ธรรมพระบูรพาจารย์(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คุรุวาโร, 14 ตุลาคม 2011.

  1. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603


    พระธรรมเจดีย์ : วิธีสังเกตอาการขันธ์ที่สิ้นไปเสื่อมไปนั้นหมายเอาหรือคิดเอา?

    พระอาจารย์มั่น : หมายเอาก็เป็นสัญญา คิดเอาก็เป็นเจตนาเพราะฉะนั้นไม่ใช่หมายไม่ใช่คิด
    ต้องเข้าไปเห็นความจริงที่ปรากฎเฉพาะหน้าจึงจะเป็นปัญญาได้

    พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นจะดูความสิ้นไปเสื่อมไปของขันธ์ทั้ง 5 มิต้องตั้งพิธีทำใจให้เป็นสมาธิทุกคราวไปหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :ถ้ายังไม่เคยเห็นความจริง ก็ต้องตั้งพิธีเช่นนี้ร่ำ
    ไปถ้าเคยเห็นความจริงเสียแล้วก็ไม่ต้องตั้งพิธีทำใจให้เป็นสมาธิทุกคราวก็ได้
    แต่พอมีสติขึ้น ความจริงก็ปรากฎเพราะเคยเห็นแลรู้จักความจริงเสียแล้ว
    เมื่อมีสติรู้ตัวขึ้นมาเวลาใดก็เป็นสมถวิปัสสนากำกับกันไปทุกคราว

    พระธรรมเจดีย์ :ที่ว่าชีวิตแลอายุขันธ์สิ้นไปเสื่อมไปนั้นคือสิ้นไปเสื่อมไปอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น : เช่นเราจะมีลมหายใจอยู่ได้สัก 100 หน ก็จะตาย ถ้าหายใจเสียหนหนึ่งแล้ว ก็คงเหลืออีก 99 หนหรือ
    เราจะคิดจะนึกอะไรได้สัก 100 หน เมื่อคิดนึกเสียหนหนึ่งแล้ว คงเหลืออีก 99 หนถ้าเป็นคนอายุยืนก็หายใจอยู่ได้มากหน
    หรือคิดนึกอะไรๆอยู่ได้มากหนถ้าเป็นคนอายุสั้น ก็มีลมหายใจและคิดนึกอะไรๆอยู่ได้น้อยหน
    ที่สุดก็หมดลงวันหนึ่งเพราะจะต้องตายเป็นธรรมดา

    พระธรรมเจดีย์ :ถ้าเราจะหมายจะคิดอยู่ในเรื่องความจริงของขันธ์อย่างนี้จะเป็นปัญญาไหม?

    พระอาจารย์มั่น : ถ้าคิดเอาหมายเอา ก็เป็นสมถะที่เรียกว่ามรณัสสติเพราะปัญญานั้น ไม่ใช่เรื่องหมายหรือเรื่องคิด

    เป็นเรื่องของความเห็นอารมณ์ปัจจุบันที่ปรากฎเฉพาะหน้าราวกับตาเห็นรูปจึงจะเป็นปัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :เมื่อจิตสงบแล้วก็คอยสังเกตดูอาการขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เพื่อจะให้เห็นความจริงนั่นเป็นเจตนาใช่ไหม?

    พระอาจารย์มั่น : เวลานั้นเป็นเจตนาจริงอยู่แต่ความจริงก็ยังไม่ปรากฎ เวลาที่ความจริงปรากฎขึ้นนั้นพ้นเจตนาทีเดียว
    ไม่เจตนาเลยเป็นความเห็นที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษต่อจากจิตที่สงบแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :จิตคู่กับเจตสิก ใจคู่กับธัมมารมณ์ มโนธาตุคู่กับธรรมธาตุ 3 คู่นี้เหมือนกันหรือต่างกัน?

