ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…เหตุผลที่พระเวสสันดรสละบุตรธิดาและภริยาให้ชูชก…”

    ถาม : สิ่งที่มหาบุรุษของโลกรักและเทิดทูลยิ่งกว่าชีวิตตนเอง คืออะไร ?

    ตอบ : บุตร และภริยา

    ก่อนหน้านั้น พระองค์พุทธเจ้า เคยบริจาคสละชีวิตของตนเองให้เป็นอาหารของสัตว์อื่นแล้วหลายครั้ง ในเมื่อพระองค์สละ “บุตรและภริยา” ที่เป็นที่รักยิ่งได้ ก็ย่อมไม่มีสิ่งใดในทั่วทั้งไตรโลกธาตุนี้ ที่พระองค์จะเสียสละเพื่อผู้อื่นไม่ได้

    ถาม : ทหารที่ทิ้งลูกเมียไปรบ เป็นคนเห็นแก่ตัวหรือไม่ ?

    ถาม : ถ้าพระเวสสันดรไม่มีจิตเด็ดเดี่ยวพอ ที่จะบริจาค “บุตรและภริยา” พระองค์จะมีพลานุภาพแห่งจิตพอที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้หรือไม่ ? และถ้าพระองค์ไม่ได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า แล้วลูกเมีย คือ พระนางพิมพา พระราหุล และพระกุมารกัสสปะ จะมีโอกาสบรรลุอรหันต์ตามพระองค์ เข้าถึงความพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ?

    ตอบ : ???? (เงียบ)

    การให้ทานโอรสธิดาภริยาเป็นทานของ
    พระเวสสันดรอาจสรุปได้เป็นประเด็นๆดังนี้

    ๑. เป็นเรื่องของ “ปุตตทารบริจาค” อันเป็นทานบารมีระดับหนึ่ง ที่มีเงื่อนไขผูกพันอยู่กับการจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คือ พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จะต้องมีพื้นฐานทางการเสียสละสูงมาก แม้ชีวิตก็อาจสละได้ การให้บุตรธิดาเป็นทาน จึงเป็นเรื่องที่พระองค์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง คือ

    ถ้าต้องการเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยสัตว์โลกให้ได้ก็ต้องสละบุตรธิดาเป็นทานได้ หากสละบุตรธิดาเป็นทานไม่ได้ ก็เป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ซึ่งเงื่อนไขที่คนต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา สำหรับคนที่มีอุดมการณ์เพื่อทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อคนมาก เช่น ทหารผู้ต้องไปราชการสงคราม ถ้าต้องการทำหน้าที่ของทหารก็ต้องทอดทิ้งลูกเมียไว้ที่บ้านบ้าง เพราะหากผู้เป็นทหารอยู่แต่ภายในบ้านจะปฏิบัติราชการสงครามได้อย่างไร แม้คนทำงานเพื่ออุดมคติอย่างอื่นเช่น ตำรวจ แพทย์ พยาบาล ครู เป็นต้น ก็ต้องพบกับการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ

    ๒. เป็นเหตุผลที่พระเวสสันดรผู้เป็นบิดา พระองค์ทรงรักหวังดีต่อบุตรธิดาและภริยามาก ต่างก็เป็นเชื้อพระวงศ์เป็นลูกหลานของกษัตริย์ ซึ่งท่านไม่เคยตกระกำลำบากในป่าเขาที่แสนกันดารเช่นนี้ ท่านจึงต้องหาหนทางกระทำบางอย่างเพื่อให้บุตรธิดาและภริยาพ้นจากสภาพความทุกข์ยากลำบากในป่าเขาที่มีภัยอันตรายรอบด้านเช่นนี้ เพราะพระเวสสันดรเองไม่ทราบว่าการผนวชเป็นดาบสของพระองค์จะยุติลงเมื่อไร พระโอรสธิดานั้นยังเยาว์วัยยังมีอนาคตจำเป็นจะต้องได้รับการศึกษาในบ้านเมือง เมื่อชูชกมาขอจึงให้ไป ซึ่งสามารถตีค่าไถ่กลายเป็นเศรษฐีได้ทันที ชูชกแกไม่โง่จนถึงกับนำพระราชกุมาร ราชกุมารีทั้งสองไปเป็นคนใช้ เพราะชูชกทราบดีว่าค่าไถ่ขนาดนี้ คนอื่นไม่มีใครเขาไถ่ได้หรอก นอกจากพระเจ้าสัญชัยแห่งเชตุดรผู้เป็นพระอัยกา ซึ่งตามเรื่องก็เป็นเช่นนั้นถ้ามองในจุดนี้การให้ทานของพระเวสสันดรแทนที่จะเป็นผลดีแก่ชูชกฝ่ายเดียวกลับได้ประโยชน์มหาศาลทั้งแก่พระองค์ พระญาติวงศ์ทั้งมวล ตามเนื้อเรื่องในนครกัณฑ์

    ๓. เพื่อป้องกันอันตรายแก่พระโอรสธิดา เพราะการอยู่ในป่าอาจเกิดอันตรายได้ ทั้งเป็นการสร้างความกังวลในการบำเพ็ญเพียรของพระองค์ และเป็นการขัดขวางโอกาสแห่งการศึกษาของพระโอรสพระธิดา การส่งกลับเมืองด้วยวิธีให้แก่ชูชก จึงเกิดผลอย่างสมบูรณ์แก่คนทุกฝ่าย อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงนำพระโอรสพระธิดาเข้าป่ามาด้วย ไม่เอาไว้ในเมืองกับพระอัยกาเสียเลยเล่า ? ข้อนี้เราพบว่าเหตุการณ์ตอนนั้นมีกระแสการต่อต้านสูงมาก โดยเหตุผลจำเป็นต้องผ่อนคลายสถานการณ์ให้อ่อนความรุนแรงลงทั้งการพรากจากในลักษณะนั้นรุนแรงเกินกว่าที่จะเพิ่มการพลัดพรากจากลูกเข้าไปอีก แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านมานานพอสมควรแล้ว ทุกคนกลับได้ความคิดที่สมเหตุสมผลขึ้น ทุกอย่างจึงดำเนินไปในแนวทางที่ถูกที่ควรเสียทีและผลก็ออกมาเช่นนั้นจริงๆ

    (เครดิตข้อมูลธรรมะจาก Taetrue)

    ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพวาดสีน้ำมันนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    23621969_1539494659466365_1726859254565325630_n.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
    Chao Khun Bhavanavitayt
    (Luang Por Khemadhammo)

    วัดป่าสันติธรรม (Watpah Santidhamma)
    เมืองวอริค มณฑลวอริคเชียร์ ประเทศอังกฤษ

    “วัดป่าสันติธรรม” นี้เป็นวัดที่ลูกศิษย์ “พระฝรั่ง” รุ่นแรกของ “หลวงพ่อชา สุภัทโท” แห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ไปจัดตั้งขึ้น คือ หลวงพ่อเขมธัมโม ซึ่งเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด โดยปกติ หลวงพ่อเขมธัมโมจะไม่อยากพูดถึงประวัติความเป็นมาของตัวท่านเองมากนัก แม้แต่ชื่อเดิมของท่าน โดยท่านให้เหตุผลว่า ตอนนี้ท่านเป็น “พุทธบุตร” โดยแท้แล้ว มีนามฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “เขมธัมโม” ขอให้รู้จักท่านในชื่อนี้ก็แล้วกัน ลูกศิษย์และผู้ที่เคยไปกราบไหว้ท่านจึงรู้จักท่านในชื่อ “หลวงพ่อเขมธัมโม” ตลอดมา

    ตามประวัติโดยสังเขปของท่าน ทราบเพียงสั้นๆ ว่า ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2487 ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ เข้ารับการศึกษาตามเกณฑ์บังคับ พอถึงอายุ 17 ปีได้เข้าศึกษาต่อด้านการแสดงที่โรงเรียน Central School of Speech & Drama ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนการแสดงที่ดีที่สุดของประเทศนี้

