นิพพานธาตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 15 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    [​IMG]
    ๗. ธาตุสูตร

    [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้
    มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
    สอุปาทิเสสนิพพาน
    ธาตุ ๑
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
    ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
    เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอ
    ยังตั้งอยู่นั่นเทียวดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ
    ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
    อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

    เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
    มี
    ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา
    และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ
    อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
    เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่
    ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
    ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
    มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน
    เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
    อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
    ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๗
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ดูแล้วเป็นสภาวะพระอรหันต์
    ที่คล้ายกันมากต่างที่
    ท่านหนึ่งไม่เหลือเชื้อแล้วเพราะสิ้น
    ท่านหนึ่งดับสนิท
    คิดว่าตอนทิ้งร่างกายแล้ว
    คงเหมือนๆกันครับ(เดาล้วนๆ)

    คงเป็นเหตุแห่งความต่าง
    ของพฤติกรรมขณะที่ยังมีกายอยู่
    ปล.ความเห็นส่วนตัวครับ
    (คำว่าสิ้น กับ ดับสนิท)
    ต่างกันตรงไหนครับ จขกท ถามความเห็น
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ตอบท่านนพ ยินดีมากครับที่สนทนากัน คงจะตอบเหมือนที่ท่านนพกล่าวไว้แล้วครับ
    ผมตอบด้วยความเห็นนะครับ
    สิ้นกับดับสนิท ต่างกันตรงที่ ดังพุทธพจ
    ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
    เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอ
    ยังตั้งอยู่นั่นเทียวดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ
    ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น

    ตรงที่อินทรี 5 ยังไม่บุบสลายแต่สิ้นกิเลศแล้วครับ
    และอีกประการดังพุทธพจครับ
    เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
    มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

    ดับแล้ว เพราะกิเลศไม่มี ที่ให้เกาะให้เกิดแล้วครับ

     
  4. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267

    นี่เป็นครั้งแรกที่เห็นโพสต์แบบนี้ครับ เคยได้ยินแต่ว่า
    สอุปาทิเสสนิพพาน คือ..ท่านที่บรรลุอรหันต์แล้วแต่ขันธ์ 5 ยังไม่แตกดับ กับ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ พระอรหันต์ที่ดับขันธ์นิพพานแล้ว ภาษาบ้านๆคือ พระอรหันต์ท่านละสังขารมีกายแตกดับแล้วครับ
     
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เอกาภิญญาสูตร
    ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

    [๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
    คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


    [๙๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

    ป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์
    เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
    เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
    เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
    เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

    เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

    เป็นพระโสดาบันผู้เอกพิชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี
    เป็นพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี
    เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ
    เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
    เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
    จบ สูตรที่ ๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2018
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ท่านเคยได้ยินพระสูตรนี้บ้างหรือไม่ ท่านว่าเพราะเหตุใดพราหมณ์ ท่านนี้จึงบรรลุ

    อุณณาภพราหมณสูตร
    อินทรีย์ ๕ มีอารมณ์ต่างกัน
    [๙๖๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น อุณณภพราหมณ์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    [๙๖๗] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่าง
    กัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑
    โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕
    ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และ
    อะไรย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้?
    [๙๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่าง
    กัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน?
    คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยว
    ของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกัน
    และกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้.
    [๙๖๙] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า?
    พ. ดูกรพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ.
    [๙๗๐] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า?
    พ. ดูกรพราหมณ์ วิมุติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ.
    [๙๗๑] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติเล่า?
    พ. ดูกรพราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ.
    อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งนิพพาน.
    พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่สุด แห่งปัญหาได้
    ด้วยว่าพรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพาน
    เป็นที่สุด.

    [๙๗๒] ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
    จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
    [๙๗๓] ครั้นอุณณาภพราหมณ์หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ-
    *ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า
    [๙๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอดหรือศาลาคล้ายเรือนยอด มีหน้าต่างในทิศเหนือ
    หรือทิศตะวันออก เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไป แสงส่องเข้าไปทางหน้าต่าง ตั้งอยู่ที่ฝาด้านไหน? ภิกษุ
    ทั้งหลายกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า.
    พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาในพระตถาคตของอุณณาภพราหมณ์
    มั่นคงแล้ว มีรากเกิดแล้ว ตั้งอยู่มั่นแล้ว อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ
    ในโลกจะพึงชักนำไปไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์ พึงทำกาละในสมัยนี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ซึ่ง
    เป็นเครื่องประกอบให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมายังโลกนี้อีก.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2018
  7. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ไม่เคยได้ยินครับ

