นักวิชาการเชื่อคำสั่งเถระฯ ห้ามได้แค่ชั่วคราว ชี้แก้วิกฤตสงฆ์ยั่งยืน พระต้องเปลี่ยนวิธีคิด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a3e0b980e0b88ae0b8b7e0b988e0b8ade0b884e0b8b3e0b8aae0b8b1e0b988e0b887e0b980.jpg

    สืบเนื่องกรณีการเคลื่อนไหวแก้วิกฤตสงฆ์ โดยพระเถระและเจ้าคณะปกครองหลายระดับได้มีหนังสือถึงวัดต่างๆในพื้นที่ให้ดูภิกษุสามเณรให้อยู่ในธรรมวินัย งดการกระทำที่ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธา อาทิ ใช้โซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นต่างๆในทางยั่วยุ ปลุกปั่น, โฆษณาพระเครื่องและวัตถุมงคลโดยอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์, แสดงพฤติกรรมผิดเพศกำเนิด เป็นต้น

    ผศ.ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า จากที่ได้อ่านเอกสารพบว่า ข้อห้ามบางส่วนดูเป็นการห้ามแบบเฉพาะกิจ เช่น ในงานประเพณีชักพระทางภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการจัดระเบียบครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่วงการสงฆ์ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์มาเป็นเวลานาน เช่น เรื่องพระตุ๊ดพระแต๋ว พระอาจเริ่มตระหนักพอสมควรว่าตัวเองกำลังตกในสถานะแบบไหน จึงมีความพยายามปฏิรูป ก่อนหน้านี้นายไพบูลย์ นิติจะวัน พยายามเสนอเรื่องการปฏิรูปศาสนาซึ่งเท่าที่ตนทราบก็มีเสียงตอบรับ ส่วนการห้ามเรี่ยไรมีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่มีผลที่จะทำให้เกิดการลงโทษ ปัจจุบันการเรี่ยไรมีมากขึ้น และมีหลากหลายวิธี

    b8b2e0b881e0b8b2e0b8a3e0b980e0b88ae0b8b7e0b988e0b8ade0b884e0b8b3e0b8aae0b8b1e0b988e0b887e0b980-1.jpg

    “การห้ามตั้งโต๊ะเรี่ยไรทั้งหมด คงทำไม่ได้ในความจริง อย่างวัดพระปฐมเจดีย์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ตั้งใจไปทำบุญ ไม่ค่อยได้เข้าไปศึกษา ในท้องถิ่นที่มีจารีตประเพณีการทำบุญแบบนี้อาจจะไม่สามารถหายไปได้ เพราะไม่มีใครไปนั่งตรวจสอบ ทุบทิ้งทำลาย เอกสารบางฉบับบอกว่าเป็นคำสั่งจนกว่าจะมีคำสั่งอื่น คล้ายกับว่าไม่ใช่ระงับตลอดไป ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเวลาพระพัฒนาวัด ส่วนใหญ่ก็เอาพระพุทธรูปไป และมีพิธีต่างๆ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถปลูกฝัง เรื่องการไม่นับถือรูปเคารพไม่ได้ คิดว่าไม่ได้ผล เพราะมันกลายเป็นประเพณีไทยไปแล้ว วัดใหญ่ๆในเมืองหลวงก็มีพิธีลักษณะนี้”

    นายชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ผลที่ตามมา ไม่เชื่อว่าจะทำให้ศาสนาบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่อย่างน้อยเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในระดับหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ที่คุ้นเคยกับวัตถุมงคล พุทธาภิเษก ของขลัง ว่าเป็นการเดินไปผิดทาง หากจะให้ยั่งยืนต้องเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับวิถีของการมีชีวิตในสังคมของพระสงฆ์ สำหรับกรณีเฟซบุ๊ก อาจกระทบต่อคนที่เล่นเพื่อเผยแพร่ธรรมะ ตั้งใจวิพากษ์ให้เกิดการพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งสร้างสรรค์ แต่พระที่ใช้เฟซบุ๊กโจมตี โพสต์หมิ่นเหม่ พระพระตุ๊ดโพสต์ภาพไม่เหมาะสม คำสั่งนี้มีประโยชน์ในการรักษาภาพพจน์ของสงฆ์

    “ไม่แน่ใจว่าการดำเนินการครั้งนี้มุ่งกวาดสิ่งที่เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่ถูกนำไปสร้างใหญ่โตในเขตวัดหรือไม่ เช่น เทวรูป พิฆเณศ พระศิว พระนารายณ์ อย่างไรก็ตาม คงเป็นการระงับยับยั้งในส่วนที่ยังไม่สร้าง แต่ที่สร้างมากมายหลายวัดแล้ว จะทำอย่างไร และถ้าจัดหลวงพ่อโตเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุมงคลด้วย ก็อาจจะยุ่งเหมือนกัน การออกคำสั่งแบบนี้อาจสร้างการปฏิบัติตามในชั่วระยะหนึ่ง แต่คงไม่มาก เพราะคนไปติดตามจริงจังคงไม่มี พะสังฆาธิการมีภาระกิจมากมาย คงไม่ไปจับว่าทำไมไม่ทำนู่นนี่ อย่างไรก็ตาม ก็ช่วยสร้างการตระหนักรู้ ถ้าจะให้มากกว่านี้คงต้องมีอะไรต่อเนื่อง เช่น ให้ความรู้ที่สามารถเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิตของพระ ซึ่งอาจยั่งยืนกว่า” ผศ.ดร.ชาญณรงค์กล่าว

    ที่มา มติชนออนไลน์





    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/general/news-48380
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...