    2 ปีต่อมา ท่านได้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งศูนย์การแสดง Drama Centre London ในกรุงลอนดอน โดยใช้เวลาตรงนั้น 1 ปี ก่อนที่จะออกจากกลุ่มเพื่อไปตั้งกิจการบริษัทโรงภาพยนตร์ของตัวเอง ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อปี พ.ศ.2508 ท่านได้ออกเดินทางตระเวนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 4 เดือน และในปี พ.ศ.2509 ท่านได้เข้าร่วมทำงานในบริษัท National Theatre Company อยู่กับบริษัทนี้เป็นเวลา 3 ปีครึ่ง ในช่วงนั้นท่านได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนเกิดความสนใจอย่างมาก แล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้ง ได้ตัดสินใจที่จะเดินทางมาเมืองไทยเพื่อบำเพ็ญภาวนาในทางพระพุทธศาสนาอย่างเต็มตัว ต่อมาจึงได้ขายบ้านหลังหนึ่งที่เคยซื้อไว้ในอังกฤษ

    หลวงพ่อเขมธัมโม เล่าว่า ความประสงค์ในการเดินทางครั้งนี้เพื่อเป็นการแสวงบุญโดยแท้จริง การเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลในครั้งนั้นได้ผ่านหลายประเทศ อาทิเช่น อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย เป็นต้น

    สำหรับที่อินเดีย ท่านได้ใช้เวลา 2 เดือนในการเดินทางแสวงบุญไปยังสังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา จากนั้นจึงได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อราวต้นเดือนธันวาคม ปี พ.ศ.2514 แล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุฯ ในกรุงเทพฯ ต่อมาในช่วงปีใหม่ พ.ศ.2515 ท่านจึงได้ไปยัง จ.อุบลราชธานี

    ย้อนไปเมื่อ 35 ปีที่แล้วท่านเป็นดาราทีวี สนใจเรื่องพระพุทธศาสนาจนได้พบหลวงพ่อชา นับเป็นศิษย์ฝรั่งรุ่นแรกๆ ที่ฉันปลาแดกข้าวเหนียวเป็น เหมือนกับลูกอีสานขนานแท้ ตอนไปอยู่เมืองดอกบัวใหม่ๆ ท่านพูดภาษาไทยไม่ได้สักคำ แต่ก็ฟังหลวงพ่อชารู้เรื่อง ด้วยการหมั่นสังเกตและปฏิบัติตาม แล้วก็สะสมวันละนิดจนเป็นความรักอันบริสุทธิ์จนมากเป็นหลายเท่าทวีคูณ ว่ากันว่าหลวงพ่อชานั้น ท่านมีเทคนิคการสอนธรรมที่ไม่ค่อยเหมือนใคร คือจะบอกให้รู้ ทำให้ดู เช่น บอกให้ยกท่อนไม้ขึ้น แล้วก็ให้หยุดอยู่ พอรู้ว่าเมื่อยแล้วก็จะใช้ภาษามือสื่อให้พระฝรั่งโยนท่อนไม้ทิ้งแล้วก็จะพูดสั้นๆ ว่า แบกไว้มันทุกข์ ทิ้งไปมันก็สุขเอง เพียงปริศนาธรรมเล็กน้อยแค่นี้ ทำให้ลูกศิษย์อึ้งถึงกับลงมือฝึกจิตตนเอง ไม่สนใจเปลือกนอก หลวงพ่อชาท่านช่างมีพรสวรรค์ในการปั้นคนจริงๆ

    หลวงพ่อเขมธัมโม มีความเคารพศรัทธาเลื่อมใสในหลวงพ่อชามากเป็นพิเศษ เพราะได้ยินชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงพ่อชามาตั้งแต่ยังอยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยท่านได้เขียนบันทึกเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง ชื่อ “รำพึงถึงความหลังกับพระอาจารย์ชา” โดยสรุปได้ว่า

    เมื่อตอนที่ท่านกำลังจะเดินทางมาบวชในประเทศไทย ซึ่งช่วงนั้นหลวงพ่อชายังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก แต่ได้มีพระรูปหนึ่งซึ่งขณะนั้นกำลังพักอยู่ที่วัดไทยในกรุงลอนดอน ได้รู้จักหลวงพ่อชามาก่อนแล้ว พระรูปนั้นได้แนะนำท่านว่า เมื่อมาถึงเมืองไทยควรจะไปหาหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ให้ได้

    ต่อมาเมื่อท่านได้มาถึงเมืองไทยแล้ว และได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ปรากฏว่าพระภิกษุที่ท่านได้รู้จักในกรุงลอนดอนรูปนั้น ก็ได้มาถึงเมืองไทยเช่นกัน และได้อยู่ควบคุมดูแลการบวชสามเณรของท่านอีกด้วย

    พระภิกษุรูปนั้นได้คะยั้นคะยอที่จะพาท่านไปกราบหลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง ก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง ท่านได้ออกไปยืนบนถนนอันวุ่นวายคับคั่งของกรุงเทพฯ เมื่อมองออกไปไกลก็ได้แลเห็นเพื่อนสนิทเก่าแก่คนหนึ่ง ซึ่งท่านเคารพเชื่อถือในความคิดเห็นตัดสินของเพื่อนท่านผู้นั้นมาก ตอนนี้ท่านผู้นั้นได้บวชเป็นพระสงฆ์ครองผ้าเหลืองมาแล้วเป็นเวลานานพอสมควร และจากการได้เยี่ยมเยือนวัดมาหลายแห่ง พระสงฆ์รูปนี้ได้บอกท่านอย่างมั่นอกมั่นใจว่า สถานที่ดีที่สุดสำหรับการบวชและฝึกอบรมเป็นพระภิกษุนั้น ก็คือกับหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ดังนั้น ในวันขึ้นปีใหม่หลวงพ่อเขมธัมโมกับพระสงฆ์ไทยจากลอนดอนก็ได้เดินทางไปยัง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และได้เข้าไปกราบนมัสการ หลวงพ่อชา สุภัทโท ณ วัดหนองป่าพง เป็นครั้งแรก

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกถึงตอนนี้ว่า “…หลวงพ่อชา เดินลงบันไดมา ท่านนั่งขัดสมาธิบนม้านั่ง ยกสูงทำด้วยไม้แข็ง อยู่ต่อหน้าเราพร้อมกับจิบน้ำชาจากแก้วไปด้วย ขณะกำลังคุยกับเรา ท่าทางท่านดูเหน็ดเหนื่อย แต่ก็ยิ้มแย้มร่าเริง เราได้พยายามสื่อสารอย่างเต็มที่กับท่าน โดยมีพระไทยซึ่งไม่สู้จะคล่องภาษา (อังกฤษ) นัก ช่วยเป็นล่าม…”

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกต่อไปอีกว่า… เมื่อหลวงพ่อชาตอบรับท่านเป็นศิษย์แล้ว ท่านก็ได้เริ่มใช้ชีวิตภายใต้การชี้นำของหลวงพ่อชา ซึ่งมิใช่เป็นชีวิตบนแปลงดอกกุหลาบโดยสิ้นเชิงเสียทีเดียว ปัญหาทั้งหมดเกิดจากตัวของท่านเองทั้งสิ้น แต่นั่นมักจะเป็นสิ่งที่คนเรามักจะมองไม่เห็น อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อเขมธัมโม ก็ได้อยู่กับหลวงพ่อชาด้วยดีตลอดมา เพราะเริ่มปรับตัวเข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นตามลำดับ จนเกิดความซาบซึ้งใจในหลายสิ่งหลายอย่างของความเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้เขียนบันทึกอย่างเปิดใจตอนหนึ่งว่า “…เมื่อหลายปีผ่านไป อาตมาก็หันมานิยมชมชื่นในตัวหลวงพ่อชามาก อาตมาได้เรียนรู้และซึมทราบจากท่านมากขึ้นทุกทีทุกที ความรักของอาตมาที่มีต่อหลวงพ่อชานั้นเกิดขึ้นช้าๆ ทว่ามันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ…”