    พระอาจารย์มั่น : เหมือนกันเพราะว่าจิตกับมโนธาตุกับใจนั้นอย่างเดียวกัน
    ส่วนใจนั้นเป็นภาษาไทยภาษาบาลีท่านเรียกว่ามโน
    เจตสิกนั้นก็ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร
    ธัมมารมณ์นั้นก็คือเวทนา สัญญา สังขาร ธรรมธาตุนั้นก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร

    พระธรรมเจดีย์ :ใจนั้นทำไมจึงไม่ใคร่ปรากฎ เวลาที่สังเกตดูก็เห็นแต่เหล่าธัมมารมณ์
    คือ เวทนาบ้างสัญญาบ้าง สังขารบ้าง มโนวิญญาณความรู้ทางใจบ้าง
    เพราะเหตุไรใจจึงไม่ปรากฎเหมือนเหล่าธัมมารมณ์ กับมโนวิญญาณ?

    พระอาจารย์มั่น :ใจนั้นเป็นของละเอียด เห็นได้ยาก
    พอพวกเจตสิกธรรมที่เป็นเหล่าธัมมารมณ์มากระทบเข้าก็เกิดมโนวิญญาณถูกผสมเป็นมโนสัมผัสเสียทีเดียว
    จึงแลไม่เห็นมโนธาตุได้

    คัดลอกมาจากบางส่วนของ หนังสือธรรมะทรงคุณค่า ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
    พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ถาม
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถรตอบ



    <O:p</O:p
     
  2. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603


    ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
    มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล
    ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน
    แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ ฯ

    เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า
    ใยมัวเมา โลภลาภ ทำบาปใหญ่
    มามือเปล่า แล้วจะ เอาอะไร
    เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา ฯ

    ควรเร่งสร้าง กรรมดี หนีกรรมชั่ว
    ไม่พาตัว พาใจ ใฝ่ตัณหา
    หมั่นเจริญศีล สมาธิ และปัญญา
    จึงจะพา ให้พ้นทุกข์ สุขนิรันดร์ ฯ

    คำกลอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
     
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    อยากถามคุณคุรุวาโรว่าผมปฏิบัติไปถึงไหนแล้วครับ ทำไมผมถึงรู้สึกว่ากำจัด
    กิเลศได้ง่ายๆ เหมือนไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า ถ้าคิดไปเอง
    ผมเหลือกิเลศอะไรเยอะครับ ทำกรรมฐานกองไหนดี และอยากรู้ว่าในอดีตเกี่ยว
    ข้องอะไรกับปู่ตัวเองหรือเปล่าครับ
     
  4. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    มุตโตทัย

    แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น<O:p</O:p

    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖<O:p</O:p

    ๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป)
    แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย
    เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี
    ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ
    จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย<O:p</O:p

    ๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา

    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ
    ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์
    เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต
    ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้
    แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว
    จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง
    ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ
    ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ
    เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย

    ..<O:p</O:p
     
  5. นิพพานายะ

    นิพพานายะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2011
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +176
    คุณคุรุวาโร ช่วยดูให้หน่อยนะครับ ว่าอดีตผมมีความเป็นมาอย่างไร
    ต้องทำอะไรเพิ่มเติมหรือต้องแก้ไขอะไรบ้าง เพื่อให้การภาวนาก้าวหน้า
    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2011
  6. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน


    เหตุใดหนอ ปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นโม ก่อน จะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย
    เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า คือธาตุน้ำ โม คือ ธาตุดิน
    พร้อมกับบาทพระคาถา ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมุภโว โอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้
    น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป
    ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ
    นโม นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง
    และ เปสี คือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑
    ส่วนธาตุ คือลม คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ
    เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไป
    จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นเดิม

    ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น
    ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น
    มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล
    เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง
    ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น
    จึงว่าคุณท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่
    เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อนแล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง
    นโม ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน
    ทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

    ๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ

    นโม นี้ เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ
    เอาสระอะจากตัว น มาใส่ตัว ม เอาสระ โอ จากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ

    เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ทั้งกายทั้งใจเต็มตามส่วน สมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือใจนี้เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่
    จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ได้ในพระพุทธพจน์ว่า
    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา
    ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
    พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจาก ใจ คือมหาฐาน นี้ทั้งสิ้น
    เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก มโน แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น
    สมมติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้
    ถือเอาเป็นสมมติบัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะจนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า
    ด้วยการหลง หลงถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราไปหมด



