ธรรมะเย็นใจ ในห้องภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 12 พฤษภาคม 2011.

  1. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขออนุญาตินำธรรมะข้อคิดต่างๆที่เกี่ยวกับคำสอน และสาระต่างๆที่เป็นประโยชน์ ที่ไม่ิผิดต่อหลักศิลธรรมและหลักคำสอน มาลงใน เว็บบอร์ดภัยพิบัติและการเตรียมการ เพื่อให้ทุกท่านแวะเ้ข้ามาอ่านเพื่อเป็นการบรรเทา คลายความวิตกเพื่อความไม่ประมาท และคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่าน หรือการแลกเปลี่ยนธรรมะและข้อคิดเห็นที่ดีซึ่งกันและกัน ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หากท่านใดพิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสมกรุณาแจ้งหรือท้วงติงได้

    โอกาสนี้กราบขออภัย ขอขมากรรม ด้วยกาย วาจา ใจ หากมีข้อความใดๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งปวงไม่ได้รับสาระและประโยชน์อันใดเลย



    [​IMG]



    "อานนท์เอ๋ย! บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว เรื่องที่จะดึงกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งนั้นมิใช่วิสัยแห่งตถาคต อานนท์! เรามิได้ปรักปรำเธอ เธอเบาใจเถิด เธอได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่ตถาคตจะจากโลกนี้ไป แต่ยังเหลือเวลาอีกสามเดือน บัดนี้สังขารของตถาคตเป็นเสมือนเรือรั่ว คอยแต่เวลาจะจมลงสู่ท้องธารเท่านั้น อานนท์ ! เราเคย บอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมต้องพลัดพราก จากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์ ! ชีวิตนี้ มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็น นั้น เป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ"
    และแล้วพระจอมศาสดาก็เสด็จไปยังภัณฑุคาม และโภคนคร ตามลำดับ ในระหว่างนั้นทรงให้โอวาทภิกษุทั้งหลายด้วยพระธรรมเทศนาอันเป็นไปเพื่อโลกุตตราริยธรรมกล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุติญาณทรรศนะ
    เป็นต้นว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลนี้องเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบเหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่างๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้น ย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"
    "อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติ ที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไป เพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะย่อมพบกับปิติปราโมทอันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ อิ่มอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้ดู
    แลรู้ว่า บัดนี้กิเลสานุสัยต่างๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลายวิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐสุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นของตน ที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักว่าๆ ไม่หลงไหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุฑิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบาย คลายทุกข์ คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตาม แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจ ให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็กๆ เพียงตัวเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือ ดวงจิต ที่ผ่องแผ้ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา และเรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ เมื่อมีเกียรติมากขึ้นภาระที่จะต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพิ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตา เขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆ กันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คนในโลกส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความกลับกลอกและหลอกลวงหาความจริงไม่ค่อยได้ แม้แต่ในการนับถือศาสนา ด้วยอาการดังกล่าวนี้ โลกจึงเป็นเสมือนระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื้อรังตลอดเวลา ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้น มักบรรจุเต็มไปด้วยคนซึ่งมีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบอยู่โคนไม้ได้อย่างไร"



    คัดลอกมาจาก:
    3 เดือนก่อนปรินิพพาน 01/




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • G pic.jpg
      G pic.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.7 KB
      เปิดดู:
      1,537
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  2. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    <center>
    </center>
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปว่า อานนฺท
    ดูกรอานนท์ สิ่งที่ทำให้สัตว์โลกเวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ทรมานทุกข์ในนรกและกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้สิ้นสุดนี้ มิใช่สิ่งอื่นคือตัว กิเลสและตัณหาล่อลวงให้ดวงจิตของสัตว์ทั้งหลายมิให้พ้น ทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร และมิได้ถึงพระนิพพานได้ ถ้าผู้ใด มิได้รู้กองแห่งกิเลสแล้ว ผู้นั้นก็จะประสบภัยได้รับทุกข์ใน อบายภูมิทั้ง ๔ มิได้มีเวลาสิ้นสุด

    ดูกรอานนท์ จงจับตัว ตัณหาให้ได้ ถ้าจับได้แล้ว เมื่อตัวต้องทุกข์ก็จะเห็นได้ว่า ตัวเป็นอนัตตา เมื่อจับไม่ได้ก็เห็นตัวเป็นอนัตตาไม่ได้ บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นสานุศิษย์แห่งพระตถาคตนี้ ก็มี ความประสงค์ด้วยพระนิพพาน การที่จะรู้ว่าดีหรือชั่ว กว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสินด้วยว่า พระนิพพาน เป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ผู้นั้นก็เป็นผู้ดียิ่งกว่าผู้ยังหนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหา ผู้ใดตั้งอยู่ ในนิจศีล คือศีล ๕ ผู้นั้นยังหนาอยู่ด้วยกิเลส แต่ได้ชื่อว่า เป็นผู้บางจากกิเลสได้ชั้นหนึ่ง ถ้าตั้งอยู่ในอุโบสถศีล คือ ศีล ๘ ได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๒ ชั้น ถ้ามาตั้งอยู่ใน ทศศีล คือศีล ๑๐ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๓ ชั้น ผู้เข้ามาตั้งอยู่ในศีลพระปาติโมกข์คือศีล ๒๒๗ ผู้นั้นก็ได้ ชื่อว่า บางจากกิเลสได้ ๔ ชั้น ผลอานิสงส์ก็มีเป็นลำดับ ขึ้นไปตามศีลนั้น ผู้ที่มีศีลน้อยอานิสงส์ก็น้อย ผู้ที่มีศีลมาก อานิสงส์ก็มากขึ้นไปตามส่วนของศีล
    บุคคลที่มิได้ตั้งอยู่ใน ศีล ๕ ถึงจะมีความรู้ความฉลาดมากมายสักเท่าใดก็ดี ก็ไม่ควรจะกล่าวคำประมาทแก่ผู้ที่มีศีล ๕

    ผู้ที่มีศีล ๕ ก็ควร ยินดีแต่เพียงชั้นศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาท แก่ผู้ที่มีศีล ๘

    ผู้ที่มีศีล ๘ ก็ควรยินดีแต่เพียงศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาทในท่านที่มีศีล ๑๐

    ผู้ที่มีศีล ๑๐ ก็ควรยินดีอยู่ในชั้นศีลของตน ไม่ควรจะกล่าวคำประมาท ในท่านที่มีศีลพระปาติโมกข์ ถ้าแลขืนกล่าวโทษติเตียน ท่านที่มีศีลยิ่งกว่าตน ชื่อว่าเป็นคนหลง เป็นคนห่างจาก ทางสุขในมนุษย์ และสวรรค์ และพระนิพพานแท้

    ดูกร อานนท์ บุคคลผู้ไม่มีศีลปราศจากการรักษาศีล ไม่ควรกล่าว ซึ่งคำประมาทแก่ท่านผู้มีศีล ตัวตั้งอยู่ภายนอกศีลแล้ว มาเข้าใจว่า ตัวเป็นผู้ดีกว่าท่านผู้มีศีล แล้วกล่าวคำสบ ประมาทดูหมิ่นในท่านผู้มีศีล บุคคลจำพวกนั้นชื่อว่าเป็น เจ้ามิจฉาทิฏฐิใหญ่ ชื่อว่าเป็นคนหลงทาง เป็นผู้ห่างจาก ความสุขในมนุษย์และสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ ภายนอกศีลนั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในกิเลส ยังเป็นผู้ หนาแน่นอยู่ด้วยกิเลส แม้จะเป็นผู้มีความรู้ความฉลาด มากมายสักปานใดก็ตาม ก็ไม่ควรถือตัวเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล เหตุว่าผู้ที่ไม่มีศีลนั้นยังห่างจากพระนิพพานมาก ผู้ที่มีศีล ชื่อว่าใกล้ต่อ พระนิพพานอยู่แล้ว ถึงจะไม่รู้อะไร มีเพียง ศีลเท่านั้น ก็ยังดีกว่าผู้ไม่มีศีลอยู่นั่นเอง เพราะท่านเป็น ผู้บางจากกิเลส บุคคลผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แม้จะเป็น ผู้รู้มากแตกฉานในข้ออรรถและข้อธรรม ประการใดก็ตาม ก็ควรจะทำความเคารพยำเกรงในท่านที่มีศีล จึงจะถูกต้อง ตามคลองธรรมที่เป็นทางแห่งพระนิพพาน ถ้าให้ผู้มีศีล เคารพยำเกรงในผู้ที่ไม่มีศีลและเป็นผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เป็นความผิดห่างจากทางพระนิพพานยิ่งนัก

