ธรรมสัญจร เล่ม 6

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 กันยายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สุดท้ายก่อนที่จะจบลงในเรื่องของทาน ก็จะขอนำเรื่องสำคัญที่สุด อันเป็นหัวใจในเรื่องของทาน และการเข้าสู่ความสำเร็จของความเป็นพระอริยะในลำดับต่าง ๆ จะเป็นการกล่าวแยกอธิบายให้เห็นชัดถึงการทำทาน กับลำดับขั้นของพระอริยะว่า กำลังใจในการให้ทานในระดับใดจะได้เป็นพระอริยะขั้นใด ซึ่งก็จะไล่ตั้งแต่พระอริยะขั้นต้น คือพระโสดาบัน ก้าวเข้าสู่พระสกิทาคามี พระอนาคามี สุดท้ายเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ต้องวางอารมณ์ของทานอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จตามที่ปรารถนา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดังที่ทราบกันมาแล้วว่า ทาน คือการให้นี้ ก็มีหลายระดับตามกำลังใจหรือบารมี
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะพูดกันตามแนวของสมถภาวนา เรียกกันว่า จาคานุสสติกรรมฐาน ก็แบ่งเป็นลำดับได้ดังนี้
    <o:p></o:p>
    ๑. ทานบารมีต้น<o:p></o:p>
    ๒. ทานอุปบารมี<o:p></o:p>
    ๓. ทานปรมัตถบารมี
    <o:p></o:p>
    ทีนี้การให้ทานเป็นปัจจัยให้เกิดความสุข ถ้าเราจะพูดกันในด้านของหลักปฏิบัติ ว่าทำไมจึงต้องให้ทาน อันนี้ก็ขอบอกว่า เราต้องการความดับ ความดับในที่นี้ก็คือ พระนิพพาน
    <o:p></o:p>
    นิพพาน หรือ นิพพะ ก็แปลว่า ดับ
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะถามว่าดับอะไร ก็ขอตอบว่า ดับความทุกข์
    <o:p></o:p>
    ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงนิพพาน ท่านผู้นั้นไม่มีอารมณ์ของความทุกข์ เพราะว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา
    <o:p></o:p>
    ที่เราต้องให้ทานกันก็เพราะว่า เราไม่ต้องการมีขันธ์ ๕ เมื่อการมีขันธ์ ๕ เป็นปัจจัยของความทุกข์ ที่เราต้องมีขันธ์ ๕ กัน ก็เพราะว่าเราติดอยู่ในวัตถุ หมายความว่าเรายังมีความรู้สึกว่า สิ่งนั้นเป็นทรัพย์สินของเรา สิ่งนี้เป็นทรัพย์สินของเรา แล้วกาตุ ๔ ที่หุ้มห่อจิตอยู่ ที่เป็นเรือนร่างที่จิตไปอาศัย อันนี้เป็นเรา เป็นของเรา
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่าเราเข้าใจผิด คิดว่าสิ่งที่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเรา เป็นของเรา เมื่อเรามีความเข้าใจผิด มีความหลงผิดคิดอย่างนี้ ตัวเราจึงต้องเกิด ถ้าเราคิดว่าเรายังยึดเอาตัณหาเป็นที่ตั้ง เอาตัณหาเป็นสรณะ
    <o:p></o:p>
    คำว่า ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยาก อยากมีทรัพย์สิน อยากร่ำรวย อยากจะเกิดใหม่เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี อยากจะเกิดใหม่ให้หน้าตาสวยกว่านี้ อยากจะเกิดใหม่ให้มีศักดิ์ศรีดีกว่าเดิม หมายความว่าเรายังติดอยู่ในความอยาก ความอยากเป็นปัจจัยให้เกิด
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น การให้ทานเป็นการตัดความอยาก ถ้าตัดความอยากได้เข้ามาแล้ว ก็เป็นการตัดอารมณ์ที่ติดในขันธ์ ๕
    <o:p></o:p>
    การให้ทานในอันดับที่เราควรจะพิจารณา ถ้าจิตของเรายังคิดว่า การให้ทานครั้งนี้ เรายังมีหวังในการตอบแทนทั้งในชาติปัจจุบันและสัมปรายภพ คือเราคิดว่าเราให้ทานกับเขาแล้ว เวลาที่เราอดอยากมีความทุกข์เข็ญ บุคคลที่ได้รับทานจากเราคงอาจจะมีความเมตตาปรานีในเรา เขาจะสงเคราะห์เราให้เรามีความสุข ถ้ายังมีอารมณ์ติดอยู่อย่างนี้ ก็ถือว่า ทานบารมีของเรายังไม่เต็ม ยังหวังผลตอบแทนอันเป็นโลกีย์วิสัย
    <o:p></o:p>
    หรือคิดว่า การให้ทานคราวนี้ เราตายไปแล้ว เราจะได้เกิดบนสวรรค์เป็นเทวดามีความสุข แล้วถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ เราอาศัยทานการบริจาคจะเป็นปัจจัยให้เรามีความร่ำรวยดีกว่าชาตินี้มาก เวลานี้เรามีฐานะพอกินพอใช้ เราหวังว่า ถ้าเกิดไปชาติใหม่ เราจะอุดมสมบูรณ์ ตัวอย่างมหาเศรษฐีทั้งหลายที่ปรากฏในพระสูตร ถ้าเราคิดอย่างนี้ จิตของเราก็ชื่อว่ายังไม่ถึงความเป็นอริยเจ้าขั้นสูงสุด ถ้าจะเป็นได้ก็แค่ขั้นพระโสดาบันเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ทานที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน
    <o:p></o:p>
    โลกียทาน
    <o:p></o:p>
    การให้ทานมีจิตผูกพันจริง ๆ อารมณ์ยังไม่รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะว่าใจไม่ได้รักพระนิพพานอย่างจริงจัง เราก็เป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ จัดว่าเป็นโลกียทาน
    <o:p></o:p>
    แต่ทว่า โลกียทาน ก็เป็นปัจจัยให้เราดับทุกข์ไปได้มาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะการให้ทานย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้รับ การให้ทานนี้ไม่มีอะไรเสีย คือหมายความว่า ผู้ให้ย่อมได้ให้ ผู้รับย่อมได้รับ ผู้ให้ย่อมได้ความรักจากผู้รับ ก็ชื่อว่าเราดับทุกข์เบื้องต้นไปได้อันดับหนึ่ง

    แต่ว่าทุกข์เบื้องต้นที่ว่าดับนี้ก็ดับไม่จริง แล้วคนผู้รับทานก็ไม่แน่นักว่าจะมีการขอบคุณผู้ให้ทานเสมอไป อย่างคนที่มีนิสัยอกตัญญู ไม่รู้คุณคนมีอยู่
    <o:p></o:p>
    อย่างที่อง์สมเด็จพระบรมครูทรงมีความเมตตาในพระเทวทัต แต่ทว่าพระพุทธเจ้าก็ถูกพระเทวทัตทรมาน สร้างความทุกข์ให้เกิดตลอดเวลาทุกชาติทุกสมัย แต่ทว่าเพราะอาศัยปัจจัยในการให้ทานขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดา หลังจากการตายจากชาตินั้นไปแล้ว พระองค์ก็เสวยวิมุตติสุข คือความสุขอันเป็นโลกีย์วิสัยดีกว่าพระเทวทัตมาก ยิ่งเกิดมากเท่าไหร่ ความสุขก็มีมากเท่านั้น ปัญญาก็มีมากขึ้น ทรัพย์สมบัติก็มีมากขึ้น อย่างนี้เป็น โลกียทานยังไม่ดีพอ
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะขยับขึ้นไปอีกนิดหนึ่งว่า การให้ทานนี้มันเป็นการสงเคราะห์ เราไม่หวังผลการตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น เราไม่ต้องการความรักจากบุคคลผู้รับทาน และก็เราไม่หวังผลในการเกิดเป็นเทวดา เราไม่หวังผลในการเกิดเป็นมนุษย์ที่จะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เราให้ทานด้วยความเมตตาปรานี ในฐานะที่คนและสัตว์เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน จิตใจของเรานั้นมีความเบิกบานในการให้ทาน ให้ทานไปแล้วก็มีความชื่นใจ อารมณ์ใจส่วนหนึ่งก็นึกไว้เสมอว่า
    <o:p></o:p>
    การให้ทานเป็นการสละวัตถุภายนอก เมื่อวัตถุภายนอกนี้มันเป็น อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้
    <o:p></o:p>
    ถ้าเรายึดถือมากเกินไป เป็นอารมณ์ของตัณหา มันก็เป็น ทุกขัง หมายความว่า ถ้าเราพลัดพรากจากมัน ความเสียใจ ความเสียดายจะเกิดขึ้น มันเป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    และในที่สุด วัตถุก็ดี เราก็ดี วัตถุที่เราให้ทานก็ตาม ร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ก็ดี มันเป็น “อนัตตา” จะเล็งเห็นได้ว่า เหตุทั้ง ๒ ประการ
    <o:p></o:p>
    กล่าวคือ ทาน ได้แก่วัตถุ ก็เป็น อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ถ้าติดแรงเกินไปก็เป็น ทุกขัง มีอารมณ์เป็นทุกข์ และเมื่อพลัดพรากจากมันแล้ว ในที่สุด อนัตตา มาถึงแล้วก็ดึงไว้ไม่ได้ อย่างนี้ที่เราตัดสินใจว่าเราให้ทานในครั้งนี้ เราไม่หวังการเกิด คือ เราจะไม่ติดในวัตถุภายนอกทั้งหมด ในเมื่อมีชีวิตเราจะหาเงินมาเพื่อกิจแห่งการเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวตามหน้าที่ แต่ทว่าชีวิตินทรีย์ในร่างกายสลายลงไปเมื่อไหร่ เรากับมันก็จากกันอย่างชนิดที่ว่า ไม่มีอะไรเหลือเยื่อใยซึ่งกันและกัน กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้นั้น ก็ชื่อว่าเป็นกำลังใจของพระอริยเจ้าเบื้องต้น นั่นก็คือ เป็นกำลังใจของพระโสดาบัน<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE class=text border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD class=center>ธรรมสัญจร เล่ม ๖(๔)


    ทานภายนอก-ทานภายใน


    ทีนี้สำหรับทานที่เราพูดถึงวัตถุ มันเป็นทานภายนอก ก็เรียกว่า “พาหิรกทาน” เป็นทานภายนอกที่เราให้สักเท่าไรก็ตาม อันดับที่เราจะพึงให้ได้ ทานภายนอก เราจะพึงได้ผลก็ได้แก่พระโสดาบัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทีนี้เราจะกล่าวกันต่อไปว่า ทำยังไงเราจึงจะให้ทานเป็นพระสกิทาคามีให้ได้ เป็นอันว่า ทานบารมี ตัวเดียวนี้ เราจะก้าวเข้าสู่พระนิพพานให้ได้ อาศัยทานเป็นหลัก
    <o:p></o:p>
    ทานที่จะเป็นหลักในการที่จะเป็นพระสกิทาคามี ก็ได้แก่ “อัชฌัตติกทาน”
    <o:p></o:p>
    “อัชฌัตติกทาน” เขาเรียกว่า ทานภายใน ทานภายในนี้ไม่ได้อาศัยวัตถุ แต่ก็อย่าลืมนะ ถ้าเราไม่สละวัตถุ ยังมีความเสียดายอยู่ในวัตถุ ซึ่งเป็นทานภายนอก เป็นของภายนอก เราก็ไม่สามารถให้ทานภายในที่เรียกว่า “อัชฌัตติกทาน” ได้
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น การบริจาคทานภายนอก เราจะเห็นได้ว่า วิสัยของพระโสดาบัน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงห้ามพระว่า ถ้าไม่มีความจำเป็นจริง ๆ ก็จงอย่าไปรบกวนพระอริยเจ้าชุดนี้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านที่เป็นพระโสดาบัน พร้อมในการที่จะบริจาคในทานเพื่อเป็นการสงเคราะห์อยู่เสมอ
    <o:p></o:p>
    นี่จะเห็นได้ว่า คนที่เป็น “พระอริยเจ้า” เขาไม่หวงแหนในทาน มีอารมณ์เปี่ยมในทาน จัดเป็นกรรมฐานใน “จาคานุสสติกรรมฐาน” ถ้าการให้ทานของท่านผู้นั้น จิตใจปรารภพระนิพพาน และลองไปดูเรื่องศีล ศีลบริสุทธิ์ด้วย ทั้ง ๒ ประการนี้ ก็จะช่วยให้ท่านผู้นั้นได้เข้าถึงความเป็น “พระโสดาบัน”
    <o:p></o:p>
    ทานที่ทำให้เป็นพระสกิทาคามี
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อภัยทาน
    <o:p></o:p>
    ถ้าลำดับทานเข้าถึงการเป็น “พระสกิทาคามี” ตอนนี้ต้องประกอบทั้งทานภายนอกและก็ทานภายใน ทานภายในนี้ไม่ได้ใช้วัตถุ ได้แก่ “อภัยทาน”
    <o:p></o:p>
    คือพระสกิทาคามีนี้ระงับบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ และบรรเทาความหลง หมายความว่า ความโลภของพระสกิทาคามีเบาเต็มที จิตที่เกาะอยู่ในวัตถุเกือบจะไม่มี จะมีแต่เพียงว่าเราจะอาศัยมันเป็นเพื่อยังชีพให้คงอยู่ เราจะตายไปเมื่อไหร่ก็ช่างเถอะ นี่เป็นทานภายนอก
    <o:p></o:p>
    สำหรับทานภายในที่พระสกิทาคามีทรงได้นั่นก็คือ “อภัยทาน” หมายความว่าบุคคลผู้ใดก็ดี ที่ทำให้เป็นที่ไม่ถูกใจเรา เราไม่พอใจในเขา ในอากับกิริยา ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี แต่ทว่าอารมณ์ของเรานี้ประกอบไปด้วยปัญญา ที่มีความรู้สึกอยู่ว่า ขันธ์ ๕ มีสภาพไม่ทรงตัว ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของเขาก็ดี มันเป็นแต่เพียงเปลือกภายนอกที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ มีความสกปรกเป็นที่น่าสะอิดสะเอียนใจ ไม่มีความหวังใด ๆ ที่เราจะคิดว่ามันเป็นปัจจัย เป็นสมบัติของความสุข ร่างกายเป็นเชื้อสายของความทุกข์ มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง และมีการสลายตัวไปในที่สุด
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่ามันไม่มีอะไรเป็นที่จีรังยั่งยืน
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น คนที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจ เราก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเราจะทำลายเขา เราจะล้างผลาญเขา เราจะกลั่นแกล้งเขา ก็ไม่มีอะไรเป็นผลแห่งความดี เพราะเขาเองเขาก็มีทุกข์อยู่แล้ว ในเมื่อเขามีทุกข์ และเขาจะต้องตายในที่สุด เรื่องอะไรที่เราจะต้องไปนั่งโกรธเขา เขาเองก็อาศัยความโง่เขลาของเขาเป็นปัจจัย เขาจึงทำให้เราไม่ถูกใจ ถ้าเราให้อภัยในความผิด คิดว่าเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเขา อย่างนี้เรียกว่า “อภัยทาน”
