ทำความเข้าใจความหมายของ จิต และ เจตสิก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 29 สิงหาคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    ท่านเองรู้จักแผนที่หรือยังล่ะจ้ะ
     
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ท่านเชื่อ พระพุทธโฆษาจารณ์จริงหรือ?
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อันนี้ต้องซูฮก 5555 รู้ได้ไงเนี่ย ไม่ธรรมดานะนี่ 5555 ชอบใจจริงๆ กับคำสีแดงนั่นเพราะมันเป็นมาตั้งแต่บรรพกาลเลยมีอะไรคล้ายๆกันในบางอย่างแต่ส่วนสำคัญมันไม่อาจทำได้5555 ชอบใจมาก
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    และของบางอย่างนั้นหากรู้ง่ายรู้เร็วโดยไม่ได้ผ่านการปฏิบัติโดยอาศัยความเพียร มุมานะอุตสาหะแล้ว ต่อไปไม่นานมันก็เสื่อมค่าหรือว่าไร้ค่า พวกเดีรยถีร์ไม่รูว่า สัจธรรมนี้ยังค้ำจุนโลกอยู่เลยคิดว่า การเอาความในทั้งหลายมาทำเหมือนรู้และประกาศว่านั่นเป็นตามนั้นเป็นตามนี้ไม่เห็นยากเลย ตำราว่าไว้นั่น แบบนั้นไง คนที่เขาไม่มีหรือมีสติปัญญาน้อยก็พลอยหลงเชื่อและเข้าใจว่า โอเราได้เข้าถึงพระศาสนาด้วยการใช้สุตตมยปัญญาเท่านั้น คนที่เขามีสติปัญญาดีเขาก็จะกล่าวบริภาษว่า มันหักล้างคำครูซึ่งเป็นบรมครูนี่ พระศาสดาสอนว่า ปัญญาสูงสุดคือ ภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ สุตตมยปัญญา กับ จินตมยปัญญา นี่นา แล้วมันมามัวทำอะไรกัน มันพูดกันมันว่ากันไปแบบหักล้างผู้สั่งสอนมันเองแล้วจะไม่ให้เรียกว่า มันเอาพระอภิธรรมมาบังหน้า เพียงวัตถุประสงค์บางประการเท่านั้นได้ยังไง แค่คำสามคำมันก็ยังคิดล้างลงได้ ไหนลองทำให้มันเป็นจริงสักทีสิว่าทำไม เมื่อการปรากฏนั้นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไรถ้าสิ่งนั้นคือจิตและเจตสิก ใน สุตตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา มันแตกต่างกันอย่างไร หากใคร่รู้นักก็จงเฉลยให้กับตนเองเถิด อย่าได้กล่าวให้ใครต่อใครได้รู้ได้เห็นเลย
     
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    ไม่ยกหลอก หากจะยก ก็มีแต่ ท้าให้ลงมือปฏิบัติเท่านั้น

    แต่ สมมติ คุณอยากรู้ว่า มันจะเป็นไปได้ไหม ที่ว่า มีที่ผิด ก็ไม่ยาก

    มันก็เหมือน คนที่ขาดการปฏิบัติคนหนึ่ง เมื่อคืน ที่เดินอาจๆๆๆ กอดอกมาด
    มั่น หน้างี้เขียว เขี้ยวโง้ง ไปที่ ธรรมกายเจดีย์ทรงจานบิน แล้วไปประกาศ
    ต่อหน้าพวกเขาว่า

    เห้ย อาโลกสิณตามวิสุทธิมรรคต้อง บรา บรา บรา พวกเอ็งฝึกผิดไม่ตรงตำรา!!!

    เสร็จแล้วก็ภูมิอกภูมิใจมาก ว่า กู่นี่แน่ กูนี่หนึ่ง กูถือตำราถูก

    แต่อีกสักพักเดียว งี๊ด เลยนะ พอจะเอาข้อความมาตัดแปะยืนยัน กลับ
    พบว่า อาโลกากสิณ ในตำราเขียนไว้อีกอย่างหนึ่งเลย งี๊ด!!!

