ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “การผูกจิต”

    ” .. พยายาม “ผูกจิตใจให้อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง” หรือจุดใดจุดหนึ่งนั้น “ให้เราเอาอารมณ์ที่ถูกจริตนิสัยของตนเป็นเครื่องผูก” เช่น “พุทโธ กำหนดลมหายใจเข้าออก” หรืออย่างอื่นอีกก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง

    ความมุ่งหมาย “ต้องการให้จิตใจว่างจากอารมณ์ภายนอก” หดตัวเข้ามาสู่ความสงบ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสติปัญญาของตน ทำไปจนชำนิชำนาญจะเข้าจะออกเวลาใดก็ได้ จะอยู่นานหรือไม่นานได้ตามปรารถนา “เมื่อเราทำอย่างนี้ จิตของเราควรจะพิจารณาธรรมขั้นละเอียดได้แล้ว” .. ”

    “วีระปฎิปทา”
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร

    O ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน
    อยู่ในเขตพระนครราชคฤห์ มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ อักโกสก
    ได้ทราบว่าพราหมณ์ภารทวาชโคตรได้ไปบวชเป็นบรรพชิต
    ในสำนักของพระพุทธเจ้า ก็โกรธขัดใจ

    เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วด่าบริภาษพระพุทธเจ้า
    ด้วยวาจาอันหยาบคายมิใช่ของสุภาพชน

    O เมื่ออักโกสกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า
    พราหมณ์ ท่านมีญาติมิตรมาเยี่ยมบ้างไหม
    พราหมณ์ได้ทูลตอบว่ามีมาเป็นครั้งคราว

    พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสถามต่อไปว่า
    พราหมณ์ เมื่อมีญาติมิตรมาหา
    ท่านเคยจัดของบริโภคหรือของดื่ม
    ต้อนรับแขกของท่านบ้างหรือไม่

    พราหมณ์ก็ทูลตอบว่า ข้าพระองค์ได้จัดของบริโภค
    และของดื่มต้อนรับญาติมิตรในบางคราว

    O พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า
    พราหมณ์ ถ้าญาติมิตรผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ
    ของบริโภคและของดื่มเหล่านั้นจะเป็นของใคร

    พราหมณ์ได้ทูลตอบว่า
    ของต่างๆ เหล่านั้นเป็นของข้าพระองค์

    O พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พราหมณ์ ข้อนี้ก็เป็นอย่างเดียวกัน
    เราไม่รับการด่าว่าของท่าน
    ฉะนั้น การด่าว่าก็กลับไปเป็นของท่านผู้เดียว
    ผู้ใดด่าโกรธตอบบุคคลผู้ด่าผู้นั้นเราว่าบริโภคร่วมกัน
    เรานั้นไม่บริโภคร่วม

    O พระพุทธเจ้าได้ตรัสต่อไปว่า…
    ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้วมีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ
    บุคคลที่ไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ
    ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้โดยยาก
    ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้วมีสติสงบเสียได้
    ผู้นั้นชื่อว่าปฏิบัติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
    คือ แก่ตนและผู้อื่น

    O เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสอย่างนี้แล้ว
    อักโกสกพราหมณ์คิดได้และเข้าใจ
    ได้กราบทูลว่าภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งมาก
    เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่คนหลง หรือส่องประทีปในที่มืด
    คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ ข้าพระองค์มีความศรัทธา
    ขอพระองค์พึงอุปสมบทข้าพระองค์
    อยู่ในสำนักของพระองค์ต่อไป

    O เมื่ออักโกสกได้รับการอุปสมบทแล้ว
    ก็ได้ปฏิบัติอย่างไม่ประมาท มีความเพียร
    ใช้ปัญญาพิจารณาในธรรมต่างๆ
    จนถึงความรู้ที่แท้จริงอย่างแจ่มแจ้ง
    ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์

    -สมเด็จพระญาณส.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๔ ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๓ ปี ๔๕ พรรษา หลวงพ่อสุดใจ เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ผู้ดำเนินปฏิปทาตามรอยธรรมคำสอนจากองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อย่างเคร่งครัด ท่านเป็นที่ไว้วางใจจากองค์หลวงตา ดังจะเห็นได้ว่า ท่านเป็นผู้เดินบาตรแทนหลวงตา คือ ตลอดระยะเวลากว่า ๑๐ ปี เส้นทางกว่า ๑ กิโลเมตรไปกลับบริเวณหน้าวัดป่าบ้านตาด ทุก ๆ เช้า ที่ท่านพระอาจารย์สุดใจ เดินถือบาตรขององค์หลวงตามหาบัว เมตตาโปรดสัตว์ รับบิณฑบาตญาติโยมลูกศิษย์ลูกหาจำนวนหลายร้อยหลายพันคน ที่กรูกันเข้ามาใส่บาตร บาตรของหลวงตามหาบัว ที่ท่านเป็นตัวแทนถือบาตร ด้วยความเมตตา และไม่ระย้อท้อถอย ท่านรับบาตรจนเต็ม แล้วถ่ายออก รับบาตรจนเต็ม แล้วถ่ายออกอีก เพียงเพราะท่านเคารพธรรมจากพ่อแม่ครูอาจารย์องค์พระหลวงตามหาบัว และยินดีในศรัทธาของมหาชน ที่มุ่งหน้ามาใส่บาตรกันทุก ๆ เช้า อีกทั้งช่วงก่อนที่องค์หลวงตาท่านจะละสังขาร ท่านได้จับมือท่านพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน แล้วเมตตาพูดว่า “มือของครูอาจารย์ กับมือของลูกศิษย์ลูกหา ญาติมิตรเพื่อนฝูง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้” ท่านพระอาจารย์สุดใจ จึงถือเป็นทายาททางธรรม ที่เดินตามรอยปฏิปทาขององค์หลวงตา เสมอต้นเสมอปลายอย่างแท้จริง

