ธรรมวิจัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 20 มกราคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE borderColor=#330066 width=698 border=2><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#003366>
    สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา:องค์ศาสนูปถัมภกแห่งพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#330066 height=213 width=170 align=center border=2><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ธรรมวิจัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
    เรียบเรียง ณ วันที่ ๖ พฤษจิกายน ๒๕๔๐


    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้กำหนดคำนิยามของคำว่า "วิจัย" ไว้ ๒ ประการคือ "การสะสม, การรวบรวม" และ "การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (อ. research)" ดังนั้นคำว่า "ธรรมวิจัย" จึงหมายความว่า "การค้นคว้าเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง ในการศึกษา(สภาว)ธรรม"
    ท่านอาจารย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) ได้กรุณาอบรมสั่งสอนผมไว้ว่า การบำเพ็ญสมาธิภาวนาซึ่งเป็นการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจมีอยู่ ๒ ประการ คือ "สมถภาวนา" ซึ่งได้แก่การภาวนาเพื่อให้จิตใจสงบเป็นสมาธิิเพียงอย่างเดียวประการหนึ่งและ "วิปัสสนาภาวนา" ซึ่งได้แก่การภาวนา เพื่อให้จิตใจสงบ เป็นสมาธิแล้วนำเอาสมาธินั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปัญญา ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อให้บรรลุ ุถึงการรู้แจ้งเห็นจริง ในสภาวธรรม ต่างๆ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขั้นตอนระเบียบปฎิบัติที่สำคัญที่เรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม" ไว้ถึง ๓๗ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ ในจำนวนนี้ "โพชฌงค์๗"นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นหัวข้อ
    ที่ได้กล่าวถึง องค์ประกอบที่จะนำไปสู่การ(ตรัส)รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งได้แก่ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ สมาธิ ปิติ อุเบกขา และการสงบนิ่ง (ปัสสัทธิ) ดังปรากฏอยู่ในหัวข้อปุจฉาวิสัชนาระหว่างพระนาคเสนเถรกับพระเจ้ามิลินท์ (หนังสือ "มิลินทปัญหา สัตตมวรรค สัตตโพธิฌงคปัญหา") ดังนี้:

    - "....สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า....อันว่าพระโพธิฌงค์เป็นองค์ให้ตรัสรู้นี้มีกี่ประการพระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า พระโพธิฌงค์เป็นองค์จะให้ตรัสรู้นั้นมีอยู่อย่างเดียวคือพระธัมมวิจยสัมโพธิฌงค์...."
    พระนาคเสนได้ถวายคำวัสัชนาโดยอุปมาให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระทัยง่ายว่า ".....โพธิฌงค์ทั้ง ๖ นี้ เปรียบดุจฝักดาบ ธัมมวิจย สัมโพธิฌงค์เหมือนตัวดาบ โพธิฌงค์ทั้ง ๖ ย่อมอาศรัยธัมมวิจัย สัมโพธิฌงค์ก่อน จึงให้รู้มรรครู้ผล เหมือนฝักดาบอาศรัยตัวดาบ จึงฟันบั่นรอนสิ่งทั้งปวง
    ให้ขาดได้....."


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาที่ยาวนาน พระองค์จึงทรงไว้ซึ่งพระบารม ีทั้งสิบประการคือ ทาน ศิล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา ผมได้มีโอกาส ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดพระยุคลบาทมานานพอสมควร พระองค์ท่าน ได้ทรงพระเมตตาอธิบายหัวข้อ ธรรมะจากพระโอษฐ์เองบ้าง พระราชทานหนังสือ และเทปคำบรรยายธรรม ของพระอริยสงฆ์มาให้ศึกษา ด้วยตนเองบ้าง จึงทำให้ผมได้มีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาและปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น ผมจึงมีความเชื่อมั่นว่า ทุกครั้งที่พระองค์ท่าน ได้ทรงศึกษา และปฏิบัติธรรมนั้น สิ่งที่พระองค์ท่าน จะทรงขาดไม่ได้คือ การปฏิบัติธรรมวิจัย

    ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งคือ บทพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" ซึ่งได้ทรงศึกษาค้นคว้าจากเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒) ในพระราชนิพนธ์นี้ ได้ทรงเน้นความสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งไว้ประการหนึ่งคือ การบำเพ็ญวิริย บารมีของพระมหาชนกที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลา ด้วยพระปรีชาสามารถ
    ในหนังสือพระราชนิพนธ์เล่มนี้ ได้กล่าวถึงการเดินทางทางเรือของพระมหาชนกจากเมืองจัมปาไปยังเมืองมิถิลา แต่ได้ประสบอุบัติเหตุระหว่างทาง เรือพระที่นั่งถูกพายุคลื่นลมอย่างรุนแรงจนกระทั่งอับปาง พระมหาชนก ต้องทรงว่ายน้ำอยู่นานถึงเจ็ดวัน จนกระทั่งนางเทพธิดาชื่อ มณีเมขลา ได้ตรวจพบและช่วยเหลือ ก่อนที่จะให้ความ ช่วยเหลือนางมณี เมขลา ได้ทดสอบสัจจธรรมของพระมหาชนกอยู่หลายประการ ในที่สุด พระมหาชนกก็สามารถทำให้ นางมณีเมขลา จำนนต่อถ้อยคำ โดยการตรัสว่า ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำ จะไม่ลุล่วงไปได้จริงๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผล แห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็น ผล แก่กรรมประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยังว่าย ข้ามอยู่ และได้เห็น ท่านมาสถิต อยู่ใกล้ๆเราเรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียร ที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร
    ข้อความข้างต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขยายความไว้ในวรรคต่อมาให้เห็นเด่นชัดถึงความเดิมที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงศึกษาวิเคราะห์ หรือ ทรงปฏิบัติธรรมวิจัย ด้วยพระองค์เองว่าแต่ละพระคาถานั้นมีความหมายอย่างไร อาทิ
    "....บทว่า ตานิ อิช.ฌน.ติ วา น วา ความว่า พระมหาสัตว์ทรงแสดงความว่า เมื่อบุคคลกระทำ ความเพียร ทางกายและความเพียร ทางใจว่า เราจักไปในที่นี้ จักเรียนสิ่งนี้ การ งานเหล่านั้น ย่อมสำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงควรทำความเพียรแท้....."
    เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า บทพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" นี้เป็นผลงานธรรมวิจัย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง วิริยะ หรือการบำเพ็ญความเพียร ซึ่งเป็นพลังอินทรีย์หนึ่ง ในห้าประการที่องค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งปวง หรือ "โพธิปักขิยธรรม" นั่นเอง

    --------------
    ที่มาของข้อมูล:สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา
    http://www.geocities.com/buddhistworld/page0103.html
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE borderColor=#cc6600 width=698 border=2><TBODY><TR><TD bgColor=#cc6600>สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา : องค์ศาสนูปภัมภกพระพุทธศาสนา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE borderColor=#cc6600 height=82 cellSpacing=3 cellPadding=0 width=200 align=center border=2><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระจักรวรรดิวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์


    ประเทศไทยนับว่า เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคนี้ที่ได้รับอารยธรรมมาจากประเทศอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓ เชื่อกันว่า
    ในช่วงเวลานั้น กษัตริย์อินเดียแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาได้ทรงปกครองอาณาจักรสยามด้วย และในโอกาสนี้ พระพุทธศาสนาจึงได้แผ่ เข้ามาในอาณาจักรสยามด้วยเช่นกัน อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมของอินเดีย และโดยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดูซึ่งมีลักษณะ การบริหารประเทศโดยมีกษัตริย เป็นประมุขของรัฐสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล จึงได้มีการวางรูปแบบการปกครอง และการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไว้ว่า

    "....กษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐทรงมีอำนาจไม่มีขอบเขต....ทรงเป็นจอมทัพ...ทรงเป็นประมุขด้านตุลาการ.
    ...ทรงเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหลายในราชอาณาจักร...... ....แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงเป็นราชาที่มีอำนาจเด็ดขาด เพราะในวันประกอบพิธีบรมราชาภิเษกนั้น กษัตริย์จะต้องปฏิญาณพระองค์ต่อประชาชนว่า ....ความสุขและสวัสดิภาพของกษัตริย์ อยู่ที่ความสุขและสวัสดิภาพของประชาชน สวัสดิภาพของกษัตริย์มิได้อยู่ที่ความสุขของกษัตริย์เองแต่อยู่ที่ความสุข ของประชาชนของกษัตริย์ สิ่งใดที่ให้ความสุขแก่กษัตริย์จะถือว่าสิ่งนั้นมิใช่สิ่งดีงาม แต่สิ่งใดที่ให้ความสุขแก่ประชาชนจะถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดีงาม.... ข้อความดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า กษัตริย์ไม่ทรงเป็นเผด็จการ ไม่ทรงทำความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนไม่ทรงถือเอาผลประโยชน์จากประชาชนตามพระประสงค์ หรือตามพระทัยของพระองค์เอง แต่กษัตริย์จะต้องทรงส่งเสริมสวัสดิการของประชาชนต้องทรงถือพระองค์ว่า เป็นผู้รับใช้ของรัฐ......"

