ธรรมสัญจร เล่ม 6

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 กันยายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE class=text border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD class=center>
    ธรรมสัญจร เล่ม ๖(๑)



    ธรรมสัญจร เล่ม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    สรรสาระธรรม....น่ารู้
    <o:p></o:p>


    ว่าด้วยเรื่อง......บันไดก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะ......
    <o:p></o:p>


    ภาคที่ ๑
    <o:p></o:p>

    .....บทกล่าวนำ......
    <o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    บันไดเบื้องต้น
    <o:p></o:p>
    ก่อนที่เราจะศึกษาวิธีการปฏิบัติ เพื่อก้าวเข้าสู่บันไดของความเป็นพระอริยะ ในระดับต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปในข้างหน้า ตามแต่ละขั้นตอนนั้น สิ่งสำคัญเบื้องต้นที่เราจะต้องคำนึงและนำมาเป็นข้อปฏิบัติ อีกทั้งควบคุมอารมณ์ใจให้ทรงตัว มิให้เสื่อมถอยลงไปจากเดิม ซึ่งความสำเร็จของมรรคผลจะเกิดขึ้นโดยยาก หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ความสำเร็จต่าง ๆ ที่ท่านต้องการจะไม่มีผลเลย ถ้าขาดข้อปฏิบัติ และขาดการเข้าถึงคุณธรรม ดังที่จะยกมากล่าวในระดับต่อไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ฝักใฝ่ในการปฏิบัติ และปรารถนาซึ่งความสำเร็จมรรคผล จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ พร้อมทั้งติดตามผล รวมทั้งคอยควบคุมกำลังใจ เพื่อก้าวเข้าสู่ความสำเร็จให้ได้ในที่สุด
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ในเบื้องต้น สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องนำมาใช้เพื่อควบคุมกำลังใจมิให้เสื่อมหรือท้อถอย คุณธรรมดังกล่าวก็คือ อิทธิบาท ๔ อันได้แก่
    <o:p></o:p>
    ๑. ฉันทะ ความพอใจในกิจที่เราจะพึงทำ<o:p></o:p>
    ๒. วิริยะ ความเพียรในการต่อต้านอุปสรรค<o:p></o:p>
    ๓. จิตตะ เอาจิตใจจดจ่ออยู่เสมอในกิจที่เราจะพึงทำ ไม่ละเลย ไม่ทำจิตให้เหินห่าง ไม่พลั้งไม่เผลอ จดจ่อจ้องอยู่เสมอว่า เราจะทำสิ่งนี้ให้ได้<o:p></o:p>
    ๔. วิมังสา ก่อนจะทำอะไรทั้งหมด ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญเสียก่อน ให้ทราบว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะมีผลดีผลชั่วประการใด และก็เลือกเอาในสายเฉพาะที่มีผลดีเท่านั้น ไม่เลือกในสายที่มีผลชั่ว<o:p></o:p>
    นอกจากนี้ บันไดเบื้องต้นที่จะต้องฝึกฝนและปลูกฝังให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ที่จำเป็นต้องกระทำให้เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งควบคู่กันก็คือ จรณะ ๑๕ ที่เป็นความประพฤติ อันได้แก่
    <o:p></o:p>
    ๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ศีลต้องไม่บกพร่อง เป็นจุดต้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการบวชเข้ามา ถ้าเรามีศีลไม่บริสุทธิ์เสียอย่างเดียว ก็ชื่อว่า การบวชเข้ามา เราไม่มีความดีอะไรเลย ถึงแม้ว่าจะเจริญสมาธิหรือวิปัสสนาญาณ ที่เราจะคิดว่า พอมีความดีที่จะคุ้มครองเราได้ ก็ต้องขอตอบว่า ศีลเป็นธรรมหยาบที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ของหยาบหยิบง่าย ถือง่าย เรายังหยิบไม่ได้ เรายังถือไม่ได้ เรายังรักษาไม่ได้ แล้วการเจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา ที่ท่านกล่าวว่ามีผล มันจะมีผลตรงไหน รวมความแล้วไม่มีอะไรเป็นผล เพราะอะไร เพราะว่าของหยาบเรายังรักษาไม่ได้ สมาธิเป็นของละเอียด ปัญญา วิปัสสนาญาณ เป็นของละเอียดจะมาได้อย่างไรกัน
    <o:p></o:p>
    ๒. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย เอาใจเข้าไปคุม อย่าไปยุ่งกับรูป อย่าไปยุ่งกับเสียง อย่าไปยุ่งกับกลิ่น อย่าไปยุ่งกับรส อย่าไปยุ่งกับการสัมผัส ใช้ขันติกับอุเบกขาในบารมี ๑๐ ถ้ามีอยู่แล้วมันทรงได้ และมีปัญญาอยู่แล้วมันทรงได้ ถ้ามีบารมี ๑๐ ของทั้งหลายเหล่านี้ไม่ยุ่ง
    <o:p></o:p>
    การระวังอินทรีย์ก็คือ ระวังใจนั่นเอง ไม่ต้องไปนั่งระวังอย่างอื่น รวมระวังใจของเราอย่างเดียวใช้ได้ ถ้าใจดีอย่างเดียว มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ไม่มีอะไรเป็นของดี มันเป็นของเลว ทั้งนี้เพราะว่า ในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเสื่อมไป และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ไม่ได้เป็นที่พึงที่อาศัยของเราอย่างจริงจัง ถ้าเราไปติดในรูป ติดในเสียง ติดในกลิ่น ติดในรส ติดในสัมผัส ก็แสดงว่าเราเป็นคนโง่ อารมณ์ของเราจมดิ่งอยู่ในด้านของอวิชชา คือไม่รู้ความจริง สภาวะอย่างนี้ จะเป็นชายหรือหญิง ภิกษุหรือสามเณรก็ตาม ถ้าติดอยู่ในสภาพอย่างนี้ นั่นก็หมายความว่า เราเป็นผู้ขาดทุน เกิดมาเป็นคนแล้วต้องกลับไปเกิดในนรกใหม่ ทั้งนี้เพราะ อารมณ์ใจที่จิตติดอยู่ในสภาวะทั้งหลายเหล่านี้ เป็นสภาวะจิตที่เต็มไปด้วยความมัวหมอง ถ้าพอใจในรูปสวย ถ้ารูปสวยสลายตัวไป จิตก็ไม่สบาย เพราะเสียดายในรูป พอใจในเสียงเพราะ ถ้าเสียงหายไปจากจิตใจก็ไม่สบาย เพราะเสียดายในเสียง พอใจในกลิ่นหอม ถ้ากลิ่นสลายตัวไปก็เสียใจ เสียดายในกลิ่น แม้แต่รสหรือการสัมผัสก็เช่นกัน ถ้าไม่ปรากฏอีก จิตใจก็กระวนกระวาย เศร้าหมอง มีความทุกข์ใจ หนักใจ แบบนี้เรียกว่าจิตเศร้าหมอง ก่อนตาย ถ้าจิตเศร้าหมอง ก็ต้องไปสู่ทุคติ<o:p></o:p>
    ดังนั้น อินทรียสังวร ขอบรรดาท่านทั้งหลายจงระมัดระวัง เพราะมันฆ่าความดี ถ้าติดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด ก็จะดึงเราไปสู่อบายภูมิได้เช่นกัน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น จะขอกล่าวอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจให้ง่ายขึ้นว่า อินทรียสังวร จงระมัดระวังตาอย่าติดในรูป นี่ว่ากันโดยธรรมะ จงอย่าเห็นรูปว่าเป็นของเที่ยง จงอย่าเห็นรูปว่าเป็นของดี ใช้ปัญญาเข้ามาสอนใจว่า รูปนี้มันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ รูปเต็มไปด้วยความสกปรก รูปก้าวเข้าไปหาความทรุดโทรม มีความสลายตัวไปในที่สุด อย่าไปยึดถือ อย่าไปต้องการอะไรกับรูป จะรูปผู้หญิง รูปผู้ชาย รูปคน รูปสัตว์ รูปวัตถุก็ตาม จงอย่าสนใจ อย่าติดใจในรูป แม้แต่เสียง กลิ่น รส ก็เช่นเดียวกัน นี่การสัมผัสก็เช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ไม่มีอะไรถาวร เสียงผ่านประสาทหูแล้วก็หายไป ผ่านไปแล้วเราจะเรียกเสียงนั้นกลับคืนมาอีกไม่ได้ จะเห็นว่าเสียงมันสลายตัวเร็ว กลิ่นก็เช่นเดียวกัน สัมผัสประสาทจมูกแล้วมันก็หายไป
    <o:p></o:p>
    เจ้ารสก็เหมือนกัน รสนี่เป็นเรื่องสำคัญใหญ่ คนเลว คนลงอบายภูมิเพราะรสนี่มาก มากกว่าอย่างอื่น ติดรสอย่างนั้น ติดรสอย่างนี้ แต่ความจริงรสทั้งหมดปรากฏว่ามาผ่านปลายลิ้นรู้สึกรส ถึงกลางลิ้นรู้สึกรส พอเลยลิ้นเลยกลางลิ้นไปแล้วไม่รู้สึก เป็นอันว่า ของที่มีรสดีหรือรสชั่วประการใดก็ดี ก็ไม่มีสภาวะจีรังยั่งยืน มันเลี้ยงกายไม่ได้นาน มันห้ามกายแก่ไม่ได้ มันห้ามกายป่วยไม่ได้ มันห้ามกายตายไม่ได้ จงอย่าติดในรส ถ้าเราจะกินอาหาร ก็พึงคิดว่า กินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น ไม่ใช่ว่ากินเพื่อการติดรสอาหาร
    <o:p></o:p>
    การสัมผัสก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การสัมผัสระหว่างเพศเป็นปัจจัยของความทุกข์ และการสัมผัสก็ไม่มีการทรงตัว สัมผัสวันนี้ดี สัมผัสวันพรุ่งนี้อาจจะไม่ดี แต่การสัมผัสนี้ไม่ได้ช่วยให้เราไม่แก่ ไม่ได้ช่วยให้เราไม่ป่วย ไม่ได้ช่วยให้เราไม่ตาย ไม่ได้ช่วยให้เรามีความสุข ผู้ที่ติดใจการสัมผัส เป็นผู้ดึงเอาความทุกข์เข้ามาประจำใจอยู่ตลอดเวลา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2010
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารแต่พอสมควร ไม่โลภในอาหาร ก่อนจะบริโภค ก็จะต้องพิจารณาเป็น อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นปกติ อย่าติดในรสอาหาร อย่าติดในสีอาหาร อย่าติดในกลิ่นอาหาร อย่ากินเพื่อความอ้วนพี อย่ากินเพื่อความผ่องใส อย่ากินเพื่อหมายจะยังกิเลสให้เกิดขึ้น แต่ควรกินเพื่อยังอัตภาพให้อยู่ ให้พิจารณาอยู่เสมอว่า เรากินเพื่อทรงอยู่ เพื่อความหลงไม่มี

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๔. ชาคริยานุโยค ประกอบด้วยความเพียรอยู่เป็นปกติ เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ เหมือนคนตื่นอยู่ หมายความว่า ขึ้นชื่อว่าความชั่ว เราจะเป็นผู้ตื่นอยู่ ระวังความชั่วเหมือนยามรักษาประตู ช่องทางที่ความชั่วจะไหลเข้ามาทางไหนก็ตาม ทางหู ทางตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เราจะไม่ยอมให้มันไหลเข้ามาทุกขณะจิต แปลว่า เป็นผู้ตื่นอยู่ โดยการระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด

    <o:p></o:p>
    นี่เป็นหมวดที่หนึ่ง มีทั้งหมด ๔ ข้อ สำหรับในหมวดที่สอง ท่านเรียกว่า สัจธรรม มี ๗ ข้อ คือ

    <o:p></o:p>
    ๕. ศรัทธา ความเชื่อ ต้องใช้ปัญญา อย่าเชื่อส่งเดช ใครสอนหรือแนะนำ ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เป็นเครื่องทบทวน ความเชื่อในพระพุทธเจ้ามีสมบูรณ์แบบ ไม่บกพร่อง ตามหลักสูตรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน ใช้ปัญญาพิจารณาดูว่า คำสอนนี่เป็นผลแห่งความดี เป็นผลแห่งความสุข หรือเป็นผลแห่งความทุกข์ เป็นเครื่องตัดกิเลสหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น กล่าวคือ เรามีความเชื่อในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนใดที่เป็นคำสั่ง พระองค์ห้าม เราไม่ปฏิบัติตาม ส่วนใดที่เป็นธรรม ที่เป็นความดีที่พระองค์สนับสนุน เราปฏิบัติตามให้สมบูรณ์ไม่บกพร่อง

    <o:p></o:p>
    ๖. หิริ ความละอายแก่ใจ อายต่อความชั่ว

    <o:p></o:p>
    ๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความผิดหรือความชั่ว จะให้ผลเป็นทุกข์

    <o:p></o:p>
    ๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือศึกษามามาก จำได้มาก ตั้งใจจำ จำแล้วก็ปฏิบัติตาม ที่ฟังมาก ศึกษามาก แล้วไม่ปฏิบัติตาม ไม่ใช้ปัญญาพิจารณา นี่มันแบบทรงความเป็นสัตว์นรกเข้าไว้ อันนี้ไม่ใช้