    แล้วมันก็สับปลับทันทีเลยนะ ทำเป็น ขอโทษ แล้วพูดใหม่

    คุณ I2D2 เคยเห็น คนๆนั้นหรือเปล่าหละ หน้าตามันขมึงทึง เมาสุดๆ เลยนะ
    ตอนที่ประกาศ อาโลกาคอนด้า บรา บรา แบบจำผิดเต็มประตูหนะ

    เนี่ยะ ถ้า คนๆนั้น มันเคยลงมือปฏิบัติเพียงแค่หางอึ่งนะ คนๆนั้น ก็พูดไม่ผิด
    แล้ว มันจะพอจำได้บ้าง แต่ไม่เคยลงมือเลยนะ ใช้ความจำ เอามาพูด
    หน้าม่าน อวด อย่างเดียว โย่งเชิญยิ้มก็พร้อมพาไปเดี่ยวไมโครโฟน7 หละ

    * * *

    ก็จะเห็นว่า พวกที่เดินอาจๆ ไม่ปฏิบัติ อวดว่า ถือตำราถูก พอให้พวกนี้
    มาคัดลอก หรือ แสดงตำรานะ มันก็ ผิดเพี้ยน ทันที และ ได้เสมอ

    ความว่าผิดได้เสมอ มันก็ปลอบใจว่า คนเราพลาดกันได้ ขอโทษขอโพย แล้ว
    จบไม่ต้อง แบบหน้าสองนิ้วสามนิ้วไปไหนอีก

    แล้ว ถ้าคนๆอย่างคนนั้น ซึ่ง ก็คือ คุณ I2D2 นี่แหละ ไปเขียนตำราขึ้นมา
    อีกเล่ม ก็รับรองได้เลยว่า ที่ผิดมีบานตะไท

    เรียกว่า ถ้าไม่อยากผิด ตอนตายให้อาตำรา เผาแบบกงเต๊กไปด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือที่เรียกว่าขันธ์๕ ผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีจิตครอง

    นั่นไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเราเพราะอะไร?

    ถ้าเราที่เป็นขันธ์๕ ยังมีผู้หญิง ผู้ชายฯลฯ

    ผู้ที่ยังเกาะเกี่ยว กับเราที่ยังเป็นขันธ์๕อยู่ มารย่อมกล่าวกับผู้นั้นได้

    เมื่อนั่น(ขันธ์๕)ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเราแล้ว มารจะไปกล่าวกับใคร

    เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายและคลายกำหนัด

    ถึงจะยึดหรือไม่ยึดนั้น เป็นเรื่องของการยึดหรือไม่ยึดในสิ่งที่ถูกบัญญัติขึ้นมา

    ส่วนคำว่า"เรา" ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาไว้ใช้นั้น ต้องมีอยู่จริงจึงจะบัญญัติขึ้นมาได้ใช่หรือไม่?

    แต่จะยึดหรือไม่ยึดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่คำว่า"เรา"ก็ยังมีอยู่จริง(ผู้ที่ไม่ยึด)

    ท่านพระอาจารย์หลวงพ่อฤาษีเคยกล่าวไว้ว่า(จากความจำ)

    "เรานั้นคือจิต หรืออทิสสมานกายนั่นเอง"
     
  7. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711


    คิริมานนทสูตร (อุบายรักษาโรค) : พิจารณารูป-นาม
    เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน
    อนาถ ปิณฺฑิกสฺส อาราเม ตตฺร โข อายสฺมา คิริมานนฺโท อาพาธิโก โหติติ​


    วาระนี้จักแสดงพระสูตรอันหนึ่ง อันโบราณจารย์เจ้าหากกำหนดไว้ว่า
    คิริมานนทสูตร​


    อ้างเนื้อความว่า ครั้งปฐมสังคายนา พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย ๕๐๐ พระองค์
    หย่อนโอกาสไว้ให้พระอานนท์องค์หนึ่ง ได้สมถวิปัสสนาอยู่ ยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    ครั้งพระอานนท์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็เข้าจตุตถฌานเอาปฐวีกสินเป็นอารมณ์ ไปปรากฏบนอาสนะท่ามกลางสงฆ์
    ให้พระสงฆ์สิ้นความสงสัยในอรหัตคุณ ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ปฏิญาณในอเสขภูมิด้วยประการดังนี้ ​


    พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย ปฏิญานตนในกัสสปะเป็นประธาน
    จึงได้อารธนาเชื้อเชิญให้พระอานนท์ขึ้นนั่งเหนือธรรมาสน์ แสดงพระสุตันตปิฎก
    ยกคิริมานนทสูตรนี้ขึ้นเป็นที่ตั้งลำดับไว้อย่างนี้ฯ ​


    พระมหากัสสปะเถรเจ้าจึงถามพระอานนท์ว่า
    อานนฺท ดูกรอานนท์ พระสูตรอันชื่อว่าคิริมานนทสูตรนั้น
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุคคลผู้ใด และตรัสเทศนามีวิตถารพิสดาร อย่างไร
    ขอให้พระอานนท์เถรเจ้าจงแสดงต่อไปในกาลบัดนี้ฯ​


    อถโข อายสฺมา อานนฺโท
    ลำดับนั้น พระอานนท์เถรเจ้าผู้นั่งอยู่บนธรรมาสน์ ได้โอกาสแต่พระสงฆ์
    แล้วจึงวิสัชนาพระสูตรนี้ มีปฏิญาณในเบื้องต้นว่า ​


    เอวมฺเม สุตํ
    ดังนั้น ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าอานนท์
    หากได้สดับมาแต่พระผอบแก้ว กล่าวคือพระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า
    ดำเนินความว่า
    เอกํ สมยํ สมัยกาลคาบหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร
    อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี สร้างถวายใกล้กรุงสาวัตถี ​


    ในกาลนั้น พระผู้เป็นเจ้าชื่อว่า คิริมานนท์เถระผู้มีอายุ อาพาธิโก เกิดอาพาธหนักเหลือกำลังที่จะอดกลั้น
    พระผู้เป็นเจ้าจึงให้เชิญข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ เข้าไปยังสำนักแห่งตน
    แล้วจึงกล่าวว่า
    อานนฺท ดูกรอานนท์ ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าคิริมานนท์นี้ บังเกิดอาพาธหนักเหลือกำลังที่จะพึงอดกลั้น
    ไม่สามารถจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ขอนิมนต์ท่านอานนท์
    นำเอาอาการอาพาธอันร้ายแรงแห่งข้าพเจ้า ไปกราบทูลให้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
    เพื่อทรงพระมหากรุณาสงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาเจ็บปวด
    ซึ่งเบียดเบียนอยู่ในร่างกายแห่งข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าคิริมานนท์นี้ ระงับอันตรธานหายเถิด
    ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ รับเถรวาทีแล้ว ก็ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    กราบทูลอาการแห่งอาพาธและทุกขเวทนา ตามคำสั่งของพระคิริมานนท์ให้ทรงทราบทุกประการฯ​



    อถโข ในกาลนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบอาการแห่งพระผู้เป็นเจ้าคิริมานนท์
    จึงตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ว่า
    อานนฺท ดูกรอานนท์ ท่านจงกลับไปสู่สำนักของท่านคิริมานนท์โดยเร็ว
    แล้วพระองค์ทรงตรัสต่อไปว่า
    วิสุทฺธจิตฺเต อานนฺท เทวฺตา สุตฺวโส อาพาโธค้านโส ปฏิปสฺสมฺเภยฺย ดังนี้ ​


    ดูกรอานนท์ เมื่อท่านไปถึงสำนักพระคิริมานนท์แล้ว
    ท่านจงบอกสัญญา ๒ ประการคือ
    รูป สัญญา ๑
    นามสัญญา ๑
    คือว่า รูปร่างกายตัวตนทั้งสิ้นก็ดี
    คือนาม ได้แก่ จิต เจตสิก ทั้งหลายก็ดี ​


    ก็ให้ปลงธุระเสีย
    อย่าถือว่า รูปร่างกาย และ จิต เจตสิก เป็นตัวตน
    และอย่าเข้าใจว่าเป็นของๆ ตน
    ทุกสิ่งทุกอย่าง ความจริงหากเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้นฯ​


