ทำความรู้จักกับโรคไบโพล่า (BIPOLAR DISORDER) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 2 เมษายน 2016.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    โรค (Bipolar disorder) หรือ 
    เป็นโรคที่มีผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย (ช่วงรื่นเริง) และภาวะ ซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder
    ความเจ็บทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวนการทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป
    ผู้โรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า ที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบ มีดังนี้

     

    ภาวะซึมเศร้า

    1 ขาดความร่าเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า

    2 เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา

    3 อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุผล

    4 ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรงในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา

    5 หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ

    6 มองโลกในแง่ร้ายไปหมด

    7 ขาดสมาธิ ความจำลดลง

    8 หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้

    9 ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม

    10 มีปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ

    11 มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม

    12 มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ

    ภาวะแมเนีย (รื่นเริงผิดปกติ)

    1 มีพลังมากขึ้น ครึกครื้นผิดปกติ

    2 มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ

    3 มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ

    4 ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่นมากขึ้น เอาแต่ใจ

    5 มีหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง

    6 ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย

    7 ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็วและมีเนื้อหามาก เสียงดัง

    8 ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ

    9 ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว

    10 มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น

    ภาวะซึมเศร้าในโรค
    ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major depressive disorder หรือ Unipolar depression) แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว

    ภาวะซึมเศร้าในโรค (Bipolar depression)
    มักมีลักษณะต่อไปนี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ

    มักเกิดมีมีหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับ

    การรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยา ควบคู่กับการดูแลด้านจิตใจ การปรับพฤติกรรม ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และวิธีการรักษาให้กับผู้และญาติได้เข้าใจ ยังไม่มียารักษาซึมเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาจากภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยารักษาซึมเศร้า ควรลดขนาดยาลงเมื่อผู้หายจากแล้วและหยุดในที่สุด ควรระมัดระวังการเหวี่ยงกลับไปเป็นแมเนีย (รื่นเริงผิดปกติ) อย่างรวดเร็ว หรือเกิดrapid cycling
     

    ข้อมูลจาก โรงพยาบาลมนารมย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
  3. lista

    lista เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +683
    ของผม คงเป็น ซึมเศร้าแง่ๆ ท่าทางธรรม หนักไปทาง วิตกจริต ต้องแก้ไขฝึก หายใจ หรือ อานาปา
     
  4. plajung1988

    plajung1988 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ดิฉันเพิ่งเป็นภาวะ Mania เมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา กว่าจะหายก็ได้มีพี่สาวแนะนำให้นั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรคะ
     
  5. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
  6. พงษ์สนั่น

    พงษ์สนั่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +336
    ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดมากนักอ่านแต่หัวข้อ 555 หากมีอารมณ์ 2 ขั้ว
    โดยปรกติ คนเราก็มีธรรมคู่ อยู่แล้ว รัก/ชัง สุข/ทุกข์ ดึงดูด/ผลักไส
    หากเป็นขั้วที่ดึงดูดกัน ก็จะ
    มีรักก็เลยมีสุข เป็นการดึงดูดระหว่างรักกับสุข
    มีรักก็เลยมีทุกข์ เป็นการดึงดูดรักกับทุกข์
    มีชังก็เลยมีสุข เป็นการผลักไสทุกข์
    มีชังก็เลยมีทุกข์ เป็นการผลักไสสุข

    อารมณ์รักคือการดึงดูด ส่วน อารมณ์ชังคืออารมณ์ผลักไส

    หากเป็นขั้วที่ผลักออกจากกันจนมากระทั่งเกิดอารมณ์ 2 ขั่วได้ คือเขาย่อมเคยมีเรื่องที่กระทบกระเทือนใจมาก่อน
    จนเขาไม่สามารถยอมรับได้ เช่น
    1 เคยผิดหวังจากความรักอย่างรุนแรง
    2 มีครอบครัวที่ประสบปัญหาทะเลาะกันอย่างรุนแรง
    3 เคยผิดหวังกับเรื่องการงานที่ล้มเหลวมา จนยากจะยอมรับ
    4 เคยติดยาเสพติดมาก่อน
    5 เคยดื่มสุรา อยู่เป็นประจำจนติดเป็นนิสัย