    ....<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2011
  7. Xiaobao

    Xiaobao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +472
    ขอร่วมอนุโมทนาสาธุบุญ กับธรรมทาน ที่นำมาบอกกล่าวกันนะครับ ^^
     
  8. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ

    พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้
    ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้เป็น "อนันตนัย" เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้
    เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่ มโน นั่นเอง
    มโน เป็นตัวมหาเหตุเป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอนนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น
    อารมฺมณ จนถึงอวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้
    ฉะนั้น มโนซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๔ ก็ดี ฐีติ ภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖ ก็ดี และมหาธาตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี
    ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรๆ ได้ด้วย ทศพลญาณ ก็ดี
    รอบรู้ สรรพเญยฺยธรรม ทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดั้งเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย
    แม้สาวทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้ด้วยเหตุนี้แล
    พระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕ ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสฺส (พระสารีบุตร) ว่า
    เย ธมฺมา เหตุปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ
    ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ...เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเดิม
    เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ) ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า? เพราะอะไร
    ทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรม ก็คือมหาเหตุ
    ฉะนั้น มหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็น อนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ
    ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการ สุดจะนับจะประมาณได้ด้วยประการฉะนี้

    ๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์

    ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโว ชาติ
    คนเราทุกรูปนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้น
    กล่าวคือมีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียงว่า
    อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไรฯ ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่
    พวกเราก็ยังมีบิดามารดาอวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา
    ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น
    เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป
    ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจากฐีติภูตํเช่นเดียวกัน
    เพราะเมื่อฐีติภูตํกอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง
    นี่พิจารณาด้วยวุฏฐานคามินี วิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ (การเวียนว่ายตายเกิด)
    ท่านจึงเรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" (หมายถึงไตรลักษณ์) เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏฏ์ให้ขาดสูญ
    จึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง
    ก็จะหายหลงแล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ด้วยประการฉะนี้

    ...<O:p</O:p
     
  9. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    ขออนุโมทนา สาธุกับคุณ อวาตา และคุณ คุรุวาโร ด้วยค่ะ ทีได้ถ่ายทอดสิ่งดีๆๆมีคุณค่าควรแก่การน้อมรับ สำนึก นำไปปฎิบัต ค่ะ อ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งค่ะ
     
  10. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603


    มุตโตทัย

    แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น พระอาจารย์มั่น

    อาจจะยากสักหน่อยครับ ซึ่งผมยอมรับตามตรงเลยว่าผมอ่านครั้งแรกสมัยก่อน ผมไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจเลย

    จนมาพักหลังนี้จึงจะพอแจ้งในเนื้อความบ้าง

    ท่านใดที่ติดขัดไม่เข้าใจหรือสงสัยประการใด โปรดจดบันทึกข้อสงสัยไว้ หรือปรารถนาจะได้ความกระจ่างในข้อสงสัยที่บังเกิดขึ้น
    ถามแทรกเข้ามาได้เลยนะครับ ไม่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด

    ผมและตลอดจนผู้รู้ท่านอื่นๆจะพยายามตอบข้อซักถามและข้อสงสัยให้ได้ ตามวิสัยที่มีอยู่ ให้ได้รู้กระจ่างแจ้งเข้าใจตรงตามธรรม

    ถ้าเหลือวิสัยผมจะสอบถามท่านผู้รู้และครูบาอาจารย์ให้ต่อไปครับ


    <O:p</O:p



     
  11. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
    อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคฺคํ สตฺตวิสุทธิยา

    ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ ฐานะอันดีเลิศนั้นเป็นทางดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
    โดยอธิบายว่าเราได้รับมรดกมาแล้วจาก นโม คือ บิดามารดา กล่าวคือตัวของเรานี้แล
    อันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติสูงสุด เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดี
    คือมีกายสมบัติ วจีสมบัติ แลมโนสมบัติบริบูรณ์ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก คือ ทรัพย์สินเงินทองอย่างไรก็ได้ จะสร้างสมเอาสมบัติภายในคือมรรคผลนิพพานธรรมวิเศษก็ได้
    พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติแก่มนุษย์เรานี้เอง มิได้ทรงบัญญัติแก่ ช้าง มา โค กระบือ ฯลฯ ที่ไหนเลย
    มนุษย์นี้เองจะเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนมีบุญวาสนาน้อย
    เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้วทำให้ยิ่งได้
    สมด้วยเทศนานัยอันมาในเวสสันดรชาดาว่า ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภาวนํ ภาเวตฺวา เอกจฺโจ สคฺคํ คจฺฉติ เอกจฺโจ โมกฺขํ คจฺฉติ นิสฺสํสยํ
    เมื่อได้ทำกองการกุศล คือ ให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาตามคำสอนของพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแล้ว
    บางพวกทำน้อยก็ต้องไปสู่สวรรค์ บางพวกทำมากและขยันจริงพร้อมทั้งวาสนาบารมีแต่หนหลังประกอบกัน ก็สามารถเข้าสู่พระนิพพานโดยไม่ต้องสงสัยเลย
    พวกสัตว์ดิรัจฉานท่านมิได้กล่าวว่าเลิศ เพราะจะมาทำเหมือนพวกมนุษย์ไม่ได้
    จึงสมกับคำว่ามนุษย์นี้ตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีสามารถนำตนเข้าสู่มรรคผล เข้าสู่พระนิพพานอันบริสุทธิ์ได้แล

    ๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน


    พระบรมศาสดาจารย์เจ้า ทรงตั้งชัยภูมิไว้ในธรรมข้อไหน?
    เมื่อพิจารณาปัญหานี้ได้ความขึ้นว่า พระองค์ทรงตั้งมหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิอุปมาในทางโลก
    การรบทัพชิงชัย มุ่งหมายชัยชนะจำต้องหา ชัยภูมิ ถ้าได้ชัยภูมิที่ดีแล้วย่อมสามารถป้องกันอาวุธของข้าศึกได้ดี ณ ที่นั้น
    สามารถรวบรวมกำลังใหญ่เข้าฆ่าฟันข้าศึกให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปได้
    ที่เช่นนั้นท่านจึงเรียกว่า ชัยภูมิ คือที่ที่ประกอบไปด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคงฉันใด

    อุปไมยในทางธรรมก็ฉันนั้น ที่เอามหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิก็โดยผู้ที่จะเข้าสู่สงครามรบข้าศึก คือ กิเลส
    ต้องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นก่อน เพราะคนเราที่จะเกิด กามราคะ เป็นต้น ขึ้น ก็เกิดที่กายและใจ
    เพราะตาแลไปเห็นกายทำให้ใจกำเริบ เหตุนั้นจึงได้ความว่า กายเป็นเครื่องก่อเหตุ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน
    จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำให้ใจสงบได้ ณ ที่นี้พึง ทำให้มาก เจริญให้มาก คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยทีเดียว
    ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏ จะปรากฏกายส่วนไหนก็ตาม ให้พึงถือเอากายส่วนที่ได้เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น
    จะคิดว่าที่นี่เราเห็นแล้ว ที่อื่นยังไม่เห็น ก็ต้องไปพิจารณาที่อื่นซิ เช่นนี้หาควรไม่
    ถึงแม้จะพิจารณาจนแยกกายออกมาเป็นส่วนๆ ทุกๆอาการอันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้อย่างละเอียด ที่เรียกว่าปฏิภาคก็ตาม
    ก็ให้พิจารณากายที่เราเห็นทีแรกด้วยอุคคหนิมิตนั้นจนชำนาญ ที่จะชำนาญได้ก็ต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก ณ ที่เดียวนั้นเอง
    เหมือนสวดมนต์ฉะนั้น อันการสวดมนต์ เมื่อเราท่องสูตรนี้ได้แล้ว ทิ้งเสียไม่เล่าไม่สวดไว้อีก
    ก็จะลืมเสียไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่ทำให้ชำนาญด้วยความประมาทฉันใด
    การพิจารณากายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อุคคหนิมิตในที่ใดแล้ว ไม่พิจารณาในที่นั้นให้มากปล่อยทิ้งเสียด้วยความประมาท
    ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรอย่างเดียวกัน
    การพิจารณากายนี้มีที่อ้างมาก ดั่งในการบวชทุกวันนี้ เบื้องต้นต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก็คือ กายนี้เอง
    ก่อนอื่นหมดเพราะเป็นของสำคัญ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระธรรมบทขุทฺทกนิกายว่า
    อาจารย์ผู้ไม่ฉลาด ไม่บอกซึ่งการพิจารณากาย อาจทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของกุลบุตรได้
    เพราะฉะนั้นในทุกวันนี้จึงต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก่อน
    อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าจะไม่กำหนดกาย
    ในส่วนแห่ง โกฏฐาส (คือการพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ) ใดโกฏฐาสหนึ่งมิได้มีเลย
    จึงตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้กล่าวถึงแผ่นดินว่า บ้านโน้นมีดินดำดินแดงเป็นต้นนั้นว่า
    นั่นชื่อว่า พหิทฺธา แผ่นดินภายนอกให้พวกท่านทั้งหลายมาพิจารณา อัชฌัตติกา แผ่นดินภายในกล่าวคืออัตตภาพร่างกายนี้
    จงพิจารณาไตร่ตรองให้แยบคาย กระทำให้แจ้งแทงให้ตลอด เมื่อจบการวิสัชชนาปัญหานี้ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็บรรลุพระอรหันตผล

    เหตุนั้นการพิจารณากายจึงเป็นของสำคัญ ผู้ที่จะพ้นทุกทั้งหมดล้วนแต่ต้องพิจารณากายนี้ทั้งสิ้น
    จะรวบรวมกำลังใหญ่ได้ต้องรวบรวมด้วยการพิจารณากาย แม้พระพุทธองค์เจ้าจะได้ตรัสรู้ทีแรกก็ทรงพิจารณาลม ลมจะไม่ใช่กายอย่างไร?
    เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น จึงชื่อว่า "ชัยภูมิ"
    เมื่อเราได้ชัยภูมิดีแล้ว กล่าวคือปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานจนชำนาญแล้ว
    ก็จงพิจารณาความเป็นจริงตามสภาพแห่งธาตุทั้งหลายด้วยอุบายแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า<O:p</O:p
     
  12. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    .

    ๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส

    ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด
    แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น
    และดอกบัวนั้นก็มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย
    ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่ง สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง
    ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครกคือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตรคูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
    ก็เรียกว่า ขี้ ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกงกับ เป็นต้น
    ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาป เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้
    ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู
    แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอกก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลย เพราะเหม็นสาบ
    ดั่งนี้จึงได้ความว่าร่างกายของเรานี้เป็นเรือนมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะ ของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด
    เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นถึงปานนี้ เมื่อชีวิตหาไม่แล้ว ยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย
    เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายจึงพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วย โยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว
    คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจนก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกายอันเป็นที่สบายแก่จริต
    จนกระทั่งปรากฏเป็นอุคคหนิมิต คือ ปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก
    การเจริญทำให้มากนั้นพึงทราบอย่างนี้ อันชาวนาเขาทำนาเขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดินดำลงไปในดิน ปีต่อไปเขาก็ทำที่ดินอีกเช่นเคย
    เข้าไม่ได้ทำในอากาศกลางหาว คงทำแต่ที่ดินอย่างเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง
    เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องร้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็จะหลั่งไหลมาเอง
    และจะห้ามว่า เข้าเอ๋ยข้าว จงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ ถ้าทำนาในที่ดินนั้นเองจนสำเร็จแล้ว ข้าวก็มาเต็มยุ้งเต็มฉางเอง
    ฉันใดก็ดีพระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น จงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัยหรือที่ปรากฏมาให้เห็นครั้งแรก
    อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่การเดินจงกรมเท่านั้น