    “..ให้หมั่นทำความดีเอาไว้เรื่อย ๆ เป็นนิสัย อย่าประมาท เมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิตแล้ว เราก็จะไม่กลัวตาย เพราะเรารู้แล้วนี่ ว่าเมื่อตายแล้ว เราจะไปอยู่ไหน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัวตาย..” หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน

    ประวัติปฏิปทาขององค์หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน

    นามเดิมขององค์ท่านชื่อ สุดใจ เชาว์สมุทร์ บิดาชื่อ นายวิง มารดาชื่อ นางปุ่น ท่านถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๘๗ ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ จากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ท่านได้เข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๖ ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โดยมีพระราชวรคุณ (หลวงปู่สำรอง คุณวุฑโฒ ภายหลังได้รับแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อทอง จันทสิริ เป็นพระกรรมวาจารย์ หลวงพ่อปิ่น ตันติธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อบวชแล้วในพรรษาแรกท่านได้อยู่ศึกษาอบรมกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี จากนั้นในพรรษาที่ ๓ ได้มาอยู่ศึกษาอบรมกับองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี จนถึงปัจจุบันรวมเป็นระยะเวลาเกือบ ๔๐ ปี สำหรับพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ซึ่งเป็นพระที่อยู่วัดป่าบ้านตาด ทำงาน และดูแลหลวงตามหาบัว มายาวนาน แม้จะมีพระหลายรูปไปปลีกวิเวก แต่พระอาจารย์สุดใจ ก็ยังคงอยู่กับหลวงตาจนวาระสุดท้ายขององค์หลวงตา ท่านมีนิสัยพูดน้อย ถ่อมตน แต่ทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง และได้รับความไว้วางใจจากองค์หลวงตามหาบัว ให้ดูแลเรื่องหนังสือธรรมะต่าง ๆ โดยหนังสือหลวงตาเกือบทุกเล่ม ตลอดถึงกัณฑ์เทศน์ต่าง ๆ ที่ลงในเว็บหลวงตา www.luangta.com จะต้องผ่านการตรวจทานจากท่านทั้งหมด ดังคำกล่าวที่หลวงตามหาบัว เคยเทศน์ไว้ว่า “..อย่างเราเทศน์ทางนี้ ไปทางนู้นก็ให้ท่านสุดใจตรวจอีกทีหนึ่ง เพราะท่านสุดใจรู้เรื่องของเราดี การพูดการจาแง่หนักเบาท่านสุดใจเข้าใจเรื่องเรา เพราะเป็นพระปฏิบัติด้วยกัน ถ้าภาคปริยัติกับปฏิบัติไปตรวจกันไม่ได้เรื่อง ภาคปริยัติไปอย่างหนึ่ง ภาคปฏิบัติไปอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นภาคปฏิบัติตรวจภาคปฏิบัติเข้าใจทันที..”

    ก่อนที่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านจะละสังขาร ท่านได้จับมือท่านพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน แล้วเมตตาพูดว่า “มือของครูอาจารย์ กับมือของลูกศิษย์ลูกหา ญาติมิตรเพื่อนฝูง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้” ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ องค์หลวงตามหาบัว ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าบ้านตาด หลังจากนั้นจึงได้มีการแต่งตั้งท่านพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี รูปใหม่แทน หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยมี พระราชวราลังการ (หลวงปู่สิงห์ อินทปัญโญ) วัดโพธิสมภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานในพิธีการมอบตราตั้งให้พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน รักษาการเจ้าอาวาส ที่ ๐๔/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ศาลาการเปรียญวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีใจความว่า.. “อาศัยอำนาจตามความในข้อที่ ๒๗ แห่งกฎหมายมหาเถระสมาคมฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ จึงแต่งตั้งให้ พระสุดใจ ฉายา ทนฺตมโน อายุ ๖๗ พรรษา ๓๘ วิทยฐานะ น.ธ.ตรี วัดป่าเกษรศิลคุณ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าเกษรศิลคุณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ที่อยู่ในวัดดังกล่าวข้างต้น จงอยู่ในโอวาทของรักษาการเจ้าอาวาสที่ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้น ซึ่งปฏิบัติการโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถระสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ ของมหาเถระสมาคม ขอจงถือความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา ตลอดกาลนาน เทอญฯ ลงชื่อ เจ้าอธิการสุพิศ สุนฺทโร เจ้าคณะตำบลบ้านตาด เขต ๑ (ธรรมยุต) ..”

