บทความพิเศษ : รหัสกรรม จาก ธรรมลีลา

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 เมษายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ก่อนอื่นใดควรทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๒)

    ฉบับนี้จะกล่าวต่อเรื่องของนัยที่ ๑ ได้แก่ผลกรรม ในเชิงทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐(รหัสผัสสะ)

    สิ่งแวดล้อมสัมพันธ์กับผัสสะทางทวารทั้ง ๕
    ในการรับผัสสะกับอารมณ์ที่ดีหรือไม่ดีนั้น จะขึ้นอยู่ กับสิ่งแวดล้อมที่ล้อมรอบเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราเป็นตัวกำหนดคือ ถ้าได้สิ่งแวดล้อมที่ดีผัสสะย่อมจะผัสสะกับอารมณ์ที่ดีไปด้วย ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีอารมณ์ที่มาผัสสะก็พลอยไม่ดีไปด้วย คงจะไม่มีใครอยากผัสสะกับเปลวเพลิง หรือมีดปลายแหลม หรือของมีคม หรือผัสสะกับรถยนต์ที่วิ่งเข้ามาชน แต่เราก็พบว่าในโลกนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่ถูกไฟคลอกตาย หรือถูกของมีคมทิ่ม แทง หรือถูกฟันจนตาย หรือถูกรถชนตาย หรือพิการจน นับไม่ถ้วน ท่านทราบหรือไม่ว่าทำไมจึงต้องผัสสะกับสิ่งไม่พึงปรารถนาในโอกาสและวาระต่างๆเช่นนั้น ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าเป็นรหัสกรรมที่โปรแกรมรหัสของผล ให้ผลกรรมปรากฏขึ้นอย่างสอดคล้องกับเหตุที่ได้ทำมา ทุกๆวินาทีกรรมใหม่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันไปไม่ ขาดสายจนกว่าจะเข้านอน กรรมที่ทำก็วิจิตรหลากหลาย ไปด้วยกุศลบ้าง อกุศลบ้าง จนมีลักษณะเหมือนรหัส ดังนั้นเมื่อเวลารับผลก็จะเกิดผัสสะที่ปัญจทวารอย่างเป็นรหัสชนิดที่สอดรับกับรหัสกรรมคือเหตุที่ทำมาอย่างไม่ผิดเพี้ยนกันเลย รหัสกรรมวิจิตรแค่ไหนรหัสผัสสะ ก็วิจิตรแค่นั้น และรหัสผัสสะวิจิตรแค่ไหนรหัสทวิปัญจวิญญาณจิตก็เกิดขึ้นอย่างวิจิตรแค่นั้นเช่นกัน ลองสังเกต ดูในแต่ละวันว่าเราจะรับรู้ผัสสะทางปัญจทวารอย่างวิจิตร เพียงใด น้ำจะท่วม ไฟจะคลอก รถจะชน คนจะทำร้าย สหายจะหักหลัง ฯลฯ ในวินาทีไหนก็ขึ้นอยู่กับรหัสกรรม ที่ทำมา หรือแม้ไม่มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ ไม่มีผัสสะหนักๆ ก็มีผัสสะละเอียดๆอย่างวิจิตรในแต่ละวัน อุปมาเหมือนกับนักดนตรีที่เล่นเปียโน ซึ่งจะพรมนิ้วของเขาไปที่คีย์เปียโนอย่างเป็นรหัส เป็นโค้ดทำนองของเพลงแต่ละเพลง ผัสสะที่พรมมาที่ปัญจทวารของเราก็เช่นกัน จะพรมมาที่ทวารทั้ง ๕ ของเราอย่างเป็นรหัส ซึ่งเป็นโค้ดเฉพาะของผลกรรมของแต่ละบุคคล ถ้าท่านเป็นผู้มีวิปัสสนาอยู่โดยปกติ ก็จะเห็นผัสสะในแต่ละวันได้อย่างวิจิตร

    นัยที่ ๒ ผลกรรมในเชิงสิ่งแวดล้อม (รหัสสิ่งแวดล้อม)
    สิ่งแวดล้อมที่ล้อมรอบตัวเราทุกคนนั้นแวดล้อมแล้ว อย่างเป็นรหัส ทั้งโดยคุณภาพ และตำแหน่งทิศทาง ขอให้เราลองสำรวจดูสิว่า ทิศเหนือ ทิศใต้ของตัวเรา มีสิ่งใดแวดล้อมอยู่ ทิศตะวันออก ตะวันตก มีสิ่งใด ทิศใหญ่ ทิศน้อยรอบๆตัวเรามีสิ่งใด และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม นั้นๆเป็นอย่างไรบ้าง หยาบหรือประณีต ทรามหรือดี อย่างไร เมื่อมาสู่คลองผัสสะของเราแล้วก่อให้เกิดความ สุขหรือความทุกข์แค่ไหนบ้าง คนบางคนมีฝากล่องแฟ้บ กล่องบรีส ไม้อัดผุๆ ๒-๓ แผ่นเป็นฝาเรือน มีสังกะสีสนิมเขลอะ ๒-๓ แผ่น เป็นหลังคาพอให้เป็นที่ซุกหัวนอน ด้านทิศตะวันออกเป็นคลองน้ำครำ ทิศเหนือเป็นกองขยะ ทิศใต้เป็นชุมชนสลัมเพื่อนบ้าน บางคนมีชีวิตอยู่ในคฤหาสน์โอฬาร ทิศเหนือของบ้านเป็นสวนดอกไม้ ทิศใต้ เป็นสระน้ำใสสะอาด ทิศตะวันตกเป็นสนามกอล์ฟ ทั้งโดยคุณภาพและตำแหน่งทิศทางล้วนแวดล้อมอย่างเป็น รหัส โดยที่ในชั้นของรายละเอียดนั้น หมายถึงในขณะแห่งวินาทีหนึ่งๆ เราต้องไปอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไร เรื่องการรับผลของกรรมนั้นอย่าไปนับเป็นเวลายาวๆ ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วเรารับผลกันแค่วินาทีหนึ่งๆเท่านั้น และต้องเป็น ณ ขณะปัจจุบันคือวินาทีนี้เท่านั้นที่ดับไป เมื่อวินาทีที่แล้วไม่ใช่และที่ยังไม่มาถึงก็ยังไม่มี ที่มีจริงคือผัสสะ ณ วินาทีนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้นกรรมจะให้ผลเป็นขณะปัจจุบันทีละ ขณะต่อเนื่องกันไป แรงกรรมจะส่งผลให้เกิดปัจจยาการ กำหนดเงื่อนไข ความจำเป็นให้เราต้องไปอยู่ในสิ่งแวด ล้อมใดสิ่งแวดล้อมหนึ่งอยู่ทุกวินาที แล้วก็จะต้องรับผัสสะจากสิ่งแวดล้อมนั้นในวินาทีนั้นๆ ถ้าเป็นผลของกรรมดีก็จะผัสสะกับอารมณ์ที่ดี(อิฏฐารมณ์) ถ้าเป็นผลของกรรมชั่วก็จะผัสสะกับอารมณ์ไม่ดี(อนิฏฐารมณ์) ขอย้ำว่าทุกวินาทีที่ผัสสะกระทบ ล้วนเกิดจากปัจจยาการกำหนดสิ่งแวดล้อม วัตถุ ทวารอารมณ์ ตามสมควรแก่เหตุ คือกรรมที่ทำมา โดยผลกรรมจะชักนำปัจจัยอุปกรณ์มาประชุมกันผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในวินาทีหนึ่งๆ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นอารมณ์สามัญปานกลาง ผัสสะแล้วไม่สุข ไม่ทุกข์มากนัก นั่นเป็นเพราะว่าเวลาทำกรรมเราก็ไม่ได้ทำดีมากนักไม่ทำชั่วมากนัก ทำกรรมแบบกลางๆ แต่ถ้าเมื่อใดถูกรถชน ไฟคลอก แผ่นดินไหว ตึกถล่ม ทุเรียนหล่นใส่หัว ถูกลูกปืน ถูกมีด หอก แหลนหลาว ของมีคมแทงใส่ เหล่านี้ก็ให้ทราบว่าเป็นผลของอกุศลกรรมที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก หรือถ้าถูกรางวัลได้รถได้บ้านหรือถูกลอตเตอรี่รางวัลสำคัญ หรือร่ำรวยจากกิจกรรมใดๆ ก็ให้ทราบว่าเป็นผลของกุศลกรรมความดีที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก

    ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องแรงกรรมที่ชักนำปัจจัยอุปกรณ์มาประชุมรวมกันเพื่อผลักดันให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นในครั้งหนึ่งๆ และบุคคลผู้ถึงวาระจะเสวยผลกรรมก็ จะต้องได้เสพผัสสะในเหตุการณ์นั้นๆ โดยหลีกหนีไม่พ้น ซึ่งเป็นการรับผลของกรรมในวินาทีหนึ่งๆ อย่างน่าอัศจรรย์

    เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า มีรถสิบ ล้อคันหนึ่งวิ่งชนราวสะพานพระปิ่นเกล้าร่วงลงไปในแม่ น้ำเจ้าพระยา เรือลำหนึ่งผ่านมาใต้สะพานพอดี รถสิบล้อ ตกใส่เรือเข้าอย่างจังทั้งคนในรถและคนในเรือต่างก็จมน้ำตายทั้งหมดไม่น่าเชื่อ ลำหนึ่งแล่นมาทางน้ำ อีกคันหนึ่งวิ่งมาทางบกแท้ๆ แต่กลับมาเจอกันได้ เมื่อผลกรรม สุกงอมแล้วจะสร้างปัจจยาการกำหนดผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในวินาทีหนึ่งๆ เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เพียงใดถ้าอยู่ๆมีใครมาบอกว่ารถแล่นไปชนกับเรือ ถ้าไม่ใช่ผลแห่งกรรมแล้วอะไรจะทำเรื่องประหลาดเช่นนี้ได้
    ที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่ง มีรถบรรทุกสิบล้อมาจอดพักรถเพื่อเติมน้ำมันและทานข้าว ในระหว่างที่จอดพักอยู่นั้นคนขับได้ใช้สันมีดพร้าดายหญ้าเคาะที่ล้อยางรถ ในขณะที่เคาะตั้งแต่ล้อยางเส้นแรกเรื่อยมาจนกระทั่งล้อยางเส้นสุดท้าย ล้อยางเส้นนั้นก็เกิดระเบิดตูมตามขึ้น แรงระเบิดทำให้มีดที่เขาใช้เคาะอยู่นั้นตีกลับผ่าเข้าที่กลางหน้าผากของตัวเองเหมือนผ่าแตงโม
    ณ ที่สนามหน้าวัดแห่งหนึ่ง มีคนเอาไม้หน้าสาม ขนาดยาวเท่าแขนขว้างฝักมะขาม ไม้ท่อนนั้นขึ้นไปค้างอยู่บนกิ่งมะขามนั้น อีก ๒-๓ วันต่อมา สามเณรตัวน้อยลงไปเล่นแถวโคนต้นมะขาม ขณะนั้นได้เกิดลมพัดกรรโชก กิ่งไม้ไหว ไม้ท่อนนั้นตกลงมาถูกศีรษะสามเณรถึงแก่มรณภาพ
    เครื่องบินลำหนึ่งบินผ่านน่านฟ้าออสเตรเลียพอดีเกิด ขัดข้องทางเทคนิค กัปตันจำเป็นต้องตัดสินใจนำเครื่องลง สู่ภาคพื้นดิน เขามองหาทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ในแถบนั้น แล้วก็นำเครื่องบินร่อนลง ปรากฏว่ามีวัวฝูงใหญ่กำลัง เดินเล็มหญ้าอยู่ในทุ่งนั้น เครื่องบินลำขนาดมหึมาพุ่งเข้าชนฝูงวัวตายระเนระนาดเหมือนลูกโบว์ลิ่งกวาดพินส์
    เวลารับผลกรรมนั้นใช้เวลาเพียงชั่วกระพริบตาเท่า นั้นเอง โดยให้ในรูปของผัสสะชั่วขณะหนึ่งๆ รุนแรงบ้าง ไม่รุนแรงบ้าง ทั้งในฝ่ายสุขและทุกข์ ในบางกรณีสถานการณ์ยืดเยื้อก็ให้ทราบว่าเป็นการรับผลโดยขณะย่อยๆ ต่อเนื่องกันไปนั่นเอง

    ขอบคุณเว็บผู้จัดการครับ
    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000060132
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๓)

    ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นตัววิบาก (ผลกรรม) ส่วนอารมณ์และสิ่งแวดล้อมที่มากระทบทวารทั้ง ๕ นั้นเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๔)


    สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งปวงที่เราต้องพบปะเจอะเจอในแต่ละวินาทีของแต่ละวัน ลองนึกดูซิว่าวันๆ เราต้องเจอใครบ้าง มีใคร บ้างอยู่รอบกายเรา บุตร ภรรยา สามี พ่อแม่ พี่ป้า น้า อา น้องนุ่ง ลูกหลาน เหลน เพื่อนบ้าน เจ้านาย สหายเก่า ใหม่ ข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยงและสัตว์เดรัจฉานทั่วไป รวมไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ พยาธิ เชื้อโรคที่อยู่ในและนอกร่างกายเราเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความสุขความทุกข์ในชีวิต ประจำวันของเราในทันทีที่มีการผัสสะ พบปะเกี่ยวข้อง
    คนบางคนผัสสะเกี่ยวข้องแล้วก็ทำให้เราต้องน้ำตาร่วง คนบางคนก็ทำให้เราชื่นบานใจ สบายใจ ยิ้มแก้มปริ สัตว์บางตัวก็ทำให้เรากังวล หวาดกลัว เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก แมลงสาบ หนูภายในบ้าน สัตว์บางตัวก็ทำให้เรามีความสุข รู้สึกได้ถึงความน่ารักของเขา เช่น หมาแมวที่เลี้ยงไว้
    บางคนก็ต้องอาศัยอยู่ในถิ่นที่มียุงและเชื้อโรคชุกชุม เช่น ในสลัมและสถานที่สกปรก ชุมชนเสื่อมโทรม บางหมู่บ้านเกิดโรคระบาดต้องบาดเจ็บพิการหรือล้มตายกันเป็นเบือ หรือแม้แต่ในบ้านคฤหาสถ์อันใหญ่โตโอฬาร สิ่งแวดล้อมสะอาดสะอ้านแต่ก็เจอ กับ HIV(เชื้อโรคเอดส์) เข้าจนได้ คนใกล้ชิดข้างกายของเราบางคนเป็นสุดที่รัก เป็นความหวัง เป็นธงชัย เป็นที่พึ่ง แต่ในกายของเขาหรือ เธอกลับมี HIV ผลของกรรมช่างเป็นสิ่งที่วิจิตรเหลือเกิน
    สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ผลของกรรมที่เราทำมาจะทำให้ได้รับผัสสะอันเกิดจากวิถีทางวัฒนธรรมในแต่ ละกลุ่มชนต่างๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นกฎเกณฑ์กติกาสังคม อาจส่งผลให้เราได้รับความสุขหรือความทุกข์ถึงขั้นเสียชีวิตทีเดียว กฎหมายทุกมาตรา ขนบธรรมเนียมประเพณีทุกชนิด วิถีประชา (แนวความประพฤติทั่วไปของคนในสังคม) แฟชั่นนิยม ความเชื่อทางลัทธิศาสนา รูปแบบการ ดำเนินชีวิตในวัฒนธรรมต่างๆทั่วโลก จะมีผลในเชิงผัสสะเป็นอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) และอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฎฐารมณ์) ซึ่งจะผัสสะกับอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กายของเราอยู่ทุกวินาที
    ความเชื่อของบางท้องถิ่นนั้นเป็นวัฒนธรรมที่โหดร้าย มาก ถ้าเรามีวิบากกรรมต้องไปเกิดในที่นั่นก็คงจะต้องได้รับความลำบากมาก เคยดูจากหนังสือสารคดีเล่มหนึ่ง กล่าวถึงชนเผ่าหนึ่งของอินเดียตอนเหนือ มีจารีตข้อปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือถ้าลูกคนหัวปีคลอดออกมา เป็นผู้ชาย หัวหน้าครอบครัวก็ต้องเป็นผู้ตัดหัวลูกชายคน นั้นใส่สาแหรกเล็กๆ แล้วหิ้วไปบูชาเทพเจ้าประจำเผ่าของ ตน เขาถ่ายรูปมาให้ดูด้วย รูปหัวเด็กทารกแรกเกิดหลับตาพริ้มอยู่ในสาแหรกอันเล็กๆ เห็นแล้วน่าหวาด เสียว บางท้องถิ่นพวกหญิงสาวและพวกแม่บ้านจะไปสารภาพบาปที่ศาสนสถานด้วยวิธีที่เห็นแล้วน่าสงสาร พวกเธอเหล่านั้นจะใช้โซ่ที่มีลักษณะเป็นหนามเส้นเล็กๆ เหวี่ยงตีมาที่หลังอันเปลือยเปล่าของตัวเอง ลองนึกถึงภาพที่เราใช้แส้ปัดแมลงวันที่เป็นพู่สวยๆ ปัดตีมาที่หลังของเราดูสิ พวกเธอทำในลักษณะอย่างนั้นเพียงแต่เปลี่ยน จากเส้นขนของพู่แส้สวยพริ้งและบางเบา มาเป็นโซ่หนาม เหล็กและหวดหนักๆไปที่หลังไหล่อันเปลือยเปล่าของตน ชั่วพักเดียวเท่านั้นเลือดก็ไหลแดงฉานไปทั้งแผ่นหลัง ชุดขาวที่สวมใส่ซึ่งเป็นชนิดรูดซิปจากด้านหลังซึ่งถูกรูดให้เปิดอ้าออกเห็นแผ่นหลังแต่ปิดด้านหน้าไว้ถึงคอก็แดง ฉานไปด้วยเลือด เชื่อกันว่าจะเป็นวิธีล้างบาปได้บริสุทธิ์หมดจด ถ้าได้พลีเลือดจากร่างกายตนด้วยวิธีนี้ ผู้หญิงบางเผ่ากว่าจะสวยได้ก็ต้องใส่ห่วงจนคอยาวเป็นยีราฟ บางคนก็เจาะตรงนั้นเจาะตรงนี้ บางเผ่าทำปากบานเป็น ปากเป็ด
    พูดถึงผู้หญิงแล้วมักจะเป็นเพศที่ถูกรังแกทางวัฒนธรรมมากกว่าเพศชาย มีข้อห้ามข้อจำกัดข้อกดขี่ให้เธอได้รับความลำบากทุกข์ยากมากกว่าผู้ชายเยอะแยะ ซึ่งคง จะไม่พูดลงลึกในชั้นของรายละเอียด สำหรับผู้ชายบางยุคบางคนก็ต้องไปเป็นขันทีถูกตัดถูกตอนโดยที่ไม่ใช้ยา ชาหรือยาสลบเลย วัฒนธรรมประเพณีขุนนางราชสำนักสมัยก่อนมักโหดร้ายต่อประชาชน ในยุคของการค้าทาส ก็มีวัฒนธรรมของสังคมที่ทารุณทาสเหมือนเป็นสัตว์เดรัจฉาน ชีวิตของทาสในสมัยก่อนได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสตั้งแต่เกิดจนตายเลยทีเดียว
    เมื่อไม่นานมานี้ก็มีวัฒนธรรมสงครามลัทธิเกิดขึ้น มีคนถูกฆ่าตายไปเยอะแยะ ถูกทารุณจนพิการก็มาก ปัจจุบันนี้ก็เป็นวัฒนธรรมสงครามเศรษฐกิจ คนเป็นโรค เครียด โรคประสาท ฆ่าตัวตายกันเยอะแยะอีกเหมือนกัน ถ้าจะพรรณนาคงอีกมากมาย
    เอาเป็นว่าสิ่งแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรมก็แวดล้อม เราแล้วอย่างเป็นรหัส สุดแท้แต่ว่าเราจะเกิดขึ้นในวัฒนธรรมใดก็จะได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมนั้นในรูปของการรับรู้ผัสสะอันเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมเหล่านั้น ผ่านทางปัญจทวาร
    นอกจากนี้ก็ยังมีรหัสเงื่อนไข หมายถึง เงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งจะกำหนดเงื่อนไข ความจำเป็นให้เราต้องไปทำอะไรหรือไม่ทำอะไรในแต่ละวัน โดยที่เราจะต้องได้รับความสุขหรือความทุกข์ เพราะการทำอะไรหรือไม่ทำอะไรตามความจำเป็นที่เงื่อนไขกำหนดนั้น ตัวอย่างเช่น มีชายคนหนึ่งขับรถออกจากบ้าน ไปทำงานตามปกติ แต่ในขณะที่รถติดอยู่ตรงสี่แยกไฟแดงก็นึกขึ้นได้ว่าลืมปิดน้ำในห้องน้ำ ด้วยความที่กลัวน้ำจะไหลทิ้งก็รีบขับรถกลับอย่างรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าวันนั้นรถของเขาเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคนอื่นตรงปากซอย ใกล้บ้านบาดเจ็บสาหัส ขนาดเดินทางไปตั้งไกลแล้วยังย้อนกลับมารับผลของวิบากกรรมจนได้
    อีกเรื่องหนึ่ง หญิงสาวคนหนึ่งมีคุณยายที่ชราภาพ มากแล้ว จะยกมรดกให้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเลิกคบกับผู้ชายซึ่งเป็นแฟนกันอยู่ เพราะคุณยายไม่ชอบไอ้หนุ่มที่ มาติดพันคนนี้เลย นัยว่าเป็นคนชอบเล่นพนันและติดเหล้า แกกลัวจะผลาญสมบัติของแกให้พินาศ หญิงสาวคิดหนักจะยอมเสียทรัพย์ดีหรือจะยอมเสียแฟนดี นี่ก็เป็นเงื่อนไขที่ให้สุขให้ทุกข์แก่เธอ
    ชีวิตประจำวันในแต่ละวันของคนเรามักจะต้องเจอเงื่อนไขที่เป็นอยู่ตลอดเวลา ไม่อยากจะไปเจอกับคนนั้นคนนี้เลย แต่ก็จำเป็นต้องไป ไม่อยากทำเรื่องนี้เลย แต่ก็จำเป็นต้องทำ ซึ่งแต่ละคนก็จะเจอเงื่อนไขไปคนละแบบต่างๆนานา ขอให้ลองสังเกตดูซิว่า วันหนึ่งๆ เราเจอ กับเงื่อนไขอะไรบ้าง และขอให้ทราบว่านั่นเป็นรหัสเงื่อน ไขของเรา
    นัยที่ ๓ ผลกรรมในเชิงอัตภาพร่างกาย (รหัส DNA)
    นอกจากกรรมจะให้ผลในรูปของรหัสผัสสะ รหัสสิ่ง แวดล้อมดังที่กล่าวมาแล้ว กรรมก็ยังให้ผลในรูปของรหัสพันธุกรรมหรือรหัส DNA อีกด้วย เชื่อหรือไม่ถ้าจะบอกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ DNA มา ๒๕ ศตวรรษแล้ว
    ถ้าการค้าพบศาสตร์ใดๆ เป็นครั้งแรกหมายถึงความ เป็นบิดาแห่งศาสตร์นั้นๆ แล้วละก็ พระพุทธเจ้าก็คือบิดา แห่งพันธุศาสตร์
    ข้อความนี้มิใช่คำโวแบบเพ้อฝันไร้หลักฐาน เพราะมีร่องรอยปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ในพระอภิธรรมปิฎก ดังจะขอยกมาแสดงประกอบคำอ้างอิงดังต่อไปนี้

    ขอบคุณเว็บผู้จัดการครับ

    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000087827
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๕)

    ทฤษฎีการปฏิสนธิตามแนวพุทธศาสตร์
    ในหลักของพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า การถือกำเนิดเกิดขึ้นของมนุษย์นั้น ต้องประกอบไปด้วยองค์ ประกอบดังต่อไปนี้
    ๑.มารดามีระดู หมายถึง มีไข่สุกในรอบเดือน มิใช่หมายถึงมีประจำเดือน เพราะถ้าเป็นประจำเดือนจะใช้ประโยชน์เพื่อการตั้งครรภ์มิได้ โปรดสังเกตว่าท่านใช้คำว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องของรูปร่างหน้าตานี้ กรรมจะให้ผลผ่าน เจ้าหน้าที่ของตนคือ หน่วยพันธุกรรมหรือกายทสกกัมมชรูป (DNA) ไม่ใช่ให้เป็นก้อนๆ เอาหัว แขน ขา หน้า ตา มาติดตั้งเป็นชิ้นๆ ได้เสียเมื่อไหร่ เรื่องความงามหรือไม่งามนี้สำคัญกับเราไหม (โปรดไปดูยอดสั่งเข้าเครื่องสำอางจากต่างประ เทศ และยอดรวม ภายในประเทศด้วยก็จะรู้เอง) อย่าว่าแต่คนที่ยังมีชีวิตอยู่เลย แม้แต่คนตายแล้วยังต้องแต่งศพให้สวย แต่ถ้าทำกรรมไม่ดีไว้มากจะแต่งอย่างไรก็ลบล้างร่องรอยของบาป คือความขี้เหร่ไม่หมด แม้ในหมู่สัตว์เดรัจฉาน ก็ยังปรากฏความงาม ความน่ารัก และความขี้ เหร่ให้ เห็นแตกต่างมากมาย จะกล่าวไปใยถึงหมู่มนุษย์
    เรื่องนี้ถ้าไปดูใน มหาปุริสลักขณสูตร จะสอดคล้องกันมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงอวัยวะน้อยใหญ่ ส่วนประกอบองคาพยพต่างๆ ของพระวรกายของพระองค์ว่า ทรงทำกรรมอะไรมา จึงมีตาอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีฟัน มีกระดูก มีชิวหา ฯลฯ ซึ่งงดงามเข้าข่าย “มหาปุริสลักษณะ” เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่าโหงวเฮ้ง หน้าผาก จมูก แก้ม ปากคิ้ว คาง และอื่นๆทั่วสรรพางค์กาย อวัยวะเหล่านี้โดยลักษณะรูปทรงโดยขนาดและโดยตำแหน่ง ที่ตั้ง ล้วนเกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างเป็นรหัส โดยมีกฎแห่งกรรมอยู่เบื้องหลังของการตั้งรหัสที่ว่านี้
    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ไม่กี่วันยังเป็นทารก แบเบาะอยู่ พราหมณ์ ๘ คนไปดูนรลักษณ์ของพระองค์ (ดูโหงวเฮ้ง) ก็ทำนายเป็นเสียงเดียวกันว่าบุคคลเช่นนี้ ต่อไปภายภาคหน้าจะได้เป็นจอมจักรพรรดิ หรือไม่ก็บรมศาสดาเอกในโลกแน่นอน พราหมณ์พวกนี้ทายได้ก็เพราะอาศัยองคาพยพ อวัยวะน้อยใหญ่ของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องทำนาย แต่ที่เป็นไปเช่นนั้นก็เพราะเป็นผลของกรรม มิใช่เป็นไปตามคำทำนายวิชาโหงวเฮ้ง เป็นแต่เพียงการคำนวณรู้แนวทาง การให้ผลแห่งกรรมเท่านั้น ดังนั้นอวัยวะทุกชิ้นส่วนของ เราตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ถูกจัดเรียงวางไว้อย่าง เป็นรหัสทั้งโดยความสวยงามและวาสนาชะตาชีวิต
    ๓. ทำกิจ กายประสาทเวลาที่มีผัสสะมากระทบผิวกาย แต่ในขณะกลละนั้นยังไม่สามารถรับกระทบผัสสะโผฏฐัพพารมณ์ได้ เพราะเป็นเพียงกัมมชรูปหรือสาร พันธุกรรม ซึ่งจะต้องรอเวลาให้วิวัฒนาการขึ้นมาเป็น ระบบเซลล์ประสาทกาย เพื่อทำหน้าที่รับกระทบผัสสะได้ในโอกาสต่อมา เพราะฉะนั้นในช่วงนี้จะเป็นภวังคจิต(จิตหลับ) กายทวารยังไม่รับรู้อารมณ์อะไร ซึ่งปกติทั่วไปทารกในครรภ์จะอยู่ในภวังค์ความหลับเกือบ ๙ เดือน แต่จะมีการตื่น(จิตขึ้นสู่วิถี)แทรกเป็นระยะๆ
    ลำดับต่อไป ภาวทสกะ กลุ่มของรูปที่กำหนดลักษณะทางเพศ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ
    ๑. อิตถีภาวะ เพศหญิง
    ๒. ปุริสภาวะ เพศชาย
    ถ้าเราทำกรรมมาในระดับที่จะส่งผลให้เกิดเป็นหญิง ก็จะได้กัมมชรูปชนิดที่โปรแกรมให้ร่างกายเจริญเติบโต ขึ้นมาเป็นหญิง กัมมชรูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า อิตถีภาวรูป สมัยนี้ก็เทียบได้กับโคร โมโซม XX แต่ถ้าทำกรรม มาในระดับที่จะได้เกิดเป็นชาย ก็จะได้กัมมชรูปชนิด ที่โปรแกรมให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นชาย กัมมชรูปชนิด นี้มีชื่อเรียกว่า ปุริสภาวรูป ถ้าสมัยนี้ก็เทียบได้กับโคร โมโซม XY
    วิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า ในสเปิร์มหนึ่งเซลล์จะมีโครโมโซม ๒๓ แท่งในเซลล์ไข่หนึ่งเซลล์จะมีโครโมโซม ๒๓ แท่งเท่ากัน ในโครโมโซมฝ่ายละ ๒๓ แท่งนี้จะมีอยู่ฝ่ายละ ๒๒ แท่งที่ทำหน้าที่โปรแกรม ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ไม่ว่าจะมีผมสีบรอนซ์ ตาสีฟ้า ผิวสีชมพู หรือผมสีดำ ตาสีน้ำตาล ผิวสีเหลือง ตัวสูง ตัวเตี้ย ผมหยิก หน้าก้อ ตาพอง น่องทู่ อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับโครโมโซม ๒๒ แท่งนี้ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ออโตโซม” ซึ่งมีคุณ สมบัติเหมือนกับกายทสกกัม มชรูปของพุทธศาสนา แต่นั่นหมายความว่า ต้องหลังจากที่เซลล์ไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว โครโมโซมชุดใหม่อันเกิดการผสมแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นกายทสกกัมมชรูป
    เพราะในคัมภีร์กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า กัมมชรูปเกิดขึ้นในช่วงที่ปฏิสนธิจิตอุบัติขึ้น คือ ปฏิสนธิจิต ๑ กัมมชรูป ๑ นามขันธ์ที่เหลือคือ เวทนา สัญญา สังขาร ๑ ทั้งสาม สิ่งนี้เกิดขึ้นในวาระเดียวกัน นั่นหมายความว่าต้องผสมกันแล้วเท่านั้นลักษณะทางพันธุกรรมของชีวิตใหม่จึงบังเกิดขึ้น ซึ่งจะโปรแกรมการเจริญเติบโตทางกายภาพ ให้มีรูปร่างหน้าตาตามแรงกรรมที่ทำมา ลำพังแต่โครโมโซม ๒๒ แท่งที่อยู่ในสเปิร์มและอยู่ในเซลล์ไข่ ต่างแยกกันอยู่ ยังไม่ผสมกันนั้น ไม่มีคุณสมบัติที่จะกำหนดลักษณะโปรแกรมทางกายภาพให้เจริญเติบโต ขึ้นมาเป็นมนุษย์ได้ ต้องตายไปภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมงนั่นก็หมายความว่า ถ้ายังไม่ผสมกัน คุณสมบัติก็ยังไม่พอจะเป็นสารพันธุกรรมของชีวิตใหม่ ไม่สามารถกำหนดโปรแกรมทางกายภาพให้มีรูปร่างเป็นมนุษย์ หรือพูดตามภาษาบาลีว่ายังไม่เป็นกายทสกกัมมชรูป
    มีปัญหาถามมาว่า ก็ขณะที่ยังไม่ผสมกันนั้นโครโมโซม ๒๒ แท่งทำไมจึงไม่นับเป็นกัมมชรูปของมนุษย์ตอบว่า เพราะยังไม่มีความเป็นมนุษย์ในขณะนั้น ขณะนั้นยังเป็นเพียงจุลชีพ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวซึ่งมีวงจรชีวิตสั้น เพียง ๒๔-๔๘ ชั่วโมง ต่อเมื่อใดที่โคร โมโซมผสมกัน เมื่อนั้นจะมีคุณสมบัติของความเป็น ชีวิตมนุษย์บังเกิดขึ้น โดยมีความเป็นมนุษย์ทั้งฝ่ายรูป และฝ่ายนามเกิดขึ้นในวาระเดียวกัน ซึ่งนามธรรมที่เกิดขึ้นขณะแรกนี้มีชื่อว่าปฏิสนธิจิต ส่วนรูปที่เกิดพร้อมด้วยนั้นมีชื่อว่ากัมมชรูป (รูปที่เกิดเพราะกรรม)
    ถามว่า ก่อนที่จะผสมกันนั้น อสุจิไม่มีนาม ไม่มีรูปหรือ ตอบว่า อาจจะมีแต่ไม่ใช่นามของความเป็นมนุษย์คนใหม่แน่นอน และรูปธรรมในขณะยังไม่ผสมกันก็ยิ่งไม่ใช่รูปธรรมของความเป็นมนุษย์คนใหม่ด้วยเช่นกัน เพราะขณะนั้นชีวิตของความเป็นมนุษย์คนใหม่ยังไม่บังเกิดขึ้น
    นักอภิธรรมส่วนใหญ่เชื่อว่าอสุจิไม่มีนาม อสุจิเป็นเพียงอุตุชรูป ถ้าเป็นอุตุชรูป ก็หมายถึง สิ่งที่ไม่ มีชีวิตทั่วไป เป็นเหมือนวัตถุมวลสาร จุลสารหรือฝุ่น ละออง ซึ่งเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ข้อที่น่าสังเกตก็คือ พฤติกรรมของอสุจิกลับแสวงหาการ ผสมพันธุ์ และแสวงหาการอยู่รอด มีวิวัฒนาการ การเจริญเติบโตตั้งแต่ตัวอ่อนมาจนถึงตัวแก่พอที่จะผสมพันธุ์ได้ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการบริโภคขับถ่ายแหวกว่ายเคลื่อนไหวได้อย่างวิจิตร ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เจ้าตัวอสุจิอย่างน้อยก็น่าจะมีชีวิตตรูป (รูปที่ทำให้สิ่งมี ชีวิตแตกต่างจากรูปวัตถุทั่วไป) เป็นนวกกลาป ไม่ใช่ สุททัทธกลาปที่มีแค่อวินิโภครูป ๘ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟสี กลิ่น รส โอชะ เท่านั้น ขอฝากไว้ให้ช่วยกันพิจารณาทำนองฟังไว้ใช่ว่าอย่าถึงกับใส่บ่าแบกหาม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>