    ให้มีสติหรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ คิด พูด ก็ให้มีสติรอบคอบในกายอยู่เสมอจึงจะชื่อว่า ทำให้มาก
    เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้ว ให้พิจารณาแบ่งส่วนแยกส่วนออกเป็นส่วนๆ
    ตามโยนิโสมนสิการตลอดจนกระจายออกเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ
    อุบายตอนนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว

    พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้ พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน
    ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมาเป็น อนุโลม ปฏิโลม คือเข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากาย อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว
    พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเอง คือ จิต ย่อมจะรวมใหญ่
    เมื่อรวมพึ่บลง ย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกันคือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น
    นิมิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่าโลกนี้ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกัน ไม่ว่า ป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์
    แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องลบราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกันพร้อมกับ ญาณสัมปยุตต์ คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน
    ในที่นี้ตัดความสนเท่ห์ในใจได้เลย จึงชื่อว่า ยถาภูตญาณทัสสนวิปัสสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง

    ขั้นนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไป ไม่ใช่ที่สุดอันพระโยคาวจรเจ้าจะพึงเจริญให้มาก ทำให้มาก
    จึงจะเป็นเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบ จนชำนาญเห็นแจ้งชัดว่า สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่าโน่นเป็นของของเรา โน่นเป็นเรา
    เป็นความไม่เที่ยงอาศัยอุปาทานความยึดถือจึงเป็นทุกข์ ก็แลธาตุทั้งหลาย เขาหากมีหากเป็นอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา
    เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นเสื่อมไปอยู่อย่างนี้มาก่อน เราเกิดตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก็เป็นอยู่อย่างนี้
    อาศัยอาการของจิต ของขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปปรุงแต่งสำคัญมั่นหมายทุกภพทุกชาติ
    นับเป็นอเนกชาติเหลือประมาณมาจนถึงปัจจุบันชาติ จึงทำให้จิตหลงอยู่ตามสมมติ ไม่ใช่สมมติมาติดเอาเรา
    เพราะธรรมชาติทั้งหลายทั้งหมดในโลกนี้ จะเป็นของมีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม
    เมื่อว่าตามความจริงแล้ว เขาหากมีหากเป็น เกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว
    โดยไม่ต้องสงสัยเลยจึงรู้ขึ้นว่า ปุพฺเพสุ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ธรรมดาเหล่านี้ หากมีมาแต่ก่อน ถึงว่าจะไม่ได้ยินได้ฟังมาจากใครก็มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว

    ฉะนั้นในความข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เราไม่ได้ฟังมาแต่ใคร มิได้เรียนมาแต่ใคร
    เพราะของเหล่านี้มีอยู่ มีมาแต่ก่อนพระองค์ดังนี้ ได้ความว่าธรรมดาธาตุทั้งหลายย่อมเป็นย่อมมีอยู่อย่างนั้น
    อาศัยอาการของจิตเข้าไปยึดถือเอาสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติ
    จึงเป็นเหตุให้อนุสัยครอบงำจิตจนหลงเชื่อไปตาม จึงเป็นเหตุให้ก่อภพก่อชาติด้วยอาการของจิตเข้าไปยึด
    ฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้ามาพิจารณา โดยแยบคายลงไปตามสภาพว่า สพฺเพ สฺงขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สังขารความเข้าไปปรุงแต่ง คือ อาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง สัตว์โลกเขาเที่ยง คือมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น
    ให้พิจารณาโดย อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ เป็นเครื่องแก้อาการของจิตให้เห็นแน่แท้
    โดย ปัจจักขสิทธิ ว่า ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขาร เมื่อเห็นจริงลงไปแล้วก็เป็นเครื่องแก้อาการของจิต
    จึงปรากฏขึ้นว่า สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ สังขารทั้งหลายที่เที่ยงแท้ไม่มี สังขารเป็นอาการของจิตต่างหาก
    เปรียบเหมือนพยับแดด ส่วนสัตว์เขาก็อยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อรู้โดยเงื่อน ๒ ประการ
    คือรู้ว่า สัตว์ก็มีอยู่อย่างนั้น สังขารก็เป็นอาการของจิต เข้าไปสมมติเขาเท่านั้น
    ฐีติภูตํ จิตตั้งอยู่เดิมไม่มีอาการเป็นผู้หลุดพ้น ได้ความว่า ธรรมดาหรือธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน จะใช่ตนอย่างไร ของเขาหากเกิดมีอย่างนั้น

