บทสวดบูชาพระสิวลี วรรคสุดท้าย สวดอย่างใด จึงจะถูกต้อง

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย เรือดำน้ำ, 14 มิถุนายน 2012.

  1. เรือดำน้ำ

    เรือดำน้ำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +63
    ผมได้อ่านเจอบทสวดบูชาพระสิวลีจากในเว็บพลังจิตนี้ แต่มีข้อสงสัยเนื่องจากที่ได้อ่านเจอจาก 2 กระทู้ มีความแตกต่างกันในวรรคสุดท้าย ดังนี้

    1. สีวะลี เถระคุณัง สวัสดิลาภัง ภะวันตุเม

    2. สิวะลี เถระคุณัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุเม


    ตรงกลางวรรค ใช้คำว่า " สวัสดิลาภัง " กับ " โสตถิลาภัง "

    อยากจะทราบว่า ที่ถูกต้องแล้วนั้น ต้องใช้คำว่าอะไร รบกวนขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยครับ


    ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำแนะนำครับ
     
  2. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,145
    ค่าพลัง:
    +1,960
    ที่ผมสวดอยู่ทุกวันคือ

    สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
    โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ เม สัพพะทา

    สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต
    โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ เม สัพพะทา

    สีวะลี เถรัสสะ เอตังคุนัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุเม
     
  3. เรือดำน้ำ

    เรือดำน้ำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +63
    ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ
     
  4. คงหมิง

    คงหมิง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +59
    ขออนุญาตแสดงความเห็นนะครับ
    ในคำถามของเจ้าของกระทู้ โสตถิ และ สวัสดิ เป็นศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันทั้งคู่ คือแปลว่า ความสวัสดี,ความดีงาม โดยโสตถิ เป็นภาษาบาลี และสวัสดิ เป็นภาษาสันสกฤต แต่ในคาถานี้ร้อยเรียงด้วยไวยากรณ์บาลี จึงควรสวดด้วยคำว่าโสตถิ ถึงจะไม่ผิดหลักไวยากรณ์
    แต่ในคาถาเต็มคาถาที่ 2 ผมรู้สึกแปลกๆ อยู่นิดหนึ่ง ตรงประโยคที่ว่า "อะหัง วันทามิ เม สัพพทา" เห็นได้ชัดว่าผิดหลักไวยากรณ์เต็มๆ ใครที่เรียนบาลีมา จะรู้ว่า คำว่า เม (แก่ข้าพเจ้า) จะมาเรียงตำแหน่งนี้ไม่ได้ ไม่งั้นจะทำให้ประโยคเสีย แปลไม่ได้ แต่ถ้าตัดคำว่าเมออก คาถานี้จะแปลได้ความหมายสมบูรณ์พอดี ผมจึงขออนุญาติแปลทีละประโยคเพื่อเป็นตัวอย่างเทียบเคียงนะครับ
    สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
    พระสิวลีมหาเถระ ผู้อันเทวดาและผู้คนบูชาแล้ว
    โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา
    พระเถระนั้น เป็นผู้สมควรในทานมีปัจจัยเป็นต้น ข้าพเจ้าขอวันทาในกาลทุกเมื่อ
    สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต
    พระสิวลีมหาเถระ ผู้อันยักษ์และเทวดาบูชายิ่งแล้ว
    โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา
    พระเถระนั้น เป็นผู้สมควรในทานมีปัจจัยเป็นต้น ข้าพเจ้าขอวันทาในกาลทุกเมื่อ
    สีวะลี เถรัสสะ เอตังคุนัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุเม
    คำที่กล่าวมานั่น เป็นคุณลักษณะของพระสิวลีมหาเถระ ขอความสวัสดี,ลาภ จงมีแก่ข้าพเจ้า ฯ นี่คือคำแปลในกรณีที่ตัดคำว่า "เม" ออก เพราะหากเมมาวางตำแหน่งนั้น การแปลจะเสียทันที ทำให้รูปประโยคทั้งหมดผิดเพี้ยนไปจากไวยากรณ์ที่ควรจะเป็น
    ผมสันนิษฐานว่า คงมีคนต้องการเติมเม ที่แปลว่าแก่ข้าพเจ้า ลงไป เพื่อดัดแปลงให้เป็นบทสวดเพื่อตัวเอง แต่ไปวางเพิ่มในตำแหน่งที่ไม่ควรวางทำให้คาถาผิดรูปแบบมาตั้งแต่นั้น ซึ่งอันที่จริงบทสวดนี้ก็มีเม ต่อท้ายให้อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มเม เข้าไปอีก และเท่าที่ผมจำได้ตอนเรียนบาลีไวยากรณ์ คาถานี้ก็ไม่มีคำว่าเม อยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ต้นแล้วครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2012
  5. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +1,222
    โชคดีจังทีมาพบเจอ ผู้เรียน บาลี ฉะนั้นช่วยอนุเคราะห์แปล ท่อนนี้ให้ผมทราบด้วยครับเพราะผมสวดมาก็นาน แต่ไม่ทราบความหมาย หลังจากสวดสองบทแรกจบ " สีวลีเถระ คุนัง เอตัง โสตถี ภะวันตุเม "
     
  6. คงหมิง

    คงหมิง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +59
    ผมได้แปลไว้ในบรรทัดสุดท้ายแล้วครับ บางท่านจะสวด "สีวลีเถระคุณัง" บางท่านสวด "สีวลีเถรัสสะ คุณัง" แต่แปลเหมือนกัน คือ
    สีวลีเถระคุณัง เอตัง นั่นคือคุณลักษณะของพระสีวลีเถระ
    โสตถี ภวันตุ เม ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า
    คำแปลทั้งหมดก็มีเท่านี้ สวัสดีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...