    <o:p></o:p>
    ๙. วิริยะ มีความเพียร มีแล้วในบารมี ๑๐ เพียรละความชั่ว เพียรทำลายความชั่วให้พินาศไป แล้วก็เพียรสร้างความดีให้เกิดขึ้น

    <o:p></o:p>
    ๑๐. สติ ระลึกได้ เราจะต้องมีเป็นปกติ ต้องมีสติอยู่เสมอ นึกไว้เสมอว่า เราต้องการพระนิพพาน

    <o:p></o:p>
    ๑๑. ปัญญา ความรอบรู้ มีไว้แล้วในบารมี ๑๐ รู้สภาวะตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ไม่มัวเมาในขันธ์ ๕ ตัดขันธ์ ๕ ทิ้งไป ใช้อารมณ์ตัดไว้เสมอ

    <o:p></o:p>
    จงใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์จิตว่า เวลานี้อารมณ์จิตของเรายังมีความผูกพันอยู่กับร่างกายหรือเปล่า ยังเห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเราหรือเปล่า หรือว่าเราไปพอใจร่างกายของบุคคลอื่นเขาหรือเปล่า ถ้าอารมณ์อย่างนี้มีอยู่ ก็แสดงว่าเราเลวเกินไป สำหรับในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว ไม่ฟัง ไม่ปฏิบัติตาม ต้องใช้ปัญญาพิจารณาตัวของตัวให้ดี<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับหมวดที่สาม ท่านกล่าวว่ามี ๔ ข้อด้วยกัน เนื่องด้วยฌาน เนื่องด้วยพวกรูปฌาน คือ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑<o:p></o:p>
    ๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒<o:p></o:p>
    ๑๔. ตติยฌาน ฌานที่ ๓<o:p></o:p>
    ๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔
    <o:p></o:p>
    ฌานทั้ง ๔ พยายามทรงไว้เสมอ เป็นปกติ
    <o:p></o:p>
    จรณะ ๑๕ ที่เป็นความประพฤติดังกล่าวทั้ง ๑๕ ข้อ นั้น ท่านที่ปฏิบัติเพื่อความดี หรือว่าภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ตลอดจนกระทั่งอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ทุกท่านมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทรงจรณะ ๑๕ ไว้เป็นเบื้องต้น ถ้าประกาศตนว่ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะต้องปฏิบัติเสมอกัน เป็นความประพฤติแต่เพียงเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรคผล เป็นแต่เพียงว่า ถ้าหากท่านทั้งหลายปฏิบัติได้ ท่านก็เรียกว่ากัลยาณชน คือเป็นคนดีตามคติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ยังไม่เรียกว่าอริยชน ทั้งนี้เพราะเป็นภาคพื้นเบื้องต้น ถ้าหากว่าท่านผู้ใดบกพร่องในจรณะ คือความประพฤติ ๑๕ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แสดงว่า ท่านทั้งหลายไม่ได้มีใจเข้าถึง คือไม่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง แล้วก็ไม่ได้หวังในความประพฤติดีประพฤติชอบจริง คำว่าปฏิบัติ ในที่นี้หมายถึงความระมัดระวังไม่ให้ใจของเราเข้าไปเกลือกกลั้วกับสิ่งที่เป็นอกุศล ที่จะเป็นผลเป็นปัจจัย เป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ได้แก่อบายภูมิ เป็นต้น กล่าวง่าย ๆ โดยสรุปก็คือ จรณะ ๑๕ เป็นกิจเบื้องต้นที่พวกเราจะพึงต้องปฏิบัติ ประพฤติให้ครบถ้วน
    <o:p></o:p>
    บันไดเบื้องต้นอีกประการหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องทำให้ครบถ้วน และทรงอารมณ์ใจให้เต็มไม่บกพร่อง ที่จะกล่าวถึงก็คือ บารมี ๑๐ นั่นเอง อันประกอบด้วย
    <o:p></o:p>
    ๑. ทานบารมี การให้ ทำไว้เสมอ ส่งเสริมด้วยจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นการตัดความโลภ
    <o:p></o:p>
    ๒. ศีลบารมี รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ส่งเสริมด้วยพรหมวิหาร ๔ เป็นคนตัดความโกรธ
    <o:p></o:p>
    ๓. เนกขัมมะ ข่มนิวรณ์ที่เกิดกับใจ ส่งเสริมด้วยการระงับนิวรณ์ ๕ เป็นเบื้องต้น เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
    <o:p></o:p>
    ๔. ปัญญาบารมี คือยอมรับความจริง ใช้ปัญญาพิจารณากายไว้เสมอ เป็นการตัดความโง่
    <o:p></o:p>
    ๕.วิริยะบารมี มีความเพียร หรือมีกำลังต่อต้าน ต่อสู้กับอุปสรรคด้วยชีวิต เป็นการตัดความขี้เกียจ
    <o:p></o:p>
    ๖. ขันติบารมี มีความอดกลั้น อดทนต่ออารมณ์ต่าง ๆ มีอารมณ์คิดต่อต้าน คิดต่อสู้ อารมณ์กิเลสที่เข้ามา เป็นการตัดความไม่รู้จักอดทน
    <o:p></o:p>
    ๗. สัจจะบารมี มีความจริงใจตั้งไว้เสมอ คิดว่าเราตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ เพื่อมรรคผลนิพพาน เป็นการตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
    <o:p></o:p>
    ๘. อธิษฐานบารมี ทรงอารมณ์ใจแน่นอน ไม่ย้ายไปสู่อารมณ์อื่น เป็นอารมณ์ที่สำคัญมาก ตั้งใจไว้อย่าให้ตก อย่าให้คลาย คิดว่าพระนิพพานเป็นของเราแน่ ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์ บริบูรณ์
    <o:p></o:p>
    ๙. เมตตาบารมี มีความรักอยู่เสมอ ไม่เป็นศัตรูกับใคร ทำกำลังใจให้ผ่องใส เป็นการสร้างความเยือกเย็นของใจ
    <o:p></o:p>
    ๑๐. อุเบกขา วางเฉย มันจะป่วยไข้ไม่สบายก็เฉย กระทบกระทั่งอารมณ์ประเภทใดก็เฉย เวลาต่อสู้อุปสรรค มันมีความเร่าร้อนขนาดไหนก็เฉย ต่อสู้มันยันตาย มีการวางเฉยในอารมณ์ปกติ และก็ใช้สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉยในขันธ์ ๕ เป็นเครื่องประคับประคอง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทั้งหมด ๑๐ ข้อ หรือเรียกว่า บารมี ๑๐ ในการปฏิบัติต้องคุมให้ทรงตัว เพราะคำว่า บารมี ก็คือกำลังใจ อย่าลืมว่า ความดีในพระพุทธศาสนานี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจอย่างเดียว คนถ้าตายไปแล้ว ที่เขาบอกว่าไปตกนรก ไปขึ้นสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน เขาไม่ได้ไปกันอย่างอื่น เขาเอาใจไปกัน เขาไปด้วยกำลังใจ เพราะฉะนั้น คำว่า บารมี ก็คือตัวขยัน กับตัวขี้เกียจนั่นเอง มีกำลังใจเต็มหรือไม่เต็ม มีกำลังใจเข้มแข็งหรือไม่ ที่มีกำลังใจเข้มแข็งก็คือคนขยัน คนที่มีกำลังใจอ่อนไปหน่อยก็คือคนขี้เกียจ ตัดสินใจตรงหรือไม่ตรง ทำถูกหรือไม่ถูก แล้วทำเฉพาะความดีหรือเปล่า ทำพอเหมาะพอดีหรือไม่ ถ้าทำเกินพอดีก็โง่ ถ้าหากว่าทำไม่ถึงดีก็โง่ ต้องเอากันแค่พอดี ตัวโง่ ก็คือตัว “อวิชชา” คำว่า “อวิชชา” ไม่ใช่แปลว่าไม่รู้ รู้เหมือนกัน แต่รู้ไม่ค่อยจะตรง รู้ไม่ค่อยหมด รู้ไม่ครบถ้วน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดังนั้น ถ้าบารมีอ่อน ก็แสดงว่ายังขี้เกียจมากเกินไป ไม่รู้จักควบคุมกำลังใจ ปล่อยไปตามสภาวะของกิเลส กำลังใจจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเกิดมาแล้วพบพระพุทธศาสนา ยังว่าบารมีอ่อนอีก ก็แสดงว่าขี้เกียจมากเกินไป ไม่รู้จักควบคุมกำลังใจ ปล่อยใจไปตามสภาวะของกิเลส ถ้านักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็นผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ดังที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า บุคคลใดมีบารมีเต็มแล้ว บุคคลนั้นองค์ประทีปแก้วตรัสว่า สามารถจะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน คือ เป็นพระอรหันต์ และก็ไปนิพพานได้ บารมี ๑๐ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาภิกษุสามเณร หรือว่าญาติโยมพุทธบริษัทชายหญิง จะต้องปฏิบัติให้ได้ ไม่ให้บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ไม่พ้นทุกข์ ถ้าทำได้ก็พ้นทุกข์<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บารมีจึงเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างได้ ที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ให้เราสร้างให้มันเต็มนั้น ก็คือสร้างกำลังใจ ปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ เราก็มาวัดดูกำลังใจของเราว่าอยู่ในระดับใด เพราะการสร้างบารมีก็มีอยู่ ๓ ขั้นด้วยกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขั้นที่ ๑ บารมีต้น<o:p></o:p>
    ก็จะขอเรียงกำลังบารมีให้ฟังสักนิดหนึ่ง บารมีนี่มี ๑๐ แบ่งเป็น ๓ ขั้น จึงเรียกบารมี ๓๐ แต่ความจริงก็มี ๑๐ อย่าง บารมีต้น พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บารมีเฉย ๆ บารมี ท่านแปลว่า เต็ม แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ควรจะแปลว่า กำลังใจเต็ม
    <o:p></o:p>
    ถ้าคนที่มีบารมีต้นยังมีการบกพร่องในศีลอยู่มาก ถ้าบังเอิญบารมีต้นเต็มจะเคร่งครัดในศีล เริ่มมีการเคร่งครัด ก็ยังมีการพลาดอยู่ เพราะยังไม่เป็นพระโสดาบัน แต่ทว่า เราจะชวนให้ทาน ชวนรักษาศีลเขาทำได้ ถ้าชวนเจริญกรรมฐาน พวกนี้บอกไม่ไหว กำลังใจไม่พอที่จะเจริญกรรมฐาน แม้แต่กรรมฐานเบื้องต้นเขาก็ไม่ไหว คือพอใจขั้นศีลกับทาน
    <o:p></o:p>
    ขั้นที่ ๒ อุปบารมี<o:p></o:p>
    พอบารมีอย่างกลางที่เรียกว่าอุปบารมี อุป แปลว่า เข้าไปใกล้มั่น คือว่าเข้าไปใกล้จะเข้าเขตนิพพาน ท่านที่มีบารมีเป็นอุปบารมี นี่พร้อมในการเจริญกรรมฐาน พร้อมในการทางฌานโลกีย์ แต่ว่าถ้าแนะนำว่าปฏิบัติอย่างนี้ไปนิพพานได้ เขาบอกว่าไม่ไหว ฌานโลกีย์พร้อม แต่ว่าทำเพื่อไปนิพพานทำไม่ได้ ทำไม่ไหว กำลังใจไม่พอ คือจะพอใจแค่ฌานสมาบัติ
    <o:p></o:p>
    ขั้นที่ ๓ ปรมัตถบารมี<o:p></o:p>
    ทีนี้ถ้าบารมีของบุคคลใดเป็นปรมัตถบารมี อันดับแรกจะยังไม่เข้าใจเรื่องนิพพาน หรือความเข้าใจว่านิพพานสูญ อาจจะขี้เกียจไป ต่อ ๆ มาเริ่มมีความเข้าใจนิพพานขึ้น คิดว่านิพพานเป็นแดนของความสุข เราต้องการนิพพานโดยเฉพาะ นี่เป็นปรมัตถบารมี ก็เป็นอันว่า ถ้าถึงปรมัตถบารมี จะพอใจพระนิพพาน อันนี้เราก็ต้องไปวัดกำลังใจของเราเองว่า พอใจในระดับหรือขั้นใด ถ้าหากว่าเรามีบารมีถึงขั้น “อุปบารมี” เราก็เร่งรัดเป็น “ปรมัตถบารมี” ได้ ไม่ใช่ต้องจมอยู่แค่นั้น มันสามารถสร้างต่อไป ที่ท่านเรียกว่า บารมี ๓๐ ประการ คนที่จะเป็นพระอรหันต์ได้ ต้องมีบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ครบถ้วน และถึงขั้นที่สุดเต็มอัตรา
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น คนที่มีบารมีต้นนี่จะเก่งแค่ทานกับศีลเป็นอย่างเก่ง ถ้าอุปบารมีก็จะเก่งแค่ฌานสมาบัติ จิตใจพอใจมาก แต่พูดเรื่องนิพพานไม่เอา แต่คนที่มีบารมีเข้าถึงปรมัตถบารมีเท่านั้น จึงจะพอใจในพระนิพพาน อย่างถ้าเรามีแค่เพียงอุปบารมี ก็เกิดเป็นเทวดาและพรหมนับไม่ถ้วนอยู่แล้ว ถ้าเป็นปรมัตถบารมียิ่งหนักมากขึ้น เป็นอันว่าอุปสมานุสสติ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ คือนึกไว้ว่าเราเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็หาที่สุขไม่ได้เหมือนกัน คือมันไม่จบ เป็นเทวดา ไม่อยู่เป็นเทวดาตลอดไป เป็นพรหมก็ไม่ได้อยู่เป็นพรหมตลอดไป เมื่อหมดบุญวาสนาบารมี ก็ต้องลงจุดที่ดีที่สุด มีจุดเดียวคือนิพพาน เราต้องการไปนิพพาน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น เนื่องจากบารมี ๑๐ เป็นเครื่องมือสำคัญมาก หรือเป็นบันไดสำคัญในการก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะบุคคล ตามแต่ละขั้นได้ จึงขอนำรายละเอียดยกมาอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อง่ายในการศึกษาและปฏิบัติ ดังรายละเอียดที่จะขอยกมากล่าวต่อไปนี้<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บารมี ๑๐<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    บารมี นี่เขาแปลตามภาษาบาลีแปลว่า เต็ม แต่เนื้อแท้จริง ๆ ต้องใช้กำลังใจให้เต็ม ไม่ใช่เอาวัตถุมาเต็ม คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ทานบารมี จิตใจของท่านพร้อมแล้วหรือยังที่จะให้ทานตามความสามารถ เพราะการให้ทานนี่เป็นการทำลายโลภะ ความโลภ