    โดยหลักการบริหารประเทศดังกล่าว ได้มีการวางรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์
    ไว้เป็นหลักใหญ่รวม ๓ ประการ คือ
    ๑. ทศพิธราชธรรม หรือ ธรรมะในการปกครองประเทศ ๑๐ ประการ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
    ๒. ราชสังคหะ หรือ ธรรมะในการทำนุประชาราษฎร์ ๔ ประการ
    ๓. จักรวรรดิวัตร ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์

    ดังนั้น เจ้าชายองค์รัชทายาทซึ่งมีสิทธิ์ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในอนาคตแม้กระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะ แห่งราชวงศ์ศากยะ
    เมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายจันทรคุปต์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งราชวงศ์เมารยะ
    จอมจักรพรรดิ์ผู้ปลดแอกกู้ชาติอินเดียให้พ้นจากการปกครองของขนขาติกรีกเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช (น่าเชื่อว่า เป็นพระองค์เดียวกับพระจันทโครพในนิยายจักร์ๆ วงศ์ๆ ของเรา....ผู้เขียน) จำเป็นจะต้องศึกษาวิชาต่างๆ ตั้งแต่พระชนมายุประมาณ
    ๑๖ ปี ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ในห้วข้อวิชาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย พระเวท และศิลปศาสตร์รวม ๑๘ อย่าง ได้แก่ การคำนวณ
    ภูมิศาสตร์ วิชาช่าง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การค้าขาย การขับร้องดนตรี ดาราศาสตร์ การใช้ศรและธนู โบราณคดี
    แพทยศาสตร์ โหราศาสตร์ การแต่งกาพย์ ฉันท์ ตรรกวิทยา เกษตรศาสตร์และปศุสัตว์ พิชัยสงคราม เวทมนตร์คาถา การสื่อสาร
    มวลชน และความรู้ทั่วไป สถาบันการศึกษาที่สำคัญในยุคนั้นแห่งหนี่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยตักศิลา โดยต้องใช้ระยะเวลาการศึกษา
    ประมาณ ๘ ปีโดยรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศที่ได้วางไว้ เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว กษัตริย์จะต้องทรงปฏิบัติ
    พระองค์ ในลักษณะธรรมราชาปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้กินดีอยู่ดี มีความร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
    บนพื้นฐานที่มาจากความเชื่อว่า ราชาที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งธรรมะสำคัญที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม"ทศพิธราชธรรม
    ประกอบด้วยหลักธรรม ๑๐ ประการ ได้แก่

    ๑. ทาน ได้แก่ การเอาใจใส่สงเคราะห์อนุเคราะห์ให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์สุข ความสะดวกปลอดภัย ให้ความช่วยเหลือ
    แก่ผู้ที่เดือดร้อน ประสบทุกข์และให้การสนับสนุนแก่คนทำความดี พระมหากษัตริย์จะทรงยินดีจ่ายพระราชทานทรัพย์ให้แก่ข้าราชการ
    และราษฎรผู้สมควรได้รับในคราวที่ควร ตลอดจนถึงการจ่ายเพื่อบำรุงกิจการเพื่อให้ความสะดวกและความสมบูรณ์แก่ราษฎร
    พระมหากษัตริย์จะทรงชุบเลี้ยงพระราชวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยพระราชทานพระราชทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค
    ภัณฑ์ตามฐานะของบุคคลนั้นซึ่งได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณ และพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่องค์การหรือบุคคล
    และราษฎรเมื่อถึงคราวอันสมควร รวมทั้งพระราชทานจตุปัจจัยแก่บรรพชิตผู้ประกอบกิจพระศาสนา

    ๒. ศีล ได้แก่ การรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม สำรวมกายและวจีกรรม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพ
    นับถือของประชาราษฎร์ พระมหากษัตริย์จะทรงประพฤติพระจริยาทางพระกาย พระวาจาให้สะอาดตามขัตติยราชประเพณี
    ดำรงด้วยดีในเบญจศีลให้เป็นคุณสมบัติในพระองค์

    ๓. บริจาคะ ได้แก่ การเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    พระมหากษัตริย์จะทรงสละบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นต้น ตลอดจนความสุขส่วนพระองค์เพื่อความสุขของประชาราษฎร์
    ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