    ดูกรอานนท์ ถ้าหากว่ารูปร่างกายเป็นตัวเราแท้
    เมื่อแก่เฒ่า ชรา ตามัว หูหนวก เนื้อหนังเหี่่ยวแห้ง ฟันโยกคลอนเจ็บปวดเหล่านั้น
    เราก็จักบังคับมันได้ตามประสงค์ ว่าอย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ ​


    นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์ เขาจะเจ็บ จะไข้ จะแก่ จะตาย
    เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา เราหมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้
    เมื่อตาย เราจะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้ ​


    ถ้าเป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพาเอาไปได้ตามความปรารถนาฯ​


    ดูกรอานนท์
    ถึง จิต เจตสิก ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆ ตน
    หากว่า จิต เจตสิก เป็นเรา หรือเป็นของๆ เรา
    ก็จักบังคับได้ตามประสงค์ ว่าจิตของเราจงเป็นอย่างนี้ จงสุขสำราญอยู่ทุกเมื่อ อย่าทุกข์อย่าร้อนเลย
    ดังนี้ ก็จักพึงได้ตามความปรารถนา นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่
    เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไปก็ตามเรื่องของเขา
    เพราะเหตุ ร่างกาย จิตใจ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆ ตน ให้ปลงธุระเสีย
    อย่าเข้าใจถือเอาว่าเป็นตัวตนและของๆ ตนเถิดฯ​


    ดูกรอานนท์ ท่านจงไปบอกซึ่งสัญญาทั้ง ๒ ประการ คือ
    รูปและนามนี้โดยเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน
    และไม่ใช่ของๆ ตน ให้พระคิริมานนท์แจ้งทุกประการ
    เมื่อพระคิริมานนท์แจ้งแล้ว อาพาธความเจ็บปวดและทุกขเวทนา
    ก็จักหายจากสรีระร่างกายแห่งพระคิริมานนท์ สิ้นเสร็จหาเศษบ่มิได้ จักหายโดยรวดเร็วด้วยฯ​


    ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะผู้เป็นประธานในสงฆ์
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ ผู้ชื่อว่าอานนท์ ด้วยประการฉะนี้แลฯ​


    ....................

    อีกหนึ่งพระสูตรที่นำมาเสนอ
    พี่ภูติ อ่านแล้ว เข้าใจว่าอย่างไรครับ
     
  8. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ นับเป็นบูรพาจารย์ที่ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอันประเสริฐ การรจนาคำภีร์ท่านทำซ้ำ ก็เหมือนเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพราะอบรมมาดี มีปัญญาดีด้วย ถึงทำได้ขนาดนี้ครับ
     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=155>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=263><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=263 border=0><TBODY><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top width=88></TD><TD width=470></TD></TR><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top width=88></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top width=88></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top width=88></TD><TD></TD></TR><!-- <tr> <td width="5"></td> <td width="88" valign="top">เมืองที่เกิด : </td><td>Thailand</td> </tr> --><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top width=88></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,816
    ค่าพลัง:
    +15,099
    สาธุ กับทุกท่าน ที่มี "สัญญา"ดีๆ ทุกคนครับ และ หวังว่า คงหยั่งลงสู่จิต กลายเป็น "ปัญญา"กันทุกท่าน แต่"ปัญหา"มันมีที่สุดอยู่ที่ใด ครับ? .ใครพออธิบายได้...(หวังว่าผมคงไม่รบกวน ทุกท่านจนเกินไป)
     
  11. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    ปัญญา จะถึงที่สุด เมื่อมีการวาง วาง ว่าง แบบพุทธ
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    สำหรับคำว่าเรานี่ ตีความให้ดีครับพี่

    1. เราที่เป็นสรรพนามแทนตัวผู้พูด ผุ้กล่าว ผู้อบรม ไว้ใช้แทนตัวเอง เพื่อให้สื่อสารกันได้

    2. เราที่เป็นการยึดมั่นถือมั่น ถือจะบังคับบัญชา ถือเป็นเจ้าของ เป็นตัวเป็นตน ถือเป็นสิ่งร้อยรัด มิให้หลุดพ้น
     
  13. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ไม่มีอะไรมากไปกว่า

    สมน้ำสมเนื้อ สมผลด้วยเหตุ..!
     