    พระป่าชาวอังกฤษ กล่าวว่า การใช้ชีวิตอยู่กับหลวงพ่อชานั้นก็มิใช่ง่ายเสมอไป บางอย่างดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เอาทีเดียว ท่านยังจำได้ดีถึงความอึดอัดใจที่ทำอะไรผิดๆ นับครั้งไม่ถ้วน และต่อหน้าผู้คนด้วย

    การกระทำทุกอย่างนั้นมีวิธีการของมันอยู่ และมีมากทีเดียวที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย แต่บางอย่างนั้นก็เป็นของตัวหลวงพ่อเอง ในขณะที่หลวงพ่อสามารถที่จะบอกกับอาตมา ได้เสมอว่าอะไรผิด แต่ท่านก็จะไม่บอกอาตมาเสมอไปว่าอะไรถูก ปล่อยให้ท่านเข้าใจเอาเอง

    หลวงพ่อเขมธัมโม กล่าวว่า ในเวลาต่อท่านก็เข้าใจว่าอะไรถูกอะไร ผิดพร้อมกับยกย่องว่าหลวงพ่อชามีลักษณะพิเศษเฉพาะตน ในการสั่งสอนอบรมลูกศิษย์ได้เป็นอย่างดีเลิศ ทำให้เข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างง่าย

    พระป่าชาวอังกฤษรูปนี้ ได้กล่าวถึง วิธีการทำสมาธิตามแบบที่หลวงพ่อชาส่งเสริมให้ปฏิบัตินั้น มักจะไม่รวมเอาการแผ่เมตตาเข้าไว้ด้วย แต่ก็ยังไม่เคยพบผู้ใดที่มีความเมตตากรุณามากเท่ากับหลวงพ่อชามาก่อนเลย หลวงพ่อชาได้ดูแลลูกศิษย์ทุกคนด้วยความรักอันบริสุทธิ์ตลอดเวลา แม้บางครั้งท่านจะดุด่าว่ากล่าวบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาจากความห่วงใย อยากให้ลูกศิษย์ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องมากกว่า ลูกศิษย์ที่เข้าใจในเจตนาอันดีนี้ต่างมีแต่ความปลาบปลื้มใจในตัวของหลวงพ่อมาก

    หลวงพ่อชาชอบเดินเล่นรอบๆ วัดในตอนเช้าหลังจากออกบิณฑบาต ขณะที่พระรูปอื่นๆ ซึ่งออกไปบิณฑบาตไกลๆ เพิ่งจะกลับมา และมีการตระเตรียมอาหาร บางครั้งหลวงพ่อชาจะเดินตามลำพัง และมักจะกวักมือเรียกใครสักคนให้เดินไปกับท่านเพื่อสนทนาธรรมไปในตัว

    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเขมธัมโม กำลังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับคำสอน หลวงพ่อชาก็จะพาท่านไปเดินด้วย 2-3 วัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ การได้อยู่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อชาเป็นส่วนตัวนี้ทำให้หลวงพ่อเขมธัมโมมีความยินดีมาก

    วันหนึ่ง มีกิ่งไม้หนักขวางทางอยู่ หลวงพ่อชาได้ยกไม้ท่อนนั้นขึ้น พร้อมกับบอกให้หลวงพ่อเขมธัมโม ยกอีกข้างหนึ่ง แล้วถามว่า “หนักไหมล่ะนี่ ?”

    และเมื่อได้เหวี่ยงท่อนไม้นั้นเข้าไปในป่าแล้วก็ถามอีกว่า “ตอนนี้ล่ะเป็นไง หนักไหม ?”

    หลวงพ่อชาจะสอนลูกศิษย์ให้เห็นธรรมะในสิ่งที่พบเห็นใกล้ตัว ให้รู้จัก “การปล่อยวาง” ถ้าทำได้ก็จะเบาตัว (เหมือนกิเลสตัณหา)

    การฝึกปฏิบัติกับหลวงพ่อชานั้น ทำให้กฎระเบียบพิธีการและรูปแบบของชีวิตนักบวชในวัด มิใช่เป็นเพียงประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาอย่างไม่มีจุดหมายเหมือนในวัดอื่นๆ การสอนของหลวงพ่อชาทุกอย่างเป็น “วิธีการอันแยบยล” ในการสร้างทัศนคติแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “เราคือพระภิกษุผู้ซึ่งมิใช่อยู่เพื่อแสวงหาลาภสักการะ หรือชื่อเสียง มิใช่เพื่อความก้าวหน้าทางโลก เราเป็นพระภิกษุที่ต้องเผชิญกับกิเลส และสิ่งที่เป็นอิทธิพลทำลายหัวใจและจิตใจของมนุษย์ มองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แล้วทิ้งมันไป เพื่อบรรลุถึงความสงบอันจริงแท้แน่นอน คือความสุขแห่งพระนิพพาน”

    ครั้งหนึ่งเพื่อนของหลวงพ่อเขมธัมโม ได้พูดถึงความประทับใจที่มีต่อหลวงพ่อชา สุภัทโท ว่า ท่านเหมือนกับกบตัวใหญ่ ที่มีความสุขที่นั่งอยู่บนใบบัว เรามักจะรู้สึกว่าความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับชีวิต ความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่ถูกเมินเฉย เพราะพระพุทธศาสนาจะพูดเกี่ยวกับความทุกข์และแนวโน้มทางลบของใจ การวิเคราะห์จิตและสังขาร รวมทั้งคำนิยามต่างๆ ที่เข้าใจยาก

    แต่สำหรับหลวงพ่อชาแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น หลวงพ่อจะแผ่ความสุขให้กับทุกคน ดึงดูดผู้คนเข้าหาท่าน และอยากจะอยู่กับท่าน แล้วท่านก็จะอบรมสั่งสอนธรรมแบบง่ายๆ โดยไม่ทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่ายกับการเทศน์แบบแห้งแล้งที่มีแต่คำบาลียาวๆ แต่ท่านจะนั่งคุยกับผู้คนอย่างสนุกสนาน หัวเราะพูดเล่น และเมื่อมีจังหวะท่านก็จะสอดแทรกธรรมะที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตให้กับพวกเขา หลวงพ่อชาจะอบรมสั่งสอนชาวบ้านอย่างนี้ตลอดทั้งวัน หลังจากฉันอาหารจนกระทั่งดึกดื่นค่อนคืน ในขณะที่ผู้คนพากันมากราบไหว้ท่านอย่างต่อเนื่อง กลุ่มหนึ่งไปกลุ่มหนึ่งมาเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา หลวงพ่อมีความอดทนในเรื่องนี้มาก และไม่เคยเบื่อหน่ายเลย

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้เรียนรู้อะไรอีกหลายอย่างจากหลวงพ่อชา ที่ท่านได้หยิบยกเอาสภาพสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัวมา เป็นตัวอย่างในการสอนธรรมะ

    ปี พ.ศ.2520 หลวงพ่อเขมธัมโม ได้นิมนต์หลวงพ่อชาเดินทางไปประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยได้ที่เมืองแฮมป์สเตด อันเป็นสถานที่หลวงพ่อเขมธัมโมได้พบกับสัจจธรรมแห่งพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังได้พาหลวงพ่อไปทางตอนใต้ของอังกฤษ เพื่อเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ของหลวงพ่อเขมธัมโมด้วย นับเป็นเวลาที่หลวงพ่อเขมธัมโมได้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อชามากที่สุดและนานที่สุด

    หลวงพ่อชาได้เดินทางกลับเมืองไทย แต่หลวงพ่อเขมธัมโมยังอยู่ต่อในอังกฤษต่อไป ทั้ง 2 ไม่ได้พบกันเป็นเวลานานถึง 9 ปีครึ่ง แล้วก็มีข่าวว่าหลวงพ่อชาอาพาธหนัก หลวงพ่อเขมธัมโมจึงรีบเดินทางมาเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกราบเยี่ยมพระอาจารย์ของท่าน ช่วงนั้นหลวงพ่อชามีอาการที่ช่วยตัวเองไม่ได้เลย

