ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เกิดขึ้นจากดำริของท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ที่จะสร้างวัดขึ้น ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าไปพร้อมๆกับการสร้างพระพุทธรูปไว้บนเนินเขา

    การสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ได้ทำการขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร

    สำหรับผู้ที่เป็นผู้นำสำคัญในการก่อสร้าง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม พร้อมกับพระพุทธรูปองค์นี้ คือ พล.อ.พงษ์ ปุณณกัณต์ ซึ่งได้เริ่มสร้างตั้งแต่ครองยศเป็นพลโท และตามจารึกปณิธานวัจนะ ซึ่งบรรจุอยู่ภายในองค์พระพุทธรูปบอกไว้ว่า เนื่องจากผู้สร้างได้รำลึกถึงโอวาทของท่านพ่อลี ธัมมธโร การก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งได้ลงมือสร้างเป็นปฐม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2510 และได้สำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2512

    พระพุทธสกลสีมามงคล สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมเกล้าฯ ถวายโดยพระราชกุศล เป็นพระบรมราชานุสรณ์พิเศษ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระนามจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทั้งขอพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อของ 2 พระองค์ อัญเชิญประดิษฐานที่ฐานพระพุทธรูป และทรงพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธสกลสีมามงคล” แต่ผู้คนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” บ้าง “หลวงพ่อใหญ่” บ้าง

    สำหรับพุทธลักษณะพระพุทธสกลสีมามงคล ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปางประทานพรมีพุทธลักษณะดังนี้
    – องค์พระตั้งอยู่บนเขาสีเสียดอ้า สูงจากพื้นดิน 112 เมตร หรือ 56 วา ทางซ้ายและทางขวาขององค์พระพุทธรูป ซึ่งหมายถึงพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า 56 ประการ
    – องค์พระสูง 45 เมตร หมายถึง พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์อยู่ 45 พรรษา หรือ เรียกว่า ทำพุทธกิจอยู่ 45 พรรษา ภายหลังที่ได้ทรงตรัสรู้
    – หน้าตักกว้าง 27 เมตร (13 วา 2 ศอก 1 คืบ) หมายถึง องค์แห่งธุดงค์ค์วัตร 13 ประการ
    – พระเกตุ (โมลี) สูง 7 เมตร หมายถึง โพชฌงค์ 7 องค์แห่งการตรัสรู้
    – พระกรรณ (หู) ยาว 6.80 เมตร
    – ช่องพระนาสิก (จมูก) มีขนาดกว้างพอถังน้ำมัน 200 ลิตรลอดได้
    – พระเนตรดำ ขลิบด้วยเมฆพัด (โลหะผสมชนิดหนึ่ง) และดวงพระเนตรฝังมุก

    ณ ที่ประดิษฐานพระพุทธสกลสีมามงคล จะเห็นทางเดินป่าเล็กๆ ทอดยาวขึ้นไปบนเขา เส้นทางสายนี้นำไปสู่ถ้ำเมตตา และถ้ำหมี และ ณ ถ้ำหมี นี้เอง เป็นถ้ำที่หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่มหาสิงห์ สุนทโร ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ใช้ในการบำเพ็ญภาวนาอยู่บ่อยครั้ง

    ความใหญ่โตขององค์พระที่ตั้งโดดเด่นอยู่ ณ ที่นี้ทำให้ต้องแหงนหน้าแบบคอตั้งบ่าหากต้องการดูทั่วทั้งองค์ การถ่ายรูปทำได้ไม่ถนัดนัก ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ หากแค่สามารถสัมผัสได้ถึงสัดส่วนที่งดงามพอเหมาะไร้ที่ติ อันสื่อถึงความศรัทธาของผู้คน และฝีมือชั้นครูของช่างในการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ หลวงพ่อขาวจึงประทับนั่ง ถอดสายพระเนตรเปี่ยมเมตตาลงไปยังบ้านเมืองและผู้คนด้านล่าง ดังจะคอยคุ้มครอง ให้ความร่มเย็นทางจิตแก่ผู้ที่ยังดิ้นรนทางโลก ปกปักษ์ รักษาทุกสรรพสิ่งที่เข้ามาพึ่งใบบุญ

    -ต.jpg
    1514382189_497_วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม-ต.jpg
    1514382189_574_วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม-ต.jpg
    1514382190_991_วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม-ต.jpg
    1514382190_117_วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม-ต.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ ประวัติหลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม ๏

    หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท วัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ เป็นพระเถราจารย์ชื่อดังแห่งแดนอีสานใต้รูปหนึ่ง ท่านเป็นศิษย์ของพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานหลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร , พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ และ พ่อท่านลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    ปัจจุบัน (ปี 2560) ท่านมีอายุ 90 ปี พรรษา 69 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

    หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม มีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว เกิดยามใกล้รุ่งวันอังคาร ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่ 2 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์

    หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะอายุ 15 ปี แล้วออกจากบ้านเดินตามพระ พี่ชาย คือ พระครูสมุห์ฉัตร ธัมมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ สองศิษย์เอกของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม จากสุรินทร์ไปถึงนครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง มีโอกาสได้พบครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, พ่อท่านลี ธัมมธโร วัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ

    ท่านได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขณะอายุ 17 ปี ได้บรรพชาที่วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์

    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสุทธจินดา มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาเขียน ฐิตสีโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสมุห์ฉัตร ธัมมปาโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลังอุปสมบทก็อยู่จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธาราม ทั้งปฏิบัติและเรียนนักธรรมไปพร้อมกัน พ.ศ.2590 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

    ปีต่อมา ย้ายไปอยู่วัดป่าศรัทธาราม สวดปาติโมกข์และช่วยสอนนักธรรมพระอาจารย์บุญมาที่อยู่วัดศาลาทอง ก่อนไปพำนักอยู่ที่วัดป่าสาละวัน ใกล้เข้าพรรษา พระอริยเวที วัดสุทธจินดา พาไปจำพรรษาที่จังหวัดกาฬสินธุ์

    ครั้งหนึ่ง ท่านไปช่วยสวดปาฏิโมกข์และสอนนักธรรมที่วัดป่าสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ก่อนย้ายกลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดรังสีปาลิวัน บ้านโพน เพื่อตั้งใจฝึกปฏิบัติ และคอยช่วยสอนนักธรรมให้พระ พร้อมกับอบรมทายกทายิกาเกือบทุกวันในพรรษา

    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2497 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์ (ธ) พ.ศ.2499

    พ.ศ.2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง พ.ศ.2519 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2521 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ.2522 ได้รับบัญชาจากเจ้าคณะภาค 11 ให้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

    พ.ศ.2523 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2528 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระชินวงศาจารย์

    พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปัญญาวิสารัท

    หลังได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ได้พัฒนาวัดให้เป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน

    ขณะเดียวกัน ได้นำพระภิกษุ-สามเณร ตลอดจนถึงประชาชนชาวบ้านพัฒนาวัดวาอาราม จนทำให้วัดมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน อาทิ มีศาลาอเนกประสงค์ชั้นเดียว ใช้สำหรับฉันภัตตาหารเช้า ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ประชุมของพระสังฆาธิการ กุฏิสงฆ์ 23 หลัง พระอุโบสถ เมรุและศาลาบำเพ็ญกุศล

    นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ วัดกระดึงทองยังใช้เป็นสถานที่สอบธรรมสนามหลวง ใน จ.บุรีรัมย์ (ธรรมยุต) มีเพียงแห่งเดียว และเป็นที่ประชุมพระสังฆาธิการประจำจังหวัดด้วย

    ด้านการสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่เหลือง ไม่ได้จัดสร้างบ่อยนัก นานครั้งในวาระพิเศษ จึงจะมีการจัดสร้างสักครั้งหนึ่ง ท่านจะเน้นคำสอนให้ลูกศิษย์นำไปปฏิบัติมากกว่า แต่จะอนุญาตให้ศิษย์ใกล้ชิดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ ทำให้วัตถุมงคลของท่านมีจำนวนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่าได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

    โดยส่วนตัวของหลวงปู่ ท่านเป็นผู้สมถะเรียบง่าย รักสันโดษ ชอบอยู่ตามป่าเขา แม้ย่างเข้าวัยชราเปรียบประดุจไม้ใกล้ฝั่ง แต่สิ่งดีที่มีในตัวท่าน ยิ่งชรา ยิ่งโชติช่วง ยิ่งสว่าง งามทั้งศีล ทั้งธรรม

    -ประวัติหลวงปู่เหลือง.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” การทำบุญ ถ้าพูดตรง ๆ บุญก็คือความสุข บาปก็คือความทุกข์ บุญหมายถึงสภาพความสุข ความรื่นเริงพอใจในตนเอง อารมณ์ที่ชอบใจก็เป็นบุญ อารมณ์ที่ขัดใจก็เป็นบาป สวรรค์นรกมันไม่มีจริง แค่พูดตามกันไปเฉย ๆ พูดตรง ๆ ตามธรรมะของพระพุทธเจ้า สวรรค์กับนรก ก็คือ ทุกข์กับสุข ”

