ธรรมสัญจร เล่ม 6

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 กันยายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ การเลี้ยงชีวิตนี่ท่านบอกว่า เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด หมายความว่า อาการใดที่เป็นอาการของทุจริตทั้งหมดเราไม่ทำ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อยู่ในฐานะของเราให้เหมาะสม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน คือ สัมมัปปธาน คือ ความเพียร ๔ อย่าง
    <o:p></o:p>
    ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นในสันดาน อารมณ์ใดที่จะขัดกับอารมณ์มหาสติปัฏฐานสูตร อารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ชั่วทั้งหมด อย่าให้มันมีขึ้นอย่างเด็ดขาด และอารมณ์ใดก็ตามที่มันขัดกับ จรณะ ๑๕ ขัดกับบารมี ๑๐ ขัดกับพรหมวิหาร ๔ ขัดกับการทำลายนิวรณ์ ๕ ขัดกับอิทธิบาท ๔ อารมณ์ทั้งหมดนั้นเป็นอารมณ์ชั่ว อย่าให้มันเกิดขึ้นเด็ดขาด
    <o:p></o:p>
    ๒. ปหานปธาน ความเพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว หมายความว่า ความชั่วที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มันขัดต่อธรรมะอะไรบ้าง มันเกิดขึ้นแล้ว หาทางละให้มันหมดไป
    <o:p></o:p>
    ๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน กุศลมีอะไร อารมณ์มหาสติปัฏฐานสูตรครบ จรณะ ๑๕ ครบ บารมี ๑๐ ครบ พรหมวิหาร ๔ ครบ อิทธิบาท ๔ ครบ และนิวรณ์ครบ ให้มันเกิดขึ้น
    <o:p></o:p>
    ๔. อนุรักขนาปธาน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว รักษาอารมณ์นั้นให้ทรงตัว ไม่ให้เสื่อม
    <o:p></o:p>
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง ๔ ทรงกำลังจิตอยู่ตลอดเวลา อย่าไปทรงเฉพาะเวลา ระวัง โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง มันจะมาบัง ไม่ยอมให้อาการทั้ง ๓ รากเหง้าของกิเลส แล้วก็บริวารของมันทั้งหมดเข้ามายุ่งกับใจ ใจของเราจะทรงอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง ๔ ตลอดเวลาที่ยังตื่นอยู่
    <o:p></o:p>
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ การทรงฌาน ๔ ไว้เป็นปกติ คือ ทรงอารมณ์ตั้งใจชอบ เมื่อทรงฌาน ๔ ไว้แล้ว ก็ใช้อารมณ์จากฌานนั้นถอยหลังเข้ามาถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาในมหาสติปัฏฐานสูตร ในตอนท้ายทุกข้อ ที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้ากล่าวว่า เมื่อเห็นแล้วก็รู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าเห็น เมื่อร่างกายเห็น อาศัยอยู่ก็สักแต่ว่าอาศัยอยู่ ไม่ยึดถือว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา สักแต่ว่านี่เป็นอาการที่ไม่ยึดถือ ไม่เกาะ ไม่กุม แล้วก็ตรัสว่า ไม่ยึดถือในร่างกายของเราด้วย ไม่ยึดถือในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย คือ ร่างกายภายนอก ร่างกายภายใน คือร่างกายที่เราอาศัยอยู่ ร่างกายภายนอก คือร่างกายของบุคคลอื่น และก็ไม่ยึดถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกด้วย ดังเช่นกระแสพระสัจธรรมขององค์สมเด็จพระบรมครูที่กล่าวว่า
    <o:p></o:p>
    สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ว่าท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
    <o:p></o:p>
    นี่ทุกข้อ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสทุกวัน ทุกจุด ฟังแล้วเอาไปคิดบ้างไหมว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงย้ำทุกข้อ พอจบท่านก็ย้ำ จงทราบว่า นี่เป็นวิปัสสนาญาณตัวยอด เป็นการทำลายสังโยชน์ ๑๐ ประการให้พินาศไปด้วยอำนาจสักกายทิฏฐิ จงอย่าเข้าใจเป็นอย่างอื่น
    <o:p></o:p>
    - สักกายทิฏฐิ มีอารมณ์ มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้มันเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา ทรัพย์สินต่าง ๆ ในโลกเป็นของเรา
    <o:p></o:p>
    ความโลภโมโทสันเป็นของเรา<o:p></o:p>
    ความโกรธ พยาบาทเป็นของเรา<o:p></o:p>
    ความหลงนั่นหลงนี่ นั่นเป็นของเรา นี่เป็นของเรา ยังมีอยู่ไหม ตัดตัวนี้ได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    - วิจิกิจฉา ความสงสัยในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัดได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    - สีลัพพตปรามาส ความไม่มั่นคงในศีล ตัดได้แล้วหรือยัง ตัดได้แล้วก็ตัดไป ตัดไม่ได้ก็พยายามตัดเสีย
    <o:p></o:p>
    - กามราคะ ตัดได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    - ปฏิฆะ อารมณ์กระทบกระทั่งจิต เกิดความไม่พอใจ ตัดได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    - มานะ การถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา ตัดได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    - อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน จิตไม่หวังพระนิพพาน ยัง ส่ายอยู่ในอารมณ์อื่น ตัดได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    - อวิชชา คือความเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก สวยสดงดงาม มีความน่ารักน่าใคร่ น่าอยู่ น่าอาศัย กำลังใจไม่ผูกพันในพระนิพพาน ตัดได้แล้วหรือยัง
    <o:p></o:p>
    ถ้ายังตัดไม่ได้ก็น่าหนักใจ เพราะว่าคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ไม่มีผลสำหรับท่านเสียแล้ว ท่านเป็นอาภัพพบุคคล เป็นคนที่ไม่ควรแก่มรรคผล ในพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นคนประเภท ปทปรมะ ก็เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
    <o:p></o:p>
    ที่ต้องกล่าวเรื่อง “มรรค ๘” ในเรื่องสติปัฏฐาน ๔ มาลงไว้ ณ ที่นี้ เพราะเป็นการชี้ชัดถึงความเข้มข้นในการปฏิบัติ ในลำดับต่า งๆ นั้น จำต้องวางอารมณ์หรือปัญญาในการตัดกิเลสแตกต่างกันเพียงใด โดยเฉพาะในเรื่องสติปัฏฐาน ๔ นั้น เป็นหัวใจ หรือเป็นทางสายเอกที่นักปฏิบัติ ที่นำหลักดังกล่าวมาใช้ในการปฏิบัติแล้ว จะเป็นหนทางที่เข้าไปถึงความจริงของชีวิต คือ อริยมรรค และเป็นหนทางที่รู้แจ้งแทงตลอด คือมรรคผลนิพพาน และที่เป็นทางอันเอกนั้นก็เพราะว่า เป็นหนทางเส้นเดียวที่มุ่งตรงไปสู่มรรคผลนิพพาน
    <o:p></o:p>
    มรรค ๘ จึงเป็นเรื่องการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งความเข้มข้นในลำดับต่าง จึงเป็นทางที่จะบ่งบอกว่า บุคลผู้ปฏิบัตินั้นก้าวล่วงเข้าสู่บันไดของความเป็นพระอริยะในขั้นใด ดังที่จะขอกล่าวแจกแจงไว้อย่างละเอียดในภาคต่อไป

    <o:p>www.kaskaew.com</o:p>
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน
    เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p

    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา
    [​IMG]</O:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE class=text border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=center>
    ธรรมสัญจร เล่ม ๖(๓)



    ภาคที่ ๒
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    หัวใจสำคัญ
    <o:p></o:p>
    ว่าด้วยเรื่องทาน ศีล ภาวนา
    <o:p></o:p>
    การจะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะในระดับต่าง ๆ นอกจากเครื่องมือหรือแนวทางสำคัญที่กล่าวมาในบทต้น ๆ ที่จะต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติแล้ว หลักใหญ่ซึ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และกระทำให้เกิดขึ้น เพราะสิ่งทีจะกล่าวดังต่อไปนี้ เป็นบันไดสำคัญที่สุด หรือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติซึ่งจะนำพาเราให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะ อาจกล่าวได้ว่า เป็นเครื่องมือหลักที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการวัดความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติทุกคนที่จะก้าวหรือกำลังก้าวเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลแล้วนั้น ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความสำเร็จไปถึงจุดดังกล่าวย่อมไม่อาจเป็นไปได้ หรือไม่อาจจะถึงที่หมายใด ๆ ได้ เพราะเครื่องมืออันนี้จะเป็นเครื่องวัดได้อย่างดีถึงดีกรีความสำเร็จของผู้ปฏิบัติ ว่าจะมีมากน้อยเพียงไร เครื่องมือที่จะช่วยประกอบเพื่อที่จะให้ก้าวเข้าถึงความสำเร็จ ดังกล่าวนั้นก็คือ เรื่องของ ทาน ศีล ภาวนา หรือจะเรียกอีกอย่างว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งภาวนานั้นก็จะแตกแยกเป็น สมถ และวิปัสสนานั่นเอง
    <o:p></o:p>
    เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านจะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงในเครื่องมือดังกล่าว เพราะจะเป็นกุญแจหลักสำคัญที่จะนำพาเข้าสู่ประตูที่หมายได้อย่างสำเร็จ แต่จะสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ก็อยู่ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้จักนำกุญแจดังกล่าวมาใช้ให้ได้ถูกต้องเพียงไรนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักนำมาใช้ให้ถูกวิธี หรือเหมาะสมแล้ว เป้าหมายข้างหน้าที่หวังไว้ย่อมไม่อาจที่จะประสบความสำเร็จดังที่ปรารถนา
    <o:p></o:p>
    จึงขอเสริมในหลักสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ทุกขั้นตอนหรือก้าวแต่ละขั้นที่จะนำพาให้ถึงฝั่ง โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ประการหลักที่จะต้องนำมาใช้และเป็นเครื่องเตือนใจทุกท่าน จึงสำคัญอยู่ที่การทำอารมณ์ใจหรือกำลังใจให้ถูกส่วน นำเครื่องมือที่มีหรือวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กล่าวคือ รู้จักที่จะเลือกเครื่องมือมาใช้ให้เหมาะสมกับอารมณ์ใจในขณะนั้น ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ รู้จักเทคนิคในการปฏิบัติตนให้เข้าถึงกับจริตและกำลังใจของตน พร้อมทั้งเรียนรู้และพัฒนา เพื่อจะก้าวเข้าสู่บันไดในขั้นต่อ ๆ ไป
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจในเครื่องมือหรือกุญแจสำคัญดังกล่าว ในที่นี้จึงขอนำมาอธิบายให้เข้าใจในแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ เพราะการจะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยะได้นั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่การกำจัดกิเลสที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิตให้ได้มากที่สุด กำจัดได้มากเพียงไร ความสำเร็จในลำดับต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้นเพียงนั้น ดังที่พระพุธองค์ทรงตรัสถึงรากเหง้าของกิเลส อันถือว่าเป็นแม่บทของกิเลส หรือเป็นสีหลักผสมกับสีอื่น ๆ ที่เรียกว่า แม่สี แม่ของกิเลสก็คือรากเหง้าของกิเลสนั่นเอง หรือจะเรียกอีกประการหนึ่งว่า จอมกิเลส ก็ได้
    <o:p></o:p>
    จอมบงการของกิเลสก็ได้แก่ กิเลส ๓ ประการ คือ<o:p></o:p>
    โลภะ ความโลภ<o:p></o:p>
    โทสะ ความโกรธ<o:p></o:p>
    โมหะ ความหลง
    <o:p></o:p>
    เครื่องมือหรือกุญแจในการกำจัดสิ่งดังกล่าวก็คือ โลภะ ความโลภ พระองค์ทรงแนะนำให้ทำลายด้วยการให้ทาน เพราะการให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการให้ ส่วนโลภเป็นตัวดึงเข้ามา นี่เป็นศัตรูกัน ส่วนโทสะ ความโกรธ จะต้องใช้กุญแจหรือเครื่องมืออีกตัวก็คือ กำจัดหรือทำลายมันด้วยศีล เพราะศีลจะมีได้เพราะอำนาจเมตตาบารมีเป็นสำคัญ เป็นคุณธรรมทำให้ใจเยือกเย็น ส่วนในด้านโมหะ ความหลงนั้น ก็ใช้ปัญญาหรือตัววิปัสสนา เป็นเครื่องมือในการกำจัด ให้คลายความหลงหรือตัวยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเราของเราอีกต่อไป ก็คือ ไปลงที่สักกายทิฏฐิตัวเดียว ซึ่งก็จะขออธิบายโดยละเอียดต่อไปตามคุณธรรมของบันไดในแต่ละขั้น แต่ก็มีข้อที่น่าสังเกตหรือควรพิจารณาอยู่ประการหนึ่งที่ว่า กิเลสทั้ง ๓ ประการ มันก็เปรียบเหมือนกับโต๊ะ ๓ ขา โต๊ะถ้ามีอยู่ ๓ ขา หากเราทำลายเสียขาใดขาหนึ่ง ที่เหลืออีก ๒ ขา มันก็ทรงตัวไม่ไหว มันก็ต้องสลายไปด้วย เพราะมันเป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน ถึงแม้ว่าจะไม่สลายหมด แต่กำลังของมันก็จะเหลือน้อยเพียงแค่อนุสัย
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่างนี้ แยกกันไม่ได้ จะต้องให้สม่ำเสมอกัน ถ้าเราศีลไม่บริสุทธิ์ สมาธิก็มีรูรั่ว ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ ความโหดร้ายของจิตมันก็มี ถ้าเรามีความโหดร้ายของจิต อารมณ์จิตไม่เยือกเย็น สมาธิก็เกิดไม่ได้ ถ้าสมาธิไม่มีปัญญาก็เกิดไม่ได้ ปัญญาในที่นี้หมายความถึงปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในด้านของวิปัสสนาญาณ เป็นอันว่า ๓ ประการนี้ ต้องควบคู่อยู่ตลอด มิเช่นนั้น การปฏิบัติย่อมไม่มีผล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    .....ว่าด้วยเรื่อง.....