    ความเห็นผมว่า ท่านพราหมณ์รู้จักนิพพาน ท่านจึงบรรลุ เดิมทีท่านไม่เคยนิพพานเลย (นิพพานในที่นี้คือดับสนิทไม่เหลือเชื้อใดๆ) เอ้อ แต่ผมมาเข้าใจเรื่องหนึ่งนะ อ่านที่ท่านยกมานี้ คือ สตินี้ไม่ใช่สติซื่อๆ สติประกอบพร้อมปัญญามาแล้ว คือสัมมาสติเป็นแบบนี้ พอมีสติก็มีปัญญามาพร้อมกัน สติแบบนี้แหละที่เป็นสติเตือนตนได้ สติ (ปัญญา) เห็นทุกข์ครับ
     
  8. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    คุณงูๆปลาๆครับ คุณเห็นเหมือนผมไหม พระพุทธองค์ไม่ได้สอนแค่สัมมาสติเพียงอย่างเดียวด้วยซ้ำ ทรงสอนมรรค 8 เลยทีเดียว ท่านพราหมณ์บรรลุธรรมเพราะเจริญในมรรค 8 นั่นเอง
     
  9. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อกุศลธาตุ ๓ อย่าง คือ.
    ๑. กามธาตุ ได้แก่ความตรึกไปในทางกาม
    ๒. พยาปาทธาตุ ได้แก่ความตรึกไปในทางพยาบาท
    ๓. วิหิงสาธาตุ ได้แก่ความตรึกไปในทางเบียดเบียน

    -กุศลธาตุ ๓ อย่าง คือ.
    ๑. เนกขัมมธาตุ ได้แก่ความตรึกไปในทางพรากจากกาม
    ๒. อพยาปาทธาตุ ได้แก่ความตรึกไปในทางไม่พยาบาท
    ๓. อวิหิงสา ได้แก่ความตรึกไปในทางไม่เบียดเบียน
    ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๒๘/๒๒๘
     
  10. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    คุณคนไทบ้านๆครับ ผมคิดว่าพราหมท่านนี้เป็นผู้มีปัญญามากมีอินทรีกล้าอยู่แล้ว ขาดเพียงนิดเดียวเท่านั้น พราหมท่านไม่เห็นนิพพาน แต่พระพุทะเจ้าท่านแสดงนิพพานแก่พราหม
    พราหมท่านรู้ว่าอวิชา ตันหาและอุปทานเป็นเครื่องผูกจิตพระพุทะเจ้าท่านแสดงว่าจิตที่หลุดพ้นเป็นเช่นไรเป็นสิ่งที่พราหมคิดอยุ่แต่หาคำตอบไม่ได้ว่าหากจิตที่ปราศจากอวิชาเป็นเช่นไร พระพุทธเจ้าท่านแสดงให้ทิฐิของพราหมท่านหมดไป

    [๙๖๙] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า?
    พ. ดูกรพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ.
    [๙๗๐] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า?
    พ. ดูกรพราหมณ์ วิมุติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ.
    [๙๗๑] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติเล่า?
    พ. ดูกรพราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ.
    อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งนิพพาน.
    พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่สุด แห่งปัญหาได้
    ด้วยว่าพรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพาน
    เป็นที่สุด.
    [๙๗๒] ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
    จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
     
  11. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    [๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคตอริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐๑๘] ดูกรสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. [๑๐๑๙] ดูกรสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต. [๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีตคือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัดความดับ นิพพาน. [๑๐๒๑] ดูกรสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแลพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. [๑๐๒๒] ดูกรสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.

    ............เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๙๒๙ - ๕๙๔๘. หน้าที่ ๒๔๗.............************************************************************************พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การท่องเที่ยวไปของ

    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยว

    " @๑. ข. อิติวุตฺตก ข้อ ๒๐๒ หน้า ๒๔๓ "

    ไปอยู่นี้ มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ตามรู้ไม่ได้ เงื่อนต้นไม่ปรากฏ ๑- ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่

    จริงมิใช่หรือ?

    ส. ถูกแล้ว

    ป. ถ้าอย่างนั้นบุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้

    นะสิ

    [๘๓] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีหรือ

    ป. ถูกแล้ว

    ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ (เป็นคนเดียวกัน) หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วเป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิดเป็น

    มนุษย์ เทวดาเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นอื่น (เป็นคนละคน) คำว่า บุคคลนั้นเอง

    ท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ ก็ถ้าว่า บุคคลท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ไป

    สู่โลกอื่น ไม่ใช่บุคคลอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็หยั่งเห็นไม่ได้

    กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วมีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่

    คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ

    @๒. สํ. นิ. ข้อ ๔๒๑ หน้า ๒๑๒

    ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้

    หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ... เป็นสัตว์

    เดียรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นลา ... เป็นโค ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ ... ก็มีหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิด

    เป็นมนุษย์ กระบือเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นอื่น คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ

    ก็ถ้าว่า บุคคลท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่น ไม่ใช่บุคคลอื่น เมื่อ

    เป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็จะหยั่งเห็นไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่

    ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วมีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยว

    ไป นี้ผิด ฯลฯ

    ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์ก็มีหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทรก็มี หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ ศูทรก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. บางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ก็มีหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. บางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... ไปเป็นพราหมณ์ ก็มีหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. แพศย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. บางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็นแพศย์ ก็มีหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ศูทรก็คนนั้นแหละ แพศย์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. คนมือด้วยก็ไปเป็นคนมือด้วยเทียวหรือ ... คนเท้าด้วนก็ไปเป็นคนเท้า

    ด้วนเทียวหรือ ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็นคนด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ ... คนหูวิ่น ...

    คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนนิ้วแม่มือด้วน ... คนเอ็นใหญ่

    ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ...

    คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือ ก็ไปเป็น

    กระบือเทียวหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก

    อื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ส. ถูกแล้ว

    ป. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน เคลื่อนจากมนุษยโลกเข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็น

    โสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น มิใช่หรือ?

    ส. ถูกแล้ว

    ป. หากว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลก เข้าถึงเทวโลกแล้ว

    คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่อง

    เที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้

    [๘๕] ส. ท่านทำความตกลงแล้วว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลก เข้า

    ถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น และด้วยเหตุนั้น (จึงวินิจฉัยว่า)

    บุคคลนั้นเทียวท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ท่านได้ทำความตกลงว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลกเข้าถึง

    เทวโลกแล้ว คงเป็นมนุษย์แม้ในเทวโลกนั้น หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๘๖] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๘๗] ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. คนมือด้วนก็ไปเป็นคนมือด้วนเทียวหรือ ... คนเท้าด้วนก็ไปเป็นคนเท้า

    ด้วนเทียวหรือ ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็นคนด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ ... คนหูวิ่น ...

    คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนนิ้วแม่มือด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ...

    คนมือหงิก ... คนมือแป ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คน

    เป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็ไปเป็น

    กระบือเทียวหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๘๘] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้

    มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๘๙] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ

    เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๙๐] ส. บุคคลนั้นแหละท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. รูปท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. รูปท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. วิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๙๑] ส. บุคคลนั้นแหละ ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ไม่ท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปหรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    ส. หากว่า บุคคลแตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกดับไป ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ

    ที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว หากว่า บุคคลไม่แตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกดับไป บุคคล

    ก็จะเที่ยง (และดังนั้น) จะเสมอเหมือนกับนิพพาน.
     
  12. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    การชำระจิต
    [๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็น
    อริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
    ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่
    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท
    มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
    พยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่
    ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้
    แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
    จากวิกิจฉาได้.
    [๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่อง
    ทำปัญญาให้ถอยได้แล้วกำลัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มี
    ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด
    ขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. บรรลุ
    ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน.
    ความดับอกุศลธรรม
    [๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูป
    ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ
    ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละความยินดียินร้าย
    อย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี
    ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ
    เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทาน
    ก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
    ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น
    ย่อมมีได้ อย่างนี้. ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้อง
    โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่
    ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบ
    ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละ
    ความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่
    สุขก็ดีก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง
    ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ
    อุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัส
    และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุ
    ผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
    จบ มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘
     
  13. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    คุณคนไทบ้านๆครับ ถามเล่นๆนะครับ กิเลศ และสังโยชนั้นดับไปอย่างไร ขอให้ตอบตามคิดตามเข้าใจที่ท่านใช้มรรควิถีเพื่อกำจัดทุขครับ

    จึงขอยกธรรมเทศนาของสมเด็จพระญาณสังวรมาประกอปด้วยนะครับ

    ปัญญินทรีย์

    ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ข้อ ๕ ตรัสอธิบายไว้ว่าเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ทั่วถึงความเกิดความดับ ปัญญาที่ให้ถึง รู้เกิดดับ หรือว่าปัญญาคือรู้ทั่วถึงเกิดดับ อันเป็นอริยะคือที่ประเสริฐ อันเป็นปัญญาที่เจาะแทงกิเลส ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยชอบ

    อนึ่ง ได้ตรัสอธิบายไว้อีกว่า ได้แก่มีปัญญารู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ คือรู้จักทุกข์ รู้จักทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ รู้จักทุกขนิโรธความดับทุกข์

