ธรรมชาติเดียวกันย่อมดึงดูดกันเอง+การบำเพ็ญบารมีสามสิบทัศน์คือคู่แท้ในจิตใจ--

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 30 เมษายน 2014.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    a.png






    เมื่อทบทวนบารมีสิบประการ

    สามระดับ คือปกติ อุปปะ และปรมัตถะ


    ........ความมั่นใจ ในข้อธรรมทั้งสามสิบข้อ มีเท่าใด



    หรือว่า กำลังภูมิใจ กับ ทรัพย์สินอันเป็นของโลก เหยื่อล่อของโลก และทิพย์สมบัติ
    ที่ยังตกภายใต้อำนาจพญามาร ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เข้าสู่สมติงสบารมี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • preview003.png
      preview003.png
      ขนาดไฟล์:
      534.8 KB
      เปิดดู:
      909
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2017
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    <object width="480" height="360"><param name="movie" value="//www.youtube.com/v/7sTWvFl5Ysg?hl=th_TH&amp;version=3&amp;rel=0"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="//www.youtube.com/v/7sTWvFl5Ysg?hl=th_TH&amp;version=3&autoplay=&amp;rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="480" height="360" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>


    <object width="480" height="360"><param name="movie" value="//www.youtube.com/v/-odd4AixCpM?version=3&amp;hl=th_TH&amp;rel=0"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="//www.youtube.com/v/-odd4AixCpM?version=3&autoplay=&amp;hl=th_TH&amp;rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="480" height="360" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2014
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    [​IMG]



    ทุกข์จากความรัก

    พระท่าน สอนว่าความทุกข์จากการยึดติดรูปนามอันเป็นที่ตั้งของความรัก(แบบเสน่หา)นั้นมันเป็นพลังงาน ที่เสียเวลายาวนาน บางคนยึดมั่นในรัก ติดอยู่ในภพภูมิ เสียเวลายาวนาน กว่าจะได้เจอกัน และมารอกันอีก หากอีกคนแยกไปก็เกิดการฆ่ากันอีก เกิดเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันอีก หรือเรียกว่าทั้งรักทั้งแค้น ผูกกันไปอีก ยาวนาน นี่คือทุกข์ของความรักที่เจือปน ไม่ใช่ความรักที่แท้จริง การอธิษฐานแก้ไขในกรรมประเภทนี้ หลวงตา ให้ใช้ กรรมฐาน การฝึกจิต สมาธิ ฝึกให้ขึ้นพรหม (อันมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) จะแก้ไขในเรื่องทุกข์ของความรักนี้ได้ เพราะว่าพรหมไม่มีเพศ จึงหมดเรื่องพวกนี้โดยปริยาย หลวงตากล่าวเน้นว่า "ความรักคือความปรารถนาดีกับทุกๆคน ที่ยังเวียนว่ายตายเกิด โดยไม่ได้หวังผลประโยชน์อะไร นี่แหละความรักที่แท้จริง"

    เจ้ากรรมนายเวรโดยตรงต่อเราในชาติปัจจุบัน ก็คือ คนที่รักเราหรือคนที่เรารักมากที่สุดนั่นแหละ ที่งี้เราไม่รู้หรอกว่าเจ้ากรรมนายเวรเราอยู่ที่ไหน หากอยู่เทวดาหรือพรหม เขาก็ไม่เอาเรื่องเราหรอก ถ้าติดอยู่ข้างล่างก็เหมือนติดคุก เขาก็เอาเรื่องเราไม่ได้ ดังนั้นเจ้ากรรมนายเวรเราอยู่ที่โลกมนุษย์เรานั้นแหละ หากเราทำกรรมฐานอยู่ แผ่ให้เจ้ากรรมนายเวรเราเสมอ หากเจ้ากรรมนายเวรเราอยู่ในภูมิที่ลำบาก ถามว่าจะทำอันตรายเราใหม หลวงตาตอบว่าไม่ทำหรอก เพราะว่าเราเป็นตัวบุญอย่างดี ดังนั้นเจ้ากรรมนายเวรที่อันตรายที่สุดคืออยู่ในมนุษย์เรานั้นแหละ (ญาติ ลูก เมีย เรา รวมถึงเพื่อนรักเรา พี่น้อง เจ้านาย หรือคนที่เราไม่ชอบ นี่คือ เจ้ากรรมนายเวรเราในโลกมนุษย์ทั้งนั้น)

    การเวียนว่ายตายเกิด ในช่วงที่เกิดเป็นมนุษย์ จะมารับเศษกรรมในอดีต และมาทำเพิ่มใหม่ต่อไปทั้งดีและไม่ดี พอตายไปก็จะไปรับกรรมตอนที่ทำอยู่ในมนุษย์ ทั้งดีและไม่ดี แต่ถ้าเราฝึกจิต โดยการทำกรรมฐานไปเรื่อยๆ เราก็จะรู้แล้วว่าเราจะเกิดหรือไม่เกิด หรือสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี หลวงตาท่านสอนว่า “พวกเราตายแน่ๆ และเกิดแน่ๆ”

    จะเดิน.. นั่ง.. กิน.. แม้แต่ตอนนอน ภาวนาไว้ อย่าได้ขาด..
    ปฏิบัติ ทุกลมหายใจเข้าออก ทรงอารมณ์ดีดี
    อย่าให้กระแสไม่ดี เข้ามากระทบ...

    หากเรานึกในสิ่งดีๆ จิตจะเพิ่มแต่ในสิ่งที่ดีๆ
    อย่าจุดประกายในสิ่งที่ไม่ดี เพราะจิตจะเพิ่มในสิ่งที่ไม่ดี
    อย่ามัวนึกแต่กรรมเก่าในอดีต มันทำให้เราเศร้าหมอง

    การคิดถึงในสิ่งที่ไม่ดี นอกจากกรรมจะเข้าเราเร็ว
    ตามสิ่งที่เราคิดแล้ว ยังทำให้เราตายผ่อนส่ง
    คือตายเร็วกว่ากำหนดอีกด้วย

    ทุกวันนี้เราฝึกไว้เพื่อเตรียมตัวตาย
    ถ้าไม่ฝึกไว้ เวลาตาย มันจะเคว้งไม่รู้จะไปไหน
    การฝึกสมาธิ ไม่เกี่ยวกับการนั่งนานหรือไม่นาน
    แต่เกี่ยวกับว่า ทำแล้วอารมณ์สบายๆใหม

    อย่าจมอยู่กับความเศร้าหมอง...
    ไม่มีใครไม่มีทุกข์ เกิดมาก็ทุกข์
    เพียงแต่ว่าจะทุกข์มากหรือทุกข์น้อย

    ผู้ปฎิบัติธรรม ให้ดูที่จิต อารมณ์ดี จิตสบาย
    ไปไหนก็มีแต่คนรัก ทำอะไรก็มีแต่คนช่วยเหลือ
    ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ไม่มีอะไรที่เกินกำลัง

    การบันทึกบุญอยู่ที่อารมณ์ หากอารมณ์ดี
    ก็จะบันทึกบุญได้ตลอด หากอารมณ์ไม่ดี
    จะบันทึกบุญไม่ได้เลย...

    อย่าจมอยู่กับความเศร้าหมอง...

