นักปฏิบัติธรรมตายแล้วไปไหน ?

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 4 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    นักปฏิบัติธรรมตายแล้วไปไหน ? โดย พญ.เชาวนี ธาตรีธร

    มีเรื่องอยากจะเล่าต่ออีกและเห็นว่าสำคัญ ยิ่งมีเรื่องสึนามิ ยิ่งอยากเล่าไว้เพื่อพิจารณา ในพระไตรปิฎกได้ระบุถึงสิ่งที่จะมาปรากฎแก่เราในขณะที่ต้องละสังขารไว้ดังนี้ จิตดวงสุดท้ายจะถูกย้อมด้วยอารมณ์ที่เกิดจากผลกรรมของเราแสดงผลในขณะนั้น แล้วจิตจะดับไปเกิดใหม่ตามลักษณะของกรรมนั้นๆ ( ไม่ใช่วิญญาณไปเกิด ) สภาวะใหม่สำหรับคนทั่วไปแบ่งเป็น สุคติสำหรับกรรมดี และทุคติสำหรับกรรมชั่ว แต่ผู้ทีสามารถหลุดพ้นจะไปสู่สภาวะนิพพานได้นั้นคลื่นของจิต (จิตเป็นพลังงานซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่น )จะเป็นคลื่นที่บริสุทธิ์ ปราศจากความชอบ (โลภะ)และความชัง( โทสะ)

    เป็นลักษณะของจิตที่ได้ฝึกฝนดีแล้วด้วยวิธีของวิปัสสนากรรมฐานผู้ทีฝึกวิปัสสนากรรมฐานไปเรื่อยๆเมื่อถึงวาระสุดท้าย จิตจะไปสู่ภาวะที่บริสุทธิ์ตามระดับของตนและมีโอกาสจะได้บำเพ็ญเพียรสู๋ความหลุดพ้นได้ต่อไปในชาติหน้า เรียกว่าสามารถเข้าถึงกระแสพระนิพพานโดยไม่กลับไปอยู่ในสภาวะของผู้มีกิเลสหนาอีก หากได้บำเพ็ญเพียรมาจนถึงโอกาสหลุดพ้นก็จะไม่กลับมาเกิดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้อีก ก่อนจะจากชาตินี้ไป ในคนทั่วไปจะมีลำดับดังนี้ เมื่อหัวใจหยุด การรับรู้ความรู้สึกทางอวัยวะรับรู้ ( sense organ )ทั้ง 5 หมดไป ตาไม่เห็นรูป ( จักขุวิญญาณดับ )หูไม่รับรู้เสียง ( โสตะวิญญาณดับ ) จมูกไม่รับกลิ่น (ฆานะวิญญาณดับ ) ลิ้นไม่รับรส( ชิวหาวิญญาณดับ ) ผิวกายไม่รับรู้สัมผัส ( โผฐัพพะวิญญาณดับ )

    [​IMG]



    ทางแพทย์พบว่ายังมีคลื่นสมอง( มโนวิญญาณยังไม่ดับ) ตรงกับที่พระไตรปิฎกบอกว่า มโนวิญญาณยังไม่ดับ ยังรับรู้ธรรมารมณ์ (ความจำเหตุการณ์ในอดีต)ได้อยู่ ตอนนี้เป็นระยะสำคัญเป็นรอยต่อของปัจจุบันชาติและอนาคตชาติ จะมีความฝันปรากฎขึ้นมาเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิตนี้ หากสามารถทำจิตให้เป็นอุเบกขาได้ จิตสุดท้ายตั้งอยู่ในอุเบกขา เมื่อ มโนวิญญาณดับ ผู้นั้นจะไม่กลับมาเกิดอีกไม่ว่าในโลกมนุษย์ โลกสวรรค์ นรกหรืออื่นๆ แต่ผู้ที่ไม่เคยศึกษา จนรู้วิธีควบคุมจิต ( วิปัสสนากรรมฐาน ) จะทำปฏิกิริยาโต้ตอบกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจขณะนั้นไปในทางชอบหรือชัง เมื่อมโนวิญญาณดับจิตจะถูกดึงดูดไปสู่สภาวะที่มีคลื่นแบบเดียวกัน ถ้าคลื่นจิตเป็นกุศลจะไปสู่สุคติ ส่วนผู้ที่มีคลื่นจิตเป็นอกุศลก็ไปสู่ที่ตรงกันข้าม