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทาน
    <o:p></o:p>
    คนทุกคนย่อมมีวาสนาบารมีไปนิพพานได้ทุกคน แต่จะไปถึงเมื่อไร ชาติไหน ก็ต้องอาศัยทำความดีสะสม หรือที่เรียกว่า บารมี ๑๐ และตัดสังโยชน์ ๑๐ ให้ได้มากที่สุด จนกระทั่งบารมี ๑๐ เต็มบริบูรณ์ และตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้เด็ดขาดแล้วนั้น นิพพานย่อมเป็นอันหวังได้ ทั้งนี้เพราะ นิพพะ แปลว่า ดับ ดับจากกิเลสทุกอย่าง ดับจากอารมณ์เศร้าหมองทุกอย่าง ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ไม่ดี ไม่มีในใจของเรา
    <o:p></o:p>
    ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน การบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา ความจริงแล้วทรงกำหนดไว้ว่ามี ๓ ประการก็คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน<o:p></o:p>
    ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล<o:p></o:p>
    ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    <o:p></o:p>
    ทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า รากเหง้าของกุศล และก็มีรากเหง้าของอกุศล ทั้งสองอย่างนี้ เราจะต้องเกิดมีความสุขและความทุกข์ ถ้าเราไม่สามารถชนะรากเหง้าของอกุศลได้ เราก็ไม่สามารถจะหลีกไปจากวัฏสงสารได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะเป็นปกติ
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าเราสามารถทำลายรากเหง้าของอกุศลทั้ง ๓ ประการได้ เราก็ไปนิพพานได้ ลีลาที่ไปนิพพานก็มีหลายแบบ ที่พระพุทธเจ้าสอนหลายแบบก็เพราะว่า อัธยาศัยของคนไม่เสมอกัน มีปัญญาไม่เสมอกัน อาศัยการบำเพ็ญบารมีเข้มข้นคนละจุด พระพุทธเจ้าจึงต้องสอนหลายแบบ เพื่อให้ถูกอัธยาศัยหรือบุญบารมีเดิมของแต่ละบุคคล
    <o:p></o:p>
    รากเหง้าของอกุศล
    <o:p></o:p>
    สำหรับรากเหง้าอกุศลทั้ง ๓ ประการก็มี
    <o:p></o:p>
    - โลภะ ความโลก หรือ ราคะ ความรัก<o:p></o:p>
    - โทสะ ความโกรธ<o:p></o:p>
    - โมหะ ความหลง
    <o:p></o:p>
    สำหรับโลภะกับราคะ ก็เป็นตัวเดียวกัน เพราะถ้าเราไม่รัก เราก็ไม่อยากได้ โลภะแปลว่าอยากได้ แต่ว่าที่แยกออกมาเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
    <o:p></o:p>
    ทั้ง ๓ อย่างนี้ ถือเป็นรากเหง้าใหญ่ของอกุศล กิเลสจะมีกี่ประเภทก็ตาม ผลที่สุดก็รวมอยู่ที่ ๓ อย่างด้วยกัน ถ้าเราสามารถทำลายรากเหง้าของอกุศลทั้ง ๓ ประการนี้ได้ เราก็ไปนิพพานได้
    <o:p></o:p>
    วิธีที่จะทำลายรากเหง้าของอกุศลได้ เราก็ต้องสร้างรากเหง้าของกุศลขึ้นมาแทน ทั้งนี้เพราะคำว่า นิพพะ แปลว่า ดับ ดับจากกิเลสทุกอย่าง ดับจากอารมณ์เศร้าหมองทุกอย่าง ขึ้นชื่อว่า อารมณ์ไม่ดีไม่มีในใจของเรา เราต้องค่อย ๆ ทำดังเช่นได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องการบำเพ็ญกุศล ในพระพุทธศาสนา ซึ่งก็เป็นรากเหง้าของกุศล กล่าวคือ
    <o:p></o:p>
    - ทาน การให้ หรือที่เรียกว่าทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน<o:p></o:p>
    - สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล<o:p></o:p>
    - ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    <o:p></o:p>
    สำหรับทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน เป็นเครื่องตัดโลภะ ความโลภ ซึ่งเป็นรากเหง้าใหญ่ส่วนหนึ่งของอกุศล ถ้าการบริจาคทานมีอารมณ์ครบถ้วนในจิต เวลานั้น ความโลภก็หมดไปจากจิต
    <o:p></o:p>
    สำหรับศีล เป็นเครื่องตัดโทสะ ความโกรธ เพราะว่าคนที่จะปฏิบัติศีล ต้องมีพรหมวิหาร ๔ คือมีเมตตา กรุณา
    <o:p></o:p>
    ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา อันนี้ตัดโมหะ ความหลง ถ้าตัดตรง ๆ จริง ๆ ก็แค่ ๓ อย่าง
    <o:p></o:p>
    ในที่นี้จะขอกล่าวอธิบายในเรื่องของทานเป็นหัวข้อสำคัญ จะอธิบายให้ละเอียดเป็นเรื่อง ๆ เพื่อความเข้าใจในเรื่องทานให้ชัดเจนขึ้น และสำหรับเรื่องศีลกับภาวนามัยนั้น ก็จะเป็นรายละเอียดที่จะกล่าวในภาคถัดไป<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีจะตัดโลภะ ความโลภออกจากจิต พระพุทธเจ้าให้ใช้จาคานุสสติกรรมฐานเป็นกำลังหนุน คำว่า จาคานุสสติก็หมายความว่า จิตคิดไว้เสมอว่า เราจะสงเคราะห์สัตว์อื่นหรือบุคคลอื่นนอกจากตัวเราให้มีความสุข ตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ ถ้ายังคิดอยู่ ถือว่าเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน ถ้าลงมือทำถือว่าเป็นทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ถ้าให้ถือว่าเป็นทาน คิดว่าจะให้เป็นจาคานุสสติ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องมีอารมณ์ควบกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จิตของเราคิดไว้เสมอว่า เราพร้อมที่จะให้ พร้อมที่จะสงเคราะห์ คนก็ดี สัตว์ก็ดี ในโลกนี้ ถ้ามีทุกข์ขึ้นมา ถ้าทุกข์นั้นไม่เกินวิสัยที่เราจะเปลื้องได้ เราจะเปลื้องให้ทันที เราจะให้ทันที เพราะว่าการให้ทานเป็นการกำจัดโลภะ ความโลภ เป็นก้าวหนึ่งที่จะถึงนิพพาน การให้ทานเป็นการสละกำลังใจที่เต็มไปด้วยมัจฉริยะ คือความตระหนี่
    <o:p></o:p>
    การเจริญจาคานุสสติกรรมฐาน มิใช่นั่งนึกเฉย ๆ ต้องปฏิบัติด้วย เห็นว่าทรัพย์ทั้งหมดที่ปรากฏที่มีอยู่นี้ ไม่มีใครซึ่งเป็นเจ้าของสมบัติที่ปกครองอยู่ เวลาตายจะนำไปได้ เราจะต้องรวบรวมกำลังใจสร้างความดี ค่อย ๆ ทำ นั่นก็คือใช้จาคานุสสติกรรมฐาน ใช้อารมณ์นึกไม่ต้องนั่งสมาธิ พร้อมเสมอที่จะสงเคราะห์ตามกำลังและโอกาสที่เราพึงจะทำได้ ทรงอารมณ์เป็นจาคานุสสติอยู่เสมอ
    <o:p></o:p>
    และจิตตัวหนึ่งที่คิดว่า เราอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นของเราโดยไม่ชอบธรรม โดยที่เจ้าของเขาไม่ให้ ไม่เต็มใจจะให้บังคับเอา เอาด้วยเล่ห์อื่นบ้าง การโกงบ้าง อย่างนี้ไม่มีสำหรับเรา เราคิดว่าทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ที่เราจะพึงได้ ต้องได้มาโดยชอบธรรม หาเองหรือคนอื่นเขาให้ เขาให้ด้วยความเต็มใจ พร้อมด้วยจิตคิดจะให้มีอยู่อย่างนี้ องค์สมเด็จพระบรมครูถือว่าเป็นผู้บริบูรณ์ไปด้วยทานบารมี
    <o:p></o:p>
    นั่นก็หมายความว่า โลภะ ความโลภในจิตของเรา เราชนะความโลภได้แน่ ความโลภไม่มีแน่ ไอ้ตัวโลภจริงๆ มันหมายถึงว่า คนที่อยากจะได้ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านเขามาโดยไม่ชอบธรรม แต่ว่าถ้ามีความขยันหมั่นเพียร เราเป็นคนจน สร้างตนให้เป็นคนรวยด้วยสัมมาอาชีวะอย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตำหนิ ไม่ถือว่าเป็นความโลภ ถือว่าเป็นสัมมาอาชีวะ หาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
    <o:p></o:p>
    ทีนี้เราก็นั่งมองใจของเราว่า ไอ้ใจของเรานี่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของเขาไหม คิดอยากโกงเขาไหม อย่างนี้เป็นต้น เราคิดอยากจะให้มีไหม ถ้าความบกพร่องในการให้ยังไม่คิด ยังไม่ครบถ้วน ก็คิดให้ครบถ้วน ให้จิตมันทรงตัว ถ้าอารมณ์คิดว่าอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านมาโดยไม่ชอบธรรมมีอยู่ ก็พยายามกำจัดมัน คือการเปรียบเทียบ อย่างนี้จัดเป็น อัตตนา โจทยัตตานัง “เตือนตนของตนเองไว้เสมอ”
    <o:p></o:p>
