สถานการณ์ด้านศาสนาปี 2545 และแนวโน้มปี 2546

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 23 มกราคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    สถานการณ์ด้านศาสนาปี 2545 และแนวโน้มปี 2546
    <!-- 21-1-2546 -->



    <DD><DD>ภาพรวมด้านศาสนาที่สำคัญ ได้แก่ ศาสนาพุทธ ปรากฏความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวพุทธในเรื่องร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ ซึ่งนำไปสู่ความแตกแยกในสังคมไทยอย่างรุนแรง รวมทั้งปัญหาการเรียกร้องขอตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยขององค์กรชาวพุทธจำนวนมาก ก็ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับกลุ่มชาวพุทธทั่วประเทศ ขณะที่เครือข่ายอดีตสำนักหุบผาสวรรค์มีการจัดกิจกรรมอ้างอิงสถาบันเบื้องสูงอยู่เป็นประจำ ส่วนการบวชภิกษุณีและสามเณรีในไทยที่สร้างปัญหามานานก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ศาสนาคริสต์ ปรากฏความเคลื่อนไหวจัดงานประจำปีอย่างยิ่งใหญ่ของกลุ่มโฮปเพลซ ศาสนาอิสลาม ปรากฏความเคลื่อนไหวของแกนนำชาวมุสลิมในการยื่นข้อเรียกร้องต่อ นรม. รวมทั้งการจัดงานชุมนุมชาวมุสลิมระหว่างประเทศ สำหรับลัทธิความเชื่ออื่น ไม่ว่าจะเป็นฝ่าหลุนกง โยเร มหาริชี ต่างมุ่งหวังเผยแพร่ลัทธิทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วยการจัดกิจกรรมตามแนวทางของลัทธินั้นๆ นอกจากนี้ความหลงเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ของคนไทยบางกลุ่มยังปรากฏในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องบั้งไฟพญานาคนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมระดับท้องถิ่น <DD><DD>ศาสนาพุทธ<DD>ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ยังคงสร้างความขัดแย้งในสังคม <DD>การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ ที่ยกร่างโดยมหาเถร-สมาคม (มส.) ให้รัฐบาลพิจารณา ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในวงการพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2545 โดยฝ่ายสนับสนุนมีศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่ง-ประเทศไทย (ศพท.) เป็นแกนนำ ได้จัดชุมนุมพระสงฆ์ ฆราวาสหลายครั้ง เพื่อกดดันให้รัฐบาลผลักดันร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับ มส.ออกมาใช้โดยเร็ว ส่วนฝ่ายคัดค้านมีกลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหาบัวเป็นแกนนำ ก็ได้จัดชุมนุมหลายครั้งเช่นกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับ มส. ในที่สุดรัฐบาลมีมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกายกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาใหม่ส่งผลให้ฝ่ายคัดค้านพอใจ แต่ฝ่ายสนับสนุนไม่พอใจจึงออกมาเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลและ นรม.ในทางเสียหายเรื่อยมา ส่วนการยกร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างเสร็จแล้ว และเตรียมนำเสนอรัฐบาลพิจารณาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป นอกจากนี้คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ก็เตรียมจะเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่อีก 1 ฉบับ ที่ยกร่างโดย กมธ.ศาสนาฯ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในสมัยประชุมหน้าด้วยเช่นกัน <DD><DD>องค์กรชาวพุทธเรียกร้องขอตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาฯ <DD>นโยบายการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ของรัฐบาล ได้ส่งผลกระทบต่อวงการพุทธศาสนา โดยเฉพาะการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมที่รวมเอางานด้านพุทธศาสนาไปสังกัดอยู่ด้วย แต่ไม่มีการระบุคำว่าพระพุทธศาสนาไว้ในชื่อกระทรวง จึงได้ถูกองค์กรชาวพุทธหลายองค์กรออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงดังกล่าวเป็นกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย โดยมีศูนย์-พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ ซึ่งได้เคลื่อนไหวกดดันฝ่ายการเมืองมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการจัดชุมนุมชาวพุทธครั้งใหญ่เมื่อเดือน ก.