    ขอบคุณเว็บผู้จัดการครับ

    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000116697
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๖)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>29 สิงหาคม 2548 10:48 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เรื่องของรูปร่างหน้าตานี้ กรรมจะให้ผลผ่าน เจ้าหน้าที่ของตนคือ หน่วยพันธุกรรมหรือกายทสกกัมมชรูป (DNA) ไม่ใช่ให้เป็นก้อนๆ เอาหัว แขน ขา หน้า ตา มาติดตั้งเป็นชิ้นๆ ได้เสียเมื่อไหร่ เรื่องความงามหรือไม่งามนี้สำคัญกับเราไหม (โปรดไปดูยอดสั่งเข้าเครื่องสำอางจากต่างประ เทศ และยอดรวม ภายในประเทศด้วยก็จะรู้เอง) อย่าว่าแต่คนที่ยังมีชีวิตอยู่เลย แม้แต่คนตายแล้วยังต้องแต่งศพให้สวย แต่ถ้าทำกรรมไม่ดีไว้มากจะแต่งอย่างไรก็ลบล้างร่องรอยของบาป คือความขี้เหร่ไม่หมด แม้ในหมู่สัตว์เดรัจฉาน ก็ยังปรากฏความงาม ความน่ารัก และความขี้ เหร่ให้ เห็นแตกต่างมากมาย จะกล่าวไปใยถึงหมู่มนุษย์
    เรื่องนี้ถ้าไปดูใน มหาปุริสลักขณสูตร จะสอดคล้องกันมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงอวัยวะน้อยใหญ่ ส่วนประกอบองคาพยพต่างๆ ของพระวรกายของพระองค์ว่า ทรงทำกรรมอะไรมา จึงมีตาอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีฟัน มีกระดูก มีชิวหา ฯลฯ ซึ่งงดงามเข้าข่าย “มหาปุริสลักษณะ” เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่าโหงวเฮ้ง หน้าผาก จมูก แก้ม ปากคิ้ว คาง และอื่นๆทั่วสรรพางค์กาย อวัยวะเหล่านี้โดยลักษณะรูปทรงโดยขนาดและโดยตำแหน่ง ที่ตั้ง ล้วนเกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างเป็นรหัส โดยมีกฎแห่งกรรมอยู่เบื้องหลังของการตั้งรหัสที่ว่านี้
    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ไม่กี่วันยังเป็นทารก แบเบาะอยู่ พราหมณ์ ๘ คนไปดูนรลักษณ์ของพระองค์ (ดูโหงวเฮ้ง) ก็ทำนายเป็นเสียงเดียวกันว่าบุคคลเช่นนี้ ต่อไปภายภาคหน้าจะได้เป็นจอมจักรพรรดิ หรือไม่ก็บรมศาสดาเอกในโลกแน่นอน พราหมณ์พวกนี้ทายได้ก็เพราะอาศัยองคาพยพ อวัยวะน้อยใหญ่ของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องทำนาย แต่ที่เป็นไปเช่นนั้นก็เพราะเป็นผลของกรรม มิใช่เป็นไปตามคำทำนายวิชาโหงวเฮ้ง เป็นแต่เพียงการคำนวณรู้แนวทาง การให้ผลแห่งกรรมเท่านั้น ดังนั้นอวัยวะทุกชิ้นส่วนของ เราตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ถูกจัดเรียงวางไว้อย่าง เป็นรหัสทั้งโดยความสวยงามและวาสนาชะตาชีวิต
    ๓. ทำกิจ กายประสาทเวลาที่มีผัสสะมากระทบผิวกาย แต่ในขณะกลละนั้นยังไม่สามารถรับกระทบผัสสะโผฏฐัพพารมณ์ได้ เพราะเป็นเพียงกัมมชรูปหรือสาร พันธุกรรม ซึ่งจะต้องรอเวลาให้วิวัฒนาการขึ้นมาเป็น ระบบเซลล์ประสาทกาย เพื่อทำหน้าที่รับกระทบผัสสะได้ในโอกาสต่อมา เพราะฉะนั้นในช่วงนี้จะเป็นภวังคจิต(จิตหลับ) กายทวารยังไม่รับรู้อารมณ์อะไร ซึ่งปกติทั่วไปทารกในครรภ์จะอยู่ในภวังค์ความหลับเกือบ ๙ เดือน แต่จะมีการตื่น(จิตขึ้นสู่วิถี)แทรกเป็นระยะๆ
    ลำดับต่อไป ภาวทสกะ กลุ่มของรูปที่กำหนดลักษณะทางเพศ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ
    ๑. อิตถีภาวะ เพศหญิง
    ๒. ปุริสภาวะ เพศชาย
    ถ้าเราทำกรรมมาในระดับที่จะส่งผลให้เกิดเป็นหญิง ก็จะได้กัมมชรูปชนิดที่โปรแกรมให้ร่างกายเจริญเติบโต ขึ้นมาเป็นหญิง กัมมชรูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า อิตถีภาวรูป สมัยนี้ก็เทียบได้กับโคร โมโซม XX แต่ถ้าทำกรรม มาในระดับที่จะได้เกิดเป็นชาย ก็จะได้กัมมชรูปชนิด ที่โปรแกรมให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นชาย กัมมชรูปชนิด นี้มีชื่อเรียกว่า ปุริสภาวรูป ถ้าสมัยนี้ก็เทียบได้กับโคร โมโซม XY
    วิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า ในสเปิร์มหนึ่งเซลล์จะมีโครโมโซม ๒๓ แท่งในเซลล์ไข่หนึ่งเซลล์จะมีโครโมโซม ๒๓ แท่งเท่ากัน ในโครโมโซมฝ่ายละ ๒๓ แท่งนี้จะมีอยู่ฝ่ายละ ๒๒ แท่งที่ทำหน้าที่โปรแกรม ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ไม่ว่าจะมีผมสีบรอนซ์ ตาสีฟ้า ผิวสีชมพู หรือผมสีดำ ตาสีน้ำตาล ผิวสีเหลือง ตัวสูง ตัวเตี้ย ผมหยิก หน้าก้อ ตาพอง น่องทู่ อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับโครโมโซม ๒๒ แท่งนี้ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ออโตโซม” ซึ่งมีคุณ สมบัติเหมือนกับกายทสกกัม มชรูปของพุทธศาสนา แต่นั่นหมายความว่า ต้องหลังจากที่เซลล์ไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว โครโมโซมชุดใหม่อันเกิดการผสมแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นกายทสกกัมมชรูป
    เพราะในคัมภีร์กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า กัมมชรูปเกิดขึ้นในช่วงที่ปฏิสนธิจิตอุบัติขึ้น คือ ปฏิสนธิจิต ๑ กัมมชรูป ๑ นามขันธ์ที่เหลือคือ เวทนา สัญญา สังขาร ๑ ทั้งสาม สิ่งนี้เกิดขึ้นในวาระเดียวกัน นั่นหมายความว่าต้องผสมกันแล้วเท่านั้นลักษณะทางพันธุกรรมของชีวิตใหม่จึงบังเกิดขึ้น ซึ่งจะโปรแกรมการเจริญเติบโตทางกายภาพ ให้มีรูปร่างหน้าตาตามแรงกรรมที่ทำมา ลำพังแต่โครโมโซม ๒๒ แท่งที่อยู่ในสเปิร์มและอยู่ในเซลล์ไข่ ต่างแยกกันอยู่ ยังไม่ผสมกันนั้น ไม่มีคุณสมบัติที่จะกำหนดลักษณะโปรแกรมทางกายภาพให้เจริญเติบโต ขึ้นมาเป็นมนุษย์ได้ ต้องตายไปภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมงนั่นก็หมายความว่า ถ้ายังไม่ผสมกัน คุณสมบัติก็ยังไม่พอจะเป็นสารพันธุกรรมของชีวิตใหม่ ไม่สามารถกำหนดโปรแกรมทางกายภาพให้มีรูปร่างเป็นมนุษย์ หรือพูดตามภาษาบาลีว่ายังไม่เป็นกายทสกกัมมชรูป
    มีปัญหาถามมาว่า ก็ขณะที่ยังไม่ผสมกันนั้นโครโมโซม ๒๒ แท่งทำไมจึงไม่นับเป็นกัมมชรูปของมนุษย์ตอบว่า เพราะยังไม่มีความเป็นมนุษย์ในขณะนั้น ขณะนั้นยังเป็นเพียงจุลชีพ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวซึ่งมีวงจรชีวิตสั้น เพียง ๒๔-๔๘ ชั่วโมง ต่อเมื่อใดที่โคร โมโซมผสมกัน เมื่อนั้นจะมีคุณสมบัติของความเป็น ชีวิตมนุษย์บังเกิดขึ้น โดยมีความเป็นมนุษย์ทั้งฝ่ายรูป และฝ่ายนามเกิดขึ้นในวาระเดียวกัน ซึ่งนามธรรมที่เกิดขึ้นขณะแรกนี้มีชื่อว่าปฏิสนธิจิต ส่วนรูปที่เกิดพร้อมด้วยนั้นมีชื่อว่ากัมมชรูป (รูปที่เกิดเพราะกรรม)
    ถามว่า ก่อนที่จะผสมกันนั้น อสุจิไม่มีนาม ไม่มีรูปหรือ ตอบว่า อาจจะมีแต่ไม่ใช่นามของความเป็นมนุษย์คนใหม่แน่นอน และรูปธรรมในขณะยังไม่ผสมกันก็ยิ่งไม่ใช่รูปธรรมของความเป็นมนุษย์คนใหม่ด้วยเช่นกัน เพราะขณะนั้นชีวิตของความเป็นมนุษย์คนใหม่ยังไม่บังเกิดขึ้น
    นักอภิธรรมส่วนใหญ่เชื่อว่าอสุจิไม่มีนาม อสุจิเป็นเพียงอุตุชรูป ถ้าเป็นอุตุชรูป ก็หมายถึง สิ่งที่ไม่ มีชีวิตทั่วไป เป็นเหมือนวัตถุมวลสาร จุลสารหรือฝุ่น ละออง ซึ่งเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ข้อที่น่าสังเกตก็คือ พฤติกรรมของอสุจิกลับแสวงหาการ ผสมพันธุ์ และแสวงหาการอยู่รอด มีวิวัฒนาการ การเจริญเติบโตตั้งแต่ตัวอ่อนมาจนถึงตัวแก่พอที่จะผสมพันธุ์ได้ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการบริโภคขับถ่ายแหวกว่ายเคลื่อนไหวได้อย่างวิจิตร ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เจ้าตัวอสุจิอย่างน้อยก็น่าจะมีชีวิตตรูป (รูปที่ทำให้สิ่งมี ชีวิตแตกต่างจากรูปวัตถุทั่วไป) เป็นนวกกลาป ไม่ใช่ สุททัทธกลาปที่มีแค่อวินิโภครูป ๘ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟสี กลิ่น รส โอชะ เท่านั้น ขอฝากไว้ให้ช่วยกันพิจารณาทำนองฟังไว้ใช่ว่าอย่าถึงกับใส่บ่าแบกหาม