    ต้องทำตัวเองให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


    . . .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2017
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970


    -------------------------------------------------------


    ต้นไม้ที่เติบใหญ่ จนเป็นที่พึ่งพิงอาศัย ให้ร่มเงา ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตอื่นๆ

    ไม่จำเป็นต้องขึ้นเป็นคู่

    แต่ต้องอาศัยปัจจัย เช่น ดิน( สัจจธรรมที่จับต้องได้ เป็นความจริงที่เห็นได้ง่าย
    เป็นรูปธรรม แต่คนมองข้าม ) เพื่อหยั่งรากลงไป เพื่อการเติบโต

    ธาตุต่างๆในอากาศ สูบเข้ามาทำปฏิกิริยาเป็นอาหาร ( ดั่ง นามธรรมละเอียด
    ที่เป็นสัจจธรรม ลึกซึ้ง เกินกว่าการสัมผัสด้วยอายตนหยาบ )




    ลักษณะเฉพาะที่พัฒนาเป็นสายพันธุ์เอก คือลักษณะยีนส์( บารมี )ที่อยู่ในเซลล์(ดวงจิต ดวงใจ ) ที่ผ่านสภาวะๆต่างๆ
    จนพัฒนาถึงจุดสูงสุดอันเป็นลักษณะเฉพาะ ( จิตที่ผ่านการสั่งสม อบรม จนถึงขีดพระโพธิญาณ )



    เหล่าคู่บารมีทั้งปวง ไม่ว่าเป็นจักรแก้ว นางแก้ว ขุนพลแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนคลังแก้ว และ แก้วมณีรัตนะ ที่ปรากฏในรูปแบบสภาวะธรรมต่างๆ
    ต่างหมุนเวียน สับเปลี่ยน จำแลงมาในภพที่ต่างไป

    ตามหน้าที่ ตามจังหวะ ที่ต้องทำ


    ธาตุบางอย่าง ไม่สามารถปรากฏในบางพื้นที่ บางกระบวนการได้
    ก็อาศัยสังเคราะห์จากกระบวนการอื่นทางอ้อม ( ผู้เป็นคู่บารมีด้านนั้นๆ
    ไม่อาจตามมาในบางสภาวะ )


    แม้นางแก้ว ทรงเกื้อกูลให้พระโพธิสัตว์ ได้สำเร็จพระโพธิญาณ
    ดั่งสภาวะต่างๆ ที่ช่วยให้เมล็ดพันธุ์ ได้ผ่านถึงขึ้นต้นอ่อน ต้นหนุ่ม ต้นแก่ๆ

    แต่นางไม่ได้สำเร็จพระโพธิญาณด้วย
    แต่สามารถสำเร็จเป็นพระสาวกชั้นยอด
    เพื่อจบกิจทางโลกโลกิยะ




    พระสัมมาสัมพุทธะ เป็นหนึ่งเดียว นั่นคือ เอกภาวะ ลักษณะเด่นของต้นไม้
    ที่ได้ชื่อว่า โพธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤษภาคม 2014
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
    . พุทธาปทาน
    หน้าต่างที่ ๓ / ๑๑.

    สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงอย่างนี้ว่า เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าธรรมอันกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ อยู่เบื้องบนหรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้นไปโดยลำดับก็ได้เห็นทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า หม้อน้ำที่คว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด ไม่นำกลับเข้าไปฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า
    ครั้นกล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธ
    เจ้า ทั้งทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ทั้งสิบทิศ
    ตลอดถึงธรรมธาตุ.
    ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น จึงได้เห็นทานบารมี
    ข้อที่ ๑ เป็นเส้นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน
    ประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาแล้ว.
    ท่านจงสมาทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึง
    ความเป็นทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.
    หม้อน้ำเต็มเปี่ยม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง น้ำย่อมไหล
    ออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้นแม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่งและปานกลาง จง
    ให้ทานให้หมด เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลงไว้ฉะนั้น.
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ จึงได้มีความคิดอันนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อทรายจามรีไม่เห็นแก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตนเท่านั้นฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จำเดิมแต่นี้ไป อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่ ๒ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีประมาณเท่านี้ เรา
    จักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒
    ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระ
    โพธิญาณ.
    จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออก
    ไม่ได้ ก็ยอมตายในที่นั้นแม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้
    บริบูรณ์ในภูมิทั้ง ๔ จงรักษาศีลไว้ทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษา
    ขนหางฉันนั้นเถิด.
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อยู่ในเรือนจำมาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้รำคาญอย่างเดียว ไม่อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะคือการออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่างนี้ แล้วได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจัก
    เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมี
    ข้อที่ ๓ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ในก่อนถือปฏิบัติเป็น
    ประจำแล้ว.
    ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่น
    ก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุ
    พระโพธิญาณ.
    บุรุษอยู่มานานในเรือนจำ ลำบากเพราะความทุกข์ มิได้
    ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นออกไป
    อย่างเดียว ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ เป็น
    ผู้มุ่งหน้าออกบวช เพื่อพ้นจากภพนั้นเถิด.
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านี้ จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นต่ำ ชั้นกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตแม้ทั้งหมดไต่ถามปัญหา. เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ละเว้นตระกูลไรๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับ ได้อาหารพอยังชีพโดยพลันฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานปัญญาบารมีข้อที่ ๔ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจักเฟ้นหาธรรม
    แม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    เราเมื่อค้นหาอยู่ในคราวนั้น ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔
    ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    จงถึงความเป็นปัญญาบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิ
    ญาณ.
    ภิกษุเมื่อขออยู่ ไม่เว้นตระกูลต่ำ สูงและปานกลาง ย่อม
    ได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ท่านเมื่อ
    ไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ถึงความเป็นปัญญาบารมี จัก
    ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้วิริยบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า พญาราชสีห์มฤคราชเป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวงฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ในภพทุกภพ เป็นผู้มีความเพียร ไม่ย่อหย่อน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเฟ้น
    หาธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    ครั้งนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕ ที่
    ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    จงถึงความเป็นวิริยบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิ
    ญาณ.
    พญาราชสีห์มฤคราชเป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนใน
    การนั่ง การยืนและการเดิน ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อแม้ฉันใด
    ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงประคองความเพียรไว้ให้มั่นตลอดทุก
    ภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ขันติบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้อดทนทั้งในการยกย่องนับถือและในการดูถูกดูหมิ่น. เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็มิได้กระทำความรักและความขัดเคืองเพราะการกระทำอันนั้น ย่อมอด ย่อมทน ย่อมกลั้นไว้ได้ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนได้ทั้งในการนับถือ ทั้งในการดูหมิ่น จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
    เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    ในคราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖
    ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ชั้นก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    มีใจไม่ลังเลในขันติบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.
    ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวงที่เขาทิ้งลง
    สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำการขัดเคือง เพราะการ
    กระทำนั้นแม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทน
    ต่อการนับถือและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติ
    บารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
    ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น แล้วใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ ๗ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้สัจจบารมีให้บริบูรณ์ แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวมุสาวาททั้งรู้อยู่ ด้วยอำนาจฉันทะเป็นต้น เพื่อต้องการทรัพย์เป็นต้น. เหมือนอย่างว่าธรรมดาดาวประกายพรึกในฤดูทั้งปวง หาได้ละวิถีโคจรของตนโคจรไปในวิถีอื่นไม่ ย่อมจะโคจรไปในวิถีของตนเท่านั้นฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ละสัจจะกล่าวมุสาวาทเลย จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานสัจจบารมีข้อที่ ๗ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจัก
    เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    คราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ ๗ ที่
    ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานสัจจบารมีข้อที่ ๗ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
    ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือเที่ยงตรงใน
    โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย ฤดูหรือปีก็ตามย่อมไม่
    โคจรและเวียนออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด
    แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ออกไปนอกทางสัจจะ
    ทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิ-
    ญาณได้.
    ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงบำเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดในทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตนฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานคือการตั้งใจมั่นของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
    เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    ในคราวนั้นเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘
    ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิ
    ญาณได้.
    ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะ
    ลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานในกาลทั้งปวง ถึง
    ความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
    ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เมตตาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาน้ำย่อมไหลแผ่ความเย็นเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียวด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงอยู่ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือกเฟ้น
    ธรรมแม้ข้ออื่นๆ ที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    คราวนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙
    ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้ กระทำให้มั่นก่อน
    จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยเมตตา ถ้าท่านปรารถนาเพื่อ
    จะบรรลุพระโพธิญาณ.
    ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดย
    เสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ แม้ฉันใด
    แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอ
    ในชนที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมีแล้ว
    จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
    ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านั้น จึงพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไปก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า
    ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงบำเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึงวางใจเป็นกลางทั้งในสุขและทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมทำใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ กระทำให้มั่นแล้ว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือกเฟ้น
    ธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
    คราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐
    ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
    ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่น
    ก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.
    ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉย ในของไม่สะอาดและของ
    สะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสองนั้น
    ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นประดุจตาชั่งในสุข
    และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุ
    พระสัมโพธิญาณได้.
    ต่อแต่นั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงปฏิบัติในโลกนี้ มีเพียงนี้เท่านั้น เว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นย่อมไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ นี้แม้ในอากาศเบื้องบนก็ไม่มี แม้ในแผ่นดินเบื้องล่างก็ไม่มี แม้ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ไม่มี แต่จะตั้งอยู่เฉพาะในภายในหทัยของเราเท่านั้น.
    ครั้นได้เห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่เฉพาะในหทัยอย่างนั้น จึงอธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้วๆ เล่าๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นทวนให้ถึงตอนปลาย ยึดเอาตอนกลางให้จบลงตอนสุดข้างทั้งสอง ยึดเอาที่สุดจากข้างทั้งสองให้จบลงตอนกลาง.




