นิวรณ์เปรียบดังหนี้, โรค, เรือนจำ, ความเป็นทาส,ทางไกลกันดาร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 2 ธันวาคม 2016.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    [​IMG]

    ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้
    (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา)
    ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนเรือนจำ
    เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร
    และพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน
    เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค
    เหมือนการพ้นจากเรือนจำ
    เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม


    * เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน
    การงานเหล่านั้นของเขาจะพึงสำเร็จผล

    เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขา
    จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา

    เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน
    บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว
    และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรา ยังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา ดังนี้

    เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด


    * เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก
    เจ็บหนักบริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย

    สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย

    เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก
    เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย

    บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้และมีกำลังกาย ดังนี้

    เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด


    * เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ

    สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย
    และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย
    เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้
    เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย ดังนี้

    เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด


    * เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้
    ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้

    สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้
    ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ

    เขาพึงจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส
    พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้
    บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
    เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้

    เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด


    * เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ จะพึงเดินทางไกลกันดาร
    สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้
    โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย

    เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ
    เดินทางไกลกันดาร บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้นแล้ว โดยสวัสดี ไม่มีภัย
    ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย ดังนี้

    เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด

    ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้
    ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนเรือนจำ
    เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร
    และพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน
    เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ
    เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล

    อ้างอิง

    * มหาอัสสปุรสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8507&Z=8743&pagebreak=0

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31768
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.2 KB
      เปิดดู:
      256
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...