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกไว้ในตอนท้ายว่า… “เราไม่อาจทราบได้ว่า ในช่วงเวลานั้น (หลวงพ่อชา) ท่านทำอะไรบ้าง หรือทำไมมันจึงต้องเป็นแบบนั้น แต่หลังจากที่ท่านได้มีเวลาให้กับตนเอง บางทีท่านอาจจะได้สำเร็จในกิจภาระของตัวท่านเองแล้ว เราไม่มีทางรู้ได้เลย แต่อาตมาก็หวังว่าท่านได้จบชีวิตลงเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว…”

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้พูดถึงตัวเองว่า…ในชีวิตของท่านนับว่าโชคดีที่ได้รู้จักกับบุคคลที่เด่นด้วยคุณค่าหลายท่าน โดยมีหลวงพ่อชาเป็นผู้ที่ดีเด่นที่สุด ชื่นชอบในตัวหลวงพ่อชามาก เคารพและรักหลวงพ่อชาอย่างสุดชีวิตและจิตใจ อีกทั้งยังรู้สึกสำนึกในบุญคุณเสมอที่โชคดีได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ท่านในฐานะเป็น “พุทธบุตร” ที่ท่านได้เลือกทางเดินเองแล้ว และนี่คือ…เส้นทางเดินของชีวิตที่ประเสริฐสุด

    เมื่อข่าวว่า หลวงพ่อชาได้มรณภาพแล้ว ความคิดหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในสมองของหลวงพ่อเขมธัมโมก็คือ ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะพยายามทำตัวให้มีคุณค่ามากขึ้นเพื่อหลวงพ่อชา และสามารถดำเนินภารกิจสืบทอดสิ่งที่หลวงพ่อชาท่านได้มอบให้กับลูกศิษย์ทุกคน

    หนึ่งสัปดาห์หลังจากการมรณภาพของหลวงพ่อชา หลวงพ่อเขมธัมโมก็ได้เดินทางมาถึงเมืองไทย และตรงไปยังวัดหนองป่าพงทันที เพื่อแสดงความคารวะแด่สรีระของหลวงพ่อชา พระอาจารย์ผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวง สำหรับหลวงพ่อเขมธัมโม ลูกศิษย์ชาวอังกฤษที่ได้มีโอกาสบวชเรียนเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ

    หลวงพ่อเขมธัมโม ต้องเดินทางมาเมืองไทยทุกปีเพื่อกราบเยี่ยมหลวงพ่อชา ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาได้กล่าวกับหลวงพ่อเขมธัมโม ว่า… นี่เป็นกรรมของท่าน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรกับมัน หลวงพ่อชาต้องอยู่กับเตียงและเก้าอี้ตลอดเวลา ต้องอาศัยผู้อื่นให้ทำทุกอย่างเกี่ยวกับร่างกายของท่านเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ก่อนที่หลวงพ่อชาจะมรณภาพเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2535 ณ วัดหนองป่าพง สิริรวมอายุได้ 74 ปี พรรษา 52 ขณะดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ “พระโพธิญาณเถร”

    -หลวงพ่อเข.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนา จึงเบียดเบียนกัน”

    (ในหลวง ร.๙ ทรงปุจฉา)
    (วิสัชนาธรรมโดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)

    ในคราวเสด็จฯพระราชทานผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนมัสการถามหลวงปู่ฝั้นมีข้อความสำคัญตอนหนึ่งว่า

    “พระราชปุจฉา : ทำอย่างไร ประเทศชาติ ประชาชนจะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคี ปรองดองกัน?

    หลวงปู่ฝั้น : ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะศาสนาสอนให้คนละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส

    พระราชปุจฉา : คนส่วนมากทำดี คนส่วนน้อยทำชั่ว จะทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนไหม ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้?

    หลวงปู่ฝั้น : ขอถวายพระพร ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนาจึงเบียดเบียนกัน ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ คนอื่นก็เช่นกัน คนทุกวันนี้เข้าใจว่าศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้อยู่ในหีบในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้าอินเดียโน่น จึงไม่สนใจบ้านเมือง จึงเดือดร้อนวุ่นวาย มองหน้าไม่ได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดามารดา เป็นพี่เป็นน้องกัน แล้วก็สบายไปมาหาสู่กัน เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มี ใจเราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้นให้มีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตร เสด็จฯมานี้ทุกอย่างเรียบร้อยหมด”

    -ทุกวันนี้คนไม่ร.jpg

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “..ใจนี้ เสกให้เป็นอะไรเป็นได้นะ
    เสกให้ไปในทางความชั่ว ชั่วจนมืดมิด เป็นเปรต
    เป็นผี เป็นสัตว์ ไปจนกระทั้งถึงสัตว์นรกก็ได้
    เสกให้ไปทาวที่ดิบที่ดี พาบำเพ็ญคุณงามความดี
    จะเป็นมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ขึ้นไป
    จนถึงนิพพานก็ได้ ใจอันนี้เสกสรรได้ส่งเสริมได้
    กดถ่วงไปได้ จึงต้องพยายามพากันดูใจตนเอวให้ดี
    หลักใหญ่สำคัญอยู่ที่ ใจ..”

    โอวาทธรรมคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพถ่ายนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -เสกให้เป็นอะไรเ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    กัลยาณมิตรหาได้ไม่ง่าย
    หาไม่ได้สำหรับคนทั่วไป
    ไม่ใช่ภริยาทุกคน เป็นกัลยาณมิตรของสามี
    ไม่ใช่สามีทุกคน เป็นกัลยาณมิตรของภรรยา
    ไม่ใช่เพื่อนทุกคน เป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน
    ผู้เป็นกัลยาณมิตรนั้น มีคุณสมบัติเป็นหลักสำคัญที่สุด คือความดี
    มีคุณธรรมประจำใจ พร้อมด้วยสติและปัญญา
    ภรรยาสามี บุตรธิดา และ มิตรสหาย
    หรือผู้หนึ่งผู้ใด ที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวมา
    จึงไม่อาจ เป็นกัลยาณมิตรได้

    -:- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช -:-

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…บุพกรรมของ พระโลสกะ…”

    สิ่งที่เราพึงระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งก็คือ ในเวลาที่มีคนตั้งใจจะทำบุญ แล้วเราไปขัดขวางเขา ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม เราก็ได้ทำบาปลงไปแล้ว เหมือนเรื่องราวของพระโลสกะ ที่เคยขัดขวางบุญของผู้อื่น
    (อรรถกถาเล่มที่ ๕๖ พระสุตตันตปิฏก) ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้าที่ ๒ อรรถกถาโลสกชาดกที่ ๑

    โดยในชาติหนึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสของวัดหนึ่ง แล้วมีพระธุดงค์มาแถวนั้นและพักในวัดของท่าน เย็นวันนั้นมีเศรษฐีมาฟังธรรมจากพระธุดงค์ แล้วได้นิมนต์ท่านและพระธุดงค์รูปนั้นเพื่อถวายอาหารในวันรุ่งขึ้น แต่พอตอนเช้าท่าน กลัวว่าเศรษฐีจะชอบใจพระธุดงค์มากกว่าตน ท่านจึงเคาะระฆังเบาๆ แล้วออกไปที่บ้านเศรษฐีคนเดียว ท่านบอกเศรษฐีว่าสงสัยพระธุดงค์ จะขี้เกียจ จึงยังไม่ตื่น แล้วท่านก็ฉันอาหารรูปเดียว

    พอฉันเสร็จ เศรษฐีคนนั้นก็ได้ฝากอาหารให้ท่านนำไปให้พระธุดงค์ด้วย แต่ท่านกลัวว่าหากพระธุดงค์ได้อาหารแล้วจะติดใจและอยู่ต่อ ท่านจึงได้นำอาหารไปทิ้งทั้งหมด

    ด้วยผลบาปนั้นเอง ทำให้ท่านต้องตกนรกหลายแสนปี แล้วก็มาเกิดเป็นยักษ์ ๕๐๐ ชาติ เกิดเป็นสุนัข ๕๐๐ ชาติ โดยที่ทุกชาติจะไม่ได้กินจนอิ่มเลย นอกจากมื้อสุดท้ายก่อนตายเท่านั้น พอมาเกิดเป็นคน ก็ต้องอยู่ด้วยความลำบาก ได้กินข้าวทีละเม็ดจากพื้นที่เขาใช้เทน้ำล้างหม้อข้าว