    ดูกรอานนท์ จะถือเอาความรู้และความไม่รู้เป็นประมาณทีเดียวไม่ได้ ต้องถือเอาการละกิเลสได้เป็นประมาณ เพราะว่าผู้จะถึง พระนิพพานต้องอาศัยการละกิเลสโดยส่วนเดียว เมื่อละ กิเลสได้แล้ว แม้ไม่มีความรู้มาก รู้แต่เพียงการละกิเลสได้ เท่านั้น ก็อาจถึงพระนิพพานได้ ดูกรอานนท์ การที่จะได้ ประสบสุขเพราะละกิเลสต่างหาก ผู้ที่มีความรู้แต่มิได้ละเสีย ซึ่งกิเลส ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ผู้มีความรู้นั้น แม้จะรู้มาก แสนพระคัมภีร์ หรือมีความรู้หาที่สุดมิได้ก็ตาม ก็รู้อยู่เปล่าๆ จะเอาประโยชน์อันใดอันหนึ่งไม่ได้ และจะให้เป็นบุญเป็น กุศล และได้เสวยความสุขเพราะความรู้นั้นไม่มี เราตถาคต ไม่สรรเสริญผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีศีล ผู้มีความรู้น้อย แต่เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล เราสรรเสริญและนับถือผู้นั้นว่าเป็น คนดี ถ้าผู้ใดนับถือผู้ที่มีกิเลสว่าดีกว่าผู้ไม่มีกิเลส บุคคล ผู้นั้นชื่อว่าถือศีลเอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูง เป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ผิดทางแห่งพระนิพพาน เป็นคนมิจฉาทิฏฐิ การที่นับถือบุคคลผู้หนาไปด้วยกิเลส ว่าดีกว่าผู้บางเบาจากกิเลส เราตถาคตไม่สรรเสริญเลย บุคคลจำพวกที่บางเบาจากกิเลส ใกล้ต่อพระนิพพาน เรา ตถาคตสรรเสริญและอนุญาตให้เคารพนับถือ การที่ทำบุญ ทำทาน ทำกุศล ปรารถนาเพื่อจะให้บุญ กุศล นั้น พาตน เข้าสู่พระนิพพาน ถ้าไม่รู้ว่าบำเพ็ญบุญกุศลเพื่อให้ช่วย ระงับดับกิเลส ก็เป็นอันบำเพ็ญเสียเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคน หลงโลกหลงทางแห่งพระนิพพาน ถึงรู้มากสักเท่าใดก็ตาม ถ้ายังละกิเลสไม่ได้ก็รู้เสียเปล่าๆ เราตถาคตตั้งศาสนาไว้ ไม่ได้หวังเพื่อให้บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญหาประโยชน์ อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์จะให้บุคคลบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้ระงับกิเลสตัณหาเท่านั้น การบำเพ็ญภาวนา เมื่อไม่คิดว่าจะให้ระงับดับกิเลสตัณหาแห่งตน ก็ได้ชื่อว่า เป็นคนหลงโลกหลงทางส่วนกุศลที่เกิดจากการบำเพ็ญ ภาวนานั้นจะว่าไม่ได้ไม่มีเช่นนั้นก็ไม่ปฏิเสธ อันที่จริง ก็หาก เป็นบุญเป็นกุศลโดยแท้ แต่ว่าเป็นทางหลงจากพระนิพพาน เท่านั้น การกระทำความเพียรบำเพ็ญภาวนา ทำบุญทำ กุศลอย่างใดอย่างหนึ่งมากน้อยเท่าใดก็ตาม ก็ให้รู้ว่าบำเพ็ญ บุญกุศลและเจริญภาวนา เพื่อระงับดับกิเลสตัณหาของตน ให้น้อยลง ให้พ้นจากกองกิเลสนั้น เช่นนี้ชื่อว่าเดินถูกทาง พระนิพพานแท้
    ดูกรอานนท์ จงพากันประพฤติตามคำสอน ที่เราแสดงไว้นี้ ถ้าผู้ใดมิได้ประพฤติตาม ก็พึงเข้าใจว่า ผู้นั้นเป็นคนนอกพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงต่อไปอีกว่า

    ดูกรอานนท์ เรา ตถาคตบัญญัติศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์ไว้ หลายประเภทนั้น ก็เพราะอยากให้สัตว์ยกตนออกจากกอง กิเลส
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้บำเพ็ญศีลมากน้อยประเภทใด ประเภทหนึ่ง ก็เพื่อให้รู้ซึ่งการละกิเลส และยกตนให้พ้นจาก กิเลส เมื่อไม่รู้เช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลง ส่วนผลอานิสงส์ ที่ได้บำเพ็ญศีลนั้น เราตถาคตได้กล่าวอยู่ว่ามีผลอานิสงส์ จริง แต่ว่ามีอานิสงส์น้อยและผิดจากทางพระนิพพาน ถ้า เข้าใจว่าการรักษาศีล เพื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส รักษา ศีล ๕ ได้แล้ว จะเพียรพยายามรักษาศีล ๘ ศีล๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เป็นลำดับไป เพื่อจะยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับ เมื่อเราตั้งอยู่ในศีล ประเภทใด ก็ตั้งใจรักษาโดยเต็มความสามารถ รู้ดังนี้จึงมี ผลอานิสงส์มาก ไม่เป็นคนหลง และตรงต่อทางพระนิพพาน โดยแท้

    ที่มา:คิริมานนทสุตร


     
  3. ปธ6

    ปธ6 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +292
    นี่แหละคือสิ่งที่ต้องการ...ธรรมะจากพุทธพจน์ประเสริฐที่สุด...ขอบคุณมากๆ

    นี่แหละคือสิ่งที่ต้องการ...ธรรมะจากพุทธพจน์ประเสริฐที่สุด
     
  4. ไร้นา

    ไร้นา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +108
    ธรรมะเย็นใจ ธรรมมะเย็นใจ ธรรมะเย็นใจ

    อนุโมทนา อนุโมทนา อนุโมทนา
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]


    [​IMG][​IMG][​IMG]



    อิโต ปรํ คิริมานนฺทสุตฺตํ อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ภาสิสฺสามีติ เบื้องหน้าแต่นี้ จะแสดงคิริมานนทสูตรสืบ ต่อไป มีคำพระอานนท์ปฏิญญาว่าดังนี้ ภนฺเตอริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ภควา อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เทเสสิ ก็ตรัสเทศนา แก่ข้าอานนท์สืบต่อไปว่า

    อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่า ความทุกข์และความสุขนั้น ก็มีอยู่แต่นรกและสวรรค์เท่านั้น ส่วนพระนิพพานมีอยู่นอกสวรรค์และนรกต่างหาก บัดนี้ จะแสดงทุกข์และสุขในนรก และสวรรค์ให้แจ้งก่อน จิตใจ ของเรานี้เมื่อมีทุกข์หรือมีสุขแล้วใครจะสามารถมาช่วย ยกออกจากจิตของเราได้ อย่าว่าแต่ตัวเราเลย แม้ท่าน ผู้อื่นเราก็ไม่สามารถจะช่วยยกออกได้ มีอาการเหมือนกัน ทุกรูปทุกนามทุกตัวตนสัตว์บุคคล

    อนึ่ง เมื่อท่านมีทุกข์แล้ว จะนำทุกข์ของท่านมา ให้เราก็ไม่ได้ เรามีทุกข์แล้วจะนำทุกข์ไปให้ท่านผู้อื่นก็ ไม่ได้ แม้ความสุขก็มีอาการเช่นกัน สุขและทุกข์ไม่มีใคร จะช่วยกันได้ สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้มีแต่อำนาจแห่ง กุศลผลบุญ มีการให้ทานและรักษาศีลเป็นต้นเท่านั้นที่จะ เป็นผู้ช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ มนุษย์และเทวดาอินทร์พรหม และใครๆ จะมาช่วยให้พ้นทุกข์ และให้ได้เสวยสุขนั้น ไม่ได้ ที่สุดแม้เราตถาคตผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณเห็นปานนี้ ก็ไม่อาจช่วยใครได้ ได้แต่เป็นผู้ช่วยแนะนำตักเตือนให้รู้สุข ทุกข์และสวรรค์และนรกเท่านั้น ตัวต้องยกตัวเอง ถ้ารู้ว่า
    นรกและสวรรค์อยู่ที่ตัว แล้วยกตัวให้ขึ้นสวรรค์ไม่ได้ ก็ชื่อว่า เกิดมาเสียชาติ และเสียเวลาที่จะเกิดมาพบพระพุทธศาสนา น่าเสียดายชาติที่ได้เกิดเป็นรูปร่างกาย มีอวัยวะ พรักพร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง ทั้งได้พบพระพุทธศาสนา ด้วย สมควรจะได้สวรรค์และพระนิพพานโดยแท้ เหตุไฉนจึงเหยียบย่ำตัวเองให้จมอยู่ในนรกเช่นนั้น น่าสังเวชนัก