    ผมเคยรู้จักกับผู้หญิงคนหนึ่ง ตอนนั้นผมเปิดร้านอาหาร เธอคนนี้เคยติดยาเสพติดมาก่อนและเคยถูกสามีทำร้ายร่างกาย
    เวลาเธอคนนี้ไปช้วย ร่าง จาน ชาม หรือ หม้อจิ้มจุ่ม บางครั้งเธอจะล้างไปบ่นไป จนของที่เธอล้างนั้นพังไปก็หลายชิ้น 55
    เพราะอารมณ์ที่แปรปรวนของเธอ เวลาเธอจะร่าเริง ก็ดูคึกคัก นิสัยของเธอคือต้องหาเรื่องพูดกับคนในร้านอยู่ตลอดเวลา
    จนคนในร้านมาบ่นกับผมว่า โหขนาดไปเข้าห้องน้ำ เธอยังถามเลย จะไปไหน ทำอะไรอยู่ คือเราจำเป็นต้องบอกอะไรกันขนาดนั้นเลยหรอ
    และเวลาเธอตกอารมณ์ไปอีกฝากหนึ่ง เธอก็จะโมโหเกรี้ยวกราดมาจากไหนก็ไม่รู้ เอาอีโต้มาสับเขียงเสียงดัง เอาตลิวมาตีกับกระทะ
    และบางครั้งเธอก็ทำร้ายตัวเองก็มี ในอารมณ์ที่เศร้าสร้อย เหงาหงอย
    ผมมองว่าคนที่ตกอยู่ในสภาวะนี้ คือการต้องการคนพูดคุยด้วย ต้องการความรักจากคนรอบข้าง

    อีกเรื่องหนึ่งคือรู้จักกับชายคนหนึ่ง คือกินเหล้าบ่อยจนติดเป็นนิสัย เขาเป็นคนรักเพื่อนรักพี่รักน้อง แต่ด้วยสุราที่กินไปบ่อย
    จึงส่งผลต่ออารมณ์ของเขา ทำให้มีรักแรงและชังแรง ใครไปทำอะไรไม่ดีกับคนที่เขารัก เป็นอันว่าควักปืนใส่หน้า
    ซึ่งมันเป็นการแก้ปัญหา ที่จะทำให้เรื่องบานปลายยิ่งขึ้น ลึกๆในใจของเขาเป็นคนขี้เหงา จึงชอบการสังสรรค์และดื่มสุรา

    สรุป อารมณ์ 2 ขั้ว คือผมไม่ได้มองว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงอะไร ที่จะทำให้คบหาไม่ได้
    หากจะแก้เราต้องให้ความรักและความจริงใจต่อเขา และก็ต้องแนะนำเขา ให้เขารู้จักการรักตัวเองไม่ทำร้ายตัวเอง
    และไม่มองโลกในแง่ร้ายจนเกินไป รู้จักการประนีประนอม ทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น เมื่อมีอารมณ์รักอารมณ์จะสามารถรวมได้ง่าย
    แต่หากมีอารมณ์ ไม่พอใจหรือผลักไสอะไร อารมณ์มันจะรวมได้ยาก หากทนต่ออารมณ์ที่มากระทบไม่ได้ในหลายๆเรื่อง
    ก็อาจจะส่งผลถึงความ หงุดหงิดแล้วฟุ้ง ไปกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ครับ
    หมอจะว่าอย่างไรผมก็ไม่รู้นะ เพราะผมไม่เคยไปปรึกษาหมอทางด้านนี้ แต่ผมใช้การสังเกตในชีวิตจริงของผม
     
  7. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    6 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจเป็นโรคไบโพลาร์ (อารมณ์สองขั้ว)

    หลายๆคนอาจคิดว่า “ไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้วคือผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน แต่อันที่จริงโรคอารมณ์สองขั้วคืออาการป่วยทางจิตที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ชาวอเมริกันปีละราว 5.7 ล้านคน ที่สำคัญผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมักจะเพิกเฉยต่อสัญญาณและไม่ยอมเข้ารับการรักษาอันเนื่องมาจากความกลัวการเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยหารู้ไม่ว่าโรคนี้จะทำให้พวกเขาใช้ชีวิตลำบากอย่างไม่น่าเชื่อ

    โรคอารมณ์สองขั้วคือความผิดปกติของสมองซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ พลังงาน การทำกิจกรรม และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปเราจะเรียกว่า “ภาวะอารมณ์” ซึ่งเป็นภาวะที่การกระทำ ความคิด และอารมณ์ (เช่นเดียวกับรูปแบบการนอนและการใช้พลังงาน) ของผู้ป่วยจะแตกต่างกว่าคนปกติ ภาวะอารมณ์มี 2 ประเภทหลักๆคือ 1. ภาวะคลุ้มคลั่งซึ่งเป็นช่วงที่ใช้พลังงานมากเกินไป เช่น กระวนกระวาย ไม่ยอมนอน ใจร้อน และประเภทที่ 2 คือภาวะซึมเศร้าซึ่งเป็นช่วงที่มีความเศร้ารุนแรง เลิกสนใจงานอดิเรกเดิมๆ อ่อนเพลีย เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับประทานอาหารและการนอน หรือแม้แต่คิดอยากฆ่าตัวตาย

    แต่ใช่ว่าผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วทุกคนจะต้องคลุ้มคลั่งหรือเศร้าสลด บางคนอาจมีอาการรุนแรงน้อยหรือที่เรียกว่า “อาการคลุ้มคลั่งระดับต่ำ” ขณะที่บางคนอาจมี “อาการผสม” ซึ่งรวมองค์ประกอบทั้งสองอาการที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งกับภาวะซึมเศร้าเข้าด้วยกัน แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงและมีอาการประสาทหลอนอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากคุณมี 6 อาการด้านล่างนี้ก็อาจบ่งบอกว่าคุณเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์ของคุณก่อนที่จะสายเกินไป