    ๔. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน พระมหากษัตริย์จะทรง
    มีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยความซื่อตรง ดำรงในความสัตย์สุจริตต่อพระราชสัมพันธมิตร และพระราชวงศานุวงศ์
    ข้าทูลละอองพระบาททั้งปวงไม่ทรงคิดลวงประทุษร้ายโดยอุบายอยุติธรรม

    ๕. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัย พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงดื้อดึงถือพระองค์ด้วยอำนาจมานะ เมื่อมีผู้กราบทูล
    ตักเตือนโต้แย้งด้วยข้ออรรถข้อธรรมที่กอปรด้วยเหตุผลซึ่งเป็นวิสัยของบัณฑิตชนกมิได้ทรงห้ามปรามคัดค้าน ทรงวิจารณ์โดยถ้วนถี่
    ถ้าดีชอบก็ทรงยินดีด้วยแล้วทรงอนุวัตรตามโดยไม่ทรงถือพระองค์ด้วยอำนาจมานะ ไม่ทรงเย่อหยิ่งหยาบคายกระด้าง ถือพระองค์ มีความงามสง่าอันเกิดจากท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัย และเจริญโดยคุณ

    ๖. ตปะ ได้แก่ การบำเพ็ญความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน และความชั่ว พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งพระราชหฤทัย
    กำจัดความเกียจคร้านและการทำผิดหน้าที่ ทรงตั้งพระราชอุตสาหะวิริยภาพปฏิบัติพระราชกรณียะให้เป็นไปด้วยดีเพื่อคุ้มครอง
    ไพร่ฟ้าประชาชน

    ๗. อักโกธะ ได้แก่ การไม่เกรี้ยวกราด ไม่วินิจฉัยข้อความและกระทำด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจ พระมหากษัตริย์
    จะต้องทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยพระเมตตาไม่ทรงปรารถนาก่อเวรก่อภัยให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ทรงพระพิโรธด้วยเหตุที่ไม่ควร แม้จะมีเหตุที่ให้ทรงพิโรธก็จะทรงข่มเสียให้สงบระงับอันตรธาน และทรงปฏิบัติด้วยพระสติรอบคอบ

    ๘. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์
    ผู้ใดด้วยความอาฆาตเกลียดชัง พระมหากษัตริย์จะต้องทรงมีพระราชอัธยาศัยกอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงปรารถนาก่อโทษ
    ก่อทุกข์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ทรงเบียดเบียนพระราชวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทและอาณาประชาราษฎร์ให้ลำบากด้วยเหตุอันไม่ควร ทรงปกครองประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

    ๙. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นต่อความโลภ ความทะเยอทะยานอยาก ได้ ความโกรธความพยาบาทมุ่งร้าย
    ความหลงงมงายพลงระเริงในอารมณ์ที่ยั่วให้เกิด ไม่ยอมละทิ้งกิจกรณีย์ที่ได้บำเพ็ญโดยชอบธรรม พระมหากษัตริย์ จะต้องทรงมีความอดทนอดกลั้นไม่หวั่นไหวต่อความโลภ ความโกรธ และความหลงที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ ทรงมีความอดทน
    ต่อเวทนามีเย็นร้อนเป็นต้น ทรงอดทนต่อถ้อยคำที่มีผู้กล่าวชั่ว ทรงรักษาพระราชหฤทัยและพระอาการกายวาจาให้สงบเรียบร้อย

    ๑๐. อวิโรธนะ ได้แก่ การวางตนให้เป็นหลัก หนักแน่น สถิตมั่นในธรรมทั้งส่วนยุติธรรม และนิติธรรม ไม่มีความเอนเอียง
    หวั่นไหวเพราะถ้อยคำดีร้ายลาภสักการะ อิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ โดยยึดถึงประโยชน์สุข และความดีงามของรัฐและราษฎร
    ์เป็นที่ตั้ง พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งอยู่ในขัตติยประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตร (ราชสังคหะ ๔ ประการ)
    นิติศาสตร์ และราชศาสตร์ทรงอุปถัมภ์ผู้ที่มีคุณความชอบ ทรงบำราบผู้ที่กระทำความผิดด้วยความเป็นธรรม ไม่ทรงอุปถัมภ์ยกย่อง
    หรือบำราบบุคคลด้วยอำนาจอคติ๔ ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ไม่ทรงหวั่นไหว สะทกสะท้านต่อโลกธรรม

    ในส่วนที่เกี่ยวกับราชสังคหะ หรือ การทำนุประชาราษฎร์ด้วยหลักธรรม ๔ ประการนั้น จะประกอบด้วย
    ๑. สัสสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามาถในเรื่องการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์