  14. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ผมก็เข้าใจแบบ ท่านโมตีบครับ

    เพียงถาม ท่าน สองสอง
    ว่าท่าน สองสอง เชื่อพระพุทธโฆษาจารย์จริงหรือ
     
  15. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    ผมเข้าใจว่า ปัญหา มันมีที่สุดอยู่ที่จิต

    ตราบใด ไม่ศึกษา ลงมาที่จิต ผมว่า ก็แก้ปัญหา ที่สุดไม่ได้ครับ


    การสนทนาธรรมตามกาล ย่อมมีประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
    สนทนาด้วยความจริงใจ จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาทั้งสองฝ่าย
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ดีแล้วจินนี่ ที่พยายามชี้ให้เห็น ขัอ๒นั้นมีนัยยะที่ชี้ให้เห็นชัดๆนะ

    คำว่า"เรา" เป็นบัญญัติขึ้นมาใช้สื่อสารกันให้เข้าใจว่า นั่นเรา นั่นเขา นั่นไม่ใช่เรา

    ที่นี่บัญญัติซ้อนบัญญัติ เรียกว่าสมมุติใช่หรือไม่? เราที่ชื่อธรรมภูติ เราชื่อจินนี่

    ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ต้องมีอยู่จริง จึงบัญญัติหรือสมมุติขึ้นมาได้ใช่หรือไม่?

    เมื่อเราจินนี่ ยังไม่หลุดพ้น เพราะเราที่ชื่อจินนี่ไปยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์๕ว่า

    ขันธ์๕นั่นใช่เราที่ชื่อจินนี่ ขันธ์๕นั่นเป็นเราที่ชื่อจินนี่ ขันธ์๕นั่นใช่ตัวตนที่ชื่อจินนี่

    พอเราที่ชื่อจินนี่ปฏิบัติแบบแลกเป็นแลกตาย ก็เกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงว่า

    ขันธ์๕นั่นไม่ใช่เราที่ชื่อจินนี่ ขันธ์๕นั่นไม่เป็นเราที่ชื่อจินนี่ ขันธ์๕นั่นไม่ใช่ตัวตนที่ชื่อจินนี่

    เมื่อเราที่ชื่อจินนี่เบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เราที่ชื่อจินนี่ก็หลุดพ้น หลุดพ้นจากอะไร?


    หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในเรื่องราวใดๆในโลก(หมู่สัตว์) เพราะสิ้นอาสวะ

    เราที่ชื่อจินนี่ก็ยังอยู่เป็นสุข เพราะหลุดพ้นดีแล้ว ไม่ถือเอาอะไรทั้งสิ้นมาเป็นของๆตน

    ของๆตนหนะของๆใคร ใช่ของๆเราที่ชื่อจินนี่มั้ย? ถ้าไม่ใช่เป็นของใคร?

    เมื่อมีเราผู้ยึดมั่น ก็ต้องมีเราผู้ปล่อยวางเช่นกัน เมื่อเราปลอยวางได้ก็ไม่ยึดมั่นอีกแล้ว เราก็คือผู้หลุดพ้นนั้น

    ไม่ใช่พอเราที่ชื่อจินนี่ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นใดๆได้แล้ว เราที่ชื่อจินนี่ต้องหายไปด้วยหรือ

    เรียกว่าเราที่ชื่อจินนี่ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แล้วแบบนี้ใครหละที่ลงมือปฏิบัติแลกเป็นแลกตายจนหลุดพ้นได้?

    อย่าให้ศาสนาพุทธกลายเป็นเรื่องโกหกพกลมไปเลย เพราะมีแต่การหลุดพ้น เท่านั้น แต่ผู้หลุดพ้นหามีอยู่จริงไม่?

