ทีมนักโบราณคดีพบ “ชุมทางสายไหม” ในอัฟกานิสถาน เชื่อเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมปาทาน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 มกราคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b881e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b884e0b894e0b8b5e0b89ee0b89a-e0b88ae0b8b8e0b8a1e0b897e0b8b2.jpg

    ทีมนักโบราณคดีนานาชาติอาศัยการตรวจสอบภาพแผนที่ผ่านดาวเทียมและแผนที่ทางอากาศโดยโดรนที่เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เรื่อยมา พบโบราณสถานสำคัญในยุคเส้นทางสายไหมหลายจุดในพื้นที่ทะเลทรายของอัฟกานิสถาน เชื่อเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมปาทานที่สาบสูญร่องรอยไปแล้ว

    ภาพทั้งจากโดรนและดาวเทียมเหล่านั้น มีทั้งที่เป็นภาพถ่ายผ่านดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ และโดรนที่ใช้เพื่อการสำรวจและการทหาร เมื่อตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี พบจุดที่ตั้งโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางโบราณคดีหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่เป็น “คาราวานเซราย” หรือจุดพักกองคาราวานขนสินค้าขนาดใหญ่ ที่นักเดินทางและบรรดาพ่อค้าในยุคเส้นทางสายไหมใช้เป็นจุดพักแรม หรือพักปศุสัตว์ ต่อเนื่องมานานนับเป็นพันปี กับแนวลำคลองใต้ดินซึ่งจมอยู่ใต้ผืนทรายของท้องทะเลทรายในอัฟกานิสถาน

    แหล่งโบราณคดีในพื้นที่ทะเลทรายอัฟกานิสถานเหล่านี้ ถือว่าสภาวะแวดล้อมเป็นอันตรายมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบรรดากลุ่มติดอาวุธต่างๆ จนไม่สามารถเดินทางเข้าไปสำรวจด้วยตัวเองได้ ทางกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาให้เงินทุน 2 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ทีมวิจัยทางโบราณคดี สามารถจัดซื้อหรือดำเนินการรับบริจาคภาพถ่ายจากมุมสูงเหล่านี้มาใช้ในการตรวจสอบหาแหล่งโบราณคดีสำคัญที่ทรงคุณค่าได้โดยปลอดภัย

    เดวิด โทมัส นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัย ลาโทรบ ในนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยที่ใช้โดรนในการสำรวจในอัฟกานิสถาน ระบุว่า จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพื่อบันทึกตำแหน่งของแหล่งโบราณคดีเหล่านี้เอาไว้ สำหรับใช้ในการศึกษาและอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต ไม่เช่นนั้นการศึกษาอดีตในแหล่งเช่นนี้ไม่มีทางเป็นไปได้ ทั้งๆ ที่ตนเชื่อว่า หากตรวจสอบกันจริงๆ ก็สามารถค้นพบแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ ในพื้นที่เหล่านี้นับหมื่นจุดได้เลยทีเดียว

    881e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b884e0b894e0b8b5e0b89ee0b89a-e0b88ae0b8b8e0b8a1e0b897e0b8b2-1.jpg


    คาราวานเซรายที่ตรวจสอบพบเป็นสถานีชุมทางสำหรับพักคน ม้า และปศุสัตว์อื่นๆ ซึ่งใช้กันโดยนักเดินทางบนเส้นทางสายไหมในสมัยศตวรรษที่ 17 สถานีพักข้างทางเหล่านี้สร้างด้วยอิฐที่ปั้นจากโคลน มีขนาดใหญ่ สามารถรองรับคนเดินทางได้หลายร้อยคน รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับพักปศุสัตว์ที่เป็นสินค้า สถานีที่มีอยู่ด้วยกันหลายจุดนี้กระจายกันอยู่ในรัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่กองคาราวานสินค้าหรือปศุสัตว์ สามารถเดินทางถึงได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าพักผ่อนหลังการตรากตรำ

    เส้นทางสายไหม เป็นเส้นทางการค้าทางบกหลากหลายที่เชื่อมต่อซึ่งกันและกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่การค้ากว้างขวาง เริ่มต้นตั้งแต่ชุมทางสินค้าตะวันออก ที่รองรับสินค้าจากเกาหลีและญี่ปุ่น ไปสิ้นสุดในบริเวณริมทะเลเมดิเตอเรเนียน ทางตะวันตก เส้นทางสำคัญดังกล่าวนี้เป็นช่องทางนำเอาสินค้าหรู อาทิ ชา, อัญมณี, น้ำหอม, เครื่องเทศ และ ไหม จากพ่อค้าทางตะวันออกไปยังโลกตะวันตกที่สำคัญ

    พื้นที่ในบริเวณตอนกลางของเอเชีย ที่เป็นประเทศอัฟกานิสถานในทุกวันนี้ ถือเป็นจุดกึ่งกลางของเส้นทางสายไหม จึงมีจุดตัดและทางแยกของเส้นทางการค้าหลายเส้นทางในยุคโบราณ ทำให้พื้นที่เหล่านี้ได้รับประโยชน์และกำไรจากสภาพที่สินค้าและผู้คนต้องไหลเวียนผ่านจุดดังกล่าว ในยุคที่เส้นทางสายไหมรุ่งเรือง บรรดาอาณาจักรทั้งหลายในพื้นที่นี้ก็เฟื่องฟูมั่งคั่งตามไปด้วย

    ตามองค์ความรู้แต่เดิม เชื่อกันว่าเส้นทางสายไหมเสื่อมโทรมลงเมื่อมีการเปิดเส้นทางการค้าทางเรือระหว่างจีนกับอินเดียและซีกโลกตะวันตกในระหว่างศตวรรษที่ 15 และศตวรรษที่ 16 แต่ข้อเท็จจริงใหม่ที่ได้จากการตรวจสอบภาพครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าเส้นทางสายไหมยังคงความรุ่งเรืองอยู่อีกนานหลายศตวรรษหลังจากนั้น


    นอกเหนือจากสถานีพักกลางทางแล้ว ทีมวิจัยยังตรวจพบแนวคลองที่เชื่อมต่อจังหวัดเฮลมานด์ กับจังหวัดซิสถาน ของอัฟกานิสถานเข้าด้วยกันอีกด้วย

    ทีมวิจัยเชื่อว่า คลองดังกล่าวน่าจะถูกขุดขึ้นในสมัยอาณาจักรปาทาน ช่วยให้การเกษตรกรรมในพื้นที่เฟื่องฟู รวมทั้งยังได้เห็นร่องรอยองการหลอมรวมเชิงศาสนาในพื้นที่ เพราะพบว่ามีทั้งร่องรอยของสถูปในพุทธศาสนา และ วิหารสำหรับบูชาไฟของพวกโซโรแอสเทรียนอีกด้วย

    ที่มา มติชนออนไลน์

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/world-news/news-96240
     

แชร์หน้านี้

Loading...