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า สิ่งใดก็ตาม ใครก็ตาม ทำให้เราไม่ชอบใจ เราก็มีความรู้สึกแต่ว่า นึกถึงการให้อภัยไว้เป็นปกติ ไม่ถือโทษโกรธเคือง โกรธแต่ทว่าไม่ผูกโกรธ อาการไม่ผูกโกรธของเราเป็นปัจจัยให้เขามีความสุข และเราเองก็มีความสุข ถือว่าเป็นเรื่องของธรรมดา คนเราเกิดมานั้นจะดีทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อรู้ว่าเขาเลว เราก็ให้อภัยกับเขา
    <o:p></o:p>
    แล้วก็มาเทียบกับร่างกายของเราว่า โอหนอ..ที่เราต้องถูกเขากลั่นแกล้ง เขาด่า เขาว่า เขานินทา เขาทำร้าย ก็อาศัยที่ว่าเรามีร่างกายที่แสนสกปรก มีร่างกายที่มีสภาพที่ไม่จีรังยั่งยืน ไม่มีอาการทรงตัว ฉะนั้น ขันธ์ ๕ ของเรานี่ไม่มีความหมาย ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย ความตายก็เข้ามาถึงมัน เมื่อมันตายแล้ว เราก็ไม่ได้ตายไปด้วย มันไม่ได้ช่วยให้เรามีความสุข เราไม่ได้ตาย มันตาย ถ้าเรายังมีความเยื่อใยในขันธ์ ๕ อย่างนี้ เราก็ต้องเกิดอีก<o:p></o:p>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น จงคิดดูว่าชีวิตินทรีย์ของเรายังพึงมีอยู่ เราก็ขอมีในชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ ที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครกอย่างนี้ จะไม่มีสำหรับเรา เมื่อเวลาที่เราจะเคลื่อนไปจากร่างกาย เราอุทิศร่างกายนี้ให้เป็นทานแก่บรรดาหมู่หนอนทั้งหลายที่มันจะกัดจะกิน มันจะทำอะไรกับร่างกายก็ช่าง เรากับมันห่างไกลกันแล้ว จิตใจของเราไม่โน้มไปที่จะมีความรักในกาย และจิตใจของเราเต็มไปด้วยการให้อภัยกับบุคคลผู้มีความผิด อย่างนี้เขาเรียกว่า “อภัยทาน” เป็นทานภายใน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย น้อมรำลึกถึงการให้ทานด้วยประการแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ เรียกบุคคลนั้นว่าเป็น “พระสกิทาคามี”
    <o:p></o:p>
    ทานที่ทำให้เป็นพระอนาคามี
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น สำหรับการให้ทานอย่าลืมนะว่า
    <o:p></o:p>
    “จาคะ” แปลว่า เสียสละ
    <o:p></o:p>
    “ถ้าเป็น “ทานของพระอนาคามี” จะเป็นอย่างไร
    <o:p></o:p>
    พระอนาคามีพร้อมในการให้ทานที่เป็นวัตถุ และก็พร้อมในการให้ทานเป็น “อภัยทาน” นอกนั้นก็จัดทานอีกประเภทหนึ่ง คือเป็นทานภายในโดยเฉพาะก็ได้แก่ การให้อภัยกับจิต คือจิตที่คิดว่าจะผูกพันในร่างกายเราก็ดี ในร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี อารมณ์ประเภทนี้ไม่มี เรายกให้เป็นภาระหน้าที่ของตัณหา ยกให้เป็นภาระหน้าที่ของอุปาทาน
    <o:p></o:p>
    และจิตใจนี้นั้นก็รู้ว๋า ความผูกพันในร่างกายเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี ไม่มีในจิตของเรา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ามีความรังเกียจ มีความสะอิดสะเอียนในร่างกาย มองดูร่างกายเราก็ดี มองดูกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก และประกอบไปด้วยทุกข์
    <o:p></o:p>
    ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ความหิว ความกระหายเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ความพลัดพรากจากของรักของชฮบใจเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ความตายเป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    จิตใจไม่มีความสุข เพราะเราเมาในกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก มองเห็นกายเรา มองเห็นกายคนอื่นมีสภาพเหมือนซากศพที่เคลื่อนที่ได้ เต็มไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ และในที่สุดก็พังสลายไปในที่สุด
    <o:p></o:p>
    จิตของเราหมดความผูกพันในสิ่งโสโครกคือส้วมเคลื่อนที่ได้ ร่างกายนี่ก็เหม็น จะเปรียบกับส้วมก็ได้ จะเปรียบกับป่าช้าก็ได้ มีสภาพไม่ตางกัน เพราะซากศพทั้งหลายเหล่านั้น มีสัตว์ต่าง ๆ มีหมู มีวัว มีควาย มีปลา มีเป็ด มีไก่ มีกุ้ง ที่เราไปฝังไว้ในร่างกายของเรา ร่างกายของเราก็มีสภาพเหมือนป่าช้า มันเข้าไปเน่าอยู่ภายในร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี จะมีอะไรเป็นที่ปรารถนา สิ่งที่มันหลั่งไหลออกมานั่นคือของสกปรกที่มีอยู่ในร่างกาย
    <o:p></o:p>
    สำหรับกำลังใจอีกส่วนหนึ่งในด้านความโกรธ นอกจากจะให้ “อภัยทาน” อย่างพระสกิทาคามีแล้ว เราก็ตัดกำลังใจว่า ขึ้นชื่อว่าการกระทบกระทั่ง กำลังใจที่ไม่ชอบใจ ไม่มีสำหรับเรา มีจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ก็เพราะว่าคนที่เกิดมานี่ยังมีความโง่ เพราะอาศัยความโง่เป็นกำลัง มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน ท่วมทับหัวใจ เขาจึงสร้างความชั่ว
    <o:p></o:p>
    แต่สำหรับเรา จะไม่ยอมตัวให้ชั่วแบบนั้น คือเราจะน้อมใจไปในความสุข คือไม่ติดอยู่ในกามฉันทะทั้ง ๕ ประเภท แล้วอารมณ์ใจของเรานั้นวางแนบสนิทติดอยู่กับธรรมะ มีการคิดให้อภัยอยู่เสมอ ใครจะด่า จะว่า จะนินทาว่าร้าย จะแกล้งประการใด ใจมีความสุข คิดว่านี่มันเป็นธรรมดาของความโง่ที่เราเกิดมามีร่างกาย กำลังใจมีความสบายไม่สะทกสะท้านในการนินทาว่าร้ายหรือกลั่นแกล้ง อันนี้เป็น “อารมณ์ของพระอนาคามี”
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น จาคะ คือ การบริจาคทานในคราวนี้เรียกว่า “จาคานุสสติกรรมฐาน “ อันนี้เป็นทานใหญ่ คือให้ใหญ่ที่สุด คือ คิดถึงว่า สภาวะของร่างกายที่เป็นมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ร่างกายนี้มันเป็นภัยใหญ่ ทุกข์ใด ๆ ที่มันมีขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นเหตุ<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทานที่ทำให้เข้าถึงพระอรหันต์
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดังนั้น องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ให้ปลดเปลื้องร่างกายเสีย คือความรู้สึกในการต้องการร่างกายของเราก็ดี ความรู้สึกในการต้องการร่างกายของคนอื่นหรือสัตว์นอกจากเราก็ดี ความพอใจในวัตถุต่าง ๆ ที่เราจะยึดถือเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ดี ตอนนี้ตัดหมดสิ้นไปจากกำลังใจ เพราะเห็นว่าร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ รู้ว่าทุกข์นั้นมันมาเพราะร่างกายเป็นสำคัญ ทั้งนี้ก็เพราะว่าร่างกายที่มีขึ้นมาได้นั้น เพราะอาศัยตัณหาเป็นต้นเหตุ
    <o:p></o:p>
    เราเห็นแล้วว่าองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณ แนะนำให้พวกเราทั้งหลายปล่อยกายเสีย ที่เรียกกันว่า “สักกายทิฏฐิ” จิตมีอารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ร่างกายนั้นเป็นเพียงธาตุ ๔ ที่เข้ามาประชุมกัน มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา ความโง่ที่คิดว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีในจิต เพราะถ้าจิตเข้ามาถึงตอนนี้ เราก็คิดอุทิศว่า อะไรจะมากระทบกระทั่งกายก็ดี หรือทางใจก็ดี เราไม่ยอมรับ เรายกให้เป็นกฎของธรรมดา เพราะการเกิดมาต้องเป็นอย่างนั้น
    <o:p></o:p>
    ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคิดอย่างนี้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ท่านผู้นั้นเป็น “พระอรหันต์”
    <o:p></o:p>
    หวังว่าเพราะอาศัยทานบารมีอย่างเดียว หากว่าท่านทั้งหลายมีความฉลาด ก็จะเข้าถึงพระนิพพานได้ตามความประสงค์ สุดท้ายก็คือการทำกำลังใจหรือบารมีให้เต็มตามลำดับขั้นนั่นเอง เรื่องของทานก็สมควรแต่เพียงเท่านี้<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะในเรื่องทาน <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    การกล่าวคำถวายในเรื่องต่าง ๆ
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กฐิน
    <o:p></o:p>
    การถวายผ้ากฐิน ถวายได้ตั้งแต่เดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ ถึงเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ถวายนอกกาลดังกล่าวไม่เป็นกฐิน และพระวัดหนึ่งจะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว การถวายผ้ากฐินจะถวายที่โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญก็ได้ แต่การสวดให้ผ้ากฐิน ต้องทำภายในเขตพัทธสีมา หรือพัทธสีมา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    คำถวายผ้ากฐิน
    <o:p></o:p>
    อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะ จิวะระทุสสัง, สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุโน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตวา จะ, อิมินาทุสเสนะ, กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ,
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำแปลถวายกฐิน
    <o:p></o:p>
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย รับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำถวายผ้าป่า
    <o:p></o:p>
    อิมานิ มะยัง ภันเต, ปังสุกูละ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุโน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ปังสุกูละจีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำแปลคำถวายผ้าป่า
    <o:p></o:p>
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำถวายสังฆทาน
    <o:p></o:p>
    อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ สะปะริวารานิ, ภิกขุ สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุโน ภันเต, ภิกขุ สังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ,
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำแปลถวายสังฆทาน
    <o:p></o:p>
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าถวายหลังจากพระฉันเพลแล้ว ให้ใช้ดังนี้
    <o:p></o:p>
    สุทินนัง วะตะ เม ทานัง ปะริสุทธิ ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง สุขขัง โหตุ<o:p></o:p>
    สุทินนัง วะตะ เม ทานัง ปะริสุทธิ ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง พลัง โหตุ<o:p></o:p>
    สุทินนัง วะตะ เม ทานัง ปะริสุทธิ ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพพานัง โหตุ
    <o:p></o:p>
    เสร็จแล้วนำดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าไตรจีวร เข้าไปถวาย ไม่ต้องนำถังซึ่งใส่เครื่องบริโภคถวาย เพราะหลังจากเพลแล้ว พระรับประเคนจะเป็นอาบัติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    คำถล่าวถวายเทียนและผ้าป่าร่วมกัน
    <o:p></o:p>
    อิมานิ มะยัง ภันเต ปทีปานิ จะ ปังสุกุละจีวะรานิ จะ ติจีวะรานิ จะ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ปะทีปานิ จะปังสุกุละจีวะรานิ จะ ติจีวะรานิ จะ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุ อาทีนัญจะ ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    <o:p></o:p>
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย เทียนพรรษา ผ้าบังสุกุลจีวร และผ้าไตรจีวร พร้อมของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ เทียนพรรษา ผ้าบังสุกุลจีวร และผ้าไตรจีวร ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และแก่ปิยะชนทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้น สิ้นกาลนานเทอญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เรียบเรียง หลวงพ่อวัดเศวตฉัตร<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    .......ว่าด้วยเรื่อง........
