ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “ความไม่สมหวัง จะทำให้ค่าของใจเพิ่มพูนขึ้น”

    ” .. ผู้ไม่สมหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเกิดความทุกข์เพราะความไม่สมหวังนั้น มีวิธีคิดที่น่าจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่จิตใจของตนอย่างที่สุด คือคิดว่า “ถ้านำความไม่สมหวังนั้นมาเป็นทางดำเนินไปถึงความมีค่าเพิ่มพูนขึ้นของจิตใจ” ก็จะได้ประโยชน์กว่า ถ้าสมหวังแล้วจิตใจไม่มีค่าขึ้น คือไม่ดีขึ้นกว่าระดับเดิม

    “ความไม่สมหวังจะทำให้ค่าของจิตใจเพิ่มขึ้นอย่างไร” มีอธิบายดังนี้ “ถ้าความไม่สมหวังเกิดขึ้น แล้วทำสติให้รู้ทันว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปแล้ว ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น” อยากให้ไม่เกิดขึ้นเช่นนั้น แต่อยากให้เกิดเป็นอีกอย่างหนึ่งคือเป็นความสมหวัง เช่นนี้นับว่า “เป็นการเพิ่มค่าให้แก่จิตใจ คือทำให้จิตใจปล่อยวางได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นได้”

    แม้เพียงในเรื่องเดียวก็นับว่าเป็นการดีอย่างยิ่งของจิตใจ “ทำให้จิตใจดีขึ้น เพิ่มค่าขึ้น” ดังนั้นเมื่อความไม่สมหวังเกิดขึ้นในเรื่องใด แทนที่จะปล่อยใจให้ต่ำลงเพราะความเสียใจ ก็ควรรีบคิดเสียในทันที่ว่า “ค่าของใจสำคัญกว่าความสมหวัง” ไม่ว่าในเรื่องยิ่งใหญ่เพียงใดทั้งนั้น แล้วก็รีบทำใจให้ยินดีที่มีโอกาสยกระดับของจิตใจให้เพิ่มขึ้น

    “โดยถือความผิดหวังนั้นเองเป็นบันได” จะถือว่าเป็นเหมือนการตกกระไดพลอยโจนก็ยังดี คือไหน ๆ ก็ผิดหวังแล้วคิดเสียให้ได้ว่า “ผิดหวังนั้นแหละดี” ก็ไม่เป็นไรจะเป็นการตกบันไดพลอยโจนที่น่าจะยินดีทำทั่วกัน “ดีกว่าที่จะตกบันไดแล้วยังนำความเศร้าโศรกเสียใจมาเป็นอาวุธทิ่มแทงตนเองให้เจ็บปวดยิ่งขึ้นไปอีก” เป็นไหน ๆ .. ”

    การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙

    -จะทำให้ค่.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    การฝึกจิตที่ดีย่อมสำเร็จประโยชน์

    การฝึกจิตที่ดีย่อมสำเร็จประโยชน์ เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งาน ต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมัน ทำประโยชน์นานาประการ ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคลจนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เรา ๆ จะกำหนดเพราะพระพุทธองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น

    จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นหนทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นผู้หุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผลและได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ิตใจคนเรา_ก็เหมือนเข็มทิศ
    ถ้าตั้งไว้ผิด ย่อมกลับกลายเป็นพิษภัย
    ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเรา ยิ่งกว่าศัตรูคู่เวร
    อย่างน้อยก็ทำให้เนิ่นช้าในทางมรรคผลนิพพาน
    อย่างเลวร้ายที่สุด ก็คือการทำชั่วในอนันตริยกรรม
    ต้องตกนรกหมกไหม้ ในมหานรกอเวจีจนสิ้นกาลนาน

    _ก็เหมือนเข็.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ เป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่สุพีร์ สุสัญฺญโม เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๘๔ ปี ๖๐ พรรษา ลูกหลานขอกราบนมัสการหลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม แห่งวัดถ้ำซับมืด ขออาราธนาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ขอให้หลวงปู่สุพีร์ มีธาตุขันธ์แข็งแรงอยู่เป็นร่มโพธิธรรมสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาสืบนานเท่านานเทอญ…สาธุ

    ประวัติย่อหลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม

    “พระครูสังวรวีรธรรม” หรือ “หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม” ท่านเกิดในตระกูล ขันติวงษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ บ้านหนองขาม หมู่ที่ ๑๐ ต.เสียว อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ท่านเป็นบุตรของนายเบ้า-นางต่อม ขันติวงษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

    ครั้นอายุได้ ๒๕ ปี ท่านเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดวิสุทธิโสภณ ต.เป๊าะ อ.บึงบูรพ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลา ๑๔.๒๕ น. โดยมี พระครูวิจารย์พุทธิธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการเกลี้ยง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุสญฺญโม” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีความสำรวมดี

    ถ้ำซับมืด แดนธรรมอันล้ำค่า

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ซึ่งเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ท่องเที่ยวธุดงค์กรรมฐานไปทางอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แล้วได้พบป่าเขาและถ้ำเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการบำเพ็ญภาวนา และเจริญสมณธรรมสำหรับอริยมุนีผู้มุ่งตรงสู่แดนแห่งความหลุดพ้น ถ้ำแห่งนั้นสงบวิเวกสงัด สัตว์ไพรก็มีอยู่มากหลาย น้ำอุดมสมบูรณ์ ไม่ลำบากในการดำรงชีพแบบสมณะ

    ท่านจึงนำเรื่องค้นพบถ้ำอันเป็นสถานที่สัปปายะมากราบเรียนท่านพระครูญาณโศภิต หรือหลวงปู่มี ญาณมุนี หลวงปู่มีท่านเป็นนักท่องเที่ยววิเวกธุดงค์ตามป่าตามเขาอยู่แล้ว เมื่อท่านทราบดังนั้นจึงนำพาคณะสานุศิษย์ไปปฏิบัติธรรมรวมทั้งหมด ๕ รูป หนึ่งในนั้นมี หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร ด้วยรูปหนึ่ง

    จากหนังสือประวัติหลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร หลวงปู่เครื่องท่านได้เล่าไว้ว่า…การเดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึกทางซับม่วง ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป็นป่าดิบชื้นตามเชิงเขา และชุกชุมไปด้วยไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย พระภิกษุทั้งหมดได้เข้าพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำสวยงามที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด” ไม่เพียงแต่ถ้ำเท่านั้นที่มืด ป่าเขาก็มืดทึบไปหมด ที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด” เพราะว่าแสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึง อากาศหายใจไม่ค่อยจะพอ ภายในถ้ำมีความเย็นยะเยือก มีเถาวัลย์เครือไม้ระโยงระยาง ซึ่งต่อมาได้เรียกถ้ำนี้ว่า “ถ้ำซับมืด”

    หลวงปู่มีนำคณะธุดงค์เข้าบำเพ็ญอยู่ภายในถ้ำมืด นานถึง ๖ วัน ๖ คืน อธิษฐานภาวนาสู้ตาย หมายธรรมขั้นสูง หวังปิดชีพกิเลสอวิชชาที่ก่อกวนมานานด้วยดาบอันคมกริบคือธรรม

    ปรากฏการณ์ในวันแรก มีสหธรรมิกท่านหนึ่งชื่อว่า พระมหาบุญ ท่านบำเพ็ญธรรมอยู่ได้เพียงวันเดียว ก็มีอาการอาพาธด้วยไข้มาลาเรียอย่างหนัก จึงนำท่านออกจากถ้ำซับมืด ถอนการอธิษฐานธุดงค์ กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครราชสีมา และอยู่ได้เพียงวันเดียวก็ถึงแก่มรณภาพ

    หลวงปู่เครื่องก็จับไข้ มีอาการหนักหัว แน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หลวงปู่เครื่องได้นั่งสมาธิ ใช้สติสัมปชัญญะตรวจสอบอาการไข้ รวบรวมพลังจิตให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อเอา่ชนะ แต่อาการไข้ก็ไม่ทุเลาลง สติรับรู้ได้ว่าอาการไข้กลับหนักยิ่งขึ้น จึงรำพึงในใจว่าถ้าขืนปล่อยให้ไข้กำเริบต่อไปอีกคงตายแน่

    หลวงปู่เครื่องจึงได้ตัดสินใจปีนหน้าผาเกาะต้นไม้ เกี่ยวเถาวัลย์หรือเครือกระไดลิงขึ้นไปเพื่อขอยาแก้ไข้มาลาเรียจากพวกฝรั่ง ที่กำลังระเบิดหินอยู่บนหลังเขาเพื่อก่อสร้างถนนมิตรภาพ ได้พบล่ามคนไทย บอกเขาว่าเป็นไข้มาลาเรีย แจ้งความประสงค์ ล่ามจึงพาไปพบฝรั่งได้ยามา ๖ เม็ด แต่เขาสั่งให้กินเพียงเม็ดเดียวก็พอ จึงได้กินยาตามที่เขาสั่ง อาการไข้จึงหายไป ภายในใจก็คิดว่าได้รอดพ้นจากความตายแล้ว