    <o:p></o:p>
    ๒. ศีลบารมี ศีลของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่องหรือเปล่า ทุกวันท่านพิจารณาศีลของท่านหรือเปล่าว่าครบถ้วนไหม
    <o:p></o:p>
    ๓. เนกขัมมบารมี การถือบวช การถือบวชในที่นี้ก็หมายถึงว่าเป็นการระงับนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทะ เห็นรูปสวยเสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสที่ต้องการการมั่วสุมไปด้วยกามารมณ์เป็นโทษ มันเป็น อนิจจัง ไม่มีการทรงตัว รูปมันสวยไม่จริง สวยนิดหนึ่ง แล้วแก่ไปเสื่อมไปทุกวัน เสียงผ่านหูแล้วก็หายไป กลิ่นหอมกระทบจมูกแล้วก็หายไป สัมผัสที่เรานึกว่าดี ความจริงมันเป็นปัจจัยนำโทษมา นี่หมายถึงว่าสัมผัสระหว่างเพศมันนำโทษมาให้ หากต้องการสัมผัสแบบนั้น งานมาก งานมันก็เกิดขึ้นมาก กำลังใจก็ต้องรักษาไว้ซึ่งกันและกัน ต้องเอาใจคนโน้น ต้องเอาใจคนนี้ หนักใจมาก
    <o:p></o:p>
    ๔. ปัญญาบารมี นี่เราเห็นหรือยังว่าการเกิดเป็นทุกข์ เกิดมาแล้วนี่ภาระต่าง ๆ เต็มไปหมด ที่พูดไปแล้วนี่มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น หาความสุขไม่ได้ ถ้าเราจะสุขได้จริง ๆ ก็ต้องวางการเกิด คือ วางขันธ์ ๕ นี่เป็น ปัญญาบารมี
    <o:p></o:p>
    ๕. ทีนี้วิริยบารมี ได้แก่ความเพียร เรามีความเพียรครบถ้วนแล้วหรือยัง คือใช้กำลังใจเป็นสำคัญ ไปหักห้ามความชั่วไม่ให้เข้ามายุ่งกับใจ
    <o:p></o:p>
    ๖. ทีนี้มาขันติบารมี แปลว่า ความอดทน การกระทำความดีที่ฝืนอารมณ์เดิม ต้องอดทน เพราะใจมันคอยจะต่ำ มันคบกิเลส ตัณหา อุปาทาน คือมีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่เราก็พิจารณาเห็นว่า ความรักก็เป็นโทษ ความโกรธก็เป็นโทษ ความหลงก็เป็นโทษ ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นโทษ เราจะฝืนกำลังใจที่มันคบกันมานานแล้ว เราก็ต้องใช้ความอดทน ไม่อย่างนั้นเราก็จะทรงตัวอยู่ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    ๗. ต่อไป สัจจบารมี ความจริงใจ ที่เราตั้งใจจะห้ำหั่นกิเลสทั้ง ๓ ประการให้มันสิ้นไป เราจะไม่ละความพยายามทรงสัจจะเข้าไว้ จะไม่ยอมทิ้งสัจจะคือความจริงใจ แต่ว่าการรักษาสัจจะต้องให้มันพอดีพอควร อย่าทำเกินพอดี การนั่งกรรมฐานเครียดเกินไป พระพุทธเจ้าไม่ใช้ ใช้อารมณ์ย่อหย่อนเกินไปไม่ใช้ ใช้อารมณ์แค่พอดี ๆ เพื่อรักษาอาการของขันธ์ ๕ ให้ปกติ
    <o:p></o:p>
    ๘. และต่อไป อธิษฐานบารมี อธิษฐานต้องตั้งใจไว้เลยว่า การปฏิบัติแบบนี้ เราต้องการพระนิพพาน ไม่ใช่สักแต่เพียงว่า ทำเป็นแค่อุปนิสัย ถ้าอารมณ์คิดว่าเป็นแค่อุปนิสัย มันขี้เกียจง่าย ตั้งใจไว้เฉพาะว่า ชาตินี้ทั้งชาติ อย่างเลวที่สุดเราจะเป็นพระโสดาบันให้ได้
    <o:p></o:p>
    ๙. และอีกอันหนึ่งคือ เมตตาบารมี เมตตาบารมีตัวนี้ก็เป็นตัว ตัดโทสะ ความพยาบาท ที่เป็นกิเลสตัวสำคัญ
    <o:p></o:p>
    สำหรับ ปัญญาบารมี นั้น ตัดโมหะ
    <o:p></o:p>
    ๑๐. อุเบกขาบารมี ทรงอารมณ์เฉย ในเมื่อกฎของกรรมที่เราทำไว้เป็นอกุศลในชาติก่อนที่เราทำมันมาให้ผล เราก็มีอารมณ์สบาย อะไรมันจะเกิดแก่เราบ้าง เราก็สบาย ที่เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ คือร่างกายมันจะแก่ เราก็สบาย เฉย...เรารู้ว่าจะแก่ ถ้ามันจะป่วย ใจเราก็สบาย เพราะรู้ว่ามันจะป่วย รักษาตัวเหมือนกัน หายก็หาย ตายแหล่ช่างมัน! ของรักของชอบใจที่จะต้องพลัดพรากจากกัน เรารู้ว่านี่เป็นธรรมดา อารมณ์ใจก็เฉย สบาย..เพราะรู้ว่าเป็นธรรมดา มันจะจากไปเราก็ห้ามมันไม่ได้ คนที่รักกันกับเราเขาประกาศเป็นศัตรู ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเขากับเรายังมีกิเลสกัน ต่างคนต่างมีกิเลส เขาจะไปมันเป็นเรื่องของเขา เราไม่ตาม ถ้าเขาจะมาเราก็ไม่ปฏิเสธ พร้อมยอมรับ ใจสบายเป็นอุเบกขาบารมี ร่างกายมันจะตายจะพังก็ช่าง จัดเป็นอุเบกขาบารมี<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำลังใจ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    รวมความว่า บารมีทั้ง ๑๐ ประการ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. จิตพร้อมจะให้ทาน<o:p></o:p>
    ๒. จิตทรงศีลอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    ๓. เราพร้อมที่จะระงับนิวรณ์ ๕ ประการ<o:p></o:p>
    ๔. เรามีปัญญาที่จะรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎของธรรมดา มีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาเป็นปกติ<o:p></o:p>
    ๕. เรามีความเพียรเพื่อจะทำลายกิเลสให้พินาศไป<o:p></o:p>
    ๖. เรามีขันติคือความอดทน ทนต่อการฝืนอารมณ์ เพราะอารมณ์มันคอยต่ำ เราจะดึงขึ้นสูง มันก็จะคอยลงต่ำ ต้องทนดึงเข้าไว้<o:p></o:p>
    ๗. สัจจะ เมื่อตั้งใจว่าจะทำลายกิเลสแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำลายกิเลสกันเรื่อยไป ไม่ถอยหลัง<o:p></o:p>
    ๘. อธิษฐาน ตั้งอารมณ์ไว้ตรงว่า เราจะเข้าไปหาพระนิพพานให้ได้ จะไม่ยอมถอยหลัง จับจุดไว้จุดเดียวเท่านั้น<o:p></o:p>
    ๙. เมตตา ประกาศตนเป็นคนมีความรักปรารถนาในการสงเคราะห์คนทั้งหมดและสัตว์ทั้งหมด ไม่ถือว่าใครเป็นศัตรูร้ายของเรา<o:p></o:p>
    ๑๐. อุเบกขา มีความวางเฉย วางเสียได้เมื่อกฎของกรรมจะเข้ามาสนองตน
    <o:p></o:p>
    สรุปแล้วก็คือ ถ้าจะทำจิตของเราให้ทรงอารมณ์เป็นพระนิพพานจริง ๆ ขอบรรดาท่านภิกษุ สามเณร และท่านพุทธบริษัทชายหญิง จงพยายามทรงอารมณ์ บารมี ๑๐ ประการ ไว้ให้ครบถ้วน อันนี้ทิ้งไม่ได้
    <o:p></o:p>
    เกาะบารมี ๑๐ ประการ ว่าสิ่งไหนบ้างที่ยังไม่มีสำหรับเรา เรายังบกพร่อง อย่าให้บกพร่อง และใช้กำลังสมาธิควบคุมให้ทรงตัว ให้มีกำลัง จรณะ ๑๕ ที่เป็นกำแพงกั้นที่จะไม่ให้เราตกอยู่ในสภาวะของความชั่วแห่งจิต
    <o:p></o:p>
    อีกประการหนึ่ง กำลังที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรว่าจะเป็นเครื่องสนับสนุนให้เราเข้าถึงความสุข นั่นคือ อิทธิบาท ๔ รวมความว่า ถ้าเราต้องการพระนิพพาน คุณธรรมทั้ง ๓ ประการ นี้อย่าให้พลาดจากจิต ต้องทรงกำลัง ๓ ประการให้ทรงตัว
    <o:p></o:p>
    จึงขอย้ำว่า ถ้าอิทธิบาท ๔ มีครบถ้วน จรณะ ๑๕ ประการของบรรดาท่านทั้งหลายก็จะครบถ้วนด้วย แล้วก็สามารถจะควบคุมบารมี ๑๐ ประการให้ทรงตัว อาการทั้ง ๓ อย่างที่กล่าวมานี้ ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย จงทรงให้ครบถ้วน อย่าให้บกพร่องเป็นอันขาด ถ้าขืนปล่อยให้บกพร่องแล้ว ท่านก็จะเสียใจมาก ทั้งนี้ เพราะอะไร เพราะว่าถ้าปล่อยให้อาการทั้ง ๓ นี้บกพร่อง ความสำเร็จต่าง ๆ ที่ท่านต้องการจะไม่มีผลเลย เป็นพระก็จะไม่มีผลในด้านความเป็นพระ เป็นฆราวาสก็จะไม่มีผลในการงานที่ท่านจะพึงทำ ท่านทั้งหลายจะต้องเป็นเหยื่อของอบายภูมิ เพราะมีกำลังใจไม่ครบถ้วน เป็นอันว่าต้องพยายามควบคุมให้ทรงตัว<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายก่อนจะหลับหรือว่าตื่นใหม่ ๆ จงทบทวนจรณะ ๑๕ และบารมี ๑๐ ประการว่า สิ่งใดในทั้ง ๒๕ ประการนี่เราบกพร่องบ้าง แล้วก็ตรวจดูอิทธิบาท ๔ ว่า เราบกพร่องบ้างหรือเปล่า ถ้าบกพร่องก็แสดงว่าเราเป็นผู้ขาดทุนในวันนั้น แล้วก็พยายามตั้งใจรวบรวมกำลังใจ คิดว่าจะรักษาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมด ให้อยู่ครบถ้วนตามกำลังใจของเราให้ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทีนี้ต่อไป เราก็หาทางดับกิเลส ดับมากไม่ได้ เราก็ดับทีละน้อย ค่อย ๆ ดับ ถ้าเราค่อย ๆ ดับ แล้วก็ดับบ่อย ๆ กิเลสมันก็ดับหมดเหมือนกัน ส่วนใดที่มันดับไปแล้วก็ให้มันดับไปเลย อย่าให้มันเกิดขึ้นมาใหม่
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    และวิธีที่เราจะสกัดกั้นการเกิดให้น้อยลงก็ดี หรือว่าจะตัดการเกิดให้หยุดไปเข้าถึงนิพพานก็ดี พระพุทธเจ้าบอกว่ามีกฎอยู่ ๑๐ อย่าง ที่เราเรียกว่า บารมี ๑๐ ตามที่กล่าวมาละเอียดข้างต้นนั่นเอง ก็รวมความว่า การบำเพ็ญบารมีนั้น เราทำอย่างใดอย่างหนึ่ง บารมีทั้ง ๑๐ ต้องรวมตัวกัน ถ้าขาดบารมี ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง บารมีข้อนั้นเราทำไม่ได้เลย บารมีทั้ง ๑๐ จึงต้องครบถ้วน กำลังใจต้องครบถ้วน ถ้าตั้งใจจะปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ ทุกคนต้องพยายามรักษาบารมีทั้ง ๑๐ ประการให้ครบถ้วน ให้ทรงกำลังใจอยู่เสมอ ตั้งใจคิด มีอธิษฐานบารมีและสัจจะบารมีให้ทรงตัว ว่าวันนี้บารมีทั้ง ๑๐ ประการนี่เราจะไม่บกพร่อง ต้องทำอย่างนี้ทุกวัน ใหม่ ๆ มันเผลอ ต่อไปนาน ๆ เข้าไม่เผลอ ถ้าไม่เผลอ ขั้นแรกอาจจะเป็นบารมีอย่างอ่อน พอมันชินหนักเข้ามันก็ขึ้นมาทุกที ๆ ก็เข้าถึงขั้นกลาง ในขั้นสุดท้าย เมื่อเราชินจากอารมณ์ที่ทรงตัว ก็เป็นปรมัตถบารมี ถ้าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ครบถ้วน เป็นปรมัตถบารมี ทุกคนถ้าอยากไปนิพพานเป็นของไม่ยาก เพราะว่าถ้าบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการเป็นปรมัตถบารมี ถ้าเป็นฆราวาส ถ้าถึงอายุขัยเมื่อไรก็เป็นพระอรหันต์เมื่อนั้น
    <o:p></o:p>
    ที่กล่าวมาแล้วเป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่นักปฏิบัติ ซึ่งจะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะจะต้องมี ไม่ว่าจะเป็นอิทธิบาท ๔จรณะ ๑๕ หรือ บารมี ๑๐ ดังที่อธิบายมาอย่างละเอียดแล้วนั้น ก่อนที่เราจะก้าวเข้าสู่บันไดของความสำเร็จในขั้นต่อไป สิ่งสำคัญที่เราจะต้องศึกษาและจำเป็นจะต้องนำเครื่องมืออีกตัวหนึ่ง นำมาเทียบเคียงผลของการปฏิบัติ ซึ่งถ้าขาดสิ่งที่กล่าวนี้แล้ว เราก็ไม่สามารถจะวัดผลของการปฏิบัติ หรือรู้ถึงขั้นบันไดที่เราจะก้าวต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้ สิ่งดังกล่าวก็คือ “สังโยชน์ ๑๐” นั่นเอง ในเบื้องต้น ก็จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการก้าวเข้าสู่บันไดในขั้นต่อไป ซึ่งในทุกบททุกตอนที่จะไปสู่ความเป็นพระอริยะบุคคลนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านการเทียบเคียงจากสังโยชน์ ๑๐ ทั้งสิ้น<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำว่า สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่เป็นเครื่องร้อยรัดใจให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ การเจริญพระกรรมฐาน สิ่งที่เรามุ่งหมายจริง ๆ ก็คือ ตัวตัดกิเลส หรือว่าตัวบรรเทากิเลส และกิเลสที่เราจะตัดจริง ๆ ในการเจริญพระกรรมฐาน มีอยู่ ๑๐ อย่าง “สังโยชน์ ๑๐” จึงเป็นตัวกิเลสที่ตัดเพื่อความเป็นพระอริยเจ้า ถ้าเราเจริญสมาธิก็ดี วิปัสสนาญาณก็ดี โดยที่เราไม่รู้จัก “สังโยชน์ ๑๐” มันบรรลุยากเต็มที การบรรลุเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง ต้องตัดตัวต้นเสียก่อน ต้องเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต่ำก่อน ถ้าเป็นไปตามลำดับอย่างนี้จะไม่ยาก และก็จะถึงจุดหมายปลายทางง่าย นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่า เราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง


    สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อยปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล เครื่องวัดอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบท่านสอน เอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐ ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหาข้ออื่น ทำอย่างนี้จะได้ผลเร็ว เพราะถ้าข้อต้นชนะแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะก็ข้อต้นนี่แหละ เพราะเป็นของใหม่ และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าสังโยชน์ ๑๐ ประการ ยังละไม่ได้หมด เรายังไม่ใช่คนดี อย่าถือตัวถือตนว่าเคยเป็นอะไรมา เคยศึกษามาจากที่ไหน มีความรู้ขนาดไหน จงเอาใจไปวัดใจของเราว่า สังโยชน์ตัวใดบ้างที่อยู่ในจิตของเรา ถ้ายังปรากฏว่ามีสังโยชน์ตัวใด ข้อใด ที่ใจเรายังข้องอยู่ จงทราบว่าเรายังเลวอยู่มาก ฉะนั้น ต้องสังวรในเรื่องนี้ให้ดี เพราะการเจริญพระกรรมฐานไม่ได้มุ่งเอาที่ได้ฌานสมาบัติเป็นจุดสำคัญ เหตุเพราะฌานสมาบัติต้องอาศัยร่างกาย บางวันถ้าร่างกายดี ฌานก็ทรงตัวดี แต่ถ้าวันนี้ร่างกายไม่ดี ฌานก็ทรงตัวน้อยหรือไม่ทรงตัวเลย สิ่งสำคัญที่เป็นจุดมุ่งหมายก็คือ ตัวตัดกิเลส หรือว่าตัวบรรเทากิเลส และกิเลสที่เราจะตัดจริงในการเจริญพระกรรมฐาน ก็มีอยู่ ๑๐ อย่าง ที่เรียกว่า สังโยชน์ ๑๐ ดังที่เราจะขอกล่าวดังนี้
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดใจ มี ๑๐ อย่าง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๑. สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
    <o:p></o:p>
    ๒. วิจิกิจฉา สงสัยไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เช่น พระพุทธเจ้าบอกว่าสวรรค์มี นรกมี เราไม่เชื่อ หรือเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่มีความสงสัย ตายแล้วมีสภาพไม่สูญ เราก็ไม่แน่ใจ เพราะเห็นว่า คนตายแล้วไม่มีใครกลับมา ก็คิดว่าสูญ
    <o:p></o:p>
    และประการที่ ๓ สีลัพพตปรามาส รักษาศีลไม่จริงจัง มีความบกพร่องในศีล
    <o:p></o:p>
    ๔. กามฉันทะ มีจิตหมกมุ่นในกามารมณ์
    <o:p></o:p>
    ๕. ปฏิฆะ มีอารมณ์โกรธ
    <o:p></o:p>
    ๖. รูปราคะ หลงในรูปฌาน
    <o:p></o:p>
    ๗. อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน อย่างที่เราเจริญกรรมฐานกันน่ะ พอถึงฌานแล้วก็หลงอยู่ในฌาน ไม่ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาตัดกิเลส มัวป้วนเปี้ยนอยู่แค่ฌาน อย่างนี้เรียกว่าหลง
    <o:p></o:p>
    ๘. มานะ การถือตัวถือตน
    <o:p></o:p>
    ๙. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    <o:p></o:p>
    ๑๐. อวิชชา มีความเข้าใจว่าโลกนี้น่าอยู่ โลกนี้น่ารัก เทวโลก และพรหมโลก น่าอยู่น่ารัก นี่เป็นความรู้ไม่จริง<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีตัดก็ตัดสังโยชน์ ให้มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ข้อที่ ๑
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ข้อที่ ๒ ใช้ปัญญาพิจารณาความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๓ ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๔ เจริญอสุภกรรมฐาน พร้อมกับกายคตานุสสติร่วมกัน เพื่อตัดกามฉันทะ
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๕ ปฏิฆะ ใช้เจริญพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔ เป็นเครื่องตัด
    <o:p></o:p>
    ทีนี้ข้อที่ ๖ ข้อที่ ๗ อันนี้ไม่ยาก คนที่มีปัญญาถึงขั้นอนาคามีแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องแนะนำ คือเขาไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน หวังนิพพาน
    <o:p></o:p>
    แล้วต่อไปก็ตัดมานะ การถือตัวถือตน คือว่าเรากับเขาเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน และตัดความฟุ้งซ่าน ความหวังอย่างอื่นไม่มี มีเฉพาะนิพพานอย่างเดียว ตัดอวิชชา เห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกไม่ดี ไม่พ้นทุกข์จริง ไม่ช้าก็กลับมาทุกข์ใหม่ ก็หวังนิพพานอย่างเดียว
    <o:p></o:p>
    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหมด ทั้งชายทั้งหญิง กว่าที่เราจะฝึกกันมาก็หลายปี จนกระทั่งถึงขั้นพระพุทธเจ้าให้แนะนำเฉพาะสังโยชน์ นี่ก็ต้องถือว่าบุคคลทั้งหมดมีบารมีดีแล้ว พร้อมแล้ว พร้อมที่จะไปนิพพานได้ ในเมื่อมีกำลังพร้อมแล้วก็เข้าเรื่อง ตัด คำว่าพร้อมก็หมายความว่า ฝึกมีกำลังพอ พอที่จะห้ำหั่นกิเลสได้บ้างเป็นตอน ๆ กิเลสนี่ต้องตัดเป็นตอน ๆ ไป ไม่ใช่ตัดทีเดียวหมดเป็นพระอรหันต์ ถ้าคิดตัดทีเดียวหมดเป็นพระอรหันต์เป็นของยาก หนัก ในที่สุดก็เป็นไม่ได้ อย่างที่เราจะฝึกกัน ตามตำราว่าใช้วิปัสสนาญาณ ๙ วิปัสสนาญาณ ๙ นี่เมื่อดูกันแล้ว เขาเริ่มฝึกตั้งแต่พระโสดาบันจนเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจ มันจะหนักใจมาก สู้มาไล่เบี้ยตามสังโยชน์ไม่ได้ ตามขั้นตอนว่า ตอนนี้เป็นตอนของพระโสดาบัน ตอนนี้เป็นตอนของพระสกิทาคามี เอาตอนนี้ก่อน อย่างน้อยที่สุด ถ้าเราเป็นพระโสดาบันก็ดี เป็นพระสกิทาคามีก็ดี บาปทั้งหมดไม่มีโอกาสให้ผล และก็สามารถจะเย้ยอบายภูมิได้ ว่าอบายภูมิทั้งหมด จะเป็นนรกก็ดี จะเป็นเปรตก็ดี จะเป็นอสุรกายก็ดี จะเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี จะไม่มีสำหรับเราอีกต่อไป เราก็มีความหวังว่า ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ เราก็พักที่สวรรค์บ้าง ที่พรหมโลกบ้าง และก็ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องกลับมาเกิดใหม่ เพราะว่าในกัปนี้ยังมีพระพุทธเจ้ามาอีก ๖ องค์ พระศรีอาริย์ เป็นองค์ที่ ๕ เมื่อชุดที่หนึ่งหมดไปแล้ว ต่อไปชุดที่สองก็มา มีพระรามขึ้นต้น มีช้างปาลิไลยกะเป็นองค์สุดท้าย อีก ๕ เหมือนกัน ถ้าเราไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า ๒-๓ ครั้ง ถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้ว ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ๒-๓ องค์ ก็สามารถไปนิพพานได้โดยไม่ยากนัก<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เนื่องจากการตัด “สังโยชน์ ๑๐” เป็นสิ่งสำคัญมาก ในการก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะ ถ้าเราไม่สามารถตัดกิเลสที่เป็นเครื่องร้อยรัดใจของเราได้แล้ว ความสำเร็จที่จะบรรลุธรรมหรือจะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะในขั้นใดก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย จึงเห็นความจำเป็นที่จะขออธิบายเรื่องนี้ซ้ำให้ละเอียด เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติในการตัดกิเลส ที่เป็นตัวสำคัญที่จะขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะในลำดับต่าง ๆ ดังนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สังโยชน์ ๑๐ ประการ
    <o:p></o:p>
    นักเจริญวิปัสสนาญาณจะรู้ตัวว่าได้อะไรหรือไม่ ท่านให้พิจารณาสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
    <o:p></o:p>
    หมายความว่าเราไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสใด ๆ ทั้งหมด เราไม่หลงใหลใฝ่ฝันอยู่ในขันธ์ ๕ คิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสมบัติของกิเลส และตัณหา เป็นแดนของความทุกข์ และสิ่งนี้มันจะพลัดพรากจากเรา ก็คือจิตมันจะแตกจะทำลาย มันจะป่วยไข้ไม่สบาย จะถูกอารมณ์ร้ายต่าง ๆ ของโลกเข้ามายั่วยวน เราก็ไม่หวั่นไหว คิดว่าเมื่อถึงกาลถึงสมัยมันก็ต้องพัง ห้ามปรามมันไม่ได้ กฎธรรมดาเป็นอย่างนั้น
    <o:p></o:p>
    ๒. วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระนิพพานไม่มี คิดว่าพระนิพพานมีจริง ผลของการปฏิบัติที่เราปฏิบัติอยู่นี่ ถ้าปฏิบัติจริง ๆ ต้องถึงพระนิพพานแน่นอน มีจิตตั้งมั่นอยู่อย่างนี้
    <o:p></o:p>
    ๓. สีลัพพตปรามาส การรักษาศีลให้เคร่งครัด ไม่ทำศีลให้ด่าง ให้พร้อย ให้ขาด ให้ทะลุ รักศีลยิ่งกว่ารักชีวิต
    <o:p></o:p>
    อาการ ๓ อย่าง คือ สังโยชน์ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นผลที่พึงได้จากอารมณ์วิปัสสนาญาณ เมื่อได้แล้วจะมีอาการอย่างใดก็ตามเข้ามายั่วยวน ทำให้เราหลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เสียดายในชีวิต เสียดายในร่างกาย คิดว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา ก็ไม่เกิด ใครจะมาทำให้จิตของเราให้คลายจากพระนิพพาน โดยพรรณนาว่า พระนิพพานไม่มีอะไรดี ไม่มีของน่าอยู่น่าชม เราก็ไม่เชื่อ เมื่อจิตใจใฝ่ฝันตั้งมั่นอยู่แล้ว ถึงแล้วว่าเราต้องการพระนิพพาน มีความมั่นคงอยู่อย่างนั้น