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ศีล
    <o:p></o:p>
    ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่า ถ้าเราไม่สามารถชนะรากเหง้าของอกุศลได้ เราก็ไม่สามารถจะหลีกไปจากวัฏสงสารได้ จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะเป็นปกติ ถ้าเราสามารถทำลายรากเหง้าของอกุศลทั้ง ๓ ประการได้ อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า ราคะ โทสะ โมหะ เราก็สามารถไปนิพพานได้ เพราะทั้ง ๓ อย่าง ถือเป็นรากเหง้าใหญ่ของอกุศล กิเลสจะมีกี่ประเภทก็ตาม ผลที่สุดอย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า สุดท้ายก็รวมอยู่ใน ๓ ประเภทนี้
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้ เพราะพระพุทธเจ้ากล่าวไว้วา ร่างกายของเรามันจะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยเหตุเป็นปัจจัย หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ความเกิดนั้นจะปรากฏขึ้นมาได้ ก็เพราะมีเหตุและปัจจัยกระทำให้เกิด เพราะจริง ๆ แล้ว เราก็คือจิต ซึ่งสถิตอยู่ในบ้านหลังนี้ก็คือร่างกาย และเหตุปัจจัยที่ทำให้เราเกิดมามีรูปหรือกาย เพื่อจะมารับกับความทุกข์และสุข นั่นก็คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมนั่นเอง
    <o:p></o:p>
    กิเลส แปลว่า ความเศร้าหมองของจิต มีความโลภเป็นต้น
    <o:p></o:p>
    ตัณหา ความทะยานอยาก
    <o:p></o:p>
    อุปาทาน การยึดมั่นถือมั่น มีความหลงคิดว่ามันทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะอยู่กับเราตลอดไม่มีวันจากกัน เป็นอารมณ์ที่ค้านกับความเป็นจริง
    <o:p></o:p>
    อกุศลกรรม คือการกระทำแบบโง่ ๆ เพราะมีอารมณ์จิตที่เลว ทำให้การกระทำก็ออกมาแบบเลว ๆ การพูดก็เป็นการพูดแบบเลว ๆ
    <o:p></o:p>
    จะพูดให้ชี้ชัดดูง่ายขึ้นก็คือ สิ่งต่าง ๆ นั้นก็มาจากเหตุของรากเหง้าอกุศลกรรมตัวใหญ่ ๓ ตัว ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ทำให้เราต้องเกิดมาเวียนว่ายอยู่ในวัฏจักรไม่รู้จบ เราจึงต้องทำลายรากเหง้าของอกุศลดังกล่าว โดยที่เราต้องสร้างรากเหง้าของกุศลขึ้นมาแทน ในเมื่อเรามีความอยากโลภ อยากโกรธ อยากหลง ทำให้เราต้องเกิดมาเผชิญทุกข์เช่นนี้ เราก็จะต้องตัดความอยากดังกล่าวออกไป โดยวิธี
    <o:p></o:p>
    เราตัดความโลภ ด้วยการให้ทาน
    <o:p></o:p>
    ตัดความโกรธ ด้วยการรักษาศีล
    <o:p></o:p>
    ตัดโมหะความหลง ความโง่ ด้วยการเจริญภาวนา
    <o:p></o:p>
    มองโลกด้วยความเป็นจริง มองให้เห็นว่า โลกที่เราเกิดมามีแต่ความทุกข์ เห็นด้วยปัญญา ซึ่งเราจะกล่าวละเอียดต่อไปในภาคของภาวนา ในบทของวิปัสสนา
    <o:p></o:p>
    แต่ในบทนี้ก็จะกล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า เราจะหนีทุกข์ เราก็ต้องสร้างเครื่องมือที่จะต่อสู้กับมัน การที่เราจะตัดทุกข์ เราก็จะต้องตัดตัวตัณหา การที่เราจะตัดตัณหา พระพุทธเจ้าให้เจริญ “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” คือ ต้องปฏิบัติในมรรค ซึ่งก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า มรรคนั้นมีอยู่ ๘ อย่าง แต่ย่อลงแล้วเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ ตัวนี่ เป็นการทำลายกิเลส เพราะ
    <o:p></o:p>
    ศีล คือการระงับกายวาจาให้เรียบร้อย ให้ทรงอยู่ในความดีตามขอบเขต ศีลเมื่อเรามีแล้ว กิเลสมันจะยั้งตัวหน่อย เพราะศีล อุปมาเหมือนกรงเหล็กเข้าไปครอบกิเลสเข้าไว้ เพราะกิเลส ถ้าจะเปรียบก็เหมือนเสือร้ายหรือสิงห์ร้าย ถ้ามันติดกรงอยู่ มันก็ดิ้น แต่มันกัดใครไม่ได้ แต่เราขังมันไว้ได้ เราก็ชนะจุดหนึ่งแล้ว จะขังไว้ได้นานหรือไม่นานไม่สำคัญ ชื่อว่าเราขังได้ก็แล้วกัน เราขังได้ใช้เวลาน้อยก็ตาม มากก็ตาม ถ้าขังบ่อย ๆ กิเลสมันก็เพลียเหมือนกัน เพราะการขังกิเลสไว้คราวหนึ่ง ก็ชื่อว่าเราพักไม่ให้กิเลสมันกัดกายเรา กัดใจเรา ใจของเรามีความสมบูรณ์ บริบูรณ์ แข็งแรงขึ้นมาบ้าง พอมีกำลังที่จะวิ่งหนีอบายภูมิได้ ถึงแม้ว่าจะไม่พ้นอำนาจของกิเลส หรือพ้นอำนาจของอบายภูมิ ก็ชื่อว่าเป็นของดี ไม่ใช่ไม่ดี
    <o:p></o:p>
    สำหรับสมาธิ แปลว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในความดี คือทรงศีล ทรงฌานอยู่ จิตน้อมอยู่ในอารมณ์ทั้งสองประการอย่างนี้เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    ส่วนปัญญานั้น ในมรรคจะขึ้นต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ตัวนี้เป็นตัวปัญญา แปลว่า ความเห็นชอบ คนที่ไม่มีปัญญา จะมีความเห็นชอบไม่ได้ เพราะถ้าเราไม่มีปัญญา เราก็จะไม่เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์จากการมีศีล มีสมาธิ เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงถึงกัน เพราะถ้าไม่มีศีล สมาธิก็ไม่เกิด สมาธิก็ดี ศีลซึ่งเจริญก็ดี จะมีขึ้นได้เพราะตัวปัญญาเป็นปัจจัย ถ้าปัญญาของเราไม่ดี หรือเราไม่มีปัญญา เราย่อมไม่สามารถเล็งเห็นประโยชน์ของศีลและสมาธิได้เลย เป็นอันว่า เราใช้ปัญญากันมาตั้งแต่ต้น ทำไมท่านจึงไม่ขึ้นปัญญาก่อน ก็ต้องตอบว่า คนที่จะมีศีลได้ต้องเป็นคนมีปัญญา แต่ว่าเป็นปัญญาที่ยังมีกำลังกล้าไม่พอ ยังไม่สามารถทำลายตัณหาให้หมดไปได้ เป็นปัญญาตัวยับยั้ง กำลังของตัณหา ยับยั้งเล็ก ๆ ไม่ใช่ยับยั้งใหญ่ เหมือนกับกรงขังเสือ แต่ว่าปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียงไว้ในด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัญญาตัวสุดท้าย เป็นปัญญาที่มีกำลังใหญ่ เป็นปัญญาที่สามารถดับกิเลสให้หลุดพ้นในวัฏสงสารได้ เพราะเป็นปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง และค้นหาวิธีในการดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งปัญญาดังกล่าว เราก็จะกล่าวในภาคต่อไป
    <o:p></o:p>
    ในตอนนี้ เราจะกล่าวรายละเอียดในเรื่องของศีล ที่เป็นเครื่องมือในการดับตัวอกุศลตัวที่สอง ในเรื่องของโทสะ หรือดับความโกรธ การตัดตัณหาเบื้องต้น เราจะต้องเป็นคนมีศีล เพราะศีลเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ กาย วาจา ของเราสงบ แต่ความจริงแล้วมันต้องสงบมาถึงใจ เรียกว่า ค่อย ๆ มุดมันลงไป ค่อย ๆ เลาะ ไม่ใช่ตีทีเดียวตาย มันเป็นไปได้ยาก ขั้นแรก เรามีศีลก่อน เมื่อเรามีศีลแล้ว เรียกว่าฝึกอดใจแบบเล็ก ๆ ใช้กำลังน้อย ๆ ควบคุมกำลังใจ ถ้าเรารักษาศีลได้ตามปกติ ก็เป็นการตัดกำลังของกิเลส ตัดมากไม่ได้ไม่เป็นไร เราตัดน้อยเข้าไว้ก่อน อันดับแรกพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้ทรงศีลให้บริสุทธิ์เสียก่อน คือ ขึ้นชื่อว่าศีล เราต้องรักษาด้วยชีวิต แต่ว่าในตอนต้นจริงท่านไม่ได้บังคับขนาดนั้น บังคับแต่เพียงว่า ถ้าหากเรารักษา ๕ ตัว ถ้าเป็นฆราวาส ถ้าเป็นพระไม่ได้ พระเณรนี่ ๑๐ ก็ ๑๐ ๒๒๗ ก็ ๒๒๗ จะไปแบ่งไม่ได้เด็ดขาด ถ้าฆราวาส เรารักษา ๕ ตัวไม่ได้ เอา ๑ ตัวก่อน เอามันแค่ ๑ ก่อน ถ้าเราบังคับได้แน่นอนแล้ว ก็ขยับไปเป็น ๒ ให้อารมณ์มันชิน มา ๒ แล้วก็ไปเป็น ๓ เป็น ๔ เป็น ๕ ค่อย ๆไป ถ้าเราชนะศีล ๑ ตัวได้ เราไม่ละเมิดศีล ๑ ตัว แสดงว่าเราชนะกิเลสไป ๑ จุดแล้ว ไม่ใช่เราแพ้กิเลส ค่อย ๆ ตีเข้าไป เรื่องเคล็ดลับสำหรับการรักษาศีล จะขอกล่าวในภายหลังต่อไป<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ดังนั้น วิธีที่จะป้องกันและทำลายอำนาจของตัณหาก็คือ อันดับแรก เราใช้ศีลครอบมันเข้าไว้ก่อน เอาศีลเข้าไปขังตัณหา คือความอยาก เอาศีลทำลูกกรงครอบตัณหา พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง มีสภาพเป็นปัจจัยของความทุกข์ อนัตตา มันสลายตัวในเมื่อมันจะพัง มันมีอะไรเป็นของเรา ทีนี้ความเมาของจิตยังมีอยู่ ก็ดิ้นอยู่ในลูกกรง โผล่มาไม่ได้ก็ช่างมัน เก่งก็เก่งอยู่ในลูกกรง เจ้าตัวศีลนี้ ถ้ามันขังไว้จริง ๆ คือว่า สิกขา ๓ ประการต้องให้ครบถ้วน ใช้คำว่า อธิ แปลว่า ยิ่ง คือเอากันจริง ๆ ไม่ใช่ล้อเล่น อธิศีลสิกขา เราจะไม่ยอมให้สิกขาบทของศีลทุกสิกขาบท ถ้าเป็นฆราวาส ก็ศีล ๕ หรือว่าศีล ๘ เป็นเณรก็ศีล ๑๐ เป็นพระก็ศีล ๒๒๗ ทั้งหมดนี้เราจะรักษาศีลยิ่ง คำว่ายิ่ง เขาทำกันอย่างไร
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๑. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
    <o:p></o:p>
    ๒. จะไม่ยุให้ใครทำลายศีล
    <o:p></o:p>
    ๓. จะไม่ยินดีหรือพอใจ เมื่อบุคคลอื่นทำลายศีล
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า ศีลทั้งหมดที่เรามีอยู่ เราจะไม่ยอมให้มันบกพร่องแม้แต่นิดเดียว ทำลายศีลเองก็ไม่ทำลาย ยุให้ใครทำลายก็ไม่ทำลาย ไม่ยุ ไม่ยินดี เมื่อเขาทำลายแล้วก็ไม่ยินดี อย่างนี้เรียกว่า รักษาศีลยิ่ง ทีนี้ในเมื่อจิตใจของเราอยู่ในขอบเขตของศีล ลองดูว่า ตัณหาความอยาก มันจะอยากได้สักแค่ไหน คือว่า มันจะทรงตัวอยู่ข้างใน มันก็จะดิ้นอยู่เฉย ๆ มันโดดออกมาทำร้ายใครเขาไม่ได้ใช่ไหม มันจะมาอย่างไร รักก็รักได้ ในเมื่อเรามีศีล เขาห้ามก้าวก่ายกับความรัก มันก็นึกได้ อย่างเดียว นึกรัก แต่แสดงความรักจริง ๆ ไม่ได้ ในด้านกามารมณ์
    <o:p></o:p>
    ทีนี้ความโลภ นึกอยากรวย อยากรวยได้ แต่ทำไมไม่ได้ มันละเมิดศีลใช่ไหม อยากจะฆ่าเขา นึกได้แต่ทำไม่ได้ ถ้าไปฆ่าเขาเดี๋ยวศีลขาด ตัวหลงคือ โมหะ ว่านั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู ก็นึกได้เหมือนกัน แต่สะสมจริง ๆ ไม่ได้ เพราะศีลบังคับอยู่ เป็นอันว่า อธิศีลสิกขา คือว่า สิกขาบทตัวต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เรามีศีลเพื่อขังตัณหา เรามีศีลตัวเดียว เราทำลายกิเลสตัณหาไม่ได้ แต่ว่าเราขังความชั่ว คือ ตัณหาไว้ได้
    <o:p></o:p>
    คำว่า ตัณหา ที่แปลว่า ใฝ่ต่ำนะ ถ้าเราใฝ่สูง อยากจะไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน อันนี้ท่านไม่เรียกว่าตัณหานะ มันตัวอยากเหมือนกัน ท่านเรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม นี่เป็นอันว่า ศีลที่เราทรงไว้ได้ก็ขังตัณหาไว้ได้ ที่เรียกว่า ใช้กำลังเบา ๆ มันเป็นกำลังเบา ขังไว้ มันอยากจะดิ้นก็เชิญดิ้น มันจะดิ้นก็ดิ้นไป ออกมากัดใครเขาไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ในขั้นต้นต้องทำอธิศีลสิกขาให้ได้ และก็ถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่า เราจะไปนิพพานไม่ได้ แต่เราก็ไม่ไปอบายภูมิ เราไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
    <o:p></o:p>