    ขอบคุณเว็บผู้จัดการครับ

    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000116697
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๗)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>3 ตุลาคม 2548 17:34 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า ในเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์(สเปิร์มและเซลล์ไข่) จะมีโครโมโซมชนิดละ ๒๓ แท่ง โครโมโซม ๒๒ แท่งทำหน้า ที่กำหนดลักษณะทางกายภาพ ยังเหลืออีก ๑ แท่งทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางเพศ (เซ็กซ์โครโมโซม) โดยที่เซลล์ไข่จะมีโครโมโซมเพศเป็น X เสมอ ถ้าเขียนเป็นสูตร ก็ได้ดังนี้ ๒๒X*
    ส่วนสเปิร์มนั้นปริมาณที่ออกมาแต่ละครั้งประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ ล้านเซลล์ ในจำนวนนี้จะมีโครโมโซมเป็น X บ้าง เป็น Y บ้าง คละเคล้าปะปนกันไป เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
    ๒๒X *- = 1n
    ๒๒Y *- = 1n
    ทั้งโครโมโซม X และ Y มีชื่อเรียกเฉพาะว่า เซ็กซ์โครโมโซม ถ้าสเปิร์มที่มีโครโมโซมเพศเป็น X เจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ได้ก่อนแล้วผสมกันออกมาก็เป็น ๔๔XX (๒n หรือ ๒๓ คู่) อย่างนี้เด็กออกมาเป็นหญิง ถ้าสเปิร์มที่มีโครโมโซมเพศเป็น Y เจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ได้ก่อน ผสมกันออกมาเป็น ๔๔XY (๒n หรือ ๒๓ คู่) อย่างนี้เด็กออกมาก็เป็นชาย
    ๒๒X+๒๒X = ๔๔XX หญิง (๒n หรือ ๒๓ คู่)
    ๒๒X+๒๒Y = ๔๔XY ชาย
    (๒n หรือ ๒๓ คู่)
    เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีทางพุทธศาสนา

    กายทสกะ = ออโตโซม ๔๔
    โปรแกรมลักษณะทางกายภาพตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
    อิตถีภาวะ = โครโมโซม XX
    โปรแกรมเพศหญิง
    ปุริสภาวะ = โครโมโซม YX
    โปรแกรมเพศชาย
    แทบจะลงตัวเป็นอันเดียวกัน เรื่องสารพันธุกรรมและกลไกการปฏิสนธิทั้งกระบวนการนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตั้งแต่เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีหรือเมื่อ ๒๕ ศตวรรษก่อนโน้น ในยุคที่ผู้คนคลอดลูกตามบ้าน เอาไม้ไผ่ตัดสาย สะดือ ในยุคที่คนเชื่อว่าโลกแบน ในยุคที่ไม่มีกล้องจุลทรรศน์เลยสักตัวเดียว สิ่งเล็กๆในระดับจุลสารที่มองด้วย ตาเปล่าไม่เห็นนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงล่วงรู้ได้อย่างไร? ทรงรู้ถึงความมีอยู่ รู้ถึงคุณสมบัติและหน้าที่ของสิ่งนี้ด้วย
    ในการนำเรื่องนี้มาแสดงนั้นมิได้มุ่งจะทำให้เห็นว่าระหว่างทฤษฎีทางพุทธศาสตร์กับทฤษฎีของวิทยาศาสตร์เป็นทฤษฎีเดียวกัน ไม่ได้บอกว่ากายทสกะ คือ ออโตโมโซม ๔๔ ภาวทสกะ คือ เซ็กซ์โครโมโซม กลละ คือ ไซโกต ฯลฯ แต่มุ่งนำเสนอในประเด็นที่ว่าศาสตร์ทั้ง ๒ แม้จะห่างกันถึง ๒๕ ศตวรรษแต่ก็บังเอิญมาคล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์
    เรามาลองดูตารางเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์นี้กันอีกครั้ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=566>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>DNA ย่อมาจากคำว่า Deoxyribonucleic acid เป็นกรดชนิดหนึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสแกนกลางของเซลล์ มีคุณสมบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ถูกค้นพบครั้งแรกในค.ศ.๑๘๖๙ โดยนักชีวเคมีชาวสวิตเซอร์แลนด์ ชื่อ Friedeich Miescher ตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที่ถูกค้นพบนี้ว่า Nuclein (นิวคลีอิน) เป็นการตั้งชื่อตามแหล่งที่ค้นพบ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Nucleic acid สาเหตุที่ได้ชื่อเพิ่มขึ้นเป็น Deoxyribonucleic acid ก็เพราะว่าต่อมาภายหลังได้มีการค้นพบกรดนิวคลีอิคที่บริเวณนอกนิวเคลียสอีกชนิดหนึ่ง (ค้นพบที่บริเวณไซโตปลาสซึ่ม) ซึ่งค่อนข้างจะคล้ายคลึงกับกรดนิวคลีอิคที่ค้นพบในนิวเคลียส ความแตกต่างระหว่างกรดนิวคลีอิคภายในนิวเคลียส กับกรดนิวคลีอิค ภายนอกนิวเคลียสอยู่ตรงที่ว่า
    ในโมเลกุลของกรดนิวคลีอิคนั้นจะมีน้ำตาล Ribose (ไรโบส) รวมเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งน้ำตาลไรโบสที่อยู่กับกรดนิวคลีอิคภายนอกนิวเคลียสนี้ จะมีออกซิเจน น้อยกว่าน้ำตาลไรโบสที่อยู่กับกรดนิวคลีอิคนอกนิวเคลียส ๑ อะตอม จึงได้ตั้งชื่อว่า Deoxyribo (ดิอ๊อกซี่ไรโบ) De เป็นคำอุปสรรคในภาษาลาติน แปลว่า “เอาออกไปจาก” (คือเอาออกซิเจน ออกไปจากน้ำตาลไรโบส ๑ อะตอม) เมื่อบวกเข้ากับกรดนิวคลีอิคจึงได้ชื่อเต็มๆ ว่า Deoxyribonucleic acid หรือเขียนเป็นคำย่อที่เรารู้จักกันดีกว่า DNA
    D ย่อมาจากคำว่า Deoxyribo
    N ย่อมาจากคำว่า Nucleic
    A ย่อมาจากคำว่า Acid
    ส่วนกรดนิวคลีอิคที่ถูกค้นพบนอกนิวเคลียสตั้งชื่อว่า Ribonucleic acid (ไรโบนิวคลีอิคแอสิด) ใช้คำย่อว่า RNA
    R ย่อมาจากคำว่า Ribose
    N ย่อมาจากคำว่า Nucleic
    A ย่อมาจากคำว่า Acid
    เวลาที่ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ทุกครั้ง RNA จะทำหน้าที่ถอดรหัสพันธุกรรมจาก DNA และก็ควบคุมการสร้างเซลล์ใหม่ให้เป็นไปตามแบบแปลน ถ้าจะเปรียบไป DNA ก็เปรียบเสมือนสถาปนิกผู้ออกแบบหรือเขียนแบบ ส่วน RNA ก็เปรียบเสมือนกับวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างให้ เป็นไปตามแบบนั้น กลไกอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างเซลล์ใหม่ก็เปรียบเสมือนคนงานและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในการก่อสร้าง
    ประเด็นที่น่าจะพูดให้แหลมคมไปกว่านี้ก็คือ ความสำคัญของแบบแปลนอยู่ที่ลวดลายบนกระดาษ ไม่ได้อยู่ที่กระดาษที่ใช้เขียนแบบ โดยทำนองเดียวกัน
    ความสำคัญ
    ของ DNA มิได้อยู่ที่มวลของ DNA แต่อยู่ที่รหัสของ DNA

    ถ้ากายทสกกัมมชรูปและภาวทสกกัมมชรูปจะถูกอธิบายด้วยรหัส DNA ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้คนรุ่นเราเข้าใจ ในสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงไว้มากยิ่งขึ้น นั่นหมายความ ว่ามีกฎแห่งกรรมอยู่เบื้องหลังการเรียงตัวของรหัส DNA ซึ่งในขั้นตอนของ Recombination หรือขณะที่โครโมโซม ของทั้งสองฝ่ายผสมกัน จะก่อให้เกิดรหัส DNA ของมนุษย์คนใหม่ กฎแห่งกรรมจะออกแบบรหัสอันซับซ้อนนั้นตามสมควรแก่กรรมที่ทำมา (มนุษย์ส่วนใหญ่จะมีรหัส DNA ที่คล้ายคลึงกันมาก จะมีส่วนต่างกันเพียงเล็กน้อย ส่วนที่คล้ายกันส่วนใหญ่จะออกแบบโครงสร้างที่มีรูปทรงของความเป็นมนุษย์ เพราะต่างก็ทำกรรมมาในระดับที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน ส่วนรหัส DNA ที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย จะออกแบบรายละเอียดขององคาพยพ ผม ขน เล็บ ฟัน ปาก คาง ตา จมูก มือ เท้า ฯลฯ ทำให้มนุษย์มีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในรายละเอียดของอวัยวะต่างๆ) ซึ่งยังมีพุทธพจน์อีกจำนวนมากที่รอวิวัฒนาการทาง การศึกษาของสังคมว่า เมื่อไหร่จะมีเพดานสูงพอจะเข้าใจ คำสอนของพระองค์ เช่น เรื่องจักรวาลมีแสนโกฎจักรวาล มีมนุษย์ในจักรวาลอื่น หรือรูปแบบทางชีวภาพของสัตว์ใน ภพอื่นๆ เป็นต้น


    ขอบคุณเว็บผู้จัดการครับ

    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000135610
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๘)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 ตุลาคม 2548 17:27 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ฉบับที่แล้วได้พูดถึงเรื่องกายทสกะ ซึ่งเปรียบได้กับสารพันธุกรรม DNA ไปแล้ว ฉบับนี้มาต่อกันที่เรื่องของหทัยทสกะ
    หทัยทสกะ กลุ่มของรูปอันเป็นเป็นแหล่งที่เกิดของความรู้สึกนึกคิดซึ่งได้แก่นามธรรมทางใจ ในชีวิต อัตภาพร่างกายของคนและสัตว์ จะมีแหล่งอันเป็นที่เกิดของนามธรรมได้ ๖ แหล่งด้วยกันคือ
    ๑. ที่ตา ได้แก่ สภาพเห็น การเห็น ธรรมชาติรู้สี เรียกว่า จักขุวิญญาณ
    ๒. ที่หู ได้แก่ สภาพได้ยิน การได้ยิน ธรรมชาติรู้เสียง เรียกว่า โสตวิญญาณ
    ๓. ที่จมูก ได้แก่ สภาพดมกลิ่น การรู้กลิ่น ธรรมชาติรู้กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
    ๔. ที่ลิ้น ได้แก่ สภาพลิ้มรส การลิ้มรส ธรรมชาติรู้รส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
    ๕. ที่กาย ได้แก่ สภาพรู้สัมผัส การรู้สัมผัส ธรรมชาติรู้สัมผัส เรียกว่า กายวิญญาณ
    ส่วนแหล่งที่ นามธรรม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในร่างกายนี้มี ๔ ที่ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน ในบรรดาแหล่งอันเป็นที่เกิดของนามธรรมได้นั้นที่ มโนทวารหรือทวารทางใจ มีชื่อภาษาบาลีว่า หทัยวัตถุ เป็นแหล่งที่บังเกิดคว ามเป็นมนุษย์ โดยมีนามธรรมคือปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ณ ที่ตำแหน่งนี้ก่อนใคร (ปฏิสนธิจิตเป็นนามธรรมขณะแรกของภพ) นามธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มาเกิดตามหลัง และในโอกาสต่อมาหทัยวัตถุก็เป็นที่อาศัยเกิดของความรู้สึกนึกคิดทางใจด้วย
    ในทางการแพทย์เวลาพูดถึงอวัยวะที่ทำงานได้ เขาหมายถึงการทำหน้าที่ในเชิงกลไกสรีระ แต่ในทาง พุทธศาสนาหมายถึง อวัยวะนั้นเป็นที่ให้นามธรรมเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ทีนี้อวัยวะใดยังไม่ถูกสร้างขึ้นนามธรรมที่จะเกิดกับอวัยวะนั้นก็ย่อมไม่มี อุปมาเหมือนกับว่าถ้าต้นไม้ยังไม่ได้ปลูกขึ้น เงาของต้นไม้ก็ย่อมจะมีไม่ได้ ถามว่าทำไมหทัยทสกะจึงเริ่ม ทำงานก่อน และทำ งานในลักษณะใด ตอบว่าที่ชื่อว่า ทำงานก่อนเพราะต้องเป็นที่อาศัยเกิดของปฏิสนธิจิตหรือเป็นที่ปรากฏขึ้นแห่งปฏิสนธิจิต ดุจธำมรงค์ รองรับแก้วมณี
    เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นขณะแรกแล้ว ต่อแต่นั้นก็เป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไป และหทัยวัตถุก็เป็น ที่อาศัยเกิดของภวังคจิตด้วยเช่นกัน (ภวังคจิตคือจิต หลับ) ในช่วงหลังจากปฏิสนธิใหม่ๆนั้น หทัยวัตถุเป็น เพียงกลุ่มของรูปเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว(สารพันธุกรรม) ศักยภาพในระดับที่จะคิดนึกย่อมไม่มี ดังนั้น ความคิดนึกย่อมจะเกิดไม่ได้ คนส่วนมากชอบพูดว่า จิตคิดนึก น่าจะพูดกลับกันเสียใหม่ว่า ความคิดนึก นั่นแหละคือจิต ความรู้สึกนึกคิดมีหลายอย่าง จิตจึงมีหลายอย่าง บางทีก็ใช้คำว่า ความรู้สึก เช่น รู้สึก ซึมเศร้า เหงาหงอย เปล่าเปลี่ยว ดีใจ เสียใจ ปีติ เมตตา อันนี้เป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาทางศาสนาท่ านเรียกว่า เจตสิก เป็นพวกที่มีหน้าที่ปรุงแต่งส่วนธรรมชาติรู้ สภาพรู้ อาการรู้ ที่รับรู้นั้นเป็นจิตหรือวิญญาณ จิตกับเจตสิกนี้จะต้องเกิดร่วมกันเสมอ แยกขาดจากกันและกันไม่ได้ ท่านอุปมาเหมือนคนชรากับไม้เท้า กล่าวคือคนชราที่มีอายุตั้งร้อยจะลุกขึ้นเองโดยไม่อาศัยไม้เท้าก็ไม่ได้ ส่วนไม้เท้าถ้าไม่อาศัยคนชราจะลุกขึ้นมาตั้งบนพื้นเองก็ไม่ได้ จิตเปรียบเสมือนคนชรา เจตสิกเปรียบเสมือนไม้เท้า
    ในช่วงแรก เมื่อยังคิดอะไรไม่ได้ จึงมีแต่ภวังคจิต (จิตหลับ) เกิดดับสืบเนื่องอยู่ตลอดเวลา (ต่อมาภาย หลังจึงมีวิถีจิตเกิดแท รกได้เป็นระยะๆ) จิตหลับก็มี อายุเท่ากับปฏิสนธิจิตนั่นแหละ เพียงแต่ปฏิสนธิจิตเกิดดับได้เพียงแค่ครั้งเดียว แต่ภวังคจิตเกิดดั บต่อเนื่องกันไปกี่ครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีเหตุปัจจัยให้หลับนานเท่าไหร่
    มีคนเคยถามว่าเซลล์แรกเกิด (กลละ) นั้นเล็กนิด เดียว มองด้วยตาเปล่าก็ไม่เห็น เวลาวิญญาณมาปฏิสนธิ วิญญาณจะอาศัยอยู่ตรงไหน อาศัยอยู่ได้อย่างไรในพื้นที่เล็กๆ ขนาดนั้น
    ตอบว่าควรทำความเข้าใจในศัพท์ก่อน คำว่าวิญญาณปฏิสนธิ หมายถึงจิตขณะเดียว ไม่ใช่กายทิพย์ หรือกายวิญญาณที่มาสิงสู่ และปวัตติวิญญาณก็หมายถึงความรู้สึกภายในเซลล์ทุกเซลล์ ซึ่งจะเกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัสความรู้สึกนั้นคือ วิญญาณ ซึ่งถ้าเซลล์ใดยังไม่ตาย ยังใช้การได้ เมื่อมีอะไรมาผัสสะ ความรู้สึกหรือวิญญาณก็จะเกิดขึ้น แต่เป็นวิญญาณปวัตติ คือ เกิดขึ้นหลังปฏิสนธิแล้ว ส่วนเซลล์ใดเป็นเซลล์แรกเกิด เนื่องจากเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็ต้องมีนามธรรมขณะแรก หรือขณะแรกของความเป็นมนุษย์บังเกิดขึ้น เราเรียกนามธรรมขณะแรกของชีวิตนี้ว่า ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นจิตเพียงขณะเดียว ไม่ใช่ร่างวิญญาณล่องลอยมา อาศัยหรือสิงอยู่ในเซลล์แรกเกิด