ย.45 ส่งผลให้รัฐบาลยอมจัดตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงต่อ นรม. พร้อมเห็นชอบให้ใช้ชื่อกระทรวงวัฒนธรรมโดยมีกรมการศาสนาเป็นส่วนราชการหนึ่งเพื่อดูแลศาสนาอื่นๆ รวมทั้งพุทธศาสนาในบางส่วน อย่างไรก็ตามแม้ ศพท.จะยุติการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ปรากฏว่ากลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหาบัวกลับออกมาเรียกร้องให้มหาเถรสมาคมดำเนินการสอบสวนเอาผิดกับพระสงฆ์ 5 รูป ที่เป็นแกนนำในการจัดชุมนุมดังกล่าวรวมทั้งมีการแจ้งความดำเนินคดีและยื่นถอดถอนนายบุญเลิศ ไพรินทร์ ส.ว.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นแนวร่วมคนสำคัญของ ศพท.อีกด้วย <DD><DD>การดำเนินคดีต่อวัดพระธรรมกายมีความคืบหน้าระดับหนึ่ง <DD>กรณีวัดพระธรรมกายซึ่งกลายเป็นปัญหายืดเยื้อที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และส่งผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนาของไทยมาอย่างยาวนาน ในรอบปี 2545 การดำเนินคดีทางศาลสงฆ์ตามกระบวนการกฎนิคหกรรมไม่มีความคืบหน้าใดๆ ส่วนการดำเนินคดีทางศาลยุติธรรมมีความคืบหน้าระดับหนึ่งเมื่อตำรวจมีความเห็น สั่งฟ้องพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาส พร้อมลูกศิษย์ 2 คน โดยส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการพิจารณา ซึ่งอัยการได้มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป อย่างไรก็ตามแม้วัด พระธรรมกายจะถูกดำเนินคดีแต่แกนนำก็ยังคงมุ่งมั่นจัดกิจกรรมเรียกศรัทธาคืนจากประชาชนทั่วไป โดยมีการจัดงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดและพุทธศาสนาเป็นประจำทุกเดือน โดยเฉพาะการจัดงานฌาปนกิจศพแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ผู้ก่อตั้งวัด เมื่อเดือน ก.พ.45 มีการระดมพระสงฆ์ สามเณร แม่ชี ฆราวาส ประมาณ 200,000 คน มาร่วมงานพร้อมเปิดรับบริจาคเงิน/สิ่งของจากผู้ศรัทธา <DD><DD>สำนักสันติอโศกเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น <DD>สำนักสันติอโศกที่มีสมณโพธิรักษ์ (อดีตพระโพธิรักษ์) เป็นเจ้าสำนัก ได้พยายามกลับเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งโดยการส่งสมาชิกพรรคเพื่อฟ้า-ดินซึ่งเป็นข่ายงานด้านการเมืองของสำนักสันติอโศกออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการ ขึ้นเงินเดือนของ ส.ส.และ ส.ว.ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการจัดทำแผ่นปลิวแถลงการณ์ในนามพรรคเพื่อฟ้าดินออกเผยแพร่แจกจ่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เลย นครปฐม เชียงราย ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ ตลอดเดือน ส.ค.45 นอกจากนี้ น.ส.ขวัญดิน สิงห์คำ หน.พรรคเพื่อฟ้าดิน ยังได้นำสมาชิกพรรคจำนวน 300 คน มาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เพื่อคัดค้านการขึ้นเงินเดือนดังกล่าวด้วย <DD><DD>ข่ายงานอดีตสำนักหุบผาสวรรค์จัดกิจกรรมตลอดปี <DD>อดีตสำนักหุบผาสวรรค์ซึ่งมีนายสุชาติ โกศลกิตติวงศ์(พระอริยวังโส) เป็นผู้นำ ได้ใช้องค์กรในข่ายงานจัดกิจกรรมเป็นประจำทั้งในกรุงเทพฯ และ จ.