    การบริจาคสิ่งของภายนอก จัดเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะน้อยใหญ่ จัดเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี เพราะเหตุนั้น ท่านสุเมธดาบส จึงพิจารณาสมติงสบารมี คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ประดุจคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไปมา และเหมือนเอาเขามหาเมรุให้เป็นโม่กวนมหาสมุทรในจักรวาลฉะนั้น.



    เมื่อสุเมธดาบสนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่อย่างนั้น ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีนี้หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ร้องลั่น สะท้านเลื่อนลั่นหวั่นไหว เหมือนมัดไม้อ้อที่ถูกช้างเหยียบ และเหมือนเครื่องยนต์หีบอ้อยที่กำลังหีบอ้อยอยู่ หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อ และวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ำมัน.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณในโลก มีเพียงเท่านี้
    นั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี นอกไปจากนี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่น
    อยู่ในธรรมนั้น.
    เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งสภาวะ รส และ
    ลักษณะ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว.
    แผ่นดินไหว ร้องลั่น ดังเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดล
    เลื่อนลั่น เหมือนวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ำมันฉะนั้น.
    เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ต่างสลบล้มลง ประหนึ่งว่าศาลาใหญ่ถูกลมยุคันตวาตโหมพัดฉะนั้น ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้นกลิ้งกระทบกันและกันแตกละเอียด.
    มหาชนสะดุ้งกลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบข้อนี้เลยว่า แผ่นดินนี้ นาคทำให้หมุน หรือว่าบรรดาภูต ยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่งทำให้หมุน. อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด.
    ลำดับนั้น พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับถ้อยคำของชนเหล่านั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยอันมีต้นเหตุมาจากเหตุนี้ ไม่มีแก่พวกท่าน ผู้ที่เราพยากรณ์ให้ไว้ในวันนี้ว่า สุเมธบัณฑิตจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคตนั้น บัดนี้พิจารณาบารมี ๑๐ เมื่อเขาพิจารณาไตร่ตรองอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม โลกธาตุตลอดทั้งหมื่นหนึ่งจึงไหวและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียว.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัท
    มีประมาณเท่านั้น ในที่นั้น ต่างตัวสั่นเป็นลมล้มลงบนแผ่นดิน.
    หม้อน้ำหลายพัน และหม้อข้าวหลายร้อย ในที่นั้นกระทบ
    กันและกันแตกละเอียด.
    มหาชนหวาดเสียวสะดุ้งกลัวหัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึงประชุม
    กัน แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธทีปังกร. กราบทูลว่า
    อะไรจักมีแก่โลก ดีหรือชั่ว หรือชาวโลกทั้งปวงจะถูกทำให้
    เดือดร้อนวุ่นวาย ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ขอจงทรงบรรเทาเหตุ
    นั้น.
    คราวนั้น พระมหามุนีทีปังกรทรงให้พวกเขาเข้าใจด้วยพระ
    ดำรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย ในการไหวของ
    แผ่นดินนี้.
    วันนี้ เราได้พยากรณ์บุคคลใดว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
    บุคคลนั้นพิจารณาธรรมเก่าก่อนที่พระชินเจ้าเคยถือปฏิบัติมา.
    เมื่อเขาพิจารณาถึงธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลืออยู่
    ด้วยเหตุนั้น โลกธาตุหนึ่งหมื่นนี้ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงได้
    ไหว.
    มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้ว ต่างร่าเริงยินดี พากันถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไหว้แล้วกระทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังรัมมนครตามเดิม.
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์พิจารณาบารมี ๑๐ อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วลุกจากอาสนะไป.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ทันใดนั้น ใจของพวกเขาก็เย็น เพราะได้ฟังพระดำรัส
    ของพระพุทธเจ้า ทุกคนจึงพากันเข้าไปหาเรากราบไหว้อีก.
    เรายึดมั่นพระพุทธคุณ กระทำใจให้มั่น แล้วนมัสการ
    พระพุทธเจ้าทีปังกร ลุกขึ้นจากอาสนะไปในคราวนั้น.
    ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันบูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้วป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลมีอาทิว่า
    ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระทีปังกรทศพล ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้ ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มีแก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อยจงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลย่อมเผล็ดดอกและออกผลตามฤดูกาล ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ล่วงเลยฤดูกาลนั้น จงได้สัมผัสพระสัมโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน.
    ก็แหละครั้นป่าวประกาศอย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม.
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้วจึงคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้แล้วอธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้
    ทิพย์และดอกไม้อันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ.
    เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประกาศความ
    สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่งนั้น
    ตามความปรารถนา.
    ขอสรรพเสนียดจัญไรจงบำราศไป ขอความโศกและโรค
    จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่าได้มีแก่ท่าน ท่านจงได้
    สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยเร็วพลัน.
    เมื่อถึงฤดูกาล ต้นไม้ทั้งหลายที่มีดอก ย่อมผลิดอก
    แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ
    ฉันนั้นเถิด.
    พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐
    ให้บริบูรณ์ ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐
    ให้บริบูรณ์ ฉันนั้นเถิด.
    พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่ต้นโพธิมณฑล
    ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่ต้นโพธิ์ของพระชินเจ้า
    ฉันนั้นเถิด.
    พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ประกาศพระธรรมจักร
    ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้น
    เถิด.
    พระจันทร์บริสุทธิ์ไพโรจน์ในวันเพ็ญ ฉันใด ขอท่านจง
    มีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้นเถิด.
    พระอาทิตย์พ้นจากราหู ย่อมสว่างจ้าด้วยความร้อน ฉันใด
    ขอท่านจงพ้นจากโลก ไพโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้นเถิด.
    แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงยังทะเลใหญ่ ฉันใด
    ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกจงประชุมกันในสำนักของท่าน ฉันนั้น
    เถิด.
    ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้นอันเทวดาและมนุษย์ชมเชย
    และสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะบำเพ็ญ
    ธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่แล้ว.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤษภาคม 2014
  6. ศิลปินชนบท