    การออกเดินธุดงค์ในครั้งนั้น พระภิกษุทั้ง ๕ รูปต่างก็ได้รับเชื้อมาลาเรียกันครบทุกรูป แม้แต่หลวงปู่มีเอง ท่านก็ป่วยเป็นไข้ป่ามีอาการปางตายเช่นเดียวกัน แต่ธรรมะท่านแกร่งกล้าประกอบกับหมอมารักษาได้ทันเวลา อาการท่านดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายขาดทันที หลวงปู่มีท่านจึงได้ถอนธุดงค์ในคราวนั้นเสียก่อน เพราะขืนดึงดันไปสู้กับภัยธรรมชาติก็ไม่มีความหมาย มีแต่จะตายไปเปล่าๆ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา หลักเหตุผล ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นการชอบกว่า ดังนั้น ท่านจึงกลับมายังวัดป่าสูงเนิน

    เมื่อท่านมาเห็นศพพระมหาบุญ ผู้เป็นศิษย์ ซึ่งมรณภาพด้วยพิษไข้มาลาเรียจากโรงพยาบาลนครราชสีมา กลับมาถึงวัด จึงเกิดความโทมนัสเป็นอย่างมาก จนถึงกลับหน้ามืดเป็นลม ต้องช่วยกันนวดเฟ้นเกิดความชุลมุนกันพักใหญ่ ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ! ที่ลูกศิษย์อายุยังน้อย เป็นมหาเปรียญยังสามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้ แต่มาด่วนตายเสียก่อน แต่…ถึงจะตาย ก็ตายอย่างห้าวหาญ ใจเด็ดเดี่ยว ไม่ได้นอนตายอย่างพระขี้ขลาด ตายอย่างนักสู้ สู้สุดตัว ไม่ถนอมออมแรงและอ่อนข้อต่อกิเลสตัวมีพิษร้าย ตัวพาเกิดพาตายมาหลายภพชาติ ตายอย่างสมศักดิ์ศรีนักรบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านพอใจที่จะตายอย่างนี้ ถึงตายก็ได้ปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กล่าวสอนว่า

    “ธรรมมันอยู่เลยความตาย ใครยังกลัวตายอยู่ก็จะไม่พบพระสัทธรรม”

    ผลของการออกปฏิบัติธรรมด้วยการเดินธุดงค์ไปที่ถ้ำซับมืดในครั้งนั้น มีพระภิกษุถึงแก่มรณภาพลงเพราะไข้มาลาเรียเพิ่มอีก รวมกับพระมหาบุญเป็น ๓ องค์ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางใจอีกครั้งหนึ่ง

    วัดถ้ำซับมืด ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่ที่ ๒๐ บ้านซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นวัดราษฏร์ฝ่ายอรัญวาสี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเป็นที่ตั้งวัดถ้ำซับมืด จำนวน ๕๐ ไร่ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทิศเหนือจรดภูเขา ทิศใต้จรดภูเขา ทิศตะวันออกจรดไร่ชาวบ้าน และทิศตะวันตกจรดภูเขา ปัจจุบัน มีพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม) เป็นเจ้าอาวาส

    ข้อมูลจาก ลานธรรมจักรดอทเน็ท สาธุครับผม

    _/_ _/_ _/_

    -๑๘-ตุลาคม-๒.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ เป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่สุพีร์ สุสัญฺญโม เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๘๔ ปี ๖๐ พรรษา ลูกหลานขอกราบนมัสการหลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม แห่งวัดถ้ำซับมืด ขออาราธนาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ขอให้หลวงปู่สุพีร์ มีธาตุขันธ์แข็งแรงอยู่เป็นร่มโพธิธรรมสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาสืบนานเท่านานเทอญ…สาธุ

    ประวัติย่อหลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม

    “พระครูสังวรวีรธรรม” หรือ “หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม” ท่านเกิดในตระกูล ขันติวงษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ บ้านหนองขาม หมู่ที่ ๑๐ ต.เสียว อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ท่านเป็นบุตรของนายเบ้า-นางต่อม ขันติวงษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

    ครั้นอายุได้ ๒๕ ปี ท่านเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดวิสุทธิโสภณ ต.เป๊าะ อ.บึงบูรพ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลา ๑๔.๒๕ น. โดยมี พระครูวิจารย์พุทธิธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการเกลี้ยง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุสญฺญโม” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีความสำรวมดี

    ถ้ำซับมืด แดนธรรมอันล้ำค่า

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ซึ่งเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ท่องเที่ยวธุดงค์กรรมฐานไปทางอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แล้วได้พบป่าเขาและถ้ำเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการบำเพ็ญภาวนา และเจริญสมณธรรมสำหรับอริยมุนีผู้มุ่งตรงสู่แดนแห่งความหลุดพ้น ถ้ำแห่งนั้นสงบวิเวกสงัด สัตว์ไพรก็มีอยู่มากหลาย น้ำอุดมสมบูรณ์ ไม่ลำบากในการดำรงชีพแบบสมณะ

    ท่านจึงนำเรื่องค้นพบถ้ำอันเป็นสถานที่สัปปายะมากราบเรียนท่านพระครูญาณโศภิต หรือหลวงปู่มี ญาณมุนี หลวงปู่มีท่านเป็นนักท่องเที่ยววิเวกธุดงค์ตามป่าตามเขาอยู่แล้ว เมื่อท่านทราบดังนั้นจึงนำพาคณะสานุศิษย์ไปปฏิบัติธรรมรวมทั้งหมด ๕ รูป หนึ่งในนั้นมี หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร ด้วยรูปหนึ่ง

    จากหนังสือประวัติหลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร หลวงปู่เครื่องท่านได้เล่าไว้ว่า…การเดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึกทางซับม่วง ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป็นป่าดิบชื้นตามเชิงเขา และชุกชุมไปด้วยไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย พระภิกษุทั้งหมดได้เข้าพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำสวยงามที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด” ไม่เพียงแต่ถ้ำเท่านั้นที่มืด ป่าเขาก็มืดทึบไปหมด ที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด” เพราะว่าแสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึง อากาศหายใจไม่ค่อยจะพอ ภายในถ้ำมีความเย็นยะเยือก มีเถาวัลย์เครือไม้ระโยงระยาง ซึ่งต่อมาได้เรียกถ้ำนี้ว่า “ถ้ำซับมืด”

    หลวงปู่มีนำคณะธุดงค์เข้าบำเพ็ญอยู่ภายในถ้ำมืด นานถึง ๖ วัน ๖ คืน อธิษฐานภาวนาสู้ตาย หมายธรรมขั้นสูง หวังปิดชีพกิเลสอวิชชาที่ก่อกวนมานานด้วยดาบอันคมกริบคือธรรม

    ปรากฏการณ์ในวันแรก มีสหธรรมิกท่านหนึ่งชื่อว่า พระมหาบุญ ท่านบำเพ็ญธรรมอยู่ได้เพียงวันเดียว ก็มีอาการอาพาธด้วยไข้มาลาเรียอย่างหนัก จึงนำท่านออกจากถ้ำซับมืด ถอนการอธิษฐานธุดงค์ กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครราชสีมา และอยู่ได้เพียงวันเดียวก็ถึงแก่มรณภาพ

    หลวงปู่เครื่องก็จับไข้ มีอาการหนักหัว แน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หลวงปู่เครื่องได้นั่งสมาธิ ใช้สติสัมปชัญญะตรวจสอบอาการไข้ รวบรวมพลังจิตให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อเอา่ชนะ แต่อาการไข้ก็ไม่ทุเลาลง สติรับรู้ได้ว่าอาการไข้กลับหนักยิ่งขึ้น จึงรำพึงในใจว่าถ้าขืนปล่อยให้ไข้กำเริบต่อไปอีกคงตายแน่

    หลวงปู่เครื่องจึงได้ตัดสินใจปีนหน้าผาเกาะต้นไม้ เกี่ยวเถาวัลย์หรือเครือกระไดลิงขึ้นไปเพื่อขอยาแก้ไข้มาลาเรียจากพวกฝรั่ง ที่กำลังระเบิดหินอยู่บนหลังเขาเพื่อก่อสร้างถนนมิตรภาพ ได้พบล่ามคนไทย บอกเขาว่าเป็นไข้มาลาเรีย แจ้งความประสงค์ ล่ามจึงพาไปพบฝรั่งได้ยามา ๖ เม็ด แต่เขาสั่งให้กินเพียงเม็ดเดียวก็พอ จึงได้กินยาตามที่เขาสั่ง อาการไข้จึงหายไป ภายในใจก็คิดว่าได้รอดพ้นจากความตายแล้ว

    การออกเดินธุดงค์ในครั้งนั้น พระภิกษุทั้ง ๕ รูปต่างก็ได้รับเชื้อมาลาเรียกันครบทุกรูป แม้แต่หลวงปู่มีเอง ท่านก็ป่วยเป็นไข้ป่ามีอาการปางตายเช่นเดียวกัน แต่ธรรมะท่านแกร่งกล้าประกอบกับหมอมารักษาได้ทันเวลา อาการท่านดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายขาดทันที หลวงปู่มีท่านจึงได้ถอนธุดงค์ในคราวนั้นเสียก่อน เพราะขืนดึงดันไปสู้กับภัยธรรมชาติก็ไม่มีความหมาย มีแต่จะตายไปเปล่าๆ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา หลักเหตุผล ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นการชอบกว่า ดังนั้น ท่านจึงกลับมายังวัดป่าสูงเนิน