    ดูกรอานนท์
    สุขทุกข์นั้นให้หมายเอาที่จิต จิตสุขเป็นสวรรค์ จิตทุกข์เป็นนรก จะเข้าใจว่านรกและ สวรรค์ มีอยู่นอกจิตนอกใจเช่นนั้น ได้ชื่อว่าเป็นคนหลง นรกและสวรรค์ บาปบุญคุณโทษ ย่อมมีอยู่ในอกในใจทั้งสิ้น อยากพ้นทุกข์ก็ให้รักษาจิตใจจากสิ่งที่เป็นบาปเป็นทุกข์เสีย ถ้าต้องการสวรรค์ ก็ทำการงานที่หาโทษมิได้ เพราะการบุญ การกุศลนั้น เมื่อทำก็ไม่เดือดร้อน และเมื่อทำแล้วระลึกถึง ก็ให้เกิดความสุขสำราญบานใจทุกเมื่อ เช่นนี้ชื่อว่าเราได้ ขึ้นสวรรค์ และถ้าอยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ให้วางเสีย ซึ่งสุขและทุกข์ คือวางจิตอย่าถือว่าเป็นของของตน ก็ชื่อว่า ได้ถึงพระนิพพาน เพราะว่าใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สุขทุกข์ ทั้งสวรรค์และพระนิพพานสำเร็จแล้วด้วยใจ คือว่ามีอยู่ที่ จิตที่ใจของเราทั้งสิ้น บุคคลจำพวกใด ไม่รู้ว่าของเหล่านี้ มีในตนแล้วไปเที่ยวค้นคว้าหาในที่อื่น บุคคลจำพวกนั้น ชื่อว่าเป็นคนหลงคนเมา เป็นผู้หนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหา มืดมนอยู่ด้วยมลทินแห่งนรก

    ดูกรอานนท์สัตว์ที่ตกอยู่ ในนรกมากมายนับมิได้แน่นอัดยัดเยียดกันอยู่ในนรก ดัง ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเมล็ดงาในกระสอบ แต่ก็ไม่เห็นกันได้ ด้วยเขาไม่รู้ไม่เห็นซึ่งนรก ไม่รู้สุขทุกข์บาปบุญคุณโทษ ไม่รู้ว่าจิตของตนเป็นทุกข์เป็นสุข มีแต่มัวเมาอยู่ด้วยกิเลส กามราคะตัณหา จึงชื่อว่าตกอยู่ในนรก ยัดเยียดกันดัง ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเมล็ดงาในกระสอบ ร้องเรียกหากัน ไม่เห็นกัน คือไม่เห็นทุกข์เห็นสุขแห่งกันและกันเท่านั้นเอง

    ดูกรอานนท์ จิตใจนั้นใครไม่แลเห็นของกันและกันได้ ผู้ที่ แลเห็นจิตใจของผู้อื่นได้นั้น มีแต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เท่านั้น พระพุทธเจ้าที่จะรู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้ ก็ด้วยญาณ แห่งพระอรหันต์ ถ้าละกิเลสตัวร้ายมิได้ คุณความเป็นแห่ง พระอรหันต์ก็ไม่มาตั้งอยู่ในสันดาน จึงไม่อาจหยั่งรู้วาระ จิตใจของสัตว์ทั้งปวงได้ แม้เราตถาคตจะหยั่งรู้วาระจิตของ สัตว์ทั้งปวงได้ ก็เพราะปราศจากกิเลส คือความเป็นไปแห่ง พระอรหันต์ บุคคลผู้ไม่พ้นกิเลส คือไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ และจะมาปฏิญญาว่ารู้เห็นจิตแห่งบุคคลอื่น จะควรเชื่อฟังได้ ด้วยเหตุใด ถึงแม้จะรู้ด้วยวิชาคุณอย่างอื่น มีรู้ด้วยสมาธิคุณ เป็นต้น ก็รู้ไปไม่ถึงไหน แม้จะรู้ก็รู้ผิดๆ ถูกๆ ไปอย่างนั้น จะรู้จริงแจ้งชัดดังที่รู้ด้วยอรหัตตคุณนั้นไม่ได้ ถ้าบุคคลที่ ยังไม่พ้นกิเลสมีความรู้ดียิ่งกว่าเราตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ แล้ว การที่เราตถาคตสละบุตรภรรยา ทรัพย์สมบัติ อันเป็น เครื่องเจริญแห่งความสุขออกบวชนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลา กว่าบุคคลจำพวกนั้น เพราะเขายังจมอยู่ในกิเลส แต่ มีความรู้ดียิ่งกว่าพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ผู้ไกลจาก กิเลส ข้อที่ละกิเลสไม่ได้ คือไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ แล้ว จะมีปัญญารู้จิตใจแห่งสัตว์ทั้งหลายยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ หรือจะมีปัญญารู้เสมอกันนั้นไม่มีเลย ผู้ที่ ยังละกิเลสไม่ได้ คือยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์มากล่าวว่า ตนรู้เห็นจิตใจของสัตว์ทั้งหลายนั้น กล่าวอวดเปล่าๆ ความรู้เพียงนั้นยังพ้นนรกไม่ได้ ไม่ควรจะเชื่อถือ ถ้าใคร เชื่อถือก็ชื่อว่าเป็นนอกพระศาสนา ไม่ใช่ลูกศิษย์ของเรา ตถาคต แท้ที่จริง หากเอาศาสนธรรมอันวิเศษของเรานี้ บังหน้าไว้สำหรับหลอกลวงโลกเท่านั้น บุคคลจำพวกนี้แม้ จะทำบุญกุศลเท่าไรก็ไม่พ้นนรก แม้ผู้ที่มาเชื่อถือบุคคล จำพวกนี้ก็มีทุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเหมือนกัน ดูกร อานนท์ บุคคลจำพวกที่อวดรู้อวดดีอย่างนี้แหละ จะเป็นผู้ เบียดเบียนศาสนาของเราให้เศร้าหมองเสื่อมทรามลงไป เมื่อเขาเกิดมาแล้วก็จะมาเบียดเบียนพระมหาเถระและ สามเณรน้อยด้วยถ้อยคำอันไม่เจริญใจ ผู้มีปัญญาน้อยใจเบา ก็จะพากันแตกตื่นสึกหาลาเพศออกจากศาสนา พระศาสนา ของเราก็จะเสื่อมถอยลงไป ดูกรอานนท์ บุคคลจำพวกใด หากเบียดเบียนเสียดสีหมิ่นประมาทใจพระสังฆเถระ และ ภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์ของพระตถาคต โดยที่ท่านทั้งหลาย เหล่านั้นมีโทษไม่ถึงปาราชิก และบังคับให้สึกออกจาก เพศพรหมจรรย์ หรือกระทำปัพพาชนียกรรมไปเสียก็ดี บุคคลจำพวกนั้นเป็นบาปยิ่งนักอาจไม่พ้นนรกได้ บุคคล จำพวกใดมีความเชื่อความเลื่อมใสในคุณธรรมคำสั่งสอน ของเราตถาคต แล้วเชิดชูยกย่องไว้ให้ดี มิได้ดูถูกดูหมิ่น บุคคลจำพวกนั้นก็จะมีความเจริญด้วยความสุขทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า แม้ปรารถนาสุขอันใดซึ่งไม่เหลือวิสัย ก็อาจ สำเร็จสุขอันนั้นได้ตามปรารถนา บุคคลที่ทำลายพระพุทธรูป พระสถูปพระเจดีย์ และตัดไม้ศรีมหาโพธิ์ และบุคคลจำพวก ที่กล่าวหมิ่นประมาทเย้ยหยันแก่สานุศิษย์ของเราตถาคต ที่มีโทษไม่ถึงปาราชิก บุคคลจำพวกนี้มีโทษหนักยิ่งกว่า จำพวกที่ทำลายพระพุทธรูป และพระสถูปพระเจดีย์นั้น หลายเท่า บุคคลที่ทำลายพระพุทธรูปเป็นต้นนั้นเป็นบาป มากก็จริงอยู่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ผู้ที่กล่าวหมิ่นประมาทนั้น ได้ชื่อว่าทำลายศาสนาของ เราตถาคต เพราะว่าผู้ที่มีความผิดโทษไม่ถึงปาราชิกนั้น ยังนับว่าเป็นลูกศิษย์ของเราตถาคตอยู่ ต่อเมื่อเป็นปาราชิก แล้วจึงขาดจากความเป็นลูกศิษย์ของเรา ถ้าเป็นโทษเช่นนั้น แม้จะลงโทษหรือกระทำปัพพาชนียกรรมก็หาโทษมิได้ และ ได้ชื่อว่าช่วยพระศาสนาของเราด้วย การทำลายพระพุทธรูป หรือพระสถูปพระเจดีย์นั้น ยังมีทางเป็นกุศลได้อยู่ ดัง พระพุทธรูปไม่ดีไม่งามแล้วทำลายเสีย แก้ไขให้งามให้ดีขึ้น แม้พระเจดีย์และไม้ศรีมหาโพธิ์ก็เช่นกัน ต้นโพธิ์ที่ตั้งอยู่ ในที่ไม่สมควร เช่นตั้งอยู่ในที่ใกล้ถาวรวัตถุ อาจทำลายวัตถุ นั้นได้ จะตัดเสียก็หาโทษมิได้ ถ้าทำลายเพื่อหาประโยชน์ แก่ตนหรือทำลายโดยความอิจฉาริษยาเช่นนั้น ย่อมเป็น บาปเป็นกรรมโดยแท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นการ ทำลายศาสนา พวกที่หมิ่นประมาท ทำให้สงฆ์ที่มีโทษ ยังไม่ถึงอันติมะให้ได้รับความเดือดร้อนถึงแก่เสื่อมจาก พรหมจรรย์ ได้ชื่อว่าทำลายพระพุทธศาสนาโดยแท้