    กล่าวได้ว่า จาคานุสสติกรรมฐานเป็นตัวสำคัญ เป็นกรรมฐานใหญ่ สามารถจะนำจิตใจของเราเข้าถึงพระนิพพานได้ เพราะว่าโลกนี้มันเป็นทุกข์ ถ้าเราฝึกความดี คือการให้ทานก็ดี การรักษาศีลก็ดี การเจริญภาวนาก็ดี เพราะเราต้องการจะไปให้พ้นจากโลก อันเต็มไปด้วยความทุกข์ และตัวที่จะเกาะทำให้เราเกิดความทุกข์ ก็อาศัยเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว ๓ ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อกิเลสหรือความเศร้าหมองของจิตอันเกิดจากเหตุดังกล่าวมาเกาะกินใจ เราก็จะเป็นทาสของมัน ซึ่งนำพาความทุกข์ให้เกิดมาอีก ไม่รู้จักจบสิ้น เราจึงต้องหาวิธีการมากำจัดกิเลสเหล่านั้นให้หมดไปจากใจของเรา ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไป ส่วนเรื่องการกำจัดหรือตัดความโลภ เราก็จะต้องให้ทาน ให้บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทานกับคนหรือสัตว์ก็ตาม การให้ทานบ่อย ๆ ความโลภก็หมดไปทีละน้อย ทีละน้อย ในที่สุดมันก็หมดไป มันก็สลายตัวไป เขาเรียกว่า ทำน้อย ๆ ทำบ่อย ๆ แต่กำลังใจเต็ม)<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น ทุกคน เวลาจะทำบุญ ให้ปรารภอย่างนี้ ทำบุญทุกอย่างให้หนัก แต่อย่าใช้เงินให้มาก ใช้เงินมากไปเดือดร้อน ทำน้อย ๆ ทำบ่อย ๆ แต่กำลังใจต้องเต็ม อันดับแรก ต้องถือว่าเราต้องการนิพพาน ถ้ายังไม่ถึงนิพพาน พักอยู่สวรรค์หรือพรหมโลก มันจะพักเองไม่ต้องหวัง ในเมื่อกำลังใจเดิมต้องการนิพพาน ไปเป็นเทวดาหรือพรหมก็หวังนิพพานต่อไป มีหวังไปได้ ทำบุญหรือให้ทานทุกครั้ง ปรารถนาไปนิพพาน อยู่ที่การทำกำลังใจของเรานั้นเอง เพราะในบารมี ๑๐ ทัศ ถ้ามีทานบารมีเต็มอย่างเดียว ตัวอื่นเต็มหมด ทุกอย่างเต็มหมด ขึ้นอยู่กับการทำอารมณ์หรือกำลังใจให้ถูกส่วน ทานตัวเดียวก็สามารถไปนิพพานได้ ดังที่จะกล่าวต่อไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพื่อความเข้าใจเรื่องของทานบารมีมากขึ้น จึงขอยกเอาคำสอนในเรื่องของทานบารมีควบกับอริยสัจ เพื่อที่จะยกเอาเหตุของความดับในความโลภ เมื่อเล็งเห็นโทษของความทุกข์ที่ได้เกิดมามีขันธ์ ๕ ดังนั้น เราจะหลุดพ้นจากวงจรของวัฏฏะนี้ได้ ก็ต้องตัดหรือกำจัดกิเลสให้หมดไปจากจิต ขั้นแรก ในเรื่องทานก็ต้องตัดโลภะ ความโลภ โดยเอาอริยสัจมาเปรียบเทียบ เพื่อคลายจากความยึดมั่นถือมั่น สละความโลภออกจากจิต เพราะในท้ายสุดของชีวิตก็ไม่เหลืออะไรเป็นแก่นสารที่พอจะยึดถือเอาอะไรไปได้ทั้งสิ้น
    <o:p></o:p>
    เรื่องของทานบารมี เมื่อมาเปรียบเทียบกับอริยสัจ
    <o:p></o:p>
    “อริยสัจ ที่เห็นว่าร่างกายของเราเป็นทุกข์ ร่างกายของคนอื่นก็เป็นทุกข์ วัตถุธาตุที่เรามีความหลงใหลใฝ่ฝัน ก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ เพราะว่าเราหลงใหลในกายของเรา เห็นว่าร่างกายนี้มันเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา เห็นว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันเป็นเรา เป็นของเรา
    <o:p></o:p>
    และเราก็นั่งฝังความโง่ไว้ในจิต โดยที่เราไม่เคยคิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันจะเสื่อม ทั้ง ๆ ที่มันยังเสื่อมอยู่ และเราก็ไม่เคยคิดว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้คือร่างกายนี้ทั้งหมดมันจะพังไปในที่สุด ความเมาในชีวิต การมีอารมณ์คิดตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เราจึงได้ตั้งหน้าตั้งตาแบกความทุกข์ คำว่าตั้งหน้าตั้งตาแบกความทุกข์ เพราะว่าในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เป็นไปตามความปรารถนา เราก็มีความทุกข์ใจ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงได้ทรงแนะนำให้หาความเต็มในอารมณ์ของจิต ความเต็มในอารมณ์ของจิตในอันดับแรก จับจุดให้มันเต็มจริง ๆ เนื้อแท้จริง ๆ แล้วมันเต็มอย่างเดียว มันก็เต็มหมด ถ้าเต็มหมด ขึ้นชื่อว่าความทุกข์ทั้งหมดมันก็ไม่มี เราก็มานั่งคิดว่า ท่านบอกว่า
    <o:p></o:p>
    “ร่างกายของเราจะมี เป็นเหตุของความทุกข์ เป็นเครื่องรองรับความทุกข์ ก็เพราะว่าอาศัยตัณหาเป็นสำคัญ”
    <o:p></o:p>
    เราก็มานั่งดูคำว่า “ตัณหา”
    <o:p></o:p>
    “ตัณหา” แปลว่า ความทะยานอยาก อยากจะรวย เมื่ออยากรวยเป็นอย่างไร คนที่อยากรวยจริง ๆ ไม่ได้มองหาความจริงของความตายที่มันจะเข้ามาถึง และก็ผลของความร่ำรวยไม่ได้เป็นปัจจัยของความสุข ผลของความร่ำรวยมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราเคยคิดบ้างไหม เคยได้ยินบ้างไหมว่า
    <o:p></o:p>
    คนรวยคนไหนไม่แก่มีไหม<o:p></o:p>
    คนที่เขาร่ำรวยที่เขาไม่ป่วยไม่ไข้มีไหม<o:p></o:p>
    คนที่ร่ำรวยไม่ตายมีไหม
    <o:p></o:p>
    หรือว่าคนที่ร่ำรวยไม่มีอาการเคลื่อนไหวทางจิต คือมันมีแต่อารมณ์เป็นไปตามความชอบใจของเราเสมอมีบ้างไหม
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะพูดกันไปก็ไม่มีใครที่ไหน มันหาไม่ได้
    <o:p></o:p>
    คนที่รวยแสนรวยนี่ตายนับไม่ถ้วน เราได้ฟังมหาเศรษฐีตาย คนที่มียศใหญ่ตาย คนที่มีอำนาจวาสนาบารมีใหญ่ตาย ทำไมเขาจึงตาย ถ้าจะถามว่าเขาอยากตายหรือ ก็จะตอบได้ทันทีว่าคนพวกนี้ไม่อยากตาย ในเมื่อไม่อยากตาย ทำไมเขาจึงไม่เอาความร่ำรวยไปช่วยไม่ให้ตาย ก็จะต้องตอบว่า ทรัพย์ที่เป็นโลกีย์วิสัยไม่สามารถจะช่วยอะไร คือไม่สามารถจะป้องกันกฎของธรรมดาได้<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ในเมื่อกฎธรรมดามีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายไปในที่สุด ทั้งร่างกายของคน ร่างกายของสัตว์ และวัตถุธาตุต่าง ๆ มีสภาพเสมอกัน กฎธรรมดามีอย่างนี้ จะมีทรัพย์อะไรที่ไหน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีอำนาจวาสนาปกครองคนทั้งโลก พระเจ้าจักพรรดิก็ตาย
    <o:p></o:p>
    เราก็มานั่งมองว่า ตัณหาตัวที่หนึ่ง นั่นก็คือทะยานอยาก มัวเมาอยู่ในทรัพย์ในสิน คิดว่าเรารวยเสียแล้วเรามีความสุข ความจริงรวยไม่มีความสุข รวยก็ไม่สุข ไม่รวยก็ไม่สุขในด้านของวัตถุ แต่ถ้ารวยกำลังใจในการให้ทานมีความสุข
    <o:p></o:p>
    วิธีหาความสุขเขาไม่ได้หากันชาติหน้า เขาหากันชาตินี้ การที่จะไปนิพพานอย่าไปมุ่งเอานิพพานชาติหน้า ถ้าชาตินี้จิตใจมันไม่ถึงนิพพาน ชาติหน้ามันก็ไม่ถึง นิพพธาตุเป็นไปในความดับ
    <o:p></o:p>
    คำว่าดับในที่นี้ไม่ได้ดับชีวิต ดับอารมณ์คิดที่อยากจะมีความร่ำรวย เพราะตัณหาทะยานอยากเป็นตัวดึงเข้ามา ดังทรัพย์ดึงสินเข้ามาสะสม และก็มีความมัวเมาในทรัพย์สิน มัวเมาในชีวิต คิดว่าทรัพย์กับเราจะไม่แยกกัน
    <o:p></o:p>
    บางคนรวยเป็นมหาเศรษฐี แต่ว่าต่อมาปลายมือก็เป็นยาจกก็มี บางคนรวยแสนรวยแต่หาความสุขอะไรไม่ได้เลยก็มี เวลานี้มีมาก ถ้าหากว่าท่านจะเข้าไปในบ้าน เข้าไปถึงกำลังใจของบรรดามหาเศรษฐีทั้งหลาย จะรู้สึกว่าบรรดาท่านมหาเศรษฐีทั้งหลายเหล่านั้นไม่มีความสุข เพราะไม่มีคำว่าพอ มีอารมณ์เป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    ถ้าเราจะทำทานบารมีให้เต็ม เราทำอย่างไร ต้องรักษากำลังใจให้มันตรง การที่เราจะเอาชนะ ต้องชนะกันจริง ๆ ไม่ใช่ว่าเวลานี้ชนะแล้ว เวลาหน้าแพ้ อารมณ์ใจต้องเต็มไปด้วยความเสียสละ อารมณ์ใจต้องเต็มไปด้วยการสงเคราะห์ มีจิตใจคิดไว้เป็นปกติว่า ชีวิตนี้ทั้งชีวิต ร่างกายทุกจุด อิริยาบถทุกอิริยาบถที่เราเกิดมาเป็นคน เราเกิดมาเพราะตัณหาคือความอยากรวย ความมัวเมาในทรัพย์สิน ความมัวเมาในร่างกายเป็นปัจจัยให้เราเกิดมาเป็นทุกข์ เราจะแสวงหาความสุข ความสุขนี่ไม่ได้แสวงหาชาติหน้า แสวงหามันเดี๋ยวนี้
    <o:p></o:p>