    หลังจากนั้นพระสารีบุตรมาพบก็ชวนให้บวช แม้จะเป็นพระ ท่านก็ยังไม่ได้ฉันจนอิ่ม และด้วยบาปที่ท่านทำมา ใครใส่บาตรท่านเพียงนิดหน่อย คนก็จะเห็นเหมือนเต็มบาตรแล้ว จึงไม่ถวายอะไรให้อีก และด้วยผลบาปที่เคยทำมา บางคนอาหารที่คนนำมาถวายให้ท่านก็จะหายไป

    ต่อมาท่านเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ แม้จะเป็นพระอรหันต์ แต่ท่านก็ยังไม่เคยได้ฉันจนอิ่มเลยแม้แต่มื้อเดียว จนวันสุดท้ายของชีวิต พระสารีบุตรท่านทราบว่าวันนี้ท่านจะปรินิพพาน จึงคิดจะให้ท่านได้ฉันจนอิ่มให้ได้ ด้วยการชวนท่านไปบิณฑบาตด้วยกัน แต่ด้วยบาปที่ท่านได้ทำมา ทำให้ชาวบ้านไม่สนใจแม้แต่จะยกมือไหว้พระสารีบุตร

    พระสารีบุตรจึงให้ท่านกลับไปรอที่วัด พระสารีบุตรจึงได้บิณฑบาตรแล้วจึงให้คนนำอาหารที่ได้มอบให้พระโลสกะ แต่ด้วยบาปของท่านทำให้คนที่รับอาหารนั้นลืมแล้วกินเอง
    พอพระสารีบุตรกลับมาถามพระโลสกะ ก็พบว่ายังไม่ได้ฉันอะไรเลย พระสารีบุตรจึงเข้าไปบิณฑบาตรในวัง ได้ขนม ๔ อย่าง มาจนเต็มบาตรพระสารีบุตร ต้องถือบาตรให้ เพราะถ้าหากให้ท่านถือเอง อาหารอาจจะหายไป พระโลสกะจึงได้ฉันจนอิ่มก่อนตาย

    มาจากหนังสือ บุญใหญ่ พลิกชีวิต

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพถ่ายวาดสีน้ำมันนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -พระโลสกะ.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “ คนเราทุกวันนี้ ถ้าเป็นคนที่มีธรรม
    จะคิด จะพูด จะทำอะไรก็เป็นธรรม
    แต่ถ้าเป็นคนไม่มีธรรม เอาเรื่องโลกมาคิด
    มาพูด มาทำ ก็มีแต่โลกทั้งนั้น

    ให้เราทั้งหลายช่วยกันทำนุบำรุง
    พระพุทธศาสนา เห็นการกระทำอะไรที่ไม่ดี
    ให้ช่วยกันบอกสอนแก้ไขให้ถูกให้ควร
    อย่าปล่อยให้คนทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่อาตมาพูด ว่าดี ว่าถูก
    ว่าควรแล้ว ให้นำไปไตร่ตรองดูเสียก่อน
    หากพิจารณาว่าดี ว่าถูก ว่าควร แล้วจึงค่อยเชื่อ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
    พ่อแม่ครูจารย์ก็เคยเตือนให้พึงระวัง
    เรื่องอายตนะ ๖ กาย ใจ ตา หู จมูก และลิ้น
    ไม่ให้นำสิ่งไม่ดีเข้ามา ให้คะลำ
    ภาษาอีสาน คะลำ หมายถึง หลีกเลี่ยง
    อย่าเอาสิ่งไม่ดีเข้ามาในตัว
    หากรู้ว่าไม่ดีให้หลีกหนีให้ไกล ”

    -:- โอวาทธรรมคำสอน -:-
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
    วัดป่าศิลาพร อ.เมือง จ.ยโสธร

    -ถ้าเป็น.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เมื่อพักภาวนาอยู่ที่ดงผาลาด พอสมควรแล้ว ได้ข่าวว่าที่ผาอีเมย บ้านดงนาซอน อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร มีผีโป่งดุร้ายมาก เขาว่าถ้าไปที่นั่นแล้ว ระวังให้ดีนะ มันจะหักคอกิน นั่นแหละ ก็เลยออกเดินทาง ไปถึงที่นั่น ก็เป็นเวลาเย็นแล้ว ทำที่พักไม่ทัน ก็เลยอาศัยอยู่ใต้ร่มไม้ ค่ำนั้นก็ไม่เดินจงกรม เพราะเดินทางไกลมาแล้ว พอ ๖ โมงเย็นกว่า ๆ ก็มีเสียเหาะขึ้นทางโคนโป่งโน้น ขึ้นไปบนฟ้า แล้วก็พุ่งลงทางหัวทุ่งทางโน้น เสียงดัง ตึ้ง… ราวกับว่าทุ่งมันจะพังทลาย ไม่นานก็กลายเป็นไฟไหม้ป่าแดงจ้าร่าเข้ามา ไฟป่าก็ลุกรุ่งโรจน์ใกล้เข้ามา มันจะทำให้ตกใจกลัวจนเป็นบ้า วิ่งหนีเข้าป่าไป

    โอ๋…นี่หรือที่เขาว่า ผีโป่งผาอีเมยมันร้าย ถ้าใช่จริง ๆ ก็มาหากันวันนี้ เรามาก็เพื่อว่าจะเจริญสมณธรรมหรอก มิได้มารบกวน หวังยึดเอาสถานที่ของใครทั้งนั้น เอานะ มาลองดูกันว่า คาถาอาคมของใครจะเก่งกว่ากัน เราจะได้รู้กันว่า อาคมของศาสนาจะดีเพียงใด จะปราบผีร้ายได้ไหม พอไฟใกล้เข้ามาในระยะประมาณ ๑ เส้น (๒๐ วา) เท่านั้น ก็อ่านคาถาว่า
    …………
    **อิติปิโสวิเสเส อิอิเสเส พุทธนาเม อิอิเมนา พุทธะตังโส อิอิโสตังพุทธะปิติอิ ตะโจพระพุทธเจ้า ขอจงมาเป็นหนัง มังสังพระธัมมเจ้า ขอจงมาเป็นเนื้อ อัฏฐิพระสังฆเจ้า ขอจงมาเป็นกระดูก ตะริเพ็ชรคงคง อิสวาหะ สวาสุ สวาอิ พุทธะปิติอิ นะมะอะอุมิ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ พุทโธกั้ง (กั้น) ธัมโมบัง สังโฆปิด**
    …………
    จบแล้วก็เป่าพึบ !…ไฟนั้นก็แตกกระจายไป สีแดง ๆ หายไป กลายเป็นสีเขียววิ่งเข้าโคนโป่งไปเลย

    คืนนั้น ๓ ทุ่มกว่า มีโยมบ้านดงนาซอนเขามาหา (บ้านดงนาซอน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีประมาณ ๑๒ หลังคาเรือน ตั้งอยู่กลางดงผาลาด) เมื่อซักไซ้ไต่ถามได้ความกันแล้ว ก็ให้เขารับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ จากนั้น ก็อธิบายธรรมให้เขาฟังบ้างเล็กน้อย เสร็จแล้วก็ถามเขาว่า

    **โยม…เมื่อเย็นนี้ ราว ๖ โมง มีเสียงเหาะขึ้นไปบนฟ้า แล้วตกลงมากลางทุ่งทางโน้น เสียงดังสนั่นราวกับทุ่งมันจะถล่มทลาย และไม่นานก็มีนิมิตเป็นไฟป่ามา อันนั้นเป็นเสียงอะไร ?**