    -:- หลวงปู่สี สิริญาโณ -:-
    วัดป่าศรีมงคล อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี

    -ถ้าพูดตรง-ๆ-บุญ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ขนาดเกิดมาเป็นคน บุญพามา
    ยังทุกข์ขนาดนี้ ถ้าไม่มีบุญ
    ไปเกิดเป็นเปรตเป็นผี
    แล้วมันจะทุกข์ขนาดไหน ???

    -:- หลวงปู่อุทัย สิริธโร -:-
    วัดเขาใหญ่เจริญธรรมญาณสัมปันโน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

    -บุญพาม.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” เวทนา อนิจจา สุขทุกข์เฉยๆ เปรียบเหมือนคลื่นน้ำ
    ธรรมดาว่าคลื่นน้ำนั้นลมพัดมาเป็นคลื่นๆ
    ในห้วยหนองคลองบึงก็ดี ไม่นานมันก็ดับไปเท่านั้น

    อันนี้ฉันใด เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเท่านั้น
    ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนเราเขา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    นั่นแหละให้เห็นเป็นเพียงคลื่นน้ำ

    อย่าได้เห็นว่าเวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เวทนามีเรา เรามีเวทนา
    ไม่ใช่หรอก เป็นสมบัติของธาตุขันธ์ต่างหาก.”

    หลวงปู่จันทา ถาวโร
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ.

    -อนิจจา-สุขทุกข์เฉ.jpg
    ” เวทนา อนิจจา สุขทุกข์เฉยๆ เปรียบเหมือนคลื่นน้ำ
    ธรรมดาว่าคลื่นน้ำนั้นลมพัดมาเป็นคลื่นๆ ในห้วยหนองคลองบึงก็ดี ไม่นานมันก็ดับไปเท่านั้น

    อันนี้ฉันใด เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเท่านั้น
    ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนเราเขา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    นั่นแหละให้เห็นเป็นเพียงคลื่นน้ำ อย่าได้เห็นว่าเวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เวทนามีเรา เรามีเวทนา
    ไม่ใช่หรอก เป็นสมบัติของธาตุขันธ์ต่างหาก.”

    หลวงปู่จันทา ถาวโร
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ.

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร สอนว่า….”ความยึดถือ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทษภัย ผู้ไม่มีปัญญาย่อมเห็นสังขารเป็นตัวเป็นตน และยึดถือไว้ไม่ปล่อยไม่วาง”

    -ธมฺมธโร-สอนว่า.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วัดป่าภูหายหลง บ้านซับสำราญ ต.วังกะทะ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นวัดในปฏิปทาของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    เมื่อประมาณ 60-70 ปีที่แล้ว สภาพภูมิประเทศแถบวัดป่าภูหายหลงแห่งนี้ ซี่งประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 3 แห่งคือ หมู่บ้านซับสำราญ หมู่บ้านเขากอย และหมู่บ้านเพิ่มสมบัติ มีลักษณะเป็นเทือกเขาและป่าทึบ การคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง ทำให้โอกาสในการทำบุญของชาวบ้านลดน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากวัดที่มีอยู่ในละแวกนั้นก็อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งห่างไกลกันมาก นานๆครั้งจึงจะมีพระธุดงค์ที่แสวงหาความวิเวกมาโปรดชาวบ้านพอให้ได้ปิติในผลบุญบ้าง

    ต่อมาได้มีพระรูปหนึ่งเดินธุดงค์ผ่านมา ชื่อ พระอาจารย์หลง (ไม่ทราบฉายา) ชาวบ้านเกิดความศรัทธายิ่งและอยากให้ท่านเป็นหลักของจิตใจ จึงได้อาราธนาพระอาจารย์หลงให้ท่านจำพรรษาที่ภูเขากอย (บางคนก็เรียกว่าภูเขาหลงเนื่องจากเป็นชื่อที่ปรากฏในแผนที่ทหาร) โดยชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสนาสนะเป็นที่พักสงฆ์ และทำทางขี้นลงเขาให้พระภิกษุเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดภูเขากอย เมื่อปี พ.ศ.2482

    ชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านได้ผลัดเปลี่ยนเวียนกันขึ้นมาดูแลวัดและอุปัฏฐากพระภิกษุสงฆ์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การพัฒนาก็มีมากขึ้นตามไปด้วยทั้งการพัฒนาวัดและการพัฒนาทางด้านจิตใจของชาวบ้านเนื่องจากพากันขึ้นมาบำเพ็ญบุญปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นด้วย

    เมื่อประมาณปี พ.ศ.2506 นิคมสร้างตนเองลำตะคอง กรมประชาสงเคราะห์ได้เข้ามาจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนเพื่อทำการเกษตร แต่เนื่องจากวัดภูเขากอยได้ตั้งขึ้นมาก่อนและด้วยพื้นที่ของภูเขามีความลาดชันสูง ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทางนิคมสร้างตนเองจึงได้เว้นพื้นที่ของภูเขากอยทั้งหมดให้กับทางวัดได้ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ ดูแลรักษา และพัฒนาให้เกิดสาธารณะประโยชน์กับ 3 หมู่บ้าน

    ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม) ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งวัดป่าภูจ้อก้อ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ได้มีโอกาสมาพำนักที่วัดแห่งนี้ ซึ่งสภาพตอนนั้นเป็นทุ่งหญ้าคา มีต้นไม้เล็กๆ ขึ้นประปราย เสนาสนะมีเพียงกุฏิและศาลาหลังเล็กๆ ไม่มีพระประจำวัดนานแล้ว ชาวบ้านนำโดยผู้ใหญ่ประหัส ทองจันเอก จึงได้อาราธนาพระอาจารย์ประพันธ์ให้เป็นหลักศาสนาและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน

    พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล จึงได้ตั้งชื่อวัดขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลว่า วัดป่าภูหายหลง อันมีความหมายว่า เป็นดินแดนแห่งความหลุดพ้นจากความหลงทั้งปวง นั่นหมายถึงพุทธบริษัท 4 ที่มาปฏิบัติธรรมจะมองโลกตามความเป็นจริง ไม่หลงมัวเมาอยู่ในกิเลสตัณหา โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) โมหะ (หลง) หลุดพ้นจากความทุกข์ ความไม่เที่ยง และความไม่มีตัวตน (ความหลงในอัตตา) ก้าวข้ามล่วงพ้นทะเลหลง มุ่งตรงสู่พระนิพพานต่อไป

    -บ้านซับส.jpg
    1514517606_547_วัดป่าภูหายหลง-บ้านซับส.jpg
    1514517607_781_วัดป่าภูหายหลง-บ้านซับส.jpg
    1514517607_869_วัดป่าภูหายหลง-บ้านซับส.jpg
    1514517608_792_วัดป่าภูหายหลง-บ้านซับส.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    29 ธันวาคม 2560 อายุวัฒนมงคล 100 ปี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร และกรรมการมหาเถรสมาคม พระผู้มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ณ บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลสำเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม

    นับเป็นบุญของลูกหลานที่ได้ชื่นชมบารมี สาธุๆๆ

    29-ธันวาคม-2560-อายุวัฒนมงคล-100-ป.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    สวดมนต์ข้ามปีดีอย่างไร

    สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระอาจารย์มนู ตอนเช้าเที่ยวบิณฑบาต พอให้พรเสร็จ ท่านได้สอนให้ชาวบ้านกล่าวสาธุพร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่าน(พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบน เหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่างั้น

    วันหนึ่ง ท่าน(พระอาจารย์มั่น)นั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตรกูฏ มาถามท่านว่า

    “เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน”

    ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ้านตอนถวายทานนั่นเอง

    พอรับทราบแล้วพวกเทพก็กล่าวว่า “เขาก็สาธุการด้วย” แล้วทำประทักษิณเวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น

    ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได้ความว่า

    พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า เย็น หรือชาวพุทธทุกคน

    สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล

    สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล

    สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล

    สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล

    แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล

    นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ู่รัก_คู่บารมี
    “พระนางพิมพาและพระโพธิสัตว์นั้น ทรงเกิดมาเป็นคู่รักและเป็นคู่ครองกันมานับอเนกอนันต์ชาติ ผ่านความสุขและทุกข์ภัยของสังสารวัฏฏ์มาด้วยกันมากมายนับชาติไม่ถ้วน มีพบมีพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา แต่เมื่อใดที่ได้เกิดมาร่วมกัน ก็ส่งเสริมกันในการสร้างสมบุญบารมีโดยไม่ย่อท้อด้วยจิตที่เสมอกัน มีความผูกพัน ไม่โกรธไม่เคือง ไม่มีแม้เพียงสายตาที่ทอดดูกันด้วยความไม่พอใจ ทั้งสองได้เป็นคู่ครองกันมาจนถึงชาติอันเป็นที่สุด ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และพระนางพิมพาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    นับว่าทั้งสองพระองค์เป็น คู่บารมี กันอย่างแท้จริง

    เหตุชักนำให้หญิงชายมีใจรักกัน..

