ทรงความดี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 17 มกราคม 2008.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    <CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#ffa600 border=3><TBODY><TR><TD borderColor=black width="90%" background=../bgthai1.gif>
    <CENTER><TABLE borderColor=#0000ff cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>ทรงความดี</TD></TR><TR><TD align=left> ทรงความดี
    1) ถ้าเราจะเป็นคนดี เราทำอย่างไร
    อันดับแรก จิตจับ พรหมวิหาร 4 ไว้ก่อน คำว่า พรหมวิหาร 4 นี่ให้รักษาตามกำลัง ค่อย ๆ รักษาเรื่อย ๆ ไปจนมีกำลังเข้มข้นมาก เพราะว่า พรหมวิหาร 4 นี่เป็นศูนย์กลางของความดี คนที่มีพรหมวิหาร 4 อยู่นี่จะมีสมาธิดีเป็นปกติ
    ศีล บริสุทธิ์ต้อง พรหมวิหาร 4
    สมาธิ จะทรงตัวตั้งมั่นเพราะ พรหมวิหาร 4
    ปัญญา กับ วิปัสสนาญาณ จะเข้มข้น ตัดกิเลสได้ง่ายเพราะ พรหมวิหาร 4
    พรหมวิหาร 4 มีอะไร ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า เมื่อตื่นขึ้นตอนเช้า จิตใจคิดไว้เสมอ คิดว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วโลก เราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร จะไม่มีเวรมีภัยกับใคร นึกไปถึงคนต่าง ๆ ในโลก ว่าทุกคนก็ต้องการความสุข และทุกคนก็ต้องการความรัก เราจะรักเราจะสงสารคนทุกคนในโลก และสัตว์ทุกตัวในโลก
    ถ้าท่านผู้ใดมีทุกข์ ถ้าไม่เป็นเหตุเกินวิสัยเราที่จะช่วยได้ เราจะช่วยให้เขามีความสุข
    มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร เมื่อใครได้ดีจะพลอยยินดีด้วย จิตจะเป็นสุข
    ถ้าเกิดอะไรขึ้นมันเป็นเหตุสุดวิสัยที่เราจะสงเคราะห์ได้ หรือแก้ไขได้ เราจะวางเฉย จิตใจไม่ซ้ำเติม
    2) ถ้าเรายังปรารภคนอื่นว่าดีหรือชั่ว แสดงว่าเรายังเลวมาก ถ้าเราไม่เลว เราก็ไม่เห็นความเลวของคนอื่นหรอก ถ้าเราเห็นความเลวของบุคคลอื่นมากเพียงไร แสดงว่าเราเลว เลวมากเพียงนั้น
    ต้องไปดูพระพุทธเจ้า ท่านตำหนิใครบ้าง มีไหม เจอไหม ไม่มี เพราะคนทุกคนที่เกิดมาต้องการดีหมด ไม่มีใครต้องการความชั่ว แล้วทำไมถึงได้ทำความชั่ว เพราะ ไอ้กรรมที่ติดตามเรามา เราไม่สามารถจะต้านทานมันได้ เราเกิดมาเราต้องรับผล 2 อย่าง คือ กรรมที่เป็นกุศลอย่างหนึ่ง กรรมที่เป็นอกุศลอย่างหนึ่ง ขณะใดที่กรรมอกุศลครอบงำ จิตไม่มีทางจะทำความดีได้เลย ความเลวมันจะครอบงำจิต เห็นผิดเป็นชอบ ถ้าอกุศลมันถอยไป กุศลกรรมเดิมมันเข้ามาสนอง จะรู้เลยว่าที่ทำครั้งเก่ามาเลวมาก มันก็ไม่ทำ
    พระพุทธเจ้าทรงรู้ว่าดีหรือชั่ว เพราะกรรมบังคับใจ ท่านก็เลยไม่ตำหนิโทษ แต่ก็ทรงตำหนิเหมือนกัน ทรงตำหนิกิเลส ไอ้นี่มันระยำ ช่วยกันไล่มันไปเสียให้หมด นี่ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ต้องคำนึงตอนนี้
    3) ท่านทั้งหลายจงอย่าลืม อย่าเบื่อในความดีที่ท่านทำ เมื่อเราทำความดีเท่านี้แล้ว เราก็ทำดีให้มันยิ่ง ๆ ขึ้นไป เอามันให้มันเต็มดีให้ได้
    4) จงจำไว้ว่า จริยาที่เราจะต้องทรงใจ มีดังนี้
    - ในยามปกติ เราจะไม่สนใจในจริยาของบุคคลอื่น ใครเขาจะดี ใครเขาจะเลวมันเรื่องของเขา อย่าโอ้อวด อย่ายกตนข่มท่าน อย่าถือตัวเกินไป
    - ไม่มีกังวล
    - ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    - ระงับนิวรณ์ได้โดยฉับพลัน เมื่อเราต้องการความเป็นทิพย์ของจิต ขณะใดที่จิตต้องการสมาธิ ได้ความเป็นทิพย์นี่มาจากสมาธิ มีความตั้งใจ จิตสะอาด ถ้าต้องการจิตเป็นสุขหรือ ต้องการสมาธิ ต้องระงับนิวรณ์ได้ทันทีทันใด
