ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    หลักการปฏิบัติภาวนา หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    ตามรู้จิต ตามรู้ความคิด..

    ท่านทั้งหลายได้ปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์แล้ว และได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ก็เป็นการชำระกายวาจาของตนเองให้บริสุทธิ์ เป็นการปรับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์

    ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ตรงที่มีศีล ๕ ข้อ เมื่อทุกท่านได้สมาทานศีล ๕ ข้อแล้ว และไม่ได้ละเมิดล่วงเกินข้อใดข้อหนึ่ง ท่านก็เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ จึงขอให้เตรียมตัวให้พร้อมที่จะนั่งสมาธิภาวนา ท่านจะนั่งท่าไหน อย่างไร ก็สุดแต่ที่ท่านถนัดที่สุด นั่งในท่าที่สบาย อย่าเกร็งร่างกายหรือกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง นั่งให้สบาย หายใจให้สบาย

    บัดนี้ท่านทั้งหลายได้เตรียมพร้อมแล้ว ขอได้โปรดประนมมือขึ้น น้อมนึกในใจว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิเพื่อปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้จิตของข้าพเจ้าแน่วแน่เป็นสมาธิมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมตามความเป็นจริง นึกในใจ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ น้อมจิตน้อมใจเชื่อมั่นลงไปว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ

    อาการที่พระพุทธเจ้ามีอยู่ที่ใจคือใจรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี อาการที่มีธรรมอยู่ในใจคือการทรงไว้ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้นตลอดเวลา อาการที่พระสงฆ์อยู่ในใจคือความมีสติกำหนดจิตนึกบริกรรมภาวนาพุทโธไว้ตลอดเวลา ไม่ให้พรากจากกัน แล้วเอามือวางลงบนตัก กำหนดรู้ลงที่จิต นึก พุท พร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออกก็ได้ ถ้านึกพุทโธพร้อมลมเข้าลมออก ช่วงหายใจยังห่าง จิตสามารถส่งกระแสออกไปทางอื่นได้ ให้ปล่อยความรู้ลมหายใจเสีย นึกพุทโธเร็วๆเข้า โดยนึกพุทโธด้วยความเบาใจ

    อย่าไปข่มความรู้สึก อย่าไปบังคับจิตให้สงบ นึกพุทโธๆๆเอาไว้ อย่าไปนึกว่าเมื่อใดจิตจะสงบ เมื่อใดจิตจะรู้ เมื่อใดจิตจะสว่าง ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว

    นึกพุทโธๆๆพุทโธก็อยู่กับจิต จิตก็อยู่กับพุทโธ เมื่อมีการตั้งใจนึกพุทโธ สติสัมปชัญญะจะมาเอง หน้าที่เพียงนึกพุทโธๆๆไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร จิตจะสงบหรือไม่สงบไม่สำคัญ ให้เรานึกพุทโธไว้โดยไม่ขาดระยะเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งจิตมันคล่องตัวต่อการนึกพุทโธ ในที่สุดจิตจะนึกพุทโธๆๆเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อจิตนึกพุทโธเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แสดงว่าการภาวนาของเรากำลังจะได้ผลแล้ว
    ในเมื่อจิตนึกอยู่ที่พุทโธๆๆพุทโธก็เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติให้มากๆ กระทำให้มากๆ ในที่สุดจิตจะเกิดความสงบ มีอาการหลายๆอย่างที่จะพึงเกิดขึ้น ในบางครั้งจะรู้สึกว่าง่วงนอน มีอาการเคลิ้มๆเหมือนจะหลับ ในตอนนี้ผู้ภาวนาเกิดกลัวว่าจะนอนหลับ จึงไปฝืนความรู้สึกเช่นนั้น

    เมื่อฝืนแล้วความรู้สึกก็คืนมาสู่สภาวะธรรมดา แล้วเราก็บริกรรมภาวนากันใหม่ ถ้าหากผู้ใดภาวนาแล้วมีอาการเคลิ้มๆลงไปเหมือนกับจะง่วงนอน ขอให้ปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น อย่าไปฝืน ถ้าจะเกิดความหลับขึ้นมา ก็ปล่อยให้หลับอยู่ในขณะที่นั่งอยู่นั่นแหละ เพราะจิตที่จะก้าวลงสู่สมาธิในเบื้องต้นมีอาการคล้ายกับจะหลับ

    สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆเมื่อภาวนามากเข้า จิตจะมีอาการเคลิ้มๆลงไป ถ้าเราปล่อยลงไปประคองให้มันเป็นไปตามเรื่องตามราวของมัน ในที่สุดจิตของเราจะเกิดอาการหลับ บางทีมีอาการวูบลงไป บางทีก็ค่อยเคลิ้มๆไป เกิดอาการหลับลงไปจริงๆ

    เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นจิตจะเกิดความสว่างขึ้น พอจิตเกิดความสว่าง จิตจะเริ่มบรรลุถึงความเป็น พุทธะ ผู้รู้ พุทธะ ผู้ตื่น พุทธะ ผู้เบิกบาน ในตอนนี้คำบริกรรมภาวนาจะหายไป ยังเหลือแต่จิตผู้รู้ปรากฏสว่างอยู่เท่านั้น

    ในระยะแรกๆ เราจะรู้สึกว่าความสว่างพุ่งออกมาทางสายตา เมื่อกระแสจิตส่งออกไปข้างนอกตามแสงสว่าง จะเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา เมื่อเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นให้ผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว อย่าไปเอะใจหรือตื่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ให้กำหนดว่านิมิตนี้เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ และนิมิตนี้เกิดขึ้นตอนที่จิตสงบเป็นสมาธิ แล้วประคองจิตให้อยู่ในสภาพที่สงบ นิ่ง สว่างอยู่ตามเดิม

    ในตอนนี้สำหรับผู้ภาวนาใหม่ สติสัมปชัญญะยังตามเหตุการณ์ไม่ทัน ในเมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาแล้วมักจะหลง หลงติด บางทีก็เกิดความดีใจ บางทีก็เกิดความกลัว และเกิดความเอะใจขึ้นมา สมาธิถอน นิมิตนั้นหายไป แต่ถ้าสมาธิไม่ถอน จิตไปอยู่ที่นิมิตนั้น

    ถ้านิมิตนั้นแสดงความเคลื่อนไหว เช่น เดินไปวิ่งไป จิตของผู้ภาวนาจะละฐานที่ตั้งเดิม ละแม้กระทั่งตัวเอง จิตจะตามนิมิตนั้นไป คิดว่ามีตัวมีตน เดินตามเขาไป เขาพาไปขึ้นเขาลงห้วยหรือไปที่ไหนก็ตามเขาไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าผู้โชคดีก็ไปเห็นเทวดา เทวดาก็พาไปเที่ยวสวรรค์ ถ้าหากว่าผู้โชคไม่ดีจะไปเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกก็พาไปเที่ยวนรก อันนี้เพราะผู้ภาวนามีสติยังอ่อน ยังควบคุมจิตของตนเองให้รู้อยู่ภายในไม่ได้ ในเมื่อเห็นนิมิตต่างๆอย่างนั้น อย่าไปสำคัญว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นของดีวิเศษ แท้ที่จริงเป็นแต่เพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น

    นักภาวนาที่ฉลาดจะกำหนดรู้อยู่ที่จิต ถึงความรู้สึกว่านิมิตสักแต่ว่านิมิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แล้วก็ประคองจิตให้อยู่ในสภาวะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สมาธิจิตจะสงบนิ่งอยู่ นิมิตเหล่านั้นจะทรงตัวอยู่ให้เราได้พิจารณาได้นาน

    บางทีนิมิตนั้นอาจจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ทำให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายใน แต่แท้ที่จริงนิมิตนั้นแม้จะเป็นสิ่งที่เห็นในสมาธิก็ตาม เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เหมือนมองเห็นรูปด้วยตาภายนอกเมื่อเรายังไม่ได้กำหนดจิตทำสมาธิ จะมีค่าเหนือกว่ากันหน่อยก็ตรงที่อันหนึ่งเห็นด้วยตาธรรมดา แต่อีกอันหนึ่งเห็นด้วยอำนาจสมาธิ

    แต่ถ้าไปหลงติดนิมิตนั้นก็เป็นผลเสียสำหรับผู้ปฏิบัติ บางครั้งไปเข้าใจว่านิมิตนั้นเป็นวิญญาณมาจากโลกอื่น เข้ามาเพื่อจะขอแบ่งส่วนบุญ และเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น เราก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ในเมื่อคิดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ความคิดทำให้สมาธิถอน ในเมื่อสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว นิมิตนั้นก็หายไปหมด วิญญาณเหล่านั้นเลยไม่ได้รับบุญกุศลที่เราให้

    ขอทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า นิมิตที่เกิดขึ้นภายในสมาธินั้น ให้ทำความเข้าใจเพียงแต่ว่าเป็นมโนภาพเอาไว้ก่อน อย่ารีบไปตัดสินว่าเป็นของจริงของแท้ ให้นึกว่าเป็นมโนภาพที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเอง ให้ทำความรู้สึกไว้อย่างนี้ ท่านจะเกิดความเฉลียวฉลาด

    สมมติว่าเมื่อภาวนาแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ มีความสุข และมีความละเอียดสงบนิ่งลงไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ และผู้ภาวนาสามารถที่จะฝึกฝนอบรมกาย ทำวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ให้คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ ฝึกฝนจนมีความคล่องตัว นึกอยากจะเข้าฌานเมื่อใดก็เข้าได้ เมื่อเข้าฌานไปแล้วจิตจะรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว หรือในจุดๆเดียว ความรู้อะไรต่างๆไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น ถึงแม้ว่าความรู้อะไรไม่เกิดขึ้น