    ก่อนที่หญิงชายจะมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ร่วมกัน เป็นคู่บุญบารมีกันได้นั้น ต้องผ่านความรู้สึกและความผูกพันด้วยความรักกันมาก่อน
    แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดเล่า ..

    บางคนบางคู่ เห็นหน้ากันเพียงครั้งเดียวก็หลงรักกัน
    บางคนบางคู่ รู้จักศึกษานิสัยใจคอกันพอสมควร จึงเกิดความรัก
    บางคนบางคู่ ได้เกื้อหนุนจุนเจือกัน นานไปก็เกิดเป็นความรัก
    บางคนบางคู่ สนิทสนมกลมเกลียวเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็กแต่น้อย แล้วจึงค่อยแปรเปลี่ยน เป็นความรักเมื่อโตเป็นหนุ่มเป็นสาว
    บางคนบางคู่ ได้สมหวังในความรัก ขณะที่บางคู่กลับต้องเลิกรา
    บางคน ได้แต่หลงรักเขาข้างเดียว แต่เขาไม่เคยมีใจรักตอบ
    บางคน เขามาชอบ พยายามทอดสะพานให้เรา แต่กลับไม่สนใจ..
    ขณะที่บางคน ทั้งชีวิตกลับเงียบเหงา ไม่เคยมีลมรักพัดผ่านมาให้ชื่นใจเลย แม้แต่เพียงครั้งเดียว
    ดูแล้วความรักของหญิงชายนี้ช่างวุ่นวายนัก จนน่าสงสัยว่ามีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายมารักกัน หรือมีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายนั้นไม่รักกัน
    มีผู้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าเรื่องความรักของหญิงชาย ปรากฎในสาเกตชาดกที่ ๗ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉยๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใส”

    พระพุทธองค์จึงทรงแสดงเหตุที่ทำให้หญิงชายรู้สึกรักกันไว้ ดังนี้
    “ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑ ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ เหมือนดอกอุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปือกตม ฉะนั้น”

    ในพระอรรถกถาพระไตรปิฎกขยายความว่า ความรักของหญิงชายนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุสองประการ คือ
    ๑. การได้เคยอยู่ร่วมกันมาในกาลก่อน เคยเป็นมารดาบิดา ธิดาบุตร พี่น้องชาย พี่น้องหญิง สามีภรรยา หรือเคยเป็นมิตรสหายกัน เคยอยู่ร่วมเคียงกันมา ความรักความผูกพันนั้นย่อมไม่ละ คงติดตามไปแม้ในภพอื่น
    ๒. ความเกื้อกูลช่วยเหลือกันในชาติปัจจุบัน
    ความรักย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการนี้

    สารพัดคู่

    หญิงชายที่รักกัน และมีความสัมพันธ์กัน เรียกว่าเป็นคู่กัน ลักษณะการเป็นคู่ของหญิงชายนั้นมีได้หลายแบบ คือ
    คู่รัก ได้แก่คู่หญิงชายที่มีใจรักสมัครสมาน ปฏิบัติต่อกันในฐานะคู่รัก แต่ยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากัน
    คู่ครอง คือ หญิงชายที่ได้ตกลงอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันในชาติภพปัจจุบัน
    เนื้อคู่ คือ หญิงชายที่เคยเป็นคู่ครองกันมาในอดีตชาติ แต่ในชาติภพปัจจุบันอาจเป็นหรือไม่ได้เป็นคู่ครองกันก็ได้
    คู่แท้ คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่ร่วมกันในอดีตมามากกว่าคนอื่นๆ หญิงชายแต่ละคนอาจมีคู่แท้ได้หลายคน และเช่นเดียวกับเนื้อคู่ คือ คู่แท้อาจจะไม่ได้เป็นคู่ครองกันในชาติปัจจุบันก็ได้ หากทั้งสองฝ่ายไม่ได้มาเกิดร่วมกัน หรือทั้งสองฝ่ายมีวิบากจากถูกอกุศลกรรมมาตัดรอน
    คู่เวรคู่กรรม คือ หญิงชายที่ได้เป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเหตุที่ทำให้ต้องมาครองคู่กันนั้นเกิดจากเคยทำอกุศลกรรมร่วมกันไว้ในอดีต จึงต้องมารับวิบากกรรมร่วมกัน หรือเคยอาฆาตพยาบาทกันมาก่อนในอดีต จึงต้องมาอยู่ร่วมกันเพื่อแก้แค้นกันตามแรงพยาบาทนั้น คู่ประเภทนี้มักจะมีเหตุให้มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ขัดอกขัดใจกัน อยู่ด้วยกันด้วยความทุกข์และเดือดร้อน หาความสุขไม่ได้
    คู่บารมี คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่เป็นคู่ครองกันมากมากกว่าคู่อื่น และมีความตั้งใจที่จะเกื้อหนุนเป็นคู่ครองกันไป จนกว่าคู่ของตนจะได้สำเร็จในธรรมที่ปรารถนา ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังเช่นคู่ของพระโพธิสัตว์กับพระนางพิมพา