    เมื่อท่านมาเห็นศพพระมหาบุญ ผู้เป็นศิษย์ ซึ่งมรณภาพด้วยพิษไข้มาลาเรียจากโรงพยาบาลนครราชสีมา กลับมาถึงวัด จึงเกิดความโทมนัสเป็นอย่างมาก จนถึงกลับหน้ามืดเป็นลม ต้องช่วยกันนวดเฟ้นเกิดความชุลมุนกันพักใหญ่ ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ! ที่ลูกศิษย์อายุยังน้อย เป็นมหาเปรียญยังสามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้ แต่มาด่วนตายเสียก่อน แต่…ถึงจะตาย ก็ตายอย่างห้าวหาญ ใจเด็ดเดี่ยว ไม่ได้นอนตายอย่างพระขี้ขลาด ตายอย่างนักสู้ สู้สุดตัว ไม่ถนอมออมแรงและอ่อนข้อต่อกิเลสตัวมีพิษร้าย ตัวพาเกิดพาตายมาหลายภพชาติ ตายอย่างสมศักดิ์ศรีนักรบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านพอใจที่จะตายอย่างนี้ ถึงตายก็ได้ปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กล่าวสอนว่า

    “ธรรมมันอยู่เลยความตาย ใครยังกลัวตายอยู่ก็จะไม่พบพระสัทธรรม”

    ผลของการออกปฏิบัติธรรมด้วยการเดินธุดงค์ไปที่ถ้ำซับมืดในครั้งนั้น มีพระภิกษุถึงแก่มรณภาพลงเพราะไข้มาลาเรียเพิ่มอีก รวมกับพระมหาบุญเป็น ๓ องค์ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางใจอีกครั้งหนึ่ง

    วัดถ้ำซับมืด ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่ที่ ๒๐ บ้านซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นวัดราษฏร์ฝ่ายอรัญวาสี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเป็นที่ตั้งวัดถ้ำซับมืด จำนวน ๕๐ ไร่ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทิศเหนือจรดภูเขา ทิศใต้จรดภูเขา ทิศตะวันออกจรดไร่ชาวบ้าน และทิศตะวันตกจรดภูเขา ปัจจุบัน มีพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม) เป็นเจ้าอาวาส

    ข้อมูลจาก ลานธรรมจักรดอทเน็ท สาธุครับผม

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ++ จิตที่กระด้างกระเดื่องทำดีไม่ได้ ++

    ความจริงนั้นจิตใจมันอยู่ภายในนี้แล้ว ไม่ได้ไปไหน แต่ว่า สังขารมาร กิเลสมาร มันดึงดูดให้ไป เห็นดีเห็นชอบตามอำนาจกิเลสราคะ โทสะ โมหะโน้น ไม่มารวมไม่มาสงบภายใน ไม่อยู่ในหัวใจ มันอยู่นอกหัวใจ

    เมื่ออยู่นอกเกินไป อยู่นอกนานเท่าไร มันก็ยิ่ง “แข็งกระด้างกระเดื่อง” คือว่า มันเคลื่อนไหวไปมาในสติปัฏฐานไม่ได้

    จิตใจจะระลึกในสิ่งที่ดี มันไม่ยอมให้นึก จิตใจที่กระด้างกระเดื่องอยู่ภายใน ..ภาวนาไม่ได้ ภาวนาไม่ลง ก้มหัวไหว้พระไม่ได้ อันนี้ท่านว่า มันเป็น “ความหลง” ของจิตผู้ไม่พินิจพิจารณา

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “เทวดามาแย่งบุญมนุษย์”

    “ทำดีเพียงเล็กน้อย แต่ให้ผลอานิสงส์มาก”

    (คติธรรม ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

    อีกเรื่องหนึ่ง ยังมีเทพยดาองค์หนึ่ง แต่ก่อนเป็นผู้หญิง ในสมัยครั้งหนึ่งแกไปวัดไปเห็นมันรกในทางจงกรมของพระ แกก็ไปเขี่ยขี้ฝอยในทางจงกรมนั้น เพื่อให้ความสะดวกในการเดินจงกรมของพระครั้งเดียวเท่านั้น

    แต่แกทำด้วยความรัก แกทำด้วยความเชื่อ ทำด้วยความนับถือ ทำด้วยความบริสุทธิ์จิต เพราะของที่รกรุงรังสกปรกนั้น ยังความเศร้าใจให้เกิดขึ้นท่านเห็นเป็นเช่นนี้จึงได้เก็บขี้ฝอยออกจากที่ทาง แล้วก็หาน้ำล้างเท้ามาไว้ในที่นั้น เก็บขี้ฝอยขี้เศษต่างๆ รกรุงรังออกหมด แกก็รู้สึกว่า ใจสบายผ่องแผ้ว กลับไปบ้าน

    บังเอิญไปเกิดเป็นลมตาย ตายจากโลกนี้ก็ไปเกิดเป็นเทวดา มีบริษัทบริวาร มีอาหารทิพย์ มีปราสาท มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากมาย เมื่อไปอยู่ที่นั้น ระลึกชาติได้ เมื่อระลึกชาติได้อย่างนี้ ก็นึกในใจว่า ถ้าเราทำบุญมากๆ ก็จะได้ดีมากกว่านี้ จะขอไปทำความดีอีกสักหน่อยเถอะ เพื่อให้มันยิ่งกว่าที่ได้ผลอยู่ขณะนี้ แต่ก่อนไม่ยักรู้ว่ามันจะได้รับผลอย่างนี้

    ก็ได้ลงมาจากสวรรค์ ไปเที่ยวหาพระอยู่ตามป่าตามพง พอไปเห็นพระองค์หนึ่งท่านกำลังเข้าสมาธิ ฝ่ายเทวดาก็มายืนจ้อง คอยปฏิบัติอุปัฏฐากพระ ท่านเลยตะเพิดไป “เทวดาทำไมมาแย่งบุญมนุษย์ แต่ก่อนนี้มันประมาท เมื่อไปเสวยผล ได้รับผลดีแล้ว ยังจะอยากโลภมาก ไม่เอา ไม่ให้ท่านให้มนุษย์เขามาทำ คนที่ยังไม่ได้รับความดีอย่างแกนั้นยังมีอยู่อีกมาก ไม่ต้องมาแย่งเขา” เปิดเลย เทวดานั้นขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ ก็ได้ผลแค่นั้น บุญใหม่ควรทำต่อ เขาไม่ให้ทำ

    นี่เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า คนเราประมาทในบุญเล็กน้อย เมื่อตายไปแล้ว จะมาทำบุญกุศลน่ะ มันยากนัก ยากยังไง กายก็ไม่เหมือนกายมนุษย์ จะมาพูดกับมนุษย์ก็ไม่ได้ จะมาใส่บาตรทำบุญก็ไม่ได้

    อย่างดีก็เพียงมายืนคอยอนุโมทนาเท่านั้น ถ้าใครตาดีก็เห็น ใครตาไม่ดีก็ไม่พบพาน ถ้าใครมีภูมิรู้ในทางจิต ก็พอจะแนะนำสั่งสอนกันบ้าง ถ้าไม่มีคนเช่นนั้น เทวดาก็ไม่มีหนทางที่จะบำเพ็ญคุณงามความดีต่อได้เลย นี่มันเป็นอย่างนี้

    (เครดิต : พุทธมหาเจดีย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ภูผาแดง)

    -เทวดามาแย่งบุญม.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เราต้องยอมรับความจริงว่า
    เราไม่สามารถพบเจอเหตุการณ์
    ที่น่าพึงพอใจได้ตลอดเวลา
    แม้วันนี้อาจจะไม่มีอะไรขัดใจเรา
    แต่พรุ่งนี้ก็อาจจะมี
    – พระไพศาล

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “คนไม่รู้จักบุญก็วุ่นวายอยู่นั่น จะทำบุญแต่ละครั้งต้องฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าวัว ไม่รู้จักเสียเลยจริงๆ บุญไม่ลำบากอย่างนั้นนะ”
    หลวงปู่ชา

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    มีลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์ ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า…..”เท่าที่อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ตลอดเวลาอันยาวนาน ไม่เคยเห็นท่านแสดงอากัปกิริยาใดๆให้เห็นว่า ท่านอึดอัดหรือรำคาญจนทนไม่ได้ถึงต้องบ่นอู้อี้กับกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไปเป็นประธานในงานสถานที่ใดๆ ไม่เคยเป็นเจ้ากี้เจ้าการ รื้อฟี้นหรือให้เขาจัดแจงดัดแปลงใหม่ หรือไปในสถานที่ที่เป็นกิจนิมนต์ แม้จะต้องนั่งนานหรืออากาศอบอ้าวอย่างไร ก็ไม่เคยบ่น เวลาเจ็บไข้ไม่สบาย หรือเวลาเผอิญอาหารมาไม่ตรงต่อเวลา แม้หิวกระหายแค่ไหนก็ไม่เคยบ่น หรือสำออย หรือแม้รสชาติอาหารจะจืดจางอย่างไร ก็ไม่เคยเรียกหาเครื่องปรุงอะไรเลย ตรงกันข้าม ถ้าเห็นพระเถระรูปไหนชอบเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ขี้บ่น หรือทำสำออย ให้คนอื่นเอาใจเป็นต้น….หลวงปู่มักปรารภให้ฟังว่า….