เพชรบุรี ในรอบปี 2545 อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม สำนักสงฆ์พัฒนาทางจิต สำนักปู่สวรรค์ ชมรมสวดพระคาถาชินบัญชร โครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายของอดีตสำนักหุบผาสวรรค์ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมหลายประเภทในทุกเดือน อาทิ การจัดงานบูชาบรมครูประจำปี การจัดพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน การจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ฐานพระพุทธรูปสำคัญ การจัดพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปสำคัญ การประกอบพิธีเปิดพระตำหนักพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 การจัดบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางศาสนาหรือวันสำคัญของชาติไทย ซึ่งการจัดงานแต่ละครั้งมักถูกอ้างว่าเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมเชิญเชื้อพระวงศ์และบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงมาร่วมกิจกรรมเกือบทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ศรัทธาทั่วประเทศ นอกจากนี้แกนนำยังได้ยกสถานภาพของสำนักสงฆ์พัฒนาทางจิตให้เป็นวัดทางพุทธศาสนาอีกด้วย ซึ่งน่าจะทำให้สังคมยอมรับองค์กรในข่ายงานของอดีตสำนักหุบผาสวรรค์ได้มากขึ้น <DD><DD>การบวชภิกษุณีและสามเณรีในไทยยังไม่มีข้อยุติ <DD>ภิกษุณีเคยมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแต่ได้หมดสิ้นไปภายหลังพระ-พุทธเจ้าปรินิพพาน ส่วนประเทศไทยปัญหาการบวชภิกษุณีและสามเณรีได้สร้างความขัดแย้งให้สังคมมานาน โดยมีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านซึ่งต่างฝ่ายต่างทำการเคลื่อนไหวแสดงบทบาทให้สังคมยอมรับ ในรอบปี 2545 ฝ่ายสนับสนุนซึ่งส่วนมากเป็นองค์กรด้านสตรี นักบวชสตรี วุฒิสภาบางคน ได้เคลื่อนไหวจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง อาทิ การบวชสามเณรีครั้งแรกในประเทศไทยที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม การอบรมพุทธสาวิกาเพื่อรับใช้สังคม การผลักดันให้ออกกฎหมายยอมรับการบวชภิกษุณี การศึกษาเก็บข้อมูลมาสนับสนุนการบวชภิกษุณี การทำบุญสร้างวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุณี เป็นต้น ขณะที่ฝ่ายคัดค้านซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นคณะสงฆ์และองค์กรชาวพุทธต่างออกมาแสดงท่าทีคัดค้านอย่าง แข็งกร้าว โดยเฉพาะแกนนำศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้แสดงบทบาทคัดค้านทุกรูปแบบพร้อม ประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับทราบข้อเท็จจริง <DD><DD>ศาสนาคริสต์<DD>คริสตจักรความหวังจัดกิจกรรมประจำปีอย่างยิ่งใหญ่ <DD>คริสตจักรความหวัง (Hope Place) หรือมูลนิธิความหวังของชาวไทย ถือเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์องค์กรหนึ่งที่พยายามเผยแพร่ตามแนวทางของตน แม้จะถูกต่อต้านจากองค์กรชาวคริสต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อมุ่งหาสมาชิกเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในรอบปี 2545 กลุ่ม โฮปเพลซได้จัดกิจกรรมหลายประเภท แต่ที่จัดว่าเป็นกิจกรรมประจำปีที่ยิ่งใหญ่คือ การจัดงานด้วยรักและผูกพัน 2002 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น เมื่อเดือน พ.ค.45 ซึ่งมีผู้มาร่วมงานจำนวนมากกว่า 13,000 คน และมีการจัดกิจกรรมที่เน้นความศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจ้า รวมทั้งการเรี่ยไรรับบริจาคทรัพย์จากสมาชิกผู้ศรัทธา นอกจากนี้ยังปรากฏการจัดงานครบรอบ 15 ปี ของคริสตจักร ความหวังพิษณุโลก และการย้ายที่ทำการของคริสตจักรความหวังสตูลอีกด้วย <DD><DD><DD>ศาสนาอิสลาม<DD>คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยยื่นหนังสือถึง นรม. <DD>ตัวแทนผู้ประสานงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรวม 4 จังหวัด นำโดย นายอารีย์ วงศ์บุญเกิด ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกลางอิสลาม-แห่งประเทศไทย เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นรม. เมื่อเดือน ก.ค.45 เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลระงับโครงการจัดตั้งองค์กรรับรองมาตรฐานสินค้าฮาลาล เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง โดยให้เหตุผลว่าฮาลาลเป็นเรื่องความเชื่อทางศาสนาจึงควรปล่อย ให้ภาคเอกชนและชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ดำเนินการเองเท่านั้น รัฐบาลไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้อง <DD><DD>ชาวไทยมุสลิมจัดงานชุมนุมทางศาสนาระดับอาเซียน <DD>ชาวไทยมุสลิมกลุ่มดาวะห์จัดงานชุมนุมดาวะห์ระดับอัสติมาที่ จ.