    อันดับแรกในระยะต้น เราจะทำความรู้สึกในใจของตนว่า เราจะเป็นผู้สงเคราะห์ทั้งคนและสัตว์ให้มีความสุข ตามกำลังที่เราจะพึงหาได้ ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่เกินวิสัยสำหรับเรา และมันเป็นการเกินวิสัยสำหรับเขาที่จะช่วยตัวเองได้ เราก็ช่วยตามกำลัง ช่วยมากไม่ได้ก็ช่วยน้อย ช่วยบ่อยไม่ได้ก็นาน ๆ ช่วย แต่ว่าใจของเราคิดจะช่วยอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก จิตคิดประกอบไปด้วยความเมตตาปรานี อยากจะสงเคราะห์ให้เขามีความสุข ขึ้นชื่อว่าอารมณ์แห่งความมัวเมาในทรัพย์สิน คิดว่าทรัพย์สินกับเราจะอยู่ด้วยกันตลอดกาลตลอดสมัยไม่มีในจิตของเรา นั่งมองดูความจริงว่า คนที่มีทรัพย์เขาตายไปเขาแบกอะไรไปได้บ้าง เรียกว่าทรงอารมณ์จาคานุสสติกรรมฐาน ดังที่อธิบายมาแล้วนั่นเอง<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลของทาน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าหากว่าเราเริ่มต้นด้วยการสงเคราะห์ ความสุขก็เริ่มตามมา ความสุขที่จะตามมาในชาตินี้นั่นก็คือ ความสุขที่เกิดจากความรัก ในอันดับแรกการให้เป็นปัจจัยให้เกิดความรัก การยื้อแย่งเขาเข้ามาเป็นปัจจัยให้เกิดความโกรธ แล้วก็มานั่งมองว่า คนที่มีคนรักมาก กับคนที่มีคนโกรธมาก คนประเภทไหนจะมีความสุขกว่ากัน อย่างนี้อธิบายไม่ยาก คนที่มีคนรักมากมีความสุข อันนี้เป็นสุขเบื้องต้นในชาติปัจจุบัน ที่เราจะมองเห็นว่า ถ้าทานบารมีของเรามีอยู่เป็นปกติ เราจะเป็นที่รัก ที่ท่านกล่าวว่า ผลของทาน คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ปิโย จะได้เป็นที่รักของคนทั่วไป
    <o:p></o:p>
    ๒. กิตติสัทโธ ชื่อเสียงของคนที่มีใจดี ปรารถนาในความปรานีบุคคลทั้งหลายจะฟุ้งขจรไป
    <o:p></o:p>
    ๓. วิสารโท จะเป็นผู้แกล้วกล้าในหมู่มวลชน เพราะไปไหนก็มีแต่คนรัก จะไปกลัวอะไรกัน
    <o:p></o:p>
    ๔. อสัมมุฬโห เมื่อเวลาจะตายไม่หลงตาย
    <o:p></o:p>
    นี่แสดงว่า ด้วยอำนาจทานบารมี ให้กำลังใจ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ปิโย เป็นที่รัก ในเมื่อเราเป็นที่รักของคนทั้งหลาย เราก็มีความสุข
    <o:p></o:p>
    ๒. กิตติสัทโธ เมื่อความดีฟุ้งขจรไปที่ไหนก็มีแต่คนชอบใจ อยากจะคบค้าสมาคม อยากจะคบหาด้วย อยากจะเกื้อกูล อยากจะสงเคราะห์ จะไปพักที่ไหน จะไปอยู่ที่ไหน ก็มีแต่คนรัก เพราะชื่อเสียงฟุ้งไป แม้แต่เขาทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่ได้รับผลของการให้ของเราเขาก็ชอบใจ เรามีความสุขหรือความทุกข์ นี่มันก็เริ่มมีความสุข
    <o:p></o:p>
    ๓. วิสารโท จะไปไหนก็มีแต่ความองอาจ ไม่หวาดหวั่นต่ออันตราย เพราะไม่ต้องกลัวใคร มีคนรักเสียแล้ว ไปที่ไหนก็มีแต่คนรัก อันตรายที่ไหนจะมี เหตุทั้ง ๓ ประการนี้ทำอารมณ์ใจให้เป็นสุข
    <o:p></o:p>
    ๔. อสัมมุฬโห เมื่อจิตมันเป็นสุข จิตไม่มีอารมณ์กระสับกระส่าย จิตไม่มีความระแวงระไว จิตไม่มีความเร่าร้อน อารมณ์ใจก็เป็นสุข เวลาตายไม่หลงตาย
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะทานบารมีที่คุมกำลังใจของเราให้เข้าถึงจุดดับ ดับตัวไหน ดับตัวทุกข์ คือหมายถึงว่าดับอันตราย เพราะจิตใจของเราคิดจะให้ และจะให้อยู่ ชื่อว่าทรัพย์สินของบุคคลใดก็ดี เราไม่เคยคิดอยากจะได้ ถ้าจะได้ก็ต้องอาศัยเจ้าของเป็นผู้เต็มใจให้
    <o:p></o:p>
    และการจะยอมรับก็ต้องมองดูว่า ควรรับหรือไม่ควรรับ ถ้าสิ่งที่เขาให้มันเป็นการเกินวิสัยฐานะของเขา เราไม่ควรรับ เราก็ไม่รับ เพื่อเป็นการรักษากำลังใจของบุคคลผู้ให้
    <o:p></o:p>
    และน้ำใจของเราก็มีจิตคิดไว้เสมอว่า วัตถุธาตุทั้งหมดมันมีประโยชน์แต่เฉพาะในเวลาที่เรามีชีวิตเท่านั้น ร่างกายยังทรงอยู่เพียงใด วัตถุธาตุทั้งหลายสามารถจะให้โอกาสที่เราจะใช้สอยมัน แต่ทว่าเราก็ใช้สอยแต่พอสมควร
    <o:p></o:p>
    มามองดูความเกิด อย่าลืมความเกิดว่า ร่างกายที่มันเกิดทุกข์มาได้ก็เพราะอาศัยเราอยากจะได้ อยากจะดึงเข้ามานี่ เราสามารถจะผลักอารมณ์ที่รักในวัตถุ ความจริงเรารัก แต่ทว่ารักเฉพาะในกิจที่มีความจำเป็น แต่อารมณ์รักในการสะสมไม่มี จิตคิดไว้เสมอว่า ร่างกายนี้ไม่ช้าก็สลาย ธาตุ ๔ พังไปอะไรมันจะเหลือ ทรัพย์สินที่มีอยู่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อร่างกายพังแล้ว<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงเห็นประโยชน์ในเรื่องนี้ จึงสอนให้รู้จักการเสียสละ คือสละทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น แต่ว่าการให้ด้วยการรักษากำลังใจให้พอเหมาะพอดี อย่าถึงกับเป็นการเบียดเบียนเกินไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การใช้ อริยสัจ คือ สักกายทิฏฐิ ร่วมกับ ทานบารมี เป็นการตัดตัวที่สำคัญ ถ้ากำลังใจของบรรดาพุทธบริษัททุกท่าน ค่อย ๆ ตัดจนกระทั่งหมดความเมา เห็นทรัพย์สินทั้งหลายก็มองหาประโยชน์ว่า ทุกชิ้นทุกอันนี่เป็นวัตถุขึ้นมา เราคิดว่านี่เป็นปัจจัย คือเป็นเชื้อสาย เป็นทุนให้เราตัดความทุกข์ เราจะแสวงหาความสุขในชาติปัจจุบัน คือเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้มีความสุข ถ้าเราสามารถจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้เป็นปกติ จนกระทั่งจิตไม่คิดเสียดายของที่ให้ไปอย่างนี้ ชื่อว่าจิตใจของท่านทั้งหลายเข้าถึงความดับที่เรียกว่า นิพพาน เป็นดับจุดหนึ่ง คือกำลังของตัณหาที่จะดึงเข้ามา ที่เรียกกันว่า ความโลภ นั่นเอง
    <o:p></o:p>
    การให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทน
    <o:p></o:p>
    สำหรับการให้ทานนี่ บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย และบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน พยายามให้ทานตามนี้ เพราะว่าการให้ทานครั้งแรก ๆ ทานนี้ ท่านได้พูดไว้แล้วว่า มีพรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐาน คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แต่ทว่าในตอนต้น กำลังใจเราอาจจะหวั่นไหวอยู่มาก ถ้าไปคิดว่าจะไปให้ทานกับคนที่เราไม่ชอบใจ คือว่าทำให้เราไม่ชอบใจไว้ก่อน ใจอาจจะไม่สบาย เพราะการให้ทานจะมีผลดี ต้องมีเจตนา ๓ ประการครบถ้วน นั่นคือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ก่อนจะให้ ตั้งใจว่าจะให้
    <o:p></o:p>
    ๒. ขณะให้อยู่ก็เต็มใจให้
    <o:p></o:p>
    ๓. เมื่อให้แล้วก็มีความปลื้มใจ มีความอิ่มใจว่าเราทำการสงเคราะห์แล้ว คือให้ทานแล้ว นี่ชื่อว่า เจตนา ๓ ประการ ถ้ามีครบถ้วนมีอานิสงส์มาก แต่เรื่องของอานิสงส์นี่ก็ต้องดูบุคคลก่อน ถ้าบุคคลผู้รับไม่บริสุทธิ์ คือหมายถึงพระก็ดี ฆราวาสก็ดี เณรก็ดี ถ้าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ผลทานเราก็ลดไป ๑ ใน ๓ ถ้าเราเองไม่บริสุทธิ์ก็ลดไปอีกหนึ่ง ถ้าวัตถุทานไม่บริสุทธิ์ด้วยเลยไม่มีผลกันเลย ฉะนั้น การให้ เราต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ วัตถุทานก็ต้องบริสุทธิ์ ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่คดไม่โกงใครมา ยื้อแย่งใครเขามา ผู้รับทานเป็นผู้บริสุทธิ์จึงจะมีอานิสงส์เลิศ
    <o:p></o:p>
    แต่สำหรับทานบารมีนี่ เราต้องการตัดโลภะ ความโลภ คือหวังทำลายกิเลสให้สิ้นไป เราหวังนิพพาน ฉะนั้น การให้ทาน เราอาจจะไม่เลือกบุคคลก็ได้ แต่ทว่าต้องดูกันก่อน ในตอนแรก ๆ ก็ต้องเลือก ถ้าไม่เลือกผลมันจะไม่มีความหมาย ทั้งนี้ เพราะอะไร ก็เพราะว่า ถ้าคนที่เราไม่ชอบใจ คิดว่าจะให้ทานเมื่อไร ใจมันก็ย่อมไม่เป็นสุข อารมณ์จะขุ่นมัว ทีนี้ในเมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ต้องเว้นเสียก่อน เว้นคนที่เขาประกาศตนเป็นศัตรูกับเรา ให้เฉพาะบุคคลที่ไม่เป็นศัตรูกับเรา
    <o:p></o:p>
    ต่อไปก็ความเมตตากรุณามีความสูงขึ้น อารมณ์ของอุเบกขาทรงตัว คือวางเฉย วางเฉยได้ในอาการของคนอื่น เราก็ให้ทั้ง ๆ ที่คนที่เราชอบเราไม่ชอบก็ให้ ความจริงการให้ทานสัตว์เดรัจฉานนี่อย่าไปนึกว่ามีผลน้อย ถ้าเราให้บ่อย ๆ มันก็เกิดผลมาก พยายามให้เพื่อทำให้จิตเป็นสุข นี่ลักษณะการให้ทานต้องค่อย ๆ ทำ