    1. คุณมักจะรู้สึกว่ามีพลังงานล้นเหลือ มั่นใจ และกลัวอย่างไม่มีเหตุผล

    ผู้ที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งหรือภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำ เช่น รู้สึกมั่นใจผิดปกติหรือรู้สึกว่าความจำเป็นในการนอนหลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาจจะรู้สึกดีมากกว่าที่จะคิดว่าตัวเองมีอาการบกพร่องทางจิต หลายคนที่เข้ารับการรักษาโรคอารมณ์สองขั้วอธิบายว่าพวกเขามีความสุขในภาวะคลุ้มคลั่งและไม่รู้สึกว่านี่คือปัญหา ดังนั้นหากคุณสังเกตว่าตัวเอง “อารมณ์ดี” สุดๆพร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหรือความอยากอาหารติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือนานกว่านั้น คุณควรปรึกษามืออาชีพด้านสุขภาพจิต

    2. เข้าสู่ระยะการแสดงออกและใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาล

    แม้ว่าการมีพลังงานล้นเหลือบวกกับความมั่นใจ แต่ผู้ที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งอาจใจร้อน ขี้กลัว หงุดหงิดง่าย และมีแนวโน้มว่าจะเกิดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การขับรถเร็วหรือไม่ปลอดภัย กิจกรรมทางเพศ หรือแม้แต่ใช้จ่ายเงินที่คุณไม่มี บางคนที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งอาจมีพลังงานเพิ่มขึ้น ไม่ยอมนอน รวมถึงรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย กลัว และควบคุมตัวเองไม่ได้

    3. อารมณ์เปลี่ยนหลังจากที่อดนอน

    การนอนหลับไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วจะไปกระตุ้นภาวะอารมณ์ทำให้อารมณ์แปรปรวน ดังนั้นหากมีผลกระทบที่รุนแรงและทำให้อารมณ์ส่วนใหญ่เปลี่ยนไป คุณควรรีบปรึกษาแพทย์

    4. มีพลังงานและซึมเศร้าในเวลาเดียวกัน

    ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วในภาวะซึมเศร้าอาจจะดูไม่แตกต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งมีแนวโน้มที่จะรู้สึกอ่อนเพลีย อารมณ์ลดต่ำลง และพฤติกรรมการนอนและความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วจะมีอาการที่เรียกว่า “อาการผสม” ซึ่งเป็นภาวะที่อาจทำให้รู้สึกกระวนกระวาย มีปัญหาในการนอนหลับและการรับประทานอาหาร รวมถึงมีความคิดฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่มีอาการผสมอาจรู้สึกเศร้าหรือหมดหวัง และในขณะเดียวกันก็รู้สึกมีพลังสุดๆ ดังนั้นหากคุณมีอาการคล้ายๆกันนี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์

    5. ดีก็ดีสุดๆ แย่ก็แย่สุดๆ

    ภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำคือสภาพอารมณ์หรือระดับพลังงานที่สูงกว่าปกติแต่ยังไม่มากถึงขั้นที่จะทำให้เกิดความบกพร่องซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากความคลุ้มคลั่ง ผู้ที่มีภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำอาจไม่คิดว่านี่คือปัญหาหรืออาจจะมองว่าเป็นพัฒนาการเชิงบวก อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำสามารถเลื่อนขึ้นสู่ภาวะคลุ้มคลั่งหรือกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

    6. มักจะทิ้งทุกอย่างไปดื้อๆ

    ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมีแนวโน้มที่จะพับแผนงานก่อนที่ทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ด้วยเหตุผลต่างๆมากมายตั้งแต่ปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวไปจนถึงปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เนื่องจากปกติพวกเขาจะใช้พลังงานที่เกิดขึ้นในระหว่างภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำเพื่อเริ่มแผนงาน แต่พวกเขาก็ไม่สามารถรับมือได้หลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

    บทสรุป

    การค้นหาว่าตัวเองเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องรับมือกับอาการต่างๆมานานเกือบทศวรรษก่อนที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข่าวดีคือโรคอารมณ์สองขั้วมักจะตอบสนองกับการรักษาแบบมืออาชีพได้ดี เช่น การใช้ยา การบำบัด และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แม้ว่าการเข้ารับการรักษาอาจจะดูน่ากลัวแต่ก็น่ากลัวน้อยกว่าการเผชิญกับโรคนี้ด้วยตัวเอง

    Blogger : Gabrielle Moss
    Source : bustle.com
     
  8. สงกรานท์

    สงกรานท์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    คุณนวลปราง ติดต่อกลับ คุณกรานท์ ด่วน !!!!
     

แชร์หน้านี้

Loading...