    จากการที่บทต้น ๆ เน้นในเรื่องการปฏิบัติ สำคัญอยู่ที่การมีบารมี ๑๐ เราต้องทำให้ครบถ้วน เพราะถ้าหากท่านเจริญพระกรรมฐานมามากเพียงใดแล้วก็ตาม แต่ท่านไม่สามารถทำบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วน คำว่า พระอริยเจ้า ย่อมไม่มีกับท่าน นั่นคือต้องมีกำลังใจทรงความดีทั้ง ๑๐ ประการ ไว้ในใจ ครบถ้วนทุกอย่าง ไม่บกพร่อง คำว่าทรงความดี ไม่ใช่หมายความว่าจำได้ แต่ต้องทำได้ ให้จิตทรงอารมณ์เป็นปกติ ในเรื่องของศีลก็เช่นเดียวกัน ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ศีลนั้นแปลว่า ปกติ ปกติของคนจะต้องปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าจะกลับมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเกิดเป็นคนดีกว่านี้ เพราะคนทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้าไม่ต้องการขาดทุน หมายถึงว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว ถ้าตายจากคนกลับไปเกิดเป็นสัตว์นรก หรือว่าไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน หรือไม่ก็เกิดเป็นคน แต่มีสภาวะเท่าเดิม อย่างนี้ถือว่าเราขาดทุน
    <o:p></o:p>
    ความจริงการมีศีลบารมีข้อเดียวก็สามารถจะไปนิพพานได้ ถ้าเรามีความฉลาด เหมือนกับเรื่องของทานบารมีตัวเดียว ถ้าเราทำอารมณ์ให้ถูกส่วนก็ไปนิพพานได้เช่นกัน ทีนี้ขึ้นชื่อว่าบารมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเราจะสร้างให้ครบถ้วนจริง ๆ ก็ต้องอาศัยบารมีอีก ๙ อย่าง เข้ารวมตัวกัน ในการปฏิบัติบารมี ๑๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อศีล เราต้องเทียบกันเป็น ๒ ระยะ เหมือนกับว่าบารมีต้น หรือปรมัตถบารมี เพราะการที่เราจะต้องมีศีล เราปฏิบัติในศีลเพื่อต้องการความบริสุทธิ์ของใจ ให้มีความมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า คนทุกคนย่อมมีวาสนาบารมี ไปนิพพานได้ทุกคน แต่จะไปถึงเมื่อไหร่ ชาติไหน นั้นไม่แน่ ขึ้นอยู่ที่เราสะสมความดี ที่เรียกว่า “บารมี ๑๐” ได้มากน้อยเข้มข้นประการใด อย่างเช่น
    <o:p></o:p>
    การให้ทาน ถือว่าเป็นการสะสมความดี การให้ทาน ถือว่าเป็นการตัดโลภะ ความโลภคราวหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    การรักษาศีล มีเมตตา ความรัก มีกรุณา ความสงสาร ถือว่าเป็นการตัดโทสะคราวหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    การที่เราตั้งใจฟังเทศน์ ตั้งใจให้ทาน ตั้งใจทำบุญ ตั้งใจทำความดี ไม่ประมาทในชีวิต คือว่าความตายจะเข้ามาถึง อันนี้เป็นการตัดโมหะ ความหลง
    <o:p></o:p>
    ถ้าหากว่าเราทรงอารมณ์รากเหง้าของกุศลครบถ้วน การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะก็เลิกกัน ไม่มีต่อไป ทำอย่างไรเราจึงครบ เราก็ต้องมีปัญญา รู้ว่าโลกนี้เป็นทุกข์ คงอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้การที่จะหนีทุกข์ พ้นจากโลกของวัฏฏะ เราก็ต้องฝึกสะสมความดี การให้ทานก็ดี การรักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ดี เพื่อที่จะให้พ้นจากโลกอันเต็มไปด้วยความทุกข์ และตัวทุกข์ที่มันเกาะทำให้เราเกิดความทุกข์ ก็อาศัยเหตุทั้ง ๓ ประการ ดังที่ว่ามาแล้ว ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อทั้ง ๓ ประการ ยังเกาะกินใจเราอยู่ ใจเรายังเป็นทาสของมัน ความทุกข์ก็ย่อมไม่สามารถดับไปได้ ในเรื่องของความโลภ ก็ได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องของทาน ให้บ่อย ๆ ความโลภมันก็หมดไปทีละน้อย ๆ ในที่สุดมันก็หมดไป มันก็สลายตัวไป<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับในเรื่องของการตัดความโกรธ ก็ต้องแก้ด้วยการรักษาศีล เพราะศีลจะทรงอยู่ได้ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร ๔ คือการที่จะทรงศีลให้บริสุทธิ์จริง ๆ เราจะไปไล่เบี้ยโดยเฉพาะ มันจะยุ่ง มันแยกออกเป็นสองตอน คือศีล ถ้าจะทรงให้บริสุทธิ์จริง ๆ และฌานจะพร้อมมูลจริง ๆ มันอยู่ที่พรหมวิหาร ๔ คือ พรหมวิหาร ๔ นี่เป็นคุณธรรมพิเศษ ที่เลี้ยงทั้งศีล เลี้ยงทั้งสมาธิ เลี้ยงทั้งวิปัสสนาญาณ ถ้าทุกคนมีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ตามปกติประจำใจ บุคคลท่านนั้นจะเป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ทางด้านเรื่องของการละโลภะ ความโลภ และศีลก็จะไม่บกพร่อง สมาธิก็จะทรงตัว เป็นผู้ทรงฌานตลอดเวลา นี่มันจะทรงตอด ๒๔ ชั่วโมง จิตจะคิดใช้กำลังฌานเมื่อไรจะได้ผลทันที
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    และความแจ่มใสของจิต ถ้าบังเอิญท่านปฏิบัติทางด้านทิพจักขุญาณก็ดี มโนมยิทธิก็ดี อารมณ์จะไม่บกพร่องจะทำได้ทุกเวลา ต้องการรู้เมื่อไรรู้ได้ทันที จะไปทางไหนเมื่อใดเคลื่อนได้ทันทีตามต้องการ เพราะอะไร เพราะว่าพรหมวิหาร ๔ เลี้ยงฌานให้ทรงตัว
    <o:p></o:p>
    พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๑ เมตตา ความรัก จิตเรามีอารมณ์เดียวคือรัก แต่ก็ไม่ใช่รักในด้านกามารมณ์ รักในฐานะคนเนื่องถึงกัน สัตว์เนื่องถึงกัน เราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นเสมอด้วยชีวิตของเรา
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๒ กรุณา ความสงสาร จิตคิดจะเกื้อกูลในคนและสัตว์ทั้งหมดมีความสุขอยู่เสมอ
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๓ มุทิตา มีอารมณ์อ่อนโยน ไม่มีจิตอิจฉาริษยาใคร เห็นคนอื่นได้ดีพลอยยินดีด้วย แต่ความจริงแค่พลอยยินดีด้วยยังไม่พอ ต้องย่อง ๆ เป็นนักขโมย ดูว่าเขาดีเพราะอะไร เราเก็บเอามาทำบ้าง เราจะได้ดีเสมอเขา อย่างนี้ใช้ได้
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๔ อุเบกขา วางเฉย เมื่อเหตุต่างๆ มันเกิดขึ้นกับเราก็ดี กับเพื่อนมนุษย์ก็ดี และสัตว์ก็ดี มันเป็นเหตุสุดวิสัยที่เราจะพึงช่วยได้ เราจะไม่ซ้ำเติม เราจะวางเฉยไว้ก่อน แต่จิตที่ทรงเมตตากรุณาทั้ง ๓ ประการยังทรงอยู่ ถ้าโอกาสมีเมื่อไรที่เราจะช่วยได้ เราจะช่วยทันที
    <o:p></o:p>
    ถ้าจิตของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ เรื่องโลภะ ความโลภ มันจะไม่มีในจิต ก็เป็นก้าวที่เราจะเข้าถึงนิพพาน
    <o:p></o:p>
    ประการที่สอง โทสะ ความโกรธมันก็จะไม่มีในจิต ศีล ๕ จะครบถ้วนบริบูรณ์ทุกประการ ศีล ๕ นี่ ถ้าเรามีพรหมวิหาร ๔ ทรงตัวจริง ๆ ไม่ต้องระวังศีล ๕ ยังไง ๆ ศีล ๕ ก็ไม่ไป เพราะศีล ๕ สบาย เราเป็นคนไม่ดุร้าย เรามีจิตเมตตาปรานี มีจิตสงเคราะห์ ศีลทรงตัว แล้วก็จิตใจมีอารมณ์เยือกเย็น ศีลสมาธิจะทรงตัว
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น พรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะพรหมวิหารเบื้องต้น อันมีความรัก เมตตา และก็กรุณา ความสงสาร จึงเป็นปัจจัยให้ศีลของเราบริสุทธิ์ ถ้าเราไม่มีเมตตา เราไม่มีความกรุณา คือ ความรักความสงสารแล้ว ศีลมันก็จะทรงอยู่กับเราไม่ได้ เพราะว่าศีลทุกข้อมันจะตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยเมตตากับกรุณา ทั้ง ๒ ตัว ถ้าขาดเมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ตัว ศีลจะไม่คงอยู่ ทั้งนี้เพราะ เมื่อจิตตกอยู่ในสภาพความรักความสงสาร ความโหดร้ายมันก็ไม่มี อารมณ์ก็เยือกเย็น ในเมื่อมีอารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ก็เป็นสมาธิ คือ ความตั้งมั่น ตั้งอยู่ในความดี ก็มีอารมณ์สงัด เมื่ออารมณ์สงัด ปัญญาก็เกิด ปัญญาตัวนี้ เป็นปัญญาตัวตัดกิเลส
    <o:p></o:p>
    สำหรับศีลที่จะกล่าวสำหรับคนทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ใช่นักบวช ก็จะต้องมีศีล ๕ ประการยืนพื้น ดังที่จะขอยกมาอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้คือ
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติบาต การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ประทุษร้ายสัตว์ คำว่า สัตว์ หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานก็ตาม เราเว้นไม่ทำ เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทรมานสัตว์ ถ้าเห็นสัตว์ควรที่จะฆ่าได้ เราไม่ฆ่า ขณะใดที่เราไม่ฆ่าสัตว์ ขณะนั้น เราเป็นผู้มีศีลข้อที่ ๑ หรือถ้าพบของที่เราจะทำร้ายได้ สัตว์ที่เราจะทำร้ายได้ คนที่เราจะทำร้ายได้ แต่เราไม่ทำ เราไม่ทำจัดเป็นอภัยทาน การที่เราเว้นไม่ทำอย่างนั้น มันต้องมีความดีส่วนหนึ่งเข้ามาสนับสนุนก่อน ไม่เช่นนั้น ความเว้นมันเกิดขึ้นมาไม่ได้ ตัวที่จะทำให้เว้นได้แก่
    <o:p></o:p>
    เมตตาจิต คือความรัก คือความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีความสงสารหรือเรียกว่า กรุณา ระหว่างคนต่อคน ระหว่างคนต่อสัตว์ คิดว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด เขาก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น เราก็เว้นจากการประหัตประหารซึ่งกันและกัน ความรักมันก็มีขึ้น ในระหว่างเรากับเขา ต่างคนต่างมีความรัก เราก็เป็นสุข เพราะว่าเป็นคนที่มีศัตรูน้อย หรืออาจจะไร้ศัตรูเลยก็ได้<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทาน การไม่ลักขโมย ไม่ยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น การลักขโมยเป็นการก่อศัตรู เป็นของไม่ดี เพราะว่าทรัพย์ของเราเราก็หวงแหน เราก็ไม่ควรไปเบียดเบียนทรัพย์ของบุคคลอื่นเช่นกัน และในเมื่อเราไม่ยื้อแย่ง ไม่คดโกง มีแต่การให้เป็นการตอบแทน มันก็มีแต่ความรัก การให้เป็นปัจจัยของความรัก การงดเว้นไม่ละเมิด ไม่หยิบ ไม่ฉกฉวยทรัพย์สินของบุคคลอื่น ไม่คดโกงเขา ก็เป็นปัจจัยของความรัก การงดเว้นนี้ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน เราก็มีความสุข ปราศจากศัตรู
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจาร การละเมิดความรักของบุคคลอื่น
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๓ องค์สมเด็จพระบรมครูให้เคารพใน “ศีล” คือ ไม่ละเมิดคนรัก ไม่แย่งสามีหรือภรรยาของบุคคลอื่น
    <o:p></o:p>
    สามีและภรรยาของบุคคลอื่นหรือของเราก็ตามที ย่อมเป็นที่รักยิ่งของเราและเขา ถ้าใครมาละเมิดเราก็ไม่ชอบ เราก็เกลียด ถ้าเราไปละเมิดของเขาบ้าง เขาก็เกลียด
    <o:p></o:p>
    นี่ต่างคนต่างไม่ละเมิด ต่างคนต่างเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน มันก็เป็นปัจจัยของความรัก เราก็อยู่เป็นสุข จะไปไหนก็มีแต่คนรัก เพราะเหตุร้ายจากเรื่องนี้มันไม่มี
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาท องค์สมเด็จพระมหามุนีบอกให้พูดแต่ความจริง ถ้าเราพูดความจริงก็เป็นวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ยอมรับนับถือว่าเราเป็นคนพูดดี พูดจริง หรือพูดน่าเคารพเชื่อถือได้
    <o:p></o:p>
    จะกล่าววาจากับบุคคลใด บุคคลนั้นก็จะมีแต่ความชื่นบานหรรษา มีความเคารพในคำพูดของเรา ไปที่ไหนก็มีแต่คนรักเรา เพราะเราไม่ใช่คนปลิ้นปล้อนโกหกมดเท็จหลอกลวงเขา