    “พอบวชเริ่มภาวนาใจได้รับความสุขสงบเย็นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นึกย้อนถามตัวเองว่า ถ้าเรานั่งอยู่มีคนเดินมาด่าเรา เราจะโกรธมั๊ย คนทั่วไปที่ไม่รับการฝึกอบรมจิตใจมา ย่อมมีความโกรธเป็นธรรมดา แต่คนที่ได้รับการฝึกฝนมาจะไม่โกรธ กลับสงสารว่า…เค้าไม่เคยเจอความสุขที่แท้จริง เค้าน่าสงสาร ถ้าเรารักตัวเอง เราจะไม่ส่งจิตออกไปให้ใจโกรธ แต่จะมีสติรักษาจิตให้มีความสุข สงบเย็น..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    “…คนเรามันก็เหมือนมีงานอยู่ตลอดเวลาหล่ะนะ หมดพรรษาแล้วใครอยากจะไปอยู่วิเวกก็ไปได้ คือพระเราที่จะอยู่ไปวันนึง วันนึง แบบฆราวาสเขาก็ไม่ได้น่ะ นับวันมันจะมีภาระมากขึ้น พรรษาก็มีมากตามไปด้วย หน้าที่ของเราที่ต้องปฏิบัติต่อตัวเราเอง อย่างน้อยให้มีความสงบเป็นที่พึ่งของใจมันก็อยู่ได้ ถ้าไม่มีเลยนี่ มันก็จะคว้าเอาเรื่องทางโลกมาปฏิบัติกัน ในสายตาของครูบาอาจารย์ก็จะมองว่ามันไม่เป็นการดีเลยที่จะเป็นอย่างนั้น

    …พระพุทธเจ้าออกบวชก็มุ่งที่จะชำระล้างกิเลสที่มีอยู่ในใจขององค์ท่านให้ออกไปให้หมด ท่านเห็นอะไร ไม่ว่าต้นไม้ ใบหญ้าหรือคน ท่านก็จะตีเข้ามาหาตัวเป็นธรรมเสมอว่า โลกนี้มันเป็นโลกที่ไม่เที่ยงนะ มีกฏของไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าบังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลา แล้วมนุษย์เราแต่ละคน แต่ละคน ไม่ใช่ว่าอายุจะยืนยาวอะไรนักหนา แล้วก็บอกไม่ได้ด้วยว่า คนแก่จะต้องตายก่อนวัยเด็กเสมอไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิตลง เกิดโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียนทำให้ตายก่อนวัยอันควร ท่านจึงสอนว่าอย่าประมาทในคุณงามความดี อย่าคิดว่าทำน้อยนิดมันจะไม่ให้ผล เมื่อทำอยู่บ่อย ๆ มันก็จะติดเป็นนิสัย แล้วสิ่งเหล่านี้แหละที่จะชักนำเราให้พ้นทุกข์ไปภายในวันหนึ่งแน่นอน

    ทำอะไรก็พยายามน่ะ ทำเอาจริงเอาจัง ผู้ปฏิบัติทางด้านธรรมะ มันจะเอานิสัยทางด้านนั้นมาใช้ แล้วคนที่จริงจัง คือว่ามีการตั้งสติ ความรู้อยู่กับสติไม่คลาดเคลื่อนไปไหน จิตที่มันฟุ้งซ่านที่เคยมีอยู่ มันต้องสงบลงได้อย่างแน่นอน เมื่อจิตเราเกิดความสงบ เพียงครั้งแรกเท่านั้นแหละ มันก็มีความตื่นเต้นแล้ว แล้วยิ่งสงบเข้าไปหลายครั้งหลายหน ได้ความสว่างกระจ่างแจ้ง มันก็จะเกิดขึ้น เราถึงว่าจิตมันเริ่มสัมผัสกับธรรมแล้ว ต่อจากนั้นความขี้เกียจขี้คร้าน ในการที่จะทำความพากความเพียร มันก็ค่อย ๆ จะหมดไป ๆ แล้วเราก็จะมองเห็นว่า เฮ้ย..ตัวขี้เกียจขี้คร้านเนี่ย มันเป็นกิเลสโดยแท้เลย ซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยคิดเคยนึกนะ พอจิตเจริญขึ้นมันมีความสงบของมันเป็นปกตินี่ เวลาเดินจงกรม มันก็จะขยันเดิน เดินไปบางที นึกว่ามันแค่ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง บางทีเดินไป สามชั่วโมง สี่ชั่วโมงก็มี เมื่อมีความสงบจากนั้นมีโอกาสก็ก้าวทางปัญญา พิจารณาสิ่งทั้งหลายลงไปสู่ไตรลักษณ์ จนกระทั่งถึงสุดท้าย ที่มันถอดถอนได้สุด “หมดกิเลส” และไอ้ความทุกข์ของใจที่มันหมดกิเลสแล้ว มันหาอะไรเทียบไม่ได้นะ แล้วก็จะสามารถรู้ได้ด้วยตนเองได้ว่าจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว…วันนี้ก็ให้ธรรมะย่อ ๆ แค่นี้นะ เสียงมันไม่มีแล้ว…” โอวาทธรรมคำสอนท่านพระอารย์สุดใจ ทันตมโน เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    _/_ _/_ _/_