    ในพระไตรปิฎกระบุว่าจิตของปุถุชนจะมีนิมิต(เห็นภาพของสภาวะที่จะไปเกิดใหม่ด้วย ) แตกต่างกันไปตามกรรมที่ทำในอดีต กรรมพวกแรกที่แสดงผลคือ ครุกรรม กรรมหนักเช่น ฆ่าคน บวชพระ สร้างกุศลใหญ่ๆที่ทำยาก ถ้าไม่เคยทำแบบนี้ จะมีอาจิณกรรมคือกรรมที่ทำบ่อยๆเช่นใส่บาตรทุกเช้า หรือฆ่าหมูทุกวัน ถ้าไม่เคยทำดีทำชั่วหนักหรือมาก มีทั้งกรรมดีกรรมชั่วปนกันธรรมดาๆ มันก็จะขึ้นอยู่ว่าขณะนั้นกรรมชนิดใดของเรากำลังแสดงผล ก็จะเห็นฝันดีหากกุศลกรรมแสดงผล หากอกุศลกรรมแสดงผล ก็จะเห็นฝันร้ายในคนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมมาก่อนจะทำปฏิกิริยาโต้ตอบกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างที่เล่ามาแล้วว่าชอบ หรือชัง จึงวนเกิดเวียนตายกันมาเรื่อย

    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอบรมให้เกิดปัญญาให้สามารถรักษา ความเป็นอุเบกขาของจิตได้ตลอดเวลา ทำให้ยุติการสร้างตัณหาผลคือการหยุดภพหยุดชาติได้อย่างสิ้นเชิง ขอสรุปเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของจิตที่เกี่ยวกับการสร้างกิเลสอย่างย่อๆดังนี้ กิเลสคือสิ่งที่มาทำให้จิตใจไม่ผ่องใส รวมเรียกว่าเครื่องเศร้าหมองย้อมใจ ชีวิตประกอบด้วยร่างกายคือรูป และนามหรือจิต ซึ่งเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ชีวิตมีการทำงานร่วมกันระหว่างร่างกายและจิต

    การสร้างบุญสร้างบาป และการปฏิบัติธรรมต้องอาศัยร่างกายเป็นเครื่องมืออบรมสั่งสอนจิต การได้เกิดเป็นมนุษย์จึงเป็นโอกาสที่จะปฏิบัติธรรมเลื่อนชั้นของจิตให้เกิดความรู้ทำลายอวิชาให้ลดลงและหมดไปในที่สุดได้ หากเกิดเป็นเทวดาหรือเกิดในพรหมโลก ( ยกเว้นพรหมชั้นสูงที่เรียกว่าชั้นสุทธาวาส พรหมชั้นนี้จะเจริญธรรมปฏิบัติได้ ) พอหมดบุญก็ต้องมาเวียนว่ายในวัฏสงสารอีก เสียเวลาเป็นอันมาก การทำงานของจิตมี 4 อย่าง จิตจะทำงานทีละอย่างได้อย่างรวดเร็วสลับไปสลับมา จนทำให้เกิดการต่อเนื่องเป็นกระแสตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย

    เมื่อจิตเริ่มทำหน้าที่หนึ่งมีการเกิดขึ้นของหน้าที่นั้นแล้ว ก็ดับไปแล้วมันก็เริ่มทำหน้าที่อีกอย่างแล้วก็ดับไปอีก เกิดดับอยู่เช่นนี้ไปเรื่อยต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เหมือนการที่เราดูภาพยนต์ เราไม่รู้สึกถึงการเกิดดับเป็นcycle เพราะเกิดมายาภาพ ต่อเนื่องไปเรื่อย แล้วยังทำให้เกิดการย้อมติดอยู่นานทั้งที่ สิ่งที่มันมาปรากฏให้เรารู้ทาง sense organs ทั้งหลายมันดับไปแล้ว การทำงานหน้าที่แรกของจิตคือการรับรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น ร่างกายตั้งแต่ผิวหนังลงไป ในทางพุทธศาสนา ยังรวมถึงใจด้วย แต่ใจจะมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความจำสิ่งที่เกิดและดับไปแล้วในอดีต เมื่อมันหวนกลับมาอีกมันก็จะรับรู้ได้ด้วยจิตขณะทำหน้าที่รับรู้นี้

    คำสอนของทางพุทธศาสนาจึงระบุว่า เรารับรู้สิ่งต่างๆได้ 6 ทาง ( ขณะที่วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญ 5 ทางแรกเพราะมีมาตรวัดได้ง่าย )ตามที่ได้เล่าไว้คราวก่อน ชื่อของการทำหน้าที่นี้เรียกว่าวิญญาน มันเกิดขึ้นเมื่อตาเห็นรูป จิตจะรับรู้ว่ามีรูป ทันใดนั้นมันจะเกิดหน้าทีใหม่ของจิต"มาแย่งไม้ไป" คีอเกิดความจำซึ่งจะเริ่มต้นทำงาน (จิตที่ทำหน้ที่รับรู้ได้ดับไป วิญญาณดับ) ชื่อของหน้าที่นี้เรียกว่าสัญญา ( มาถึงตรงนี้จะเข้าใจได้ว่าที่ท่านพุทธทาสสอนไว้ว่า มีภาษาคน ภาษาธรรมนั้นเป็นเช่นใด ) สัญญาทำงาน 2 อย่างเกี่ยวเนื่องกันคือ จิตจะจำได้ว่าสิ่งที่เห็นมันคืออะไร นั่นคือมันมีชื่อเรียกว่าอะไร และที่สำคัญอีกอย่างคือ มันจะประเมินค่าของสิ่งที่เห็นว่าดีหรือไม่ดี

    ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล สิ่งเดียวกันนั้น บางคนอาจดี 1+ บางคนดี10+แต่บางคนอาจชั่ว2+ก็ได้หากสัญญาประเมินค่าของสิ่งที่เห็นว่าดี จะเกิดความรู้สึก ( เวทนา )สบายทั่วร่างกาย หากประเมินค่าของสิ่งที่เห็นว่าไม่ดี จะเกิดความรู้สึกไม่สบายทั่วร่างกายหรือมีความเครียดเกิดขึ้น เช่นเราจะรู้สึกร้อน หรือปวดหรือเกร็ง ตึงขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จะเห็นได้ว่า จิตและกายมันสัมพันธ์กันเช่นนี้ และด้วยความไม่รู้คืออวิชา (เพราะผู้นั้นไม่มีความรู้ เนื่องจากไม่เคยศึกษามาก่อน หรือปัญญาด้านนี้ยังไม่พัฒนา ) จึงทำให้จิตนั้นทำหน้าที่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความสงบสุขของจิต คือการสร้างความคิดปรุงแต่งต่อไป ( การสร้างความคิดปรุงแต่ง มีชื่อเรียกว่าสังขาร )จิตจะคิดปรุงแต่งเป็นความชอบ( เพราะมีความสบายเกิดขึ้น ) และไม่ชอบหรือความชัง( เพราะมีความไม่สบายเกิดขึ้น )

