เรื่องเด่น นิมิตก่อนตาย เรื่อง “ท่านธรรมิกอุบาสก” (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 24 ธันวาคม 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731

    ___paragraphaeparagraph_4_134.jpg

    ิมิตก่อนตาย
    เรื่อง “ท่านธรรมิกอุบาสก”


    (เทศนาโดย หลวงพอฤๅษีดำ วัดท่าซุง)

    คนก่อนจะตาย จะเห็นนิมิตก่อน นี้ในสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ก็มีท่านผู้นี้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครูมีนามว่า “ธรรมิกอุบาสก” แปลว่า “อุบาสกผู้ประกอบไปด้วยธรรม” คือตั้งใจประพฤติธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

    ท่านธรรมิกอุบาสกมีความเคารพในพระพุทธเจ้ามากและปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเป็นอย่างดี คิดว่าท่านผู้นี้น่าจะเป็นพระอริยเจ้า เพราะคนสมัยนั้นที่มีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง ไม่เป็นพระอริยเจ้ามีน้อย พระพุทธเจ้าไปจำพรรษาแดนใด แดนนั้นก็มีพระอริยเจ้ามากกว่าปุถุชน

    ต่อมาท่านธรรมิกอุบาสกป่วยหนักก็อยากจะฟังสวดพระปริตร พระปริตรคือบทสวดมนต์ บทสวดมนต์เวลานั้นเห็นจะเป็นมหาสติปัฏฐานสูตร ก็สั่งให้ลูกไปนิมนต์พระจากพระพุทธเจ้า สุดแล้วแต่พระพุทธเจ้าจะตรัสให้พระองค์ใดองค์หนึ่งมาสวดพระปริตร เมื่อพระมานั่งเรียบร้อยแล้วก็แจ้งให้พ่อทราบ พอพระเริ่มสวดพระปริตร เวลานั้นก็ปรากฏเทวดาทั้ง ๖ ชั้นคือ

    ๑) ชั้นจาตุมหาราช
    ๒) ชั้นดาวดึงส์
    ๓) ชั้นยามา
    ๔) ชั้นดุสิต
    ๕) ชั้นนิมมานรดี
    ๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

    ยกขบวนกันมามากลอยในอากาศใกล้ๆ แต่ละชั้นต่างนำรถทิพย์มาเชิญท่านธรรมิกอุบาสกว่า

    “ท่านธรรมิกะ จงไปอยู่กับฉันเถิด ฉันอยู่ชั้นจาตุมหาราช มีความสุข”

    “ท่านธรรมิกะ จงไปอยู่กับฉันเถิด ฉันอยู่ชั้นดาวดึงส์ มีความสุข”

    “ท่านธรรมิกะ จงไปอยู่กับฉันเถิด ฉันอยู่ชั้นยามา มีความสุข”

    “ท่านธรรมิกะ จงไปอยู่กับฉันเถิด ฉันอยู่ชั้นดุสิต มีความสุข”

    “ท่านธรรมิกะ จงไปอยู่กับฉันเถิด ฉันอยู่ชั้นนิมมานรดี มีความสุข”

    “ท่านธรรมิกะ จงไปอยู่กับฉันเถิด ฉันอยู่ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีความสุข”

    เทวดาต่างส่งเสียงเชื้อเชิญเจี๊ยวจ๊าว จนกระทั่งท่านธรรมิกอุบาสกไม่ได้ยินเสียงพระสวด ท่านตั้งใจจะฟังพระสวด ก็รำคาญเสียงเทวดา จึงโบกไม้โบกมือบอกว่า “หยุดก่อนๆ” เสียงท่านบอกให้หยุดก่อนอยู่นาน แต่เสียงเทวดาก็ไม่ยอมหยุด

    และก็เป็นการบังเอิญจริงๆ ที่บรรดาลูกหลานทั้งหมดของท่านไม่เห็นเทวดา พระที่ไปทั้งหมดก็ไม่มีทิพย์จักขุญาณเห็นเทวดาได้เลย ทำให้พระที่กำลังสวดเข้าใจว่าท่านธรรมิกอุบาสกต้องการให้พระหยุดสวด จึงบอกกับลูกหลานของท่านว่า “ในเมื่อคนฟังไม่ต้องการจะฟัง ก็ไม่สวดต่อไปขอลากลับ”