    “แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ ถ้าแค่นี้อดทนไม่ได้ จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้อย่างไร”

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๒๑ ตุลาคมเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๘ ปี ๔๘ พรรษา ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม รับภาระบริหารดูแลรักษาวัดนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ โดยเหตุที่วัดป่าหนองไผ่ ถือวัตรปฏิบัติตามแบบปฏิปทาพ่อแม่ครูอาจารย์องค์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ดังนั้นพระภิกษุสามเณรจึงตั้งใจรักษาศีล ข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังได้อบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความประพฤติดี ทำมาหากินด้วยความขยันขันแข็งและสุจริต ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ อบรมสั่งสอน ชาวบ้านให้ช่วยกันปลูกป่า รักษาธรรมชาติ เหตุนี้ผืนป่าบริเวณนั้นจึงยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้ได้

    ที่วัดป่าหนองไผ่นี้ ภายในวัดมีถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ ชื่อ “ถ้ำผาหัก” เป็นธรรมสถานเก่าแก่แห่งหนึ่ง นับเนื่องแต่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นองค์ปฐม ได้มาพักปฏิบัติภาวนาและอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๙ และตามด้วยพระอาจารย์ ผู้เป็นศิษย์องค์สำคัญอีกหลายรูป อาทิ เช่น หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ,หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในหมู่พระธุดงค์กัมมัฏฐาน ว่าเป็นสถานที่อันวิเวกเหมาะสมแก่การปฏิบัติภาวนา ทำให้มีพระธุดงค์มาพักเพื่อปฏิบัติธรรม และจำพรรษาอยู่เสมอ

    ๏ ชีวประวัติและปฏิปทา
    ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
    ชาติกำเนิดท่านเป็นคนจังหวัดระยอง ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน พี่น้อง ๑๔ คน เนื่องจากบิดามารดา คือ นายบุ่งเลี้ยงและนางเซี้ยม แซ่จึง กำลังอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างฐานะ ช่วงปฐมวัย ด.ช.สุธรรม จึงได้มีโอกาสสัมผัสรสชาติ ของชีวิตที่ยากลำบาก แต่เต็มไปด้วยกำไรของชีวิต เพราะความไม่ร่ำรวยได้บ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ต้องรู้จักอดทนทางกาย อดกลั้นทางจิตใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดี ไม่ถือดี ความลำบาก สอนคนให้รู้จักขยันขันแข็ง รู้จักวิริยะอุตสาหะพากเพียร รู้จักประหยัดอดออม พร้อมๆ กับรู้จักที่จะมีน้ำใจ เห็นใจผู้อื่นที่มีความทุกข์ร้อน เพราะต่างซาบซึ้งรสชาดความทุกข์ยากขาดแคลนได้อย่างประจักษ์ใจมาแล้ว

    ๏ “ภาวะผู้นำโดยธรรมชาติ”
    โดยเหตุที่บุตรคนโตเป็นหญิง ท่านพระอาจารย์ในวัยเด็ก จึงต้องทำหน้าที่เป็น พี่ชายคนโตของน้อง ๆ ทั้ง ๑๒ คน โดยมิได้จงใจจะฝึกหัด การที่ท่านสำนึก ในความเป็นพี่ใหญ่ มีความรักความเมตตาต่อน้องๆ ช่วยเหลือดูแลน้องๆ ตามกำลังของท่าน ตามกำลังของท่าน กิจหน้าที่การกระทำต่าง ๆ ต่อน้อง ๆ นี่เอง จึงเป็นการสั่งสมความเป็น “ผู้นำ” ให้แก่ท่านโดยอัตโนมัติอย่างเป็นธรรมชาติ ซึมซาบอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจะเห็นได้จากในปัจจุบัน บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายของท่าน ต่างได้มีความรู้สึกที่เด่นชัด ตรงกันประการหนึ่งว่า ท่านพระอาจารย์ มีเมตาเอื้อเฟื้อสงเคราะห์เอาใจใส่จริงใจ ต่อศิษย์ หรือดุจดังพี่ชายใหญ่ให้ความอนุเคราะห์ ห่วงใยคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่น้อง ๆ ทุกคนโดยเสมอหน้ากัน

    ๏ “สู่ร่มกาสาวพัตร์ ”
    เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ ได้อุปสมบทตามความปรารถนา ณ วัดตรีรัตนาราม อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีท่านพระครูประจักษ์ ตันตยาคม วัดคีรีภาวนาราม อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดตรีรัตนาราม ๔ พรรษา เพื่อศึกษานักธรรม จนในที่สุดก็สอบผ่านได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ.๒๕๑๖

    ๏ “เร่งขวนขวายการศึกษา ใช้เวลาให้ถูกตามจังหวะของชีวิต ”
    อย่างไรก็ตาม แม้ในเบื้องต้นท่านต้องศึกษาเล่าเรียนทางปริยัติ เรียนนักธรรมชั้นต่าง ๆ ที่วัดตรีรัตนาราม แต่เมื่อถึงฤดูแล้งทุกปี ท่านจะต้องกราบลาครูบาอาจารย์ ขึ้นไปหาที่พักภาวนา บนดอยแม่ปั๋งกับท่านหลวงปู่แหวนบ้าง หรือบางทีก็ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม ณ วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ๏ “มรสุมชีวิต ”
    แม้วิถีชีวิตของท่าน จะแลเหมือนได้พ้นการเผชิญหน้ากับพายุมรสุมร้ายกลางท้องทะเลมหาสมุทรไปแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริง “มรสุมชีวิต” ยังตามติดผู้คนไม่เลิกรา ในขณะที่ท่านกำลังซาบซึ้งกับชีวิตบรรพชิตอย่างดูดดื่มยิ่งๆขึ้นไปทุกๆวันทุกๆคืนคลื่นใต้น้ำก็กำลังก่อตัว เป็นมรสุมลูกใหญ่ พร้อมที่จะถาโถมใส่ท่าน เมื่อถึงกาลเวลาของมัน กล่าวคือ มีท่านลำพังเพียงผู้เดียว ที่กำลังบังเกิดความศรัทธาเพิ่มพูนในจิตใจในร่มเงาพระพุทธศาสนา แต่ว่าทั้งญาติพี่น้องทั้งในครอบครัวและญาติทางฝ่ายโยมมารดาที่สุพรรณบุรี ต่างตั้งหน้ารอคอย “ วันสึก ”ของท่านอย่างใจจดใจจ่อ ทุกครั้งที่ท่านได้มีโอกาสพบญาติพี่น้องก็จะได้รับคำถามรุกเร้าคาดคั้นเป็นประจำว่า เมื่อไรจะสึกๆ ”

    ๏ “โทรเลขด่วน ! ”
    หลังจากที่ท่านสำเร็จนักธรรมเอกในพรรษาที่ ๔ แล้ว พอพรรษาที่ ๕ ท่านก็มุ่งหน้าสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังมากขึ้น ลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติเป็นครั้งคราว ในหน้าแล้งของทุกปีที่ผ่านมา ดังนั้นพรรษาที่ ๕ ท่านจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ การเจริญภาวนามีความก้าวหน้าตามลำดับ หลังออกพรรษาได้ไม่นาน ก็ได้รับโทรเลขด่วน ให้รีบลงไปที่สุพรรณบุรีทันที เพราะโยมยายป่วยหนัก อาการน่าวิตกมาก ต้องการพบพระหลานชายเป็นที่สุด ท่านจึงได้เข้ากราบลาครูบาอาจารย์และเร่งรุดเดินทางทันที ด้วยเกรงว่าจะไม่ทันเวลาที่จะโปรดโยมยายเป็นครั้งสุดท้าย ! แม้อาจะถึงคราวที่ต้องสูญเสียญาติผู้ใหญ่ ผู้เป็นที่รักยิ่งของทุกคน แต่โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสสำคัญ ที่จะทำให้ญาติพี่น้องทั้งตระกูล ได้ซาบซึ้งคุณค่าที่ท่านได้บวชมา !