    ๒. ปุริสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประกอบ
    ราชกิจฉลองพระคุณทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยทรงยกย่องพระราชทานยศ ฐานันดร ตำแหน่งหน้าที่โดยสมควร
    แก่กุลวงศ์ วิทยาสามารถ และความชอบในราชการ

    ๓. สัมมาปาสะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการส่งเสริมอาชีพ เช่น การจัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม
    เกษตรกรรม หรือดำเนินกิจการต่างๆเพื่อมิให้บังเกิดช่องว่างในสังคมมากจนเกินไป

    ๔. วาจาไปยะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการใช้พระวาจาที่เตือนสติแก่ผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ดูดดื่มใจ
    รวมทั้งจะไม่ทรงรังเกียจเบื่อหน่ายที่จะทรงทักทายปราศรัยถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้นโดยสมควรแก่ฐานะ
    และภาวะ

    สำหรับจักรวรรดิวัตร หรือธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์ นั้น มีรายละเอียดครอบคลุม
    เรื่องที่เกี่ยวกับการปกครองไว้อย่างกว้างขวาง ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มีแนวทางปฏิบัติของพระมหากษัตริย์สำคัญที่น่าสนใจดังนี้

    ๑. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สมบัติของประชาชน

    ๒. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป ทรงแนะนำชักนำให้ประชาชน
    ตั้งอยู่ในกุศลสุจริตประกอบอาชีพโดยชอบธรรม หากชนใดไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะ จะพระราชทานทรัพย์
    เจือจานให้เลี้ยงชีพด้วยวิธีอันเหมาะสมไม่ให้แสวงหาด้วยทุจริต

    ๓. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงช่วยชีวิตของประชาชนในยามเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย ดินฟ้า
    อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาลรวมทั้ง โรคระบาด อัคคีภัย

    ๔. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างลึกซึ้ง ด้วยการผูกพระราชไมตรีสมานราชสัมพันธมิตร
    กับกษัตริย์ ประธานาธิบดีและผู้นำของประเทศต่างๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรอยู่รอดปลอดภัย

    ๕. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงส่งเสริมสิลปะและการศึกษารวมทั้งสุขภาพ อนามัย สุขาภิบาล ทรงให้ความช่วยเหลือ
    ทางการแพทย์ ปลดเปลื้องภาระคนยากจน ตลอดจนการกระทำอันเป็นบุญกุศลซึ่งได้แก่ การสร้างโรงพยาบาล บ้านพักคนชรา
    คนกำพร้า คนอนาถา เป็นต้น

    ๖. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอุปการะสมณชีพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ โดยพระราชทานไทยธรรม บริขารเกื้อกูล
    แก่ธรรมปฏิบัติ ฯลฯ หากได้นำพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติ ต่อส่วนรวม
    ต่อพสกนิกรประชาชนคนไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่วันที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินกว่าครึ่งศตวรรษ
    มาเปรียบเทียบกับหลักการปกครองและบริหารประเทศตามตำราอรรถศาสตร์ซึ่งถือเป็นตำรามาตรฐานในการปกครองและ
    บริหารประเทศตามอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณกาลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้อย่าง ชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติตามแนวทางเหล่านั้นมาโดยตลอด โดยไม่มี ขาดตกบกพร่องจากเลยแม้แต่ข้อเดียว
    ถึงแม้ว่า พระองค์ท่านจะมิได้ทรงมีโอกาสเข้ารับการศึกษา ตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ในตำราอรรถศาสตร์ดังกล่าวเช่นเดียวกับ
    เจ้าชายรัชทายาทอันเนื่องมาจากกาลเวลา และสภาพสังคมที่ได้ปลี่ยนแปลงไป กับการที่ต้องเสด็จขึ้นครองราชย์โดยกระทันหัน
    ด้วยเหตุการณ์ที่มิได้คาดคิด ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่า ถึงความเป็นพหูสูต ของพระองค์ท่านเท่านั้น
    ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่พระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ
    ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง ทรงมีความเป็นพหูสูต ในสาขาวิชาการต่างๆ และทรงมีพระมหากรุณาแก่พวกเราอย่างมากมาย
    เหลือคณานับ ดังนั้นใน วโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือวันพระบรมราชาภิเษกได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกร
    ประชาชนคนไทยตลอดไป


    *********************

    เอกสารอ้างอิง "ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ", ดนัย ไชยโยธา, บริษัทอักษรเจริญทัศน์ฯ
    เรียบเรียง ณ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๑






    ------------------------
    ที่มาของข้อมูล:สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา
    http://www.geocities.com/buddhistworld/page0106.html
     
  3. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    .

    ^^ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ ค่ะ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...