    เมื่อพระกลับไปสักครู่เทวดาจึงหยุดพูด เมื่อเทวดาหยุดแล้วท่านก็หันมาทางพระก็ไม่เห็นพระ จึงถามลูกว่า “พระไปไหนหมด พ่อต้องการฟังพระสวดพระปริตร” ลูกก็บอกว่า “ก็พ่อบอกให้พระหยุดก่อน เมื่อท่านเห็นว่าพ่อไม่ต้องการจะฟัง ท่านก็ไม่สวดจึงลากลับไป”

    ท่านก็บอกว่า “พ่อไม่ได้บอกให้พระหยุด พ่อตั้งใจจะฟังพระสวดพระปริตร แต่ว่าเทวดาส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว ต่างคนต่างมาชวนไปอยู่บนสวรรค์แต่ละชั้นรวม ๖ ชั้นด้วยกัน พ่อบอกให้หยุดพูด เธอก็ไม่หยุด เลยต้องโบกไม้โบกมืออยู่พักใหญ่จึงหยุด”

    ลูกก็มีความรู้สึกในใจว่า พ่อของเรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง แต่เวลานี้ป่วยหนัก จึงเผลอไผลหลงใหลใฝ่ฝันไปแล้ว เทวดามีที่ไหน เห็นมีแต่อากาศ จึงถามพ่อว่า “เทวดาอยู่ที่ไหน” ท่านก็ชี้ไปข้างบนบอกว่า “เทวดาอยู่เป็นแถวเต็มจักรวาล นี่ชั้นจาตุมหาราช ตรงนี้ชั้นดาวดึงส์ ตรงนี้ชั้นยามา ตรงนี้ชั้นดุสิต ตรงนี้ชั้นนิมมานรดี ตรงนี้ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี”

    แล้วท่านก็บอกอีกว่า “พ่อนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นปกติ นึกถึงพระธรรมเป็นปกติ นึกถึงพระอริยสงฆ์เป็นปกติ แต่เวลานี้เทวดาท่านมาจริงๆ พ่อไม่ได้หลง” ลูกก็ไม่ยอมเชื่อ ท่านจึงบอกว่า “ขอพวงมาลัยมีไหม” ลูกก็บอกว่า “มี” ท่านก็บอกว่า “ขอมาลัยพ่อพวงหนึ่ง” ลูกก็นำพวงมาลัยมาให้

    ท่านก็ถามว่า “สวรรค์ชั้นไหนมีความสุข น่าอยู่ที่สุด” แสดงว่าท่านมีสิทธิ์อยู่สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ลูกทั้งหมดก็บอกว่า “สวรรค์ชั้นดุสิตน่าอยู่ที่สุด” ท่านก็บอกว่า “ถ้าอย่างนั้น พ่อจะโยนพวงมาลัยให้คล้องในงอนรถของสวรรค์ชั้นดุสิต”

    แล้วท่านก็โยนพวงมาลัยขึ้นไปคล้องในงอนรถ ลูกไม่เห็นรถทิพย์ เห็นแต่พวงมาลัยค้างในอากาศ ไม่หล่นลงมาและในที่สุดท่านก็หมดลมหายใจ ตายจากความเป็นคนเคลื่อนเข้าสู่รถของสวรรค์ชั้นดุสิตไปทันที โดยไม่ต้องผ่านสำนักพระยายมราช

    เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า คนก่อนจะตายต้องเห็นนิมิตก่อน นี่ในสมัยพระพุทธเจ้าก็มีไม่ใช่จะมีเฉพาะในเวลานี้ ฉะนั้นทางที่ดีขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงยึดพระพุทธเจ้า ยึดพระธรรม ยึดพระอริยสงฆ์ ยึดทานการบริจาค ยึดภาวนา อย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจให้มั่นคง อย่าทิ้งเป็นอันขาด



    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  2. นรวร มั่นมโนธรรม

    นรวร มั่นมโนธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +113
  3. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628

แชร์หน้านี้

Loading...