    -๑๔-ตุลาคม-เ.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๔ ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๓ ปี ๔๕ พรรษา หลวงพ่อสุดใจ เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ผู้ดำเนินปฏิปทาตามรอยธรรมคำสอนจากองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อย่างเคร่งครัด ท่านเป็นที่ไว้วางใจจากองค์หลวงตา ดังจะเห็นได้ว่า ท่านเป็นผู้เดินบาตรแทนหลวงตา คือ ตลอดระยะเวลากว่า ๑๐ ปี เส้นทางกว่า ๑ กิโลเมตรไปกลับบริเวณหน้าวัดป่าบ้านตาด ทุก ๆ เช้า ที่ท่านพระอาจารย์สุดใจ เดินถือบาตรขององค์หลวงตามหาบัว เมตตาโปรดสัตว์ รับบิณฑบาตญาติโยมลูกศิษย์ลูกหาจำนวนหลายร้อยหลายพันคน ที่กรูกันเข้ามาใส่บาตร บาตรของหลวงตามหาบัว ที่ท่านเป็นตัวแทนถือบาตร ด้วยความเมตตา และไม่ระย้อท้อถอย ท่านรับบาตรจนเต็ม แล้วถ่ายออก รับบาตรจนเต็ม แล้วถ่ายออกอีก เพียงเพราะท่านเคารพธรรมจากพ่อแม่ครูอาจารย์องค์พระหลวงตามหาบัว และยินดีในศรัทธาของมหาชน ที่มุ่งหน้ามาใส่บาตรกันทุก ๆ เช้า อีกทั้งช่วงก่อนที่องค์หลวงตาท่านจะละสังขาร ท่านได้จับมือท่านพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน แล้วเมตตาพูดว่า “มือของครูอาจารย์ กับมือของลูกศิษย์ลูกหา ญาติมิตรเพื่อนฝูง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้” ท่านพระอาจารย์สุดใจ จึงถือเป็นทายาททางธรรม ที่เดินตามรอยปฏิปทาขององค์หลวงตา เสมอต้นเสมอปลายอย่างแท้จริง

    “..ให้หมั่นทำความดีเอาไว้เรื่อย ๆ เป็นนิสัย อย่าประมาท เมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิตแล้ว เราก็จะไม่กลัวตาย เพราะเรารู้แล้วนี่ ว่าเมื่อตายแล้ว เราจะไปอยู่ไหน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัวตาย..” หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน

    ประวัติปฏิปทาขององค์หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน

    นามเดิมขององค์ท่านชื่อ สุดใจ เชาว์สมุทร์ บิดาชื่อ นายวิง มารดาชื่อ นางปุ่น ท่านถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๘๗ ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ จากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ท่านได้เข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๖ ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โดยมีพระราชวรคุณ (หลวงปู่สำรอง คุณวุฑโฒ ภายหลังได้รับแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อทอง จันทสิริ เป็นพระกรรมวาจารย์ หลวงพ่อปิ่น ตันติธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อบวชแล้วในพรรษาแรกท่านได้อยู่ศึกษาอบรมกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี จากนั้นในพรรษาที่ ๓ ได้มาอยู่ศึกษาอบรมกับองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี จนถึงปัจจุบันรวมเป็นระยะเวลาเกือบ ๔๐ ปี สำหรับพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ซึ่งเป็นพระที่อยู่วัดป่าบ้านตาด ทำงาน และดูแลหลวงตามหาบัว มายาวนาน แม้จะมีพระหลายรูปไปปลีกวิเวก แต่พระอาจารย์สุดใจ ก็ยังคงอยู่กับหลวงตาจนวาระสุดท้ายขององค์หลวงตา ท่านมีนิสัยพูดน้อย ถ่อมตน แต่ทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง และได้รับความไว้วางใจจากองค์หลวงตามหาบัว ให้ดูแลเรื่องหนังสือธรรมะต่าง ๆ โดยหนังสือหลวงตาเกือบทุกเล่ม ตลอดถึงกัณฑ์เทศน์ต่าง ๆ ที่ลงในเว็บหลวงตา www.luangta.com จะต้องผ่านการตรวจทานจากท่านทั้งหมด ดังคำกล่าวที่หลวงตามหาบัว เคยเทศน์ไว้ว่า “..อย่างเราเทศน์ทางนี้ ไปทางนู้นก็ให้ท่านสุดใจตรวจอีกทีหนึ่ง เพราะท่านสุดใจรู้เรื่องของเราดี การพูดการจาแง่หนักเบาท่านสุดใจเข้าใจเรื่องเรา เพราะเป็นพระปฏิบัติด้วยกัน ถ้าภาคปริยัติกับปฏิบัติไปตรวจกันไม่ได้เรื่อง ภาคปริยัติไปอย่างหนึ่ง ภาคปฏิบัติไปอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นภาคปฏิบัติตรวจภาคปฏิบัติเข้าใจทันที..”

    ก่อนที่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านจะละสังขาร ท่านได้จับมือท่านพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน แล้วเมตตาพูดว่า “มือของครูอาจารย์ กับมือของลูกศิษย์ลูกหา ญาติมิตรเพื่อนฝูง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้” ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ องค์หลวงตามหาบัว ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าบ้านตาด หลังจากนั้นจึงได้มีการแต่งตั้งท่านพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี รูปใหม่แทน หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยมี พระราชวราลังการ (หลวงปู่สิงห์ อินทปัญโญ) วัดโพธิสมภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานในพิธีการมอบตราตั้งให้พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน รักษาการเจ้าอาวาส ที่ ๐๔/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ศาลาการเปรียญวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีใจความว่า.. “อาศัยอำนาจตามความในข้อที่ ๒๗ แห่งกฎหมายมหาเถระสมาคมฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ จึงแต่งตั้งให้ พระสุดใจ ฉายา ทนฺตมโน อายุ ๖๗ พรรษา ๓๘ วิทยฐานะ น.ธ.ตรี วัดป่าเกษรศิลคุณ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าเกษรศิลคุณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ที่อยู่ในวัดดังกล่าวข้างต้น จงอยู่ในโอวาทของรักษาการเจ้าอาวาสที่ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้น ซึ่งปฏิบัติการโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถระสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ ของมหาเถระสมาคม ขอจงถือความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา ตลอดกาลนาน เทอญฯ ลงชื่อ เจ้าอธิการสุพิศ สุนฺทโร เจ้าคณะตำบลบ้านตาด เขต ๑ (ธรรมยุต) ..”