    <o:p></o:p>
    สีลัพพตปรามาส ใครจะมายั่วเย้าให้เราทำลายศีลแม้แต่หน่อยหนึ่งเราก็ไม่ทำ อย่างนี้เชื่อว่าท่านเป็นพระโสดาบันแน่ ก็หมายถึงว่า จิตที่ละได้อย่างนี้แล้วไม่กลับคืนมาอีก ไม่มีความเสียดายในชีวิต ไม่มีความเสียดายในทรัพย์สมบัติที่สูญสลายไป ไม่สงสัยในคุณพระรัตนตรัย คิดว่าพระนิพพานมีจริง ถ้าปฏิบัติแล้วต้องได้จริง ได้ถึงจริง รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นสมุจเฉทปหาน คือไม่สร้าง ไม่ทำลายศีลให้ด่างให้พร้อย ให้ขาด ให้ทะลุ อาการ ๓ อย่างนี้เป็นผลของพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี
    <o:p></o:p>
    ๔. กามฉันทะ ทำจิตให้เหือดแห้งในความพอใจในกามารมณ์ ความยินดีในเพศไม่ปรากฏ
    <o:p></o:p>
    ๕. พยาบาท ความผูกโกรธ ขังโกรธไว้ในใจไม่มี ใครมาทำให้โกรธ โกรธนิดหนึ่งแล้วก็ทิ้งสลายตัวไป ไม่มีความพยาบาท แล้วต่อไปก็ทำลายความโกรธให้สิ้นไป ในเมื่อจะมีบุคคลหมู่ใดจะมายั่วมาเย้าให้เรามีความโกรธ เราก็ไม่โกรธ หรือมายั่วเย้าให้เราเกิดกามราคะ มีความปรารถนาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส และสัมผัส อารมณ์อย่างนั้นก็ไม่เกิด อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นผลของวิปัสสนาญาณจริง เป็นองค์ของพระอนาคามี เป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงในขั้นต่อไป
    <o:p></o:p>
    ๖. รูปราคะ หมายความว่า เรามีฌานจริง แต่เราไม่หลงว่าฌานนี้เป็นตัววิเศษเกินไปกว่าตัววิปัสสนาญาณ รู้อยู่เสมอว่าฌานเป็นบันไดที่จะเป็นกำลังของจิตใจ ให้เข้าไปใช้อารมณ์ของวิปัสสนาญาณ เข้าประหัตประหารกิเลส ที่เรียกกันว่า “รูปฌาน”
    <o:p></o:p>
    ๗. อรูปราคะ เราเห็นว่าอรูปฌานเป็นของดี แต่ว่ายังไม่ดีวิเศษ เพราะอรูปฌานนี้ยังเป็นผลของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร ยังเป็นโลกียฌาน แต่ว่าเป็นกำลัง เป็นบันไดขั้นหนึ่ง หรือเป็นกำลังที่เข้ามาค้ำจุนจิตใจให้เข้าไปเจริญวิปัสสนาญาณ ได้รับผลดี
    <o:p></o:p>
    ๘. มานะ ความถือตัวถือตน ถือว่าเราเลวกว่าเขา ถือว่าเราเสมอเขา ถือว่าเราดีกว่าเขา อย่างนี้เราตัดเสียได้ คือไม่คิดอย่างนั้น คิดว่าคนในโลกนี้ไม่มีใครดี ไม่มีใครเลว เกิดมาแล้วก็แก่ ก็เจ็บ ก็ตายเหมือนกันหมด ไม่มีอะไรที่จะต้องเข้าไปถือยศถือศักดิ์ ถือชาติวาสนาและตระกูลใด ๆ ทั้งสิ้น
    <o:p></o:p>
    ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญในจิตใจไม่มี ตัดเสียได้แล้ว มีอารมณ์เป็นอันเดียวคือ เอกัคคตารมณ์ มีจิตใจชุ่มชื่น รู้ได้ตามสภาวะของความเป็นจริง
    <o:p></o:p>
    ๑๐. อวิชชา คือความพอใจในทรัพย์สมบัติของโลก คือในร่างกายของเรา หรือในรูปของคนอื่นไม่มี ความกำหนดยินดีในทรัพย์สินของโลก ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แม้แต่ตัวเองก็ไม่มี อย่างนี้เรียกว่าตัดอุปาทานขันธ์เสียได้ ตัดตัวอวิชชาความโง่เสียได้<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการนี้ ข้อใดข้อหนึ่งก็ดี ถ้าเราตัดได้ เราละได้แล้ว ก็ตัดได้ละได้อย่างเด็ดขาด จิตใจไม่กำเริบขึ้นมาอีก อย่างนี้ชื่อว่า เป็นผลของวิปัสสนาญาณแท้จริง เป็นตัวมรรคตัวผลที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนนักปฏิบัติควรจะแสวงหาให้ได้ ควรจะแสวงหาให้ถึง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อย่างไรก็ตาม ตัว สังโยชน์ ๑๐ หรือกิเลสที่เป็นเครื่องร้อยรัดใจ ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนั้น ต้องค่อย ๆ ตัด ตัดทีละน้อย และก็ตัดบ่อย ๆ ตัดไว้เสมอ ๆ อันดับแรกมันก็จะลืมบ้าง เผลอบ้างเป็นของธรรมดา
    <o:p></o:p>
    กิเลสที่บรรดาพุทธบริษัทจะตัดจริง ๆ น่ะมีอยู่ ๑๐ อย่าง แต่ว่าอาการตัดจริง ๆ เขาตัดตัวเดียว คือตัดที่ สักกายทิฏฐิ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น การปฏิบัติพระกรรมฐาน พระพุทธเจ้าให้ทุกคนมุ่งนิพพาน อันดับแรกให้เอาจิตมุ่งนิพพานไว้ก่อน ถึงหรือไม่ถึงเราจะไป ตั้งใจไว้เพื่อจะไป
    <o:p></o:p>
    ทีนี้เกณฑ์ที่จะไปเป็นขั้น ๆ ก็มีดังนี้ พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ได้ ๓
    <o:p></o:p>
    คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ถ้าทำลายกิเลส ๓ ตัวนี้ได้ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี
    <o:p></o:p>
    ถ้าตัดกิเลสได้อีก ๒ ตัว คือกามฉันทะ กับปฏิฆะ ก็เป็นพระอนาคามี
    <o:p></o:p>
    ถ้าตัดได้อีก ๕ ตัว คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เป็นพระอรหันต์
    <o:p></o:p>
    ทีนี้การเจริญพระกรรมฐาน ก็มุ่งเอาคติแน่นอนเป็นสำคัญ คือที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    <o:p></o:p>
    “ถ้าเป็นพระโสดาบันจะมีคติแน่นอน คือไม่ต้องกลับย้อนไปลงอบายภูมิอีก ไม่ต้องเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าไปสวรรค์จะกลับมาเกิดก็แค่คน แล้วก็ย้อนไปสวรรค์หรือพรหม ในที่สุดก็ไปนิพพาน”
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าต้องการอย่างนี้เป็นอย่างน้อย ถ้าหากว่าท่านผู้ใดเจริญพระกรรมฐาน ก็พิจารณาจิตของท่านเอง
    <o:p></o:p>
    แต่ความจริงพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ถ้าไล่ตามแบบสังโยชน์นี้เข้าใจยาก รู้สึกว่าหนัก ก็ต้องดูตามภูมิที่พระพุทธเจ้าตรัส ท่านตรัสว่า
    <o:p></o:p>
    พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีเป็นผู้ทรง อธิศีล
    <o:p></o:p>
    พระอนาคามีเป็นผู้ทรง อธิจิต
    <o:p></o:p>
    พระอรหันต์เป็นผู้ทรง อธิปัญญา
    <o:p></o:p>
    ซึ่งเราจะอธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียดตามแต่ละขั้น ในบันไดก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะ ในขั้นต่าง ๆ ในภาคต่อไป แต่เหนือสิ่งใดทั้งหมด สิ่งที่เราจะต้องคำนึงและพิจารณาความชั่วของจิตของเราอยู่เสมอ และหาทางกำจัดมันให้ออกไปจากใจของเราให้มากที่สุด อย่าให้มันเป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรมของเรา ความชั่วของจิตที่ต้องกำจัดหรือขจัดออกไปก็คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. สักกายทิฏฐิ ถืออัตภาพร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา นี่ชั่ว
    <o:p></o:p>
    ๒. วิจิกิจฉา มีความสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณานี่ชั่ว
    <o:p></o:p>
    ๓. สีลัพพตปรามาส ไม่รักษาศีลให้เด็ดขาด เป็นผู้บกพร่องในศีลนี่ใช้ไม่ได้ ชั่ว
    <o:p></o:p>
    ๔. กามราคะ พอใจในกามคุณ นี่ชั่ว
    <o:p></o:p>
    ๕. ปฏิฆะ พอใจในความโกรธ ความพยาบาท ชั่ว
    <o:p></o:p>
    ๖. หลงอยู่ในรูปฌาน (รูปราคะ)
    <o:p></o:p>
    ๗. หลงอยู่ในอรูปฌาน (อรูปราคะ)
    <o:p></o:p>
    ๘. หลงถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ชั่ว (มานะ)
    <o:p></o:p>
    ๙. มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไม่จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ ชั่ว (อุทธัจจะ)
    <o:p></o:p>
    ๑๐. ไม่เข้าใจในอริยสัจ ที่เรียกว่า อวิชชา ชั่ว
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่าความชั่วทั้ง ๑๐ อย่างนี่ เราต้องทำลายให้หมด เพื่อให้เข้าถึงความดีที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำเรา
    <o:p></o:p>
    สรุปในเบื้องต้นก่อนที่เราจะกล่าวต่อไปก็คือ อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั้น ก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้ เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่ บางท่านที่มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้ อันนี้ได้กำไรมาก กล่าวได้ว่าเกิดมาแล้วก็ไม่เสียชาติเกิด แม้ชาตินี้เราจะยังไม่สำเร็จมรรคผล แต่ก็เป็นเสบียงหรือเป็นการสะสมบารมีที่จะก้าวเข้าไปสู่ความสำเร็จในเบื้องหน้าได้ในที่สุด
    <o:p></o:p>
    จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากในเรื่องของสังโยชน์ และบารมี ๑๐ ต้องสนใจและทำให้คล่อง กล่าวคือ บารมี ๑๐ ตั้งใจให้เกิดขึ้น ส่วนสังโยชน์ ๑๐ ตัดให้หมดไป ถ้าบารมี ๑๐ มีความเข้มข้นมากเท่าไร สังโยชน์ ๑๐ มันก็จางตัวไปมากเท่านั้น จึงควรสังวรและปฏิบัติให้ทรงตัว ความสำเร็จก็จะใกล้เข้ามา และท้ายสุดก็จะประสบความสำเร็จสมความปรารถนา<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE class=text border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=center>ธรรมสัญจร เล่ม ๖(๒)