    ศิลปินชนบท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    773
    ค่าพลัง:
    +1,678
    ขอบคุณคุณดาบหัก(f)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. ศิลปินชนบท

    ศิลปินชนบท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    773
    ค่าพลัง:
    +1,678
    บาดลึกมากเลยพี่ดาบหัก ยืมประโยคข้างต้น ไปปลอบใจน้องนางคนนั้นหน่อยได้มั้ยคะ อิอิ
    แต่ก็ไม่รู้เค้าจะเข้าใจเรารึป่าวอะนะ ว่าเรารักเค้ายิ่งกว่ารัก หาใช่คนเย็นชาไร้รัก ไม่ยอมเปิดใจ
     
  8. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    :cool:พระโพธิญาณ คู่ที่แท้จริงของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตย์ รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต การเดิน ทางของ พุทธภูมิ คู่แท้จริง ของพระโพธิสัตว์ ก็ต้องมี นางแก้ว ที่อธิษฐานตามกันมา เหมือน พระแม่นางพิมพา ติดตาม พระสิทธัสถราชกุมาร ตอน ในสมัย พระพุทธเจ้า ทีปังกรพุทธเจ้า และยังมีคู่ครองรองๆลงไปอีกมากมาย จนชาติสุดท้าย พระเวสสันดรชาดก ไม่อาจแยกกันได้ อาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำบารมี ๑๐ ทัศ ให้เต็ม จนเป็นบารมี ๓๐ ทัศ ไม่อาจนำกล่าวในที่นี้ได้หมด จึงพิมมา ให้อ่านกันค่าวๆครับสวัสดี:cool:
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970

    คำคำเดียวกัน ที่ถูกจำกัดด้วยสมุติอักษร
    อาจทำให้ พี่ไม่ได้เข้าใจในความหมายที่ผมพยายามบอก



    คำว่าคู่ ในมติ และทัศนะที่มองจากโลก นั้นอาจเป็นคนที่อยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยา คนรัก ฯลฯ

    แต่ที่ผมพยายามบอก คือ ในมุมของสิ่งที่ประกอบกันเป็นพุทธะบุคคล


    ส่วนสิ่งต่างๆภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภรรยา สามี บริวารที่เป็นคน สัตว์และทิพย์สภาวะ ที่ติดตามร่วมสร้างบารมีและอำนวยให้การประกอบบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ นั้นคือ เหตุ-ปัจจัยภายนอก


    ความเป็นพุทธะบุคคล หรือแม้แต่ กายที่แท้จริงแห่งพุทธะ(ไม่ใช่กายเนื้อพระสิทธัตถะ) มีที่มาจากเหตุแห่งการประกอบบารมีสามสิบทัศน์




    ขณะผจญพญามาร แม้ทวยเทพเทวราช มหาพรหมที่เป็นใหญ่ ผู้เป็นมเหศักดิ์ใดๆ ก็ไม่อาจอยู่ร่วมเผชิญศึกหนักร่วมกับพระมหาโพธิสัตว์ได้

    มีเพียงพระบารมีสามสิบทัศน์ ที่ประกอบกันมาตั้งแต่พระชาติแรกจนถึงวินาทีสุดท้ายที่กำลังกระทำบำเพ็ญขณะผจญพญามาร ที่อยู่ร่วมกับพระองค์เพื่อพิชิตศึกสุดท้ายในการสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ



    สิ่งสำคัญที่สุดและมีค่าที่สุดในวัฏฏะนี้ ที่ทุกชีวิตพึงควรทราบ
    คือ ดวงจิต-ดวงใจ ของตนเอง



    ดวงใจใด ที่หลอมรวมบารมีสิบทัศน์ได้สำเร็จ
    ย่อมมีกำลังพอที่จะพ้นจากกองทุกข์ในวัฏฏะได้

    แม้รักกันปานจะกลืน แต่ดวงใจคนที่รัก ยังไม่สามารถ
    กระทำได้เช่นกันแล้ว ก็นำไปด้วยกันไม่ได้

    เป็นเรื่องเฉพาะตน ที่ต้องกระทำต่อใจของตน


    ถึงไปได้ ก็ใช่ว่า จะต้องไปด้วยกัน
    ด้วยพระนิพพานนั้น อิสระจากการร้อยรัดใดๆ
    ต่างคนก็ต้องต่างไป

    แล้ว ...สิ่งใด คือคู่ที่แท้จริง...




     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มิถุนายน 2014
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970

    เจตนาหนึ่ง ที่ผมตั้งชื่อกระทู้นี้


    จากคำที่ว่า ธรรมชาติเดียวกันย่อมดึงดูดกันเอง เพราะ เห็นหลายท่านที่อยากเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็เสาะแสวงหาคู่แบบทางโลกกันแล้วจับจองกันไว้ ผูกมัดกันไว้ก่อน ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าเปรียบทางโลก
    คล้ายๆหนุ่มสาวที่วิ่งหาคู่ที่พึงพอใจ แล้วก็ช่วยกันหาทางไต่เต้าขึ้นไปเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ ตำแหน่งการงานตามที่หวัง


    ที่ผมยกท่านสุเมธดาบสมาเป็นตัวอย่าง คือ ท่านพิจารณาธรรมด้วยญาณแห่งผู้มีบารมีเต็มแล้ว และได้รับพุทธทำนายจากพระพุทธเจ้าแล้วว่าได้เป็นแน่ ยืินยันในสิ่งที่จะทำให้สำเร็จพระโพธิญาณว่ามีเพียงพระบารมีสามสิบทัศน์ ตามอรรถกถายกมา

    ส่่วนพระนางฯ ผู้ตังจิตอธิษฐานขอตามสร้างบารมีก็โมทนายินดี
    ด้วยพระบารมีที่สร้างมามากพอ และด้วยพระญาณของพระทีปังกร ทรงเห็นว่าสตรีนางนี้จะทำหน้าที่ในฐานะคู่บารมีทางโลกได้ ด้วยมีบารมีสร้างไว้ใกล้เคียงกันจึงให้ท่านสุเมธดาบสปลงใจรับไว้


    จะเห็นได้ว่า ที่มา นั้นมีความต่างกัน คือ ท่านสุเมธดาบสท่านบำเพ็ญมาจนบารมีเต็มได้รับพุทธพยากรณ์อย่างเที่ยงแท้แล้ว