    การปฏิตนเพื่อให้เป็นคู่ครองที่มีความสุข

    หญิงและชายที่รักกัน คงปรารถนาที่จะให้คนรักของตนเป็นเนื้อคู่ที่เคยอยู่ร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน และคงอยากให้ความรักของตนมีแต่ความสุขตลอดไป แต่ความปรารถนาเช่นนี้ใช่ว่าจะสำเร็จสมความปรารถนาในทุกคู่รัก เพราะบางคู่อาจมีการพลัดพราก ความรักจืดจาง จากหวานกลายเป็นขม บางคู่แม้จะยังรักกัน แต่การทำมาหากินกลับฝืดเคือง ชีวิตมีแต่อุปสรรค เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่เกิดเพราะความรัก เป็นวิบากที่เกิดจากอกุศลกรรมเก่าทั้งสิ้น
    หากหญิงและชายปรารถนาที่จะมีความรักและชีวิตที่ครอบครัวที่เป็นสุข จะต้องเป็นผู้ไม่สร้างอกุศลกรรม ดังนี้
    ๑. มีความมั่นคงในคู่ครองของตน ไม่เจ้าชู้หลายใจ ไม่ทำให้คู่ของตนผิดหวังชอกช้ำใจ โดยเฉพาะต้องมีสติมั่นคงเมื่อได้มีโอกาสได้พบกับเนื้อคู่คนอื่นๆ ที่อาจผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งการได้เคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอาจทำให้จิตใจหวั่นไหวได้
    ๒. ไม่เป็นเหตุให้คู่ครองเขาต้องแตกแยกด้วยความอิจฉา ริษยา
    ๓. ไม่ล่วงศีลข้อ ๓
    ๔. ไม่ปรามาสพระอรหันต์ ดังหลักฐานปรากฎในพระไตรปิฎกว่าคนที่ปรามาสพระอรหันต์หญิงมักได้รับเศษกรรมในเรื่องของคู่ครอง

    สัญญานคู่แท้

    เนื่องจากคู่แท้ คือ คนที่เป็นเนื้อคู่กันมานานแสนนาน ความรักความผูกพันข้ามภพชาติจึงมีมากเหนือคู่แบบอื่น และอาจมีอธิษฐานร่วมกันมาแล้วในอดีตชาติ จึงพอจะสังเกตได้ว่าใครเป็นคู่แท้คู่บารมี
    ลักษณะอาการที่แสดงเมื่อคู่บารมีมาพบกัน เช่น
    เมื่อแรกพบก็รู้สึกคุ้นเคย อาจจำกันได้ อาจจะไม่รู้สึกว่ารักตั้งแต่แรกพบ แต่มีรู้สึกว่าผูกพันกันมากกว่า
    ไม่ว่าทำสิ่งใดก็มักคล้อยตามกัน มีความคิดลงรอยกันมากกว่าปกติ
    แม้อยู่ห่างไกลกัน ต่างจังหวัด ต่างบ้านต่างเมือง ก็มีเหตุชักนำให้ได้มาพบกันแบบแปลกๆ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยเหตุบังเอิญ หรือแม้แต่มีผู้ใหญ่จัดสรรให้ได้พบกันก็มี
    หากมีกรรมพลัดพรากเป็นเหตุให้ทั้งคู่ยังไม่ได้พบกัน อีกฝ่ายจะมีความรู้สึกเหมือนรอคอยใครสักคนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร แม้มีหญิงชายมากมายผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ไม่ได้มีจิตคิดผูกพันกับใครอย่างจริงจัง อาจมีบ้างที่มีรักมีสัมพันธ์กับใครไปก่อน แต่มักมีเหตุให้เลิกราหย่าร้างกันไปด้วยจิตใจที่รอคอยใครสักคนที่เป็นคู่แท้ของตน
    และหากได้พบกับคู่แท้ของตนแล้ว แต่มีวิบากจากอกุศลกรรมอันเป็นกรรมพลัดพรากมาตัดรอน เป็นเหตุให้ต้องจากกันในภายหลัง แม้จะจากกันไปนานแสนนานนับสิบๆ ปี ก็ไม่อาจลืมกันได้