    ๏ “โยมยาย ..… แข็งใจอีกนิด”
    พ ระหนุ่มเดินทางอย่างเร่งรุดด้วยความทุลักทุเล เพราะการคมนาคมสมัยโน้นยังยากลำบาก แต่ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรคมาขัดขวางดวงใจที่มุ่งมั่นได้ ขอเพียงโยมยายอดทนรอคอยอีกสักนิด พระหลานชายก็จะไปให้ได้เห็นหน้า สมใจที่ต่างฝ่ายต่างปรารถนาอย่างแน่นอน

    ๏ “ภารกิจอันสำคัญ เพื่อตอบแทนพระคุณ”
    เมื่อเดินทางถึงบ้านโยมยายที่สุพรรณบุรี ท่านรู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อยเพราะพบว่าญาติทุกคนจากทุกถิ่น มารวมตัวกันหมดอย่างพร้อมเพรียง “ฤาโยมยายจะจากไปเสียแล้วหรือนี่” ท่านได้แต่รำพึงในใจ ขณะที่สาวเท้าก้าวเข้าไปในห้องของโยมยาย หญิงชรานอนหลับตาหายใจอ่อนโรยริน อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติที่แห่แหนรายล้อมอยู่รอบเตียง เป็นบรรยากาศที่เคร่งเครียด หดหู่ สิ้นหวังน่าเศร้าใจเหลือประมาณที่จะกล่าวได้ ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สำคัญ ขนาดนั้น ท่านไม่มีโอกาสได้ทักทายผู้ใด ท่านรวบรวมจิตใจให้สงบผ่องใส ด้วยความหวังว่า โยมยายจะสามารถลืมตาขึ้นมาได้อีกสักครั้ง เพื่อเห็นชายผ้าเหลือง ของพระหลานชาย ก่อนที่จะสิ้นลมสิ้นใจจากไป อย่างน้อย ขอให้โยมยายได้เห็นชายผ้าเหลืองเป็นครั้งสุดท้าย ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต “โยมยาย ๆ พระมาแล้ว โยมยายพระมาหาโยมยายแล้ว” ท่านเอ่ยวาจาร้องเรียกโยมยายด้วยความแผ่วเบานุ่มนวล ถ่ายทอดพลังจิตที่สงบและปรารถนาดีอย่างเต็มท้นจิตใจสู่โยมยาย จิตท่านเฝ้ารำพึงว่า “ขอให้พระหลายชายได้ทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดนี้ เพื่อตอบแทนพระคุณอันสูงล้นของโยมยายด้วยเถิด “
    หญิงชราปรือตาขึ้นช้าๆอย่างอ่อนแรง วินาทีนั้น พลันดวงตาทั้งสองของสายสัมพันธ์ ยาย – หลาน ก็ประสบพบกัน บรรยากาศภายในห้องเงียบกริบ ประหนึ่งโลกนี้ ไร้สิ่งมีชีวิตโดยสิ้นเชิง เมื่อหญิงชรามองสบดวงตาคู่นั้นจนเต็มตา ระลึกจดจำได้ชัดว่า นี่คือดวงหน้าของพระหลานชายที่เฝ้ารอคอยด้วยความอดทนแข็งใจรอที่จะได้พบ โยมยายจึงเอ่ยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนแรง สั่นเครือ แหบเบา แต่กลับดังทะลุทะลวงถึงหัวใจของพระหลานชายว่า บวชมาก็นานแล้ว .. เมื่อไรจะสึกเสียที ! ภาระหน้าที่ใน ครอบครัวก็มีอยู่ ทำไมไม่สึกเสียที !”

    ๏ “หัวใจสลาย”
    ในบัดดลที่ได้ฟังคำพูดนั้น จิตใจที่สงบของพระหนุ่ม ก็ตีตลบพลิกกลับหมุนคว้างอย่างไร้ทิศทาง ไร้ความสามารถที่จะควบคุม จิตตกวูบบังเกิดความเศร้าสลด สังเวช นึกสมเพช อนาถใจในตนเองอย่างที่สุดเป็นความรู้สึกที่ยากเกินกว่าจะบรรยายให้ใครเข้าใจได้ตรงกับความรู้สึกที่บังเกิดขึ้นท่านเกิดความเสียใจ ผิดหวังอย่างที่สุด ในขณะเดียวกันก็เกิดความทุกข์ ท้อแท้ใจ สับสน วุ่นวาย เกิดความลังเลใจในชีวิตพรหมจรรย์เสียแล้ว ! ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังในภายหลังว่า ท่านเกิดรำพึงในใจว่า โอหนอเราช่างเป็นต้นเหตุ นำความทุกข์ระทมมาสู่หมู่ญาติพี่น้องได้ถึงเพียงนี้เทียวหนอ ฤาการบวชของเราจะเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว เอาเปรียบพี่น้องอย่างที่ญาติ ๆ ได้กล่าวประณามไว้จริงละหรือ ! นับแต่วินาทีนั้นผ่านไป จิตใจของท่านก็หาความสงบไม่ได้อีกเลย ความคิดที่จะ “ สึก มีความรุนแรงเพิ่มพูน ผลักดันอยู่ภายในใจ ตลอดเวลา ขณะเดียวกันมันก็ต่อสู้กับความรู้สึกลึก ๆ ที่แน่นแฟ้นกับชีวิตพรหมจรรย์ เกิดเป็นสงครามล้างผลาญทำลายอยู่ภายในจิตใจตลอดเวลา จนหาช่องว่างที่จะสงบสุขแม้เพียงอึดใจก็ไม่มี !

    ๏ “ กลับคืนสู่ถ้าผาปล่อง ”
    ด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะกราบลาครูบาอาจารย์ คือ ท่านหลวงปู่สิม เพื่อสึกหาลาเพศอย่างแน่นอนทันที ทว่าท่านหลวงปู่สิมกลับไม่สนใจใยดีต่อคำกราบลา แม้จะยืนยันกับหลวงปู่ว่า ถ้าขืนยังอยู่ต่อก็ต้องเป็นทุกข์ใจ จนถึงแก่ความตายเป็นแน่ หลวงปู่สิม กล่าวตอบสวนควันทันทีว่า “แล้วสึกไปแล้วจะไม่ต้องตายหรอกหรือ !” จากนั้นหลวงปู่ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจ ไม่ให้ความสำคัญใดใด กับคำกล่าวลานั้นเลย

    ท่านพระอาจารย์สุธรรมในขณะนั้นกลับต้องเผชิญความบีบคั้นกดดันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอีกเรื่องก็คือ การไม่ได้รับการอนุญาตให้ลาสึก ! ถ้ำผาปล่อง อันเคยเป็นภูผาพฤกษ์ไพรที่ให้ความร่มเย็นสุขล้ำ กลับกลายเป็นดั่งแผ่นดินเพลิง จะเดิน จะยืน จะนั่งจะนอนก็ให้ร้อนรุ่มไปหมดทุกลมหายใจ ความเคารพครูบาอาจารย์อย่างเต็มล้นหัวใจก็ยังมีอยู่ แต่ทุกข์สาหัสก็มิอาจขจัดให้เบาบางลงได้ ขืนอยู่ต่อก็คงต้องทิ้งชีวิตทิ้งร่างกายให้เป็นภาระแก่หมู่พวกแน่นอน ! สุดท้ายท่านจึงตัดสินใจเก็บของสะพายบาตร เดินเตลิดเข้าป่าลึกอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพียงแต่มีความตั้งใจว่า ถ้าเข้าป่าไปหาที่สงบ เพื่อเจริญภาวนา แล้วทำได้ไม่สำเร็จ คือไม่สามารถดับร้อนผ่อนคลายทุกข์ได้ ก็ขอทิ้งชีวิตให้สาปสูญสิ้นชีพอย่างเดียวดาย ไร้ญาติขาดมิตรอยู่กลางป่าลึกนั่นแหละ ! กอปรกับจิตใจที่เคยอบรมฝึกฝนตนให้เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เสี่ยงความเป็นความตายมาแล้ว จึงทำให้เท้าของท่านเดินก้าวบุกป่าฝ่าดงต่อไป ไม่มีคำว่า “ ถอยหลัง ” ให้ปรากฏในใจอีกเลย
    “ ชีวิตในชาตินี้ ขอทิ้งไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่าหวนคืนสู่เพศฆราวาสอีกต่อไป !”

    ๏ “รับใช้หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
    หลังจากที่ได้รับผลอันน่าอัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยคาดฝันว่าจะเกิดขึ้นได้กับตัวท่าน ท่านก็พิจารณาว่า ถ้าจะหาความเจริญก้าวหน้าบนหนทางนี้ คงต้องแสวงหาสถานที่ ที่สัปปายะคือมีความเหมาะสม ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างแท้จริง ย่างเข้าพรรษาที่ ๖ คือ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านจึงตัดสินใจมากราบนมัสการ ฝากเนื้อฝากตัว ขอเป็นลูกศิษย์รับใช้ใกล้ชิดท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พรรษาที่ ๖ นี้ท่านก็ได้อุบายวิธีภาวนาจากหลวงปู่ฝั้น รวมถึงได้ซึมซาบศีลาจริยวัตรอันงดงามหมดจดแล้วด้วยดีขององค์หลวงปู่ฝั้น ท่านเล่าว่าก่อนตี ๓ ท่านมี ความเบิกบานยินดีที่จะลุกจากที่นอน เพื่อไปก่อไฟ เตรียมต้มน้ำ ไว้สำหรับสรงน้ำให้องค์หลวงปู่ฝั้น ในระหว่างที่ลูกศิษย์ช่วยการสรงน้ำ หรือนวดเฟ้น หรืออุปัฏฐากปรนนิบัติ รับใช้องค์หลวงปู่ องค์หลวงปู่จะเมตตาถ่ายทอดธรรมผ่านนิพพานบ้าง ผ่านเรื่องเล่าต่าง ๆ บ้าง หรืออบรมต่าง ๆ บ้าง แต่ล้วนแล้ว เป็นสิ่งประเสริฐ ที่เปล่ง ออกจากดวงจิตที่เอื้ออาทร การุณแก่เหล่าบรรดาศิษย์อย่างสนิทใจ