    **อ๋อ…ผีโป่งมันมาหาท่าน มันร้ายกาจมากนะท่าน นายพรานในเขตนี้มาล่าสัตว์ ยิงเก้งกวางแล้วมันวิ่งหนีเข้าไปในพุ่มไม้นั้น พอวิ่งตามเข้าไปดู ก็เห็นผีตัวใหญ่ หัวล้านเพ่อเว่อ นั่งสูบยามวนใหญ่เท่าแขนโป้ อยู่บนจอมปลวกโคนโป่งนั่น นายพรานในเขตนี้เขากลัวกันมาก ไม่กล้าไปอีกเลยนะท่าน**

    นั่นแหละ พอรุ่งเช้าได้ข่าวว่า ผีโป่งมันเข้าไปสิงชาวบ้าน แล้วมันพูดว่า
    **แหม…เราเป็นเจ้าของโป่ง อยู่ที่นี่มาตั้งแต่สมัยศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสโป โน่น เคยเป็นนายพรานใหญ่มาล่าสัตว์ที่นี่ แล้วขึ้นไปนั่งบนโคนโป่งใหญ่ มีเสือตัวใหญ่ยาว ๑๒ ศอก ผ่านมา ก็เลยยิงออกไป แต่ว่าเสือนั้นไม่ตาย มันจึงกระโดดเข้ามากัดเราตาย เราหึงหวงห่วงอาลัยในสถานที่นี้ เมื่อตายก็เลยกลายเป็นผีมาเฝ้าโป่งอยู่ที่นี่ นั่นแหละ พอเห็นพระกรรมฐานจีวรคล้ำ ๆ ร่มใหญ่ ๆ บาตรโต ๆ เดินผ่านมามีรัศมีด้วยนะ เราก็รู้ว่าพระจำพวกนี้มีธรรมจืดนะ ไปอยู่ที่ไหนก็จืดหมดทั้งนั้น ไม่มีใครสู้ได้ แต่เราก็สู้ด้วยฤทธิ์ด้วยคาถา คาถาของเราก็เป็นหนึ่ง ฤทธิ์ของเราก็เป็นเลิศประเสริฐ ไม่กลัวใครทั้งนั้น แต่เราสู้ไม่ได้ เพราะคาถาของพระกรรมฐานนั้นเก่งกว่าเรา**

    นั่นแหละ ก็ไปได้ชัยชนะกับผีโป่งที่นั่น ฉะนั้น เรื่องผีสางคางแดงดำอะไรจึงไม่กลัวทั้งนั้น ธรรมพระไตรสรณคมน์เป็นของดีเลิศประเสริฐแท้ ผีเจ้าเข้าสิง ใช้ทำน้ำมนต์ กำจัดปัดเป่าหายไปได้ทั้งนั้น อันนี้ข้อสำคัญมั่นหมาย ฉะนั้นขอให้เอาไปภาวนาเช้าเย็นอย่าได้ขาด ไปไหนมาไหนก็ภาวนาอย่างนั้น ตายแล้วอบายไม่ได้ไป ไฟนรกไม่ได้ไหม้ จะได้ไปสวรรค์โดยเร็วพลัน นี่เรียกว่า คาถาธรรมพระไตรสรณคมน์ เอาไปบริกรรม อย่าได้ขาด อย่าได้ประมาท อันนี้เป็นของดีเลิศประเสริฐแท้

    เรื่องราวนี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งจากประสบการณ์จริงของ หลวงปู่จันทา พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ท่านเคยเล่าถ่ายทอดให้ศิษย์ฟังไว้ว่า ตัวท่านเคยพบเห็นมาด้วยตนเองขณะออกธุดงค์ในป่าเขา เห็นสมควรนำมาเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันดังนี้

    หลวงปู่จันทา ถาวโร(ประวัติ) วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

    .jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ วันนี้ ตรงกับวันคล้ายวันนิพพานของพระโมคคัลลานะ ๏

    วันนี้ วันเสาร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เป็นวันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับวันคล้ายวันอนุปาทิเสสนิพพาน คือวันคล้ายวันนิพพานของท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า พระอัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะผู้เลิศด้วยฤทธานุภาพ ครบ ๒,๕๖๑ ปี (ท่านนิพพานก่อนพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พรรษา และหลังวันพระสารีบุตรนิพพาน ๑๕ วัน) จึงขอน้อมนำพระธรรมคำสอนของพระมหาโมคคัลลานะ มาเผยแพร่ให้พิจารณาเป็นมรณานุสติ และสังฆานุสติครับ

    โอวาทธรรมคำสอนพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า

    …วันหนึ่งพระมหาโมคคัลลานะออกรับบิณฑบาตอยู่ในเมืองเวสาลี มีหญิงสาวโสเภณีนางหนึ่งหน้าตางดงามเธอชื่อ “วิมลา” เมื่อเห็นพระโมคคัลลานะแล้วจิตเกิดปฏิพัทธ์ จึงเดินติดตามพระเถระไปถึงที่อยู่ เมื่อเห็นพระเถระอยู่รูปเดียว จึงได้โอกาสเข้าไปพูดจาและแสดงท่าทางอาการยั่วยวน พระเถระรู้ทันความประสงค์จึงกล่าวตำหนิหญิงโสเภณีวิมลาว่า

    “..กระท่อมคือร่างกายมีกระดูกเป็นโครงสร้าง ฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด คนทั่วไปพากันยึดถือ แต่สำหรับอาตมาเป็นของน่ารังเกียจ ร่างกายของเธอไม่ต่างอะไรกับถุงใส่อุจจาระ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนางปีศาจ มีผื่นขึ้นที่น่าอก มีช่อง ๙ ช่องให้สิ่งสกปรกไหลออกอยู่เป็นนิตย์

    ..ภิกษุอย่างอาตมาย่อมไม่เหลียวแลร่างกายเธอ เหมือนชายหนุ่มผู้รักความสะอาดย่อมหลบหลีกอุจจาระปัสสาวะเสียให้ไกล สำหรับคนทั่วไป หากเขาได้เข้าใจร่างกายของเธออย่างที่อาตมาเข้าใจ ต่างก็จะพากันหลีกไกล คล้ายชายหนุ่มผู้รักความสะอาด เห็นหลุมอุจจาระที่ฝนตกใส่ ย่อมหลบหลีกเสียไกล

    อากาศ คือ ความว่างเปล่า ใครก็ตามที่หวังจะเอาขมิ้นหรือน้ำย้อมอย่างอื่นไปย้อมอากาศ ย่อมเหนื่อยเปล่า จิตของอาตมาว่างเปล่าเหมือนกับอากาศ มั่นคงอยู่ภายในฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักจากจิตที่ว่างเปล่านี้เลย เพราะจะพบแต่ความปวดร้าวเช่นเดียวกับแมลงบินเข้ากองไฟ..”

    เมื่อนางวิมลา หญิงโสเภณี ได้ฟังพระมหาโมคคัลลานะเถระตำหนิแล้ว ก็เกิดสังเวชใจละอายและกลัวบาป ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาหาเหตุผลตามที่พระเถระกล่าว ก็ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เธอจึงประกาศตนเป็นอุบาสิกาเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งนับตั้งแต่นั้น ต่อมาเมื่อนางวิมลาอายุย่างเข้าใกล้วัยชรา เธอก็ได้สละทรัพย์สมบัติทั้งหมดแล้วออกบวชเป็นพระภิกษุณี ไม่นานเธอก็บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในบวรพระพุทธศาสนา

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า มีชีวิตอยู่มาจนกระทั่งถึงระยะปัจฉิมโพธิกาล (ระยะเวลาใกล้สิ้นยุคพุทธกาล) องค์ท่านนิพพานก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑ ปี คือนิพพาน ในปีที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุ ๗๙ พรรษา

    พระมหาโมคคัลลานะ นิพพานเมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ณ ถ้ำกาฬศิลา แคว้นมคธ หลังพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วัน ดังมีเรื่องเล่าว่า