    ผู้ภาวนาก็ไม่ควรเสียอกเสียใจและไม่ควรกลัวว่าจิตของตนจะไปติดสมถะ ความจริง เมื่อจิตนิ่งสงบลงไปสู่ความเป็นสมถะในขั้นอัปปนาสมาธิ อยู่ในขั้นฌานที่ ๔ โดยธรรมชาติของจิตที่อยู่ในฌานขั้นนี้ จะไม่มีความรู้ความเห็นอันใดปรากฏขึ้น นอกจากจิตจะไปรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว คือรู้เฉพาะในจิตอันเดียวเท่านั้น ประกอบพร้อมด้วยความเบิกบานแจ่มใส สว่างไสวอยู่ภายในจิต จิตจะไม่มีความรู้เกิดขึ้น

    ถึงกระนั้นก็ตาม ถ้าผู้ภาวนาสามารถทำจิตให้เป็นไปดังเช่นที่กล่าวนี้บ่อยๆครั้งเข้า ถ้าต้องการให้จิตของท่านก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต้องไปหยิบยกเอาอะไรมาเป็นเครื่องพิจารณา เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิขั้นฌานแล้วจะมีความรู้สึกสัมผัสรู้ว่ามีกาย ในเมื่อกายมีปรากฏขึ้น จิตจะมีความคิด เมื่อเกิดความคิดขึ้น ผู้ภาวนารีบกำหนดรู้ ตามความคิดนั้นไป

    ในตอนนี้จิตของเราจะคิดเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องกุศล เรื่องอกุศล เรื่องโลก เรื่องธรรม ปล่อยให้เขาคิดไปตามลำพังของเขา อย่าไปห้าม หน้าที่ของเราเพียงทำสติตามรู้ไปโดยถือเอาความคิดเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติอีกครั้งหนึ่ง ในเมื่อเราหมั่นอบรมทำสติตามรู้ความคิดหลังถอนจากสมาธิแล้ว ทำจนคล่องแคล่ว ทำจนชำนิชำนาญ จนสามารถทำสติตามทันความคิด เมื่อสติตามทันความคิดขึ้นมาเมื่อใด

    จิตก็จะสงบเป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข แล้วก็จะสงบละเอียดลงไปเป็นเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาในเบื้องต้น ข้อที่ควรสังเกตมีอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อจิตถอนออกจากอัปปนาสมาธิ พอสัมผัสรู้ว่ามีกาย จิตจะมีความรู้ขึ้นมา เมื่อเราทำสติตามรู้ความคิดนั้นไป สติจะตามความคิดและตามจ้องดูกันไปตลอดเวลา จิตเมื่อยิ่งคิดมากก็ยิ่งมีความสบาย เพราะจิตคิดด้วยพลังสมาธิที่ผ่านมาแล้ว แล้วเมื่อเราทำสติตามรู้ ตามทันความคิดนั้น

    ความคิดกลายเป็นตัวปัญญา ปัญญาคือความรู้ที่เกิดขึ้น ธรรมชาติของความรู้สึกนึกคิดย่อมมีเกิด มีดับ เมื่อผู้ภาวนาทำสติตามรู้ความคิดอยู่อย่างนั้น หนักๆเข้าจิตก็จะรู้ความเกิด ความดับ ..อะไรเกิด อะไรดับ ก็คือความคิดนั่นเอง จิตเป็นผู้เกิด จิตเป็นผู้ดับ ในเมื่อสติตามรู้ทันความเกิดดับของจิต จิตก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา มีความรู้ มีความสำคัญมั่นหมายในสภาวะที่เกิดดับ-เกิดดับนั้นด้วยอนิจสัญญา
    คำว่าอนิจสัญญาคือความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ในเมื่อจิตรู้สภาวะความไม่เที่ยงที่เกิดดับ จิตก็ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา ดังนั้น ในเมื่อผู้ภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆจิตก็ได้รับผลจากสมาธิ ได้รับความสุขจากสมาธิ หากพอจิตออกจากสมาธิก็รีบลุกออกจากที่นั่ง ถ้าทำอย่างนี้แล้วจิตก็ไปติดอยู่แค่ขั้นสมถะ จากที่เคยทดสอบและทดลองมาแล้ว ควรจะได้ใช้สติกำหนดตามความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากที่จิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว ดังที่กล่าวแล้ว
    การทำสติกำหนดตามรู้ความคิด ผู้ภาวนาจะต้องมีความตั้งใจจดจ้อง เป็นการพิจารณาสภาวธรรมในแง่วิปัสสนากัมมัฏฐาน ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจอย่างนี้ เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข มีเอกัคคตา มีความสงบ จิตไปนิ่ง ว่างวางเฉยอยู่ อย่าไปภูมิอกภูมิใจความเป็นเพียงแค่นั้น เดี๋ยวจิตก็ติดสมถะ ไม่ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนา เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว

