกอบฝ่ายจิตใจร่วมอยู่ด้วย

    แม้แต่พวกรูปธรรมที่มีองค์ประกอบฝ่ายวัตถุอย่างเดียว เช่น อย่างเรื่องแม่น้ำเจ้าพระยาที่กล่าวข้างต้น คนจำนวนมาก ก็ยังติดในสมมุติ ยึดมั่นเอาเป็นตัวเป็นตนจริงจังไปได้

    สำหรับองค์ประกอบฝ่ายจิตใจนั้น ละเอียดลึกซึ้งมาก

    แม้แต่ความเป็นอนิจจัง บางคนก็มองไม่เห็น เช่น เคยมีบางคนกล่าวแย้ง ว่า “ใครว่าสัญญาไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไม่คงที่ สัญญาต้องนับว่า เป็นของเที่ยง เพราะมันเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เป็นสัญญาทุกครั้ง คงที่ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง” คำแย้งนี้ บางคนอาจเห็นคล้อยไปตามได้

    แต่ถ้าเปลี่ยนข้อความนี้ มาใช้กับวัตถุหรือรูปธรรม อาจมองเห็นข้อถูกข้อผิดได้ง่ายและชัดเจนขึ้น คำแย้งข้างต้นนั้น เหมือนกันกับพูดว่า

    ใครว่าร่างกายไม่เที่ยง ร่างกายเป็นของเที่ยงแท้ คงที่ เพราะร่างกายเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร ก็เป็นร่างกายอยู่นั่นเอง ไม่เปลี่ยนแปลง” ข้อความสุดท้ายนี้ มองเห็นแง่ผิดง่ายกว่า และร่างกาย กับ บัญญัติว่าร่างกาย จะอธิบายว่า สัญญาและร่างกายเป็นของเที่ยง คงที่ แต่เหตุผลที่แสดงกลายเป็นพูดว่า บัญญัติว่าสัญญา และบัญญัติว่าร่างกาย เที่ยงแท้คงที่

    -การศึกษาหลักกรรม โดยจับเอาที่สมมุติ จะทำให้ได้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลในช่วงกว้างเกินไป เช่น จับเอาว่า นาย ก. ทำกรรมชื่อนี้ ในวันนี้ ต่อมาอีกสิบปี เขาได้รับผลกรรมชั่วนั้น ความเป็นผล ที่อธิบายมักจะเป็นแบบก้าวเดียว ข้ามเวลา 10 ปี ดังนั้น จึงยากที่จะให้มองเห็นความสัมพันธ์ในทางเหตุผลได้ละเอียด ชัดเจน เพราะไม่มองเห็นกระแสเหตุปัจจัยที่เป็นไปต่อเนื่องโดยตลอด
    การศึกษากระบวนธรรมตามสภาวะ จึงจะช่วยให้มองเห็นกระแสความสัมพันธ์นั้นได้ละเอียด ตลอดสายว่า ความหมายของการได้รับผลนั้น ที่แท้จริงคืออะไร และเป็นเช่น นั้นได้อย่างไร ? *
    ........

    ที่อ้างอิง *

    * คัมภีร์ ฝ่ายอภิธรรม รุ่นอรรถกถาฎีกา ชี้แจงว่า บัญญัติ (concept; name; designation) เป็นกาลวินิมุต (พ้นจากกาล, ไม่ขึ้นกับกาลเวลา) เพราะไม่มีความพินาศ แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่มีจริง กาลก็เป็นบัญญัติ ซึ่งมีขึ้นด้วยอาศัยปรากฏการณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2017
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ จนจบ :)


    นาย ก. มีเรื่องวิวาทกับเพื่อนบ้าน และได้ทำร้ายเพื่อนบ้านนั้นถึงแก่ความตาย

    เขาหวาดกลัวการจับกุมของเจ้าหน้าที่ และการแก้แค้นของญาติพวกพ้องของผู้ตาย เที่ยวหลบซ่อนตัว ต่อมาเขาถูกจับได้และถูกลงโทษ

    แม้ภายหลังพ้นโทษออกมาแล้ว นาย ก. ก็ยังมีความเดือดร้อนใจในการก่อกรรมชั่ว ถูกภาพของคนตายหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ หาความสุขความเย็นใจไม่ได้เลย หน้าตาท่าทางของเขาเปลี่ยนไป กลายเป็นหม่นหมองร้อนรนหวาดระแวงและอมทุกข์