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ ๕ การดื่มสุราเมรัย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า จงอย่าดื่มสุราและเมรัย มันเป็นปัจจัยให้เกิดความประมาท เพราะความมึนเมา
    <o:p></o:p>
    การดื่มสุราและเมรัยนี่ก็ให้โทษหลายอย่าง หนึ่ง ทำให้เราเป็นคนตกอยู่ในความประมาท เพราะความมึนเมาทำลายประสาท ดีไม่มีเห็นว่าพ่อเป็นเพื่อนไปเสียก็ได้ เห็นว่านายเป็นลูกน้องไปเสียก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    นี่ประการหนึ่ง สุราและเมรัยชวนคนเข้าตะรางได้ง่าย เรือนจำนี่เขาสร้างหลบทางเข้าไว้ เข้าก็ยาก แต่คนดื่มเหล้าเดินเข้าไปง่าย ส่วนใหญ่ที่เข้าไปในเรือนจำ มักจะเป็นคนดื่มสุราและเมรัย
    <o:p></o:p>
    คำว่า “สุรา” หมายถึง สิ่งที่เขากลั่นจากของหมัก
    <o:p></o:p>
    “เมรัย” ก็เป็นของหมักยังไม่ได้กลั่น เป็นเหตุให้มึนเมา ทั้งนี้ เว้นไว้แต่ว่าถ้ามีความจำเป็น ถ้าเป็นกระสายยา ถ้าไม่ปรากฏกลิ่น กินได้ไม่มีโทษทางพระวินัยและทางศีล
    <o:p></o:p>
    ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งใจเจริญพระกรรมฐาน อันดับแรก นึกถึงศีลห้าประการ มีความเคารพไว้เป็นปกติ จนอารมณ์ชิน รักษาศีลให้เป็นปกติ ไม่บกพร่อง ไม่มีเจตนาในการทำลายศีล
    <o:p></o:p>
    ศีลนี่จะขาดได้เพราะอาศัยการเจตนาเป็นสำคัญ ถ้าเราเคารพในศีลห้าประการได้ครบถ้วน ก็ได้ชื่อว่าเราตัดอบายภูมิเสียได้ ชาติปัจจุบันก็มีความสุข สัมปรายภพก็มีความสุข
    <o:p></o:p>
    ชาติปัจจุบันนี้เรามีคนรัก จะไปไหนก็มีมิตรสหายมาก ตายไปแล้ว เมื่อไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน จุดที่เราจะพึงไปก็เป็นเทวดาเป็นอย่างต่ำ ถ้าจิตเรามีอารมณ์ทรงศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ อารมณ์จิตเป็นฌาน เราก็ไปเกิดเป็นพรหม อย่างนี้ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน
    <o:p></o:p>
    หากว่าเราเกิดมาเป็นคนใหม่ ก็เป็นคนสวย มีรูปร่างงาม อายุยั่งยืนนาน อันโรคภัยไข้เจ็บไม่มี เพราะผลของศีลข้อที่หนึ่ง
    <o:p></o:p>
    ทรัพย์สินก็สมบูรณ์ไม่บกพร่อง ทรัพย์สินไม่มีอันตรายจากไฟไหม้ ไม่มีอันตรายจากน้ำท่วม จากโจรลัก จากลมพัดให้ทำลาย ทั้งนี้ เพราะเราเคารพศีลข้อที่สอง
    <o:p></o:p>
    เรามีคนในปกครองก็ว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาท ทั้งนี้เพราะรักเคารพในศีลข้อที่ ๓
    <o:p></o:p>
    เราจะกล่าววาจาเช่นใดไปก็มีคนยอมรับนับถือ มีคนเคารพในวาจา ทั้งนี้ก็เพราะอาศัยศีลข้อที่ ๔ เป็นเครื่องสนับสนุน
    <o:p></o:p>
    เราจะเป็นคนมีปัญญาดี มีสมองปลอดโปร่ง ไม่เป็นโรคประสาท ไม่เป็นโรคคลั่ง ไม่เป็นโรคบ้า ไม่เป็นคนไร้สติ ทั้งนี้ก็เพราะ เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น การสมาทานศีลของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เมื่อสมาทานแล้ว ตั้งใจนึกถึงศีลเป็นปกติ ระมัดระวังศีลห้าประการให้ทรงอยู่เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน ก็เป็นการเจริญกรรมฐานเหมือนกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ในเมื่อเรามี สีลานุสสติกรรมฐาน เป็นเอกัคคตารมณ์ คือรักษาจนกระทั่งจิตใจของเรามีความนิยมในศีล ไม่ยอมบกพร่องในศีล
    <o:p></o:p>
    คนที่มีศีลบริสุทธิ์ ไม่มีจิตบกพร่องในศีล ก็ชื่อว่าเป็นคนที่มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะว่าตอนก่อนที่เราจะรับศีล เรากล่าวว่า
    <o:p></o:p>
    “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”
    <o:p></o:p>
    ก็แปลเป็นใจความว่า
    <o:p></o:p>
    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
    <o:p></o:p>
    แล้วกล่าวคำขออย่างนี้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ให้ หรือว่าตามพระก็ตาม ก็บอกว่า
    <o:p></o:p>
    “ปาณาติปาตา เวรมณี....ฯ”
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่า เราจะได้รับความเป็นที่พึ่งจากพระได้ ก็เพราะว่าต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำสอนของพระ เมื่อเราปฏิบัติศีลห้าประการครบถ้วนก็ชื่อว่า เรามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ อย่างแท้จริง
    <o:p></o:p>
    เพียงเท่านี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง เขาเรียกพวกท่านว่าเป็น พระโสดาบัน
    <o:p></o:p>
    ศีลอยู่ที่ตัวเว้น
    <o:p></o:p>
    คำว่าสมาทานศีล ก็ไม่ต้องหวังพึ่งพระเสมอไป ศีลนี่จะมีกับเราได้หรือไม่มี ไม่ใช่อาศัยพระสงฆ์ คือการไปหาพระสงฆ์ให้ศีล มันแค่การศึกษาเท่านั้น ศีลจะมีได้หรือไม่มีอยู่ที่ตัวเว้น เวรมณี นี่เขาแปลว่า ตัวเว้น
    <o:p></o:p>
    ปาณาติปาตาเวรมณี ข้าพเจ้าเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ถ้าอารมณ์ของเรามีตัวเว้นเมื่อไร เมื่อนั้นเรามีศีล
    <o:p></o:p>
    อย่างสมมุติว่า สัตว์เล็ก ๆ คลานมาข้างหน้าพอที่เราจะฆ่าได้ อย่างพวกมดพวกปลวกเป็นต้น อย่างนี้เราคิดว่าสัตว์ประเภทนี้เป็นศัตรูกับเรา กัดเราคัน กัดเราเจ็บ เราจะฆ่าเสียให้ตายก็ได้ แต่ว่าวันนี้เราไม่ฆ่า ปล่อยให้มันผ่านไป วันนั้นเรามีศีล
    <o:p></o:p>
    ถ้าเจอะทรัพย์สินของใครพอที่เราจะลักขโมยได้ พอที่จะโกงได้ เราไม่โกง งดเว้นเสีย วันนี้เรามีศีล
    <o:p></o:p>
    ถ้าเจอะบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ตาม เรามีโอกาสที่จะทำลายความรักได้ เราไม่ทำ วันนั้นเรามีศีล
    <o:p></o:p>
    เจอะคนที่โง่กว่าเรา พอที่เราจะโกหกได้ แต่เราไม่โกหก นี่เรียกว่าความเมตตา วันนั้นเรามีศีล
    <o:p></o:p>
    เจอะสุราเมรัยพอจะดื่มได้ เราไม่ดื่ม วันนั้นเรามีศีล
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า ศีล นี่แปลว่า ปกติ ปกติของเรา
    <o:p></o:p>
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต<o:p></o:p>
    ๒. ไม่ลักไม่ขโมยของของใคร<o:p></o:p>
    ๓. ไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร ละเมิดความรักของบุคคลอื่น<o:p></o:p>
    ๔. ไม่พูดมุสาวาท<o:p></o:p>
    ๕. ไม่ดื่มสุราและเมรัย
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่า ถ้ามีปกติ สมาธิก็เกิด เพราะศีลมีความรัก ความเมตตา กรุณา คือความสงสาร เป็นตัวค้ำจุนทรงให้ศีลอยู่ ในเมื่อเรามีศีลแล้วสมาธิก็เกิด
    <o:p></o:p>
    คำว่า สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจ ในเมื่อความตั้งใจมีขึ้น จิตก็มีอารมณ์สงบจากนิวรณ์ ๕ ประการ เมื่อจิตสงบจากนิวรณ์ ๕ ประการ ปัญญาก็เกิด
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ศีลจึงอยู่ที่การตั้งใจรักษา ไม่ใช่อยู่ที่การสมาทานศีล ถ้าเรารักษาได้ดีแล้วด้วยเจตนาดี อันนี้ก็ถือว่าเป็นสีลานุสสติกรรมฐาน การตั้งใจรักษาศีลเป็นปัจจัยตัดโทสะ ความโกรธ
    ถ้าเราอ่านแล้วจะรู้สึกว่า ศีลไม่มีอำนาจระงับความโกรธได้เลย แต่ว่าพื้นฐานที่จะทำให้เกิดมีศีลได้ต้องมีอารมณ์อย่างเบาสองอย่าง นั่นคือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
    <o:p></o:p>
    ถ้าอารมณ์ทั้ง ๒ ประการนี้ไม่มีประจำใจ ศีลจะเกิดขึ้นกับเราไม่ได้ เวลาที่เราฟังพระให้ศีล สมาทานศีล สักแต่ว่าตามรับไปก็ไม่เกิดเป็นศีล ศีลจะมีได้ต่อเมื่อเราละ โอกาสที่สามารถจะละเมิดได้เราไม่ละเมิด นั่นก็คือเราเป็นคนมีศีล<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น คนที่จะมีศีลได้จริงจะต้องมีเมตตา ความรัก ถ้าเรามีความรัก เราก็ฆ่าใครไม่ได้ คดโกงขโมยเขาไม่ได้ แย่งคนรักไม่ได้ พูดมุสาวาทโกหกมดเท็จไม่ได้ ดื่มสุราเมรัยไม่ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะเราเป็นคนรักตัวเรา รักครอบครัว รักคนอื่น เพราะสุราเมรัยเป็นปัจจัยแห่งความเป็นคนบ้า ถ้าบ้าแล้วมันก็ไม่คิดดี มันก็ทำชั่วทุกอย่าง
    <o:p></o:p>
    คนที่มีความรักซึ่งกันและกันก็ไม่บ้าเข้าหากัน ความรักความสงสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดศีล
    <o:p></o:p>
    ถ้าความรักความสงสารมีในใจ ความโกรธมันก็ไม่เกิด ถ้าขณะใดความรักความสงสารขาดไป ความโกรธมันก็เกิด ต้องค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ ปฏิบัติ อาการมันจะชิน
    <o:p></o:p>
    ถ้าอารมณ์เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร เกิดการชิน ศีลเป็นตัวยับยั้ง
    <o:p></o:p>
    ถ้าเราจะฆ่าสัตว์ เราก็ต้องคิดว่านี่เรารักสัตว์ ทำไมเราจึงจะฆ่า ถ้าเราจะขโมยคดโกงเขา คนที่เรารักเราจะคดโกงเขาทำไม มันทำไม่ได้ รวมความว่า การที่จะตัดโทสะ ความโกรธ ต้องมีศีล คือมีพื้นฐานตัวเมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ประการ เป็นหลักสำคัญ
    <o:p></o:p>
    จึงมีข้อชี้ได้ทางหนึ่งว่า ถ้าเราละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง แสดงว่า เมตตา กรุณาของเราบกพร่อง เราเอาศีลเป็นเครื่องกั้น ชี้ว่าเราบกพร่องหรือเปล่า ถ้าพร่องแสดงว่าความรัก ความเมตตาของเราก็พร่อง เราก็แพ้อกุศลตัวกลาง เราจะต้องระมัดระวังศีลให้ปกติ ความโกรธจึงจะค่อย ๆ สลายตัวไป
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าจะให้ศีลละเอียดมากขึ้น จะเพิ่มการระมัดระวังในเรื่องวาจาและใจด้วย หรือที่เรียกว่า กรรมบถ ๑๐ ก็จะเป็นการรักษาศีลที่ละเอียดเพิ่มขึ้น กรรมบถ ๑๐ ก็มีดังนี้
    <o:p></o:p>
    กรรมบถ ๑๐
    <o:p></o:p>
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์<o:p></o:p>
    ๒. ไม่ลักทรัพย์<o:p></o:p>
    ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม
    <o:p></o:p>
    ทางกายมี ๓ ถ้าเราบวกศีล ๕ ก็เพิ่มเว้นสุราอีกข้อหนึ่ง แต่ความจริงถ้าจิตดีมันก็ไม่ต้องเว้น ที่ท่านไม่ติดสุราไว้ เพราะว่ากำลังใจดีก็ไม่ต้องเว้น ไม่ต้องบอกไว้มันก็เว้นเอง
    <o:p></o:p>
    สำหรับทางด้านวาจา วาจาท่านแยกไว้เป็น ๔ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ไม่พูดปด<o:p></o:p>
    ๒. ไม่พูดคำหยาบ<o:p></o:p>
    ๓. ไม่พูดยุยงส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน<o:p></o:p>
    ๔. ไม่พูดวาจาไร้ประโยชน์
    <o:p></o:p>
    นี่ด้านวาจา สำหรับด้านจิตใจ ท่านแยกไว้ ๓ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. ไม่คิดอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นใดที่เขาไม่ให้โดยชอบธรรม
    <o:p></o:p>
    ๒. ไม่คิดประทุษร้ายคนอื่น ไม่ผูกโกรธ ไม่จองล้างจองผลาญใคร
    <o:p></o:p>