    พรรษาที่จะนิพพานนั้น ท่านจำพรรษา อยู่ที่ถ้ำกาฬศิลา แคว้นมคธ เดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) คณะหนึ่งได้ จ้างโจรก๊กหนึ่งให้ไปฆ่าท่าน เหตุที่เป็นดังนั้นเพราะเดียรถีย์ได้ประชุมปรึกษาหารือกันแล้วต่างลงความเห็นว่า ทุกวันนี้พวกตน เสื่อมจากลาภสักการะ มีผู้นับถือน้อยลง เป็นเพราะผู้คนพากันหันไปเลื่อมใสพระสมณโคดมเป็นส่วนใหญ่ สาวกของพระสมณโคดมองค์สำคัญที่เป็นตัวการให้คนหันไปเลื่อมใสศาสดาของตนนั้น คือพระมหาโมคคัลลานะ เนื่องจากสาวกรูปนี้มีฤทธิ์ไปนรกสวรรค์ แล้วกลับมาเทศนาสั่งสอนจนคนเกิดศรัทธาเลื่อมใส หากไม่มีสาวกรูปนี้แล้ว พระสมณโคดมก็หมดความหมาย ผู้คนก็จะหมดความเลื่อมใส แล้วพากันหันกลับมาเลื่อมใสพวกตนตามเคย ลาภสักการะก็จะมีมากเหมือนเก่า

    ครั้นปรึกษาหารือกันแล้ว พวกเดียรถีย์ก็เรี่ยไรเงินจากผู้ที่ยังนับถือพวกตนอยู่ไปว่าจ้างโจรให้ไปฆ่าพระเถระ เวลานั้นเป็นช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา พวกโจรได้พากันไปยังถ้ำกาฬศิลาซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ ภายนอกถ้ำมีกุฏิหลังเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง ท่านพักอยู่ในกุฏิหลังนั้น และเมื่อได้ทราบว่ามีโจรมาล้อมกุฏิหมายจะฆ่าท่าน พระเถระก็เข้าฌานอธิษฐานจิตหายออกไปทางช่องลูกดาล พวกโจรไม่ทราบจึงเข้าไปค้น แต่ก็พลาดโอกาสไม่พบท่าน

    วันต่อมาๆ พวกโจรก็ได้มาล้อมกุฏิของท่านอีก แต่ก็ไม่สามารถจับตัวท่านได้ เพราะท่านได้ใช้อำนาจฤทธิ์หายตัวไม่ยอมให้โจรจับได้ พวกโจรพยายามอยู่อย่างนี้ ถึง ๒ เดือนเต็ม พวกเดียรถีย์รู้สึกเคียดแค้นหนักขึ้น จึงเร่งให้พวกโจรจัดการกับพระเถระให้ได้

    วันหนึ่ง ท่านมาหวนพิจารณาถึงการที่พวกโจรพยายามตามฆ่าท่านว่าคงจะเนื่องมาจากกรรมเก่าที่ตามมาให้ผล ครั้นพิจารณาไปก็เห็นว่าชาติหนึ่งในอดีตชาติท่านได้ทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่าบิดามารดาตามคำยุยงของภรรยา บาปกรรมครั้งนั้นส่งผลให้ท่านไปเกิดในอเวจีมหานรกอยู่เนิ่นนาน ได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แม้จะพ้นจากอเวจีมหานรกแล้วแต่เศษของผลบาปกรรมก็ยังมีอยู่และตามให้ผลตลอดเวลา จนมาในชาติปัจจุบันแม้จะได้บรรลุอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ผลของบาปกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่นั้นก็ยังตามอยู่ เมื่อเห็นเป็นดั่งนี้ท่านก็ไม่คิดหนีอีก พวกโจรจึงจับท่านได้และทุบตีอย่างเคียดแค้น ผลก็คือร่างกายของพระเถระแหลกเหลว กระดูกแหลกละเอียด เหลือเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่าเม็ดข้าวสารหัก

    เมื่อทุบจนหายแค้นแล้ว พวกโจรสำคัญว่าท่านมรณภาพจึงช่วยกันหามไปทิ้งไว้หลังพุ่มไม้แห่งหนึ่งใกล้ๆ ถ้ำกาฬศิลา นั้นแล้วหลบหนีไป

    แม้จะได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส แต่พระเถระก็ยังไม่มรณภาพ ซึ่งเป็นธรรมดาของพระอัครสาวกหากยังไม่ได้ทูลลาพระพุทธเจ้าแล้วจะยังไม่นิพพานอย่างเด็ดขาด พระเถระยังคงมีสติมั่นคง ท่านเข้าฌานอธิษฐานจิตประสานกายให้ปกติดุจเดิมแล้วเหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน แคว้นมคธ เพื่อทูลลานิพพาน

    พระพุทธเจ้าทรงขอให้ท่านแสดงธรรม และแสดงฤทธิ์อย่างที่ทรงขอให้พระสารีบุตรได้ทำ ท่านได้ทำตามพุทธประสงค์ จากนั้นได้ก้มลงกราบพระบาทของพระพุทธเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเหาะกลับไปยังถ้ำกาฬศิลา ท่านนิพพาน ณ ที่นั่นเมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ได้ทำงานร่วมกันกับพระสารีบุตรเถระเจ้า ตลอดอายุขัย ได้ช่วยให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติทุกวรรณะในสังคมอินเดียครั้งกระนั้น

    _/_ _/_ _/_

    -วันนี้-ตรงกับวันคล้ายว.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 3,901.11 บาท ***

    ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา เพื่อถวายวัดต่างๆ ในโครงการธรรมะสัญจร ครั้งที่ 7 จำนวน 12 วัด จัดโดยชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 6-11 ธันวาคม พ.ศ.2560 ณ จังหวัดเชียงใหม่-ลำปาง-พิษณุโลก

    1. วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (หลวงปู่ลี ถาวโร)
    2. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก (พระพุทธชินราช)
    3. วัดสันติธรรม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่มหาทองอินทร์ กุสลจิตโต , หลวงพ่อสีนวล วิมลโล)
    4. วัดป่าอาจารย์มั่น อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    5. วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)
    6. วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร , พระอาจารย์เมธา สุเมโธ)
    7. วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ( หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม , หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ)
    8. วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
    9. วัดพระพุทธบาท 4 รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
    10. วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่มหาจันทร์ กุสโล)
    11. วัดสามัคคีบุญญาราม (คีรีสุบรรพต/วัดดอย) อ.เมือง จ.ลำปาง (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ , หลวงพ่อชายแดน สีลสุทโธ)
    12. วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก (หลวงปู่สมบูรณ์ กันตสีโล)

    ➥ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญถวายวัดต่างๆ จำนวน 12 วัด ได้ที่ : ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 986-0-40617-0 ชื่อบัญชี นางสาวอิจฉราภรณ์ สินป้อง

    ➥ กำหนดการจัดโครงการ : https://www.facebook.com/1376384156...384156019597/1940316219626385/?type=3&theater

    ➥ สอบถามรายละเอียด โทร. 086-4017809 , 063-5082286

    1511014233_534_ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “เราเป็นสมณะมาประพฤติธรรม ทุกกริยาอาการเยื้องย่าง บางอย่างโลกไม่นิยมชมชื่น แต่ถ้าประมวลลงแล้วว่าเป็นธรรม เราก็ต้องดำเนินตามนั้น

    ธรรมแท้นั้น ไม่ได้เอามติที่ประชุมเห็นชอบ แต่เอาใจที่บริสุทธิ์เห็นธรรม คนหมู่มากถ้ากิเลสหนา ปัญญาหยาบมีมากเท่าใด ก็จะออกกฎอันเป็นไปเพื่อกิเลส เพื่อพวกพ้องตน

    ฉะนั้นเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าการเอาตนเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าการเอาคนหมู่มากเป็นใหญ่”

    เพิ่มเติม:

    ธรรมโอวาทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ปรารภต่อหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ขณะที่องค์ท่านรักษาอาการอาพาธ ที่จังหวัดเชียงใหม่

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    .jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ คำพยากรณ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๏

    ในระหว่างที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย อยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลายต่อหลายครั้งที่องค์หลวงปู่มั่น ให้ความเมตตากับพระสมชาย ในเชิงพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระสมชายโดยตรง มีทั้งพยากรณ์ต่อหน้า