    ว่าด้วยเรื่อง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ....บันไดขั้นพิเศษที่ควรจะรู้.....
    <o:p></o:p>
    ก่อนที่เราจะก้าวเข้าสู่บันไดของความเป็นพระอริยะในลำดับต่อไป เราควรจะต้องรู้ในเรื่องพิเศษบางประการ เพื่อประกอบในหลักสูตรของการปฏิบัติ และเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับการปฏิบัติ สิ่งที่เราจะต้องรู้ในลำดับแรกก็คือ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระไตรปิฎก มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่รวมรวมมาได้ย่อ ๆ เหลือ ๓ ข้อ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง บอกว่า เธอทั้งหลายจงแนะนำให้ชาวบ้านทั้งหลาย ละจากความชั่วทั้งหมด (ทรงสั่งสอนไม่ให้ทำความชั่วทุกอย่าง
    <o:p></o:p>
    ๒. กุสะลัสสู ปะสัมปะทา จงแนะนำให้ทุกคนทำแต่ความดี (ทรงสั่งสอนให้ทำแต่ความดี)
    <o:p></o:p>
    ๓. สะจิตตะ ปริโยทะ ปะนัง จงแนะนำให้ทุกคนทำจิตใจให้ผ่องใส (ทรงสั่งสอนให้ทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส)
    <o:p></o:p>
    เอตัง พุทธานะสาสะนัง รวมความว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด
    <o:p></o:p>
    โดยย่อพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์สอนให้พวกเราปฏิบัติอยู่ในกฎทั้ง ๓ ประการ นี่เป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา
    <o:p></o:p>
    นี้ถ้าจะย่อลงไปอีกทีหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราไม่ ประมาท
    <o:p></o:p>
    ตาม ปัจฉิมโอวาท ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงตรัสเป็น ปัจฉิมวาจา วันใกล้จะปรินิพพาน ตรัสกับ พระอานนท์ ว่า
    <o:p></o:p>
    อานันทะ ดูก่อนอานนท์ พระธรรมคำสั่งสอนที่เราสอนให้เธอนั้น ย่อมรวมอยู่ใน ความไม่ประมาท
    <o:p></o:p>
    พระองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงตรัสว่า อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
    <o:p></o:p>
    นี่เป็นอันว่าสุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราไม่ ประมาทในการที่จะละความชั่ว หมายความว่า จงอย่าคิดว่า นี่เราไม่ชั่ว
    <o:p></o:p>
    นี้พระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์สอนไว้บอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง นี่ก็หมายถึงว่าพระองค์ให้เราไม่ประมาท จงมองดูความชั่ว มองดูความผิด มองดูความเสียหายของตนเองไว้เป็นปกติ ถ้าเรามองความชั่ว มองความเสียหายของตัวไว้แล้ว เราก็จะมีแต่ความดี เราอย่าเป็นคนเข้าข้างตัว
    <o:p></o:p>
    นี้เราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าจะพิจารณาหาความดีของพระพุทธเจ้าก็ต้องมองกันตรงนี้ ว่าพระพุทธเจ้าต้องการให้เรามีจิตบริสุทธิ์ ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วไปไหน
    <o:p></o:p>
    จิตเต ปาริสุทเธ สุคติ ปาฏิกังขา พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วอย่างน้อยเราก็ไปสู่ สุคติโลกสวรรค์ คำว่า สุคติ นี่ก็ยกยอดไปถึง สวรรค์ก็ได้ พรหมโลกก็ได้ นิพพานก็ได้
    <o:p></o:p>
    คำว่าไม่ประมาท ก็หมายความว่า ไม่ปฏิบัติ ในการปฏิบัติความดี ทุกคนทั้งทุกขณะจิต จงอย่าคิดว่าเราดี ถ้าเรายังมีขันธ์ ๕ อยู่เพียงใด จงอย่าเข้าใจว่าเราดี ถ้าเราตายไปแล้ว ถ้ายังไม่ถึงนิพพาน ก็จงอย่าคิดว่าเราดี ถ้ามันจะดีกันจริง ๆ คือต้องละขันธ์ ๕ ไปแล้ว แล้วเข้าสู่นิพพาน นั่นจึงจะชื่อว่าเป็นความดี
    <o:p></o:p>
    ความประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงการกระทำความไม่ประมาทใน ๔ สถาน ดังนี้คือ
    <o:p></o:p>
    การละ กายทุจริต ประพฤติกายสุจริต<o:p></o:p>
    การละ วจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต<o:p></o:p>
    การละ มโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต<o:p></o:p>
    การละ ความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก
    <o:p></o:p>
    ๑. ระวังไม่ให้ความกำหนัดเกิดในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
    <o:p></o:p>
    ๒. ระวังไม่ให้ความขัดเคืองเกิดในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
    <o:p></o:p>
    ๓. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่า ท่านกล่าวไว้เป็นสองนัย ว่าจงอย่าประมาทในเหตุ ๔ ประการนี้ คือทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน คือ ๔ อย่าง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ในลำดับต่อไป เพราะมีความสำคัญในการให้รู้จักเลือกใช้กรรมฐานให้เหมาะกับบุคคล นั่นก็คือ เรื่องของจริต กล่าวคือ แต่ละคนก็จะมีจริตต่าง ๆ กัน แต่จะหนักไปในด้านใดด้านหนึ่งพิเศษ ซึ่งเราก็จะต้องรู้จักแยกแยะให้ถูกว่า คนหรือบุคคลนั้นมีจริตหนักไปทางด้านใด เพื่อจะหาทางเลือกใช้กรรมฐานให้ถูกทันอารมณ์จิตของเราที่เด่นในเรื่องใด จะเป็นการย่นระยะเวลาในการปฏิบัติ เพราะเราจะได้หาเครื่องมือที่ถูกที่สุดสำหรับมาเลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรื่องจริตไว้เป็นอีกบทเรียนหนึ่ง ผลของการปฏิบัติจึงจะสำเร็จผลได้โดยง่าย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คำว่า จริต แปลว่า อารมณ์คิด
    <o:p></o:p>
    อารมณ์ของจิต
    <o:p></o:p>
    คนที่เกิดมาในโลกนี้ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า อารมณ์ของจิตมีจริตอยู่ ๖ อย่าง
    <o:p></o:p>
    ๑. ราคะจริต รักสวยรักงาม<o:p></o:p>
    ๒. โทสะจริต โกรธง่าย มักโกรธ<o:p></o:p>
    ๓. โมหะจริต ซึม<o:p></o:p>
    ๔. วิตกจริต นี่ก็ซึมเหมือนกัน อารมณ์ดื้อ หรือโง่<o:p></o:p>
    ๕. ศรัทธาจริต เชื่อง่าย<o:p></o:p>
    ๖. พุทธจริต มีความฉลาด
    <o:p></o:p>
    ความจริงจริตทั้ง ๖ ตัวนี้มีด้วยกันทุกคน แต่ว่าท่านผู้ใดที่จะมีจริตอย่างไหนหนักนำหน้า
    <o:p></o:p>
    อย่างบางท่านมีราคะจริตนำ คนประเภทนี้ใครจะทำอะไรก็ตาม ปกติต้องสวยสดงดงามอยู่เสมอ คำว่าราคะจริต ไม่ได้หมายความว่ามักมากในกามคุณ หมายถึงการรักสวย รักงาม รักความมีระเบียบ ถ้าโทสจริตนำหน้า มีอะไรนิด อะไรหน่อยก็มักจะโกรธ ถ้ามีโมหะจริตนำหน้า หรือวิตกจริตน้ำหน้า สองอย่างนี้มีอาการซึม คิดอะไรไม่ออก ถ้ามีศรัทธาจริตน้ำหน้า เขาพูดอะไรก็เชื่อ ลืมพิจารณาเหตุผล ถ้าพุทธจริตนำหน้า เป็นคนฉลาดมาก
    <o:p></o:p>
    รวมความว่าจริตทั้ง ๖ ก็มีในคนทุกคน บางคราวจะมีความรักสวยรักงาม บางคราวก็ใจเย็น บางคราวก็โมโหโทโสง่าย บางครั้งคิดอะไรไม่ออก บางคราวก็เชื่อง่ายไร้เหตุผล บางครั้งก็มีความเปรื่องปราดในสมอง ใครพูดอะไรมาก็เข้าใจ รวมความว่าจริตของคนจริง ๆ มี ๖ อย่าง
    <o:p></o:p>
    แต่ว่าใครมีจริตไหนนำหน้า พระพุทธเจ้าให้ทำลายจริตนั้นก่อน ถ้าจริตที่มีกำลังสูงมากอับปางลง หรือสิ้นกำลังลง จริตที่เหลืออยู่ทั้งหมดก็ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำกรรมฐานไว้ถึง ๔๐ อย่าง ๔๐ นี่ก็หมายถึงว่า ท่านตรัสเฉพาะจริต และเกินกว่าจริต
    <o:p></o:p>
    ใน ๔๐ อย่างนี่
    <o:p></o:p>
    สำหรับราคะจริต ทรงให้ตัดด้วยกรรมฐาน ๑๑ อย่าง มีอสุภะ ๑๐ ประการ และกายคตานุสสติ
    <o:p></o:p>
    สำหรับ โทสจริต ให้ตัดด้วยกรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ กับวรรณกสิณ ๔
    <o:p></o:p>
    โมหะจริต กับวิตกจริต ใช้อานาปานุสสติอย่างเดียว
    <o:p></o:p>
    ศรัทธาจริต ใช้อนุสสติ ๖ อย่าง
    <o:p></o:p>
    แล้วก็พุทธจริต ใช้กรรมฐาน ๔ อย่าง
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น สรุปเรื่องจริต จะขอนำมากล่าวให้ง่ายขึ้น คือการปฏิบัติให้ดูอารมณ์จิตของเราก่อน หรือดูตามจริตแล้วเลือกใช้ให้เหมาะสม กล่าวคือ
    <o:p></o:p>
    ถ้าอารมณ์แห่งความรักเกิดขึ้น ก็ใช้ กายคตานุสสติ และอสุภกรมฐาน ตัดมันเสีย ถ้าอารมณ์ความโกรธ ความพยาบาทเกิดขึ้น เราก็ใช้พรหมวิหาร ๔ หรือว่า กสิณ ๔ มีกสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว ตัดมันเสีย ถ้าอารมณ์มันงุ่นง่านตัดสินใจอะไรไม่ลง ได้แก่ โมหะจริต กับวิตกจริต ก็ใช้อานาปานุสสติ โดยเฉพาะ อย่าไปใช้คำภาวนา มันจะยุ่ง หรือเดินนับก้าว นั่งนับลูกประคำ นั่งนับกรวดนับทรายก็ได้ มองอะไรเหม่อโดยเฉพาะดูพระพุทธรูป ดูวัตถุก็ได้ ถ้าศรัทธาจริตเกิดขึ้น ก็จับ อนุสสติ ๖ ประการ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสรณะ เพราะอารมณ์มันฟู เพราะมันต้องการรับ ก็รับในสิ่งที่ดี ถ้ามีความเฉลียวฉลาดมีอารมณ์โปร่ง ก็ใช้มรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน ๔ อุปสมานุสสติ<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระพุทธเจ้าทรงสอนตามอัธยาศัย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    รวมแล้วกรรมฐานเฉพาะจริตนี่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๓๐ อย่าง เหลืออีก ๑๐ อย่างเป็นกรรมฐานกลาง นี่คนจะมีจริตแบบไหนก็ตาม ทำได้ทุกอย่าง ทำได้ทุกคน มีผลเท่ากัน รวมความว่ากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ใช่มีอย่างเดียว ต้นใหญ่จริง ๆ มี ๔๐
    <o:p></o:p>
    เมื่อต้นไม้มี ๔๐ ต้น ต้นไม้ที่งาม ก็ต้องพิจารณาว่า กิ่งมีกี่กิ่ง ก้านมีกี่ก้าน ใบมีกี่ใบ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ถ้าบุคคลใดที่อารมณ์หนักมาก ก็ต้องสอนกรรมฐานต้น ถ้ามีบุญวาสนาบารมีดีขึ้น ใกล้จะบรรลุมรรคผล ก็สอนแค่เบา ๆ แค่ใบ หรือก้านเล็กน้อย
    <o:p></o:p>
    ในเรื่องของความดี ก็มีตามขั้นต่าง ๆ ดังที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ในอุทุมพริกสูตร ในเรื่องของอุปกิเลส เป็นจริยาที่ไม่ดี เบื้องต้นจะต้องกำจัดความเลวดังกล่าวให้หมดไปตามลำดับ การปฏิบัติต้องเดินตามแนวที่องค์สมเด็จพระทศพลทรงแนะนำ ตอนต้นก่อนที่จะทำอะไรทั้งหมด จะต้องระงับอุปกิเลสเสียก่อน อารมณ์อุปกิเลสจริงๆ ใม่ใช่มี ๑๖ ตามแบบนวโกวาท ท่านตรัสไว้จริง ๆ ๖๐ เศษ แต่ถ้าโดยย่อจริง ๆ ก็คือ
    <o:p></o:p>
    ความดีระดับสะเก็ด
    <o:p></o:p>