    “พอบวชเริ่มภาวนาใจได้รับความสุขสงบเย็นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นึกย้อนถามตัวเองว่า ถ้าเรานั่งอยู่มีคนเดินมาด่าเรา เราจะโกรธมั๊ย คนทั่วไปที่ไม่รับการฝึกอบรมจิตใจมา ย่อมมีความโกรธเป็นธรรมดา แต่คนที่ได้รับการฝึกฝนมาจะไม่โกรธ กลับสงสารว่า…เค้าไม่เคยเจอความสุขที่แท้จริง เค้าน่าสงสาร ถ้าเรารักตัวเอง เราจะไม่ส่งจิตออกไปให้ใจโกรธ แต่จะมีสติรักษาจิตให้มีความสุข สงบเย็น..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    “…คนเรามันก็เหมือนมีงานอยู่ตลอดเวลาหล่ะนะ หมดพรรษาแล้วใครอยากจะไปอยู่วิเวกก็ไปได้ คือพระเราที่จะอยู่ไปวันนึง วันนึง แบบฆราวาสเขาก็ไม่ได้น่ะ นับวันมันจะมีภาระมากขึ้น พรรษาก็มีมากตามไปด้วย หน้าที่ของเราที่ต้องปฏิบัติต่อตัวเราเอง อย่างน้อยให้มีความสงบเป็นที่พึ่งของใจมันก็อยู่ได้ ถ้าไม่มีเลยนี่ มันก็จะคว้าเอาเรื่องทางโลกมาปฏิบัติกัน ในสายตาของครูบาอาจารย์ก็จะมองว่ามันไม่เป็นการดีเลยที่จะเป็นอย่างนั้น

    …พระพุทธเจ้าออกบวชก็มุ่งที่จะชำระล้างกิเลสที่มีอยู่ในใจขององค์ท่านให้ออกไปให้หมด ท่านเห็นอะไร ไม่ว่าต้นไม้ ใบหญ้าหรือคน ท่านก็จะตีเข้ามาหาตัวเป็นธรรมเสมอว่า โลกนี้มันเป็นโลกที่ไม่เที่ยงนะ มีกฏของไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าบังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลา แล้วมนุษย์เราแต่ละคน แต่ละคน ไม่ใช่ว่าอายุจะยืนยาวอะไรนักหนา แล้วก็บอกไม่ได้ด้วยว่า คนแก่จะต้องตายก่อนวัยเด็กเสมอไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิตลง เกิดโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียนทำให้ตายก่อนวัยอันควร ท่านจึงสอนว่าอย่าประมาทในคุณงามความดี อย่าคิดว่าทำน้อยนิดมันจะไม่ให้ผล เมื่อทำอยู่บ่อย ๆ มันก็จะติดเป็นนิสัย แล้วสิ่งเหล่านี้แหละที่จะชักนำเราให้พ้นทุกข์ไปภายในวันหนึ่งแน่นอน

    ทำอะไรก็พยายามน่ะ ทำเอาจริงเอาจัง ผู้ปฏิบัติทางด้านธรรมะ มันจะเอานิสัยทางด้านนั้นมาใช้ แล้วคนที่จริงจัง คือว่ามีการตั้งสติ ความรู้อยู่กับสติไม่คลาดเคลื่อนไปไหน จิตที่มันฟุ้งซ่านที่เคยมีอยู่ มันต้องสงบลงได้อย่างแน่นอน เมื่อจิตเราเกิดความสงบ เพียงครั้งแรกเท่านั้นแหละ มันก็มีความตื่นเต้นแล้ว แล้วยิ่งสงบเข้าไปหลายครั้งหลายหน ได้ความสว่างกระจ่างแจ้ง มันก็จะเกิดขึ้น เราถึงว่าจิตมันเริ่มสัมผัสกับธรรมแล้ว ต่อจากนั้นความขี้เกียจขี้คร้าน ในการที่จะทำความพากความเพียร มันก็ค่อย ๆ จะหมดไป ๆ แล้วเราก็จะมองเห็นว่า เฮ้ย..ตัวขี้เกียจขี้คร้านเนี่ย มันเป็นกิเลสโดยแท้เลย ซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยคิดเคยนึกนะ พอจิตเจริญขึ้นมันมีความสงบของมันเป็นปกตินี่ เวลาเดินจงกรม มันก็จะขยันเดิน เดินไปบางที นึกว่ามันแค่ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง บางทีเดินไป สามชั่วโมง สี่ชั่วโมงก็มี เมื่อมีความสงบจากนั้นมีโอกาสก็ก้าวทางปัญญา พิจารณาสิ่งทั้งหลายลงไปสู่ไตรลักษณ์ จนกระทั่งถึงสุดท้าย ที่มันถอดถอนได้สุด “หมดกิเลส” และไอ้ความทุกข์ของใจที่มันหมดกิเลสแล้ว มันหาอะไรเทียบไม่ได้นะ แล้วก็จะสามารถรู้ได้ด้วยตนเองได้ว่าจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว…วันนี้ก็ให้ธรรมะย่อ ๆ แค่นี้นะ เสียงมันไม่มีแล้ว…” โอวาทธรรมคำสอนท่านพระอารย์สุดใจ ทันตมโน เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “บุพเพนิวาสชาติปางก่อนเป็นสิ่งที่สนิทสนมกลมกลืนกันมา ไม่มีใครแยกได้เลย พอพบกันปั๊บมันเป็นของมันเอง นี่คือความเคยชิน เป็นมาอย่างนี้ จากนั้นมาอยู่ด้วยกันก็บำรุงกันในปัจจุบัน ด้วยความเห็นอกเห็นใจความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน ยิ่งมีความแน่นหนามีความอบอุ่นมากขึ้น ๆ