    ที่มา:คิริมานนทสุตร



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • par.jpg
      par.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.7 KB
      เปิดดู:
      1,105
  6. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG]



    เหตุแห่งการทะเลาะกัน


    สังคมในทุกวันนี้มีแต่ความแตกแยก เคียดแค้นกัน ให้ร้ายว่ากล่าวกัน ซึ่งความจริงแล้วทุกคนก็รักสุข เกลียดทุกข์กันทั้งสิ้น แล้วทำไมเราต้องมาทะเลาะกันหนอ?
    ในพระสูตร อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาติ กล่าวไว้ว่า ในสมัยหนึ่ง พระกัจจายนเถระ กำลังพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ ครั้งนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ อารามทัณฑ์ ได้เข้าไปหาท่าน เพื่อถามข้อสงสัยบางประการว่า..
    อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราทะเลาะวิวาทกัน ?

    พระมหากัจจายนะจึึงได้ตอบว่า..การที่คนเราทะเลาะวิวาทกันนั้นก็เพียงเรื่อง กามคุณนี้แหล่ะเป็นเรื่องใหญ่

    พราหมณ์ได้ถามต่อไปอีกว่า อะไรหนอเป็นสาเหตุให้พวกสมณะทะเลาะกัน

    ท่านได้ตอบว่า.. สมณะนั้นจะทะเลาะกันวิวาทกันก็หนีไม่พ้นเรื่องทิฐิ (ความเห็น) ขัดแย้งกันไม่ลงรอยกัน ทิฐินี้แหล่ะเป็นเรื่องใหญ่ของสมณะ

    พราหมณ์จึงถามต่อไปอีกว่า... ในโลกนี้มีผู้หลุดพ้นจากกามคุณและทิฐิหรือไม่

    ท่านตอบว่า... นชนบททางตะวันออกมีพระชื่อสาวัตถี พระผู้มี
    พระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่พระองค์นั้นแหล่ะเป็นผู้หลุดพ้นจากกามคุณและการยึดมั่นในทิฐิ


    [​IMG]


    พราหมณ์นั้นก็ได้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ประกาศตนเ็ป็นผู้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยตลอดชีวิตของตน


    "ทำไมเรามัวแต่เพ่งโทษของผู้อื่น
    ไม่หันมามองกิเลสและความคิดที่ไม่ดีในใจเรากันบ้างหล่ะ
    ก็คงจะพอที่จะช่วยสังคมนี้ให้สงบได้.."


    ที่มา: www.sanghathannews.net


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha.jpg
      buddha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.2 KB
      เปิดดู:
      1,005
    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.8 KB
      เปิดดู:
      1,041
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2011
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG]



    คมชัดลึก : "สุเมธ"เน้นย้ำ"ในหลวง" เป็นพระธรรมราชาทรงนำหลักพุทธธรรมแก้ไขปัญหาต่าง ชาวพุทธนานาชาติออกปฏิญญากรุงเทพฯเนื่องในวันวิสาขบูชาโลกเทิดพระ เกียรติ"ในหลวง" พร้อมกระตุ้นให้ชาวพุทธทั่วโลกตื่นตัวนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พุทธธรรมไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เฉกเช่นพระองค์



    วันที่ 14 พ.ค.การประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก หรือสหประชาชาติ ประจำปี 2554 ครั้งที่ 8 วันสุดท้ายของการประชุมที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นหน่วยงานหลักในการจัด และมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 86 ประเทศ จำนวน 5,000 คนนั้น

    เริ่มด้วยการสวดมนต์ของพระสงฆ์นานาชาติ ซึ่งมีบุคคลสำคัญ อาทิ นาย Ban Ki Moon เลขาธิการองค์การสหประชาติ, Dr" Noeleen Heyzer เลขาธิการ UNESCAP, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งสาส์นแสดงความยินดีและเข้า ร่วมประชุมแสดงความชื่นชมยินดี รวมทั้งบุคคลสำคัญในรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรีประเทศศรีลังกา รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเป็นสักขีพยานด้วย
    นอกจากนี้เป็นการปาฐกถาเรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตามรอยพระยุคลบาท" โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจหลักพุทธธรรมอย่างแจ่มแจ้ง ทรงนำหลักพุทธธรรมประยุกต์ในราชกรณียกิจ โดยใช้หลักอริยสัจ 4 คือ ทรงศึกษาสาเหตุของปัญหา ทรงทราบวิธีแก้ปัญหาด้วยพระปัญญา ทรงแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ตัวอย่างเช่น คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชวนไปเที่ยวเขื่อนที่จังหวัดสมุทรปราการ พระองค์ทรงชี้ให้เห็นปัญหาพักตบชวาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ติดกันเป็นแพ จนส่งผลให้น้ำไหลไม่สะดวก สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ไม่สามารถที่จะโพล่ถึงผิวน้ำได้ จนน้ำน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วชุมชน เกิดปัญหาทางสุขภาพทั้งคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ พระองค์ทรงรับสั่งให้ปรับทิศทางการไหลของพักตบชวา ให้แสงอาทิตย์ลงถึงพื้นน้ำ เป็นการเต็มอากาศให้กับน้ำ ระยะเวลาไม่นาน น้ำในคลองเริ่มใสขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด โดยใช้หลักธรรมชาติ พระองค์ทรงใช้ศัพย์ว่าใช้อธรรมสู้กับอธรรม นี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเข้าใจหลักพุทธธรรมอย่างแจ่มแจ้ง และนำหลักพุทธธรรมประยุกต์กับหลักธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม"
    , การกล่าวสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ โดย Prof.Francois Chenet,Paris University, นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหายน) และการรายงานการประชุมกลุ่มย่อย
    จากนั้นพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุม ได้อ่านแถลงการณ์ปฏิญญากรุงเทพมหานคร2011/2554 ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รวมทั้งการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งให้ชาวพุทธทั่วโลกตื่นตัว นำหลักพุทธธรรมไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วย หลังจากนั้นได้เดินทางไปร่วมพิธีเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
    "ปฏิญญากรุงเทพฯ
    การประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ ๘
    เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
    ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
    ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และ
    พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

    เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงาน ประจำภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย
    เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๘๕ ประเทศและภูมิภาค จึงได้เดินทางมาฉลองวันวิสาขบูชา เข้าประชุมร่วมกัน ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเจ้าภาพหลักคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย
    ในการประชุมที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่ประชุมได้เสนอหัวข้อการประชุมว่าด้วยเรื่อง “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” อันเป็นการส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ระหว่างองค์กรและปัจเจกบุคคลต่างๆ จากพระพุทธศาสนาทุกนิกาย และที่ประชุม ได้สรุปมติเป็นเอกฉันท์ ดังต่อไปนี้
    (๑)เพื่อฉลองพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้สัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาที่มีคุณูปการแก่มวลมนุษยชาติ ที่ประชุมมีมติให้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมกิจกรรมทางด้านวิชาการ วัฒนธรรมและทางศาสนาตลอดทั้งปี อันถือเป็นงานฉลองพุทธชยันตี ทั้งในระดับชาติและระดับสากล
    (๒)เพื่อเป็นการถวายเป็นราชสักการะ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทย ที่ประชุมจึงมุ่งส่งเสริมประชาชนทุกระดับชั้นให้รับทราบอย่างกว้างขวาง และดำเนินตามรอยพระยุคลบาท วิสัยทัศน์ และพระเมตตาที่พระองค์ทรงมีแก่ปวงประชา ดังตัวอย่างโครงการหลวงมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ เป็นต้น
    (๓)ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ที่ประชุมจึงสนับสนุนให้มีการจัดประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานา ชาติครั้งที่ ๒ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔
    (๔)เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ประยุกต์ใช้หลักคำสอนของ พระพุทธเจ้าให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ส่งเสริมให้ทุกคนได้ทราบถึงปรัชญาเศรษฐกิจเชิงพุทธซึ่งประสบความสำเร็จอย่าง ดี เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมจึงกระตุ้นเตือนให้โลกที่ประกอบธุรกิจเปิดโอกาสแรก ให้ความสำคัญในการการผลิตสินค้าและการบริการที่จำเป็น ก่อนการผลิตสินค้าบริโภคที่ไม่จำเป็น
    (๕)ด้วยเป็นที่ทราบกันดีถึงผลกระทบที่เกิดแก่คนทั้งโลกว่า ปัญหาด้านสังคม - เศรษฐกิจของประเทศหนึ่งนั้น มิใช่ว่าจะจำกัดวงอยู่เพียงในขอบเขตของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงหลายๆ ประเทศ ที่ประชุมจึงให้ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก อันจะช่วยนำทางให้มนุษยชาติ โดยปลูกฝังพุทธจริยธรรม ปฏิบัติกรรมฐาน และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน
    (๖)เพื่อเตือนสติมวลมนุษยชาติ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และทางธรรมชาติแบบยั่งยืน ที่ประชุมจึงย้ำความจำเป็นด้านความสมดุลย์ ทางสายกลางอย่างเร่งด่วน ระหว่างความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทางด้านวัตถุด้านหนึ่ง กับความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรม ศีลธรรม และทางด้านจิตใจอีกด้านหนึ่ง
    (๗)ด้วยทราบถึงปัญหาทางสังคม ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาศาสนาและการเมือง ที่มวลมนุษย์เผชิญหน้าอยู่ และด้วยความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ที่จะขจัดสิ่งท้าทายเหล่านั้นได้ ที่ประชุมจึงพูดย้ำให้เห็นคุณค่าแห่งความกรุณา ความเมตตา ความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การให้อภัย ความเคารพซึ่งกันและกัน ความเข้าใจอันดีต่อกัน และความเชื่อมั่น รวมทั้งส่งเสริมให้รู้คุณค่าของการพูดอย่างมีสติยั้งคิด การประนีประนอมกัน ความสามัคคีกลมเกลียว และความสงบสันติ
    (๘)ด้วยเล็งเห็นมิติทางสังคมที่ต้องมีความกลมเกลียวกัน และเพื่อเป็นการเรียกร้องให้นำภูมิปัญญาที่สำคัญของพระพุทธศาสนามาใช้ โดยเน้นถึงสุขภาพจิต ทัศนะทางด้านจิตวิทยา และทางด้านสังคมที่หลากหลาย โดยมุ่งปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น ที่ประชุมจึงส่งเสริมให้มีแต่มิตรภาพ มีวัฒนธรรมให้ความเคารพและให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ตลอดถึงการพัฒนาคุณธรรมด้านการผลิตและการบริโภคอย่างมีสติ
    (๙)เพื่อแสดงความเห็นใจผู้ประสบภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิในญี่ปุ่น แผ่นดินไหวในนิวซีแลนด์ น้ำท่วมและพายุไต้ฝุ่นในส่วนอื่นๆ ของโลก และโดยพิจารณาเห็นว่าสิ่งแวดล้อมโลกกำลังถูกทำลายอย่างไม่ตั้งใจ และประสงค์จะให้มวลมนุษยชาติหลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ตนและสรรพสัตว์ต้องพลอยเดือนร้อนไปด้วย โดยให้ตระหนักไปที่มลภาวะเป็นพิษ, ฝนกรด, ผลกระทบเรือนกระจก, หลุมชั้นบรรยากาศบกพร่อง, และการท้าทายสภาพแวดล้อมอื่นๆ อันเป็นเหตุให้โลกเสี่ยงภัย ที่ประชุมจึงสัญญาทำงานร่วมกับรัฐ องค์การภาคเอกชน (เอ็นจีโอ) และสื่อสาขาต่างๆ ในการพัฒนาให้ความรู้ด้านการศึกษาเพื่อรักษาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    (๑๐)เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมและรัฐบาลนานาชาติ มุ่งทำงานเพื่อขจัดปัดเป่าความยากจนและความไม่ทัดเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมความเป็นภราดรภาพในมวลมนุษย์ชาติ และร่วมกันปฏิบัติตามหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้า ที่ประชุมจึงปลุกชาวโลก ให้ทุกคนรู้จักสิทธิขั้นพื้นฐานของตน เพื่อมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข
    (๑๑)เพื่อรำลึกถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้ เราจะจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากล ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ให้เสร็จสมบูรณ์ จัดพิมพ์ และแจกจ่ายให้แพร่หลายโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจหลักธรรมและหลักปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ประชุมจึงได้รวบรวมเป็นพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ โดยเชื่อมต่อกับแหล่งคัมภีร์ทางอีเล็กทรอนิคทั้งหมดอีกกว่า ๓๐ แห่ง ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักๆ ทางพระพุทธศาสนาให้เข้ารวมกันเป็นระบบเดียว ให้ใช้งานได้ในเครือข่ายเดียวกัน ช่วยให้ผู้ใช้ได้เลือกคำแปลได้โดยง่าย
    (๑๒)ยิ่งกว่านั้น เพื่อฉลองครบรอบพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้ ที่ประชุมจึงเรียกร้องให้รัฐบาลและองค์การยูเน็สโกที่เกี่ยวข้อง ได้เพิ่มความพยายาม ในการขุดค้นโบราณสถานในพระพุทธศาสนา พร้อมขอให้ช่วยอนุรักษ์ปูชนียสถานที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งจัดให้ความคุ้มครอง และจัดหาแหล่งที่พักที่เหมาะสมให้แก่ผู้แสวงบุญชาวพุทธ
    (๑๓)เพื่อพิทักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมสำคัญของโลก ๒ แหล่ง คือ ลุมพินี สถานที่ประสูติ และพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ ที่ประชุมจึงย้ำชุมชนชาวพุทธทั่วโลกให้แสดงความห่วงใยอย่างแท้จริง และขอร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยป้องกันผลกระทบอันตราย ที่เกิดจากภาวะมลพิษรอบๆ ปูชนียสถาน เป็นต้น"
     
  8. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG]






    วันวิสาขบูชา
    หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส ก็เลื่อนออกไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗) ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ

      1. เป็นวันประสูติ
      2. เป็นวันตรัสรู้
      3. เป็นวันปรินิพพาน
    ความสำคัญของ วันวิสาขบูชา
    ด้วยเหตุตามที่กล่าวมา วันวิสาขบูชาจึงถือว่าเป็นวัน สำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อถึงวันเช่นนี้ พุทธศาสนิกชนถ้วนหน้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมใจกันน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า ประกบอพิธีบูชาด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพเป็นอย่างยิ่ง
    การบูชาอันเนื่องด้วยวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาดังกล่าวมาก็ควรที่จะกล่าว ประวัติไว้เพื่อเป้นการเจริญศรัทธา ความเชื่อและปสาทะความเลื่อมใสต่อไป
    [​IMG]
    การประสูติ

    พระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดาเอกของโลก เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำบุญญาธิการไว้ในสำนัก ของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระพุทธเจ้าทรงพระนาม ทีปังกรเป็นต้นมาถึง ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์ จนได้รับพยากรณ์จากสำนักของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์นั้นว่า?จะได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในอนาคต? พระองค์ได้บำเพ็ญพุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นเป็นต้น และได้รวบรวมธรรม ๘ ประการ คือ
    ๑.มนุสฺสตฺตํ เป็นมนุษย์
    ๒.ลิงคสมฺปตฺติ เป็นเพศชาย
    ๓.เหตุ มีอุปนิสัยสมบัติที่จะบรรลบุมรรคผลได้
    ๔.สตฺถารทสฺสนํ พบพระพุทธเจ้าขณะที่ยังทรงพระชนม์อยู่
    ๕.ปพฺพชฺชา บวชเป็นดาบสหรือพระภิกษุอยู่
    ๖.คุณสมฺปตฺติ ได้สมาบัติ ๘ และ อภิญญา ๕
    ๗.อธิกาโร อาจสละชีวิตแก่พระพุทธเจ้าได้
    ๘.ฉนฺทตา มีฉันทะ อุตสาหะ บำเพ็ญพุทธกากรธรรม


    ธรรมทั้ง ๘ ประการนี้เรียกว่า อภินิหาร
    พระพุทธองค์ได้ทรงกระทำอภินิหารแทบเบื้องยุคลบาทของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ได้บำเพ็ญบารมีและพิจารณาถึงพุทธการกธรรมมาโดยลำดับตราบจนถึงอัตภาพเป็นพระ เวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมี
    พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาด้วยมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือหมู่เวไนยสัตว์ทั่ง ข้องอยู่ในวัฏฏะให้ข้ามพ้นจากวัฏฏะ ดังนั้นพระองค์เมื่อจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ก็ย่อม
    สเด็จอุบัติขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นจากทุกข์ดังที่พระ พุทธองค์ตรัสไว้ว่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกเป็นไฉน ? คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย?