    คือเมื่อจิตถอนออกจากฌานมาสัมผัสรู้ว่ามีกาย ก็รีบทำสติตามรู้ความคิดนี้ทันที ความคิดจะเรื่องโลกเรื่องบาป เรื่องบุญอะไร ปล่อยให้เขาคิดไป อย่าไปห้าม ตามรู้ไปจนกว่าสติจะตามทันความคิด แม้ว่ามันจะคิดไม่หยุด ไม่เกิดความสงบอีกก็ตาม แต่ถ้าหากว่าสติตามทันกันไปเรื่อยๆเป็นอันใช้ได้

    ถ้าความคิดที่เป็นจิตฟุ้งซ่าน คือจิตธรรมดาที่เราไม่มีสติ ยิ่งคิดไปยิ่งยุ่งในสมอง คิดไปเท่าไรยิ่งหนักอก คิดไปมากเท่าใดยิ่งวุ่นวาย แต่ถ้าคิดด้วยความมีสติสัมปชัญญะ โดยอาศัยพลังของสมาธิ ยิ่งคิดก็ยิ่งปลอดโปร่ง ยิ่งคิดก็ยิ่งมีความเพลิดเพลิน คิดไปเสวยปีติและความสุขไปอีก อันนี้เป็นลักษณะของจิตที่เดินวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    และมีปัญหาที่จะพึงทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง นักภาวนาทั้งหลาย ในการเริ่มภาวนาในตอนต้นๆนี้ เช่น การบริกรรมภาวนา “พุทโธ” เป็นต้น ทำไปแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จิตสงบลงเป็นสมาธิ มีความสุขสบายเหลือล้น พอทำจิตไปเรื่อยๆ แล้วภายหลังจิตไม่เป็นเช่นนั้น พอกำหนดลงไปนิดหน่อยมันมีแต่ความคิด บางท่านก็เข้าใจว่าภูมิจิตภูมิใจของตัวเองเสื่อมแล้ว เมื่อก่อนนี้ภาวนาจิตสงบ แต่ขณะนี้จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน

    แต่ขอให้สังเกตให้ดี ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ในเมื่อศีลดี สมาธิเกิดขึ้นแล้ว สมาธิก็พลอยดีไปด้วย เรียกว่าสัมมาสมาธิ ในเมื่อสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ เป็นอุบายให้เกิดปัญญา ดังนั้น ผู้ภาวนาซึ่งเมื่อก่อนมีจิตสงบนิ่ง ภายหลังมาทำสมาธิมากๆแล้วไม่เกิด เพียงเป็นสมาธิเพียงนิดหน่อย สงบนิดเดียวเท่านั้น แล้วก็มีแต่ความคิดเกิดขึ้นๆไม่หยุดหย่อน ก็ไปเข้าใจว่าการทำสมาธิของตนเองนั้นเสื่อมแล้ว

    บางท่านก็พยายามบังคับจิตให้หยุดคิด เมื่อเกิดมีการบังคับขึ้นก็เกิดอาการปวดศีรษะ เพราะเป็นการฝืนกฎธรรมชาติที่มันจะเป็นไป เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านพึงสังเกตให้ดี เมื่อทำจิตเป็นสมาธิเมื่อใดก็มีแต่จิตสงบนิ่งเป็นสมถะ มันก็ไม่มีความก้าวหน้า กำหนดจิตพิจารณาลงไปนิดหน่อย จิตสงบ เมื่อสงบแล้วมีความคิด อาการเช่นนี้แสดงว่าจิตกำลังก้าวหน้ากำลังอยากค้นคว้าหาความจริงในความเป็นไปของสภาวธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากจิตฟุ้งซ่าน เป็นเรื่องของปัญญาที่เกิดมาจากสมาธิ เพราะเราไม่เห็นว่าจิตของเรานี้ฝึกไปได้สารพัดอย่าง ไม่มีขอบเขต เพราะจิตของเราไม่ได้คิดเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เราจึงสำคัญว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน แต่แท้ที่จริง การพิจารณาธรรม รู้ธรรม เห็นธรรมนี้ ก็หมายถึงเห็นความคิด รู้ความคิดของตนนั่นเอง คือความมีสติสัมปชัญญะ เมื่อกำหนดจิตลงไปแล้ว เกิดความคิดขึ้นมา คิดไม่หยุด เราก็ทำสติตามรู้ความคิดดังที่กล่าวแล้ว นี่แสดงว่าจิตต้องการก้าวหน้า ต้องการเดินหน้า ต้องการพิจารณาค้นคว้า ผู้ที่ปฏิบัติรู้เท่าไม่ถึงการณ์คิดว่าจิตของตัวเองฟุ้งซ่าน ก็พยายามบังคับจิตของตนเองอยู่อย่างนั้นแหละ บังคับให้มันหยุดคิด