    ที่ผมบอกว่า ธรรมชาติเดียวกันย่อมดึงดูดกันเอง คือให้ปลงใจในไว้ในแต่กระแสธรรม
    ทำหน้าที่กระทำบำเพ็ญบารมีใน30ทัศน์ไปตามวิถี
    ส่วนบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ต่างๆ ธรรมที่ดีจะดึงดูดกันให้มาใกล้กันเอง ผู้ที่ใจยังใฝ่ทางโลกมาก จะได้ไม่ต้องวิ่งหาจับจองตัวกันก่อนและค่อยพากันสร้างบารมี


    ********************************************



    สุมิตตาพราหมณี - ปฐมจิตอธิษฐานที่มา : ยโสธราเถริยาปทานและทีปังกรพุทธวงศ์



    ย้อนหลังไปในอดีตกาลล่วงมาได้ ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    ครั้งนั้น พระนางพิมพาเกิดมาเป็นนางสุมิตตาพราหมณี อาศัยอยู่ในอมรวดีนครอันรุ่งเรือง
    ในครั้งนั้น เป็นพุทธกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระทีปังกร อันเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ในมหากัปนั้น และเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ใน ๒๘ พระองค์เมื่อนับถึงองค์ปัจจุบัน
    เมื่อพระทีปังกรตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาอยู่ที่รัมมกนคร
    ครั้งหนึ่ง ชาวนครอมรวดีได้อัญเชิญเสด็จพระทีปังกรพร้อมพระสาวกขีณาสพ ๔ แสนรูปให้มารับมหาทานในนคร ในวันที่พระทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จพุทธดำเนินมานั้น มหาชนผู้มีศรัทธาจำนวนมากก็พากันมารอรับเสด็จ ได้ช่วยกันถากถางทางและปรับพื้นที่ขรุขระมีน้ำขังให้ราบเรียบ เพื่อให้พระทีปังกรเสด็จดำเนินได้โดยสะดวก
    นางสุมิตตาพราหมณีผู้มีศรัทธา ก็ได้มารอรับเสด็จพระทีปังกรร่วมกับมหาชน ในมือนางถือดอกบัวมา ๘ กำ เตรียมมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
    ขณะนั้นเอง นางสุมิตตาพราหมณีก็ได้เห็นดาบสผู้ทรงอภิญญารูปหนึ่ง คือ สุเมธดาบส เหาะมาในนภากาศ สุเมธดาบสมองลงมาเห็นมหาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก จึงได้ลงมาสอบถาม เมื่อรู้ว่าพระทีปังกรพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดำเนินมาก็มีศรัทธา ขอร่วมในการปรับถนนด้วย ชาวเมืองเห็นว่าท่านสุเมธดาบสเป็นผู้มีฤทธิ์ จึงได้แบ่งงานบริเวณที่เป็นหลุมเป็นแอ่ง และมีน้ำท่วมขังมาก ให้ท่านดาบส
    สุเมธดาบสมีปิติยินดีเป็นอันมากที่จะได้เฝ้าพระพุทธองค์ จึงดำริว่าหากตนใช้ฤทธิ์ปรับถนน แม้งานจะสำเร็จรวดเร็ว แต่ก็ไม่ชื่นใจ ไม่สมกับศรัทธาที่ตนมี จึงได้อดทนขนดินทรายมาถมหลุมบ่อด้วยแรงกายเช่นสามัญชนทั่วไป
    การกระทำของสุเมธดาบสนี้ สร้างความศรัทธาและความชื่นชมแก่นางสุมิตตาพราหมณีที่เฝ้ามองอยู่ยิ่งนัก
    เมื่อสุเมธดาบสยังปรับพื้นที่ไม่เสร็จดี พระทีปังกรพุทธเจ้า พร้อมพระสาวก ๔ แสนรูปก็เสด็จดำเนินมา สุเมธดาบสเห็นไม่ทันการณ์ เพราะยังมีบ่อที่น้ำท่วมขังอยู่ช่วงตัวหนึ่ง จึงตัดสินใจทอดตัวลงนอนปิดทับแอ่งน้ำนั้น ตั้งใจถวายชีวิตให้พระทีปังกรและพระสาวกเดินไปบนแผ่นหลังของตน
    พระทีปังกรพุทธเจ้า เสด็จมายืนอยู่ที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงตรวจสอบดูด้วยพระสัพพัญญุตาญาน ก็รู้ว่าสุเมธดาบสผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีเต็ม เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เป็นผู้สร้างสมพุทธการกธรรมมาแล้วถึง ๑๖ อสงไขย สมควรแก่การได้รับลัทธยาเทศได้แล้ว พระองค์จึงได้ทรงประกาศพุทธพยากรณ์ว่า
    "ท่านทั้งหลายจงดูดาบสผู้มีตบะอัน รุ่งเรืองนี้ ดาบสผู้นี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จในที่สุดแห่งสี่อสงไขยกับเศษแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคตม
    ในอัตภาพนั้นของเขา จักมีนครนามว่า กบิลพัสดุ์ เป็นที่อยู่อาศัย พระมารดาทรงพระนามว่ามายา พระบิดาทรงพระนามว่าสุทโธทนะ พระอุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พระอานนท์เป็นพุทธอุปฐาก พระเขมาเถรีเป็นอัครสาวิกา พระอุบลวรรณาเถรีเป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑล และจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์"
    ชาวเมืองและเทพเทวดาทั้งหลายในที่นั้น เมื่อได้ฟังพุทธพยากรณ์แล้ว ต่างก็กล่าวสาธุการ สนั่นดังไปทั่วทั้งไตรภูมิ


    ขณะนั้นเอง นางสุมิตตา ผู้เห็นเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้น ก็เกิดปิติศรัทธาไปกับสุเมธดาบส นางจึงได้แบ่งดอกบัว ๕ กำ ให้สุเมธดาบสใช้บูชาพระพุทธเจ้า ส่วนดอกบัวอีก ๓ กำ นางนำไปถวายพระพุทธเจ้าแทบพระบาทของพุทธองค์ แล้วกล่าววาจาว่า
    "ข้าพระบาทได้แลเห็นท่านดาบสเหาะลงมา จากนภากาศ ช่วยขนดินทรายมาปรับผิวทาง ข้าพระบาทมีความศรัทธาในท่านดาบส เมื่อเห็นท่านดาบสทอดกายเป็นสะพาน ข้าพระบาทยิ่งมีปีติและศรัทธา บัดนี้ พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ท่านดาบสว่า จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ข้าพระบาทนี้ยิ่งมีปิติและศรัทธาไปกับท่านดาบสยิ่งนัก ข้าพระบาทขอตั้งความปรารถนา จะเป็นคู่สุข คู่ทุกข์ คู่ยาก ช่วยท่านดาบสสร้างสมบารมีให้สมบูรณ์"
    พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงทรงตรวจสอบ นางสุมิตตาพราหมณี ด้วยพระสัพพัญญุตาญาณ แล้วจึงตรัสวาจาพยากรณ์ว่า
    "ดูกรฤาษีผู้ใหญ่ อุบาสิกาผู้นี้ จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน มีกุศลกรรมเสมอกัน ทำกุศลร่วมกัน เป็นที่รักของบุญกรรม เพื่อประโยชน์แก่ท่าน น่าดู น่าชม น่ารัก น่าชอบใจยิ่ง มีวาจาอ่อนหวาน จักเป็นธรรมทายาทผู้มีฤทธิ์ของท่าน ความปรารถนาของอุบาสิกานี้จะสำเร็จตามปรารถนา"
    เหล่ามนุษย์และเทพยดาต่างสาธุการดังก้องขึ้นอีกครั้ง แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำดอกไม้ ๘ กำโปรยบูชาสุเมธดาบส ทรงกระทำประทักษินแล้วดำเนินหลีกไป เหล่าพระขีณาสพทั้งสี่แสนก็บูชาพระดาบสด้วยของหอมและพวงดอกไม้ แล้วดำเนินหลีกไป