    ท่านจึงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน
    ให้พระโยคาวจรเจ้าพึงพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามนี้จนทำให้จิตรวมพึ่บลงไป ให้เห็นจริงแจ้งชัดตามนั้น
    โดย ปัจจักขสิทธิ พร้อมกับ ญาณสัมปยุตต์ รวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุตติ หรือรวมลงฐีติจิต
    อันเป็นอยู่มีอยู่อย่างนั้นจนแจ้งประจักษ์ในที่นั้นด้วยญาณสัมปยุตต์ว่า ขีณา ชาติ ญาณํ โหติ ดังนี้
    ในที่นี้ไม่ใช่สมมติไม่ใช่ของแต่งเอาเดาเอา ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ เป็นของที่เกิดเอง เป็นเอง รู้เอง โดยส่วนเดียวเท่านั้น
    เพราะด้วยการปฏิบัติอันเข้มแข็งไม่ท้อถอย พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเอง จึงจะเป็นขึ้นมาเอง
    ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่างๆ มีต้นข้าวเป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือรวงข้าวไม่ใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาเลย เป็นขึ้นมาเอง
    ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตาย
    รวงข้าวก็จะไม่มีขึ้นมาให้ฉันใด วิมฺตติธรรม ก็ฉันนั้นนั่นแล
    มิใช่สิ่งอันบุคคลจะพึงปรารถนาเอาได้

    คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรมแต่ปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติมัวเกียจคร้านจนวันตายจะประสบวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2011
  13. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    ทำอย่างไรเราจึงจะพิจารณาได้หนอรู้ว่าร่างกายเรานี้มีแต่ของเสียไม่ได้หลงในสังขาร เราจะต้องตาย และเน่าไป ร่างกายต้องเสื่อมไป คิดไปแล้วจิตใจหดหู่ เบื่อสังขารจัง อนุโมทนา สาธุ
     
  14. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    พิจารณาได้ถูกต้องแล้วครับ ถ้าพูดตามหลักการก็ขอบอกว่า ใช้อสุภกรรมฐาน ตามมาด้วยการเดินปัญญาวิปัสสนา เป็นไตรลักษณ์
    เห็นว่าร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้และต้องเสื่อมสลายไป

    พิจารณาจนเกิดนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในร่างกายสังขาร มาตรงทางแบบเป๊ะๆเลยครับ

    ตอนนี้เราก็รู้อยู่แล้วตามที่กล่าวมานั่นแหละครับ ว่าร่างกายของเราเป็นอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง เพียงแต่ใจเรายังไม่ยอมรับกฎของความจริงข้อนี้คือ ไตรลักษณ์

    สำคัญคือเราต้องหมั่นพิจารณาให้เห็นอยู่บ่อยๆเนืองๆครับ


     
  15. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
  16. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603




    ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๕ ...ขอให้ทุกท่านได้มีความเจริญด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภาวนา มีความฉลาดรอบรู้ตามหลักสัจธรรมทั้งหลาย
    ให้มีความรู้แจ้งเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงด้วย สติ และภาวนามยปัญญา ของทุกท่านด้วยเทอญ...