    ท่านจึงเทียบเหมือนกับว่าดอกบัว กอบัวที่ได้รับเปือกตมเปือกโคลนที่หล่อเลี้ยงแล้วมันก็มีความชื่นบานขึ้นไปโดยลำดับ อันนี้การมาอยู่ด้วยกันได้รับความซื่อสัตย์สุจริต ความฝากเป็นฝากตายต่อกัน ก็ต่างฝ่ายต่างเป็นเครื่องบำรุงน้ำใจซึ่งกันและกัน สนิทสนมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไป

    แปลในธรรม นี่ละที่ว่า ดอกบัวที่เกิดในโคลนตม โคลนตมแลหล่อเลี้ยงดอกบัวให้ชุ่มเย็น ใครที่มาเกิดด้วยกันในวงวัฏวนนี้ก็เหมือนเกิดในเปือกตม แล้วต่างคนต่างทำความดี ไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันแล้วก็เป็นอันเดียวกันไปเลย สุดท้ายก็ยกกันขึ้น อย่างพระนางพิมพา พระพุทธเจ้าเห็นไหมล่ะ เวลาออก ออกไม่มองหน้ามองหลัง ไม่ให้ทราบเลย เรียกว่าขโมยไปเลย เวลาขากลับมาก็เป็นอย่างนั้นเห็นไหมล่ะ”

    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ยิ่งพูดมาก ก็ยิ่งผิดมาก
    ยิ่งผิดน้อย ก็ยิ่งผิดน้อย
    ยิ่งไม่พูด ให้เขามองว่าโง่นั่นแหละดี
    คือบุคคลฉลาดพอที่จะนิ่ง

    หลวงปู่มั่น

    -ก็ยิ่งผิดมาก.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “บุคคลใด ”

    ถวายทานด้วยตนเองด้วย
    ชักชวนผู้อื่นให้ถวายทานด้วย
    บุคคลนั้นเมื่อตายไปเกิดในที่ใดๆ
    ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ (ความร่ำรวย)
    ทั้งบริวารสมบัติ(มิตรสหาย บริวาร)
    สิ้นร้อยชาติบ้าง
    พันชาติบ้าง,แสนชาติบ้าง

    โอวาทธรรม:พระสารีบุตรเถระ

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๕ ตุลาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบปีที่ ๔๐ ของพระครูสุภัทรคุณ (หลวงปู่คำปัน สุภัทโท) พระอริยสงฆ์ธรรมทายาทของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ศิษย์อาวุโสทางเมืองเหนือแห่งวัดสันโป่ง ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลวงปู่คำปัน องค์ท่านได้ติดตามรับข้ออรรถข้อธรรม อยู่กับองค์หลวงปู่่มั่น เกือบ ๒๐ ปี และเชี่ยวชาญการธุดงค์ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ท่านเป็นสหธรรมิกกับ หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร ,หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ครับ (ภาพถ่ายครูบาอาจารย์ ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ นั่งแถวหน้าจากซ้าย คือ หลวงปู่สาม อกิญจโน , หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม , หลวงปู่คำปัน สุภัทโท , หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

    ชีวประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่คำปัน สุภัทโท (พระครูสุภัทรคุณ)
    วัดสันโป่ง ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

    องค์ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ทางเมืองเหนือ ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่คำปัน องค์ท่านได้ติดตามรับข้ออรรถข้อธรรม อยู่กับองค์หลวงปู่่มั่น เกือบ ๒๐ ปี และเชี่ยวชาญการธุดงค์ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ท่านเป็นสหธรรมิกกับ หลวงปู่คำแสน ,หลวงปู่แหวน ,หลวงปู่ตื้อ ,หลวงปู่ชอบ

    องค์ท่านนามเดิม นายคำปัน รัตนภรณ์ เกิด เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ตรงกับเดือน ๑๐ เหนือ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง ณ บ้านสันโป่าง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของนายสิน และ นางคำ รัตนภรณ์