    รู้จักทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติหรือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (เริ่ม ๑๕๒/๑) ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ทั้ง ๕ นี้ที่ได้อบรมจนถึงเป็นใหญ่ คือศรัทธาก็เป็นใหญ่เหนือ อสัทธิยะ คือความไม่เชื่อดังที่ได้กล่าวแล้ว วิริยะก็เป็นใหญ่เหนือความเกียจคร้านไม่พากเพียรปฏิบัติ ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อวิริยะ สติก็เป็นใหญ่เหนือความหลงลืมสติ สมาธิก็เป็นใหญ่เหนือความฟุ้งซ่านเป็นต้น หรือจะเรียกว่าเหนือนิวรณ์ทั้ง ๕ ก็ได้ เหนือกามฉันท์ความพอใจรักใคร่ในกาม พยาบาทความโกรธ จนถึงหมายล้างผลาญทำลาย ถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม อุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านรำคาญ วิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัยลังเลใจไม่แน่นอน

    สมาธิอบรมให้เป็นใหญ่เหนือนิวรณ์เหล่านี้ ดังที่ตรัสไว้ว่าสงบสงัดจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตได้สมาธิได้เอกัคคตาคือความที่มีอารมณ์เป็นอันเดียว และปัญญาก็อบรมจนถึงได้ปัญญาคือความรู้ที่เหนือความรู้ผิด หลงถือเอาผิดต่างๆ เป็นความรู้ที่เข้าถึงสัจจะคือความจริง จนถึงขั้นที่เห็นเกิดดับ อย่างสูงก็ที่เป็นถึงเป็นอริยะ ที่เจาะแทงอวิชชาความไม่รู้ หรือความรู้ผิด ความหลงถือเอาผิดต่างๆ ได้ ทำให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบได้ ปัญญาดั่งนี้จึงเป็นปัญญินทรีย์ สมาธิดังที่กล่าวนั้นจึงเป็นสมาธินทรีย์ สติที่กล่าวนั้นจึงเป็นสตินทรีย์ ความเพียรที่กล่าวนั้นจึงเป็นวิริยินทรีย์ ศรัทธาที่กล่าวนั้นจึงเป็นสัทธินทรีย์

    การอบรมปฏิบัติให้มีศรัทธา มีวิริยะ มีสติ มีสมาธิ และมีปัญญา ดั่งที่กล่าวมา เป็นข้อที่พึงปฏิบัติอบรมไปโดยลำดับ ให้เข้าทางของศรัทธาเป็นต้น ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ และเมื่อปฏิบัติให้เข้าทางดั่งนี้อยู่เรื่อยๆ แล้ว ทั้ง ๕ ข้อนี้ก็จะมีความเป็นใหญ่เหนือกิเลสอกุศลธรรมที่ตรงกันข้ามได้ไปโดยลำดับ ดั่งนี้แหละคืออินทรีย์อันเป็นข้อสำคัญ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจะพึงปฏิบัติ ในธรรมะทั้ง ๕ ข้อนี้ ให้เป็นใหญ่เหนือกิเลสในจิตใจของตน
     
  14. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ใช่ ผมก็คิดว่าแบบนั้นแหละ เห็นนิพพานว่าคือความดับไม่เหลือ ท่านพราหมณ์เป็นผู้มีปัญญามาแต่เก่าก่อนเป็นอันดี ฟังนิดเดียวก็เลยเก็ทหมด

    ที่ผมว่าพระพุทธองค์สอนถึงมรรค 8 เลยนั้นเป็นความเข้าใจของผมเอง ก็ดูสิ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อาศัยใจประคับประคองสำรวมด้วยสัมมาสติ แต่สัมมาสติมาจากไหนถ้าไม่ใช่จากสัมมาทิฏฐิเป็นจุดเริ่ม ท่านพราหมณ์พอเห็นนิพพานตามความเป็นจริงแล้ว รู้มรรครู้หนทาง สัมมาทิฏฐิจึงเกิด มรรคที่เหลือก็มาตามหมด และผมเห็นมรรคสามารถเจริญในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ยืนเดินนั่งนอนทำพูดคิดเจริญมรรค 8 ได้ตลอดเวลา
     
  15. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สาธุครับ
     
  16. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ถามเล่นๆ ตอบยังไงดี กิเลสและสังโยชน์ดับไปอย่างไร สังโยชน์ต้องถูกแก้ด้วยความเห็นถูก กิเลสจะดับได้เพราะเจริญในมรรคทั้ง 8 (ผมเห็นว่าทุกการกระทำต้องประกอบกันหมดทั้งศีล สมาธิ ปัญญา เหตุปัจจัยต้องถึงพร้อมนะ)
     