    <o:p></o:p>
    และอีกประการหนึ่ง การให้ทานคิดไว้เสมอว่า คนที่เราให้ อย่าไปหวังการตอบแทนของเขา ให้จำไว้อย่างเดียวว่า การให้ทาน อย่าหวังผลตอบแทนในชาติปัจจุบัน ก็ต้องคิดไว้ว่า เขาเป็นคนดี ถ้าเขาจะเลวก็เป็นเรื่องเลวของเขา ทำใจให้เป็นสุข คิดว่าเราให้ทานเพื่อความบริสุทธิ์ของจิต จิตจะได้ตัดโลภะ ความโลภ นี่เป็นลักษณะการให้ทาน<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประเภทของทาน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทาสทาน สหายทาน สามีทาน
    <o:p></o:p>
    การให้ทาน บรรดาท่านพุทธบริษัทเป็นปัจจัยในกามาวจรสวรรค์ องค์สมเด็จพระพิชิตมารกล่าวว่า การให้ทานนี้จัดเป็น ๓ ระดับด้วยกัน นี่แบบหนึ่งนะ อันที่จริงมันมีหลายแบบ ทาน ๓ ระดับ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ทาสทาน เวลาที่เราจะให้ทาน เราก็ให้ของเลวกว่าของที่เรากินเราใช้ จัดเป็นบารมีต้น
    <o:p></o:p>
    ๒. สหายทาน เวลาที่เราให้ เราให้ของเสมอกับที่เรากินเราใช้ จัดเป็นอุปบารมี
    <o:p></o:p>
    ๓. สามีทาน เวลาที่เราจะให้ เราให้ขอที่ดีกว่าที่เรากินเราใช้ จัดเป็นปรมัตถบารมี
    <o:p></o:p>
    นี่เป็นเครื่องวัดกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เราวัดใจของเราเองว่า เวลาที่เราจะให้ทานน่ะ การให้ทานนี้ต้องให้เพื่อการสงเคราะห์อย่างเดียว ไม่ให้เพื่อหวังผลตอบแทน ไม่ใช่ว่าเราให้ทานแล้วก็มานั่งนึกทีหลังว่า คนนี้เราให้ไปแล้ว คนนั้นเราให้ไปแล้ว แต่ให้ไปแล้ว ไม่รู้จักบุญคุณ ไม่รู้จักตอบแทนเรา ถ้าท่านทั้งหลายมีเจตนาในการให้ทานแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า เป็นการให้ทานที่มีกำลังใจยังไม่เต็ม บารมีส่วนนี้ยังมีกำลังอ่อนอยู่ แล้วก็เป็นบารมีที่ดึงลงอบายภูมิได้ง่าย ๆ
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราให้ทานแล้วหวังผลในการตอบแทน ในการตอบสนอง ถ้าเขาไม่ตอบสนองเรา เราก็เกิดความกลุ้มใจ ความไม่สบายใจมันก็เกิด ถ้าความไม่สบายใจมันเกิด จิตมันก็มัวหมอง พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า
    <o:p></o:p>
    จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา
    <o:p></o:p>
    ก่อนที่เราจะตาย ถ้าจิตของเราเศร้าหมองละก็ มีหวังทุคติ เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นคนก็หาความสุขไม่ได้ แบบนั้นเขาไม่ชื่อว่าเป็นการให้ ถือว่าเป็นการยืมไป
    <o:p></o:p>
    ถ้าเราให้กันด้วยความเต็มใจ เราให้จริง ๆ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ ทานตัวนี้ต้องมีจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยการสงเคราะห์ ปรารถนาให้เขามีความสุขจากวัตถุที่เราให้ หรือว่ากำลังใจที่เราให้ ถ้าเราให้ไปด้วยการสงเคราะห์จริง แต่ทว่าเวลาให้ ถ้าเขามาขอเรา เรายังต้องแบ่งว่า ไอ้นี่ยังใช้ได้ไม่ให้ นี่ดีเกินไปเรายังไม่ได้ใช้ เรายังไม่ให้ ให้เฉพาะของที่เราไม่ต้องการจะกิน ไม่ต้องการจะใช้ ของเลว ๆ เราจึงจะให้ ถ้าถามว่าการให้แบบนี้ดีหรือไม่ดี ก็ตอบว่าดี เพราะเกิดชาติหน้าเราก็เป็นมหาเศรษฐีได้ อย่างอาฬวีเศรษฐี เป็นต้น แต่เป็นมหาเศรษฐีที่ใช้ของดีไม่ได้ ผ้าก็ต้องใช้ของเก่าจึงจะใช้ได้ ของที่จะกิน ถ้าเป็นของดี ๆ ก็กินไม่ได้ เพราะว่าอาฬวีเศรษฐีเป็นมหาเศรษฐีขึ้นมาได้ เพราะอาศัยการให้ทานเป็นสำคัญ แต่ว่าการให้เป็นการให้แบบทาสทาน คือของดีไม่ให้ ให้แต่ของเลว แต่ก็ยังมีผลเพียงแต่เป็นบารมีต้น ถือว่าบารมียังต่ำ
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทานที่ให้ผลสมบูรณ์แบบ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับเรื่องทานมาเสริมเพิ่มเติมก็คือ การบำเพ็ญกุศลนอกพุทธศาสนา กับในพุทธศาสนามีอานิสงส์ต่างกัน แต่ว่าท่านที่จะพึงให้ ถ้าจะให้มีอานิสงส์มาก ก็ต้องอาศัยเหตุ ๓ ประการ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ผู้ให้เป็นผู้บริสุทธิ์<o:p></o:p>
    ๒. ผู้รับก็เป็นผู้บริสุทธิ์<o:p></o:p>
    ๓. วัตถุทานบริสุทธิ์
    <o:p></o:p>
    อย่างนี้มีอานิสงส์มาก ท่านกล่าวว่า ลูขัง วา ปณีตัง วา ของที่ให้เป็นของที่ดีก็ตาม จะเป็นของที่เลวก็ตาม ความจริงไอ้ของดีของเลวนี้ เป็นเรื่องจิตใจของชาวบ้าน ขึ้นชื่อว่าของนะ มันใช้ได้เหมือนกันหมด ผ้าเนื้อดีก็นุ่งห่มได้ ผ้าเนื้อเลวก็นุ่งห่มได้ ที่ว่าดีหรือเลวเป็นเรื่องของใจเรา กับข้าวก็เหมือนกัน จะเป็นกับข้าวราคาแพงหรือราคาถูกก็ตาม ก็กินอิ่มเหมือนกัน ทรงชีวิตให้ทรงอยู่ ทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าเป็นของดี ไม่ถือว่าเป็นของเลวกว่ากัน
    <o:p></o:p>
    แต่ว่าราคาของวัตถุพระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ราคาแพงก็ตาม ราคาถูกก็ตาม ของเนื้อดีก็ตาม ของเนื้อเลวก็ตาม ถ้าหากว่ามีการถวายทานจบครบอาการทั้ง ๓ อย่าง คือ ๑. ผู้ให้บริสุทธิ์ ๒. ผู้รับบริสุทธิ์ ๓. วัตถุทานบริสุทธิ์ ย่อมมีอานิสงส์เลิศ
    <o:p></o:p>
    อานิสงส์ของทาน
    <o:p></o:p>
    การให้ทานนี้อย่าลืมนะว่า ถ้าใจยังไม่หนักแน่นพอ คนที่เรายังไม่ชอบใจอย่างเพิ่งให้ ให้แต่คนที่เรารักหรือคนที่เราไม่เกลียด ต่อไปถ้ากำลังใจสูงขึ้น จิตสบาย มีอุเบกขาดี มีเมตตาบารมีสูง ก็ให้ไม่เลือก ให้เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ คือกิเลสของเรา กำลังใจในการให้ทานน่ะเป็น จาคานุสสติ ก่อนที่จะคิดให้เป็นจาคานุสสติ อันนี้อนุสสติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ามีประจำใจแล้วมันก็ตกนรกไม่ได้
    <o:p></o:p>
    จะขอพูดถึงอานิสงส์การให้ทาน ที่สมเด็จพระพิชิตมารทรงตรัสว่า สมัยพระพุทธกัสสปท่านเทศน์อย่างนี้ ท่านบอกว่า
    <o:p></o:p>
    บุคคลใดให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนคนอื่น ตายจากชาตินี้ไปแล้วไปเกิดใหม่จะมีทรัพย์สมบัติมาก จะเป็นคนร่ำรวย เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี แต่ว่าขาดเพื่อน ขาดคนเป็นที่รัก มันก็โดดเดี่ยวแย่เหมือนกัน
    <o:p></o:p>
    บุคคลใดดีแต่ชักชวนบุคคลอื่น แต่ว่าตนเองไม่ให้ทาน ท่านบอกว่า ตายจากชาตินี้ไปแล้วไปเกิดชาติใหม่ มีพรรคพวกมากแต่ยากจน
    <o:p></o:p>
    บุคคลใดให้ทานด้วยตนเอง แล้วก็ชักชวนบุคคลอื่นด้วย ตายจากชาตินี้ไปเกิดใหม่ จะเป็นคนร่ำรวยมากด้วย แล้วก็จะมีเพื่อน มีบริวาร มีมิตรสหายมาก นี่เรียกว่ามีความสุข
    <o:p></o:p>
    บุคคลใดไม่ให้ทานด้วยตนเอง ไม่ชักชวนบุคคลอื่นด้วย ตายจากชาตินี้ไปเกิดใหม่ จะไม่มีทรัพย์สมบัติ เป็นคนยากจนเข็ญใจ เป็นยาจกขอทาน แล้วขอก็ไม่ค่อยจะได้ ไม่มีใครเขาอยากจะให้ มีแต่คนรังเกียจ
    <o:p></o:p>
    การให้ทานนี่ก่อนจะนิพพานน่ะ เราจะต้องให้มีความสุขในทรัพย์สมบัติก่อน จะไปคิดว่าการให้ทานเป็นการกำจัดโลภะ ความโลภ หรือมีผลอันน้อยแค่กามาวจร อันนี้ไม่ถูก ถ้าเราจะไปนิพพาน ถ้าเราลำบากมันไปยาก ใจไม่สบาย<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การคัดเลือกบุคคลให้ทาน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ปาฏิบุคลิกทาน
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะเลือกให้เฉพาะบุคคล จะต้องเลือกผู้รับบริสุทธิ์ดังนี้
    <o:p></o:p>
    ๑. พระจะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แต่ถ้าพระมีศีลบริสุทธิ์อย่างเดียว อานิสงส์ก็ยังน้อย
    <o:p></o:p>
    ประการที่ ๒ พระจะต้องมีฌานสมาบัติ มีอานิสงส์ดีขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังไม่เท่ากับข้อ ๓.