    หลวงปู่คำปัน สุภัทโท ได้เริ่มต้นเข้าสู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ณ วัดสันโป่ง โดยมีท่านครูบาปัญญา เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ศึกษาอักขระภาษาไทย อักขระพื้นเมือง พระปริยัติธรรม กับพระอาจารย์อินต๊ะ และได้อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ พัทธสีมาวัดสันโป่ง โดยมีท่านพระครูมงคลญาณเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจันต๊ะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงปู่คำปัน ได้เรียนปริยัติธรรม ภาษาบาลี พระปรมัตถธรรม วิชาโหราเวทย์ ไสยเวทย์ และวิปัสสนากัมมัฏฐานจากสำนักอาจารย์ต่างๆ เช่น ครูบาปัญญา วัดสันโป่ง ครูบาอินต๊ะ วัดต้นแก้ว (รัตนาราม) ผู้เชี่ยวชาญทางอรรถกถา-บาลี ครูบาธรรมธิ วัดสะลวง ผู้เชี่ยวชาญทางพรหมศาสตร์ ครูบาอินตา วัดเหมืองผ่า (เจดีย์สถาน) เจ้าคุณ(ราชครูวัดฝายหิน) ครูบาอริยะ วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สุดท้ายองค์ท่านได้ฝึกอบรมศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต

    ได้พบท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต
    หลังจากออกพรรษาแล้ว กิจวัตรพิเศษคือ หลวงปู่คำปัน จะออกธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์เพื่อปฏิบัติธรรมแสวงหาความวิเวกทุกๆปี มิได้ขาด อยู่มากระทั้งครูบาปัญญา เจ้าอาวาสวัดสันโป่ง และเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่คำปัน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้มอบหมายตำแหน่งเจ้าอาวาสให้หลวงปู่คำปัน ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี แม้หลวงปู่ จะรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสแล้ว แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด กิจวัตรธุดงค์มิได้ขาด

    ลุถึงสมัยหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระธาตุจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลวงปู่คำปัน ได้เข้าฝากตัวเป็นสานุศิษย์ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับหลวงปู่มั่น จนรอบรู้แตกฉาน เป็นพระสุปฏิปันโน หลวงปู่ใหญ่มั่น ท่านมิได้ให้หลวงปู่คำปัน ญัตติเป็น ธรรมยุตินิกายไม่ แต่ให้คงไว้ซึ่งมหานิกายเดิม เพราะไม่ได้เป็นอุปสรรคประการใด ในการปฏิบัติธรรม พระเถระผู้ร่วมอาจารย์เดียวกัน และต่างไปมาหาสู่กันเสมอๆ คือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร เป็นต้น

    นับแต่นั้นมา หลวงปู่คำปัน ก็ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ถือวัตรเอกา (ฉันมื้อเดียว) มักน้อย สันโดษ ไม่ยึดติด ไม่สะสม ไม่ติดในอามิสลาภผล ไม่มีปลิโพธกังวลในสิ่งใดๆ ตามแนวทางปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์มั่น แม้คราวเจ็บไข้อาพาธ นายแพทย์จะขอร้องให้ท่าน ฉัน ๒ มื้อ ท่านก็ไม่ยอม ท่านเคยพูดว่า ” ถ้าให้ถอยหลังกลับไปมักมากฉันสองมื้ออีก ตายเสียไม่ดีกว่าหรือ..”

    องค์หลวงปู่่คำปัน รักธรรมยิ่งกว่าชีวิต ท่านได้วางตนเป็นแบบอย่างอันดีเยี่ยม ตามแบบพระบูรพาจารย์ที่ท่านได้ศึกษาอบรมมา แม้จะเป็นผู้เงียบสงบ มักน้อย พูดน้อย ไม่โฆษณาโอหัง ไม่เผยแผ่ด้วยวาจา แต่ได้ดำเนินการเผยแผ่แบบปฏิบัติทำตนเป็นตัวอย่าง เรียกว่า สั่งสอนด้วยการทำให้ดู ซึ่งเป็นหลักการเผยแผ่ทางหนึ่ง

    การมรณภาพ
    หลวงปู่คำปัน สุภัทโท ได้ดับขันธ์ลงเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐ เวลา ๐๕.๐๐น. สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕

    ที่มา คัดลอกมาจากหนังสือบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    _/_ _/_ _/_

    -๑๕-ตุลาคมเป.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๕ ตุลาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบปีที่ ๔๐ ของพระครูสุภัทรคุณ (หลวงปู่คำปัน สุภัทโท) พระอริยสงฆ์ธรรมทายาทของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ศิษย์อาวุโสทางเมืองเหนือแห่งวัดสันโป่ง ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลวงปู่คำปัน องค์ท่านได้ติดตามรับข้ออรรถข้อธรรม อยู่กับองค์หลวงปู่่มั่น เกือบ ๒๐ ปี และเชี่ยวชาญการธุดงค์ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ท่านเป็นสหธรรมิกกับ หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร ,หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ครับ (ภาพถ่ายครูบาอาจารย์ ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ นั่งแถวหน้าจากซ้าย คือ หลวงปู่สาม อกิญจโน , หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม , หลวงปู่คำปัน สุภัทโท , หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

    ชีวประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่คำปัน สุภัทโท (พระครูสุภัทรคุณ)
    วัดสันโป่ง ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

    องค์ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ทางเมืองเหนือ ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่คำปัน องค์ท่านได้ติดตามรับข้ออรรถข้อธรรม อยู่กับองค์หลวงปู่่มั่น เกือบ ๒๐ ปี และเชี่ยวชาญการธุดงค์ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ท่านเป็นสหธรรมิกกับ หลวงปู่คำแสน ,หลวงปู่แหวน ,หลวงปู่ตื้อ ,หลวงปู่ชอบ