    ๏ “ความฝันที่เป็นจริง ”
    ต่อมาในพรรษาที่ ๗-๘-๙ (พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๑) ท่านได้มาจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง แห่งวัดป่าแก้วชุมพล ก็นับว่าเป็นอีกช่วงหนึ่งของชีวิต ที่ได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ใหม่ ๆ อีกหลายประการในช่วงปีที่ท่านเร่งทำความเพียรนี้ ท่านเล่าว่าไม่เคยสุงสิงคลุกคลีญาติโยมใครๆ เลย เพราะทุกอริยาบท จะเต็มไปด้วยการเจริญสติ สมาธิ ปัญญาตลอด ท่านจึงมักสำรวมตา สงบวาจา เมื่อมีกิจของหมู่คณะ ท่านก็มิได้ละเลยหลีกเลี่ยง แต่เมื่อเสร็จกิจปุ๊บ ท่านก็จะหาที่นั่งภาวนาหรือเข้าทางจงกรมทันที และเหตุการณ์ที่เคยคาดหวังไว้ก็กลายเป็นความจริง กล่าวคือญาติพี่น้องของท่าน เริ่มสนใจเข้าวัด และมีจิตใจเป็นกุศลทำบุญสุนทรทานกันมากขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้

    ๏ “ครูบาอาจารย์ไม่เคยตำหนิได้ ”
    ต่อมาในพรรษาที่ ๑๐ และ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓) อันเนื่องมาจากการมรณภาพของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง โดยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ท่านพระอาจารย์สุธรรม จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี มีสิ่งที่ท่านประทับใจ และภูมิใจในการปฏิบัติก็คือ ท่านมิเคยถูกครูบาอาจารย์ตำหนิว่าย่อหย่อยเหลวไหลแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นท่านจึงได้รับความไว้วางใจ และได้รับอนุญาตจากท่านอาจารย์ใหญ่บ้านตาด ให้มาพักภาวนาและพัฒนาวัดป่าหนองไผ่ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร ต่อจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ที่ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จับตัวไปสังหาร วัดป่าหนองไผ่แห่งนี้ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ได้มาพักยังที่พักสงฆ์ป่าหนองไผ่ และได้เริ่มจัดทำเสนาสนะตามอัตภาพ ความเป็นอยู่ในยุคแรกยังอัตคัดขัดสนมาก ประกอบกับไข้ป่าชุกชุม ท่านต้องเผชิญกับไข้มาลาเรียขึ้นสมองอยู่ตลอด ๓ ปีเต็ม กว่าจะหายามาสกัดโรค ได้สนิทอาการของท่านนั้น ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันแทบไม่มีเว้นวรรคไว้ให้ท่านได้สุขสบาย หากความอดทนของท่านไม่เพียงพอ ความเมตตาไม่มากมี วันนี้จะมีวัดป่าหนองไผ่ สำหรับทุกคนหรือไม่ ก็สุดจะยากเดา

    การฟื้นฟูสภาพวัดในเบื้องแรก ท่านเพียงมีนโยบายปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้คืนสู่บรรยากาศป่าเขา ที่ให้ร่มเงาชุ่มเย็นอีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมไว้รับรอง เพื่อนสหธรรมิกผู้ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้ได้มีสถานที่พักภาวนา ที่มีบรรยากาศเหมาะสม ส่งเสริมการปฏิบัติให้ก้าวหน้า ทั้งนี้ก็รวมถึงการเปิดโอกาส ให้ญาติโยมประชาชนทั่วไปจากทิศทั้งสี่ ที่มีความสนใจ จะฝึกอบรม ขัดเกลาจิตใจตน ได้มีสถานที่พักพิงอาศัย

    ๏ “ป่าไม้สร้างศาสนา – ศาสนารักษาป่าไม้”
    ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม รับภาระบริหารดูแลรักษาวัดนี้นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ท่านมีนโยบาย ใช้ทรัพยากร “ป่าไม้” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองประการ คือ

    • รักษาพื้นที่ป่าไม้ไว้ เพื่อใช้อนุรักษ์ควบคุมความสมดุลระบบนิเวศธรรมชาติ อันเป็นแหล่งกำเนิดของการสร้างทุกสรรพชีวิต

    • ขัดเกลาจิตใจ ปฏิบัติสมาธิภาวนา พัฒนาสติปัญญา สำหรับพระภิกษุสามเณร ยาวชนและบุคคลทั่วไป เป็นการสร้างพลเมืองดี มีศีลธรรมเทื่อรับใช้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงสถาพรสืบไป

    ที่มา : คัดลอกมาจาก w.w.w.watpanongphai.org

    _/_ _/_ _/_

    -๒๑-ตุลาคมเป.jpg
    วันนี้วันที่ ๒๑ ตุลาคมเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๘ ปี ๔๘ พรรษา ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม รับภาระบริหารดูแลรักษาวัดนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ โดยเหตุที่วัดป่าหนองไผ่ ถือวัตรปฏิบัติตามแบบปฏิปทาพ่อแม่ครูอาจารย์องค์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ดังนั้นพระภิกษุสามเณรจึงตั้งใจรักษาศีล ข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังได้อบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความประพฤติดี ทำมาหากินด้วยความขยันขันแข็งและสุจริต ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ อบรมสั่งสอน ชาวบ้านให้ช่วยกันปลูกป่า รักษาธรรมชาติ เหตุนี้ผืนป่าบริเวณนั้นจึงยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้ได้

    ที่วัดป่าหนองไผ่นี้ ภายในวัดมีถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ ชื่อ “ถ้ำผาหัก” เป็นธรรมสถานเก่าแก่แห่งหนึ่ง นับเนื่องแต่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นองค์ปฐม ได้มาพักปฏิบัติภาวนาและอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๙ และตามด้วยพระอาจารย์ ผู้เป็นศิษย์องค์สำคัญอีกหลายรูป อาทิ เช่น หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ,หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในหมู่พระธุดงค์กัมมัฏฐาน ว่าเป็นสถานที่อันวิเวกเหมาะสมแก่การปฏิบัติภาวนา ทำให้มีพระธุดงค์มาพักเพื่อปฏิบัติธรรม และจำพรรษาอยู่เสมอ

    ๏ ชีวประวัติและปฏิปทา
    ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
    ชาติกำเนิดท่านเป็นคนจังหวัดระยอง ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน พี่น้อง ๑๔ คน เนื่องจากบิดามารดา คือ นายบุ่งเลี้ยงและนางเซี้ยม แซ่จึง กำลังอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างฐานะ ช่วงปฐมวัย ด.ช.สุธรรม จึงได้มีโอกาสสัมผัสรสชาติ ของชีวิตที่ยากลำบาก แต่เต็มไปด้วยกำไรของชีวิต เพราะความไม่ร่ำรวยได้บ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ต้องรู้จักอดทนทางกาย อดกลั้นทางจิตใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดี ไม่ถือดี ความลำบาก สอนคนให้รู้จักขยันขันแข็ง รู้จักวิริยะอุตสาหะพากเพียร รู้จักประหยัดอดออม พร้อมๆ กับรู้จักที่จะมีน้ำใจ เห็นใจผู้อื่นที่มีความทุกข์ร้อน เพราะต่างซาบซึ้งรสชาดความทุกข์ยากขาดแคลนได้อย่างประจักษ์ใจมาแล้ว

    ๏ “ภาวะผู้นำโดยธรรมชาติ”
    โดยเหตุที่บุตรคนโตเป็นหญิง ท่านพระอาจารย์ในวัยเด็ก จึงต้องทำหน้าที่เป็น พี่ชายคนโตของน้อง ๆ ทั้ง ๑๒ คน โดยมิได้จงใจจะฝึกหัด การที่ท่านสำนึก ในความเป็นพี่ใหญ่ มีความรักความเมตตาต่อน้องๆ ช่วยเหลือดูแลน้องๆ ตามกำลังของท่าน ตามกำลังของท่าน กิจหน้าที่การกระทำต่าง ๆ ต่อน้อง ๆ นี่เอง จึงเป็นการสั่งสมความเป็น “ผู้นำ” ให้แก่ท่านโดยอัตโนมัติอย่างเป็นธรรมชาติ ซึมซาบอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจะเห็นได้จากในปัจจุบัน บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายของท่าน ต่างได้มีความรู้สึกที่เด่นชัด ตรงกันประการหนึ่งว่า ท่านพระอาจารย์ มีเมตาเอื้อเฟื้อสงเคราะห์เอาใจใส่จริงใจ ต่อศิษย์ หรือดุจดังพี่ชายใหญ่ให้ความอนุเคราะห์ ห่วงใยคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่น้อง ๆ ทุกคนโดยเสมอหน้ากัน

    ๏ “สู่ร่มกาสาวพัตร์ ”
    เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ ได้อุปสมบทตามความปรารถนา ณ วัดตรีรัตนาราม อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีท่านพระครูประจักษ์ ตันตยาคม วัดคีรีภาวนาราม อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดตรีรัตนาราม ๔ พรรษา เพื่อศึกษานักธรรม จนในที่สุดก็สอบผ่านได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ.๒๕๑๖