    <o:p></o:p>
    ประการที่ ๓ เป็นพระอริยเจ้า
    <o:p></o:p>
    พระอริยเจ้า ต้องเลือกเป็นพระโสดาบัน อานิสงส์น้อยกว่าพระสกิทาคามี ถ้าเป็นพระสกิทาคามี ก็ยังมีอานิสงส์ที่ได้รับน้อยกว่าพระอนาคามี ถ้าท่านผู้รับเป็นพระอนาคามี ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าพระอรหันต์
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ ถวายเป็นส่วนบุคคล ก็ยังได้อานิสงส์น้อยกว่าถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ก็ยังสู้อานิสงส์ที่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการถวายสังฆทาน เพราะการถวายสังฆทานนั้น พระผู้รับจะมีคุณสมบัติเพียงใดก็ไม่เป็นไร เพราะการถวายทานนั้นถวายแก่สงฆ์ อย่างไรแล้ว อานิสงส์ที่จะพึงได้รับ ได้รับมากอย่างมหาศาล เพราะถือว่าเป็นการถวายพระสงฆ์ทั้งคณะ ไม่ใช่พระองค์ใดองค์หนึ่ง ดังจะกล่าวให้ละเอียดดังนี้
    <o:p></o:p>
    ถึงแม้ว่าการถวายทานกับคนต้องเลือกชั้นของบุคคล การถวายทานเฉพาะส่วนตัวกับพระเลือกชั้นของพระ พระที่มีความดีน้อยก็มีอานิสงส์น้อย มีความดีมากก็มีอานิสงส์มาก หากพระที่ไม่มีความดีเลย ก็ไม่ต้องได้บุญเลย คนก็เหมือนกัน เณรก็เหมือนกัน
    <o:p></o:p>
    ทีนี้ถ้าจะทำทานจริง ๆ ให้มีอานิสงส์เลิศทุกคราวทำยังไง ให้ถวายเป็นสังฆทาน ถวายเป็นสังฆทานนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้มารับอย่างสมมุติจะถวายที่บ้าน ต้องการพระองค์เดียว เรามีทุนน้อย แต่พระองค์เดียวจะฉันที่บ้านไม่ได้ กินหมดไม่ได้ กินหมดลงนรกเลย ต้องแบ่งเฉพาะบางส่วนที่พอกับตน อีกส่วนหนึ่งต้องนำมาถวายพระที่วัด ถ้าบังเอิญเป็นเวลาเพล เวลาเช้าค่อยนำมาได้
    <o:p></o:p>
    ทว่า พระองค์นั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม หรือคณะนั้นดีไม่ดีก็ตาม แต่ผลที่ได้เป็นสังฆทานนั่นคือ มีอานิสงส์เลิศตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    <o:p></o:p>
    การให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ๑๐๐ ครั้ง ก็มีอานิสงส์ไม่เท่ากับให้ทานแก่คนที่ไม่มีศีลเลย ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ให้ทานกับคนที่ไม่มีศีลเลย ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับคนที่เคยมีศีล แต่ศีลขาดไปแล้ว ๑ ครั้ง หมายความว่า ยังมีความดีอยู่บ้าง
    <o:p></o:p>
    ให้ทานแก่คนที่เคยมีศีลแล้วศีลขาด ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานกับท่านที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ให้ทานกับท่านที่มีศีลบริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานกับท่านผู้ทรงฌาน หรือท่านที่ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติมรรค ๑ ครั้ง<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติมรรค หมายความว่า ท่านที่ปฏิบัติกรรมฐานแต่ยังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค จะเป็นขั้นไหนก็ตาม อย่างน้อยที่สุดจิตของท่านตัดนิวรณ์ มีความเคารพในพระรัตนตรัยจริง ๆ ทรงศีลบริสุทธิ์ก็มีอานิสงส์มาก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ให้ทานกับท่านที่ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระโสดาปัตติผล ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระโสดาปัตติผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระสกิทาคามีมรรค ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระสกิทาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระสกิทาคามีผล ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระสกิทาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอนาคามีมรรค ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระอนาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอนาคามีผล ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระอนาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอรหัตมรรค ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระอรหัตมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอรหัตผล ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระอรหัตผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายทานกับท่านที่ปฏิบัติแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง
    <o:p></o:p>
    ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานิสงส์ของสังฆทาน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทานเป็นปัจจัยตัดโลภะ ความโลภ เป็นรากเหง้าของกิเลส การให้ทานของคนทุกคน ทานเป็นปัจจัยให้เกิดทรัพย์สมบัติ บังเอิญไม่หมดกิเลสในชาตินี้ ชาติหน้าเราไปเกิดใหม่เราก็มีสมบัติมาก ทีนี้การให้ทานมีผลไม่เสมอกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ทานกับคนที่ไม่มีศีล ให้ทานมากแต่มีผลน้อยนิดเดียว บาทหนึ่งจะมีผลไม่ถึงหนึ่งสตางค์ อานิสงส์จะพึงได้ ให้ทานแก่คนที่มีศีลบริสุทธิ์จะมีอานิสงส์มาก บาทหนึ่งจะมีอานิสงส์ ๑๐ บาท ถ้าให้ทานแก่พระอริยเจ้าตามลำดับขึ้นไป ให้ทานหนึ่งบาทก็จะมีผลเป็นแสนเท่า ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถวายสังฆทาน จะมีผลนับล้านเท่า
    <o:p></o:p>
    การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และก็ถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวาย เกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้วจะไม่เกิดในที่นั้น ผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่าแม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน คำว่า ไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทานบำเพ็ญบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
    <o:p></o:p>
    การถวายสังฆทาน ต้องถวายในหมู่สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยเรียกว่า คณะสงฆ์ มีผลเป็นสังฆทานทันที ถ้าถวายต่ำกว่านั้น เรียกว่า คณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียว เป็นปาฏิบุคลิกทาน ทานโดยเฉพาะ ต้องเลือกบุคคลให้ทานจึงจะมีอานิสงส์มาก ตามที่กล่าวไว้แล้ว ในกรณีเป็นบุคคลเดียว ถ้าจะถวายเป็นสังฆทาน ต้องเจาะจงให้เป็นสังฆทาน จึงจะถือว่าเป็นสังฆทานได้เหมือนกัน เพราะเป็นการรับแทนคณะสงฆ์ทั้งหมด มีอานิสงส์เช่นเดียวกับถวายสังฆทาน
    <o:p></o:p>
    การที่เราจะก้าวสู่บันไดของความเป็นพระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนานั้น สิ่งสำคัญที่เป็นตัววัดผลก็ต้องวัดจากกำลังใจของเรา ว่ามีกำลังใจหรือที่เรียกว่า บารมี ๑๐ ดังที่เคยอธิบายไว้แต่ตอนต้นเล่มแล้วนั้นว่า ทรงกำลังใจได้เข้มข้นในระดับใด อยู่ในขั้นของบารมีต้น อุปบารมี หรือปรมัตถบารมี และตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้มากน้อยเพียงใด สำหรับในที่นี้ จะกล่าวในเรื่องของทาน การให้ ก็อาศัยกำลังใจเป็นตัววัดเช่นกันว่า กำลังใจของเราจะเต็มหรือไม่ ก็วัดจากวัตถุที่เราให้ ดูกำลังใจของเราว่ามีความห่วงใยในทานของเราไหม เช่นเมื่อเราให้แล้ว เราหวังผลตอบแทนบ้างหรือไม่ ถ้าเราให้โดยไม่คิดหวังผลตอบแทนใด ๆ ให้ด้วยการสงเคราะห์ ให้ด้วยการตัดขาด และก็ให้ของดีได้ด้วย ก็ถือว่ากำลังใจของเรานั้นอยู่ในขั้นเต็มพอสมควร
    <o:p></o:p>
    การให้ทาน สิ่งหนึ่งที่จะต้องทราบไว้เพิ่มเติมก็คือ การให้ทานอย่างเดียว ถือว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีครบ ๑๐ อย่าง หรือบารมี ๑๐ ประการ ล้อมรอบเข้ามาครบหมด คือว่าก่อนที่เราจะให้ทานนั้น เราต้องการให้ทานเพื่อการสงเคราะห์ ไม่ใช่ให้ทานเพื่อหวังผลตอบแทน เป็นการตัดจริง ๆ เราต้องให้ทานเพื่อการตัดออกจากกิเลส คือโลภะ ความโลภ เพราะความโลภเป็นตัวดึงเข้า ทานเป็นตัวขยายออก การดึงเข้านี่มันเป็นการก่อสร้างศัตรูหนัก แต่ว่าการขยายออกนี่เป็นการสร้างมิตรอย่างหนัก คนให้ทานมีประโยชน์มาก แต่ทว่าอย่าหวังผล เพราะคนรับทานแล้ว แต่จิตเป็นทรชน คือ ทรยศต่อบุคคลผู้ให้ก็มีอยู่ จึงอย่าไปสนใจกับการตอบสนองการรู้คุณ เราต้องการอย่างเดียวคือ ตัดกิเลส ได้แก่โลภะ ความโลภ การให้ทาน ถ้าเราตัดความโลภได้ตัวเดียว ความโกรธ กับความหลง อีกสองตัวมันก็พังไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่พังหมด แต่ทว่ากำลังก็จะเหลือน้อย แค่เพียงอนุสัยเท่านั้น
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876

    ดังนั้น การให้ทานเพื่อหวังในการสงเคราะห์ หวังตัดความโลภออกจากจิต อันนี้จึงจะเป็นกำลังใจตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความประสงค์ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจให้มากขึ้น จะขอนำรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวมาอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การให้ทานอย่างเดียว ถือว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีครบ ๑๐ อย่าง
    <o:p></o:p>
    บารมี ๑๐ ประการ ก็คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ทานบารมี<o:p></o:p>
    ๒. ศีลบารมี<o:p></o:p>
    ๓. เนกขัมมบารมี<o:p></o:p>
    ๔. ปัญญาบารมี<o:p></o:p>
    ๕. วิริยะบารมี<o:p></o:p>
    ๖. ขันติบารมี<o:p></o:p>
    ๗. สัจจะบารมี<o:p></o:p>
    ๘. อธิษฐานบารมี<o:p></o:p>
    ๙. เมตตาบารมี<o:p></o:p>
    ๑๐. อุเบกขาบารมี
    <o:p></o:p>
    ความจริงการให้ทานอย่างเดียว บรรดาท่านพุทธบริษัทจะต้องมีบารมีอีก ๙ บารมี เข้ามาครอบงำร่วมกันด้วย ถ้าบารมี ๙ บารมีไม่ร่วมด้วย การให้ทานไม่มีผล ให้ไม่ได้เลย
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น การให้ทานอย่างเดียวถือว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีครบ ๑๐ อย่าง ดังจะอธิบายพอสังเขป ดังต่อไปนี้