    ๓. ทำความเห็นให้ถูก มีความเห็นตรง ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าทุกประการตามที่ทรงสอนมา
    <o:p></o:p>
    ทั้งหมดนี้เป็นภาคพื้นของพระนิพพานโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลข้อที่ ๑ หรือข้อที่ ๒ หรือข้อที่ ๓ ก็ตาม ที่จะรักษาได้ เราต้องมีเมตตา กรุณา ประจำใจ เพราะว่าถ้าขาดเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร จะรักษาศีลข้อที่ ๑ ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น คนที่รักษาศีลข้อที่ ๑ ไว้ได้ก็ต้องมีเมตตา ความรักเป็นปกติ แล้วก็มีความสงสารเป็นปกติ เห็นคนและสัตว์ทั้งโลกเป็นที่รักและเป็นที่สงสารสำหรับเรา เมื่อรักและก็สงสารเราก็ไม่ประทุษร้ายเขา ฉะนั้น ศีลข้อที่ ๑ จะทรงตัวได้เพราะคุณธรรม ๒ ประการ
    <o:p></o:p>
    สำหรับศีลข้อที่ ๒ เราก็มีความรัก มีความสงสาร แล้วก็ต้องเพิ่มสันโดษขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง ถ้าเรารักและสงสาร เราก็ลักขโมยคดโกงเขาไม่ได้ แต่เพียงแค่รักและสงสารยังแคบไป ถ้ามีสันโดษมีจิตใจพอใจเฉพาะทรัพย์สินของเราที่หามาได้โดยชอบธรรม อันนี้ตัวอทินนาทานก็จะไม่เกิดกับจิต
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ ๓ ก็อาศัยความรัก ความสงสาร ความสันโดษเหมือนกัน ถ้าเรารักเราสงสารก็ไม่สามารถละเมิดความรักของคนอื่นได้ สันโดษเรามีความพอใจเฉพาะคู่ครองของเรา<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับด้านจิตใจ ด้านจิตใจพระพุทธเจ้าตรัสไว้ตรงว่า จงอย่าคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นของเราโดยไม่ชอบธรรม คือไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่คดไม่โกง ไม่ยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของเขา ตัวนี้ท่านตรัสไว้ถึงใจ แต่ความจริงศีลก็ดี ธรรมก็ดี ถ้ารักษาใจตัวเดียวก็หมดเรื่อง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แล้วข้อที่ ๒ ไม่คิดประทุษร้ายบุคคลอื่น คือว่ามีเมตตาหนัก
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ ๓ ทางด้านจิตใจก็คือ ทำความเห็นให้ถูก ที่เขาเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ทำความเห็นให้ถูก ก็หมายถึงว่าตัวนี้เป็นตัวปัญญา คือ กรรมบถ ๑๐ นี่ มีทั้งศีล มีทั้งสมาธิ มีทั้งปัญญาหมด ให้พูดตามตำราก็บอกว่า มีทั้งศีล มีทั้งสมถะ มีทั้งวิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    สำหรับการที่เราจะคิดว่าเราไม่ฆ่าเขา ไม่ลักไม่ขโมยเขา ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น แล้วก็ไม่พูดปด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดวาจาให้เขาแตกร้าวกัน คือไม่นินทากัน และไม่พูดวาจาเหลวไหล ตัวนี้เป็นศีล แต่ว่าศีลนี่จะทรงอยู่ได้เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ ศีลทรงอยู่ไม่ได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่จะต้องประกอบช่วยกันอยู่เสมอ แยกกันไม่ได้
    <o:p></o:p>
    อันดับแรก ก่อนที่เราจะทรงกรรมบถ ๑๐ ได้ ก็ต้องเป็นคนมีปัญญาก่อน ปัญญาเบื้องต้นเห็นว่ากรรมบถ ๑๐ เป็นปัจจัยของความสุข ถ้าเราไม่ฆ่ากัน ไม่ลักขโมยของกัน ไม่ยื้อแย่งความรักกัน พูดแต่ความจริง และพูดแต่วาจาไพเราะ ไม่พูดให้เขาแตกร้าวกัน พูดแต่วาจาที่มีประโยชน์ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยของความรักระหว่างกันและกัน
    <o:p></o:p>
    เมื่อต่างคนต่างมีความรักกันมันก็เป็นสุข นี่อาศัยปัญญาเป็นตัวรู้ก่อน ในเมื่อมีปัญญาเข้าแล้วจึงตั้งใจรักษาศีล จะเห็นได้ว่าศีลทั้งหมดหรือว่ากรรมบถทั้งหมดนี่ทั้ง ๗ ข้อ คือ กายกับวาจา ต้องมีความสำคัญที่เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร ถ้ามีเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร เป็นคุณธรรมอยู่ในพรหมวิหารทั้งหมดที่ทรงตัว ถ้าจะทรงตัวนี่ถือว่าเป็นสมาธิ
    <o:p></o:p>
    สมาธิก็คือการตั้งใจ เราตั้งใจว่าเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะรักและสงสารคนและสัตว์เหมือนกับรักและสงสารตัวเรา ตัวนี้เป็นสมาธิ เมื่อสมาธิตัวนี้มีอยู่แล้ว จิตก็ทรงตัว คือไม่คิดประทุษร้ายใครเขา ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของใคร อันนี้เป็นตัวสมาธิหรือสมถภาวนา
    <o:p></o:p>
    มาตัวสุดท้าย สัมมาทิฏฐิ คือตัวทำความเห็นให้ถูก ตัวนี้ตัวปัญญาเขาเรียกวิปัสสนาญาณ ความเห็นให้ถูกเป็นอย่างไร คือว่า ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเราคิดประทุษร้ายเพื่อน หรือเราประทุษร้ายเพื่อนเมื่อไร เพื่อนก็ทำร้ายเราเมื่อนั้น เราลักขโมยของเขาเมื่อไร เขาก็เกลียด เขาก็เป็นศัตรูกับเรา เราแย่งความรักของบุคคลใด บุคคลนั้นเขาก็เกลียดเรา เขาก็เป็นศัตรูกับเรา ถ้าเราพูดไม่ดีกับบุคคลใด บุคคลนั้นเขาก็เกลียดเรา เราก็มีความทุกข์
    <o:p></o:p>
    ต่อมา ก็คิดต่อไปด้วยกำลังของปัญญาว่า ถ้าเรายังเกิดเป็นมนุษย์อยู่ ถึงแม้ว่าเราจะทำดี เราจะคิดดี แต่ทว่าคนที่พูดชั่ว ทำชั่ว คิดชั่ว เขายังมีอยู่
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า เราต้องการป้องกันอบายภูมิ ก็ไปยึดกรรมบถ ๑๐ อีก มันจะพร่องบ้างดีบ้างเป็นของธรรมดา แต่ว่าตอนที่จะหลับนึกเสียก่อน
    <o:p></o:p>
    ว่าวันพรุ่งนี้ทั้งวันเราจะไม่ฆ่าสัตว์
    <o:p></o:p>
    เราจะไม่ลักทรัพย์
    <o:p></o:p>
    ไม่ประพฤติผิดในกาม
    <o:p></o:p>
    จะไม่พูดปด จะไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
    <o:p></o:p>
    จะไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของใครมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
    <o:p></o:p>
    จะไม่จองล้างจองผลาญกัน
    <o:p></o:p>
    จะยอมรับนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยปัญญา
    <o:p></o:p>
    ถ้าทำอย่างนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เป็นอารมณ์ของพระโสดาบันกับสกิทาคามี อันนี้สามารถไปนิพพานได้
    <o:p></o:p>
    และสำหรับศีลก็อย่าเข้าใจว่า อยู่ ๆ ก็จะทรงศีลได้บริสุทธิ์ ต้องมีการกระทบเสียก่อน ถ้ากระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่จะเป็นปัจจัยให้ทำลายศีลเสียก่อน แต่เราไม่ทำลายศีล นั่นถึงชื่อว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในศีล<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้น ทุกคนต้องมีศีลบริสุทธิ์ทุกวันตั้งแต่เช้ามาถึงเย็น อาจจะพลาดพลั้งเรื่องศีลบ้าง เวลาตอนค่ำพอจะเริ่มบูชาพระให้สมาทานศีลก่อน แล้วก็ตัดสินใจว่าศีล ๕ ข้อ หรือ ๘ ข้อ เราจะรักษาให้ครบถ้วน พอสว่างขึ้นเรามีภารกิจต้องพลาดบ้างเป็นของธรรมดา สมาทานใหม่
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เคล็ดลับในการที่จะรักษาศีลแบบวิธีง่าย ๆ
    <o:p></o:p>
    การแนะนำควรใช้วิธี ๒ วิธี เพราะความเข้มแข็งของกำลังใจคนไม่เท่ากัน
    <o:p></o:p>
    คนที่มีกำลังใจเข้มแข็ง แนะให้ตั้งใจรักษาศีลให้ครบ ๕ ข้อวันละ ๓ ชั่วโมง คือตั้งแต่ ๖ โมงเช้า ถึง ๙ โมงเช้า ในเวลาเท่านี้ จะอย่างไรก็ตามจะไม่ยอมละเมิดศีลเด็ดขาด
    <o:p></o:p>
    ถ้าเธอปฏิบัติตามนี้ได้ ไม่เกิน ๓ เดือน มีหวังรักษาศีล ๕ ครบทุกสิกขาบทได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพราะการระมัดระวังศีลทั้ง ๕ ข้อ วันละ ๓ ชั่วโมงนั้น เป็นการทรงฌานในสีลานุสสติวันละ ๓ ชั่วโมง เพราะเป็นอนุสสติ ไม่ต้องไปนั่งหลับตาภาวนา เอาใจคอยระวังไม่ให้พลั้งพลาด เท่านี้เป็นฌานแล้ว
    <o:p></o:p>
    คำว่า ฌาน นั้น ความหมายจริง ๆ ก็คืออารมณ์ชิน คือ มีอารมณ์ทรงอย่างนั้นเป็นปกติ
    <o:p></o:p>
    อย่างพวกเราชินกับความทุกข์จนไม่เข้าใจว่ามันเป็นความทุกข์ นั่นก็คือ ความหิว ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ เป็นต้น มีทุกวันจนชิน เลยไม่เข้าใจว่าเป็นทุกข์ เห็นเป็นของธรรมดาไป คำว่าฌานก็เหมือนกัน มีอารมณ์ปกติจนไม่มีอะไรต้องระวังหรือมีความหนักใจ
    <o:p></o:p>
    คนที่มีอารมณ์เข้มแข็งน้อย หรือที่เรียกว่ามีกำลังใจค่อนข้างอ่อนแอ แต่มีแววที่พอจะทำได้ ให้เลือกปฏิบัติเอาจริงเอาจังเป็นข้อ ๆ ที่พอจะทำได้ ให้เอาชนะจริง ๆ ข้อใดข้อหนึ่งไปเลย เมื่อชนะข้อใดข้อหนึ่งแน่นอนแล้ว ก็ค่อย ๆ เลือกเอาข้อที่เห็นว่าง่าย ไม่นานเท่าไรก็ชนะหมดทุกข้อ
    <o:p></o:p>
    สำหรับศีล บางทีญาติโยมจะหนักใจก็ไม่เป็นไร วันหนึ่งรักษา ๒๔ ชั่วโมงไม่ได้ ก็รักษาวันละ ๓ ชั่วโมง มันก็เป็นศีล เรารักษาได้จริงๆ ด้วยการอดใจจริง ๆ ๑ ชั่วโมง มันก็เป็นศีล ถ้าวันหนึ่งเรารักษาได้จริง ๆ ใครจะด่าจะว่า จะทำอะไรก็ช่างฉัน ช่างมัน ช่างมัน ๑ ชั่วโมง ใช่ไหม แล้วเหลือ ๒๓ ชั่วโมงด่าดะ ใช่ไหม
    <o:p></o:p>
    อย่าลืมว่าไอ้วันละ ๑ ชั่วโมงนี่ มันจะกดอารมณ์ลงไปเรื่อย ๆ ไม่ช้ามันก็เต็ม ๒๔ ชั่วโมง ใช่ไหม ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า น้ำฝนตกลงมาทีละหยดละหยาด สามารถทำให้ภาชนะเต็มได้ฉันใด การอดใจหรือการทรงใจในอำนาจของศีลวันหนึ่ง วันหนึ่งเราได้ ๑ ชั่วโมง ต่อไปอารมณ์มันก็ชิน มันก็เป็น ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง ๕ ชั่วโมง ๑๐ ชั่วโมง ไปตามสภาพ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ภายใน ๓ ชั่วโมงนี่ ฉันจะทรงศีล ๕ ให้ทรงตัว การระมัดระวังอย่างนี้ อย่าลืมนะท่านผู้นั้นเป็นผู้ทรงฌานในสีลานุสสติกรรมฐานวันละ ๓ ชั่วโมง แล้วก็ทำอย่างนี้ หลายคนมารายงานไม่ถึง ๓ เดือน ศีล ๕ ครบถ้วนตลอดวันแค่นี้
    <o:p></o:p>
    ในเมื่อศีล ๕ ครบถ้วนตลอดวัน ก็อีกก้าวเดียวก็คือจิต เราพิจารณาถึงเรื่องนิพพาน ใช้ปัญญานิดเดียวก็จะเห็นว่านิพพานมีความสุข ยิ่งได้มโนมยิทธิด้วยแล้วยิ่งเป็นของง่ายใหญ่ ถ้ากำลังใจของบรรดาพุทธบริษัทต้องการเฉพาะพระนิพพาน อย่างนี้ละก็ไม่ต้องอะไร ท่านเป็นพระโสดาบันหรือสกิทาคามีแน่
    <o:p></o:p>
    พยายามค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ ปลดไปทีละน้อย ๆ จงอย่าหนักใจว่าศีลห้าประการเราเว้นไม่ได้ ความจริงเราเว้นได้ ค่อย ๆ ลดมันไป ใหม่ ๆ มันก็เผลอไปบ้าง ความอยากมันก็เกิดขึ้นมาบ้าง พยายามนึกเข้าไว้
    <o:p></o:p>
    ก่อนจะหลับนึกถึงศีล ตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ ก็นึกถึงศีล ว่าเราจะไม่ละเมิดศีล อย่างนี้ก็ชื่อว่าจิตของท่านเป็นสมาธิในด้านสีลานุสสติกรรมฐาน อย่างเลวที่สุดก็ไปเป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ ก็มีความสบายใจ
    <o:p></o:p>
    ถ้าหากว่าทรงศีลอย่างนี้ได้ มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เป็นพระโสดาบันได้ มีความสุขอย่างยิ่ง