    ๑. เราจะไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ใครเขาจะดีใครเขาจะเลวมันเรื่องของเขา ทุกท่านจงกำจัดพาล คือความเลวของจิต ถ้าเราไปสนใจในจริยาของบุคคลอื่น เราก็เลยลืมตัวเอง การสนใจในจริยาของบุคคลอื่นว่า คนนั้นดี คนนี้เลว อย่างนี้ พระพุทธเจ้าถือว่าใจเข้าไปถึงอุปกิเลส เข้าไปใกล้กิเลส คือความเลว สร้างความเลวของเราให้เกิดขึ้น ให้มันมีมากยิ่งขึ้น การที่ไปสนใจในจริยาที่ไม่ดีของบุคคลอื่น อารมณ์เราก็เศร้าหมอง และอารมณ์ใจที่เศร้าหมองที่เป็นกิเลส กิเลสก็แปลว่าเครื่องเศร้าหมองใจนั่นเอง เว้นไว้แต่คนที่อยู่ร่วมกัน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ตักเตือนกันโดยธรรมได้
    <o:p></o:p>
    ๒. เวลาเจริญสมาธิจิต เราจะไม่แสดงตนให้คนเห็น หากว่าเราไปนั่งเพื่อต้องการจะโอ้อวดเขา เขาจะได้ทราบว่าเราเป็นนักเจริญสมถวิปัสสนา อย่างนี้พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นอุปกิเลส เป็นอุปกิเลสตัวอวด เป็นการไม่สมควร
    <o:p></o:p>
    ๓. ไม่ถือตัวถือตนเกินไป
    <o:p></o:p>
    ๔. ไม่ยกตนข่มท่าน
    <o:p></o:p>
    อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงสะเก็ดความดีที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน ถ้ารักษาอารมณ์แค่นี้ไม่ได้ แม้แต่สะเก็ดก็ไม่ได้ นั่นหมายถึงอบายภูมิมาถึงเราแน่ รวมความว่า การไปเที่ยวพิจารณาจริยาของบุคคลอื่นก็ดี การโอ้อวดก็ดี ถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา และก็แสดงตนข่มท่านก็ดี ไม่เป็นเรื่อง ทั้งหมดนี่วิธีตัดก็คือว่า ไม่สนใจเสียเลย ใครเขาจะยังไงก็ช่าง สนใจแต่ตัวเราเอง
    <o:p></o:p>
    นี่เป็นความดีเพียงแค่สะเก็ด มันก็เป็นความดี แต่ยังดีไม่มาก ต้องไล่เบี้ยไปในความดีในขั้นต่อไปคือ
    <o:p></o:p>
    ความดีระดับเปลือก
    <o:p></o:p>
    ๑. ไม่มีความกังวล ขณะที่ทำจิต เจริญสมาธิวิปัสสนาญาณ ต้องไม่มีห่วง ตัดความห่วง เอาเฉพาะเวลา แต่ความห่วงนี้เลิกแล้วห่วงได้ ถ้าเรายังไม่ทำ ห่วงได้ ในขณะที่รวบรวมเจริญสมาธิเป็นฌานสมาบัติ เวลานั้นต้องไม่ห่วง ตัดความห่วงใยชั่วคราว หรือจะเรียกว่าตัดปริโพธทั้งหมด
    <o:p></o:p>
    ๒. ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว นั่นก็คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์
    <o:p></o:p>
    ๓. ระงับนิวรณ์ได้โดยฉบับพลัน เมื่อเราต้องการความเป็นทิพย์ของจิต ขณะใดที่จัดต้องการสมาธิ ไอ้ความเป็นทิพย์นี่มาจากสมาธิ มีความตั้งใจ จิตสะอาด ถ้าต้องการจิตไม่เป็นทุกข์ หรือต้องการสมาธิ ต้องระงับนิวรณ์ได้ทันทีทันใด ไม่ยอมเป็นทาสนิวรณ์ ๕ ประการ
    <o:p></o:p>
    ๔. จิตทรงพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา คือเป็นปกติตลอดวัน ทรงพรหมวิหาร ๔ ให้ทรงตัว เพื่อความเยือกเย็นของจิต
    <o:p></o:p>
    ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททำได้อย่างนี้ ฌานสมาบัติจะทรงตัว คำว่าเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส กำลังใจไม่เสมอกัน สว่างบ้างมืดบ้างจะไม่มี จะมีแต่คำว่าผ่องใสเรื่อยขึ้นไปตามลำดับ ความดีขนาดนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นความดีขั้นเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนา
    <o:p></o:p>
    ความดีระดับกระพี้
    <o:p></o:p>
    เรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือระลึกชาติได้โดยไม่จำกัด ถ้าอยากจะนึกถึงชาติไหนขึ้นมาเมื่อไร นึกถึงได้ทันทีทันใด ตามความประสงค์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงกระพี้ความดีในพระพุทธศาสนา
    <o:p></o:p>
    ความดีระดับแก่น
    <o:p></o:p>
    ต่อไปถ้าจิตทรงตัวในจุตูปปาตญาณ เห็นหน้าคนรู้ได้ทันทีว่าคนพวกนี้ก่อนเกิดมาจากไหน ได้ยินชื่อคนตายรู้ได้ทันทีว่า คนตาย สัตว์ตายนี่มาจากไหน ตายแล้วไปไหน อันนี้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น แก่นของพระศาสนานี้ยังไม่จบ เมื่อทำถึงจุดนี้แล้วต้องทบทวนความดีให้ทรงตัว ก็จะต้องปฏิบัติวิปัสสนาญาณ สามารถทำลายสังโยชน์ ๑๐ ให้หมดไป ถ้าหากเข้าถึงจุดนี้ ถ้าทำกันจริง ๆ ถ้ามีกำลังใจสูง ก็จะเป็นพระอรหันต์ภายใน ๗ วัน ถ้ามีกำลังใจอย่างกลางหรือบารมีอย่างกลาง จะเป็นพระอรหันต์ภายใน ๗ เดือน ถ้ามีกำลังใจต่ำสุด จะเป็นพระอรหันต์ภายใน ๗ ปี ถ้าเข้าถึงจุดนี้แล้ว ถ้าไม่วางทิ้ง ต้องเป็นพระอรหันต์ คือสามารถตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่กล่าวมาเป็นการทำความรู้ขั้นพื้นฐาน ที่นักปฏิบัติควรจะรู้ไว้เพื่อเป็นแนวทาง และเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติเพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะในลำดับต่อไป และสิ่งสำคัญที่จะต้องยกมากล่าวอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญมาก ที่จะนำพาให้ก้าวเข้าสู่บันไดของความเป็นพระอริยะในระดับต่าง ๆ และถึงแม้ว่าจะยังไม่ก้าวล่วงถึงจัดหมายปลายทางสูงสุด หรือพระนิพพาน แต่เป็นอันหวังได้ว่า จุดหมายปลายทางต่อไปข้างหน้ามีสุคติภพเป็นที่ไปได้โดยไม่ยาก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เครื่องมือในการปฏิบัตินั้นก็คือ มรรค ๘ นั่นเอง เพราะมีหนทางนี้เพียงทางเดียว ที่จะตัดตัณหา คือความอยาก ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ได้ เพราะมรรค ๘ ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการปฏิบัติซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ซึ่งก็คือหัวใจในการปฏิบัติเพื่อก้าวเข้าสู่ความหลุดพ้น ตามลำดับของกำลังใจหรือบารมีของแต่ละบุคคลนั่นเอง
    <o:p></o:p>
    จึงจำเป็นต้องนำเรื่อง “มรรค ๘” มาอธิบายก่อนในบทต้น เพื่อความเข้าใจในรายละเอียดในบทต่อไป ที่จะเข้าสู่ขั้นปฏิบัติในเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา
    <o:p></o:p>
    ในเรื่องมรรค ๘ สามารถที่จะปฏิบัติก้าวเข้าสู่ลำดับขั้นต้น เพียงแค่ขั้นกามาวจรสวรรค์ ก้าวต่อไปถึงขั้นพรหมโลก และสุดท้ายก็เข้าสู่ขั้นนิพพาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในการปฏิบัติ ในที่นี้จะขอกล่าวเอาขั้นกามาวจรสวรรค์ก่อน แต่ว่าท่านที่มีกำลังใจสูงแล้ว ก็สามารถตัดใจเพื่อนิพพานได้เลย
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะ การจะดับตัณหาหรือความทะยานอยาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิเลส เกิดความเศร้าหมองของจิต ก็จะต้องใช้มรรค ซึ่งมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่ย่อได้ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    <o:p></o:p>
    ศีล คือการระงับกาย วาจา ให้เรียบร้อย ให้ทรงอยู่ในความดีตามขอบเขต ที่เราเรียกว่า พระวินัย
    <o:p></o:p>
    สมาธิ แปลว่า มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในความดี คือทรงศีล ทรงฌานอยู่ จิตน้อมอยู่ในอารมณ์ทั้งสองประการ อย่างนี้เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    ส่วนปัญญา ก็พิจารณาเห็นว่า ธรรมะที่พระพุทธองค์มีปฏิปทาที่ทรงละความรัก ความโลภ และละความปรารถนาความมักใหญ่ใฝ่สูง ละการเกิดนี้ ท่านทรงปฏิบัติถูกแล้ว
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น จะขออธิบายเรื่องของมรรค ๘ ประการ ดังนี้
    <o:p></o:p>
    มรรค ๘ ขึ้นต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ ความเห็นชอบนี่ท่านอธิบายว่า เห็นอริยสัจ ความจริงอริยสัจนี่มีขั้นอ่อน ขั้นแก่ ตอนนี้ก็พูดกันแบบธรรมดา สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ เห็นชอบทางไหน เห็นชอบตามข้อ ๒ คือ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คิดว่า ถ้าดำริคิดอยากจะทำอะไรก็ตาม เป็นการไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น เพื่อความสุขทั้งเราและเขา นี่เราต้องการ อันนี้เรียกสัมมาทิฏฐิ
    <o:p></o:p>
    แล้วก็สัมมาทิฏฐิอีกจุดหนึ่งต่อเข้าไป ไปนึกชอบด้านสัมมาวาจา ก็มีความเห็นว่า การกล่าววาจามดเท็จนี่ไม่ดี กล่าววาจาหยาบไม่ดี พูดยุยงส่งเสริมให้เขาแตกกันนี่ไม่ดี ใช้วาจากที่ไร้ประโยชน์นี่ไม่ดี นี่ทำความเห็นให้ถูก ก็หมายความว่า วาจาที่เราจะกล่าวไป
    <o:p></o:p>
    ประการที่ ๑ เราต้องกล่าววาจาตามความเป็นจริง วาจาใดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงเราไม่กล่าว และ
    <o:p></o:p>
    ประการที่ ๒ วาจาที่เป็นวาจาหยาบ เป็นเครื่องสะเทือนใจของบุคคลผู้รับฟัง เราจะไม่ยอมกล่าวตามนั้น
    <o:p></o:p>
    ประการที่ ๓ วาจาใดที่จะทำให้เขาแตกร้าวกัน เราไม่กล่าว เราไม่พูด แล้วก็
    <o:p></o:p>
    ประการที่ ๔ วาจาใดที่เป็นวาจาไร้ประโยชน์ พูดแล้วหาประโยชน์ไม่ได้ เราไม่พูด
    <o:p></o:p>
    อันนี้เรียกสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ เห็นชอบตามสัมมาวาจา ใช่ไหม สัมมาวาจานี่เรียกว่าพูดดี แล้วต่อไปก็ตั้งต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐินี่เป็นตัวปัญญานะ ตัวนี้ตัวนิพพาน ถ้ามีสัมมาทิฏฐิครบถ้วนไปนิพพานได้ไม่ยาก
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ต่อมาสัมมาทิฏฐิก็มีความรู้สึกในสัมมากัมมันตะ สัมมากัมมันตะก็หมายความว่า การงานดี การทำการงานทุกอย่างน่ะ เราจะทำแต่เฉพาะที่เป็นคุณไม่เป็นโทษ คือไม่เป็นโทษสำหรับเรา และไม่เป็นโทษสำหรับคนอื่น คือว่า การงานที่เราทำ ต้องทำดีด้วยสติสัมปชัญญะ และใช้ปัญญาเข้าประกอบ ว่างานที่เขามอบหมายให้เราทำมันมีอะไรบ้าง เราจะทำเต็มความสามารถ เราใช้ปัญญา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นิสัมมะ กรณัง เสยโย ก่อนจะทำงานเราใช้ปัญญาใคร่ครวญเสียก่อน ว่าเราทำนี่มันถูกมันต้องตามที่เขาสั่งไหม แล้วก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า การงานที่เราทำมันสร้างความเดือดร้อนให้เกิดกับคนอื่นหรือเปล่า การงานที่โกงชาวบ้านเขา รุกรานชาวบ้านเขา เบียดเบียนชาวบ้านเขา อย่างนี้เป็นการงานที่ชั่ว เราไม่ทำ เราจะทำเฉพาะการงานที่ดี ตรงไปตรงมา เพื่อสันติสุข คือความสุขของเรา และของบุคคลอื่น
    <o:p></o:p>
    และประการที่ ๒ ไม่ยอมให้การงานคั่งค้าง งานทุกอย่างพยายามจะทำให้เสร็จตามเวลาไว้เสมอ เว้นไว้แต่มันมากเกินวิสัยจริง ๆ นี่เราตั้งสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบแล้ว ก็มาชอบการงานดี การงานที่มีประโยชน์ การงานไม่คั่งค้าง อันนี้เป็นมรรค ๘ นะ
    <o:p></o:p>