    5. จิตทรงพรหมวิหาร 4 ตลอดเวลา คือ เป็นปกติตลอดวัน
    6. และขอแถมอีกนิดหนึ่งคือ ใจยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระสงฆ์ มีความรู้สึกว่า ชีวิตนี้มันต้องตาย ถ้าตายเมื่อไรขอไปนิพพานเมื่อนั้น
    ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททำได้อย่างนี้ ฌานสมาบัติจะทรงตัว คำว่าเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส กำลังใจไม่เสมอกัน สว่างบ้าง มืดบ้างจะไม่มี จะมีแต่คำว่าผ่องใสเรื่อยขึ้นไปตามลำดับ ขึ้นชื่อว่าการเกิดในอบายภูมิต่อไปไม่มีแน่ จะเป็นการเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานเหล่านี้ ไม่มีอีกต่อไป มีอย่างเดียวคือ มุ่งหน้าไปนิพพาน
    7) รักษากำลังใจให้มันมั่นคงจริง ๆ ให้จิตมันแน่วแน่จริง ๆ อย่าเอาจิตเข้าไปยุ่งกับอารมณ์ภายนอก ทำงานทุกอย่างเพื่อสาธารณะประโยชน์ เราทำเพื่อพระนิพพาน ที่เราทำนี่เพื่อไม่เกิด ไม่ใช่ทำเพื่อเกิด ไม่เกิดทำไม ก็ทำเพื่อเป็นการตัดอารมณ์ว่า ไอ้งานที่เราทำไปแล้ว เราลงทั้งทุน ลงทั้งแรง แต่ว่าทำไปแล้วเราก็รู้ว่ามันเป็น อนิจจัง ของไม่เที่ยงนะ อนัตตา ไม่ช้าก็สลาย มันไม่ตายก่อนเราก็ตายก่อน เราทำเพื่อจิตตัดโลภะ ความโลภ การทำงาน อารมณ์มันจุกจิก ฝึกอารมณ์ใจให้มันเย็น ตัดความโกรธ การไม่สนใจว่ามันเป็นของเรา เพราะว่าเรากับมันไม่ช้าต่างก็บรรลัย เป็นการตัดความหลง ไปนิพพานเลย
    8) เราตั้งใจไว้โดยเฉพาะ รักษาอารมณ์อุปสมานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ว่า เราต้องการพระนิพพานในชาตินี้ โดยสรุปตัวท้ายเสียทันที คือ ตัดอวิชชา ความโง่ มานั่งใคร่ครวญว่า มนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี เป็นดินแดนที่ไม่พ้นความทุกข์ ความทุกข์มันมีกับเราได้ทุกขณะจิต เราเป็นมนุษย์เต็มไปด้วยความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย ความปวด ความเมื่อย ป่วยไข้ มีความไม่สบาย มีความตายไปในที่สุด มีการกระทบ กระทั่งกับอารมณ์ของชาวโลก เรื่องโลกมนุษย์ไม่ดี เทวโลก กับพรหมโลกก็พักความดีอยู่ชั่วคราว ไม่มีความหมาย ใจเราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าจิตถึงตอนนี้ละบรรดาท่านพุทธบริษัท จิตจะเบามาก เหมือนกับมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้อะไรเลย จิตมันสบายๆ กำลังฌานที่เราเคยมั่นคง กดอารมณ์นิ่ง มีความหนัก มันจะสลายตัวไป แต่ว่าจิตใจของเรามีความสุข จะกระทบกระทั่งอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที ไม่มีความรู้สึกว่ามันจะมีความลำบาก ไม่มีอะไรที่จะมีความหนัก ไม่มีอะไรที่จะทำจิตใจของเราให้เร่าร้อน ได้ยินเสียงคนด่าก็สบายใจ คิดว่าเขาไม่น่าจะทำความชั่ว เป็นปัจจัยของความทุกข์ เห็นใครเขาสรรเสริญเรา ก็ไม่มีความสุขใด ๆ ไม่สั่นคลอน รู้สึกว่าความสรรเสริญไม่มีความหมาย เราดีขึ้นมาได้ไม่ใช่อาศัยการสรรเสริญ หรือว่าถ้าเราไม่ดีก็ไม่ใช่อาศัยการแช่งด่าของบุคคลใด ความดีจะมีขึ้นมาได้หรือความไม่ดีจะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยเราปฏิบัติเท่านั้น ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททรงได้อย่างนี้เรียกว่า อรหัตตผล
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...