    ในเมื่อบังคับแล้วมันจะไม่คิด ไม่คิดก็กลายเป็นจิตที่โง่ คำว่าสมาธิอบรมปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น อย่าพยายามไปบังคับจิตให้หยุดคิด หน้าที่ของเราคือทำสติตามรู้ความคิดไปทำสติตามรู้ไป ความคิดนั่นแหละคือเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ความคิดเป็นฐานที่ตั้งอันมั่นคงของสติ ตราบใดที่จิตยังมีความคิด สติยังมีความระลึก สิ่งที่เราจะพึงได้จากการภาวนาคือความที่สติมีพลังแก่กล้าขึ้นจนเป็นมหาสติ เป็นสติที่มีฐานที่ตั้งอย่างมั่นคง แล้วกลายเป็นสติพละ เป็นสติที่มีพละกำลังอันเข้มแข็ง

    กลายเป็นสตินทรีย์ สติเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง เมื่อเป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เมื่อสติตัวนี้เพิ่งพลังแก่กล้าขึ้น จึงกลายเป็นสติวินโย จิตของเราจะมีสติเป็นผู้นำ แม้จะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม จิตจะมีความสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อจิตกระทบอารมณ์อันใดขึ้นมา สติตัวนี้จะออกไปรับและพิจารณาให้เกิดรู้เหตุรู้ผลขึ้นมา เมื่อรู้เหตุรู้ผลแล้วจิตมันก็จะปล่อยวางไปเอง

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -หลว.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ส่วนมากหลวงปู่ชอบแนะนำส่งเสริมพระเณรให้ใส่เรื่องธุดงค์กัมมัฏฐานเป็นพิเศษเลย ครั้งหนึ่งพระสานุศิษยมาชุมนุมกันจำนวนมาก ทั้งแก่พรรษาและอ่อนพรรษา หลวงปู่ชี้แนวทางว่าให้พากันไปอยู่ป่าหาทางวิเวก หรืออยู่ตามเขาตามถ้ำเพื่อเร่งความเพียรจะได้พ้นจากความตกต่ำทางจิตบ้าง ยังมีพระรู้หนึ่งพูออกมาพล่อย ๆว่า ผมไม่กล้าไปครับเพราะผมกลัวผีหลอก
    หลวงปู่ตอบเร็วว่า

    “ผีที่ไหนเคยหลอกพระ มีแต่พระนั่นแหละหลอกผีและตั้งกระบวนการหลอกผีเป็นการใหญ่เสียด้วย คิดดูให้ดีนะวัตถุสิ่งของที่ชาวบ้านเขาเอามาบริจาคทำบุญนั้น แทบทั้งหมดล้วนทำเพื่ออุทิศส่งไปให้ผีทั้งนั้น ผีพ่อแม่ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องเขาแล้วพระเราเล่าประพฤติตนเหมาะสมแล้วหรือ มีคุณธรรมอะไรบ้างที่จะส่งผลให้ถึงผีได้ “ระวังอย่ามาเป็นพระหลอกผี”

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล จากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พิธีบรรจุทันตธาตุ-เกสาธาตุ ที่อนุสรณ์สถาน(ที่เกิด)พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ณ อนุสรณ์สถานบ้านก่อ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วันเสาร์ ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑

    -:- กำหนดการ -:-

    วันเสาร์ ที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

    เวลา ๐๗.๐๐ น. พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา พร้อมกันในบริเวณพิธี
    เวลา ๐๗.๓๐ น. พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิกรม(หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) ประธานในพิธี
    -จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย / ไหว้พระ-สมาทานศีล / พระสงฆ์ให้ศีล
    -อาราธนาพระปริตร / พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    -โดยย่อ บท พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
    -พิธีกร หรือ มรรคนายก /กล่าวรายยงาน โดยย่อ พอสังเขป
    -พระเดชพระพระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม)
    -บรรจุ ทันตธาตุ-เกสาธาตุ ลงบนผอบหิน บนพานรองรับ
    -เจ้าหน้าที่ เข้าประจำที่รถเครน เตรียมยกกระเช้าขึ้นสู่ยอดเสาอนุสรณ์สถาน
    -ผู้แทนคณะศิษย์ ฝ่ายพระสงฆ์ จำนวน ๒ รูป ขึ้นบรรจุทันตธาตุ-เกสาธาตุ
    -เจ้าที่ยกกระเช้า ขึ้นสู่ยอดอนุสรณ์สถาน และพระสงฆ์บรรจุ เป็นที่เรียบร้อย
    -พระสงฆ์ ที่อยู่รอบอนุสรณ์สถาน สวดชัยมงคลคาถา (ชะยันโต)
    -ประธานสงฆ์ให้พร / กรวดน้ำ / รับพร
    -เสร็จพิธี

    ***********************

    หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    -เกสาธ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…ไฟราคะ…จากใต้ถุนกุฎี…”

    พอออกพรรษานั้นแล้ว หลวงปู่ขาว อนาลโย ก็ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานไปตามอัธยาศัย ท่านไปพักอยู่หมู่บ้านป่าแห่งหนึ่งในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีกุฏิเล็กเพื่อบำเพ็ญภาวนาอยู่หลังหนึ่ง