    เมื่อพระภิกษุสงฆ์เดินไปหมดแล้ว สุเมธดาบสซึ่งบัดนี้ได้เป็นพระนิยตโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอนตามลัทยาเทศนั้นแล้ว ก็ลุกขึ้นนั่งบนกองดอกไม้ พิจารณาตนเองด้วยอภิญญาญาณ ทบทวนพุทธการกธรรมคือบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ที่ได้บำเพ็ญเพียรมา เมื่อพิจารณาครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็บังเกิดแผ่นดินสั่นหวั่นไหว แล้วเหล่าเทพเทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุก็ประชุมกัน สักการะด้วยสุคนธมาลัยทิพย์ แล้วกล่าวอำนวยพร
    แล้วสุเมธดาบสก็เหาะกลับไปป่าหิมพานต์ เจริญอภิญญาสมาบัติมิให้เสื่อม เมื่อสิ้นอายุขัยก็ไปอุบัติในพรหมโลก
    ในชาตินี้จึงเป็นชาติสำคัญของพระโพธิสัตว์ และพระนางพิมพาผู้ซึ่งเป็นคู่บารมี เนื่องจากเป็นชาติที่พระโพธิสัตว์ได้รับลัทยาเทศจากพระพุทธเจ้า และพระนางพิมพาก็ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน


    นับจากชาตินี้เป็นต้นไป ทั้งสองจึงได้เกิดมาสร้างสมบุญบารมีต่างๆ ร่วมกันตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้ นับเป็นบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ที่บุคคลทั่วไปทำได้อย่างยากยิ่งนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มิถุนายน 2014
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ส่วนชีวิตไหน ที่มีคู่ทางโลก เป็นคนดี ประคองกันในกระแสธรรม
    ไม่ได้ชักนำกันไปในทางเสื่อม ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

    ในระหว่างวัฏฏะสงสารอันยาวนาน หากกระแสปัจจัย นำไปเกิดในภพภูมิวาระที่ต่างกัน ตามกรรมที่ทำ ก็มีเพียงดวงจิต-ดวงใจของตน ที่จะรู้ตัว ประคองตน
    ให้ดำเนินไป จะดำเนินบนเส้นทางไหน ก็ตามแต่ความชินที่จะทำกรรม
    ว่าชินกับการทำกรรมดี หรือกรรมใด
     
  13. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    :cool:({) สวัสดีครับคุณดาบหัก ผมก็พยายามสื่อให้คุณเข้าใจผมเหมือนกัน แต่คุณก้ยังไม่เข้าใจ ในความหมายของผม ผมเอง ไม่เคยค้านเลย ที่คุณ เอาบทความของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่อรรถคาถาจารย์ มาอ้างอิง หรือ พระไตรปิฎก ทั้งๆผมไม่เคยเรียน พระไตรปิฎก ผมไม่เคยได้ศึกษา แต่ ศึกษา ตามครูบาอาจารย์ท่านสอน ถือว่าท่านนำคำสอนมาสอนจากพระไตรปิฎก หรือ ที่ท่านได้ คุณธรรมมา ผมย่อม ใช้ใจ ผม ใช้ดุจพินิจพิเคาะได้ด้วยตนเอง ว่าถูกหรือผิด พระธรรมคำสอนของพระผู้พระภาคเจ้า นั้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ หัวข้อเดียว ถ้ามันแยกไป เป็นแขนง มันยังมีอีกเยอะนะครับ และผมก็แยก ไม่เป็นเสียด้วย รู้แต่ว่ามันมีมากมายเหลือเกินเกินกว่าผมจะรู้ได้ เพราะผมไม่ใช้ สัพพัญญู ผู้รู้จริง แต่พอรู้ แบบงูๆปลาๆน่ะครับ:cool:
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970




    การที่ผมยกพระดำรัสฯ หรือ คำอธิบายของพระอรรถกถา มาอ้างอิง
    กับประสพการณ์หรือความคิด เพื่อให้เห็นว่า หรือเพื่อให้ท่านทั้งหลายร่วมพิจารณาว่า ประสพการณ์หรือความคิดของเราหรือใครๆ
    เป็นไปในสาระแก่นแท้ของที่พระท่านสอนหรือไม่...

    และเมื่อ ไม่ได้เป็นไปในทางตรงข้ามกับสาระแห่งพุทธดำรัสหรือพระธรรม
    การกระทำหรือแนวคิดของเรานั่นเอง จะเป็นเครื่องยืนยันในความเป็นอริยสัจจ์ของโลก



    ... การที่คิดเห็นต่างกัน หรือ มีวิธีการดำเนินชีวิตที่ต่าง ผมไม่ได้ตัดสินว่า "ใครผิด หรือ ใครถูก"

    เพราะ....เหตุและปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งจากอดีต ปัจจุบัน ล้วนมีส่วนในการกำหนดวิถีการใช้ชีวิตของแต่ละท่าน ....


    ....ที่สุดแล้ว แม้ถูกบังคับจากภายนอกให้เลือกใช้วิถีที่ไม่ต้องการ
    ก็มีแต่ "วิธีการทำใจ ให้ผ่องใส มั่นในพระรัตนตรัย" แม้ภายนอก
    ต้องใช้ชีวิตเฉกเช่นชาวโลกทั่วไป ก็ตาม




    ปล. ผมชอบอ่านที่พี่เขียนนะครับ ง่ายๆแบบลูกทุ่งและกลั่นออกมาจากหัวใจ

    พระอรหันต์ชั้นยอดที่เป็นปฏิสัมภิทาญาณหลายท่าน ไม่ได้เรียนหรือทรงจำคัมภีร์
    แต่เมื่อกิเลสในหัวใจหมดไปแล้ว กลับแตกฉานอธิบายพระธรรมได้พิสดารนัก
    ใครจะรู้ เมื่อวันที่กิจทางธรรมของพี่ลุล่วง พี่อาจสอนได้ตรงและละเอียดกว่าที่มีคน
    แปลพระไตรปิฎกไว้อย่างสั้นๆย่อๆก็ได้

    แม้ภาษาที่เราใช้อาจไม่สวยงามเหมือนกวี แต่บัณฑิตย่อมสัมผัสรู้ถึงความงามของสัจธรรม
    ที่มีอยู่ในคำนั้นเสมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2017
  15. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814




    :cool:({) สวัสดีครับคุณดาบหัก อนุโมทนาสาธุครับ ที่นำมาแจงอย่างละเอียด แต่ว่า นี่มันเป็นเพียง ผู้เริ่มต้นเท่านั้น ของพระโพธิสัตว์ ที่เข้าถึง ปรมัตถบารมี อย่างหยาบ แค่ ๑ อสงไขย แรก ก็คงเกิดตาย นับชาติไม่ถ้วนแล้ว สำหรับพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ บารมี ๑๐ ในบารมีต้น ก็มี หยาบ กลางละเอียด ในบารมีขั้นกลาง ก็มี อย่าง หยาบ กลาง และละเอียด ในบารมี ปลายก็มี อย่าง หยาบ กลาง และ ละเอียดเหมือนกัน บารมีทุกบารมี ทุกๆย่างมีความหมายหมด ที่ต้องเป็นคู่แท้ ของพระโพธิสัตว์ ขาดไม่ได้เลย ไม่มียกเว้น แม้ชาติสุดท้าย พระเวสสันดรชาดก ก็เช่นกัน ที่คุณเอ่ยถึง มันก็ขาดไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้บริจาค ลูกเมียให้เป็นทาน มันไม่มีสิทธิได้ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนครับ อย่างดี ก็พระปัจเจกะพุทธเจ้า หรือ พระอรหันต์ระดับแม่ทัพ