    อีกประการหนึ่ง ความปรารถนาของพระพุทธเจ้าจะปรากฏง่าย ๆ เหมือนสามัญชนก็หาไม่ แท้ที่จริงแล้วความปรากฏของพระพุทธเจ้าเป็นการยาก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ความปรารกฏของบุคคลผู้เอกหาได้ยากในโลก, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน ?, คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคลผู้เอกนี้แล หาได้ยากในโลก?


    พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเป็นอัจฉริยมนุษย์ที่พิเศษกว่ามวลมนุษย์ทั้งหลาย เกิดขึ้นในโลก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน ?, คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์?

    พระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก จะมีใคร ๆ ในโลกที่จะเปรียบเทียบเสมอกับพระองค์ย่อมไม่มี ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่ ๒ ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน ? คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่ ๒ ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย?


    ความปรากฏของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก ย่อมจะให้สำเร็จสิ่งที่ประสงค์ทุกประการ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ?

    ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก เป็นความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอกาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน ?, คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล,?

    พระพุทธพจน์ดังกล่วามานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า วันประสูติของพระพุทธเจ้านับว่าเป็นวันที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวันเกิดของบุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษ เป็นอัจฉริยมนุษย์ เป็นผู้สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จะหาบุคคลที่เสมอเหมือนไม่มีในโลก ดังที่พระองค์ทรงเปล่งกล่าวอาสภิวาจาว่า
    อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก, เสฏฺโฐหสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก?

    การประสูติของพระพุทธเจ้าที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะต่อกัน ในวันเพ็ญ เดือน ๖ เป็นวันที่ชาวโลกได้บุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะเหตุนั้น วันประสูติของพระพุทธเจ้าจึงนับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    [​IMG]
    การตรัสรู้

    พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายได้ทรงตรัสรู้สัจจธรรม ๔ ประการ หรือที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ซึ่งเป็นของจริงอย่างประเสริฐที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองที่โคนต้นโพธิ์อัสสัตถพฤกษ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอนมาก่อนเลย ดังที่พระองค์ตรัสว่า?

    เราเป้นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมที่เป็นไปในภพ ๓ ทั้งหมด พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราไม่มี บุคคลที่เสอมเหมือนเราก็ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดาซึ่งไม่มีศาสดาอื่นยิ่งกว่า เราผู้ดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับกิเลสได้แล้ว?


    ชาวโลกจึงพากันขนานพระนามแด่พระองค์ว่า ?พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า? ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเราตถาคตตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ เหล่านี้ตามความเป็นจริง ชาวโลกจึงเรียกตถาคตว่า เป็นองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า?, เราตถาคตได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ประชาสัตว์ สมณ พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์, เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ ประการนี้จึงเรียกว่า

    อริยสัจจริงอยู่ อริยสัจ ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น เป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน ไม่มีผิดพลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ไม่สามารจะคัดค้านหรือปฏิเสธได้ ดังที่พระพุทูองค์ตรัสไว้ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, สัจจะ ๔ ประการนี้ได้แก่อะไร ?, ได้แก่ ทุกข์ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, สมุทัย เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, นิโรธ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, มรรค เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น

    และธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมที่มีความสุขุมละเอียดลึกซึ้ง ยิ่งนัก มิใช่ธรรมที่ผู้มีกิลเสหนาปัญญาหยาบจะตามรู้ได้โดยง่าย ดังที่พระพุทธองค์ทรงมีพระปริวิตกเมื่อคราวที่ตรัสรู้ใหม่ ๆ ว่า
    ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้แล เป็นธรรมอันลึกซึ้ง พิจารณาเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่สงบระงับ ประณีต ตรึกตรองเอาเองไม่ได้ เป็นธรรมอันละเอียด รู้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นบัณฑิต
    การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่โคนต้นโพธิ์อัสสัตถพฤกษ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ในวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น เป็นวันที่ชาวโลกได้บุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะเหตุนั้นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงนับว่าเป็นวันสำ คัญทางพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    การปรินิพพาน

    การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษที่สำคัญที่สุดของโลก ก็เป็นความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เป็นการดับสลายไปแห่งดวงตาของโลกชั่วนิจนิรันดร์ เป็นเหตุให้หมู่ประชาต้องโศกเศร้าอาลัยถึงด้วยความเสียดายในพระพุทธองค์ผู้ เป็นดวงตาอันยิ่งใหญ่ของชาวโลก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรินิพพานของบุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษ เป็นเหตุเดือดร้อนใจ อาลัยอาวรณ์ของชนเป็นอันมาก, บุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษเป็นไฉน ?, คือ พระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรินิพพานของบุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษ เป็นเหตุเดือดร้อนใจ อาลัยอาวรณ์ของชนเป็นอันมาก
    การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่ร่มไม้สาละ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น เป็นวันที่ชาวโลกต้องสูญเสียบุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะเหตุนั้น วันเสด็จดับขันธปริพพานของพระพุทธเจ้านั้นจึงนับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว วันประสูติ และ วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นวัน นำมาซึ่งประโยชน์ ซึ่งความสุข ความเจริญ ความชื่นชม โสมนัสปรีดา และปราโมทย์แก่ชาวโลกทั้งปวง เพราะเป็นวันที่ชาวโลกได้บุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก ส่วนวันดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้านั้น เป็นวันที่นำมาซึ่งความทุกข์ระทม โศกเศร้า อาลัยอาวรณ์เดือดร้อนใจของชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นวันที่ชาวโลกต้องสูญเสียเอกอัครมหาบุรุษผู้สำคัญที่สุดของโลก วันทั้ง ๓ นี้ ตกอยู่ในวาระเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน วิสาขะ) วันนี้จึงนับว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา
    ในอภิลักขิตสมัยวันวิสาขบูชานี้ เราทั้งหลายผู้เป็นชาวพุทธ พึงกระทำประทักษิณเวียนรอบอุโบสถ หรือปูชนิยสถาน ๓ รอบ บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการบูชา ๒ ประการ คือ

    ๑.อามิสบูชา การบูชาดว้ยสิ่งของมีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น
    ๒.ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีควาพร้อมเพรียงกัน ตั้งตนไว้ชอบและไม่ประมาทขาดสติสัมปชัญญะให้เป็นไปด้วยดี


    ในวันวิสาขบูชา อันเป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาซึ่งเวียนมาบรรจบครบรอบปี ก็จักไม่ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ และได้ชื่อว่ากระทำการสักการะบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง คือ บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามธรรมสมควรแก่ธรรม และจะได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์อย่างแท้จริง

    [​IMG]

    คำถวายดอกไม้ธูปเทียนใน วันวิสาขบูชา

    ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพัรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะ- สาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, สะวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, อะยัง โข ปะนะ ปะฏิมา ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะกะตา, ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตะวา ปะสาเทนะ สังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตะวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหตะวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตะวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ปะฏิมัง ติกขักตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา, สาธุ โน ภันเต, ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
    คำแปล
    เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นที่พึ่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นศาสดาของเราทั้งหลาย, และเราทั้งหลายชอบซึ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ได้อุบัติขึ้นแล้วในหมู่มนุษย์ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท, พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นโคดม (เหล่ากอแห่งพระอาทิตย์) โดยพระโคตร, เป็นบุตรแห่งศากยะ เสด็จออกบรรพชาแล้วแต่ศากยสกุล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งพระอะนุตตะระสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกกับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาลแะมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่ต้องสงสัยแล
    อนึ่ง พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้อย่างไม่จำกัดกาลเวลา เป็นธรรมที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นธรรมที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน
    และ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วแล เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นี้คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๔ บุรุษ นั่นแหละคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี, เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า, พระปฏิมานี้แล นักปราชญ์ได้อุทิศเฉพาะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น สร้างไว้แล้วเพียงเพื่อเป้นเครื่องให้ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้นด้วยการเห็นแล้ว ได้ความเลื่อมใส และความระลึกถึง
    บัดนี้เราทั้งหลายมาถึงวันวิสาขบูชา อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เป็นวันที่ประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงมาประชุมกันแล้วในที่นี้ ถือเครื่องสักการะมีธูปเทียนเป็นต้นเหล่านี้ ทำกายของตนเองให้เป็นดังภาชนะรองรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตามความเป็นจริง บูชาด้วยเครื่องสักการะตามที่ได้ถือไว้แล้ว จักทำประทักษิณซึ่งประปฏิมากรนี้สิ้นวาระ ๓ รอบ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว ยังทรงปราฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้โดยความ เป็นอตีตารมณ์ ขอจงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะอันข้าพระพุุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์และเพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

    ที่มา:วันวิสาขบูชา 2554
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2011
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    ธรรมะจากหลวงปู่ทวด