    <o:p></o:p>
    ขณะที่เราให้ทานอยู่นี่ เราคิดอยากจะฆ่าคนที่เราให้ทานไหม คิดหรือเปล่า ไม่คิด นี่ศีลข้อที่ ๑ มันมีแล้ว เป็นศีลบารมี ถ้าเป็นบุคคลที่มีเพศตรงข้าม เราให้ทานแล้วอยากจะได้คนนั้นมาเป็นผัวเป็นเมียไหม ไม่อยาก จนจะตายไม่มีเพราะจิตเมตตาใช่ไหม เวลาที่เราให้ทานเขา เราอยากจะขโมยทานของเรากลับคืนมาไหมไม่มี แล้วก็เวลาที่เราให้ทานกับเขาเราคิดว่า เราจะโกหกเขาหรือเปล่าว่า นี่ฉันให้แกหลอก ๆ นะ มันเอาไปแล้วจะทำยังไง แล้วก็เวลาที่เราให้ทาน เราคิดไหมว่าการให้ทาน เราจะต้องดื่มเหล้าเป็นเครื่องชดเชย รวมความว่า การให้ทานครั้งหนึ่ง เราต้องมีศีลบารมีครบถ้วนไปด้วย การให้ทานนี่มีบารมีที่ ๒ เข้ามาคุมไว้ คือศีล ซึ่งจะควบคู่กับเมตตาบารมี
    <o:p></o:p>
    เนกขัมมบารมี การให้ทาน เราไม่มีกามารมณ์เข้ามาร่วม ไม่เคยหวังว่าการให้ทานแก่บุคคลที่ยากจนอดจะตาย คนนั้นต้องมาเป็นเมียเรา ต้องมาเป็นผัวเรา อันนี้เราไม่ได้คิดใช่ไหม ก็ถือว่าการให้ทาน ทำทานบารมี ก็มีเนกขัมมบารมีเข้ามาร่วมด้วย เป็นการให้ทานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตัดกามฉันทะหรือนิวรณ์ ๕ ประการออกจากใจ
    <o:p></o:p>
    ปัญญาบารมี คนที่ให้ทานต้องเป็นคนมีปัญญา ถ้าคนไร้ปัญญานี่ให้ทานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะการให้ทานนี่เป็นปัจจัยแห่งความรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคิดกันแบบเบา ๆ นะ การให้ทานนี่เป็นปัจจัยให้เกิดความรัก เราจะมีมิตรอยู่เสมอ คนที่รับทานจากเรา คนที่รับทานย่อมรักบุคคลผู้ให้ทาน แต่น้อยคนที่จะมีความอกตัญญู ไม่รู้คุณบุคคลผู้ให้ทาน แล้วก็ประการที่ ๒ ถ้าใช้ปัญญาเบื้องสูง การให้ทาน ถือว่าเป็นปัจจัยให้ตัดโลภะ ความโลภ ฉะนั้นบุคคลที่ให้ทานก็ต้องเป็นบุคคลที่มีปัญญา ถ้าขาดปัญญาก็ให้ทานไม่ได้ ไม่มีความสงสัยในผลของทาน
    <o:p></o:p>
    วิริยะบารมี คนที่ให้ทาน ถ้าขาดวิริยะบารมีก็ให้ไม่ได้ วิริยะบารมีคือความเพียร ตั้งใจจะสร้างความดี ทราบแล้วว่าทานบารมีนี่เป็นตัวตัดโลภะ ความโลภ ขุดรากเหง้ากิเลสตัวสำคัญออกจากจิต ทรัพย์สินที่เราหามาได้ด้วยความชอบธรรม เราหามาได้ด้วยความเหนื่อยยากลำบาก ต้องลงทุนลงแรงใช้กำลังปัญญามาก นี่การที่ให้บุคคลอื่น ก็คือถ้าเราไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่สามารถจะจ่ายทรัพย์สินนั้นออกจากใจเราได้ ต้องมีอารมณ์ต่อสู้กับมัจฉริยะ คือความตระหนี่ เป็นอันว่า ต้องมีความเพียรตัดโลภะความโลภออกจากจิต มีอารมณ์คิดเมตตาสงเคราะห์ นี่ต้องคิด ต้องตัดสินใจหน่อย จะเห็นว่าทานบารมีนี่ให้ไม่ใช่ง่ายนะ รวมความว่า จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทมีความชนะมัจฉริยะ ละความตระหนึ่ได้อย่างดี เพราะมีวิริยะบารมีมาก
    <o:p></o:p>
    การให้ทานบารมีต้องมีขันติบารมีเข้าควบ ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะทรัพย์สินที่เราหามาได้ มันได้มาด้วยความเหนื่อยยาก ด้วยความลำบาก ถ้าความอดทนไม่มีนี่ให้ไม่ได้ง่าย ๆ อย่างข้าราชการหรือลูกจ้าง เขาให้เป็นรายเดือน กว่าจะได้เงินมาทีต้องถึงเดือน ถ้าไม่มีการอดทน ไม่มีขันติ ไม่มีการอดใจ จิตตัวนี้คิดว่าจะทิ้งมันไป เราจะให้ทาน ถ้าตัวนี้ไม่มีเราให้ทานไม่ได้ ต้องมีขันติบารมีเข้าควบคุม
    <o:p></o:p>
    ทานบารมีนี้ ในเมื่อเราให้ทานเพราะอาศัยมีความรัก มีความสงสารเป็นปัจจัย ถ้าเราเกลียดแล้ว เราก็ให้ไม่ได้เหมือนกัน เพราะเรายังไม่ใช่พระอรหันต์นี่ เวลานี้เรายังบำเพ็ญบารมีอยู่ จะไปเอากำลังใจเท่าองค์สมเด็จพระบรมครู หรือกำลังใจเท่าพระอรหันต์นั้น เป็นไปไม่ได้
    <o:p></o:p>
    ทีนี้ลองคิดกันดูว่า ถ้าเราเกลียดเราจะให้ได้ไหม ไม่ได้แน่ท่านพุทธบริษัท อย่าว่าแต่สละวัตถุเลย แม้แต่กำลังใจที่คิดว่าจะให้มันก็ไม่มี<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้การให้ทานเราต้องบวกอะไรเข้ามาบ้าง ก่อนจะให้ หวังในการเกื้อกูล อาศัยความรักความสงสารเป็นสำคัญ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ความรักความสงสารเป็นอะไร บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เป็นเมตตาบารมี เห็นหรือยัง นี่เราจะให้ทานแล้ว เมตตามันเข้ามาค้ำจุนอยู่ เข้ามาประคับประกอง นี่เป็นสองบารมีเข้าควบกันแล้ว และศีลจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีเมตตาเป็นพื้นฐาน เป็นของคู่กัน
    <o:p></o:p>
    ทีนี้บารมีต่อไป สัจจะบารมี เราตั้งใจไว้แล้วนี่ ว่าเราจะให้ทาน เราทำกิจการงานทั้งหมดเพื่อรวบรวมทรัพย์สินบริจาคทาน เพื่อหวังพระนิพพาน เพื่อหวังสวรรค์ เพื่อหวังพรหม เพื่อหวังความเป็นมนุษย์ที่ร่ำรวย เราก็ต้องให้จนได้ เราจะไม่ยอมเสียสัจจะความจริงใจ
    <o:p></o:p>
    เอาเข้าแล้ว นี่การให้ทานตัวเดียว ควบสัจจะบารมีเข้าอีก
    <o:p></o:p>
    ต่อไป อธิษฐานบารมี ตั้งที่ใจไว้ว่า นี่เราจะต้องให้ทานเพื่อเป็นการทำลายความโลภให้หมดไปจากใจ คือว่าเราจะให้ทานเพื่อความอยู่เป็นสุขในชาติปัจจุบัน หรือว่าเราจะให้ทานเพื่อความปรารถนาว่า ผลของทานนี้นั้น สามารถจะส่งผลให้ไปสวรรค์ได้
    <o:p></o:p>
    ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า ทานัง สัคคโส ปาณัง ทานย่อมเป็นบันไดให้ไปสวรรค์ นี่เราตั้งจิตอธิษฐานได้แล้วว่า คุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ
    <o:p></o:p>
    ๑. เกิดเป็นมนุษย์ที่มีความร่ำรวย<o:p></o:p>
    ๒. เกิดเป็นเทวดา<o:p></o:p>
    ๓. เข้าพระนิพพาน
    <o:p></o:p>
    เราตั้งจิตอธิษฐานไว้แล้ว เกิดมาชาตินี้ต้องจับเอาจุดนี้ให้ได้จุดใดจุดหนึ่งที่เราต้องการ เมื่อจิตอธิษฐานตั้งใจไว้จริง ๆ ปักหลักให้ตรงเป๋ง อย่างนี้มันจึงจะให้ทานได้
    <o:p></o:p>
    ถ้ากำลังใจของเราไม่มี คือ ที่คิดแล้วมันมีความโลเล ไม่ตั้งจิตตรงไว้ในกาลก่อนว่า ปรารถนาในการให้ทาน ผลของทานนั้นมันก็กลายเป็นทานอะไรล่ะ เป็นศรัทธาหัวเต่าผลุบเข้าผลุบออก ดึงออกมาแล้วก็กลับยัดเข้าไปใหม่
    <o:p></o:p>
    นี่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย การให้ทานตัวเดียว อธิษฐานบารมีก็วิ่งเข้ามาอีก เหลือตัวเดียวคือ อุเบกขาบารมี ตัวนี้จะเข้ามาสนับสนุนตรงไหน ก็ตรงที่ให้ไปแล้วซิ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าความขัดข้องใจอะไรมันเกิดขึ้น เช่น เงินเรามีอยู่ ๕๐๐ บาท เราให้ทานไปเสีย ๒๐ บาท มันเหลือ ๔๘๐ บาท
    <o:p></o:p>
    ทีนี้มีกิจที่จะพึงต้องทำ มันเกิดขึ้นมาโดยไม่ได้คิดไว้ เกิดมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินสัก ๕๐๐ บาท แต่จิตของเรานี้เชื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถว่า ทานเป็นผลของความสุข ความเดือดร้อนมันก็เกิดขึ้นแล้วซิ สตางค์ ๒๐ บาท นี่มันไม่พอดีนี่ ถ้าเราไม่ให้ทานไปเสียเราก็มีจ่ายพอดี
    <o:p></o:p>
    แต่นี่บังเอิญกิจนี้มันมาทีหลัง คิดให้ทานไปเสียก่อน แต่เราเชื่อองค์สมเด็จพระชินวร คิดว่า ช่างมันเถอะ ความลำบากเพียงแค่ ๒๐ บาท ไม่เป็นไร ไหน ๆ เราตั้งใจไว้แล้ว ความทุกข์ร้อนนิดหน่อยมันจะเป็นไรไป เพราะผลที่เราให้ไปมันมีประโยชน์มากกว่านั้น คือ
    <o:p></o:p>
    ถ้าบุญบารมีของเรายังอ่อน จะต้องเร่ร่อนไปในวัฏสงสาร เราก็จะเกิดเป็นมนุษย์ที่มีความบริบูรณ์ได้ ถ้าบารมีของเรามีขึ้นหน่อยแล้วไซร้ เราก็สามารถจะไปเกิดบนสวรรค์ได้
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สรุปก็คือว่า การทำบุญครั้งเดียวนี่บารมีต้องรวมตัวครบถ้วน ๑๐ ถ้าทั้ง ๑๐ รวมตัวกันไม่หมดก็ทำไม่ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฉะนั้น การบำเพ็ญบารมีก็ทำอย่างใดอย่างหนึ่งทุกครั้งนั่นแหละ มันจะเป็นการรวมตัวทั้ง ๑๐ ไล่ดูเถอะ จะพบหมด
    <o:p></o:p>
    จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ไหม
    <o:p></o:p>
    จากคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะคำว่า จาคะ แปลว่า เสียสละ ถ้าจาคะตัวนี้เรามีกำลังความรู้สึกของใจว่าต้องเสียสละ ยังไปนิพพานไม่ได้ จะไปได้ก็เพียงสวรรค์กามาวจรเท่านั้น ถ้าจาคะตัดคำว่าเสียออก เหลือแต่ สละ อย่างนี้มีกำลังใจเข้มแข็งยังไปนิพพานไม่ได้ ไปได้แค่พรหมโลก ถ้าจาคะกำลังเหลือคำว่า ละ คำเดียว อย่างนี้ไปนิพพานได้
    <o:p></o:p>
    คำว่า จาคะ ตัวนี้ ถ้าเป็นกรรมฐานเรียกว่า จาคานุสสติกรรมฐาน แปลว่า นึกถึงทานการบริจาค ในการที่จะสงเคราะห์บุคคลอื่นให้เป็นสุขไว้เสมอ จิตใจนึกอย่างเดียวว่าเราจะเป็นผู้ให้ จะทิ้งอารมณ์ที่นึกว่าเราจะเป็นผู้แย่งหรือว่าโกงทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาเป็นของตน อันนี้ไม่มีในจิตของเรา มีอารมณ์นึกอย่างเดียวว่า เราต้องการให้เท่านั้น คือให้เขามีความสุข
    <o:p></o:p>
    สำหรับอารมณ์ที่เราจะให้นี้ ต้องแบ่งเป็น ๓ ขั้น ตามที่กล่าวมา
    <o:p></o:p>
    ถ้าให้ด้วยการเสียสละ เป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ หรือว่าถ้าจะว่ากัน ยังไม่ตายก็เป็นปัจจัยให้เกิดความรักแก่บุคคลผู้รับ เมื่อเรามีคนรักมาก เราก็มีความสุขมาก ไปไหนก็มีแต่การยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเคารพซึ่งกันและกัน แสดงความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน นี่จาคะตัวต้นให้ผลปัจจุบัน ในชาตินี้มีความสุข ถ้าตายจากชาตินี้ไปแล้วก็ไปสวรรค์ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ายังมีคำว่าเสียดายอยู่มาก เสียสละจิตใจมันยังดึงจัด ต้องใช้กำลังสูงจึงจะดึงออกได้
    <o:p></o:p>
    ถ้ากำลังสูงยิ่งไปกว่านั้น คำว่าเสียหายไป ใจคิดว่าเราสละเพื่อความสุขส่วนใหญ่ ของนี้เป็นของนอกกาย แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ สิ่งใดที่มันเหลือกินเหลือใช้ที่พอจะแบ่งปันกันได้ เราจะให้เขาด้วยความสุข จิตใจยึดอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติ จนกระทั่งอารมณ์ทรงตัว เรียกว่า ได้ฌานในจาคานุสสติกรรมฐาน เวลาให้ใจก็สบาย สละไปเสีย ของประเภทนี้ไม่หวังผลในการตอบแทน