    ภาวะจิตใจเช่นนี้ ประกอบกับปัจจัยอย่างอื่น เช่นความมีร่างกายแข็งแรง ได้มีผลสืบเนื่องต่อมา โดยทำให้เขากลายเป็นคนฉุนเฉียว โมโหร้าย รุนแรง และเมื่อเวลายาวนานผ่านไป บุคลิกภาพของเขาก็เปลี่ยนไปเป็นคนมีลักษณะหยาบคาย เหี้ยมเกรียม ชอบกลบเกลื่อนความทุกข์ด้วยการแสดงอำนาจ ทั้งเป็นภัยต่อสังคม และตัวเขาเองก็หาความสุขทางสังคมที่แท้จริงไม่ได้


    เรื่องที่เล่ามานี้ ถ้าจะพูดให้สั้นก็ว่า นาย ก. ทำกรรมชั่ว และได้รับผลของกรรมชั่วนั้น

    การพูดอย่างนี้ เป็นไปตามภาษาสามัญ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย เรียกว่าพูดตามสมมติ เป็นวิธีการสื่อสารในระหว่างมนุษย์ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการที่จะทำความเข้าใจต่อกัน

    แต่เป็นการพูดถึงเพียงภาพที่ปรากฏออกมาภายนอก หรือผลรวมหยาบๆ ของเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องซับซ้อนอยู่ภายใน ไม่เข้าถึงเนื้อหาภายในที่สัมพันธ์สืบทอดกันตามสภาวะของธรรมชาติ


    แต่ถ้าพูดโดยปรมัตถ์ หรือตามสภาวะของธรรมชาติเองแท้ๆ ก็จะพูดได้ถึงเนื้อในของความเป็นไปทั้งหมด

    ที่เรียกว่า กระบวนธรรม เช่น บอกว่า ในกระบวนธรรมแห่งขันธ์ ๕ ชุดนี้ จิตประกอบด้วยความโกรธเกิดขึ้น มีการปรุงแต่งตามความโกรธนั้น จนแสดงออกเป็นการกระทำ มีกรรมเกิดขึ้น จิตที่มีการปรุงแต่งอย่างนั้นเริ่มแปรคุณภาพไป มีคุณสมบัติร้ายๆ เช่น ความระแวง หวาดกลัว และความคิดร้ายเกิดมากขึ้น จิตปรุงแต่งอย่างนั้นบ่อยๆ เกิดการสั่งสมคุณสมบัติร้ายๆ จนเป็นลักษณะประจำ และคุณสมบัติร้ายๆนั้นๆ ก็เป็นปัจจัยให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ยิ่งกว่านั้น การกระทบทางกายจากภายนอกเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้นๆ

    การพูดตามสภาวะอย่างนี้ มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่ต้องเอ่ยอ้างถึง นาย ก. หรือตัวตนใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวกระบวนการจึงมีแต่เพียงองค์ธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น และสัมพันธ์เป็นปัจจัยสืบทอดกันมา มีการกระทำและมีผลของการกระทำ โดยไม่ต้องมีผู้ทำและผู้รับผลของการกระทำ

    ไม่ว่าจะพูดตามสภาวะอย่างนี้ หรือพูดตามสมมติอย่างข้างต้น เนื้อหาของสภาพที่เป็นจริงก็มีเท่ากัน ไม่ขาดไม่เกินกว่ากัน เพียงแต่ว่า การพูดตามสภาวะ เป็นการพูดถึงแต่ตัวความจริงล้วนๆ โดยไม่พอกเพิ่มถ้อยคำหรือภาพสมมติซ้อนขึ้นมาบนตัวความจริงนั้น


    อย่างไรก็ตาม แม้จะอธิบายถึงเพียงนี้แล้ว บางคนก็ยังไม่อาจเข้าใจ จึงคงจะต้องเล่าเป็นนิทานว่า

    ทิดผ่องไปคุยธรรมะกับกับท่านพระครูที่วัด ตอนหนึ่งทิดผ่องถามว่า

    "เอ หลวงพ่อครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่เป็นของใครๆ ไม่มีตัวผู้ทำกรรม ไม่มีตัวผู้รับผลของกรรม

    ถ้าอย่างนั้น ผมจะไปฆ่าใคร ตีหัวใคร หรือทำอะไรๆใครก็ได้สิครับ เพราะไม่มีใครทำกรรม แล้วผมก็ไม่ต้องได้รับผลกรรม"

    พอทิดผ่องพูดขาดคำ ไม้เท้าในมือของท่านพระครู ซึ่งท่านฉวยขึ้นมาจากข้างที่นั่งเมื่อไรทิดผ่องไม่ทันสังเกตเห็น ก็ฟาดลงมาอย่างรวดเร็ว จนเขายกแขนขึ้นรับแทบไม่ทัน ปลายไม้เท้าถูกกลางต้นแขนพอหนุ่ยๆ แดงๆ ทิดผ่องคลำแขนป้อย