    กรรมกับโคลนนิ่ง

    เมื่อกรรมให้ผลในขณะปฏิสนธิกาลนั้นจะให้ผลทั้งในฝ่ายของรูปธรรมและนามธรรม ในฝ่ายของรูปธรรม อดีตกรรมที่ทำมาจะส่งผลให้ได้กัมมชรูป ๓ กลาป คือ กายทสกะ ภาวทสกะ และหทัยทสกะ ซึ่งอยู่ในกลละ (เซลล์แรกเกิด) ส่วนในฝ่ายของนามธรรม นั้นกรรมที่ทำมาในอดีตจะส่งผลให้เกิดปฏิสนธิจิต (จิตขณะแรกของภพ) ขึ้น ในวาระเดียวกันกับกัมมชรูปทั้ง ๓ คือ เกิดขึ้นพร้ อมกันทั้งฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ส่วนนามขันธ์ที่เหลือคือเวทนา สัญญา สังขารนั้น แม้จะเกิดพร้อมในวาระเดียวกัน แต่ก็เป็นเพียงสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วม) ไม่ใช่เป็นตัววิบาก หรือผลของกรรมโดยตรง อุปมาเหมือนกับปุยนุ่น แม้จะเกิดและอาศัยอยู่ในที่เดียวกันกับเมล็ดนุ่น แต่ก็ไม่สามารถทำหน้าที่งอกเงยเป็นนุ่นต้นใหม่เหมือนอย่างเมล็ดนุ่น
    เมื่อสมัยก่อนตอนที่เทคโนโลยียังไม่เจริญนั้น กัมมชรูป ๓ กลาปนี้จะอาศัยเหตุใกล้คือ อสุจิกับเซลล์ ไข่ผสมกัน (กรรมในอดีตจะเป็นเหตุไกล) แล้วก่อให้ เกิดกลละตามวิถีทางธรรมชาติในภูมิมนุษย์นี้ ณ ที่ใดมีกลละ ณ ที่นั้นก็ต้องมีกัมมชรูป ๓ กลาป ปฏิ สนธิจิตจะเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งหทัยทสกกลาปเท่านั้น ไม่เกิดขึ้นที่กายทสกะกลาปหรือภาวทสกะกลาป
    ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้นได้มีการผลิตเซลล์โคลน(กลละ)ขึ้นได้เองโดยไม่ต้องอาศัยวิธีทางธรรมชาติ ในเซลล์โคลนนี้ก็จะมีกัมมชรูป ๓ กลาป เช่นเดียวกับกลละที่เกิดขึ้นด้วยขบวนการตามธรรมชาติ เพียงแต่ว่าในเซลล์โคลนนี้จะไม่มีโครโมโซม (DNA) ของฝ่ายหญิงมาผสมร่วมกับโครโมโซม (DNA) ของฝ่ายชาย เพื่อร่วมกันดีไซน์ออกแบบรูปร่างหน้าตาของ ทารก ดังนั้นทารกก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาโดยมีหน้าตา เหมือนพ่อแม่ทุกอย่าง เหมือนอย่างชนิดที่นิยมพูดกันเล่นๆว่า ถ่ายสำเนาทีเดียว


    :emo_114: http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000147847
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๙)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>1 ธันวาคม 2548 11:42 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ในการผสมกันตามธรรมชาตินั้น เมื่ออสุจิเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ได้แล้วประมาณ 12 ชั่วโมง โครโมโซมของทั้งสองฝ่าย(ทั้งอสุจิและเซลล์ไข่) ก็จะจับคู่ผสมกัน จนก่อให้เกิดรหัส DNA ใหม่ๆ ที่จะไปทำหน้าที่โปรแกรมหรือดีไซน์ออกแบบรูปร่างหน้าตาของเด็กให้ไม่เหมือนกับพ่อแม่ทีเดียวนักเพราะจะได้ลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อมาส่วนหนึ่ง จากแม่มาส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ได้จากพ่อเพียงฝ่ายเดียวเหมือนอย่างเซลล์โคลน
    ส่วนวิธีทำเซลล์โคลนนั้น เขาจะนำเอาโครโมโซม (DNA) ออกจากนิวเคลียสแกนกลางของเซลล์ไข่จน หมดไม่เหลือ จากนั้นก็จะนำ DNA ของฝ่ายชายไปใส่ ไว้แทน แล้วเพาะเลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน จากนั้นก็จะนำไปฝากในครรภ์ของฝ่ายหญิงแล้วก็จะเจริญเติบโตจน ถึงเวลาคลอดในโอกาสต่อมา ในตัวอย่างของการทดลองนั้นเขาทำกับแกะ ลิง หมู แล้วก็วัว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาโดยลำดับทุกครั้ง และไม่จำเป็นต้องนำ เอา DNA จากเซลล์อสุจิมาผสมด้วย ในตัวอย่างที่นักวิทยาศาสตร์เขาทำเป็นครั้งแรกนั้น เขานำ DNA จากราวนมของแกะตัวผู้มาฝากไว้ในเซลล์ไข่ของแกะตัวเมีย จนคลอดออกมาเป็นลูกแกะและตั้งชื่อว่า “แกะดอลลี่”

    หลักของพระพุทธศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับโคลนนิ่งก็คือ
    ๑.การทำโคลนนิ่งเป็นเพียงการสร้างปัจจัยการของ เหตุใกล้ด้วยวิธีใหม่ๆ เพื่อให้ได้รูป(เซลล์) อันมีคุณ สมบัติเอื้อแก่การที่ปฏิสนธิจิตจะอุบัติขึ้นโดยไม่ต้องใช้ วิธีธรรมชาติเหมือนสมัยก่อน เพียงแต่ว่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุใกล้ที่พวกตนจัดทำขึ้นเท่านั้น ส่วนพุทธศาสตร์มีมติว่า ปฏิสนธิจิตอาศัยเหตุไกลคือกรรมในอดีตและเหตุใกล้คือ การผสมกันตามธรรมชาติก็ตาม หรือทำโคลนนิ่งก็ตาม หรือในวันข้างหน้าอาจจะมีวิธีพิสดารอื่นใดที่ยิ่งกว่าการทำโคลนนิ่งก็ตาม ถือว่าเป็นเหตุใกล้ทั้งสิ้น ซึ่งต้องอาศัยเหตุทั้งสอง ทั้งเหตุไกลและเหตุใกล้มาประชุมกันปฏิสนธิจิตจึงจะเกิดขึ้นได้
    ๒.กรรมที่สัตว์นั้นสร้างมาในระดับอันเหมาะควร ที่จะได้กัมมชรูป (DNA) แบบเดียวกับบิดาของตน ชนิดที่ถึงขนาดจะต้องมีรูปร่างหน้าตาสวยงามหรือขี้เหร่ เหมือนบิดาทุกกระเบียดนิ้ว อาจจะเคยร่วมกันทำ กรรมตัวเดียวกันอย่างมุ่งมั่น แต่ถ้าไม่เคยทำกรรมร่วม กันมา แม้แต่จะมีโอกาสได้พบปะเจอะเจอกัน ก็ยังไม่ มีโอกาสเลย อย่าว่าแต่จะถึงขนาดมาใช้รหัสพันธุกรรม ร่วมกัน (มีเรื่องน่าคิดว่าถ้านำเอา DNA ของแกะตัวผู้ไปฝากไว้ในเซลล์ไข่ของเก้งหรือกวางหรือสุนัข จนกลายเป็นเซลล์โคลนแล้ว เซลล์โคลนประหลาดนี้จะเจริญเติบโตขึ้นมาได้หรือไม่ และจะมีหน้าตาอย่างไร)
    ๓.ในการทำ DNA จากสัตว์ที่เจริญวัยอายุมากแล้ว มาใช้ทำเซลล์โคลน ทำให้เกิดข้อบกพร่องอย่างหนึ่งนั่นก็คือ จะทำให้ชีวิตใหม่ที่ได้จากการโคลนนี้มีอายุสั้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเพราะยีนส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์นั้นเป็นยีนส์ที่ทำหน้าที่แบ่งเซลล์ รุ่นต่อรุ่นมาอย่างยาวนานจนถึงชุดที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่ ทราบได้ นับตั้งแต่เป็นกลละเรื่อยมาจนเติบใหญ่ เป็นเหตุทำให้สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ไปได้อีกไม่กี่ชุดก็จะตาย เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้มีคณะแพทย์ไทยแถลง ข่าวทางโทรทัศน์ว่าได้แก้ไขปัญหานี้ด้วยการไปนำเซลล์ (DNA) มาจากลูกวัวซึ่งอยู่ในครรภ์ของแม่วัวมาทำโคลนนิ่ง (คือมีโรงฆ่าสัตว์แจ้งมาที่คณะแพทย์ชุดนี้ว่า ในขณะที่เขาเชือดวัวตัวเมียและกำลังชำแหละอยู่นั้น ก็พบว่ามีลูกวัวอยู่ในครรภ์ด้วย) คณะแพทย์ชุดนี้จึงเดินทางไปเก็บเซลล์เนื้อเยื่อของลูกวัวที่ตายอยู่ในครรภ์ นั้นมาใช้ทำเซลล์โคลน และบัดนี้ก็ทำสำเร็จแล้วและคาดหวังกันว่า ลูกวัวที่เกิดจากการโคลนนี้ จะอายุยืน แบบวัวที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งจะต้องคอยดูกันต่อไป สำหรับแกะดอลลี่และสัตว์ที่เกิดจากการโคลนตัวอื่นๆ ก่อนหน้านี้ที่ต้องมาอายุสั้นนั้น ถ้าวิเคราะห์ตามหลักกรรมแล้วก็คงเป็นเพราะว่าเคยทำปาณาติบาตเบียด เบียนชีวิตสัตว์อื่นไว้ในอดีต กรรมเลยส่งผลถึงขนาด ว่าทำให้ได้กัมมชรูปชนิดที่กำหนดอายุไว้ล่วงหน้าเลยว่าต้องตายเร็ว
    ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นเกี่ยวกับการที่สัตว์อันเกิดจากการโคลนนิ่งต้องอายุสั้นอีกทฤษฎีหนึ่ง นั่นก็คือการที่สัตว์ตัวผู้(พ่อของแกะดอลลี่) เจริญเติบโตจนเป็น หนุ่มใหญ่แล้ว DNA ที่พัฒนามาจากกลละ(เซลล์แรก เกิด) ได้แบ่งเซลล์ไปตามรูปทรงของอวัยวะแต่ละชิ้นส่วน จนมีลักษณะเป็นเซลล์เฉพาะ คือเป็นเซลล์ตับ เซลล์ปอด เซลล์หัวใจ เซลล์สมอง เซลล์เนื้อเยื่อ เซลล์ผิวหนัง ฯลฯ เมื่อมีลักษณะเป็นเซลล์เฉพาะของแต่ ละอวัยวะอย่างนี้แล้ว เวลาไปนำ DNA จากเซลล์เฉพาะเหล่านี้มาทำเซลล์โคลนเพื่อการขยายพันธุ์ก็จะได้ DNA หรือโครโมโซมที่บกพร่องไม่สมบูรณ์แบบ ไม่เหมือนกับ DNA ที่ได้จากเซลล์อสุจิ(โดยการผสม กันตามธรรมชาติ) เพราะจะมีหน่วยพันธุกรรมเพื่อการผสมพันธ์อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน นี่ก็เป็นอีกสันนิษฐานหนึ่ง ซึ่งก็คงจะต้องรอวันเวลาสำหรับการ พิสูจน์ทราบต่อไป

    กัมมชรูป หมายความว่าอย่างไร
    เมื่อใดที่ใช้คำว่า “กัมมชรูป” เมื่อนั้นก็ขอให้ทราบ ว่า รูปนั้นๆ จะต้องเป็นที่อาศัยปรากฏของผลกรรมใน ร่างกายของมนุษย์เรา ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าจะมีรูปปรมัตถ์ทั้งหมด ๒๘ รูป คือ
    ๑.ปฐวีรูป ดิน
    ๒.อาโปรูป น้ำ
    ๓.วาโยรูป ลม
    ๔.เตโชรูป ไฟ
    ๕.จักขุปสาทรูป ประสาทตา
    ๖.โสตปสาทรูป ประสาทหู
    ๗.ฆานปสาทรูป ประสาทจมูก
    ๘.ชิวหาปสาทรูป ประสาทลิ้น
    ๙.กายปสาทรูป ประสาทกาย
    ๑๐.วรรณรูป (รูปารมณ์) รูปสี
    ๑๑.สัททรูป รูปเสียง
    ๑๒.คันธรูป รูปกลิ่น
    ๑๓.รสรูป รูปรส
    ๑๔.หทัยรูป (หทัยวัตถุ) รูปหัวใจ
    ๑๕.ชีวิตรูป รูปที่ทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง จากวัตถุสิ่งของ
    ๑๖.อาหารรูป รูปอาหาร
    ๑๗.ปุริสภาวรูป รูปชาย
    ๑๘.อิตถีภาวรูป รูปหญิง
    ๑๙.ปริจเฉทรูป รูปคือช่องว่าง
    ๒๐.กายวิญญัติรูป รูปที่เป็นภาษากาย
    ๒๑.วจีวิญญัติรูป รูปที่เป็นภาษาวาจา
    ๒๒.ลหุตารูป ความเบาของรูป
    ๒๓.มุทุตารูป ความอ่อนของรูป
    ๒๔.กัมมัญญตารูป ความควรแก่การงานของรูป
    ๒๕.อุปัจจยรูป ความเกิดขึ้นของรูป
    ๒๖.สันตติรูป การสืบต่อของรูป
    ๒๗.ชรตารูป การเสื่อมไปของรูป
    ๒๘.อนิจจตารูป การดับไปของรูป