    ที่นั่นเคยเป็นที่พักบำเพ็ญของพระธุดงคกรรมฐานมาก่อน ท่านเห็นว่าสงัดดี และห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านจึงเข้าพักบำเพ็ญที่นั่น

    วันหนึ่ง ตอนกลางวันฝนตกหนัก ไม่อาจลงเดินจงกรมได้ หลวงปู่จึงปิดประตูหน้าต่างฝาแถบ (ฝาขัดแตะ) นั่งภาวนาอยู่ในกุฎีนั้น ซึ่งยกพื้นสูงพอประมาณ

    ขณะที่นั่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ ปรากฎเหมือนมีห่อไฟแทงขึ้นมาที่ก้นท่าน ร้อนแปลบ ๆ หยุดไป แล้วก็ร้อนขึ้นมาอีก ท่านจึงย้อนมาพิจารณาดูว่า เป็นอะไรกัน

    พอย้อนจิตมากำหนดจดจ่อ เพื่อเอาเหตุเอาผลกับห่อไฟที่กำลังเผาก้นท่าน ก็ทราบว่า ไฟนี้เป็นไฟราคะตัณหา แสดงขึ้นมาจากใต้ถุนกุฎี มิได้แสดงออกมาจากใจท่านเอง

    หลวงปู่ กำหนดจิตพิจารณาทบทวน ก็ทราบอยู่อย่างนั้นว่าเป็นไฟราคะตัณหาแสดงขึ้นมาจากใต้ถุนกุฎี สำหรับในจิตท่านไม่มีปรากฎว่าจิตเป็นราคะตัณหาแต่อย่างใด

    ขณะที่หลวงปู่กำลังชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการพิจารณาไฟชนิดนั้น ก็ไม่คิดสะดุดใจว่าไฟนั้นมาจากอะไรที่ไหน เป็นเพียงรำพึงอยู่ในใจว่า ไฟราคะนี้มันติดตามเรามาได้อย่างไร เพราะเรามิได้มีความกำหนัดยินดีกับหญิงชายใด ๆ ใจก็เป็นปกติไม่เกิดราคะ การไปบิณฑบาตในหมู่บ้านก็ไปด้วยความสำรวมระวังมีสติอยู่กับตัว ระวังสังเกตทุกแง่ทุกมุม

    บรรดาอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อจิตใจ ก็ไม่เห็นมีเรื่องราคะตัณหาเป็นอารมณ์แต่อย่างใด

    พอเรื่องสงบไม่แสดงอีก หลวงปู่ก็ลืมตาขึ้น จะออกจากการภาวนาหลังฝนหยุดแล้ว ก็พอดีมองเห็นด้านหลังผู้หญิงคนหนึ่ง กำลังเดินออกไปจากใต้ถุนกุฎี

    ทำให้ท่านนำเรื่องไฟที่เผาก้นท่าน ออกพาดพิงกับหญิงที่เพิ่งออกไปจากกุฎีกท่าน แล้วรำพึงว่า

    “หญิงคนนี้คงคิดไม่ดีกับเรา เหตุการณ์จึงได้แสดงขึ้นทำนองนี้ ที่เราเองก็ไม่คาดคิดว่าเป็นไปได้”

    ความจริงผู้หญิงคนนั้นอยู่ในวัยเบญจเพศ ยังไม่แก่อะไรเลย อาจจะเป็นสาวแก่หรือแม่หม้ายมากกว่าหญิงที่มีสามี เธอคงมาเที่ยวเก็บผักหาอยู่หากิน ก็มิอาจทราบได้ ในมือถือตะกร้าใบหนึ่ง
    ขณะมาถึงที่นั่น เกิดฝนตกหนักพอดี เธอเลยรีบเข้าไปหลบฝนใต้ถุนกุฎีหลวงปู่ รอจนกระทั่งฝนหยุดแล้ว ถึงได้ออกจากที่นั่น
    เวลาที่หลวงปู่มองออกไปตามช่องหน้าต่าง ซึ่งเป็นฝาขัดแตะห่าง ๆ จึงมองเห็นหญิงคนนั้นเดินออกไปได้อย่างชัดเจน

    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    คัดมาจากหนังสือ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๔ หน้า ๒๑๔ – ๒๑๖

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -จากใต้ถุนกุฎี.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…คาถาต่างๆ ถ้าเราสวดแล้วหวังว่าจะรวย สวดเพื่อความอยาก มันก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว คาถา…ไม่ว่าจะคาถาอะไรของใครแต่ง ก็ล้วนมาจากพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เราสวดเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า…”

    หลวงตาสมหมาย อตฺตมโน

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ถ้าเราสวดแล.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี บวชชีหมื่นคน ฉลองอายุวัฒนมงคล ครบรอบ 98 ปี พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) ในวันที่ 5 – 8 มกราคม พ.ศ.2561 ณ วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพมหานคร

    การสวดลักขีและบวชชี

    เป็นการสั่งสมบุญบารมีครั้งยิ่งใหญ่ทั้ง 10 ประการ ให้ชีวิตมีความสุขใจ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ให้สดใส ในพิธีครั้งนี้ได้นิมนต์พระเถระ ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาแสดงพระธรรมเทศนาและนั่งแผ่เมตตาจิต จึงขอเชิญผู้ใจบุญทั้งหลายร่วมสวดลักขีเพื่อสะสมบุญบารมี ให้แก่ตนและร่วมตั้งโรงทานเลี้ยงผู้มาบวชชีตามกำลังศรัทธา ย่อมมีนิสงส์และผลบุญมหาศาลดังที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญจนบรรลุผลสำเร็จมาแล้วเทอญ.