นครศรีธรรมราช ใช้ชื่องานว่า อัสติมาระดับอาเซียน เมื่อเดือน ส.ค.45 ซึ่งมีชาวมุสลิมประเทศต่างๆ เข้าร่วมชุมนุมประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนา/ร่วมกันละหมาด/รณรงค์ให้ชาวมุสลิมเคร่งครัดทางศาสนามากขึ้น รวมทั้งจัดหาตัวแทนเดินทางไป เผยแพร่ศาสนายังประเทศต่างๆ โดยมีชาวมุสลิมกลุ่มดาวะห์มาร่วมงานประมาณ 60,000 คน ในงานมีกิจกรรมหลายประเภทส่วนใหญ่จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้ชาวมุสลิมเคร่งครัดทางศาสนามากขึ้น <DD><DD>ศาสนาฮินดู<DD>วัดพระศรีมหาอุมาเทวีจัดงานประเพณีประจำปี <DD>วัดพระศรีมหาอุมาเทวีหรือวัดแขก ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ ได้จัดงานประเพณีแห่เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีประจำปี 2545 เมื่อเดือน ต.ค.45 ในงานมีการแห่รูปปั้นเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี พระขันธกุมาร พระกัตตรายัน และร่างทรงเทพเจ้าทั้ง 3 ซึ่งได้เน้นการแสดงเชิงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ โดยมีทั้งชาวฮินดูและพุทธมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก <DD><DD><DD>ลัทธิอื่น<DD>ฝ่าหลุนกงพยายามเผยแพร่ลัทธิมุ่งหาสมาชิกเพิ่มขึ้น</U> <DD>ฝ่าหลุนกงเป็นลัทธิความเชื่อหนึ่งจาก สปจ. ที่ สปจ.ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง และมีความต้องการเข้ามาเผยแพร่ลัทธิในประเทศไทย ในรอบปี 2545 สมาชิกฝ่าหลุนกงมีความพยายามที่จะเผยแพร่ลัทธิให้ได้อย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยการส่งสมาชิกไปแจกจ่ายเอกสารเผยแพร่ลัทธิพร้อมสาธิตท่าฝึกฝ่าหลุนกงในงานตรุษจีน ไชน่า ทาวน์ เยาวราช ที่กรุงเทพฯ การจัดตั้งสาขาเผยแพร่ 1 แห่ง ที่ จ.นครนายก การเปิด WEBSITE เผยแพร่แก่ผู้ศรัทธาทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้สมาชิกฝ่าหลุนกงในกรุงเทพฯ ยังได้ส่งจดหมายลูกโซ่ไปเผยแพร่ลัทธิยังพื้นที่มณฑลยูนานทางตอนใต้ของ สปจ. อีกด้วย <DD><DD><DD>ลัทธิมหาริชีจัดตั้งศูนย์กลางการเผยแพร่ประจำภูมิภาคต่างๆ <DD>ลัทธิมหาริชีเป็นลัทธิความเชื่อหนึ่งจากอินเดียที่ต้องการใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ลัทธิในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในรอบปี 2545 แกนนำลัทธิมหาริชีในไทยได้พยายามจัดตั้งสาขาหลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะการใช้วิทยาลัยรัชต์ภาคย์เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ในเขตภาคกลาง ใช้ศูนย์ฝึกอบรมวิทยาลัยรัชต์ภาคย์ จ.จันทบุรี เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ในเขตภาคตะวันออก และใช้มูลนิธิโพธิสัจธรรมเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาขาแต่ละแห่งก็มีการจัดกิจกรรมเผยแพร่แนวคิดคำสอนอย่างต่อเนื่องตลอดปี <DD><DD>ลัทธิโยเรยึดแนวเกษตรธรรมชาติคิวเซในการเผยแพร่ลัทธิ <DD>ลัทธิโยเรและองค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียว เป็นลัทธิความเชื่อจากญี่ปุ่นที่เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยจนสามารถจัดตั้งสมาชิกได้แล้วประมาณ 300,000 คน ในรอบปี 2545 แกนนำลัทธิโยเรได้จัดงานมหกรรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 11 ที่ จ.สระบุรี โดยเน้นกิจกรรมส่งเสริมด้านเกษตรธรรมชาติคิวเซ รวมทั้งเปิดจำหน่ายสารจุลินทรีย์ EM.ซึ่งเป็นสารเคมีทางการเกษตรที่ลัทธิโยเรนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้ศรัทธาและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้แกนนำลัทธิโยเรยังได้เปิดโอกาสให้พรรคไทยรักไทยใช้ศูนย์ฝึกอบรมที่ จ.