    <o:p></o:p>
    สำหรับข้อต้นที่เสียสละนั้น ยังหวังผลในการตอบแทน เราให้เขาแล้วก็คิดว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราขัดข้องเขาคงจะให้เราบ้าง อาการอย่างนี้เรียกว่า เสียสละ จิตยังดึงอยู่มาก ยังมีความเสียดาย กำลังใจประเภทนี้จึงชื่อว่า กำลังใจยังอ่อนอยู่ สมเด็จพระบรมครูจึงทรงตรัสว่า ยังไปนิพพานไม่ได้ ไปได้แค่สวรรค์ พรหมก็ยังไปไม่ได้<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอขั้นที่ ๒ เข้ามาถึงจัดเรียกว่า สละ คำว่า “เสีย” หายไป คำว่า “สละ” นี่กำลังใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น เราสละทรัพย์สินส่วนนี้เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ ไม่มีกำลังใจหวังผลจะตอบแทนแต่ประการใด เพื่อเป็นการเชิดชูบำรุงความสุขแก่ทานผู้นั้นตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ เรามีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย ตามที่จะให้ได้ ไม่ใช่ให้หมดตัว การที่จะให้นี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า ต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ให้แล้วเราไม่เดือดร้อนจึงควรให้ ถ้าให้เขาไปแล้วเราเดือดร้อนเพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จำเป็นจะต้องกินต้องใช้ตามกาลเวลา อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตำหนิว่า การให้อย่างนั้นเป็นความทุกข์ จัดว่าเป็นการเบียดเบียนตนเกินไป สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไม่ทรงสรรเสริญ โปรดจำไว้ด้วย ไม่ใช่สอนแต่ให้อย่างเดียว ถ้ากำลังใจทำได้อย่างนี้เป็นพรหม เพราะจิตเป็นญาณ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าตัดตัว ส สะ ออกเสีย เหลือแต่ ละ ตัวเดียว คำว่า ละ ตัวนี้ แม้แต่ละวัตถุในอันดับแรกมันก็ละ ถ้าเราละวัตถุได้ หมายความว่าจิตไม่ติดในวัตถุ
    <o:p></o:p>
    อารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่า อารมณ์ละ ไม่ติดในวัตถุ ถ้าอารมณ์ละไม่ติดในวัตถุมี แต่ว่าเราจำจะต้องรักษามันไว้บ้าง เพราะร่างกายยังมีอยู่ มันยังต้องกินต้องใช้ ถ้าเสียหายไปแล้ว เราก็ไม่ห่วงใยในมัน แต่ว่าถ้าสิ่งใดอันมีอยู่ก็รักษาด้วยดี อย่างนี้เป็นอารมณ์ใจของบุคคลผู้ละ ถ้าเราไม่ติดในวัตถุ ต่อไปกำลังใจมันก็สูง มันก็ละ คือ ไม่ติดในขันธ์ ๕ คือร่างกาย เพราะว่าการที่จะละได้จริง ๆ ในด้านวัตถุต้องเป็นคนมีปัญญาจริง ๆ ที่เขาเรียกว่า วิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    วิปัสสนาญาณ ก็คือตัวปัญญานั่นเอง มีปัญญาพิจารณารู้แจ้งตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งทั้งหลายในโลก มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ทรัพย์สินก็ดี ร่างกายก็ดี เวลาตายแล้ว เราเอาไปไม่ได้สักอย่าง สิ่งที่จะได้ไปเมืองผีนั่นก็คือ ความชั่วกับความดี ถ้าเราดึงความชั่วไป เราก็มีความเป็นทุกข์ ถ้าดึงความดีไป ก็รับผลคือความสุข<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อเราละวัตถุได้ จิตใจคิดอย่างนี้ ก็เลยละร่างกาย คือขันธ์ ๕ ได้ เห็นว่าร่างกายมันแก่ ก็เป็นธรรมดาของร่างกาย ร่างกายมันป่วยก็เป็นธรรมดาของร่างกาย จำจะต้องรักษาก็รักษา เพื่อระงับทุกขเวทนา ระงับไหวก็ไหว ไม่ไหวก็ตามใจ ในเมื่อมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕ เกิดมาแล้วมันก็ต้องตาย ใจก็มีความสุข จิตไม่เกาะทั้งวัตถุ จิตไม่เกาะร่างกาย ไม่เกาะวัตถุนอกกาย ไม่เกาะทั้งกาย ไม่มีอารมณ์เกาะใด ๆ ไม่เกาะอยู่ในโลกมนุษย์ ละมนุษย์โลก จิตไม่เกาะอยู่ในเทวโลก คือมีอารมณ์ละเทวโลก จิตไม่เกาะในพรหมโลก มีอารมณ์ละพรหมโลก จิตปรารถนาอย่างเดียว คือ ความดับไม่มีเชื้อ ดับความโลภ ความโกรธ ความหลง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ต้องการดับความโลภด้วยทาน การบริจาค คือ จาคะ
    <o:p></o:p>
    ดับความโกรธด้วยมีเมตตา กรุณา มีความรัก มีความสงสาร ปรารถนาในการเกื้อกูล
    <o:p></o:p>
    ดับความหลงด้วยการไม่ติดอยู่ในวัตถุ ไม่ติดอยู่ในร่างกาย ไม่ติดอยู่ในโลกใด ๆ ทั้งหมด
    <o:p></o:p>
    จิตใจของบุคคลทั้งหลายทำได้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีกล่าวว่า ท่านตัดความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ ใจของบุคคลนั้นเมื่อร่างกายตาย ใจก็ไปนิพพาน
    <o:p></o:p>
    อภัยทานและธรรมทาน
    <o:p></o:p>
    การให้อภัยทาน ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง
    <o:p></o:p>
    อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ ซึ่งแปลว่า การให้อภัยทานย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง ดังนี้
    <o:p></o:p>
    คำว่า ทาน แปลว่า การให้ การให้นี้มีอยู่ ๒ อย่างด้วยกัน ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้
    <o:p></o:p>
    ให้สรรพสิ่งของต่าง ๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่า อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่าอามิสทานทั้งนั้น
    <o:p></o:p>
    ทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าว ก็ได้แก่ ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่ การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้เหตุผลให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่าธรรมทาน
    <o:p></o:p>
    ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคัญที่สุด จัดว่าเป็นปรมัตถทาน คือเป็นทานที่ไม่ต้องลงทุนก็ได้แก่ อภัยทาน
    <o:p></o:p>
    ทานทั้งสองอย่างกล่าวคือ อามิสทานกับอภัยทานนี้ มีผลต่างกัน อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์ ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า ทานัง สัคคโส ปาณัง คือว่า การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์ นี่สำหรับอามิสทาน แต่สำหรับธรรมทานกล่าวคือ ให้ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ทานทั้งสองประการนี้ เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับธรรมทาน ทานที่ ๒ นี่มีความสำคัญมาก การให้ธรรมเป็นทานกล่าวคือ นำพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เอามาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเทศน์เองไม่เป็นก็ไปหาคนอื่นมาเทศน์แทน อย่างนี้ก็ชื่อว่า เจ้าภาพเป็นผู้เทศน์เหมือนกัน เรียกว่าเอาคนมาพูดแทน การให้ธรรมทานเป็นปัจจัยใหญ่ เพราะการให้ธรรมทาน บุคคลได้ฟังแล้วจะเกิดปัญญา สิ่งใดที่ไม่เคยรู้มาแล้ว ก็จะได้มีความรู้ขึ้น เมื่อมีความรู้แล้วก็เกิดความมั่นใจ มีปัญญาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นเป็นผู้หลีกความทุกข์ได้ ถ้าปัญญามีมาก ก็หลีกความทุกข์ได้มาก ปัญญามีน้อย ก็หลีกความทุกข์ได้น้อย ดีกว่าคนที่ไม่มีปัญญาเลย ไม่มีโอกาสจะหลีกความทุกข์ได้ นี่ว่ากันถึงธรรมทาน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งก็คือ อภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ แล้วก็เป็นทานสูงสุด พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว คำว่า ปรมัตถบารมีนี้ เป็นบารมีสูงสุด เป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คำว่า อภัยทาน ก็ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน หมายความว่าคนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจด้วยกรณีใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่า โอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาสมันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่า เราจะทำอันตรายตอบ อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอาฆาต คือพยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละ ตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ คิดวางแผนการณ์ต่าง ๆ ว่า เราทำยังไงจึงจะแก้มือเขาได้ ทำยังไงเราจึงจะฆ่าเขาได้ ทำยังไงเราจึงจะตีเขาได้ ทำยังไงเราจึงจะด่าเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ นี่อำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้นเขายังมีความสุข ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขาก็จะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฎหมายก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น
    <o:p></o:p>
    ทำไมองค์สมเด็จพระมหามุนีจึงไม่มีความโกรธในพระเทวทัต ท่านบอกว่า ไอ้การโกรธไม่มีประโยชน์ การพยาบาทไม่มีประโยชน์ มันเป็นไฟเผาผลาญ เพราะเราบำเพ็ญบารมีมาก็ปรารถนาให้เข้าถึงซึ่งพระโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปคบกับความโกรธก็ดี ความพยาบาทก็ดี กรรมทั้งหลายเหล่านี้มันจะกำจัดต่อความดีของเรา แม้แต่สวรรค์ชั้นกามาวจรก็จะไม่ได้พบ จะพบแต่อบายภูมิทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือ ตกในนรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง หรือว่าเป็นคนที่เกิดมาเต็มไปด้วยความทุกข์บ้าง
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เธอจงปรารภอภัยทานเป็นสำคัญ เมื่อบุคคลผู้ใดก็ดี ที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจ จงคิดเสียว่า เราเคยมีกรรมเก่าที่เคยทำให้เขาไม่ชอบใจไว้ มาชาตินี้เขาจึงได้จองล้างจองผลาญเรา เราคิดให้อภัยเสีย มันก็จะปลอดภัย แล้วอีกประการหนึ่ง ถ้ามีการให้อภัยเกิดขึ้น ความเร่าร้อนของจิตก็จะไม่มี มีแต่ความผ่องใส
     

แชร์หน้านี้

Loading...