    "หลวงพ่อ ทำไมทำกับผมอย่างนี้ล่ะ" ทิดผ่องพูดเสียงกร้าว แสดงอาการว่ากำลังข่มความโกรธ

    "อ้าว เป็นไงล่ะ" ท่านพระครูถามลอยๆ

    "ก็หลวงพ่อตีผม ผมเจ็บนี่" ทิดผ่องตอบเสียงเครียด หน้านิ่ว

    "กรรมมีอยู่ ผู้ทำกรรมไม่มี ผลกรรมมีอยู่ ผู้รับผลของกรรมไม่มี เวทนามีอยู่ ผู้เสวยเวทนาไม่มี ความเจ็บมีอยู่ ผู้เจ็บไม่มี"

    ท่านพระครูพูดเปรยๆ ปรับเสียงช้าๆ อย่างทำนองเทศน์ และว่าต่อไปอีก "ผู้ใดแสวงหาประโยชน์ ในทางเห็นแก่ตัวจากอนัตตา ผู้นั้น ไม่พ้นจากอัตตา ผู้ใด ยึดมั่นอนัตตา ผู้นั้นแลคือผู้ยึดมั่นอัตตา เขาหารู้จักอนัตตาไม่; ผู้ใด ยึดถือว่าผู้ทำกรรมไม่มี ผู้นั้น ย่อมไม่พ้นจากความยึดมั่นว่าผู้เจ็บมี เขาหารู้แจ้งไม่ว่า ผู้ทำกรรมก็ไม่มี และผู้เจ็บก็ไม่มี"

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้ารักจะพูดว่าไม่มีผู้ทำกรรม ก็ต้องเลิกพูดด้วยว่าผมเจ็บ
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ก็ทิดผ่องมีความเข้าใจในระดับสมมุติ
    จึงพูดไปด้วยความซื่อ และไม่เข้าใจความหมาย
    ของคำว่าอัตตา อนัตตาที่จะเป็นจริง
    ในระดับปรมัตถ์เท่านั้น
    จึงไม่ควรใช้คำสรุปว่า"รักจะพูด......"
    เพราะเป็นวลีที่ไม่ส่งเสริมสติปัญญา เป็นการใช้วาจา
    ถ่มถุยขาดเมตตาเป็นแค่ภาษาเด็กแว้นซ์สก๊อยต์
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ขนาดอ่านยังเจ็บ อิอิ
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ลักษณะการสอดแทรกคำพูดสอดใส้ที่เคยบอกไปแล้วว่าไม่เหมาะสม...ถ้าเป็นการสอดแทรกโดย
    ผู้อื่นมาก่อน มจด.ก็ต้องกลั่นกรองตัดออกเสีย
    ไม่ใช่จงใจแทรกเข้าในเชิงส่อเสียด หรือเสียดสี
    คนที่ยังมีภูมิธรรมไม่ถึง
    ต้องใส่ใจโยนิโสไหมเพิ่มขึ้นไหมพิจารณาเองนะ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เริ่มใส่ร้ายป้ายสีอีกแระ

    ตรงไหนสอดไส้ ยกมาสิ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้าอาจารย์แมวอ่านเข้าใจ ก็เข้าใจความต่างระหว่างสภาวธรรม กับ คนหรือมนุษย์ ด้วย ตย. นี่

    ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

    สภาวะไม่วุ่น คือเป็นไปตามธรรมดาของมัน แต่มนุษย์ไม่เข้าใจมัน จึงวุ่นใจไปกับมัน มจด. ถึงบอกว่า ให้กำหนดดูรู้ทันมัน มันเป็นยังไง เรารู้สึกยังไง ให้กำหนดจิตตามที่มันเป็น ดูมัน เมื่อใดนั่งแล้วทุกขเวทนาเป็นต้นเกิดแล้วเราไม่ขมิบก้นนั่นใกล้รู้ความจริงแล้ว คือใกล้รู้ธรรมะแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2017
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เงียบ ว่าไงล่ะ ยกมาสิสอดไส้สอดพุงตรงไหน
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ถ้อยคำที่สอดแทรกความเห็นในเนื้อหาเป็นภาษา
    แว้นซ์ก็น่าเกลียดพอแรงแล้ว....แต่ด้วยนิสัยไม่รู้
    สัมมาคาระวะ จึงดันทุรังเอาไปเป็นชื่อกระทู้
    หวังเรียกความสนใจเหมือนขายสินค้า
    สมควรแล้วที่โดนด่าสาดเสียเทเสีย

    ยังงี้หรือจะมาสมัครเป็นศิษย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...