    องค์ท่านนามเดิม นายคำปัน รัตนภรณ์ เกิด เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ตรงกับเดือน ๑๐ เหนือ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง ณ บ้านสันโป่าง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของนายสิน และ นางคำ รัตนภรณ์

    หลวงปู่คำปัน สุภัทโท ได้เริ่มต้นเข้าสู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ณ วัดสันโป่ง โดยมีท่านครูบาปัญญา เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ศึกษาอักขระภาษาไทย อักขระพื้นเมือง พระปริยัติธรรม กับพระอาจารย์อินต๊ะ และได้อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ พัทธสีมาวัดสันโป่ง โดยมีท่านพระครูมงคลญาณเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจันต๊ะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงปู่คำปัน ได้เรียนปริยัติธรรม ภาษาบาลี พระปรมัตถธรรม วิชาโหราเวทย์ ไสยเวทย์ และวิปัสสนากัมมัฏฐานจากสำนักอาจารย์ต่างๆ เช่น ครูบาปัญญา วัดสันโป่ง ครูบาอินต๊ะ วัดต้นแก้ว (รัตนาราม) ผู้เชี่ยวชาญทางอรรถกถา-บาลี ครูบาธรรมธิ วัดสะลวง ผู้เชี่ยวชาญทางพรหมศาสตร์ ครูบาอินตา วัดเหมืองผ่า (เจดีย์สถาน) เจ้าคุณ(ราชครูวัดฝายหิน) ครูบาอริยะ วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สุดท้ายองค์ท่านได้ฝึกอบรมศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต

    ได้พบท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต
    หลังจากออกพรรษาแล้ว กิจวัตรพิเศษคือ หลวงปู่คำปัน จะออกธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์เพื่อปฏิบัติธรรมแสวงหาความวิเวกทุกๆปี มิได้ขาด อยู่มากระทั้งครูบาปัญญา เจ้าอาวาสวัดสันโป่ง และเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่คำปัน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้มอบหมายตำแหน่งเจ้าอาวาสให้หลวงปู่คำปัน ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี แม้หลวงปู่ จะรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสแล้ว แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด กิจวัตรธุดงค์มิได้ขาด

    ลุถึงสมัยหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระธาตุจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลวงปู่คำปัน ได้เข้าฝากตัวเป็นสานุศิษย์ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับหลวงปู่มั่น จนรอบรู้แตกฉาน เป็นพระสุปฏิปันโน หลวงปู่ใหญ่มั่น ท่านมิได้ให้หลวงปู่คำปัน ญัตติเป็น ธรรมยุตินิกายไม่ แต่ให้คงไว้ซึ่งมหานิกายเดิม เพราะไม่ได้เป็นอุปสรรคประการใด ในการปฏิบัติธรรม พระเถระผู้ร่วมอาจารย์เดียวกัน และต่างไปมาหาสู่กันเสมอๆ คือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร เป็นต้น

    นับแต่นั้นมา หลวงปู่คำปัน ก็ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ถือวัตรเอกา (ฉันมื้อเดียว) มักน้อย สันโดษ ไม่ยึดติด ไม่สะสม ไม่ติดในอามิสลาภผล ไม่มีปลิโพธกังวลในสิ่งใดๆ ตามแนวทางปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์มั่น แม้คราวเจ็บไข้อาพาธ นายแพทย์จะขอร้องให้ท่าน ฉัน ๒ มื้อ ท่านก็ไม่ยอม ท่านเคยพูดว่า ” ถ้าให้ถอยหลังกลับไปมักมากฉันสองมื้ออีก ตายเสียไม่ดีกว่าหรือ..”

    องค์หลวงปู่่คำปัน รักธรรมยิ่งกว่าชีวิต ท่านได้วางตนเป็นแบบอย่างอันดีเยี่ยม ตามแบบพระบูรพาจารย์ที่ท่านได้ศึกษาอบรมมา แม้จะเป็นผู้เงียบสงบ มักน้อย พูดน้อย ไม่โฆษณาโอหัง ไม่เผยแผ่ด้วยวาจา แต่ได้ดำเนินการเผยแผ่แบบปฏิบัติทำตนเป็นตัวอย่าง เรียกว่า สั่งสอนด้วยการทำให้ดู ซึ่งเป็นหลักการเผยแผ่ทางหนึ่ง

    การมรณภาพ
    หลวงปู่คำปัน สุภัทโท ได้ดับขันธ์ลงเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐ เวลา ๐๕.๐๐น. สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕

    ที่มา คัดลอกมาจากหนังสือบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วิธีแก้วิปลาส

    อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลส เป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌาน หาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตาม ด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น

    พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา

    เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี

    แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นได้หลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย

    ๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย

    แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆนานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้ได้

    ๓. วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีด เอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ

    ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก

    โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “การภาวนา คือทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น ที่ไม่รู้ทำให้มันรู้ ที่ไม่ดีทำให้มันดี ใจเป็นบาปเป็นกรรม ทำให้เป็นบุญเป็นกุศล” หลวงปู่ชา

    -คือทำให้เกิดขึ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...