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    ชอบมากๆๆๆค่ะฟังไม่มีเบื่อและทำให้อยากคิดตามก็เป็นจริงดิฉันพึ่งจะรู้ว่าการเกิดเป็นอย่างไร และก็เข้าใจในความตายว่าเราจะต้องตายก็ให้นึกถึงความตายบ่อยขึ้นบางครั้งก็ลืมไปเลย พอเห็นคนตายก็จะนึกอยู่เสมอว่าเป็นอย่างไรถ้าเราตายจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร คิดมาแล้วใจก็ห่อเหี่ยวแต่รุ้สึกดีค่ะ สงบขึ้นแต่ก็นึกไม่ออกว่าจะพิจารณาอย่างไร บางที นอนก็ให้นึกว่าถ้าเราตายคงจะนอนอย่างนี้กระมังแล้วนึกถึงพุทโธ บ้าง นะมะพะทะ บ้างแล้วแต่เอามาเป็นอารมณ์ แล้วก็หลับไปเลย แบบนี้ เขาเรียกว่าขาดสติใช่มั้ยค่ะ การพิจารณาซากศพนี้เราต้องดูอย่างนี้ทุกๆๆๆวันจนใจเราเป็นอย่างไรค่ะ ขอคำชี้แนะด้วยค่ะ
     
  18. จันทลักษณ์

    จันทลักษณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +412
    อนุโมทนา...สาธุกับเรื่องดีๆ...ค่ะ


    ..........................................
    พลังงานขั้วบวกกับขั้วลบ..มันก็ยังหมุนอยู่ของมันอย่างนั้นแล...
     
  19. boatsa2538

    boatsa2538 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +90
    อนุโมทนาสาธุครับ . . .
    เห็นแรกๆกระทู้นี้มีการดูว่า คนนั้นมาจากที่นั่น คนนี้มาจากที่นี่ อดีตเป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ทราบว่าเขาเรียกว่าบุปเพนิวาสานุสสติญาณหรือปล่าว ถ้ามีวิธิสอนก็ชี้แนะให้เป็นกำลังใจหน่อย ถ้าไม่สอนเพราะเกินตัวข้าพเจ้า ก็วานดูให้ด้วย แต่ฉันว่าฉันสนิทในสายนี้แล้ว สาธุ ๆ ๆ ๆ
    ปล. อยากจะให้ท่านรวบรวมเป็นหนังสือนะ หรือไม่ก็ทำไว้เป็นเฉพาะเลยไม่มีคนมาคอมเม้น มันอ่านยากพอสมควร แต่ก็แล้วแต่ท่านจะสะดวกครับ อนุโมทนาสาธุธรรมหลวงปู่มั่น อีกครั้งครับ สาธุ ๆ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2012
  20. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    กรรมฐานทั้ง 40 กอง เป็นสมถะกรรมฐาน เป็นไปเพื่อให้จิตตั้งมั่นมีสมาธิ จะเลือกใช้กองใดกองหนึ่งก็ได้ตามแต่จริตที่เราชอบคือทำแล้วมีความสุข สบายกายใจ
    จะเป็นอุบายให้จิตสงบเร็ว เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว ก็ให้เจริญปัญญา วิปัสสนาพิจารณาลงที่ไตรลักษณ์


    การเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็นปกติธรรมดา ความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว
    ให้เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไป โดยพิจารณา ความเกิดต่อไปก็มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีทุกข์ไม่พ้น
    เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็นเหยื่อของวัฏฏสงสารอีก
    แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่ง จะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ก็สมบัติอะไรในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก
    เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือพระนิพพาน
    ปรารภพระนิพพานเป็นปกติ

    พิจารณาจนใจเป็นกลางยอมรับความจริง ไม่ใช่คิดเอา การพิจารณาจนใจเป็นกลางยอมรับความจริงได้ เราจะต้องรู้แจ้งถึงส่วนประกอบและกระบวนการที่ทำให้เกิด(ทุกข์)ขึ้นมา

    การท่องคำบริกรรมไว้ก็เป็นสมถะกรรมฐานอย่างหนึ่ง ทำได้ทุกอริยบท ยืน เดิน นั่ง นอน จะหลับตาก็ได้ ลืมตาก็ได้ หรือท่องไปแล้วจะหลับไปเลยก็ไม่ว่ากัน เพราะยังดีที่ได้ภาวนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...