    ิดต่อ – สอบถาม
    สำนักงานธรรมบริการวัดธรรมมงคล
    >>> โทร. 02 – 3324145 , 02 – 3111387 , 092 – 4524900

    -บ.jpg
    1515172749_372_ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี-บ.jpg
    1515172750_370_ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี-บ.jpg
    1515172750_741_ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี-บ.jpg
    1515172751_922_ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี-บ.jpg
    1515172752_310_ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี-บ.jpg
    1515172752_741_ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี-บ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “พระพุทธเจ้าปรารถนาให้มนุษย์มีความรักกัน
    จึงชักชวนให้ปฏิบัติศีล ๕
    เพราะการไม่ฆ่าก็เป็นเหตุให้รักกัน
    การไม่ลักขโมยจี้ปล้นฉ้อโกงก็เป็นเหตุให้รักกัน
    การงดเว้นมุสาวาท สุรา
    ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความรักกัน

    เมื่อมนุษย์ต่างมีความรักกันก็มีแต่ความสงบสุข
    ดังนั้นศีล ๕ จึงเป็นคุณธรรม
    ป้องกันไม่ให้มนุษย์เกิดมีการฆ่ากัน”

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” ความโลภมาก ได้เท่าไหร่ไม่พอ
    เที่ยวคดโกงทุจริต รีดไถด้วยเล่ห์กลต่างๆ
    เวลาตายสมบัติปลอมกองมหึมาเท่าภูเขา
    ยังจะตามเผาผลาญเข้าอีกให้ลงนรกขุมไหน
    ใครๆ ไม่อาจมีญาณทราบได้ จึงรีบระวังตัวกลัวบาป
    เดินตามจอมปราชฌ์ ผู้มีปรีชาญาณอันแหลมคมเสียแต่บัดนี้

    ยังมีชีวิตอยู่ก็ดีเป็นสุขใจ เวลาตายไปก็เป็นสุข
    ความดีที่สร้างมาตามสนับสนุน ให้มีความสุขความสำราญบานใจ
    ไม่มีฟืนไฟบาปกรรมตามแผดเผา
    เพราะความเชื่อพระพุทธเจ้าและทำตามศาสนธรรม
    อันเป็นทางราบรื่นดีงาม จัดเป็นคนฉลาดโดยธรรม
    นำตัวไปสุคติคือโลกทิพย์ไม่สงสัย.”

    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ.

    -ได้เท่าไหร่.jpg
    ” ความโลภมาก ได้เท่าไหร่ไม่พอ เที่ยวคดโกงทุจริต รีดไถด้วยเล่ห์กลต่างๆ
    เวลาตายสมบัติปลอมกองมหึมาเท่าภูเขายังจะตามเผาผลาญเข้าอีกให้ลงนรกขุมไหน
    ใครๆ ไม่อาจมีญาณทราบได้ จึงรีบระวังตัวกลัวบาป เดินตามจอมปราชฌ์ ผู้มีปรีชาญาณอันแหลมคมเสียแต่บัดนี้
    ยังมีชีวิตอยู่ก็ดีเป็นสุขใจ เวลาตายไปก็เป็นสุข ความดีที่สร้างมาตามสนับสนุน ให้มีความสุขความสำราญบานใจ
    ไม่มีฟืนไฟบาปกรรมตามแผดเผา เพราะความเชื่อพระพุทธเจ้าและทำตามศาสนธรรม
    อันเป็นทางราบรื่นดีงาม จัดเป็นคนฉลาดโดยธรรม นำตัวไปสุคติคือโลกทิพย์ไม่สงสัย.”

    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ.