    ๏ “เร่งขวนขวายการศึกษา ใช้เวลาให้ถูกตามจังหวะของชีวิต ”
    อย่างไรก็ตาม แม้ในเบื้องต้นท่านต้องศึกษาเล่าเรียนทางปริยัติ เรียนนักธรรมชั้นต่าง ๆ ที่วัดตรีรัตนาราม แต่เมื่อถึงฤดูแล้งทุกปี ท่านจะต้องกราบลาครูบาอาจารย์ ขึ้นไปหาที่พักภาวนา บนดอยแม่ปั๋งกับท่านหลวงปู่แหวนบ้าง หรือบางทีก็ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม ณ วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ๏ “มรสุมชีวิต ”
    แม้วิถีชีวิตของท่าน จะแลเหมือนได้พ้นการเผชิญหน้ากับพายุมรสุมร้ายกลางท้องทะเลมหาสมุทรไปแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริง “มรสุมชีวิต” ยังตามติดผู้คนไม่เลิกรา ในขณะที่ท่านกำลังซาบซึ้งกับชีวิตบรรพชิตอย่างดูดดื่มยิ่งๆขึ้นไปทุกๆวันทุกๆคืนคลื่นใต้น้ำก็กำลังก่อตัว เป็นมรสุมลูกใหญ่ พร้อมที่จะถาโถมใส่ท่าน เมื่อถึงกาลเวลาของมัน กล่าวคือ มีท่านลำพังเพียงผู้เดียว ที่กำลังบังเกิดความศรัทธาเพิ่มพูนในจิตใจในร่มเงาพระพุทธศาสนา แต่ว่าทั้งญาติพี่น้องทั้งในครอบครัวและญาติทางฝ่ายโยมมารดาที่สุพรรณบุรี ต่างตั้งหน้ารอคอย “ วันสึก ”ของท่านอย่างใจจดใจจ่อ ทุกครั้งที่ท่านได้มีโอกาสพบญาติพี่น้องก็จะได้รับคำถามรุกเร้าคาดคั้นเป็นประจำว่า เมื่อไรจะสึกๆ ”

    ๏ “โทรเลขด่วน ! ”
    หลังจากที่ท่านสำเร็จนักธรรมเอกในพรรษาที่ ๔ แล้ว พอพรรษาที่ ๕ ท่านก็มุ่งหน้าสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังมากขึ้น ลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติเป็นครั้งคราว ในหน้าแล้งของทุกปีที่ผ่านมา ดังนั้นพรรษาที่ ๕ ท่านจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ การเจริญภาวนามีความก้าวหน้าตามลำดับ หลังออกพรรษาได้ไม่นาน ก็ได้รับโทรเลขด่วน ให้รีบลงไปที่สุพรรณบุรีทันที เพราะโยมยายป่วยหนัก อาการน่าวิตกมาก ต้องการพบพระหลานชายเป็นที่สุด ท่านจึงได้เข้ากราบลาครูบาอาจารย์และเร่งรุดเดินทางทันที ด้วยเกรงว่าจะไม่ทันเวลาที่จะโปรดโยมยายเป็นครั้งสุดท้าย ! แม้อาจะถึงคราวที่ต้องสูญเสียญาติผู้ใหญ่ ผู้เป็นที่รักยิ่งของทุกคน แต่โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสสำคัญ ที่จะทำให้ญาติพี่น้องทั้งตระกูล ได้ซาบซึ้งคุณค่าที่ท่านได้บวชมา !

    ๏ “โยมยาย ..… แข็งใจอีกนิด”
    พ ระหนุ่มเดินทางอย่างเร่งรุดด้วยความทุลักทุเล เพราะการคมนาคมสมัยโน้นยังยากลำบาก แต่ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรคมาขัดขวางดวงใจที่มุ่งมั่นได้ ขอเพียงโยมยายอดทนรอคอยอีกสักนิด พระหลานชายก็จะไปให้ได้เห็นหน้า สมใจที่ต่างฝ่ายต่างปรารถนาอย่างแน่นอน

    ๏ “ภารกิจอันสำคัญ เพื่อตอบแทนพระคุณ”
    เมื่อเดินทางถึงบ้านโยมยายที่สุพรรณบุรี ท่านรู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อยเพราะพบว่าญาติทุกคนจากทุกถิ่น มารวมตัวกันหมดอย่างพร้อมเพรียง “ฤาโยมยายจะจากไปเสียแล้วหรือนี่” ท่านได้แต่รำพึงในใจ ขณะที่สาวเท้าก้าวเข้าไปในห้องของโยมยาย หญิงชรานอนหลับตาหายใจอ่อนโรยริน อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติที่แห่แหนรายล้อมอยู่รอบเตียง เป็นบรรยากาศที่เคร่งเครียด หดหู่ สิ้นหวังน่าเศร้าใจเหลือประมาณที่จะกล่าวได้ ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สำคัญ ขนาดนั้น ท่านไม่มีโอกาสได้ทักทายผู้ใด ท่านรวบรวมจิตใจให้สงบผ่องใส ด้วยความหวังว่า โยมยายจะสามารถลืมตาขึ้นมาได้อีกสักครั้ง เพื่อเห็นชายผ้าเหลือง ของพระหลานชาย ก่อนที่จะสิ้นลมสิ้นใจจากไป อย่างน้อย ขอให้โยมยายได้เห็นชายผ้าเหลืองเป็นครั้งสุดท้าย ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต “โยมยาย ๆ พระมาแล้ว โยมยายพระมาหาโยมยายแล้ว” ท่านเอ่ยวาจาร้องเรียกโยมยายด้วยความแผ่วเบานุ่มนวล ถ่ายทอดพลังจิตที่สงบและปรารถนาดีอย่างเต็มท้นจิตใจสู่โยมยาย จิตท่านเฝ้ารำพึงว่า “ขอให้พระหลายชายได้ทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดนี้ เพื่อตอบแทนพระคุณอันสูงล้นของโยมยายด้วยเถิด “
    หญิงชราปรือตาขึ้นช้าๆอย่างอ่อนแรง วินาทีนั้น พลันดวงตาทั้งสองของสายสัมพันธ์ ยาย – หลาน ก็ประสบพบกัน บรรยากาศภายในห้องเงียบกริบ ประหนึ่งโลกนี้ ไร้สิ่งมีชีวิตโดยสิ้นเชิง เมื่อหญิงชรามองสบดวงตาคู่นั้นจนเต็มตา ระลึกจดจำได้ชัดว่า นี่คือดวงหน้าของพระหลานชายที่เฝ้ารอคอยด้วยความอดทนแข็งใจรอที่จะได้พบ โยมยายจึงเอ่ยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนแรง สั่นเครือ แหบเบา แต่กลับดังทะลุทะลวงถึงหัวใจของพระหลานชายว่า บวชมาก็นานแล้ว .. เมื่อไรจะสึกเสียที ! ภาระหน้าที่ใน ครอบครัวก็มีอยู่ ทำไมไม่สึกเสียที !”

    ๏ “หัวใจสลาย”
    ในบัดดลที่ได้ฟังคำพูดนั้น จิตใจที่สงบของพระหนุ่ม ก็ตีตลบพลิกกลับหมุนคว้างอย่างไร้ทิศทาง ไร้ความสามารถที่จะควบคุม จิตตกวูบบังเกิดความเศร้าสลด สังเวช นึกสมเพช อนาถใจในตนเองอย่างที่สุดเป็นความรู้สึกที่ยากเกินกว่าจะบรรยายให้ใครเข้าใจได้ตรงกับความรู้สึกที่บังเกิดขึ้นท่านเกิดความเสียใจ ผิดหวังอย่างที่สุด ในขณะเดียวกันก็เกิดความทุกข์ ท้อแท้ใจ สับสน วุ่นวาย เกิดความลังเลใจในชีวิตพรหมจรรย์เสียแล้ว ! ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังในภายหลังว่า ท่านเกิดรำพึงในใจว่า โอหนอเราช่างเป็นต้นเหตุ นำความทุกข์ระทมมาสู่หมู่ญาติพี่น้องได้ถึงเพียงนี้เทียวหนอ ฤาการบวชของเราจะเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว เอาเปรียบพี่น้องอย่างที่ญาติ ๆ ได้กล่าวประณามไว้จริงละหรือ ! นับแต่วินาทีนั้นผ่านไป จิตใจของท่านก็หาความสงบไม่ได้อีกเลย ความคิดที่จะ “ สึก มีความรุนแรงเพิ่มพูน ผลักดันอยู่ภายในใจ ตลอดเวลา ขณะเดียวกันมันก็ต่อสู้กับความรู้สึกลึก ๆ ที่แน่นแฟ้นกับชีวิตพรหมจรรย์ เกิดเป็นสงครามล้างผลาญทำลายอยู่ภายในจิตใจตลอดเวลา จนหาช่องว่างที่จะสงบสุขแม้เพียงอึดใจก็ไม่มี !