    <o:p></o:p>
    สำหรับศีลของพระอริยะนั้น ท่านทรงกล่าวว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี มีความสำคัญที่ศีล ๕
    <o:p></o:p>
    ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
    <o:p></o:p>
    “พระโสดาบัน พระสกิทาคามี เป็นผู้มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์”
    <o:p></o:p>
    ศีลบริสุทธิ์ของพระโสดาบันคือศีล ๕ พระสกิทาคามีก็มีแค่ศีล ๕ แต่ว่ามีจิตละเอียดกว่ากัน เพราะว่าพระโสดาบันยังมีการแต่งงาน คนที่ไม่แต่งงานก็แต่งงานได้ แต่งงานแล้วก็ไม่ต้องแยกกัน ทั้ง ๒ อย่าง พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วจะต้องอยู่คนเดียวเสมอไป ต้องเป็นอนาคามี จิตจึงจะเว้นในเรื่องกามารมณ์ จึงพอใจในการรักษาศีล ๘
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ดังนั้น พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี มีศีล ๕ เป็นพื้นฐาน แล้วก็ไปดูว่ามีศีลข้อไหนบ้างเหมาะกับพระสกิทาคามี ดูแล้วเห็นกรรมบถ ๑๐ กับศีล ๕ นี่เป็นได้ทั้งพระโสดาบันและพระสกิทาคามี แต่ไม่ถึงอนาคามี อนาคามีขึ้นไปนี่ต้องศีล ๘ ความจริงคนที่จะเป็นพระอนาคามีน่ะไม่ต้องไปไล่เบี้ยตามตำรา ถ้าหากว่าทำกรรมฐานเรื่อย ๆ ไป ถ้าใจไม่พอใจในศีล ๕ เห็นศีล ๘ เหมาะสม เราพอใจศีล ๘ อันนี้แหละเริ่มเป็นพระอนาคามีมรรค แต่ก็ต้อง ๘ จริง ๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่ถ้าจะกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว พระโสดาบันอย่างหยาบหรือขั้นสัตตักขัตตุง จะทรงศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ส่วนพระโสดาบันอย่างกลาง จะทรงกรรมบถ ๑๐ ได้ แต่ยังไม่ครบถ้วนนัก หมายความว่าได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ลืมบ้าง ไม่ลืมบ้าง เผลอไปบ้าง ไม่ตั้งใจบ้าง ไม่ตั้งใจทำลายกรรมบถข้อใดข้อหนึ่ง มันเผลอก็เป็นของธรรมดา อย่างนี้เรียกว่า พระโสดาบันขั้นโกลังโกละ คือขั้นที่สอง ขั้นกลาง แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันขั้นเอกพิชี หรือพระโสดาบันอย่างละเอียด จะทรงกรรมบถ ๑๐ บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกอย่าง ไม่พลั้งเผลอ พระสกิทาคามีก็เช่นกัน ทรงกรรมาบถ ๑๐ ได้ครบถ้วน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ขอสรุปเรื่องศีลของพระอริยะอีกครั้ง ก็คือ
    <o:p></o:p>
    สำหรับจริยาที่เพิ่งจะเข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าเบื้อต้น คือ พระโสดา กับสกิทาคา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มีปัญญาเพียงเล็กน้อย มีสมาธิเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ได้ใช้กำลังใหญ่ ตรัสว่าเป็น “อธิศีลสิกขา” มีศีลยิ่ง บริบูรณ์ไปด้วยศีล คือศีล ๕ กับกรรมบถ ๑๐
    <o:p></o:p>
    สำหรับขั้นพระอนาคามี มีสมาธิเข้มแข็งเป็น “อธิจิตสิกขา” แต่มีปัญญาปานกลาง มีศีล ๘ เป็นสำคัญ
    <o:p></o:p>
    สำหรับพระอรหัตผล เพิ่มปัญญาเข้มข้น คือมีปัญญาดีถึงที่สุด นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ เน้นเรื่องการตัดสังโยชน์ ๑๐ ให้ได้ครบ
    <o:p></o:p>
    สำหรับในด้านความโกรธของพระสกิทาคามี พระโสดาบันยังมีความโกรธเต็มที่ แต่ว่าไม่ทำลายศีลข้อนี้ด้วยอำนาจของความโกรธ คือไม่พิฆาตเข่นฆ่าใคร เพราะเกรงว่าศีลจะขาด
    <o:p></o:p>
    สำหรับพระสกิทาคามีนั้น มีใจละเอียดยิ่งไปกว่านั้น เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ก็ใช้พรหมวิหาร ๔ มีกำลังหนักกว่าพระโสดาบัน เป็นขั้นให้ “อภัยทาน”
    <o:p></o:p>
    คือให้อภัยแก่คนผิดคิดมิชอบ คือทำให้ได้รับความลำบาก คิดว่าเขาทำไปด้วยอำนาจของความโง่ที่เป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม เราไม่ควรจะถือโทษโกรธบุคคลประเภทนี้ เพราะตามปกติบุคคลประเภทนี้เขาก็ทุกข์เต็มที่อยู่แล้ว มีแต่ความเร่าร้อน หาความสุขกายสุขใจไม่ได้
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่า พระสกิทาคามีก็เพิ่มจุดสำคัญก็มีจุดหนึ่ง นั่นก็คือ มีพรหมวิหาร ๔ มีความเข้มข้นขึ้นยิ่งกว่าพระโสดาบัน มีจิตใจเป็นสุขเพราะมีอภัยทาน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เมื่อการให้ทานได้ในอภัยทาน ขึ้นชื่อว่าความหลงก็เบาบางลงไป เพราะคนที่มีความหลงมาก เมื่อมีการกระทบกระทั่งอะไรไม่ได้ ใครจะมากระทบเป็นที่ไม่ชอบใจ ก็จะมีการดิ้นรนทางจิตทันที พระสกิทาคามีก็ดิ้นรน แต่ดิ้นน้อย และก็ดิ้นไม่นาน ตัดไปเสียได้ด้วยอภัยทาน นี่เป็นลำดับของจิตที่เข้าถึงพระสกิทาคามี
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ถ้าเราทรงศีลให้บริสุทธิ์มากเท่าใด ก็จะมีอานิสงส์มากเท่านั้น ดังที่พระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ในเรื่องของศีลได้กล่าวว่า ศีลมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ
    <o:p></o:p>
    ๑. สีเลนะ สุคติง ยันติ<o:p></o:p>
    “ศีลเป็นเหตุให้มีความสุข”
    <o:p></o:p>
    ๒. สีเลนะ โภคสัมปทา<o:p></o:p>
    “ศีลเป็นเหตุให้มีทรัพย์สมบัติมาก” ศีลเป็นเหตุให้ร่ำรวย
    <o:p></o:p>
    ๓. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ<o:p></o:p>
    “ศีลเป็นเหตุให้มีความสงบสงัดจากความทุกข์ใด ๆ” ศีลเป็นเหตุให้นิพพาน
    <o:p></o:p>
    ต่อไปเพื่อความเข้าใจในเรื่องศีลให้มากขึ้น จะขอนำเรื่องของศีลที่น่าสนใจมาลงไว้ประกอบ ก่อนจะปิดท้ายสำหรับเรื่องของศีล ดังนี้
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้รักษาศีล ๓ ขั้น คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
    <o:p></o:p>
    ๒. เราจะไม่ยุยงบุคคลอื่น ทำลายศีล
    <o:p></o:p>
    ๓. จะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว อันนี้ต้องจำ ต้องปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    คนที่จะรักษาศีลได้ต้องเป็นคนมีปัญญา ในเมื่อเรามีปัญญา รู้ว่าศีลเป็นของดี เราก็ใช้อารมณ์ปกติคุมกำลังของศีล คือใช้สติสัมปชัญญะ สตินึกไว้เสมอว่าศีลของเรามีกี่สิกขาบทที่เราจะต้องปฏิบัติ ควบคุมกำลังใจ<o:p></o:p>
    ทรงศีลไว้ให้ปกติ

    ดังนั้น การทำลายศีลเป็นปัจจัยของความเลว ถ้าเราไปยินดีด้วยก็หมายความว่า ช่วยให้เราเลวมากขึ้น นี่เป็นอันว่า ถ้าจิตของเราเข้าไปควบคุมศีลอยู่อย่างนี้แล้ว ก็ใช้สติสัมปชัญญะใคร่ครวญ จริยาที่แสดงออกทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี แม้แต่อารมณ์คิดทางใจก็ดี มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า พูดอย่างนี้ศีลจะขาดไหม อารมณ์แบบนี้เป็นอารมณ์ใช้ที่ปราศจากความเมตตาปราณีไหม หรือปราศจากความสันโดษไหม <o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เป็นอันว่า เอาสติเข้าไปนึกไว้ว่า สิกขาบทมีเท่าไร แล้วก็เอาสติสัมปชัญญะเข้าไปรู้ตัวในการกระทำ การพูด การคิด ทางกาย วาจา และจิต อาการที่จิตคุมอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สมาธิ” สมาธิตัวนี้เขาเรียกว่าเป็น “สีลานุสสติกรรมฐาน” นี่จะเห็นว่า ถ้ามีความฉลาดก็ไม่ต้องนั่งหลับตา ศีลก็บริสุทธิ์
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ในเรื่องของศีลนี้ องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์โสภาคย์ทรงแนะนำว่า ถ้าจะให้ศีลบริสุทธิ์ ก็รู้สึกว่าจะไม่หนักอะไรนัก ถ้ารู้จุดของเหตุ นั่นคือ ถ้าเรามีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าศีลอะไรทั้งหมดมันก็ดีไปหมดทุกอย่าง แต่นอกจากจะมีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนแล้ว ก็ยังดีไม่พอ ต้องมีสติสัมปชัญญะควบคุมกำลังใจไว้เสมอ เมื่อมีสติสัมปชัญญะควบคุมกำลังใจไว้แล้ว ถ้ามีสติสัมปชัญญะมากเกินไป ก็มักจะเฟ้อเหมือนกัน ฉะนั้น ศีลที่จะทรงได้ดีนั้น อีกด้านหนึ่งจะต้องมีปัญญาเข้าไปควบคุม ปัญญากับสตินี้จะต้องเท่ากัน ถ้าสติมากไปก็ฟุ้งไปอีก ปัญญามากไปก็ฟุ้งเกินไป เวลาสตินึก ปัญญาก็ควบคุมว่า ไอ้สิ่งที่ตัวนึกไว้นี้ มันถูกต้องตามสิกขาบทที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไหม เมื่อใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอยู่ ถ้าจะให้ดีไปอีก ให้บริสุทธิ์จริง ก็จะต้องมีหิริและโอตตัปปะ คือมีความละอายในจิต ที่เราคิดว่าจะทำลายศีล เกรงกลัวผลของความชั่วที่จะเกิดจากศีลถูกทำลายแล้ว ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทุกท่าน ทรงกำลังใจอยู่ได้อย่างนี้ คือ
    <o:p></o:p>
    ๑. มีพรหมวิหาร ๔
    <o:p></o:p>
    ๒. มีสติ
    <o:p></o:p>
    ๓. มีสัมปชัญญะ
    <o:p></o:p>
    ๔. มีปัญญา
    <o:p></o:p>
    ๕. มีหิริโอตตัปปะ
    <o:p></o:p>
    ในเมื่อเห็นว่าศีลดีแล้ว เราต้องรักษาศีลให้มั่นคง เอาศีลจับเป็นอารมณ์ของใจ ก่อนจะหลับ สำรวจศีลว่า วันนี้ครบตัวไหนบ้าง ตื่นขึ้นมาใหม่ ตั้งใจทรงศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็โลกธรรม ๘ ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นินทาและสรรเสริญ อย่าให้มันขึ้นมาอยู่กับใจ นิพพานเป็นอารมณ์ ทั้งนี้ อารมณ์ของเราก็ยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน แต่อยู่ในขอบเขตของศีล เรายังมีความโกรธอยู่บ้าง แต่ว่าอยู่ในขอบเขตของศีล โกรธแต่ไม่ฆ่าเขา เรายังมีความหลงอยู่บ้าง แต่ทว่าใจเรารักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นปกติ ตอนนี้เป็นตัวดึงกรรมฐานไม่ให้ลดตัวลง มีแต่ว่าจะดีขึ้น ความแจ่มใสของจิตจะมีขึ้นทุกวัน และจิตจะทรงตัวอยู่ด้านของอารมณ์แจ่มใสเป็นปกติ การขึ้นไปสู่ภพต่าง ๆ จะมีแต่ความแจ่มใส ไม่เศร้าหมอง อารมณ์อย่างนี้ท่านเรียกกันว่า “พระโสดาบัน”
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ความเป็นพระโสดาบันนี้จึงมีความสำคัญอยู่ที่ศีล ถ้าหากว่าทุกท่านมีศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องกล่าวย้อนไปถึงการเคารพในพระรัตนตรัย ทั้งนี้เพราะว่า ศีลมาจากพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ การที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่าเป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยอยู่แล้ว ฉะนั้น ศีลของท่านทั้งหลายจึงบริสุทธิ์ ศีลจะบริสุทธิ์ได้ต้องอาศัยเมตตากับกรุณาเป็นสำคัญ และยังมีเพื่อนอีกสอง เป็นฝ่ายสนับสนุน นั่นก็คืองนั้น ความเป็นพระโสดาบันนี้จึงมีความสำคัญอยู่ที่ศีล ถ้าหากว่าทุกท่านมีศีลบริสุทิมณ์อย่างนี้ท่านเรียกกันว่า "ละจิตจะทรงตัวอยู่ด มุทิตา กับอุเบกขา รวมความว่า ถ้าทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ได้ ไม่สงสัยในพระไตรสรณาคมน์ ไม่ลืมความตาย เป็นพระโสดาบันขั้นหยาบ ต่อไปเป็นพระโสดาบันขั้นละเอียด ก็ทรงกรรมบถ ๑๐ จิตมีกำลังสูง นอกจากศีล ๕ แล้ว มีกรรมบถเข้ามาช่วย