    พระโพธิสัตว์ ทุกพระองค์ ที่เข้าถึงแล้ว ท่านรักพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตของท่าน บารมีทุกตัว ทุกแขนง เป็นคู่ของพระโพธิสัตว์หมด จะต้องผ่าน ต้องทำ ให้ได้หมด แล้วชาติสุดท้าย ต้องแจง แบบที่คุณ เคย นำมาโพตให้อ่านกันถึง ๑๐ ชาติสุดท้าย แต่บารมี ของบารมี ๑๐ ทำตัวเดียว ตัวอื่นมันก็วิ่งเข้ามา หนุนพร้อมกันหมดไปด้วยกันหมด แต่คุณ มาชาติสุดท้ายแต่ละชาติ ของพระโพธิสัตว์ นำหน้าด้วยบารมีนั้นๆ ทุกตัวก็มาหนุนพร้อมกันขาดไม่ได้ ดั่งที่คุณ นำกล่าว ข้างต้นนี้ ที่พระพุทธเจ้าทีปังกร ท่านพระยากรณ์ ท่านสุเมธดาบท ทำบารมีไปอีก ๔ อสงไขย กำไลอีก แสนมหากัป


    เอาแค่ท่านเกิด กับพระแม่พิมพา ในบางชาติ ที่จะต้องลงมาทำสร้างบารมีด้วยกันนี่ มันนับกันไหวไหม ผมไม่รู้ จนชาติสุดท้ายที่ท่าน ถูกนำมาบริจาคให้เป็นทาน และยังต้องได้ เมียคนอื่นอีก ที่รองๆลงไป จนกว่าบารมี เต็ม ในขั้นของ ขั้น ปรมัตถบารมีละเอียด และไหนยังต้องผ่าน ในขั้น ปรมัตถบารมี ขั้นกลางอีก นี่ผมยังไม่ได้ พูดถึงตอนท่าน เป็นฤาษีชีไพร นักบวชอีก นับชาติไม่ถ้วน และจะต้องผ่าน กรรมฐาน ๔๐ มหาสติปัฏฐาน ๔ อีก ให้คล่องชำนาญการ และยังต้องเรียนรู้ อารมย์ พระอริยเจ้าอีก ๔ ขั้นตอน อารมย์พระโสดาบัน อารมย์พระสกิทาคามี อารมย์พระ อนาคามี และเรียนรู้อารมย์ พระอรหันต์อีก แค่เรียนรู้นะ ว่าอารมย์เป็นแบบไหน ไม่ใช่สำเร็จ


    บารมี ๓๐ ทัต มันต้องผ่าน บารมี ๑๐ ต้นมาก่อน แจงออก อย่างละ ๒ รวมเป็น ๓ อย่าง คือ บารมี ๓๐ ต้น บารมี ๓๐ กลาง บารมี ๓๐ ปลายปรมัตถบารมี จึงจะเป็นบารมี ๓๐ ทัต แบบสมบูรณ์ ผมเองไม่หนักใจหรอก รู้ บารมี ๓๐ ทัต มาก็ ๒๐ กว่าปีเอง แต่ว่า อยู่ใน แบบไหนเท่านั้น หนักบ้าง เบาบ้าง ตามโอกาศ ที่ได้ทำ บารมี ๓๐ ทัต มันขาด บารมี ๑๐ ไม่ได้หรอก เพราะว่ามันต้องขึ้นต้นด้วย บารมี ๑๐ ทำเต็มแล้ว มันจึงจะเป็น บารมี ๓๐ ทัตเป็น เกราะเพชรป้องกัน อย่างดี ให้กับพระโพธิสัตว์ ได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทำไม พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ตอนท่าน เกิดเป็นมหาทุกตะ คนจนที่สุด บริจาค ผ้าเก่าๆ ขาดๆวิ่นๆไปแลก เข็มกับได้ ๑ กลุ่ม เพื่อนำไป เข้า เครื่อง ไทยทานกฐิน นี่ก็เป็นบุญ หนุนนำ ปัจจัยให้ ท่านได้เป็นพระพุทธเจ้า ที่ท่านอธิษฐานว่า ขออานิสงฆ์กฐิน ให้ท่านได้พระโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตกาบเบื้อหน้าโน้นเทอญ


    การเกิดแต่ชาติของพระองค์ ล้วนเป็นคู๋สร้างของท่านทุกชาติ ที่สั่งสมไว้ อย่างดี ผมไม่แปลกใจหรอกครับ บารมีทุกตัว มันขาด จากกันไม่ได้ เป็นคู่ สร้างบารมีของท่าน อย่างแท้จริง แค่ทานตัวเดียว มันแตกแขนง ย่อยๆออกไปมากมายนัก คิดแบบเรานะ ไม่ได้คิดแบบท่าน เอาแค่คิดแบบ ครูบาอาจารย์ที่ท่าน บอกไว้ แค่ พุทโธ คำเดียว อธิบาย หรือ สรรเสริญ ๑ กัปยังไม่หมดเลย แต่ผมน่ะไม่บังอาจหรอกครับ แค่นึกเล่นๆก็ ทานตัวเตียว ยาวเหยียดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970


    ......เขียนซะยาว

    คุยกันตั้งหลายกระทู้

    แต่สาระที่แท้จริง อาจแค่ เรื่องของการมีคู่....แบบคนที่ต้องการสร้างบารมี



    ....ผมไม่เคยปฏิเสธ ว่า เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว จะสร้างบารมี
    ต้องไม่มีคู่ผัวตัวเมีย นะครับ


    เพียงแค่ ผมมองว่า การประกอบบารมีสามสิบทัศน์ให้เต็ม
    ให้ถึงระดับต่างๆ นั้นจะเป็นคู่ติดอยู่ในจิตในใจ ไปทุกภพ

    ไม่ต้องกังวลว่าใครจะเกิดตามมาหรือไม่
    ไม่ต้องห่วงหาอาทร ร้อยรัดกันใดๆ

    ไม่ต้องเกรงว่า จะไม่มีบริวาร
    ไม่ต้องกังวลวิตกว่า จะได้เป็นแค่พระปัจเจกฯ
    เพราะ ปลงใจในกระแสธรรม ให้ธรรมจัดสรร ชีวิตที่มีธรรมใกล้เคียงกัน
    มาทำหน้าที่ต่างๆเอง จึงไม่ต้องแสวงหาเหมือนวิถีชาวโลก


    ......ลองอ่านทุกโพส ทุกกระทู้ ที่ผมโพส
    ผมไม่เคยปฏิเสธหรือต่อต้านการมีครอบครัว หรือคู่ต่างเพศข้างกาย
    หรือการมีบริวารนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2014
  17. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814