    การตั้งความปรารถนาจะพบกันในชาติภพต่อไป

    หญิงชายแต่ละคนนั้นต่างผ่านทุกข์ภัยของสังสารวัฏฏ์มานานแสนนาน ต่างผ่านการครองคู่มานับครั้งไม่ถ้วน แต่ละคนจึงมีเนื้อคู่มากมาย เป็นแสนเป็นล้านคน บางคนเป็นคู่กันแล้วก็มีความสุข อยากพบเจอและได้อยู่เป็นคู่กันอีกในชาติภพต่อไป แต่บางคนก็เบื่อหน่ายไม่ถูกใจคู่ของตน ไม่ปรารถนาจะกลับมาพบเจอกันอีก

    เหตุที่จะทำให้คู่หญิงชายมีโอกาสได้อยู่ร่วมกันในชาติภพต่อไปนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุปัจจัยไว้ในสมชีวิสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ดังนี้

    “ดูกร คฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ

    ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก”

    ดังนั้น เมื่อหญิงชายปรารถนาจะได้พบกัน เป็นคู่ครองกันอีกในชาติภพต่อๆ ไป หญิงชายทั้งสองนั้นต้องปฏิบัติตามพุทธพจน์ และมีการตั้งจิตปรารถนา ดังนี้

    ๑. รักษาศีลให้เสมอกัน
    บุคคลที่มีศีลเสมอกันย่อมอยู่ร่วมกันได้ในปัจจุบัน เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็สามารถไปเสวยกรรมดีร่วมกัน แต่หากฝ่ายหนึ่งทรงศีล แต่อีกฝ่ายทุศีล ฝ่ายหนึ่งย่อมไปสู่สุคติภูมิ ส่วนอีกฝ่ายต้องไปสู่อบายภูมิ โอกาสที่จะได้กลับมาพบกันนั้นยากยิ่งนัก

    ๒. ให้ทานและยินดีในการบริจาคเสมอกัน
    หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดให้ทานและบริจาค แต่อีกฝ่ายไม่ชอบใจ ก็จะเกิดความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกัน นำไปสู่ความบาดหมาง และเอาใจออกห่างกันในที่สุด

    ๓. ทำปัญญาให้เสมอกัน
    การทำปัญญาให้เสมอกัน มีการปฏิบัติสมาธิภาวนา จะทำให้ทั้งสองมีความเข้าใจในโลกธรรมเสมอกัน มีความเข้าใจในสุขและทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน และยอมรับกันได้

    ๔. ตั้งจิตอธิษฐาน
    อธิษฐานนั้นมีผล ทั้งอธิษฐานที่เป็นกุศลและอกุศล การอธิษฐานเป็นเหมือนการตั้งหางเสือเรือ ทำให้เรือมุ่งหน้าสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ ในการครองคู่ก็เช่นกัน อธิษฐานจะเป็นตัวชักนำให้หญิงชายได้กลับมาพบกัน และได้ครองคู่กันได้ในที่สุด ดังเช่น อธิษฐานของสุมิตตาพราหมณี ซึ่งอธิษฐานเป็นคู่บารมีให้พระโพธิสัตว์ จากนั้นมาอีกหลายชาติ ทั้งสองก็ต้องใช้เวลาปรับศีล ทาน และปัญญา ให้มาเสมอกัน และได้เป็นคู่บารมีกันสมคำอธิษฐานนั้น

    การปรารถนาเป็นคู่บารมี

    หญิงชายที่ปรารถนาเป็นเนื้อคู่กันตลอดไปนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงร่วมกันปฏิบัติตนให้มี ศีล ทาน และปัญญา ให้เสมอกัน และมีอธิษฐานร่วมกันเป็นหลักชัย