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…อบายมุขทุกประเภทมันเป็นเหตุไม่ให้ฉิบหายอยู่ซึ่งหน้า ซึ่งตาดอก มันพอได้แก้แค้นอยู่น่ะ มึงว่ายังไง กูก็ว่าอย่างนั้นแหละ..
    พระบางกลุ่ม บางบุคคล บวชพ้นฆราวาสแล้ว เพื่อพ้นทุกข์ในสงสาร คำสั่งและคำสอนของท่านหนักไปในศีลธรรมแท้ เมื่อท่านเทศน์คำใด วรรคใด ตอนใด ก็ไปผูกเอาเลข ๆ ผา ๆ เสียเวลาทั้งท่านและผู้เข้าไปหา ทั้งสองฝ่ายไร้ประโยชน์ กับทั้งไม่มีสง่าราศีแก่ท่าน และสำนักของท่าน และผู้เข้าไปหาด้วย เหล่านี้แหละเรียกว่า กล่าวตู่พระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหยียบย่ำทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัวและถือเป็นของสนุกอีก มันเป็นปฏิปทาทุกข์ล้วน ๆ แล้วไม่มีสุขมาเจือปนพอที่จะหลงเลย
    แต่พระบางกลุ่มบางจำพวกที่บวชเพื่อปัจจัยสี่ วัตถุนิยมเป็นเจ้าหัวใจ ก็พลอยไปเป็นพรรคด้วย พูดน้อยไม่พอตาย พูดหลายตายโหง แผ่นดินทุกหย่อมหญ้า แทนที่จะเป็นสถานที่พักภายนอกเพื่อบำเพ็ญพัฒนาสร้างคุณงามความดี เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ด้านจิตใจ ให้สูงส่งจากระดับที่ลุ่มหลงอยู่มาเป็นเวลาช้านาน กลายเป็นหลุมถ่านเพลิง พร้อมทั้งทิ้งฟืนใส่ไม่หยุดยั้งได้ ฟืนก็เป็นฟืนทิพย์ จิตใจที่ห่างเหินออกจากศีลธรรม เรียกว่าพัฒนาฟืนทิพย์เผาโลกโดยไม่รู้ตัวแต่ละรายแล้ว…”

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ได้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้ บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้าหรือยังไมได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ชื่อว่าเป็นผูได้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญเป็นกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีล เคยมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้

    หลวงปู่เคยแนะนำวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า

    “ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวชเกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้
    เช่นเดียวกัน”

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    มนุษย์มีร่างกายและจิตใจ ที่เป็นเครื่องมือพิจารณาธรรมเพื่อความพ้นทุกข์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว จึงอยู่ที่ชาวพุทธเราจะปฏิบัติเอาหรือไม่เอาก็เท่านั้น พระพุทธเจ้าท่านเป็นเพียงผู้ชี้ทาง

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    กิเลส คือ โมหะ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
    มันมีอิทธิพลโดยเราไม่รู้สึกตัวเลย
    คือมันสามารถเข้าไปจับยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ใจ
    เมื่อมันจับ “นายใจ” หรือ “พญาจิตราช” ได้แล้ว
    สิ่งทั้งหมดจะต้องเป็นไปตามคำบังคับบัญชาของมัน…
    เช่น ยกตัวอย่าง รูปัง อนิจจัง รูปทั้งหมดไม่เที่ยง
    แต่โมหะมันบอกใหม่ว่า รูปทั้งหมดเที่ยงแท้
    พระบอกว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
    มันจะบอกคนโง่ว่า สังขารเป็นสุขอย่างยิ่ง

    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -คือ-โมหะ-จึงเป็นสิ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วิภังคสูตร อริยมรรค ๘

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณา- *ติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการ เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้ เรียกว่า สัมมาสติ…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย- *ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ…

    ที่มา :: พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -อริยมรรค-๘.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    บุรุษผู้โง่เง่าแม้ได้รับคำบอกเตือนนานาประการ
    แต่ตัวเขาหากหารู้สึกตัวไม่ หรือแม้มารู้ภายหลังว่าผิด
    ก็น้อยนักที่จะมีใจแก้ไข ทั้งนี้เพราะ
    ความเป็นเขาเอง ความเก่ง ยโสโอหัง
    ไม่เห็นหัวใคร ทะนงตนยิ่ง ใหญ่ยิ่ง
    ดังนี้จึงยอมโง่งมรู้ทั้งรู้ แต่ก็ยอม

    “โอวาทธรรมหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ”
    คัดจาก หนังสือโพธิ์พระเบื้องพุทธบาท
    ( มหาปุญฺโญวาท ๕ )

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” ปีใหม่_มาทำบุญให้ทาน อุทิศบุญให้ญาติอย่างนี้-๑-

    เอาวัตถุมาให้ทานอย่างนี้-๑-

    เข้าวัดได้กราบได้ไหว้ทำความเคารพนอบน้อมถ่อมตน-๑-

    ให้บำรุงบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย คนเฒ่าเจ้าตระกูลด้วย-๑-

    แล้วจากนั้นให้รู้จักเพิ่มเติมความดีให้แก่ตน-๑-

    เหล่านี้..เป็นความดีของตนเน้อลูกหลานทุกคน ”

    โอวาทธรรมหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    _มาทำบุญให้ทาน-อุ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    หัน ( เห็น ) ตัวเองหรือยังละ
    บุญอยู่กับตัว
    บาปอยู่กับตัว
    ใจอยู่กับตัว
    หันหือยังละ

    “โอวาทธรรมหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ”
    คัดจาก หนังสือโพธิ์พระเบื้องพุทธบาท
    ( มหาปุญฺโญวาท ๕ )

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -เห็น-ตัวเองหรือยังล.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มลงไป และมิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้

    ภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์ แล.

    -พรหมจรรย์.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...