    :cool:({) ขอบคุณครับที่ชม คุณดาบหัก ผมเข้าใจ แต่เพียงมุมมองต่างกันนิดหน่อย แนวทางเดินนั้น จุดหมายปลายทาง คืออันเดียวกัน คือความพ้นทุกข์ การเข้าใจคนละแง่มุม มันไม่ใช่เรื่องสำคัญๆเพียงว่า ทำใจ ให้บริสุดผุดผ่องนั้น ล้วนแต่ทำได้ยาก แต่นั่นแหละ ค่อยๆทำ วันหนึ่ง ได้ทุกๆวัน แค่ งู แลบลิ้น ช้างกระดิกหู ไก่กระพือปีก พระพุทธเจ้ากว่าวว่า บุคคลคนนั้น จิตไม่ว่างจากฌาณเลย :cool:


    การกระทำ แม้ เป็นผู้ยังผู้ศึกษาอยู่ ก็ผิดพาดด้วยกันได้ ทั้งนั้น ผิดมากผิดน้อย เป็นของธรรมดา ผู้ไม่ผิดเลยนั้น คือพระอรหันต์เท่านั้น ผมว่าการที่คุณ นำคำสอนของพระพุทธองค์ มาให้ได้อ่านกัน มันก็มีอานิสงฆ์ มากแล้ว แล้วแต่ใครจะนำไปคิดได้มากน้อย ขนาดไหน แล้วแต่มุมมอง ของท่านผู้อ่าน ว่าจะมีปัญญาขนาดไหนครับ ต้องขอนุโมทนาสาธุในบุญส่วนนี้นะครับสวัสดี
     
  18. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814




    :cool:({) ฮ้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ผมไม่ว่าคุณอยู่แล้ว ผมกำลังสื่อให้คุณดาบหัก เข้าใจ อะไรๆ หลายอย่าง เรื่องเกี่ยวกับ สร้างบารมี ทุกอย่าง ทุกตัว ที่เราสร้างเราทำ มันเกี่ยวเนื่องถึงกันหมด มันไม่อาจแยกกันได้เลย หัวข้อ เล็กหรือใหญ่ มันเชื่อมโยงถึงกัน ทุกๆอนู ในการสร้างบารมี เช่น ทานตัวเดียว ผมขอเอ่ยนิด ที่ผมทำ ไม่ได้อวดนะ ผมอยากทำ บุญ เอาเงินซื้อ อาหารถวายพระ มันเป็น สังฆทาน ก็พระ ๔ รูป ขึ้นไป จะกล่าว หรือไม่กล่าวคำพูดก้ตาม มันเป็นสังฆทานครับ ถ้าไม่ครบ ๔ องค์ มันทาน ส่วนบุคคล ตั้งแต่ ๓ รูปลงมา ผมอยากทำบุญกับ คนและสัตว์ทั่วไป ให้อาหาร เป็นทาน มันก็ทานเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ บุญหรืออานิสงฆ์ ที่ได้รับครับ สัตว์กับบุคคล ธรรมดา ก็ต่างกันแล้วครับ


    ผมไม่อธิบายนะครับ เพราะคุณน่าจะเข้าใจได้ดีทีเดียว ผมอยาก เอากาย ไปทำ ปลูกป่าธุดงค์ ในวัด ปลูกต้นไม้ในวัด สารพัดต้นไม้ และก็ได้ทำไปแล้วด้วย ก็ทานเหมือนกันครับเพียงใช้แรงกายไปทำ ผม ใช้แรงกาย ไปทาสี กุฏิพระ ทาสี ส้วม โบสถ วิหาร ศาลา ทาสีองค์พระ และ ต้องใช้กาย ช่วยทาสี บ้านชาวบ้าน อานิสงฆ์ มันต่างกัน แต่การทำ ไม่ต่างกันคือ ใช้แรงกายทำ ผม เอา อาหาร ไปแจก เด็กๆ เสื้อผ้า ยาสีฟัน ขนม แจก ชาวบ้าน สิ่งของต่างๆ และเอาของ ไปแจก หรือ ถวายวัด กับ โรงเรียน บุญ อานิสงฆ์ ต่างกัน การกระทำไม่ต่างกัน


    ถวายผ้าป่า กับกฐิน คือ เป็นสังฆทาน เหมือนกัน แต่อานิสงฆ์ ยังต่างกันเลย มันต่างกัน คือกาลเวลา อานิสงฆ์ นี่ยังไม่พูดถึง คนที่เป็น พระ มีความบริสุทธิแค่ไหนอีกต่างหาก และถ้าเรา ไปสร้าง พระพุทธรูป โบสถ วิหาร กุฏิ ศาลา และให้ หนังสือ ธรรมมะเป็นทาน อีก และบางอย่าง ที่ทุกคนให้ได้โดยยาก อภัยทานนี่ให้ยาก ชนะนี่ไม่ง่ายเลย ทุกอย่างได้ทำมาแล้วครับในชาตินี้ แพ้มากกว่าชนะ และยังมีอย่างอื่นอีก ที่ไม่ได้กล่าวมา


    ผมพยายามบอกคุณว่า การสร้างบารมี ๓๐ ทัตได้นั้น ต้องผ่าน บารมีต้น คือ บารมี ๑๐ ถ้ายังอยู่ในขั้น บารมีต้น กับบารมี กลาง มันยังไปไม่ถึง บารมี ๓๐ ทัตน่ะครับ มันไม่สามารถเป็นบารมี ๓๐ ทัตได้ บารมี ๓๐ ทัต มันก็ต้องผ่าน ต้นปรมัตถบารมี ๓๐ ทัต อย่างหยาบ บารมี ๓๐ ทัต อย่างกลาง บารมี ๓๐ ทัต อย่างละเอียด ตามที่คุณ โพต พระพุทธเจ้าทีปังกร พยากรณ์ พระโพธิสัตว์สุเมธดาบทน่ะครับ อย่าลืม พระโพธิสัตว์ ที่ลามาเป็นสาวก องค์ ต่างๆได้นั้นในปัจจุบัน ต้องเป็น ปรมัตถบารมีเต็ม บารมีมันเลย ของสาวกมาแล้ว ลาก็จบกิจได้เร็วน่ะครับ ไปอ่านประวัติ หลวงปู่หลวงพ่อต่างๆดูก็ได้ครับ และอีกอย่างผมน่ะ พบมาพอสมควร พรโพธิสัตว์ ทั้งผู้หญิงผู้ชาย พระฆราวาส แม้แต่สัตว์ก้ได้ สำผัสของจริงมาแล้วครับ ผมไม่สงสัยหรอกครับ แต่ เรื่องตัวเองนี้แหละ ยังคับแค้นใจอยู่ ที่ยังเอาดีไม่ได้ครับสวัสดี:cool:
     
  19. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,359
    ค่าพลัง:
    +6,493
    ท่านบุญทรงพระเครื่องพูดจาดีครับ:cool:
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ผมแก้ไขชื่อกระทู้ หรือคำพูด คำเขียน เพื่อให้เข้าใจตรงกันยิ่งขึ้นแล้วนะครับ

    พี่บุญทรง ....



    ........." การบำเพ็ญเพื่อเข้าถึงบารมีสามสิบทัศ คือคู่ที่แท้จริง".....

    หรือ "บารมีสิบทัศน์ คือ คู่ที่แท้จริง "......ฯลฯ



    เพราะ พี่คงพยายามบอกว่า ในระหว่าง สร้างบารมียังไม่เต็ม ( ยังไม่เหมือนท่านสุเมธดาบส)

    บารมีที่มี ยังเรียกว่า บารมีสามสิบทัศน์ ไม่ได้





    เป็นความบกพร่องในการใช้คำ ของผมเอง ขอบพระคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...