    แล้วก็ต่อมาตั้งสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบนี่อีก ชอบอะไรมา สัมมาอาชีวะ หาเลี้ยงชีวิตโดยชอบ การหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบน่ะ เราต้องเว้นจากการเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนคนอื่น และเบียดเบียนสัตว์ สัมมาอาชีวะแล้วอย่าโกงเขา อย่าคิดประทุษร้ายเขาด้วยการประกอบอาชีพ นี่หมายความว่า การงานที่เราทำทุกอย่างต้องมีความขยันหมั่นเพียร เพียงแต่ว่าอย่าพยายามมากเกินไปจนกระทั่งเบียดเบียนตน ไม่พักไม่ผ่อน ไม่หลับไม่นอน อันนี้ไม่ถูกต้อง ต้องใช้มัชฌิมาปฏิปทา
    <o:p></o:p>
    และข้อที่ ๖ ตั้งสัมมาทิฏฐิไว้อีก แล้วมาชอบ สัมมาวายามะ พยายามชอบ คำว่า พยายามนี่หมายความว่า การงานที่เราทำทุกอย่างต้องมีความขยันหมั่นเพียร เพียงแต่ว่าอย่าพยายามมากเกินไปจนกระทั่งเบียดเบียนตน ไม่พักไม่ผ่อน ไม่หลับไม่นอน อันนี้ไม่ถูกต้อง ต้องใช้มัชฌิมาปฏิปทา
    <o:p></o:p>
    มาข้อที่ ๗ ท่านบอกว่า สัมมาสติ ตั้งสัมมาทิฏฐิมาชอบสัมมาสติ ไอ้คำว่าสตินี่ตัวนึก ถ้าจะนึกจะคิดอะไรใช้ปัญญา คือสัมมาทิฏฐิเข้าไว้ด้วย คิดแต่ในสิ่งที่มันดี คิดแต่ในสิ่งที่มันถูก ใช้ปัญญาพิจารณาว่า อารมณ์ที่เราคิดจะทำจะพูดกันอยู่เวลานี้ มันดีหรือไม่ดี มันเบียดเบียนบุคคลอื่นไหม ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อนไหม ถ้าคนอื่นเขาไม่เดือดร้อน มันเป็นไปโดยชอบธรรม คือไม่ผิดศีลไม่ผิดธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณีนิยม ใช้ได้เลย
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    และข้อสุดท้าย เรียกว่า สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ ไอ้ตัวตั้งใจไว้ชอบนี่ หมายความว่า ตั้งใจไว้ด้วยดีว่า เราจะคุมอารมณ์
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๑. สัมมาทิฏฐิ เราจะใช้ปัญญาในด้านที่ดี
    <o:p></o:p>
    ๒. สัมมาสังกัปปะ เราจะใช้ปัญญาในการดำริ คือ คิดอะไรก็ตาม เราจะทรงไว้แต่เฉพาะความคิดในด้านดี
    <o:p></o:p>
    ๓. สัมมาวาจา สมาธิจะเข้าไปคุมว่า เวลานี้เราพูดน่ะ มันดีหรือว่ามันเลว เราจะเลือกพูดเฉพาะวาจาที่ดี
    <o:p></o:p>
    ๔. สัมมากัมมันตะ สมาธิเข้าไปคุมว่าเวลาที่เราประกอบการงาน จะคุมการงานไว้ เราจะไม่ยอมให้การงานนี้เป็นโทษ
    <o:p></o:p>
    ๕. สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพนี่มันต้องเป็นไปตามทำนองคลองธรรม ไม่เบียดเบียนตน
    <o:p></o:p>
    ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ พยายามละชั่ว ทำดี
    <o:p></o:p>
    ๗. สัมมาสติ ตัวที่จะนึกคิดอะไรก็ตาม จะต้องควบคุมด้วยกำลังสมาธิ สมาธิเข้าไปคุมสติว่าจะต้องคิดเฉพาะสิ่งที่ดี
    <o:p></o:p>
    ๘. สัมมาสมาธิ สมาธิเข้าไปควบคุมวาจา ว่าวาจาที่กล่าวนี่ไม่ใช่วาจาเท็จ ไม่ใช่วาจาหยาบ ไม่ใช่วาจาส่อเสียด ไม่ใช่วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหล เอาสมาธิเข้าไปตั้งคุมไว้ สมาธิน่ะต้องใช้ตลอดเวลา
    <o:p></o:p>
    ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกคน อย่าลืมนะนี่คือศีล สมาธิ ปัญญา แค่นี้ทุกคนตายแล้วไปสวรรค์หมด อย่างนี้ท่านเรียกว่าปฏิบัติในมรรค ๘ ชั้นกามาวจรสวรรค์
    <o:p></o:p>
    หากว่าท่านที่มีกำลังใจเลยไปแล้ว ก็ใช้สัมมาทิฏฐิ คำว่าการเกิดมาแล้วนี่มันเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะตัณหาความทะยานอยาก หลงในโลกีย์เกินไป เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี จะไม่มีสำหรับเราเมื่อสิ้นลมปราณแล้ว สิ่งที่เราจะไปนั่นคือนิพพานจุดเดียว นี่สำหรับท่านที่เรียนสูงแล้วนะ แค่นี้ก็ถึงนิพพาน
    <o:p></o:p>
    ที่อธิบายเบื้องต้น เป็นมรรค ๘ สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติ หรือผู้ที่มีกำลังใจอย่างไม่เข้มข้นมากนัก เพียงแค่ไปกามาวจรสวรรค์ได้ กล่าวได้ว่า เอาตัวรอดจากปากเหวได้ในขั้นต้น แต่ถ้าจะไปให้ได้ในขั้นต่อไปจนถึงพระนิพพาน ต้องปฏิบัติสัมมาทิฏฐิ จับอารมณ์ของอริยสัจ มีความเข้มข้นในการตัดขันธ์ ๕ จึงจะหลุดจากวงจรของวัฏจักรได้ จึงขอนำเรื่อง “มรรค ๘” ในเรื่องสติปัฏฐานสี่มากล่าว เพื่อเป็นการเทียบเคียงในการปฏิบัติเพื่อความเข้าใจให้มากขึ้น และจะได้ง่ายในการกล่าวอ้างในบทที่จะกล่าวในต่อไปภายหน้าดังนี้
    <o:p></o:p>
    การจะตัดตัณหา คือ ความอยาก ที่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ได้นั่นก็ได้แก่ อาศัยมรรค ๘ ประการ คำว่า มรรค ซึ่งแปลว่า หนทาง หรือว่าเครื่องมือในการปฏิบัติ คือทาง ๔ สายนั่นเอง ที่เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลางที่ท่านสอนเราไว้ว่า
    <o:p></o:p>
    ๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ คือเห็นในอริยสัจ ๔ เห็นในทุกข์ เราก็นั่งมองความทุกข์ ไล่เบี้ยมาเลยว่า ตั้งแต่เกิดถึงวันนี้ มันมีวันไหนสุขบ้าง เอาความจริงเข้าไปสู้ อย่าใช้อารมณ์จิตที่เกี่ยวกับโลกีย์วิสัย ใช้กำลังใจที่เป็นธรรมว่า
    <o:p></o:p>
    ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    โสกะปริเทว ทุกขโทมนัสสุปายาส ความเศร้าโศกเสียใจเพราะยึดโน่นถือนี่ รักโน่น รักนี่เป็นสำคัญ พลัดพรากจากกัน ทุกข์เสียใจ เป็นอันว่าทุกข์เห็นไม่ยาก
    <o:p></o:p>
    ทุกข์เกิดจากอะไร เกิดจากตัณหา เมื่อตัณหาเป็นของไม่ดี เราก็ทำลายตัณหา โดยใช้มรรคปฏิปทา ใช้ปัญญาเป็นตัวนำพิจารณาเห็นตัวทุกข์
    <o:p></o:p>
    ทีนี้สิ่งทั้งหลายในโลกเรามันเกาะมานาน เราจะเปลื้องการเกาะสภาวะของโลก คือวัตถุก็ดี สิ่งที่มีชีวิตก็ดี ร่างกายเราก็ดี ร่างกายบุคคลอื่นก็ดี เราต้องย้อนไปดูมหาสติปัฏฐานตั้งแต่ต้น จนอริยสัจ ทรงกำลังใจไว้อย่างนั้นเป็นปกติ ผลที่สุดปัญญาการรู้แจ้งเห็นจริงมันก็จะปรากฏ ปัญญาตัวเห็นอริยสัจที่ขอแนะนำ จงใช้ตั้งแต่มีความรู้สึกว่าตื่นจากหลับ จะลืมตาหรือไม่ลืมตาก็ช่าง จนกว่ามันจะหลับไป จงใช้ปัญญาเห็นอริยสัจ เห็นปัจจัยของความทุกข์ เห็นเหตุของความทุกข์ เห็นตัวสภาวะที่จะดับความทุกข์ได้ คือปฏิปทาอารมณ์ใจทรงในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง ๔ ประการ คือ
    <o:p></o:p>
    กายานุปัสสนาฯ<o:p></o:p>
    เวทนานุปัสสนาฯ<o:p></o:p>
    จิตตนุปัสสนาฯ<o:p></o:p>
    ธัมมานุปัสสนาฯ
    <o:p></o:p>
    ให้ครบถ้วน ทรงอารมณ์อย่างนี้ตลอดเวลา ขณะที่ยังมีความรู้สึกว่าตื่นอยู่ ให้เห็นอริยสัจจริง ๆ<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ท่านบอกว่า มีการดำริออกจากกาม ๑ ดำริในอันที่จะไม่พยาบาท ๑ ดำริในอันที่จะไม่เบียดเบียน ๑
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การดำริออกจากกาม ก็ไปนั่งคลำปฏิกูลบรรพ ธาตุบรรพ นวสี ๙ คลำให้มันขึ้นใจ ให้มันติดใจอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งมองเห็นอะไรในโลกทั้งหมด มันสกปรกเป็นตามความเป็นจริงของมัน ไม่ใช่ว่าอารมณ์ฝืน คือ ยอมรับนับถือความจริงของมัน ไม่ใช่ฝืนความจริง มันสกปรกจริง รู้ว่ามันสกปรกจริง แล้วก็รู้ มีความรู้สึกว่า จิตใจของเราไม่ผูกพันในสิ่งสกปรกนั้น มีความรังเกียจ เห็นคนก็ดี เห็นสัตว์ก็ดี เห็นว่ามีสภาพสภาวะเต็มไปด้วยของน่ารังเกียจ โสโครก มีความสะอิดสะเอียด เป็นอารมณ์ปกติ เรียกว่า เอกัคคตารมณ์
    <o:p></o:p>
    ดำริในอันที่จะไม่พยาบาท ดำริในอันที่จะไม่เบียดเบียน อันนี้ก็ทรงพรหมวิหาร ๔ ให้มีอารมณ์ประจำอยู่ หากท่านทั้งหลายมีอิทธิบาท ๔ มีพรหมวิหาร๔ และมีจรณะ ๑๕ มีบารมี ๑๐ และนิวรณ์ ๕ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จงประจำจิตไว้ตลอดเวลา ถ้าอารมณ์ทรงอยู่อย่างนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ จิตนึกชอบไว้เสมอ ๆ และอาการทั้ง ๓ ประการนี้ การจะต้องออกจากกาม การจะไม่พยาบาท จะไม่เบียดเบียน ไม่ต้องไปหามัน มันมีอยู่แล้ว มันมีอยู่แล้วครบถ้วน
    <o:p></o:p>
    ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต ๔ ประการ ได้แก่
    <o:p></o:p>
    วาจาที่พูดปดมดเท็จ<o:p></o:p>
    วาจาส่อเสียด ยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน<o:p></o:p>
    วาจาหยาบคาย ได้แก่นินทา ว่าร้าย เสียดสี แล้วก็<o:p></o:p>
    วาจาทำลายประโยชน์ ทำให้คนอื่นสะเทือนใจ
    <o:p></o:p>
    จงรู้ว่า ถ้าเรายังนินทาเขาอยู่ แสดงว่าเราเลวกว่าเขามาก เขาถึงแม้ว่าจะมีจริยาไม่ดี เขายังไม่นินทาใคร เป็นอันว่ากิเลสฝังอยู่ในใจเขา มันยังไม่ไหลมาถึงปากถึงตัว เรานินทาว่าร้ายเขาได้ แสดงว่ากิเลสมันเลยหัวใจ ล้น ออกมาถึงปาก มันเลวแสนเลว เลวกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะสัตว์เดรัจฉานมันยังไม่นินทา ไม่ด่า ไม่ว่าใคร
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่า วาจาชอบ เขาต้องใช้วาจาอย่างนี้ ใช้วาจาที่เป็นสุภาษิตตามธรรม ตามวินัย เวลานี้เราเรียนมหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้ใช้ได้ อย่างที่เรียก วาจาชอบ
    <o:p></o:p>
    ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ ท่านบอกว่า เว้นจากกายทุจริต
    <o:p></o:p>
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ <o:p></o:p>
    ๒. ไม่ลักทรัพย์<o:p></o:p>
    ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม
    <o:p></o:p>
    อย่างนี้จัดว่ายังไม่ควรจะเรียกว่าอยู่ในอริยสัจ ในอริยสัจต้องหมายถึง ทำการงานชอบ คือ หาทางทำลายทุกข์ หรือหาทางทำลายเหตุของความทุกข์ ได้แก่ตัณหา ตัณหามันเกิดขึ้นมาจากสภาวะอันใด ยกธรรมะที่เป็นศัตรูกับมัน เข้าประหัตประหารทันที ก็รวมความว่า การงานของจิตของเราที่มีอยู่ ก็คือ การทรงพระกรรมฐานตลอดเวลา ทรงอารมณ์มหาสติปัฏฐานสูตรนี้ตลอดเวลา ตั้งแต่อานาปานุสสติกรรมฐานมาจนกระทั่งถึงอริยสัจ นี่จัดว่าเป็นการงานที่ถูกต้อง เป็นการงานที่ตรงกับระบบของเรา ตามความเป็นจริงที่เราทรงกันอยู่ ถ้าหากว่าการงานของจิตมีอย่างนี้แล้ว การงานภายในใจมันดี การงานข้างนอกมันก็ดีทั้งหมด หรือการงานที่เราควรจะกำหนด นั่นก็คือ จรณะ ๑๕ จัดเป็นการงานสำคัญ ต้องครบถ้วนบริบูรณ์ บารมี ๑๐ ต้องครบถ้วนบริบูรณ์ ตามกำลังใจตลอดวัน แล้วก็พรหมวิหาร ๔ อิทธิบาท ๔ การละนิวรณ์ ๕ นี่เป็นการงานที่เราต้องทำอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก อย่าไปถือเฉพาะเวลา<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...