    ตรงนี้เองคือการเกิดกิเลสขึ้นในจิต แล้วกิเลสเก่าๆที่สะสมอยู่ในจิตไร้สำนึกจะถูกกวนให้ฟุ้งขึ้นมาบนพื้นผิวของจิตที่เรียกว่าจิตสำนึก แล้วกิเลสใหม่จะถูกจับลงไปพอกพูนสะสมขยายตัวจนเป็นยักษ์คอยสร้างความเครียดให้เจ้าตัวตั้งแ ต่แรกเกิดจนตายชาติแล้วชาติเล่า พระพุทธเจ้าพบว่าหากเราสามารถเปลี่ยนสัญญาให้เป็นปัญญา กลไกการเกิดกิเลสจะหยุดลง แล้วเกิดการสลายกิเลสไปทุกครั้งที่การรับรู้โลกภายนอกและความจำเก่าๆที่มันเกิดขึ้นมา วิธีเปลี่ยนสัญญาให้เป็นปัญญานั้น เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าค้นพบแล้วสอนชาวโลก ท่าให้เราฝึกหัดให้มีสติที่ไว สามารถวางจิตให้เฉยหรือมีอุเบกขาเมื่อเรารู้สึกถึงเวทนาที่เกิดขึ้นในกายของเราเมื่อเราได้เห็น(ได้ยิน ได้กลิ่นได้ฯลฯ) ไม่ยอมให้จิตส่วนที่เกี่ยวกับความชอบความชังทำงาน กิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาจะไม่สามารถกลับลงไปตกตะกอนที่จิตไร้สำนึกได้อีกและมันจะค่อยๆสลายไปในที่สุด เร็วช้าขึ้นกับสติปัญญาของแต่ละคน ในการฝึกอบรมในแนวทางนี้เรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทำได้สะดวกในชีวิตประจำวัน

    เหมือนอยู่ในกองเพลิงโดยไม่ถูกไฟแผดเผา ทำให้การทำงานคือการปฏิบัติธรรมชำระกิเลสออกจากจิตได้ตลอดเวลา การเข้าอบรม 10 วันแรก (อ่านรายละเอียดการอบรมจากบทความนี้) เป็นการทำความรู้จักวิธีการและฝึกหัดวางจิตให้เป็นอุเบกขา และการที่มีโอกาสเข้าอบรมไปเรื่อยๆจะเกิดความชำนาญยิ่งขึ้น จิตอุเบกขานี้แหละคือจิตที่บริสุทธิ์เรื่องทำอย่างไรจิตจึงจะเป็นอุเบกขาได้ และจะเข้าใจแจ่มแจ้งเมื่อเข้าหลักสูตรสติปัฏฐาน ( ไม่มีคำภาวนาอีกเช่นกัน)

    หากพอมีเวลาหลังเกษียณน่าจะไปศึกษา และควรไปอย่างนักศึกษาไม่ตั้งความหวังว่าจะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้เพราะความปรารถนาแบบนี้จะขัดขวางการเรียนรู้ทางจิต ให้ใช้วิธีสังเกตไปไม่คิดวิจารณ์ว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่เคยอ่านมาจากที่อื่นๆ และไม่ต้องตั้งใจมากจนเกินไป จะเกิดความเครียด ขวางความก้าวหน้าทางธรรม สังเกตมันไปเรื่อยๆ ในวันที่จบการ อบรมเราจะรู้สึกโล่งอกโล่งใจหน้าตาผ่องใส



    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=17511[/MUSIC]

     
  2. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    นักปฏิบัติธรรมะตายแล้วเท่าที่หมดเชื้อจริง ๆ
    เข้านิพพานกันหมดเสียสิ้น

    เสมอด้วยจิตที่ไม่มีตัวตน จึงใช้คำว่าไม่เกิดไม่ตาย
    ดับไม่มีเชื้อที่จะมาก่อเป็นรูปนามได้อีกต่อไปสันโดษ
     

แชร์หน้านี้

Loading...