    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    หลวงปู่ทวด
    วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม
    " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "


    คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

    ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
    ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
    บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
    อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
    มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
    สิริรวมอายุได้ 99 ปี

    คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด


    ธรรมประจำใจ

    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์


    ละได้ย่อมสงบ

    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ


    สันดาน

    " ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่
    สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
    ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก


    ชีวิตทุกข์

    การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ
    จะเห็นได้ว่า
    ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ
    เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ
    เมื่อเราจะออกจากบ้าน
    ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ
    การเลี้ยงตนชอบ
    นี่คือ
    ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

    บรรเทาทุกข์

    การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า
    เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม
    เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง
    กับตัวเราว่าส่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ


    ยากกว่าการเกิด

    ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
    เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย


    ไม่สิ้นสุด

    แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด
    กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น


    ยึดจึงเดือดร้อน

    ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน
    ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่น ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง
    ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ
    โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้
    ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม
    ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน
    เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า
    สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ


    อยู่ให้สบาย

    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น
    เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด
    อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย

    อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
    เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง


    ธรรมารมณ์

    การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน
    และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ

    ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน
    เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว
    ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์


    กรรม

    ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า
    เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรม
    แล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

    มารยาทของผู้เป็นใหญ่

    " ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง "
    มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่
    ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ


    โลกิยะหรือโลกุตระ

    คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้
    คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ?

    ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว
    ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า
    ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ?
    แต่มันเป็นไปไม่ได้
    เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ
    ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง


    ศิษย์แท้

    พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ
    ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    รู้ซึ้ง

    ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ
    เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ
    เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา


    ใจสำคัญ

    การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา
    ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย


    หยุดพิจารณา

    คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว
    จิตมันจะฟุ้งซ่าน
    และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ
    หยุดพิจารณา
    แล้วค้นสัจจะของ
    ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

    บริจาค

    ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอ

    การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
    เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ

    การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม


    ทำด้วยใจสงบ

    เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน
    เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน
    เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว
    ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก


    มีสติพร้อม

    จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ
    อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง


    เตือนมนุษย์

    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า


    พิจารณาตัวเอง

    คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร
    ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ
    ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร
    คือให้ปลีกตัว
    มีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น
    เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง



    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน
    เล่มของหลวงปู่ทวดขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม


    [​IMG] [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2011
  10. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ธรรมะเย็นใจ

    ขอนำเสนอ

    เคล็บลับการทำบุญสมัยพุทธกาล
    "ลงทุนน้อยกว่า ได้บุญมากกว่า"



    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top">

    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td> [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>


    แล้ววันหนึ่ง ขอบฟ้าก็ได้มีโอกาสเข้าใจ
    "เคล็ดลับการทำบุญตามสมัยพุทธกาล"


    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    .............
    .......
    ...
    .
    หลังจากนั้น ขอบฟ้าก็ได้เริ่มไตร่ตรอง
    หาคำตอบของการทำบุญที่แท้จริง

    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    .............
    .......
    ...
    .

    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    นอกจากนี้หลวงพ่อก็ยังเล่าเรื่องราวสมัย
    พุทธกาลเกี่ยวกับการทำบุญ
    ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเอาไว้ให้ฟัง...

    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    .............
    .......
    ...
    .
    เขายังได้เรียนรู้สิ่งต่างๆอีกมากมายจากหลวงพ่อ...
    ......
    ..
    ........
    ....

    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center">

    ความดี ความไม่ดี ความชอบ ความไม่่ชอบ

    อะไรเหล่านี้มันไม่เกี่ยวกับจิต มันเป็นสมมุติทั้งนั้น

    ทั้งบุญ ทั้งบาปมันไม่เกี่ยวกันเลย

    การกระทำทั้งหมดมันไม่เกี่ยวกับจิต
    ผิดหรือถูกไม่เกี่ยวกับจิตเลย


    หากลองพิจาณาโดยแยบคาย จะเข้าใจว่าจิตแท้จริงคืออะไร


    และธรรมทั้งหลาย ก็จะเป็นเพียงสักแต่ว่าธรรมเท่่านั้น จะไม่มีอะไรเป็นอะไรเลย นั้นก็หมายถึงจะไม่มีเรา
    เข้าไปเีกี่ยวข้องเลย


    จิตที่เป็นอิสระจากความยึดถือทั้งหลาย
    ย่อมไม่เีกี่ยวอะไรกันกับสิ่งที่่กล่าวมานี้


    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    [​IMG]

    โอกาสนี้กราบขออภัย ขอขมากรรม ด้วยกาย วาจา ใจ หากมีข้อความใดๆ ที่นำมาเสนอกล่าวมาแล้วทั้งปวงไม่ได้รับสาระและประโยชน์อันใดเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2011
  11. ปธ6

    ปธ6 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +292
    สุดยอด เลยท่าน...นี่คือสิ่งดีๆที่สมควรนำออกสู่ชาวโลก
     
  12. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    โมทนาสาธุด้วยเช่นกันนะ
     
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมนาด้วนเช่นกัน
     
  14. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมนาด้วยเช่นกัน
     
  15. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมทนา อนุญาติให้นำไปเผยแพร่เป็นธรรมทาน
    ตามความสะดวกเลย
     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมทนาเช่นกันนะครับ
     
  17. pbun

    pbun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +369
    ขออนุโมทนา สาธุครับ ขอนำรูปแบบนี้ไปเผยแผ่ต่อนะครับ....
    ในปัจจุบันนี้ ยังมีผู้ไม่รู้หรือรู้แบบไม่ถูกต้องอยู่อีกมากมายนัก
    จึงเป็นที่มาของการหลอกลวงให้ทำบุญ ให้สร้างบุญ จนกลายเป็นร่วมสร้างกรรมไม่ดี
    จนลืมนึกถึงเหตุและผลตามเจตนาแห่งคำสอนที่แท้จริงไปเสียแล้ว.....สาธุ
     
  18. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ยินดีครับ หากเห็นว่ามีสาระมีประโยชน์นำไปเผยแพร่ได้ตามความสะดวก

    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  19. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    [​IMG]


    ๑. อัตตทีปสูตร
    <center> ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม

    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒
    </center> <table style="line-height:1.8; margin-top:0; margin-bottom:0; margin-left:0;" align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="362">

    </td> <td align="center" valign="middle" width="492">

    </td> <td align="right" valign="bottom" width="350">

    </td> </tr> </tbody></table>

    [๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี.
    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ

    จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ

    มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่
    จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำใสัปปุริสธรรม

    ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน๑ ย่อมเห็นตนมีรูป๑ ย่อมเห็นรูปในตน๑ ย่อมเห็นตนในรูป๑
    รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป

    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและเป็นอื่นไป.

    ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
    ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
    ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
    ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ๑
    วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะวิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.

    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
    รูปในกาลก่อนและรูปทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้ ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่า เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
    สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
    สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
    วิญญาณไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
    วิญญาณในกาลก่อน และ วิญญาณทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ดังนี้ ย่อมละ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้
    ย่อมไม่ สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น.
    <center> จบ

    </center>
    --------------
    ที่มาคัดลอกจาก:�ѵ��ջ�ٵ�






    [​IMG]

    อาสาฬหบูชา


    ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘

    วัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
    เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่น สาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและ สามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘
    <hr align="left" size="1">
    ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า

    ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ
    ๒ ประการคือ


    ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
    ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

    ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
    ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
    ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
    ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
    ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน


    ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

    ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

    ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

    ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
    ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น

    <hr align="left" size="1">
    ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ
    <hr align="left" size="1">
    ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง อ า ส า ฬ ห บู ช า

    “อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา
    โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์

    สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ

    ๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
    ๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
    ๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
    ๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
    ๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
    เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)
    <table align="left" border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table>
    พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิต นี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด


    ข้อความคัดลอกจาก:�ѹ�����˺٪� - �ѹ�Ӥѭ�ҧ��оط���ʹ� - �������
    http://palungjit.org/threads/แจกฟรี...กัดจำนวน-แจกถึงเดือนสิงหาคม-๕๔.265845/page-49
     
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    มีโอกาศได้ไปร่วมบุญถวายพระเครื่องสังฆทาน
    ณ.วัดบ่อเงินบ่อทอง ต.หนองแหน
    อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    วันเข้าพรรษา ที่ 16 กรกฏาคม 2554

    [​IMG]


    วัดบ่อเงิน บ่อทอง
    อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

    วัด บ่อเงิน บ่อทอง มีท่านเจ้าอาวาสคือพระเดชพระคุณท่านพระมหาแผน พระนักปฏิบัติดี และพระนักพัฒนาได้นำเด็กยากจนมาอุปการะจำนวนมาก เพื่อมามาบวชเรียนเป็นสามเณรที่วัดแห่งนี้ เพราะท่านเกรงว่าเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ อาจถูกชักนำไปในทางที่ผิดได้ ดังนั้นท่านจึงนำมาอุปการะและให้การศึกษาทั้งวิชาทางโลกและทางธรรมคือการ เรียนปริยัติธรรม ด้วยเหตุนี้ทางวัดจึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