    :emo_114: http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000165658
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๑๐)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 ธันวาคม 2548 10:51 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ฉบับที่แล้วได้พูดถึงเรื่อง “กัมมชรูป” คือรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยปรากฏของผลกรรมในร่างกายของมนุษย์เรา ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าจะมีรูป ปรมัตถ์ทั้งหมด ๒๘ รูป
    ใน ๒๘ รูป นี้มีอยู่ ๙ รูปที่เป็นกัมมชรูปโดยแน่ นอน ซึ่งเป็นที่ปรากฎขึ้นของผลกรรมโดยแน่นอน ๙ รูป ได้แก่
    ๑. หทัยวัตถุ เป็นที่ปรากฏขึ้นของปฏิสนธิจิต ซึ่งปฏิสนธิจิตนี้เป็นวิบากหรือเป็นตัวผลของกรรม การเกิดขึ้นของปฏิสนธิจิตเป็นการปรากฏขึ้นของผลกรรม ซึ่งอาศัยหทัยวัตถุเป็นแหล่งปรากฏเหมือนดอกมะม่วงเป็นแหล่งปรากฏของผลมะม่วงฉะนั้น ปฏิสนธิจิตนี้นับเป็นจิตขณะแรกของภพ
    ๒. ชีวิตรูป ทำหน้าที่รักษาสหชาตรูปแต่ละกลาปให้เป็นรูปที่มีชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือมีหน้าที่ทำให้เซลล์ทั้งหลายในร่างกายเราดำรงสภาพของความเป็นเซลล์ ที่มีชีวิตนั่นเอง ความมีชีวิตจึงอาศัยชีวิตรูปเป็นแหล่ง ปรากฏ
    ๓. อิตถีภาวรูป รูปที่ทำหน้าที่โปรแกรมทางกายภาพให้เซลล์แรกเกิดเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นผู้หญิง สมัยนี้เทียบกันได้กับโครโมโซม XX ความปรากฏขึ้น ของเพศหญิงก็เป็นผลของกรรมอย่างหนึ่งซึ่งอาศัยอิตถีภาวรูปเป็นแหล่งปรากฏ
    ๔. ปุริสภาวรูป รูปที่ทำหน้าที่โปรแกรมทางกายภาพให้เซลล์แรกเกิดเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นเพศชาย สมัยนี้เทียบกันได้กับโครโมโซม XY ความปรากฏขึ้น ของเพศชายก็เป็นผลของกรรมเช่นกัน อาศัยปุริสภาวรูปเป็นแหล่งปรากฏ
    ๕. จักขุปสาทรูป ประสาทตาเป็นที่ปรากฏขึ้นของ จักขุวิญญาณจิต ซึ่งเป็นจิตชาติวิบาก จิตชนิดนี้นับเป็นตัวผลของกรรมโดยตรง
    ๖. โสตปสาทรูป ประสาทหูเป็นที่ปรากฏขึ้นของโสตวิญญาณจิต ฯลฯ
    ๗. ฆานปสาทรูป ประสาทจมูกเป็นที่ปรากฏขึ้นของฆานวิญญาณจิต ฯลฯ
    ๘. ชิวหาปสาทรูป ประสาทลิ้นเป็นที่ปรากฎขึ้นของชิวหาวิญญาณจิต ฯลฯ
    ๙. กายปสาทรูป ประสาทกายเป็นที่ปรากฏขึ้นของ กายวิญญาณจิต ฯลฯ
    ใน ๙ รูปนี้ หทัยวัตถุ ๑ ชีวิตรูป ๑ อิตถีภาวรูปหรือปุริสภาวรูป ๑ และกายปสาทรูป ๑ ได้มีเกิดขึ้น แล้ว ณ ปฏิสนธิขณะ คือตั้งแต่ขณะแรกของการเกิด มีชีวิตขึ้นในครรภ์มารดา โดยที่กายปสาทรูปจะทำหน้าที่โปรแกรมให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีรูปร่างหน้าตาโดยความเป็นมนุษย์
    ถ้าเป็นกายปสาทรูปของเดรัจฉานก็จะโปรแกรมให้เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีรูปร่างเป็นเดรัจฉานตามเผ่าพันธุ์ ตามภพภูมิของสัตว์ที่มีกายหยาบซึ่งต้องอาศัยหน่วยพันธุกรรมเป็นตัวถ่ายทอดผลของกรรม จากนามธรรมมาสู่รูปธรรม
    แต่ถ้าเป็นภพภูมิที่มีกายละเอียดเช่น เทวดา เปรต อสุรกาย สัตว์นรก สัตว์ในภพภูมินั้นๆ จะเกิดแบบผุดโตขึ้นโดยมีรูปร่างเป็นสัตว์นั้นๆ ตามภพภูมิทันทีเลยโดยไม่ต้องอาศัยหน่วยพันธุกรรม (DNA) เหมือนสัตว์ที่มีกายหยาบอย่างมนุษย์และเดรัจฉาน ดังนั้น ท่านจึงตั้งชื่อสัตว์ที่มีกายละเอียดเหล่านี้ว่า “โอปปาติกสัตว์” แปลตามศัพท์ว่าสัตว์ที่ผุดขึ้นแล้วโตทันทีเลย กรรมอันวิจิตรจะสร้างหรือผลิตรูปแบบ ของสิ่งมีชีวิตอันวิจิตรตามสมควรแก่เหตุ
    ส่วนจักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา ปสาทรูปทั้ง ๔ ที่เหลือจะค่อยๆปรากฎมีขึ้นในช่วงของปวัตติกาลหลังจากปฏิสนธิได้แล้วหลายสัปดาห์ต่อมา ด้วย กระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ๆของร่างกาย
    จักขุปสาท จะเป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณ
    โสตปสาท จะเป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณ
    ฆานปสาท จะเป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาปสาท จะเป็นที่อาศัยเกิดของ ชิวหาวิญญาณ
    กายปสาท จะเป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณ
    ปัญจวิญญาณทั้ง 5 ที่กล่าวมานี้เป็นผลของกรรม โดยอาศัยประสาททั้ง 5 เป็นแหล่งปรากฏของผลกรรม

    กรรมให้ผลพร้อมขณะกระทำ
    ในการให้ผลของกรรมนั้นจะแบ่งเป็น ๒ วาระใหญ่ๆ คือ
    ๑. ให้พร้อมขณะกระทำ มีชื่อเรียกตามภาษาบาลี ว่า “สหชาตกรรม”
    ๒. ให้ผลหลังจากทำกรรมสำเร็จลงแล้ว มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “นานักขณิกกรรม” (นานักขณิกกรรม ก็แบ่งการให้ผลออกอีกเป็น ๒ วาระ คือให้ปฏิสนธิวาระ ๑ และปวัติวาระ ๑)
    กรรมในเชิงสหชาตผลนั้น ได้แก่ ผลที่ได้รับพร้อม กับขณะกระทำมี ๓ อย่าง คือ จิต เจตสิก จิตตชรูป เนื่องจากเจตนาที่เป็นตัวกรรมนั้น ไม่สามารถทำการ ได้สำเร็จเป็นกรรมแต่เพียงลำพังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ มาช่วยทำกิจด้วยจึงจะสำเร็จกิจเป็นกรรม องค์ประกอบเหล่านี้ได้แก่ จิต เจตสิก จิตตชรูป อุปมาเหมือนกับเรือที่จะแล่นไปในมหาสมุทรโดยอาศัยเพียงหางเสืออย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีลำเรือ มีใบเรือ มีแรงลม มีน้ำพยุงลำเรือ ส่วนหางเสือคอยกำหนดทิศทางที่มุ่งจะไป เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ครบเรือก็แล่นไปได้ กรรมก็เหมือนกันเมื่อองค์ประกอบครบกรรมก็เกิดขึ้น ก็แลองค์ประกอบซึ่งได้แก่จิต เจตสิก จิตตชรูป ที่เกิดพร้อมกับเจตนาเหล่านี้แหละคือ สหชาตกรรม “สหะ” แปลว่า รวม “ชาต” แปลว่า เกิด “กรรม” ก็ได้แก่เจตนา เมื่อแปลรวมแล้วก็ได้ใจ ความว่า ผลที่เกิดร่วมพร้อมกับกรรม หรือผลที่เกิดร่วมพร้อมกับเจตนาในขณะทำกรรม (อย่าลืมคำที่ได้ เคยตกลงกันไว้ว่า เมื่อใดพูดถึงกรรมเมื่อนั้นก็พูดถึง เจตนา เมื่อใดพูดถึงเจตนา เมื่อนั้นก็พูดถึงกรรม)
    กรรมที่ให้ผลพร้อมกับการกระทำนั้นพอจะอธิบายได้ดังนี้คือ
    ๑.๑ จิต
    เป็นสหชาตกรรม ผลที่เกิดร่วมกับกรรม นั้นหมายถึงว่าเมื่อเจตนามุ่งประสงค์จะทำกรรมชั่ว เจตนาก็เกิดร่วมกับอกุศลจิต เมื่อเจตนามุ่งประสงค์จะทำกรรมดี เจตนาก็เกิดร่วมกับ มหากุศลจิต เมื่อเจตนามุ่งประสงค์จะปฏิบัติสมถกรรมฐานให้เข้าถึงความสงบ เจตนาก็เกิดร่วมกับมหัคคตจิต (ฌานจิต) จิตที่เกิดร่วมกับเจตนาเหล่านี้เป็น สหชาต คือผลที่เกิดพร้อมกับเจตนา การที่จัดเอาจิตที่เกิดร่วมกับเจตนาเข้าเป็นฝ่ายผลของกรรม ก็เพราะเหตุว่าเป็น ระดับของคุณธรรมอันจะพึงได้พึงถึง ณ ขณะนั้นๆ เป็นระดับของคุณธรรมทางจิตอันจะพึงปรากฏ ณ ขณะนั้นๆ คงเคยได้ยินคำสอนเรื่องผลของกรรมในแนวนี้มาบ้างกระมังที่บอกว่า ทำดี-ดี, ทำชั่ว-ชั่ว คือดีเดี๋ยวนั้น ชั่วเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องรอชาติ หน้า ชาตินี้ ชาติโน้น ชาติไหนๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีพระนำมาสอนกันอย่างแพร่หลายในตลาดธรรมะบ้านเรา ซึ่งจะมุ่งกล่าวถึง ความดี ความชั่ว ณ ขณะกระทำ