    เพื่อสังคมคุณภาพออนไลน์ ก็ช่วยๆกันรักษาคุณภาพนั้นไว้

    คุณภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็เพราะสมาชิกช่วยกันตอบแบบมีสาระสำคัญ

    ที่ถามตอบกันพอให้เข้าใจด้วยดี โดยมีเหตุผลรองรับ หรือมีที่อ้างอิงที่เชื่อถือได้

    เมื่อรับเหตุผลไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องหยาบคายอะไรทั้งสิ้น ก็คิดเสียว่าชี้แจงเท่าที่จะชี้แจงได้

    ส่วนความเชื่อนั้น ปล่อยให้สิทธิส่วนบุคคลของผู้อ่านเอาเองนะ
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    เคยอ่านพระสูตรที่มาจากหนังสือสวดมนต์แปล

    ของท่านพระศาสนโศภณ ท่านรจนาไว้ ก็ไม่เห็นมีคำว่าเจตสิกตรงไหนเลย

    ในตอนต้นของบทความที่ยกมา เห็นมีพระบาลีกำกับด้วย

    แต่พอเรื่องจิต เจตสิก ไม่มีพระบาลีกำกับ ก็ให้แปลกใจเช่นกัน

    ในคิรามานนทสูตรนั้น พอสรุปได้ว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงสัญญา๑๐

    แล้วมีบัญชาให้ท่านพระอานนท์ ไปถ่ายทอดต่อให้ท่านพระคิรินันทผู้อาพาธ

    เป็นชี้ให้เห็นถึงสัญญาในอันที่จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นลงไปเท่านั้น


    อ่านที่นี่
     
  18. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ในพระสุตตันตปิฎก
    พระพุทธองค์ทรงแสดงเจตสิกแต่ละดวงในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามลักษณะหน้าที่
    เหตุเกิด ความดับ คุณและโทษ เป็นต้น ของเจตสิกดวงนั้นและยังแสดงแตกต่างกัน
    ตามผู้ฟัง กาลเทศะ การแสดงเจตสิกในพระสูตรจึงไม่เป็นระบบ
    ทรงนำมาใช้ตามความเหมาะสมของผู้ฟังทั้งนี้สุดแต่จะทรงเห็นว่าบุคคลใดควรเข้าใจเรื่องใด

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “โรค ๒ อย่าง คือ ๑. โรคทางกาย(กายิก โรโค) ๒. โรคทางใจ (เจตสิโก โรโค)
    (องฺ.จตุกฺก.(ไทย ๒๑/๑๕๗/๒๑๗.)


    “ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก...
    เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ (เอกํ เวทยติ กายิกํ น เจตสิกํ)”
    (สํ.สฬา.(ไทย) ๑๘/๒๕๔/๒๗๕.)


    “เวทนา ๒ ประการ คือ ๑. เวทนาทางกาย (กายิกา เวทนา) ๒. เวทนาทางใจ (เจตสิกา เวทนา)”
    (สํสฬา.(ไทย) ๑๘/๒๗๐/๓๐๒.)
     
  19. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    พระสารีบุตรกล่าวถึงคำว่าเจตสิกปรากฏในพระสูตร

    “คำว่า สุข ๒ อย่าง คือ ๑. กายิกสุข ๒.เจตสิกสุข

    กายิกสุข คือ ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส
    สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส นี้เป็นกายิกสุข


    เจตสิกสุข คือ ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ
    ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เป็น เจตสิกสุข”
    (ขุ.ป.(ไทย) ๓๑/๑๗๓/๒๗๑-๒๗๒.)


    “คำว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ......เพ่งพิจารณา
    คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง”
    (ขุ.จู.(ไทย) ๓๐/๓๙/๑๘๐.)
     
  20. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    “อะไรเป็นศีล เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็นศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล”
    (ขุ.ป.(ไทย) ๓๑/๓๙/๖๐.)


    “จิตตสังขาร คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาวเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เรื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร”
    (ขุ.ป.(ไทย) ๓๑/๑๗๔/๒๗๓.)


    “ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณอย่างไร ภูมิ ๔ คือ

    ๑. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม) คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้...

    ๒. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป) คือ ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ...

    ๓. อรูปาวจนภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป) คือ ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ...

    ๔. อริยาปันนาภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ ๓ หมายถึงโลกุตตรภูมิ) คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน)...”
    (ขุ.ป.(ไทย) ๓๑/๗๒/๑๒๑-๑๒๒.)
     

แชร์หน้านี้

Loading...