    เบื่องต้นได้สอบถามความเป็นมาคร่าวๆ พระอาจารย์ท่านได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วสามเณรที่ ท่านดูแลอยู่ประมาณ 90 กว่ารูป ลำบากมากๆ เพราะอาหารที่มีอยู่กำลังจะหมดไป ของใหม่ก็ไม่มีมาเพราะอยู่ห่างไกลจากชุมชน

    ก็เลยถามท่านว่า เหตุใดท่านต้องเอาลูกเค้ามาเลี้ยง ท่านก็ตอบว่า เด็กๆ พวกนี้เป็นคนยากจน พ่อไปทาง แม่ไปทางเป็นโจรไปก็มีท่านว่าฉันเอาเค้ามา เลี้ยงอย่างน้อยๆก็ สั่งสอนเค้าให้เป็นคนดีในสังคมได้ หรือหากเด็กมันมีบุญ วาสนาก็จะได้เป็นเนื้อนาบุญ สืบต่อพระศาสนาต่อไป มีอยู่ครั้งหนึ่งพระอาจารย์ท่าน เล่าให้ฟังว่า ท่านได้เรียกประชุมเณรเพราะท่านหมดกำลังที่จะดูแลเณรน้อยทั้งหลายต่อไป สามเณรน้อยพร้อมใจกันกราบแทบเท้าท่านแล้วพูดว่าหลวงพ่อกินเกลือพวกผมก็กินเกลือแต่ ถ้าท่านอด พวกเราก็ขออดด้วย


    ปัจจุบันนี้ก็ดีขึ้นมาสามเณรที่่ท่านดูแล้วอยู่ ประมาณ 60 รูป
    ทาง เจ้าคณะพระมหาแผนได้บอกว่า เด็กๆและสามเณร ขาดอุปกรณ์การเรียนเช่น หนังสือ สมุด ดินสอ วัดก็อยู่ห่างไกลพระต้องเดินมาบิณฑบาต ประมาณ 26 กม. วัดอยู่กลางทุ่งนา เห็นหลวงพ่อบอกว่า ต้องการข้าวสาร และอาหารแห้ง

    ใครต้องการช่วยบริจาคข้าวสารและอาหารแห้ง อุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กและสามเณร
    ท่านสามารถติดต่อโดยตรงกับทาง พระมหาแผน ฐิติธัมโม ได้ที่ 081-9408541



    หากท่านใดต้องการร่วมทำบุญกับกิจกรรมงานบุญครั้งนี้ ดังรายการต่อไปนี้

    1 ทำบุญจัดโรงทาน เลี้ยงพระ เณรและชาวบ้าน ที่วัดบ่อเงิน บ่อทอง และทำบุญเลี้ยงอาหารเช้าพระ

    2 ทำบุญสนับสนุนการศึกษาของเณร ที่วัดบ่อเงิน บ่อทอง พร้อมอุปการณ์การเรียนต่างๆ เช่น หนังสือปริยัติ หนังสือแบบเรียนสายสามัญ สมุด ดินสอ ยางลบ

    3 ทำบุญถวายสังฆทานและปัจจัยบำรุงศาสนกิจของวัด


    สิ่งของที่รับบริจาคสงเคราะห์พระภิกษุสามเณร
    1. ข้าวสาร อาหารแห้ง เช่น กะปิ น้ำปลาซอส เครื่อง แกงเครื่องปรุงแต่งรสอาหาร ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น
    2. อุปกรณ์ การศึกษา เช่น สมุด ปากกา ดินสอ ยางลบไม้บรรทัด เป็นต้น
    3. หนังสือเรียน นักธรรม ตรี โท เอกและสายสามัญ

    * **โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา**
    สำนักสงฆ์ บ่อเงินบ่อทอง ต. หนองแหนอ.พนมสาร คาม จ.ฉะเชิงเทรา

    หรือสามารถร่วมทำบุญได้ที่

    หมายเลขบัญชี 203-0-06304-5
    ธ. กรุงไทย
    สาขา พนมสารคาม
    ชื่อบัญชี ร.ร. ปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง


    สามารถโทรติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
    พระมหาแผน
    081-940 8541



    ภาพทั่วไปบริเวณวัด

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพนี้พระศรีอริยเมตไตรยที่ได้นำไปร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต งานหล่อพระหลวงปู่สรวงซึ่งได้นำมาบรรจุพระบรมสาริกธาตุ พระปัจเจกธาตุ พระะธาตุข้าวบิณฑ์ พระธาตุแก้วจักรพรรดิ พร้อมลูกแก้วและวัตถุมงคลมวลสารต่างๆ และพระผงจักรพรรดิ์เพื่อบรรจุในองค์พระ

    [​IMG]

    [​IMG]
    พระอาจารย์ท่านศรัทธาในพระเดชพระคุณหลวงพ่อปาน(วัดบางนมโค)และพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(วัดท่าซุง) มากโอกาศนี้ได้อธิษฐานจิตถวายพระศรีิอริยเมตไตรย พระบรมสาริกธาตุสมเด็จองค์ปฐม องค์ปัจจุบัน พระผงจักรพรรดิ และเครื่องสังฆทานต่างๆ ถวายแด่ท่าน

    [​IMG]

    ในการถวายพระครั้งนี้อยู่ในท่วมกลางของการประชุมพระภิกษุสามเณรเพื่อร่วมอนุโมทนาบุญเป็นสักขีพยานในบุญนี้

    [​IMG]
    จากนั้นท่านพระอาจารย์ได้พาคณะพระภิกษุสงฆ์สวดมนต์ทำวัตร เย็น ถือว่าได้ฉลองศรัทธาที่ได้นำพระและเครื่องสังฆทานต่างๆมาถวายในครั้งนี้ด้วย

    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพ รูปหล่อเหมือนพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    [​IMG]

    ทางวัดกำลังรอความเมตตาจากทุกท่านอยู่ การสร้างพระ สร้างคน สร้างธรรม
    นั้นถือได้ว่าประเสริฐแท้



    [​IMG]

    ปัจจุบันนี้พระอาจารย์ท่านกำลังดำเนินการก่อสร้างพระหน้าตัก 10 เมตร
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ สร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม


    วัสดุสิ่งก่อสร้างองค์พระพุทธปฏิมากร
    1 ปูนซีเมนต์หล่อองค์พระ ซีแพค คิวละ 1,599 บาท
    2 ทราย-หินหล่อองค์พร คันรถบรรทุกคันละ 3,999 บาท
    3 เหล็กเส้นโครงสร้างองค์พระพุทธรูป เส้นละ 99 บาท
    4 ปูนซีเมนต์หล่อองค์พระถุงละ 150 บาท
    เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวร และหมู่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว


    1. สร้างพระองค์ ได้อานิสงส์ 5 กัลป์ ....ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่สร้างด้วยอะไรก็ตาม หมายความว่าบุญกุศลจะตามหนุนส่งท่านไปทุกภพทุกชาตินานถึง กัลป์........(หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)

    2. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ กล่าวว่า"การสร้างสมเด็จองค์ปฐมทำได้ยาก คือว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นพระพุทธเจ้าทั้งหมด การสร้างองค์ปฐมนี้ท่านเปลี่ยนบัญชีใหม่ โดยใช้บัญชีสีทอง เป็นทองคำล้วนทั้งเล่มจดบันทึก (เป็นอีกเล่มหนึ่งจากที่จดธรรมดา) ก็แสดงว่าคนที่จะสร้างต้องเป็นคนมีบุญมาก และไปนิพพานได้เร็วมาก"เพราะบัญชีสีทอง หลวงพ่อฯบอกว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องโมทนาหมด......

    3. ผู้ใดสร้างรูปพระพุทธเจ้าจะเป็นองค์เล็กเท่าต้นคาก็ดี ใหญ่กว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเป็นมนุษย์ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหมื่นชาติ แสนชาติจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย ตราบจนกว่าเข้าสู่นิพพาน (หลวงพ่อขอมวัดไผ่โรงวัว)......

    4. การสร้างพระ เปรียบได้กับธนาคารบุญซึ่งจะเกิดบุญกุศลกับผู้ที่มีส่วนในการสร้าง โดยบุญกุศลนั้น จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีผู้มากราบไหว้ สักการะบูชา เท่ากับจำนวนคน (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา).......

    5. การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธาจนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูป ได้ และออกมาทำทาน ในงานฉลองพระพุทธรูปได้ชื่อว่าเป็นผู้มี"ความเห็นตรง เห็นถูกแท้" เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลยผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าเป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

     

แชร์หน้านี้

Loading...