    ๏ “ กลับคืนสู่ถ้าผาปล่อง ”
    ด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะกราบลาครูบาอาจารย์ คือ ท่านหลวงปู่สิม เพื่อสึกหาลาเพศอย่างแน่นอนทันที ทว่าท่านหลวงปู่สิมกลับไม่สนใจใยดีต่อคำกราบลา แม้จะยืนยันกับหลวงปู่ว่า ถ้าขืนยังอยู่ต่อก็ต้องเป็นทุกข์ใจ จนถึงแก่ความตายเป็นแน่ หลวงปู่สิม กล่าวตอบสวนควันทันทีว่า “แล้วสึกไปแล้วจะไม่ต้องตายหรอกหรือ !” จากนั้นหลวงปู่ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจ ไม่ให้ความสำคัญใดใด กับคำกล่าวลานั้นเลย

    ท่านพระอาจารย์สุธรรมในขณะนั้นกลับต้องเผชิญความบีบคั้นกดดันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอีกเรื่องก็คือ การไม่ได้รับการอนุญาตให้ลาสึก ! ถ้ำผาปล่อง อันเคยเป็นภูผาพฤกษ์ไพรที่ให้ความร่มเย็นสุขล้ำ กลับกลายเป็นดั่งแผ่นดินเพลิง จะเดิน จะยืน จะนั่งจะนอนก็ให้ร้อนรุ่มไปหมดทุกลมหายใจ ความเคารพครูบาอาจารย์อย่างเต็มล้นหัวใจก็ยังมีอยู่ แต่ทุกข์สาหัสก็มิอาจขจัดให้เบาบางลงได้ ขืนอยู่ต่อก็คงต้องทิ้งชีวิตทิ้งร่างกายให้เป็นภาระแก่หมู่พวกแน่นอน ! สุดท้ายท่านจึงตัดสินใจเก็บของสะพายบาตร เดินเตลิดเข้าป่าลึกอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพียงแต่มีความตั้งใจว่า ถ้าเข้าป่าไปหาที่สงบ เพื่อเจริญภาวนา แล้วทำได้ไม่สำเร็จ คือไม่สามารถดับร้อนผ่อนคลายทุกข์ได้ ก็ขอทิ้งชีวิตให้สาปสูญสิ้นชีพอย่างเดียวดาย ไร้ญาติขาดมิตรอยู่กลางป่าลึกนั่นแหละ ! กอปรกับจิตใจที่เคยอบรมฝึกฝนตนให้เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เสี่ยงความเป็นความตายมาแล้ว จึงทำให้เท้าของท่านเดินก้าวบุกป่าฝ่าดงต่อไป ไม่มีคำว่า “ ถอยหลัง ” ให้ปรากฏในใจอีกเลย
    “ ชีวิตในชาตินี้ ขอทิ้งไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่าหวนคืนสู่เพศฆราวาสอีกต่อไป !”

    ๏ “รับใช้หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
    หลังจากที่ได้รับผลอันน่าอัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยคาดฝันว่าจะเกิดขึ้นได้กับตัวท่าน ท่านก็พิจารณาว่า ถ้าจะหาความเจริญก้าวหน้าบนหนทางนี้ คงต้องแสวงหาสถานที่ ที่สัปปายะคือมีความเหมาะสม ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างแท้จริง ย่างเข้าพรรษาที่ ๖ คือ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านจึงตัดสินใจมากราบนมัสการ ฝากเนื้อฝากตัว ขอเป็นลูกศิษย์รับใช้ใกล้ชิดท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พรรษาที่ ๖ นี้ท่านก็ได้อุบายวิธีภาวนาจากหลวงปู่ฝั้น รวมถึงได้ซึมซาบศีลาจริยวัตรอันงดงามหมดจดแล้วด้วยดีขององค์หลวงปู่ฝั้น ท่านเล่าว่าก่อนตี ๓ ท่านมี ความเบิกบานยินดีที่จะลุกจากที่นอน เพื่อไปก่อไฟ เตรียมต้มน้ำ ไว้สำหรับสรงน้ำให้องค์หลวงปู่ฝั้น ในระหว่างที่ลูกศิษย์ช่วยการสรงน้ำ หรือนวดเฟ้น หรืออุปัฏฐากปรนนิบัติ รับใช้องค์หลวงปู่ องค์หลวงปู่จะเมตตาถ่ายทอดธรรมผ่านนิพพานบ้าง ผ่านเรื่องเล่าต่าง ๆ บ้าง หรืออบรมต่าง ๆ บ้าง แต่ล้วนแล้ว เป็นสิ่งประเสริฐ ที่เปล่ง ออกจากดวงจิตที่เอื้ออาทร การุณแก่เหล่าบรรดาศิษย์อย่างสนิทใจ

    ๏ “ความฝันที่เป็นจริง ”
    ต่อมาในพรรษาที่ ๗-๘-๙ (พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๑) ท่านได้มาจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง แห่งวัดป่าแก้วชุมพล ก็นับว่าเป็นอีกช่วงหนึ่งของชีวิต ที่ได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ใหม่ ๆ อีกหลายประการในช่วงปีที่ท่านเร่งทำความเพียรนี้ ท่านเล่าว่าไม่เคยสุงสิงคลุกคลีญาติโยมใครๆ เลย เพราะทุกอริยาบท จะเต็มไปด้วยการเจริญสติ สมาธิ ปัญญาตลอด ท่านจึงมักสำรวมตา สงบวาจา เมื่อมีกิจของหมู่คณะ ท่านก็มิได้ละเลยหลีกเลี่ยง แต่เมื่อเสร็จกิจปุ๊บ ท่านก็จะหาที่นั่งภาวนาหรือเข้าทางจงกรมทันที และเหตุการณ์ที่เคยคาดหวังไว้ก็กลายเป็นความจริง กล่าวคือญาติพี่น้องของท่าน เริ่มสนใจเข้าวัด และมีจิตใจเป็นกุศลทำบุญสุนทรทานกันมากขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้

    ๏ “ครูบาอาจารย์ไม่เคยตำหนิได้ ”
    ต่อมาในพรรษาที่ ๑๐ และ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓) อันเนื่องมาจากการมรณภาพของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง โดยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ท่านพระอาจารย์สุธรรม จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี มีสิ่งที่ท่านประทับใจ และภูมิใจในการปฏิบัติก็คือ ท่านมิเคยถูกครูบาอาจารย์ตำหนิว่าย่อหย่อยเหลวไหลแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นท่านจึงได้รับความไว้วางใจ และได้รับอนุญาตจากท่านอาจารย์ใหญ่บ้านตาด ให้มาพักภาวนาและพัฒนาวัดป่าหนองไผ่ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร ต่อจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ที่ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จับตัวไปสังหาร วัดป่าหนองไผ่แห่งนี้ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ได้มาพักยังที่พักสงฆ์ป่าหนองไผ่ และได้เริ่มจัดทำเสนาสนะตามอัตภาพ ความเป็นอยู่ในยุคแรกยังอัตคัดขัดสนมาก ประกอบกับไข้ป่าชุกชุม ท่านต้องเผชิญกับไข้มาลาเรียขึ้นสมองอยู่ตลอด ๓ ปีเต็ม กว่าจะหายามาสกัดโรค ได้สนิทอาการของท่านนั้น ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันแทบไม่มีเว้นวรรคไว้ให้ท่านได้สุขสบาย หากความอดทนของท่านไม่เพียงพอ ความเมตตาไม่มากมี วันนี้จะมีวัดป่าหนองไผ่ สำหรับทุกคนหรือไม่ ก็สุดจะยากเดา

    การฟื้นฟูสภาพวัดในเบื้องแรก ท่านเพียงมีนโยบายปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้คืนสู่บรรยากาศป่าเขา ที่ให้ร่มเงาชุ่มเย็นอีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมไว้รับรอง เพื่อนสหธรรมิกผู้ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้ได้มีสถานที่พักภาวนา ที่มีบรรยากาศเหมาะสม ส่งเสริมการปฏิบัติให้ก้าวหน้า ทั้งนี้ก็รวมถึงการเปิดโอกาส ให้ญาติโยมประชาชนทั่วไปจากทิศทั้งสี่ ที่มีความสนใจ จะฝึกอบรม ขัดเกลาจิตใจตน ได้มีสถานที่พักพิงอาศัย

    ๏ “ป่าไม้สร้างศาสนา – ศาสนารักษาป่าไม้”
    ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม รับภาระบริหารดูแลรักษาวัดนี้นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ท่านมีนโยบาย ใช้ทรัพยากร “ป่าไม้” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองประการ คือ

    • รักษาพื้นที่ป่าไม้ไว้ เพื่อใช้อนุรักษ์ควบคุมความสมดุลระบบนิเวศธรรมชาติ อันเป็นแหล่งกำเนิดของการสร้างทุกสรรพชีวิต

    • ขัดเกลาจิตใจ ปฏิบัติสมาธิภาวนา พัฒนาสติปัญญา สำหรับพระภิกษุสามเณร ยาวชนและบุคคลทั่วไป เป็นการสร้างพลเมืองดี มีศีลธรรมเทื่อรับใช้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงสถาพรสืบไป

    ที่มา : คัดลอกมาจาก w.w.w.watpanongphai.org

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...