สระบุรี เป็นสถานที่จัดงานพบปะสมาชิกพรรคในเขตภาคกลางเนื่องในโอกาสตั้งพรรคมาครบ 4 ปี อีกด้วย <DD>ความเชื่ออื่น<DD>ความเชื่อเรื่องบั้งไฟพญานาคก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม <DD>ตามที่เกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคที่ จ.หนองคาย ในวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ของทุกปี ซึ่งคนไทยส่วนมากต่างเชื่อว่าเป็นบั้งไฟที่พญานาคในลำน้ำโขงจุดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แต่ในรอบปี 2545 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ได้นำเสนอรายงานพิเศษท้าทายความเชื่อดังกล่าวแพร่ภาพไปทั่วประเทศเมื่อเดือน พ.ย.45 โดยระบุว่าเกิดจากการยิงปืนของทหารบ้าน สปปล. ซึ่งก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจและต่อต้านสถานีโทรทัศน์ไอทีวีจากประชาชน จ.หนองคาย จำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลบหลู่ความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย จึงได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ โดยมี ส.ส.และ ส.จ.ในพื้นที่เป็นแกนนำ รวมทั้งยังได้ยื่นหนังสือถึง นรม.ให้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ด้วย <DD><DD><DD>ข่าวลือเรื่องผีปอบออกอาละวาดแพร่กระจายไปทั่วประเทศ <DD>ในรอบปี 2545 ข่าวลือเรื่องผีปอบออกอาละวาดกินตับคนได้แพร่กระจายขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศ อาทิ กรุงเทพฯ ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ร้อยเอ็ด ระยอง สระแก้ว น่าน เป็นต้น ส่งผลให้ราษฎรในจังหวัดดังกล่าวต่างเกิดความหวาดกลัวจนไม่กล้าออกนอกบ้านในเวลากลางคืน รวมทั้งนำใบหนาดและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ มาติดบ้านไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากผีปอบ โดยข่าวลือดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกที่ จ.ร้อยเอ็ด แล้วขยายวงกว้างออกไปยังจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวัน-ออก และภาคเหนือ ตามลำดับ <DD><DD><DD>คนไทยยังหลงเชื่อในเรื่องโชคลาภจากสิ่งรอบตัว <DD>ในช่วงรายงาน คนไทยบางส่วนยังคงเชื่อถือในเรื่องไสยศาสตร์ และสิ่งลี้ลับ โดยเฉพาะความหลงงมงายในเรื่องโชคลาภจากสิ่งแปลกประหลาดผิดธรรมชาติรอบตัวว่าจะดลบันดาลโชคลาภให้ร่ำรวยได้ ปรากฏเป็นประจำทุกเดือนในหลายจังหวัด รวมทั้งความเชื่อเรื่องการบูชาพระราหูที่มีการจัดพิธีบูชาอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังปรากฏเหตุวุ่นวายในบางจังหวัดเนื่องจากความเชื่อเรื่องผีกระสือ-กระหังออกอาละวาดอีกด้วย <DD><DD>คาดการณ์สถานการณ์ศาสนาในปี 2546<DD>สถานการณ์ด้านศาสนาในปี 2546 ประเด็นสำคัญน่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธเป็นหลัก โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวพุทธ 2 กลุ่ม คือ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยกับกลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหา-บัว น่าจะดำรงอยู่และอาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะ-สงฆ์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งจะเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ รัฐบาลต้องเตรียมการแก้ไขไว้ล่วงหน้า ขณะที่ศาสนาคริสต์ยังคงใช้องค์กรจัดตั้งที่มีอยู่จัดกิจกรรมเผยแพร่ศาสนาคริสต์อยู่ต่อไปเพื่อหาสมาชิกเพิ่มเติม ส่วนศาสนา อิสลามเชื่อว่าชาวไทยมุสลิมจะยังคงเรียกร้องขอปัจจัยสี่ที่สอดคล้องกับหลักคำสอนทางศาสนาอิสลาม อาทิ ศาลอิสลาม โรงพยาบาลอิสลาม เป็นต้น สำหรับลัทธิความเชื่ออื่นมีแนวโน้มจะมุ่งรักษาศรัทธาสมาชิกเดิมเอาไว้ แต่ก็จะพยายามเผยแพร่ลัทธิเพื่อหาสมาชิกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ความหลงเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ทางโชคลาภของคนไทยบางกลุ่มบางพื้นที่ก็น่าจะปรากฏเป็นระยะๆ ต่อไป <!--end-สถานการณ์ด้านศาสนาปี 2545 และแนวโน้มปี 2546-->


    </DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...