    :emo_114: http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9480000176779
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๑๑)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>1 กุมภาพันธ์ 2549 11:57 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>คำว่า “ทำดีได้ดี” ในที่นี้เราหมายถึงว่าได้คุณธรรมอันถือว่าเป็นสหชาติด้วย ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. เก็บกระเป๋าสตางค์ได้ เขาได้ขวนขวายนำกระเป๋าสตางค์ไปคืนให้เจ้าของตามที่อยู่ในบัตรประชาชน ความมีคุณธรรมข้อนี้ของนาย ก. เป็นสหชาต คือจิตที่เกิดร่วมกับเจตนาขณะนั้นเป็นสหชาตเกิดร่วมกับเจตนาที่เป็นกุศล หรือถ้าทำบาป เงื้ออาวุธขึ้นฆ่าสัตว์ จิตขณะฆ่าสัตว์นั้นก็เป็นสหชาต เกิดร่วมเจตนา ภาวะคุณธรรมทางจิตทุกชนิดหรือภาวะจิตใจต่ำทรามทุกชนิดในขณะทำกรรม เป็นผลในแง่ของสหชาตที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายเลว
    ๑.๒ เจตสิก เป็นสหชาตกรรม หมายถึง เจตสิกเป็นผลที่เกิดร่วมหรือเกิดพร้อมในขณะทำกรรม “เจตสิก” แปลว่าเครื่องปรุงแต่งจิต มีทั้งหมด ๕๒ ชนิด เป็นต้นว่า เวทนา สัญญา ศรัทธา เมตตา โลภ โกรธ ริษยา ปีติ วิริยะ ฯลฯ (ในบรรดาเจตสิก ๕๒ นั้น กันเอาเจตนาออกมาเสียหนึ่ง เพราะทำหน้าที่เป็นตัวกรรม ที่เหลือนอกนั้นถ้ามาเกิดร่วมกับเจตนาก็เป็นผลของกรรมชนิดสหชาตผล) ลำพังแต่เจตนาที่เกิดร่วมกับจิตก็ยังไม่สามารถให้สำเร็จเป็นกรรม ต้องมีเจตสิกต่างๆคอยปรุงแต่งใจให้มีอารมณ์ต่างๆ เพื่อให้ เกิดความรู้สึกอยากจะไปทำกรรมต่างๆ ตามอารมณ์นั้นๆ ถามว่าทำไมจึงจัดเอาเจตสิกเหล่านี้เป็นผลของ กรรมด้วย ก็เพราะเหตุว่าเป็นผลอันพึงเสวย ณ เวลานั้นๆ เช่น เวทนา เจตสิก ขณะทำชั่วเวทนาที่ประกอบ หรือเกิดร่วมกับเจตนามักจะเป็นโทมนัสเวทนาเดือดร้อนกระวนกระวายใจ ซึ่งได้เสวย ณ ขณะทำกรรมนั้น ถ้าขณะทำดี อย่างเช่นเมตตาเกิดร่วมกับเจตนา เมตตามีลักษณะเย็นใจสบายใจ เวทนาที่ประกอบก็เป็นความสุขใจสบายใจ ถ้าเป็นโทสะก็เผาใจ ร้อนใจ โลภะทะยานอยาก อุทธัจจะฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย ศรัทธาผ่องใส สติปัญญารอบรู้ในธรรมปลอดโปร่งโล่งใจ ฯลฯ
    สรุปว่า กุศลมีสภาวะของกุศล อกุศลก็มีสภาวะของอกุศล ความร้อนใจ ความเย็นใจ เป็นสิ่งที่บุคคล ผู้ทำกรรมจะพึงได้เสวยเอง ณ ขณะเวลาทำกรรมนั้นทีเดียว พร้อมวาระเดียวกับตัวกรรม ถ้ารอมาอีกสามวัน อีกวันเดียวอีกชั่วโมงเดียว ห้านาที หนึ่งนาที หรือแม้แต่วินาทีเดียว ก็ถือว่าเป็นนานักขณิกะไปแล้ว ไม่ใช่สหชาต เช่นในขณะที่หยิบของใส่บาตร ความปีติ สุขอิ่มเอิบใจ ความผ่องใสศรัทธาก็เกิดพร้อมกับเจตนา กุศลที่มุ่งจะใส่บาตรในขณะนั้น ณ วาระนั้นทีเดียว ไม่ต้องรอเลย รับผล ณ วาระนั้นทีเดียว ถ้าจะอุปมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนก็จะได้ว่า ขณะที่เราจุดเทียนปุ๊บ พอเทียนสว่างขึ้นความมืดก็หายไปทันที
    สหชาตผลนี้แบ่งออกเป็น ๔ นัย คือ
    ๑.ทำชั่วโทมนัสเวทนาประกอบ
    ๒.ทำชั่วโสมนัสเวทนาประกอบ
    ๓.ทำดีทุกขเวทนาประกอบ
    ๔.ทำดีโสมนัสเวทนาประกอบ
    - ทำชั่วโทมนัสเวทนาประกอบ ความทุกข์ใจ กระสับกระส่ายไม่ผาสุกนี้เป็นที่รู้จักกันดี ส่วนมากเป็นกิเลสสายโทสะ การฆ่าเขา ตีเขา ทะเลาะกับเขา ความทุกข์ใจเดือดร้อนใจเกิดร่วมประกอบทันที มีข้อ แม้ว่าต้องเกิดพร้อมในขณะทำกรรม ถ้ารอมาอีกวินาที เดียวก็เป็นอดีตไปแล้ว
    - ทำชั่วโสมนัสเวทนาประกอบ ก็ได้แก่ อกุศลสายโลภะ เป็นต้นว่าเล่นพนันแล้วชนะ แทงหวยถูก หนีแม่บ้านไปอาบน้ำในอ่าง การมีเพศสัมพันธ์และอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับโลภะผลชนิดนี้ท่านไม่เรียกว่าวิบาก เพราะเป็นผลแบบข้างเคียง ไม่ใช่ผลโดยตรง (ผลโดยตรงจะได้แก่ผลที่ให้ในรูปของปฏิสนธิจิตและทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐) ผลแบบเวทนา ประกอบในขณะทำกรรมนี้ปัจจุบันเป็นที่ฮือฮากันมาก มีการอธิบายหยิบยกมาพูดกันอย่างกว้างขวางแพร่หลาย มักจะบอกว่าทำอกุศลแล้วร้อนใจ แต่ก็มิได้แยกแยะรายละเอียดลงไปว่า อกุศลบางชนิดทำแล้ว โสมนัสดีใจก็มี
    - ทำดีทุกขเวทนาประกอบ ทุกข์ในลักษณะนี้มักประกอบทางกายไม่ประกอบทางใจ เช่น ต้องลำบาก ตรากตรำเหน็ดเหนื่อยเลี้ยงดูพ่อแม่ ต้องตื่นตี ๓ ตี ๔ ลุกขึ้นมาหุงข้าวใส่บาตรพระ ต้องอดทนในการทำความดีอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นถึงพระราชโอรสของกษัตริย์ แทนที่จะอยู่สุขสบายในพระราชวัง แต่กลับต้องยอมไปใช้ชีวิตลำบากในป่า เพื่อทำประโยชน์ให้กับสัตว์โลก หรืออย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงยอมลำบากตรากตรำ ทำงานหนัก ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ดังอาเศียรวาทบทหนึ่งกล่าวว่า
    “เพียงครู่ที่จะประทับ และจะเสวยพระกระยา ณ ราวไพร กับถึงรหัสอุปติภัย พระกระยาก็วางลง”
    เวทนาประกอบนี้เป็นไปทางกายไม่เป็นไปทางใจ พระภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติกรรมฐานจนดึกดื่น พากเพียรอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ก็ต้องตรากตรำลำบาก เพราะปรารถนากุศลเหมือนกัน
    - ทำดีโสมนัสเวทนาประกอบ อันนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ทำดีก็ย่อมสุขใจสบายใจ
    ๑.๓ จิตตชรูป เป็นสหชาตกรรม ข้อนี้เรามาทำความเข้าใจกับคำว่าจิตตชรูปก่อนว่าได้แก่อะไรบ้าง ตอนนี้สมมติว่าใครสักคนหนึ่งประสงค์จะยกมือขึ้น แล้วก็ยกมือขึ้นตามที่ต้องการ กริยาที่ยกมือขึ้นและสภาพที่ท่อนแขนเคลื่อนไหวไปนั้นเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายจัดเป็นรูป รูปนี้เคลื่อนไหวไปเพราะจิตเจตนาคิดจะเคลื่อน จิตเจตนาจึงเป็นปัจจัยให้รูปเคลื่อนไหว ดังนั้นท่านจึงใช้คำเรียกว่า “จิตตชรูป” รูปที่เกิดเพราะจิตเจตนา ท่านใช้คำเรียกว่า จิตตชรูป ไม่ใส่คำว่าเจตนาลงไปด้วยเพราะละไว้ในฐานที่เข้าใจ เพราะเป็นที่รู้กันว่า ไม่มีจิตดวงใดเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตนา สมมติว่าเรานั่งอยู่แล้วคิดจะลุกขึ้นเดิน รูปกายที่ลุกขึ้นเดินเป็นจิตตชรูป รูปที่เกิดเพราะจิตเจตนาเป็นปัจจัย สมมติว่าเราไม่ใช่แค่ยกมือและเดิน แต่เป็นกิริยาทำร้ายใช้ไม้ตีหมา ใช้มีดเชือดไก่ ใช้ปืน ยิงคน ฯลฯ กิริยาเคลื่อนไหวทางกายทางวาจาเหล่านี้เป็นจิตตชรูป คือรูปที่เกิดเพราะจิตเจตนาเป็นปัจจัย ในด้านตรงข้าม ถ้ากายวาจาเคลื่อนไหวไปทางจะให้ทาน ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เลี้ยงดูพ่อแม่ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน พูดคำสัตย์จริง กิริยาที่เคลื่อนไหวทางกาย วาจาเหล่านี้ก็เป็นจิตตชรูป รูปที่เกิดเพราะจิตเจตนาเป็นปัจจัยแต่เป็นฝ่ายกุศล ถามว่า ทำไมจิตตชรูปจึงเป็นผลของกรรม (ผลแบบสหชาต) ก็เพราะเหตุว่า เป็นผลในเชิงประกาศความดีและความชั่วให้ผู้อื่นได้ประจักษ์ ธรรมดาคนประพฤติเลวย่อมไม่ได้รับเกียรติ ไม่ได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่น และผู้อื่นจะรู้ถึงความประพฤติชั่วของเราได้ก็ตรงที่มีจิตตชรูปปรากฏให้เขาเห็น ดังนั้น จึงจัดเป็นสหชาตผล ได้แก่รูปกายที่เคลื่อนไหวไปในกรรมดีและกรรมชั่ว เพราะมีจิตเจตนาเป็นเหตุให้เกิด ซึ่งประกาศความดีความเลว ณ ขณะทำกรรมนั่น ผลชนิดนี้ทำความเลวหรือความดีให้ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น เพราะถ้าไม่มีจิตตชรูปแล้ว คนอื่นๆ จะไม่รู้เลยว่า เราทำดีหรือทำเลวอย่างไร

    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9490000013897
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๑๒)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 มีนาคม 2549 14:10 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>มีประเด็นที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือคนทั่วไปมักสำคัญว่า การกระทำและคำพูดได้แก่กายและวาจาที่เคลื่อนไหว(จิตตชรูป) เป็นตัวกรรมซึ่งเป็นความเข้าใจที่แพร่หลายมาก แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว การกระทำและคำพูดเป็นผลของกรรมชนิดสหชาตผล เจตนาเท่านั้นที่เป็นตัวกรรม สำหรับกรณีจิตตชรูปนี้ จิตกับเจตนาต้องทำกิจร่วมกันในการเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดการเคลื่อนไหวของรูป เหมือนสารถีกับสายบังเหียนร่วมกันบังคับม้าให้วิ่งไปในทิศใดๆ สารถีเปรียบเสมือนเจตนามุ่งจะไป(มุ่งจะทำกรรม) สายบังเหียนเปรียบเสมือนจิตคอยชักใยให้ร่างกายที่เคลื่อนไหว (จิตตัชชวาโยธาตุ) ม้ากับรถเปรียบเสมือนร่างกายที่เคลื่อนไหว จิตคิดจะทำสิ่งใดกายก็แล่นไปตาม จิตนั้น สรุปความว่าจิตตชรูป คือ ผลที่เกิดพร้อมกรรม ผลที่ให้พร้อมในขณะทำกรรม
    ขอสรุปตรงนี้ว่า ในขณะทำกรรมนั้น
    จิตที่เกิดร่วมกับเจตนา เป็นผลของกรรม ก็ด้วยเหตุว่าเป็นระดับของคุณธรรมความดีความชั่วที่พึงเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ อันผู้กระทำกรรมพึงได้เสวยระดับคุณธรรมของจิตนั้นด้วยตนเอง
    เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเจตนา เป็นผลของกรรม ก็ด้วยเหตุว่าสภาวะเดือดร้อนใจหรือสภาวะเย็นใจ อกุศลและกุศลสภาวะเป็นสิ่งอันผู้ทำกรรมพึงเสวย ณ ขณะกระทำ
    จิตตชรูป ความเคลื่อนไหวไปของกายวาจา เป็นผลของกรรมก็ด้วยเหตุว่าเป็นเครื่องประกาศความดีความเลวให้ปรากฏแก่โลก
    ในบรรดา สหชาตกรรม ทั้ง ๓ อย่างนี้ คนเราคุ้นเคยกับความรู้สึกเดือดร้อนใจเศร้าโศก กระสับกระส่าย ไม่สบายใจเมื่อทำบาป หรือรู้สึกเย็นใจ สบายใจ จิตใจสดใสปลอดโปร่งเมื่อทำบุญกุศล ถึงกับนำมาอธิบายพรรณาในยุคนี้ว่าเป็นผลของกรรม กล่าวเอาความสบายใจไม่สบายใจว่าเป็นผล กรรมมันก็ถูกเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้อธิบายรายละเอียดออกเป็นข้อย่อย แต่มามีปัญหาตรงที่ว่า เกิดเสนอมติยืนยันว่าผลของกรรมให้ผลในลักษณะนี้เท่านั้น ไม่ให้ผลในลักษณะอื่น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างกว้างขวางในตลาดธรรมะบ้านเรา
    เคยไปได้ยินครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งอธิบายเรื่องกฎแห่งกรรมในงานปริวาสกรรมที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จับความได้ว่า กรรมให้ผลทางความรู้สึกในใจ ให้ผลเป็นความเดือดร้อนใจ ความเย็นใจ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น ไม่ให้ผลในรูปลักษณ์อื่นและให้อย่างเฉียบพลัน เป็น“อกาลิโก” ไม่ประกอบไปด้วยกาล ไม่ต้องรอเวลา ทำปุ๊บได้ปั๊บ เป็น“เอหิปัสสิโก” เรียกให้มาดูได้ คือ ดูความร้อนใจ เย็นใจของตัวเอง เป็น“ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” ผลของกรรมเป็นสิ่งอันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง คือคนอื่นจะไม่ได้มารู้สึกร้อนใจหรือเย็นใจร่วมกับผู้กระทำ และเรื่องภพภูมิที่ผู้ทำกรรมต้องปฏิสนธิเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย มนุษย์ เทวดา พรหมนั้นเป็นการเกิดการตายทางใจ คือถ้าจิตใจมีโทสะขณะหนึ่ง ความเป็นสัตว์นรกก็เกิดทางใจขณะหนึ่ง เมื่อโทสะดับไปความเป็นสัตว์นรกก็ตายไปขณะหนึ่ง พอโทสะเกิดแล้วดับไปอีก สัตว์นรกก็เกิดแล้วตายไปอีก สุดแท้แต่จะเกิดกี่ครั้งต่อวัน โลภะ โมหะ ก็โดยนัยเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากสัตว์นรกมาเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานตามลำดับ เมื่อใดจิตในใจมีหิริโอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาปความละอายต่อบาป ความเป็นเทวดา ก็เกิดทางใจ พอหิริโอตตัปปะดับ ความเป็นเทวดาทางใจก็ตาย พอใจมีความเมตตาความเป็นพรหม ก็เกิดทางใจ พอเมตตาดับไปความเป็นพรหมก็ตาย ซึ่งมีแต่การเกิดการตายทางใจเท่านั้นการเกิด การตายในภพภูมิจริงๆไม่มี
    ที่จริงแล้วคำว่า “อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตพโพ วิญญูหีติ” นั้น เป็นกลุ่มคำที่ท่านผูกไว้ใช้พรรณนาธรรมหมวดอื่น ไม่ใช่ผูกไว้เพื่อพรรณนากฎแห่งกรรม กลุ่มคำเหล่านี้ท่านไว้ใช้พรรณนาเรื่อง วิปัสสนา มรรคผล นิพพาน มีความหมายว่าเมื่อมีมัคคจิตเกิดแล้ว ผลจิตย่อมเกิดตามมาโดยไม่มีระหว่างคั่น ผลจิตย่อมเกิดตามมาโดยฉับพลัน เป็น “อกาลิโก” ไม่ต้องรอเวลาอย่างหนึ่งหรือวิปัสสนานี้จะปฏิบัติเวลาไหนก็ได้ไม่ประกอบด้วยกาลเป็น “อกาลิโก” ส่วนคำว่า “เอหิปัสสิโก” หมายถึงว่ารูปนามขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่น ควรเรียกให้มาดู การดูรูปนามไตรลักษณ์ นั่นเป็นข้อปฏิบัติของวิปัสสนา ส่วนคำว่า “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” นั้น หมายถึงว่า ผู้ใดปฏิบัติ(เฝ้าดูแล้ว) ผู้นั้นก็เป็นผู้เห็นเองว่าสัจธรรม ความจริงของรูปนามขันธ์ ๕ คืออะไร คนอื่นจะเห็นแทนกันไม่ได้ ถ้าเราเอากลุ่มคำเหล่านี้มาใช้พรรณนาเรื่องกฎแห่ง กรรม ความหมายของกรรมและผลของกรรม ก็จะคลาดเคลื่อนไปจากหลักพระไตรปิฎกทันที เหมือนเราเอาคำที่ใช้พรรณนาก๋วยเตี๋ยวมาอธิบาย ลักษณะก๋วยจั๊บ หรือใช้คำที่พรรณาเสือมาอธิบาย ลักษณะของแมว
    สำหรับเรื่องการเกิดตายทางใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนแล้วว่า มนุสสเนรยิโก, มนุสสเปโต, มนุสสติรจฉาโน, มนุสสเทโว, มนุสสพรหมโม หมายถึงว่า ถ้าบุคคลใดมีโทสะจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเขามีกายเป็นมนุษย์แต่มีใจเป็นสัตว์นรก ถ้ามีโลภะจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเขามีกายเป็นมนุษย์แต่มีใจเป็นเปรต ถ้าบุคคล โดมีหิริโอตตัปปะ มีเมตตาขณะใด ขณะนั้นกายเขาเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเทวดาเป็นพรหม แล้วแต่ ว่าขณะนั้นๆ กุศลหรืออกุศลจะเกิดขึ้น นี้เป็นนัยแรกที่ท่านได้ตรัสไว้ก่อนแล้ว ไม่มีใครคิดขึ้นได้ใหม่ ส่วนนัยที่ ๒ นั้นเป็นอุบัติภพ คือ การได้ปฏิสนธิขึ้นเป็นสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นจริงๆ ตามอำนาจ กรรมที่ส่งผลโดยที่ท่านใช้คำว่า เมื่อสัตว์นั้นตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดา หรือพรหม คือสัตว์นั้นตายเพราะกายแตกจริงๆ ไม่ใช่ตายทางใจ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเทวดา พรหมจริงๆ ไม่ใช่เกิดทางใจ พระองค์ทรงใช้คำกุมความหมายไว้ไม่ให้ดิ้นได้ว่า สัตว์นั้นตายเพราะกายแตก ร่างกายสิ้นสภาพดับชีวิต แล้วจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก


    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9490000030749
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๑๓)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>7 เมษายน 2549 17:42 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ในคัมภีร์มหาวิภังค์ปฐมภาคพระวินัยเล่ม ๑ หน้า ๘ มีใจความว่า
    “เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้
    พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่ เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้ แลได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น”
    พระองค์ทรงเป็นเลิศในการใช้ถ้อยคำ มีความชำนาญพิเศษในการใช้ถ้อยคำอย่างยอดเยี่ยม เพื่อป้องกันการเข้าใจสับสนในภายหลัง จึงทรงใช้คำเช่นนั้นระบุให้ชัดเจนว่า เมื่อสัตว์นั้นตายเพราะกายแตก ซึ่งทำให้เรารู้ว่า หมายถึง การเกิด ตายอย่างไร
    เหตุที่พยายามตีความดิ้นไปเป็นอย่างอื่น คงจะมาจากการรังเกียจคำว่าการเวียนว่ายตายเกิด คนนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นนั่น คนนั้นตายแล้วไปเกิดเป็นนี่ เหมือนเป็นสัสสตทิฎฐิ ของพวกพราหมณ์ ที่เชื่อว่ามีวิญญาณเป็นตัวตน เที่ยง วิญญาณท่องเที่ยวล่องลอยไปเกิดภพนั้นภพนี้เสวยภพเสวยชาติ ไปคิดโยงว่าผู้ที่ตายกับผู้ที่เกิดใหม่เป็นคนเดียวกัน อันที่จริงแล้วทั้งไม่ใช่คนเดียวกัน และทั้งไม่ใช่คนละคน เป็นแต่เพียงขันธ์ ๕ ในอดีตที่เกี่ยวโยงสืบเนื่องถึงขันธ์ ๕ ในปัจจุบัน ด้วยอาศัยอำนาจของกรรม กิเลส และวิบากเป็นปัจจัย
    การเกิดใหม่เป็นไปโดยขบวนการปฏิจจสมุปบาท อาศัยปัจจัยการแวดล้อมอันเหมาะสม การปฏิสนธิก็มีขึ้นและปัจจัยการเหล่านี้มีขึ้นได้เพราะมีกฎแห่งกรรมอยู่เบื้องหลัง
    เรื่องของภพภูมินั้นท่านแบ่งเป็น ๒ นัย คือ เจตนาภพหนึ่ง อุบัติภพหนึ่ง
    เจตนาภพก็ได้แก่การเกิดตายทางใจ จิตเป็นบุญบ้างหรือเป็นบาปบ้าง ที่เรียกว่า ‘เจตนาภพ’ ก็เพราะเหตุว่า จิตบุญดวงไหนเกิด เจตนาเกิดร่วมด้วย จิตบาปดวงไหนเกิด เจตนาเกิดร่วมด้วย เมื่อเจตนาในบุญมี ภพทางใจก็มี เมื่อเจตนาในบาปมี ภพทางใจก็มี เพราะฉะนั้นการเกิดตายทางใจนั้น พระองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว
    ส่วนนัยที่สอง คือ ‘อุบัติภพ’ นั้นหมายถึงว่าเมื่อทำกรรมดีกรรมชั่วสำเร็จลงไปแล้ว กรรมดีกรรมชั่วต่างๆก็จะส่งผลให้เกิดขึ้นในภพภูมิต่างๆ การยืนยันมติว่ากรรมให้ผลทางใจ สุขทุกข์ทางใจ เกิดตายทางใจอย่างเดียวโดยไม่ให้ผลในแง่มุมอื่นนั้นค่อนข้างจะผิวเผินและตื้นเขินเกินไป เพราะจริงๆแล้วเน้นการพูดถึงผลกรรม เพียงเหลี่ยมเดียวในจำนวนร้อยเหลี่ยม คือ ยังมีนัยอื่นๆ อีกมากที่ยังไม่ได้พูดถึงและจะถูกทอดทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย อีกประการหนึ่งเรื่องกรรมนี้เป็นอจิณไตยเหลือวิสัยที่คนสามัญจะรู้ได้ ถ้ากรรมจะเป็นสิ่งที่พึงให้ผลโดยเป็น ความสุขใจทุกข์ใจอย่างเดียว ไม่ให้ในแง่มุมอื่นอีกแล้วละก็ เรื่องกฎแห่งกรรมก็ไม่เห็นว่าจะเป็นอจิณไตยที่ตรงไหนไม่ต้องอาศัยปัญญาระดับพระพุทธเจ้า แม้ชาวบ้านทั่วๆไปเขาก็สามารถรู้กันได้ว่าทำชั่วแล้วร้อนใจ ทำดีแล้วเย็นใจ มรดกทางปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงฝังไว้ในพระพุทธศาสนานั้นมีจำนวนมากและล้ำลึกเหลือเกิน ถ้ายังขุดไม่ลึกพอก็อย่าเพิ่งคิดว่ามีเท่าที่เราเห็น

    กรรมใหม่กับกรรมเก่า
    มีคนเคยถามเสมอว่า กรรมใหม่ กับกรรมเก่ามีความหมายต่างกันอย่างไรให้ผลต่างกันอย่างไร ขอให้ตั้งใจกำหนดหมายจดจำไว้ให้ดี ต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นสูตรตายตัวที่ควรแก่การท่องจำได้เลย คือ
    ๑. กรรมใหม่ หมายถึงกรรมที่ทำ ในขณะวินาทีนี้เท่านั้น เลยไปเพียงวินาทีเดียวก็กลายเป็นกรรมเก่าหรือ อดีตกรรมไปแล้ว
    ๒. ผลของกรรม แบ่งออกเป็น ๒ วาระ คือผลที่ให้พร้อมขณะกระทำกรรมหนึ่ง เรียกตามภาษาบาลีว่า ‘สหชาตกรรม’ และผลที่ให้หลังจากทำกรรมสำเร็จลงไปแล้วหนึ่ง เรียกตามภาษาบาลีว่า ‘นานักขณิกกรรม’
    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นกรรมใหม่ จะให้ผลเป็นแบบ‘สหชาตผล’ คือ จิตเจสิกและจิตตชรูปที่เกิดร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นกรรมเก่าหรืออดีตกรรมจะให้ผลเป็นแบบ‘นานักขณิกผล’ กรรมจะให้ผลแบบตรงตัวไม่ผิดฝาผิดตัวเลย นั่นก็คือกรรมใหม่ใน ขณะที่กำลังทำจะให้ผลเป็นสหชาตผลเท่านั้น ‘สหะ’ แปลว่า ร่วม, พร้อม ‘ชาติ’ แปลว่า เกิด ได้แก่ ผลที่เกิดร่วมหรือพร้อมขณะกระทำกรรมเลยทีเดียว ช้าไปเพียงขณะเดียวก็จะไม่นับว่าเป็นผลของกรรมใหม่แล้ว
    ถ้าไม่เป็นปัจจุบันกรรม สหชาตผลก็จะไม่เกิดร่วมด้วย แต่จะกลายเป็นนานักขณิกกรรม คือกรรมที่ทำสำเร็จล่วงแล้วเป็นอดีตกรรม ซึ่งต้องให้ผลตามหลังเป็นนานักขณิกผล โดยมีรูปลักษณ์ของการให้ผลได้หลายรูปลักษณ์มากมาย หลายรูปแบบ หลายแง่มุม เช่น ผลในเชิงปฏิสนธิจิต ผลในเชิงกัมมชรูปทั้ง ๙ ที่ทำหน้าที่ต่างๆกันไป ผลในเชิงทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ผลในเชิงภวังคจิตดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น (อ่านต่อฉบับหน้า)

    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9490000047082
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนจบ)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>10 พฤษภาคม 2549 18:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>สำหรับกรรมบางอย่างที่ใช้เวลานานกว่าจะทำสำเร็จลง เช่นโจรคนหนึ่งตามข่าวหนังสือพิมพ์กล่าวว่าขุดอุโมงค์เจาะเข้าไปใน ธนาคารเพื่อโจรกรรมทรัพย์สิน ปรากฏว่าใช้เวลานานมากตั้งแต่เริ่มลงมือขุดจนกระทั่งเข้าไปถึงทรัพย์นั้นก็ยังจัดเป็นกรรมบทไม่ครบองค์ คือยังลักทรัพย์ไม่สำเร็จ ตราบจนกระทั่งทำทรัพย์นั้นให้เคลื่อนจากฐาน(หยิบจับยกให้เคลื่อนที่) ก็เป็นอันกรรมบทครบองค์ เพราะฉะนั้นระยะเวลาที่ทำกรรม สำเร็จก็เป็นเพียงระยะเวลาชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้นเอง (หมายเอาสันตติขณะทางมโนทวาร เนื่องจากชั่วลัดนิ้วมือเดียวจิตเกิดดับแสนโกฏิ ขณะช่วงเวลา ที่หยิบจับยกให้วัตถุเคลื่อนที่ต้องอาศัยเวลาพอสมควร ขณะนั้นจิตทางมโนทวารต้องเกิดดับต่อเนื่องเป็นสันตติ) ก่อนหน้านั้นตั้งแต่ลงมือขุดอุโมงค์ไป จนถึงพบทรัพย์ ในแต่ละขณะล้วนเป็นกรรมบทไม่ครบองค์ ซึ่งองค์แห่งกรรม บทข้อนี้ก็คือ
    ๑.ทรัพย์นั้นมีเจ้าของ
    ๒.เราก็รู้ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของ
    ๓.เจตนาจะลัก
    ๔.พยายามจะลัก
    ๕.ทรัพย์นั้นตกเป็นของตน

    ชีวิตคือขันธ์ ๕ นี้เป็นไปตามปัจจยาการ
    อันที่จริงแล้วคนหรือสัตว์ที่เกิดใหม่เป็นคนละคนกับคนหรือสัตว์ที่ตายไปนั้น แต่เนื่องด้วยเกี่ยวข้องด้วยเพราะเป็นปัจจยาการต่อเนื่องกัน แม้แต่วินาทีนี้ทุกๆวินาที ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น ณ วินาทีนี้ก็เป็นคนละขันธ์ ๕ กับเมื่อ วินาทีที่แล้วอยู่ทุกๆ วินาที ชีวิตรูปชีวิตนามเกิดใหม่อยู่ทุกๆ วินาที และไม่ใช่ ชีวิตเดียวกัน ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เดียวกัน แต่เพราะอาศัยความสืบเนื่อง เพราะอาศัยความที่ขันธ์ ๕ มีสภาพที่เกิดดับต่อเนื่องเป็นสันตติ จึงดูเหมือนเป็นคนเดียวกัน ถ้าจะอุปมาก็เหมือนกับฟิล์มหนังที่แต่ละช่องมีภาพคล้ายๆ กัน เวลาเอามาหมุนเร็วๆแล้วฉายไปที่ผืนผ้า ก็จะเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้ แต่ขอ ให้ทราบว่าแต่ละภาพไม่ใช่ภาพเดียวกัน และต้องใช้ภาพจำนวนมากเป็นหมื่น เป็นแสนภาพ จึงจะเห็นเป็นความเคลื่อนไหวได้ตลอดเรื่อง ขันธ์ ๕ ที่เกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างไม่ขาดสายก็โดยทำนองเดียวกันนี่แหละซึ่งใน ‘วิสุทธิมรรค’ กล่าวไว้ว่า
    “โดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายสั้นเต็มที ชั่วความเป็นไปแห่งจิตดวงหนึ่งๆ เท่านั้น อุปมาดังล้อรถ แม้เมื่อหมุนไป ก็หมุนด้วยชิ้นส่วน ที่เป็นกงอันเดียวนั้นแล เมื่อหยุดเล่าก็หยุดด้วยชิ้นส่วนที่เป็นกงอันเดียวกันนั้นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่เป็นไปชั่วขณะจิตเดียวฉันนั้นเหมือนกัน พอจิตดวงนั้นดับ สัตว์ก็ได้ชื่อว่าดับ (คือตาย) ดังพระบาลี ว่า ในขณะที่จิตเป็นอดีต สัตว์ชื่อว่าเป็นแล้ว มิใช่เป็นอยู่ (แต่) จักชื่อว่าเป็น ในขณะจิตอันเป็นปัจจุบัน สัตว์ก็มิใช่เป็นแล้ว (แต่) ชื่อว่าเป็นอยู่ (และ) มิใช่จักเป็น
    ชีวิต อัตภาพ และสุขทุกข์ทั้งมวลประกอบอยู่ด้วยจิตดวงเดียว ขณะ(แห่งชีวิตเป็นต้นนั้น) ย่อมเป็นไปเร็ว ขันธ์เหล่าใดของคนที่ตายไป หรือของคนที่ยังตั้งอยู่ในปวัตติกาลนี้ก็ตาม ที่ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงก็เป็นเช่นเดียว กัน คือ (ดับ) ไปโดยไม่ต่อกับโลก (คือสัตว์) ชื่อว่าไม่เกิดเพราะจิตไม่เกิด ชื่อว่าเป็นอยู่เพราะจิตเกิดขึ้นจำเพาะหน้า ชื่อว่าตายเพราะจิตดับ(นี้)บัญญัติทางปรมัตถ์”
    ในการรับผลแบบสหชาตินั้นจะสัมพันธ์กับการรับผลแบบนานักขณิกะคือในขณะที่ผลแบบสหชาติเกิดขึ้นอยู่ เพราะการทำกรรมใดๆ อยู่นั้น นานักขณิกะก็จะส่งผลสนับสนุนหรือเบียดเบียนให้ทวิปัญจวิญญาณจิตของเราได้รับรู้ผัสสะอันโอฬารหรือไม่โอฬาร หยาบ ทราม ประณีต หรือเป็นปัญจารมณ์ที่เลวร้าย เป็นอิฏฐารมณ์อย่างอ่อนหรืออย่างแรง หรือเป็นอนิฏฐารมณ์อย่าง อ่อนหรืออย่างแรงประการใด ก็ขึ้นอยู่กับนานักขณิกกรรมที่เคยทำมา
    เพราะถ้าอดีตกรรมทำมาดี เวทนาที่เกิดประกอบกับสหชาตกรรมก็พลอย ประณีตโอฬารไปด้วยเช่น นาย ก. ทำการงานประกอบอาชีพอยู่ ไม่ว่าเขาจะพาตัวเองไปทำกรรม ณ สถานที่ใดๆก็จะได้แรงหนุนจากอดีตกรรมที่ดีให้ได้ เคลื่อนไหวไปรับผัสสะที่ดี โดยทำนองเดียวกันถ้าเป็นฝ่ายอดีตกรรมชั่วส่งผล ก็จะเคลื่อนไหวไปรับผัสสะที่ไม่ดี ขนาดมีกำหนดการว่าจะเดินทางไปต่างประเทศที่เจริญแล้ว มีการกำหนดการที่จะไปพักโรงแรมชั้นหนึ่ง ยังเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก ร่วงลงไปนอนแช่น้ำอยู่ในทะเล หรือเช่นคนที่ประกอบอาหารในโรงครัว ทุกบ้านทุกคนต้องรับประทานอาหารจะเป็นโรงครัวที่บ้านก็ตาม ซื้อรับประทานก็ตาม กรรมปัจจุบันของทุกคนก็มีวิริยะโดยชอบอย่าง ถูกส่วนเหมือนกันในการแสวงหาอาหาร แต่อดีตกรรมของแต่ละคนทำมาไม่ เท่ากัน เพราะฉะนั้นก็จะเกิดปัจจัยการกำหนดเงื่อนไขความจำเป็นทำให้ทุกคนได้อาหารประณีตโอฬาร หยาบทราม ไม่เท่ากันตามสมควรแก่กรรมในอดีตที่ทำมา เพราะฉะนั้นทั้งสหชาตกรรมและนานักขณิกกรรมจะให้ผลสัมพันธ์กันอย่างเป็นรหัสเสมอ
    ทั้งหมดนี้คือ รหัสกรรมที่เราควรเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน เป็นปรากฏการณ์ต่อเนื่องอยู่ทุกวินาที ไม่ยากเกินกว่าจะสังเกตเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อให้เข้าถึงความหมายของคำว่า‘กฎแห่งกรรม’ในพระพุทธศาสนาได้อย่างถ่องแท้
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www2.manager.co.th/Dhamma/Vie...=9490000061646
     

แชร์หน้านี้

Loading...