  17. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว่า

    20px-Cquote1.svg.png
    พรหมจรรย์นี้มิได้มีลาภสักการะสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิได้มีกามสุขในสวรรค์เป็นอานิสงส์ มิได้มีการเข้าถึงความเป็นอันเดียวกับพรหมในพรหมโลกเป็นอานิสงส์ แต่ว่ามีวิมุตติเป็นอานิสงส์ ดังนี้

    20px-Cquote2.svg.png



      • ตทังควิมุตติ คือ การพ้นไปจากอำนาจของ "ตัวกู-ของกู" ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
      • วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง "ตัวกู" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
      • สมุจเฉทวิมุตติ คือความดับ"ตัวกู" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง
    เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้นอาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ อย่างที่ 2 หรืออย่างกลางนั้นอาศัยอำนาจของจิตที่ปฏิบัติถูกวิธี ส่วนอย่างที่ 3 หรืออย่างสูงนั้นอาศัยอำนาจของปัญญา

    นิโรธ 5 ได้แก่[แก้]

    1. วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
    2. ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
    3. สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
    4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
    5. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    น่าสนใจนะครับเรื่องนี้ ในมุมส่วนตัว
    ที่มองระหว่าง สิ้นกิเลส น่าจะไม่เหลือเชื้อ
    ในจิตเลย ทางกิริยาส่วนตัวเข้าใจว่า
    นอกจากปัญญาที่มาก ยังบอกความสามารถ
    ทางสมาธิได้ด้วยว่าต้องดีมากๆ
    กับดับแล้วไม่มีที่ให้เกาะเกิด นี่ก็ปัญญามากๆ แต่ความสามารถทางสมาธิอาจแพ้ระดับสิ้นเล็กน้อย. งงไหม
    พูดง่ายๆเปรียบว่า
    ท่านที่๑ น่าจะเข้านิโรธสมาบัติ
    ได้นานกว่าท่านที่ ๒ เพราะการ
    ดับจนสิ้น จะต้องผ่านการฟอกเรื่อยๆจนดับจนไม่มี
    ที่ให้เกาะมาก่อนนั่นเองครับ
    เพราะสภาวะนี้อยู่เหนือกายและจิตแล้ว

    บอกได้อีกว่า เวลาใช้งานทางจิต
    ไม่ว่าด้านปัญญา
    ท่านใดจะละเอียดกว่า
    แต่ท้ายนี้ ส่วนตัวก็ถือว่า
    ที่สุดทั้งสองแบบครับ
    ปล เพราะสภาวะดับ
    แค่ไม่กี่วินาทีนั่น
    มันก็ไม่ใข่ว่าจะเข้าได้ง่ายๆ
    ดังนั้นถ้าเจ้าได้นานจนสิ้น
    จนดับได้ คงสะสมบารมีมามากโขครับ
    นึกแล้วภูมิใจแทนพุทธศาสนาจริงๆ
    สอนให้คนหลุดพ้นได้
    ต้องปัญญาระดับพระพุทธเจ้า
    ที่มาแจกแจง แยกแยะ สอนแนวทาง
    ปฎิบัติได้ขนาดนี้ ที่สุดของที่สุด
     
  19. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ขออนุญาตคุณงูๆปลาๆ
    ท่านผ่านมาเฉยๆ มาอ่าน อุณณาภพราหมณสูตร หน่อยครับ ท่านจะเห็นว่า กรณีนี้พระพุทธองค์ทรงชี้นิพพานให้อุณณาภพราหมณ์ ท่านว่ากรณีนี้สติสหรคตด้วยปัญญาไหม แล้วปัญญาว่าด้วยเรื่องอะไรมั่งครับ แบบนี้สายนิโรธฯไหมครับ ท่านเข้าใจว่ายังไงกับพระสูตรนี้
     
  20. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    [​IMG]
    ๖. วิมุตติสูตร
    [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
    มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
    อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
    หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือ
    เพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
    เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว
    ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
    เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑
    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
    ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
    หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
    ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่า
    ที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ
    @๑. หมายถึงอาสวักขยญาณ
    เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่
    ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
    เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้
    อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม
    เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำ
    การสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้า
    ใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้
    ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิด
    ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ
    ข้อที่ ๓ ...


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้
    อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่
    ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการ
    สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อม
    ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้า
    ใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้
    สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิด
    ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่
    ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
    ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้
    สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ไภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ด้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่
    ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
    ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่า
    เรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อม
    เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง
    หนึ่งมาด้วยดี
    ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
    เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อม
    เกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
    จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของ
    ภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
    อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก
    โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่
    หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้
    บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
    จบสูตรที่ ๖
     

แชร์หน้านี้

Loading...