    <o:p></o:p>
    ศีลที่เราต้องการสมาทานจริง ๆ ทำอย่างไร ต้องดูระดับของท่านผู้เข้าถึงไตรสรณาคมน์ ท่านที่เข้าถึงไตรสรณาคมน์คือ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ ท่านทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ แต่ว่าจิตของท่านด้านไปนิดหนึ่ง ท่านสมาทานศีลเพื่อหวังกามาวจรสวรรค์เป็นสำคัญ คิดเสียว่า ถ้าเรามีศีลแล้วไม่ตกนรกเท่านี้เป็นพอ ถ้าทรงศีลแบบนี้ ชื่อว่าจิตอยู่ในขั้นกามาวจรสวรรค์ ถ้าจะเรียกเป็นสีลานุสสติกรรมฐาน ก็เป็นเพียงขั้นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ ความมั่นคงยังไม่พอ แต่ว่าทำกำลังจิตของท่านให้บริสุทธิ์ มีความมุ่งมั่นผูกมัดอยู่ในศีล ให้เป็นเอกัคคตารมณ์โดยนิยม แล้วรักษาศีลเป็นฌาน คำว่าศีลเป็นฌานก็หมายความว่า เราจะไม่ยอมให้ศีลขาดเด็ดขาด ศีลนี้เราไม่ยอมให้บกพร่อง ทรงอารมณ์ให้เป็นปกติ การเคลื่อนไหวทุกอย่าง เราจะคุมอารมณ์ของศีลให้เป็นปกติ ไม่ยอมให้ศีลนี่มันคลาดจากจิตของเรา อย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ทรง “สีลานุสสติกรรมฐาน”
    <o:p></o:p>
    แล้วเป็นอะไร ก็เป็นพระโสดาบัน กับพระสกิทาคามี อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ คือ เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีผล ผลทางอบายภูมิไม่มี สำหรับผู้ทรงศีลแบบนี้ นี่ว่ากันเฉพาะศีล ๕ ถ้าท่านผู้ใดสามารถทรงศีล ๘ ได้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีปัจจัยจะได้พระอนาคามีในปัจจุบัน และก็ได้โดยรวดเร็ว<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อจิตรักศีลเป็นปกติ ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้เข้าถึงไตรสรณาคมน์ คนที่เข้าถึงไตรสรณาคมน์ คำว่าคนนี้หมายถึงพระ หมายถึงเณรหมด คำว่าเข้าถึงไตรสรณาคมน์ ชาตินี้เวลาที่ตาย ลงอบายภูมิไม่เป็น ถ้าเวลาตาย จิตอยู่ในไตรสรณาคมน์ขั้นขั้นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ ตายแล้วท่านเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรสวรรค์ ถ้ากำลังใจของท่านตั้งมั่นอยู่ในศีลบริสุทธิ์ คิดว่าร่างกายจะตายก็ช่างมัน สิ่งที่เราต้องการคือศีลบริสุทธิ์ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌาน ก่อนจะตายจิตใจเป็นฌาน ตายแล้วท่านก็จะเป็นพรหม เพราะอำนาจสีลานุสสติกรรมฐาน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่ทว่า สมมุติ ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังไม่ตาย เมื่อกำลังใจของท่านทรงศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็มานั่งคิดว่า การที่เราทรงศีลบริสุทธิ์เพื่ออะไร ศีลและกรรมบถ ๑๐ เป็นมนุษยธรรม เป็นธรรมที่ทำให้คนเกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี แล้วก็ศีลบริสุทธิ์ ศีลนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ คนทรงศีลบริสุทธิ์ อยู่เป็นมนุษย์ก็มีความสุข ตายแล้วก็ไปเกิดในสุคติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็เป็นมนุษย์พิเศษดีมาก สมบูรณ์ทุกอย่าง หรือมิฉะนั้นก็เกิดเป็นเทวดา สีเลนะโภคสัมปทา ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็มีความร่ำรวยทรัพย์เยือกเย็น ถ้าเกิดเป็นเทวดา ก็มีทิพย์สมบัติมาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เราเข้าถึงพระนิพพาน นี่เป็นอันว่าพอถึงจุดนี้ เราก็มั่นใจว่า ศีลตัวเดียวที่เรารักษา ถ้ากำลังใจของเราดี ประกอบด้วยปัญญาเล็กน้อย เราก็เข้านิพพานได้
    <o:p></o:p>
    คนที่เข้าถึงพระนิพพานได้ อันดับแรกก็ต้องทรงศีลบริสุทธิ์ และนอกจากนี้ก็ทรงอารมณ์สมาธิให้ตั้งมั่น มีปัญญารู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริง เราก็มานั่งคิด ทำไมศีลของเราจึงจะบริสุทธิ์ ความจริงนักปฏิบัติมักจะเข้าใจผิดคิดว่าการเจริญพระกรรมฐานนั้น จะต้องนั่งหลับตากันท่าเดียวมันจึงจะมีผล ถ้าหากว่าเป็นการฝึกด้านสุกขวิปัสสโกนี้ ความจริงจะไม่นั่งหลับตาเลยก็ใช้ได้ มันขึ้นกับอารมณ์ใจ ศีลของเราบริสุทธิ์ได้ก็อาศัยเรามีสมาธิ สมาธิจะทรงตัวได้ก็เพราะอาศัยศีลบริสุทธิ์ เป็นอันว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลกัน ฉะนั้น ถ้าเราจะถือเหตุจริง ๆ ก็ต้องถือปัญญา คนใดถ้าไร้ปัญญา คนนั้นหาศีลไม่ได้ และคนใดไร้ศีล บุคคลนั้นก็จะมีสมาธิไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเจริญภาวนาครั้งแรก ก่อนที่จะภาวนา ขอทุกคนเคารพในศีลก่อน ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ขาดตกบกพร่องอย่างนี้ การเจริญภาวนาไม่เกิดผล ต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์ ฌานสมาบัติจึงเกิด ทีนี้การบกพร่องของศีลย่อมมีบ้างเป็นของธรรมดาของแต่ละบุคคล ถ้าเวลาอยู่บ้าน ก่อนที่จะภาวนาให้สมาทานศีลก่อน เป็นการยับยั้ง ถ้าเรารู้สึกว่าจิตของเรามีศีล อารมณ์จะเป็นสุข ในเมื่ออารมณ์เป็นสุข สมาธิมันก็เกิด เมื่อสมาธิเกิด จิตมีความเยือกเย็น ปัญญามันก็เกิด
    <o:p></o:p>
    ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงสังวรเรื่องศีลให้มาก คำว่าสังวรนี่แปลว่าระวัง อันดับแรก ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน ไม่ใช่บริสุทธิ์เฉพาะเวลาที่สมาทานพระกรรมฐาน ให้ศีลบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าศีลของท่านบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก การเจริญสมาธิก็เป็นของง่าย เพราะศีลจะมีขึ้นได้เพราะอาศัยเมตตา ความรักซึ่งกันและกันกรุณา ความสงสารซึ่งกันและกัน คนที่มีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร อารมณ์เย็น จิตมีความเยือกเย็น ความฟุ้งซ่านของจิตไม่มี ความเร่าร้อนของจิตไม่มี อารมณ์ก็สบาย ในเมื่ออารมณ์สบาย มีความเยือกเย็น จิตก็ทรงสมาธิได้ดี ความอาฆาตพยาบาทหรือการจองล้างจองผลาญ คิดประหัตประหารซึ่งกันและกัน หรือความโลภโมโทสัน อยากได้ทรัพย์ของบุคคลอื่น การที่จะละเมิดความรัก หรือการที่จะมุสาวาท การที่จะดื่มสุราเมรัยไม่มี ในเมื่ออาการ ๕ อย่างนี้ไม่มีแล้ว จิตก็มีความสบาย มีอารมณ์เป็นสุข อันดับแรก จึงควรปรับปรุงศีลให้ดี เมื่อปรับปรุงศีลดีแล้ว สมาธิก็ทรงตัว เมื่อสมาธิทรงตัว ปัญญามันก็เกิด นี่เป็นพื้นฐานของการเจริญฌาน และวิปัสสนาญาณ<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การรักษาศีลของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าต้องดูตามกำลัง พระพุทธเจ้าท่านไม่มีการเครียด ท่านปฏิบัติตามความเหมาะสม ถ้าไม่ดีแต่งอย่างนั้นไม่ได้ ก็ต้องดูนางวิสาขา นางวิสาขาท่านมีเครื่องมหาลดาปสาธน์ ราคา ๑๖ โกฏิ นางวิสาขาทรงเครื่องอย่างนี้ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยคิดว่าเลยใช่ไหม จะว่าเขาแต่งเกินไปไม่ได้ เพราะเขามีอย่างนั้น และเวลาเราเข้าสังคมก็เหมือนกัน ปล่อยหน้าเซียว ๆ เข้าไปก็ไม่เหมาะสม เราก็ต้องแต่งตามเขา แต่อยู่บ้านเราก็ไม่ได้สนใจเกินไป เราก็ใช้แป้งทาหน้าบ้าง ทาได้ ทาเฉพาะความเหมาะสมอยู่เป็นสุข ไม่ไปอวดใคร เพื่อกิเลสอันนี้ไม่ถือ ต้องดูแค่พอดี ๆ และศีลนั้นมันขาดยาก มันจะต้องขาดด้วยเจตนา ตั้งแต่เวลานี้ไป จะเป็นตายอย่างไรก็ตาม ไม่ละเมิดศีลห้าแน่ ตั้งใจไว้ให้แน่เป็นอันดับแรก เว้นไว้แต่เผลอ เผลอเขาไม่ถือว่าทำลายศีล บางวันเราอาจจะเผลอไปบ้าง ก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลอไป เราก็ยังยั้งมันเสียใหม่ว่า เราจะไม่ทำต่อไป และข้อสำคัญขอให้ค่อย ๆ ฝึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญที่ศีล อย่าเร่งรัดเกินไป ถ้าเร่งรัดเกินไปเป็นการทรมานตัว ค่อย ๆ ระมัดระวัง วันนี้เราตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน เวลาจะนอนก็นั่งนึกนอนนึก คิดว่าตั้งแต่เช้าจนกว่าจะเข้าถึงเวลานอน เราพลาดศีล ๕ ข้อไหนบ้าง ถ้าบังเอิญพลพลาด เราก็ตั้งใจคิดว่า วันพรุ่งนี้เราจะไม่ยอมพลาดทั้งหมด อันนี้ใหม่มันอดพลาดไม่ได้ มันเป็นของธรรมดา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จะเห็นได้ว่า เรื่องของศีลทั้งหมดที่นำมาลงอธิบายไว้นั้น ถ้าเราปฏิบัติให้ถูกต้อง รู้จักวางอารมณ์ให้ถูกส่วนแล้ว ศีลเป็นปัจจัยให้เราเข้าถึงนิพพานได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสนใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เรื่องของศีลก็ขอจบลงเพียงเท่านี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปกิณกะเรื่องศีล
    <o:p></o:p>
    สำหรับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน ให้ถือศีล๕ เป็นแก่นสำคัญ แต่บางท่านถือว่ารักษาศีล ๘ และฉันไม่ต้องการรักษาศีล ๕ อันนี้ลงนรก และก็มีหลายท่านที่สมาทานอุโบสถศีลแล้ว แต่เผอิญในกาลนอกเวลา สมมุติว่า เขามาถวายผ้าป่า กฐิน สังฆทาน นอกเวลาไป พระต้องให้ศีล ๕ พอพระว่าไตรสรณาคมน์นี้เสร็จ พอจะให้ศีล ๕ วางมือไม่แสดงความเคารพ อันนี้ลงนรกเหมือนกัน เป็นการปรามาสในพระไตรสรณาคมน์ คือปรามาสในพระพุทธเจ้า
    <o:p></o:p>
    การว่าตามเขามันไม่ใช่ของแปลก การสมาทานศีลนี่มันก็ไอ้แค่คิดมา ยังไม่ใช่ตัวปฏิบัติ เรามีอุโบสถศีล เขาให้ศีล ๕ เราก็ว่าตามได้
    <o:p></o:p>
    การว่าตาม ให้ว่าด้วยการยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า คือว่าศีลนี่ พระพุทธเจ้าว่า ศีล ๕ เราได้มาจากพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์นำมาให้เรา จิตใจเราครบถ้วนพระไตรสรณาคมน์ และเวลาปฏิบัติจริง เราปฏิบัติในสิกขาบท มันไม่เสียหายอะไร
    <o:p></o:p>
    มีญาติโยมเมืองน่านมาบอกว่า เวลาเขารักษาอุโบสถศีล เวลาให้ศีล ๕ เขาเอามือลง อันนี้เป็นมานะทิฏฐิถือตัวถือตน เป็นกิเลสที่หยาบนัก และก็เป็นการปรามาสในพระไตรสรณาคมน์ อันนี้เวลาเจริญกรรมฐานไปดูคนพวกนี้นะครู นำไปดูคนพวกนี้ว่าในนรกเกลื่อน เข้าใจว่าตนดี<o:p></o:p>


    www.kaskaew.com
     
  18. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา
    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2010
  19. คมศักดิ์

    คมศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +886
    ขออนุโมทนา สาธุครับ ขอบคุณที่ตั้งใจ post นะครับ เนื้อหาครบถ้วนมากครับ
     
  20. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    กราบ อนุโมทนา สาธุ...กับ ธรรมทาน... อันทรงคุณค่านี้ค่ะ

    สาธุ...สาธุ...สาธุ...

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...