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พยากรณ์ว่า ท่าน(หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)มีบารมีเกี่ยวข้องกับ ชาวภาคตะวันออก ชาตินี้ท่านต้องกลับไปอยู่ไปตายที่นั่นอีก (เขาอีกิม/วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี)

    จากเทปบันทึกเสียงของหลวงปู่สมชาย เล่าว่า “…ที่นี้ก็มานึกถึงคำของหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกมาที่นี้จะป่วยนะ เป็นโรคกระเพาะ แต่ไม่ต้องกลัวหรอก แหม!!! มีพวกผู้หญิงพวกหนึ่งเค้าเก่งมาก เขาจะช่วยพยาบาลรักษาโรคกระเพาะหาย ท่านไม่ต้องวิตก ไม่ตาย!!! ตั้งหน้าทำหน้าที่ของท่านนะ ไม่ตาย!!! ทำเถอะ แล้วอยู่ที่นี่เหมือนเขาจะฉีกเนื้อฉีกหนังกินนะ เขาจะเล่นงานที่สุดเลย ทั้งปืนทั้งอะไรหละ มันจะมากัน รับรองไม่ตายนะ แล้วผู้หญิงพวกนี้เขาเก่ง เขาเก่งมาก เขาช่วยเหลือได้รอดชีวิต แล้วพวกผู้ชายฝ่ายสนับสนุนก็มี ท่านไม่ต้องไปมองเหตุการณ์ ตั้งหน้าทำงานของท่านเรื่อยไปเลย อย่าไปสนใจกับมัน แล้วที่นี้มันจะเป็นศูนย์ฝึกกรรมฐานระดับโลก เอาเถอะ อันนี้มันบ้านเก่าเมืองหลังท่าน ท่านทำเถอะ”

    -คำพยากรณ์หลวงปู่มั่น.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต…”

    “…จากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอ มิได้ขาด? คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม ? คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน? ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่? แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยนั้นต่างกันนั้นพอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของ แต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่านั้นบรรดาพระสาวกจำวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตาม เสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย? ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้น ที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่น นั้น ส่วนใหญ่มีว่า? เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนาที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร สิ่งตายตัวก็คือ โรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือ ธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไป ปฏิบัติรักษาตัวเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจ นำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม? ธรรมก็อยู่แบบธรรม? สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก? โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด?ไม่มีทางช่วยได้? ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม?

    พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น? ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้? เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิลส ทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว? นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่อกิลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น? ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ? ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ? ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่นสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก? ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลดเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้? จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กันโดยไม่นิยมสัตว์น้ำ? สัตว์บก? สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อยอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่นที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?? พระตถาคตแท้คืออะไร? คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล? ที่พระตถาคตมาในร่างนี้มาในร่างแห่งสมมติต่างหากเพราะพระตถาคตและพระอรหันต์ อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้? นี่เพียงเป็นเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก? ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า? ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย? ที่สงสัยก็คือ? พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วน สมมติยังเหลืออยู่เลย? แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร ?

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า? ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติยังเหลืออยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติตซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุ ปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่? ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก?ฉะนั้นการมาในร่างสมมตินี้จึง เพื่อสมมติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต? คือสมมติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น? ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไร เป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทาสมมติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ต้องอาศัยสมมติเป็นหลักพิจารณาดังที่เราตถาคตนำ สาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบไดว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยางสมมติเพื่อความเหมาะสมกัน ถ้าเป็นวิมุตติล้วน เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกันก็เพียงแต่รู้อยู่เห็น อยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมติเข้ามาชวยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้นพอมีทางทราบกันได้ว่าวิ มมุตมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวดมีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น? พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมติทั่ว ๆ ไห้ ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติเสดงตัวออกต่อสมมติในบางคราวที่ควรแก่ กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมขอบงวิมุตติ ไม่แสดงอาการ ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัยหรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน ท่านกราบทูลว่า ข้าพระองค์มิได้มิความสงสัยทั้งสมมติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มิใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมติในลักษณะเดียวกันกับพระ รัตนตรัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียวส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่ง ฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้นแม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส…”

    ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพถ่ายนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    1511098592_518_พระพุทธเจ้าและพระสาวก.jpg
    1511098592_608_พระพุทธเจ้าและพระสาวก.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…เราเป็นสมณะมาประพฤติธรรม ทุกกริยาอาการเยื้องย่าง บางอย่างโลกไม่นิยมชมชื่น แต่ถ้าประมวลลงแล้วว่าเป็นธรรม เราก็ต้องดำเนินตามนั้น

    ธรรมแท้นั้น ไม่ได้เอามติที่ประชุมเห็นชอบ แต่เอาใจที่บริสุทธิ์เห็นธรรม คนหมู่มากถ้ากิเลสหนา ปัญญาหยาบมีมากเท่าใด ก็จะออกกฎอันเป็นไปเพื่อกิเลส เพื่อพวกพ้องตน

    ฉะนั้นเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าการเอาตนเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าการเอาคนหมู่มากเป็นใหญ่…”

    ธรรมโอวาทนี้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ปรารภต่อหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ขณะที่องค์ท่านรักษาอาการอาพาธ ที่จังหวัดเชียงใหม่

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพถ่ายนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    1511094952_898_เราเป็นสมณะมาประพฤติธ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    คนเรา ใครๆก็ปรารถนาความสมหวังในชีวิตรัก แต่เมื่อรักกันอยู่ด้วยกันแล้ว ความรักไม่เคยให้ความสมปรารถนาแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความปรารถนาเลย เพราะความรักนั้น เป็นธาตุที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีสุขน้อย แต่มีทุกข์มาก”

    -:- คติธรรม -:-
    หลวงปู่จันทา ถาวโร
    วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

    -ใครๆก็ปรารถนาความ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…จะสู้อะไรก็สู้ได้ ให้สู้อย่างมีสติ ให้ลืมตาสู้ อย่าสู้แบบหลับหูหลับตา โดยไม่มีสติ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะสมหวังอย่างที่ตั้งใจไว้…”

    โอวาทธรรมพระอาจารย์สุนทร ฐิติโก วัดป่าหลวงตามหาบัวธรรมเจดีย์(วัดป่าภูหินร้อยก้อน) จ.อุดรธานี

    ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพถ่ายนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ให้ส.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 4,666.11 บาท ***

    ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา เพื่อถวายวัดต่างๆ ในโครงการธรรมะสัญจร ครั้งที่ 7 จำนวน 12 วัด จัดโดยชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 6-11 ธันวาคม พ.ศ.2560 ณ จังหวัดเชียงใหม่-ลำปาง-พิษณุโลก

    1. วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (หลวงปู่ลี ถาวโร)
    2. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก (พระพุทธชินราช)
    3. วัดสันติธรรม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่มหาทองอินทร์ กุสลจิตโต , หลวงพ่อสีนวล วิมลโล)
    4. วัดป่าอาจารย์มั่น อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    5. วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)
    6. วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร , พระอาจารย์เมธา สุเมโธ)
    7. วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ( หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม , หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ)
    8. วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
    9. วัดพระพุทธบาท 4 รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
    10. วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (หลวงปู่มหาจันทร์ กุสโล)
    11. วัดสามัคคีบุญญาราม (คีรีสุบรรพต/วัดดอย) อ.เมือง จ.ลำปาง (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ , หลวงพ่อชายแดน สีลสุทโธ)
    12. วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก (หลวงปู่สมบูรณ์ กันตสีโล)

    ➥ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญถวายวัดต่างๆ จำนวน 12 วัด ได้ที่ : ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 986-0-40617-0 ชื่อบัญชี นางสาวอิจฉราภรณ์ สินป้อง

    ➥ กำหนดการจัดโครงการ : https://www.facebook.com/1376384156...384156019597/1940316219626385/?type=3&theater

    ➥ สอบถามรายละเอียด โทร. 086-4017809 , 063-5082286

    1511109390_142_ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...