    แต่การเป็นคู่บารมีนั้นหมายถึงฝ่ายหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ มีความปรารถนาเอกอุในการบำเพ็ญพุทธการกธรรมเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาสร้างสมบารมียาวนานอย่างเร็วสุดถึง ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนกัป และอย่างช้าต้องเนินนานถึง ๘๐ อสงไขยกับเศษแสนกัป ซึ่งเป็นกาลเวลาที่ยาวนานมาก
    แต่การสร้างสมบารมีของบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น ใช้เวลาประมาณ ๑ แสนกัป ก็มีบุญบารมีมากพอที่จะบรรลุธรรม และหลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์นี้ไปได้ การผูกพันเป็นคู่บารมีจึงเป็นการผูกมัดตนเองไม่ให้มีโอกาสได้บรรลุธรรม แม้จะได้มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเป็นแสนเป็นล้านองค์
    นอกจากนี้ การเป็นคู่บารมียังต้องพบกับความทุกข์ยากนานับประการ ดังเช่นที่พระนางพิมพาได้ประสบตลอดเวลายาวนานถึง ๔ อสงไขยกับเศษแสนกัป
    ดังนั้นการจะอธิษฐานติดตามเป็นคู่บารมีพระโพธิสัตว์สักองค์หนึ่ง จึงควรไตร่ตรองให้ดีว่าไม่ใช่อธิษฐานด้วยเหตุเพราะความรักและตัณหา แต่ต้องประกอบไปด้วยความรักและความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระโพธิสัตว์องค์นั้น นอกจากนี้ยังต้องมีน้ำใจสงสารและอยากช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นกองทุกข์ และมีกำลังใจเข้มแข็งเท่าเทียมกับพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งเช่นกัน

    ที่มา นางแก้วคู่บารมี
    …..เรียบเรียง โดย อังคาร….

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม

    ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    _คู่บารมี.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…กูเป็นมาหมดแล้ว ขาดสองอย่างยังไม่ได้เป็น” หลวงตาอ๋อยบอก พร้อมกับชูสองนิ้ว “พระพุทธเจ้า กับ ยมบาล” ท่านพูดต่อ “เที่ยวนี้กูจะไปเป็นยมบาล” ท่านบอกว่า “พวกมึงโชคดีเป็นลูกศิษย์หลวงตาม้า พวกมึงทำตัวให้ดี ถ้าลงไปละก็มีง โทษเพิ่มอีกเป็นสิบเท่า..” – ท่านพูดให้พวกเราฟังเมื่อครั้งหลวงตาพาพวกเราไปกราบท่านที่สำนักสมุทรสงคราม

    หลวงตาอ๋อย

    ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ขาดสอง.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…จะถามไปทำไม
    เรื่องของคนอื่น
    ครูบาอาจารย์รูปนั้นองค์นั้น ที่นั้น
    ท่านจะอยู่หรือจะไปก็เป็นเรื่องของท่าน
    ถามตนเอง ถามหาตนเองมิดีกว่าหรือ
    ท่านรู้อย่างไร
    ท่านดีอย่างไร
    มีความรู้ความสามารถในขั้นใดชั้นใด
    ก็ถวายให้เป็นเรื่องของท่านไป…”

    หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

    ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “ หลวงพ่อว่าโยมนี่มีบุญนะ มีความทุกข์แล้วมาเจอหลวงพ่อ ส่วนใหญ่คนเราจะเครียดเรื่องเศรษฐกิจ เรามีสตางค์เยอะก็ตายอยู่อย่างเก่านั่นแหละ เป็นคนเก่งคนฉลาดต้องฝึกสงสารคนอื่น มัวแต่ทำงานเอาแต่เงินเอาแต่สตางค์มาก มันเครียดนะ คนเราถ้าทะเลาะกันก็มีภพภูมิเท่ากับหมานะ คนเรามันเน้นบ้านหรู รถหรู ความสุขแบบนี้มันนิดเดียว เดี๋ยวมันก็เสื่อมไป หายไป ก็ทุกข์อีก ความสุขทางจิตใจที่มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม มีศีล สมาธิ ปัญญา มีความสุขที่แท้จริง เราทุกคนมีเครื่องประดับ มีผม เสื้อผ้า ถ้าลอกหนังออกก็ไม่สวยไม่งาม การพิจารณาอย่างนี้ทำให้เกิดปัญญา เราจะได้ฝึกปล่อยวาง ”

    -:- หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม -:-
    วัดป่าทรัพย์ทวี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...